นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง วิสัยทัศน์ประเทศไทย...สู่ปี 2570 หลังเป็นประธานการเปิดการประชุมประจำปี ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประจำปี 2551 ตอนหนึ่งว่า ตนเองมีแนวความคิดซึ่งถือเป็นวิสัยทัศน์ในการย้ายชุมชน ที่เรียกว่าสลัมประมาณ 1 , 700 แห่ง ออกจากกรุงเทพมหานคร โดยจะจัดพื้นที่ให้เป็นสัดส่วน เพื่อเอาพื้นที่ดังกล่าวมาเป็นสวนสาธารณะ ซึ่งการจัดการดังกล่าว จะทำให้พื้นที่กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีความสวยงามและน่าอยู่
นายสมัคร ยืนยันด้วยว่าจะเดินหน้าสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ย่านเกียกกาย แม้จะถูกต่อต้านจากชุมชุนเกียวกายและนักเรียนโรงเรียนโยธินบูรณะ โดยระบุว่า เมื่อตอนไปเอาที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ย่านคลองเตยก็ถูก สหภาพการรถไฟฯ คัดค้าน จึงหันมาเจรจาขอที่ดินทหารย่านเกียกกายเนื้อที่ 130 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระจา ซึ่งคิดว่าโครงการสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ที่คิดมานาน 16 ปีจะจบลงวันนี้ เพราะตนเป็นทั้งนายกรัฐมนตรี ที่อนุมัติเงินก่อสร้าง และเป็น รมว.กลาโหม ที่จะเห็นชอบให้ใช้ที่ดินทหารได้ จึงต้องทำเรื่องนี้ให้เสร็จ
ส่วนที่นักเรียนโรงเรียนโยธินบูรณะไม่ยอม นั้นจะไม่เป็นผลเพราะจะเดินหน้าต่อไปโดยจะย้ายโรงเรียนไปบริเวณมุมวัดสร้อยทอง ห่างจากจุดเดิม 1,700 เมตร มีเนื้อที่ 16 ไร่ ส่วนชาวบ้านจะย้ายไปอยู่ปากเกร็ด โดยเฉพาะแฟลตทหาร จะไปสร้างให้ที่ปากเกร็ด
ไอ้นี้คือความคิดของคนเป็นนายกรฯ ผมเป็นคนการันตีกับทหาร เย็นนี้ก็จะเซ็นสัญญากัน ซื้อที่แปลงนี้ให้ เพื่อจะเอาแปลงนั้นมาแลกกับแปลงนี้เพื่อสร้างโรงเรียน สร้างแฟลตทหาร นี่คือวิสัยทัศน์ของผม ผมต้องจัดการจัดแจงแล้วทำให้ทุกอย่างสำเร็จ จะสำเร็จได้เย็นนี้
วันเดียวกัน นักเรียนจากโรงเรียนโยธินบูรณะกว่า 500 คน นำโดย นายปรัชญา มานพ ประธานนักเรีรยน และนายกรรณรวีร์ คุณะพานิชวงศ์ ตัวแทนนักเรียน เดินทางมายังรัฐสภาเพื่อคัดค้านการเซ็นเอ็มโอยูในการใช้สถานที่ย่านเกียกกาย สร้างรัฐสภาแห่งใหม่ โดยมี นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายนิคม ไวยะรัชพาณิชย์ รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1รับฟังปัญหา
นายกรรณรวีร์ กล่าวว่า โรงเรียนแห่งนี้ก่อตั้งมายาวนานกว่า 73 ปีนักเรียน ทุกคนเป็นลูกหลานทหาร มีความผูกพัน หากจะย้ายโรงเรียนบริเวณวัดสร้อยทอง จะทำให้นักเรียนลำบาก เพราะไกลจากที่เดิม ซึ่งจะต้องจ่ายค่ารถเพิ่มทำให้เดือดร้อน
ผมเห็นว่ารัฐสภาแห่งนี้ก็ยังดีอยู่ ไม่สงสารเด็กตาดำๆบ้างเลยหรือไง ชาวบ้านอีกกี่คนที่เขาเดือดร้อนทำไมไม่เห็นความสำคัญของเด็กบ้าง ทำไมตัดสินใจกันเองโดยไม่ถามเด็กนักเรียนเลย
ด้านนายปรัชญา กล่าวว่า หากรัฐบาลยังจะดื้อดึงสร้างสภาพวกตนจะยื่นศาลปกครอง และถวายฎีกาเพื่อคัดค้านอย่างถึงที่สุด
การมาคัดค้านในวันนี้ พวกผมได้รับการข่มขู่ทางโทรศัพท์นิรนาม โทรไปที่บ้านว่าทำเช่นนี้อาจจะไม่จบ ม.6 ได้ แต่ผมไม่กลัว เพราะทุกอย่างที่ทำมันแสดงให้เห็นถึงความคิดเห็นที่แตกต่าง
นอกจากนี้ยังมีตัวแทนนักเรียนทั้งชายหญิงอีกลายคน ผลัดเปลี่ยนขึ้นมา สอบถามเหตุผลในการเลือกพื้นที่นี้ โดยหลายคนสอบถามด้วยน้ำเสียงสะอื้น มีน้ำตาคลอว่า พึ่งรู้ว่าจะต้องย้ายโรงเรียนภายใน 2 เดือน ก่อนหน้านี้ไม่ทราบข้อมูล มาก่อน ผู้อำนวยการจะมาเซ็นร่วมข้อตกลงกับประธานสภาฯก็ไม่มีใครรู้ ถามว่านักเรียนไม่มีสิทธิมีเสียงอะไรหรือ กว่าจะออกมาจากโรงเรียนได้ก็โดนโรงเรียนและตำรวจปิดกั้น ผู้อำนวยการไปตกลงโดยไม่ได้รับความยินยอมจากนักเรียน อาจเพราะคิดว่าจะเกษียณ ภายในเดือนตุลาคม จึงไม่คิดว่าเป็นเรื่องของตัวเองอีกแล้ว ทั้งนี้พื้นที่อื่นมีมากมายทำไมไม่เลือก เช่น พื้นทีคลังแสง สรรพาวุธจังหวัดนนทบุรี
นอกจากนี้หากสร้างสภาใหม่ที่นี่จะต้องขยายถนน จะต้องเวนคืนชาวบ้านแถวนั้นจะได้รับความเดือร้อนอย่างมาก ทราบมาว่างบประมาณในการรื้อถอน และชดเชยประมาณ 1 หมื่นล้านบาทสามารถเอาไปทำอะไรได้เยอะ
หลังจากนั้นนางอรสา สุขรักษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาอังกฤษ ได้กล่าวกับนักเรียนว่า ขอให้นักเรียนส่งตัวแทนมาจำนวน 20 คน เพื่อที่จะได้พูดคุยกับคณะกรรมการจัดหาสถานที่สร้างรัฐสภา เพราะการประท้วงอย่างนี้ไม่มีประโยชน์และครูก็ไม่ชอบที่เห็นนักเรียนทำเช่นนี้ ซึ่งทำให้นักเรียนโห่ร้อง ไม่เห็นด้วย สุดท้ายก็ยอมส่งตัวแทน 20 คน โดยส่วนใหญ่ตัวแทนไม่แน่ใจว่าการเข้าร่วมประชุมกับกรรมการจัดหาสถานที่สร้างสภาใหม่
ก่อนที่จะมีการสลายการชุมนุม นายปรัชญา ได้กล่าวว่าทราบว่าภายในวันนี้จะมีการเช็นเอ็มโอยู เพื่อใช้สถานที่ในการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่แล้ว แต่ได้รับการปฎิเสธจากประธานสภาผู้แทนฯ
ต่อมาเวลา 16.00 น.นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม พร้อมด้วยนายชัย ชิดชอบ ปรานสภาฯ ได้ร่วมเป็นพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาใหม่ โดยมีตัวแทนจาก 8 หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมลงนามประกอบด้วย รัฐสภา สำนักงานปลัดกระทรวงปกลาโหม กองทัพบก กรมราชองครักษ์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ กรมธนารักษ์ และ กทม.
ภายหลังตัวแทนทั้ง 8 หน่วยงานได้การลงนามในบันทึกข้อตกลงฯนายกรัฐมนตรีได้ขอให้ลงบันทึกช่วยจำว่าในฐานะนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม รับจะไปดำเนินการดังต่อไปนี้ คือ ปัญหาที่พักอาศัยของเจ้าหน้าที่ทหารระหว่างรอการก่อสร้าง ขณะนี้ได้จัดเตรียมบ้านในโครงการบ้านเอื้ออาทร ที่เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ย่านถนนงามวงศ์วาน หากเป็นครอบครัวใหญ่ก็ให้ 2 ยูนิต แต่ครอบครัวเล็ก 1 ยูนิต โดยสามารถย้ายเข้าไปอยู่ได้เลย และรัฐบาลจะเร่งก่อสร้างแฟลตที่อยู่อาศัยใหม่ให้เสร็จใช้เวลาไม่เกิน 1 ปีครึ่ง
สำหรับห้องเรียนของโรงเรียนขส.ทบ.ที่เดิมมี 50 ห้องจะใช้แบบเดียวกันกับอาคารสนามของกรมทางหลวงซึ่งจะสร้างเสร็จภายใน 2 เดือนนี้ ซึ่งทั้งหมดนี้จะรื้อถอนและขนย้ายให้เสร็จภายใน 3 เดือนนับจากนี้ แต่ในส่วนของ โรงเรียนโยธินบูรณะต้องอยู่ต่ออีก 2 ปี จนกว่าจะก่อสร้างโรงเรียนแห่งใหม่เสร็จ ส่วนที่อยู่อาศัยของประชาชนในชุมชนโรงานทอผ้าจำนวน 3 ไร่เศษ ตนจะดูราคาเวนคืนที่เหมาะสมและดีที่สุด แต่ถ้าตกลงไม่ได้ก็จะใช้อำนาจรัฐดำเนินการเวนคืน
ขณะที่นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 กล่าวว่า ภายในวันที่ 20 ส.ค.นี้จะเปิดให้บริษัทเอกชนเข้าร่วมประมูลเสนอแบบก่อสร้าง โดยจะเน้นสถาปัตยกรรมไทย และจะมีการวางศิลาฤกษ์ก่อนวันที่ 5 ธ.ค.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนหน้าจะมีพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงฯนั้น กลุ่มตัวแทน นักเรียนจากโรงเรียนโยธินบูรณะได้เข้าพบคุณหญิงกษมา วรวรรณ เลขาธิการ สพฐ. โดยเรียกร้องใน 4 ข้อ คือ 1 .งบประมาณในการก่อสร้างโรงเรียนแห่งใหม่ ต้องไม่น้อยกว่า 1 พันล้านบาท 2.ต้องจัดระบบการจราจรให้ดี 3.จัดระบบของชุมชน ในบริเวณนั้นให้เหมาะสม และ4.ให้รื้อถอนปั๊มแก๊สในบริเวณดังกล่าวออก โดย คุณหญิงกษมาได้รับปากว่าจะนำข้อเสนอเหล่านี้ให้รัฐบาลไปพิจารณา
โดยทางกลุ่มตัวแทนนักเรียนกล่าวว่า หากรัฐบาลทำตามเงื่อนไขไม่ได้ พวกเราก็มีสิทธิ์จะต่อสู้ต่อไป และการส่งมอบพื้นที่เพื่อก่อสร้างรัฐสภาใหม่ก็จะเป็นโมฆะ ซึ่งคุณหญิงกษมา กล่าวว่า หากทางนักเรียนจะต่อสู้ในกรณีที่รัฐบาลไม่ทำตามสัญญาก็ให้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองได้
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ระหว่างมีการเซ็นเอ็มโอยูกันนั้น ตัวแทนนักเรียนก 20 คนที่รฐสภารับปากจะให้เข้าไปร่วมสังเกตุการณ์กลับไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าบริเวณที่ทำพิธีลงนาม โดย รปภ.ปิดประตูล็อคกุญแจ ทำให้ตัวแทนนักเรียนบางคนถึงกับร้องให้
นายปรัชญา มานพ ประธานนักเรียนกล่าวว่า ผู้ใหญ่สอนให้เราเรียนรู้ประชาธิปไตย แต่ผู้ใหญ่ไม่ได้ทำประชาธิปไตยให้เราเห็น และไม่พอใจคำตอบที่ได้รับเพราะไม่มีอะไรยืนยันได้เลย ทั้งนี้จะมีการทำประชาพิจารณ์กันเองเพื่อให้สังคมรู้ว่า มีคนไม่เห็นด้วยกับการย้ายโรงเรียน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากได้รับการชี้แจงตัวแทนนักเรียนทั้งหมดได้นำ คำตอบไปแจ้งให้นักเรียนที่อยู่หน้าประตูรัฐสภารับทราบ โดยทุกคนต่างผิดหวังกันไปตามๆกัน ขณะที่ศิษย์เก่าของโรงเรียนได้ขอให้กลับไปบอกต่อรุ่นพี่ที่ไม่เห็นด้วยกับการย้ายครั้งนี้เพื่อจะนำเรื่องไปฟ้องต่อศาลปกครอง โดยก่อนที่ทุกคนจะแยกย้ายกันกลับบ้านก็ได้ร้องเพลงประจำโรงเรียนและปรบมือให้กับจุดยืนของตัวเองด้วย
นายสมัคร ยืนยันด้วยว่าจะเดินหน้าสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ย่านเกียกกาย แม้จะถูกต่อต้านจากชุมชุนเกียวกายและนักเรียนโรงเรียนโยธินบูรณะ โดยระบุว่า เมื่อตอนไปเอาที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ย่านคลองเตยก็ถูก สหภาพการรถไฟฯ คัดค้าน จึงหันมาเจรจาขอที่ดินทหารย่านเกียกกายเนื้อที่ 130 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระจา ซึ่งคิดว่าโครงการสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ที่คิดมานาน 16 ปีจะจบลงวันนี้ เพราะตนเป็นทั้งนายกรัฐมนตรี ที่อนุมัติเงินก่อสร้าง และเป็น รมว.กลาโหม ที่จะเห็นชอบให้ใช้ที่ดินทหารได้ จึงต้องทำเรื่องนี้ให้เสร็จ
ส่วนที่นักเรียนโรงเรียนโยธินบูรณะไม่ยอม นั้นจะไม่เป็นผลเพราะจะเดินหน้าต่อไปโดยจะย้ายโรงเรียนไปบริเวณมุมวัดสร้อยทอง ห่างจากจุดเดิม 1,700 เมตร มีเนื้อที่ 16 ไร่ ส่วนชาวบ้านจะย้ายไปอยู่ปากเกร็ด โดยเฉพาะแฟลตทหาร จะไปสร้างให้ที่ปากเกร็ด
ไอ้นี้คือความคิดของคนเป็นนายกรฯ ผมเป็นคนการันตีกับทหาร เย็นนี้ก็จะเซ็นสัญญากัน ซื้อที่แปลงนี้ให้ เพื่อจะเอาแปลงนั้นมาแลกกับแปลงนี้เพื่อสร้างโรงเรียน สร้างแฟลตทหาร นี่คือวิสัยทัศน์ของผม ผมต้องจัดการจัดแจงแล้วทำให้ทุกอย่างสำเร็จ จะสำเร็จได้เย็นนี้
วันเดียวกัน นักเรียนจากโรงเรียนโยธินบูรณะกว่า 500 คน นำโดย นายปรัชญา มานพ ประธานนักเรีรยน และนายกรรณรวีร์ คุณะพานิชวงศ์ ตัวแทนนักเรียน เดินทางมายังรัฐสภาเพื่อคัดค้านการเซ็นเอ็มโอยูในการใช้สถานที่ย่านเกียกกาย สร้างรัฐสภาแห่งใหม่ โดยมี นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายนิคม ไวยะรัชพาณิชย์ รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1รับฟังปัญหา
นายกรรณรวีร์ กล่าวว่า โรงเรียนแห่งนี้ก่อตั้งมายาวนานกว่า 73 ปีนักเรียน ทุกคนเป็นลูกหลานทหาร มีความผูกพัน หากจะย้ายโรงเรียนบริเวณวัดสร้อยทอง จะทำให้นักเรียนลำบาก เพราะไกลจากที่เดิม ซึ่งจะต้องจ่ายค่ารถเพิ่มทำให้เดือดร้อน
ผมเห็นว่ารัฐสภาแห่งนี้ก็ยังดีอยู่ ไม่สงสารเด็กตาดำๆบ้างเลยหรือไง ชาวบ้านอีกกี่คนที่เขาเดือดร้อนทำไมไม่เห็นความสำคัญของเด็กบ้าง ทำไมตัดสินใจกันเองโดยไม่ถามเด็กนักเรียนเลย
ด้านนายปรัชญา กล่าวว่า หากรัฐบาลยังจะดื้อดึงสร้างสภาพวกตนจะยื่นศาลปกครอง และถวายฎีกาเพื่อคัดค้านอย่างถึงที่สุด
การมาคัดค้านในวันนี้ พวกผมได้รับการข่มขู่ทางโทรศัพท์นิรนาม โทรไปที่บ้านว่าทำเช่นนี้อาจจะไม่จบ ม.6 ได้ แต่ผมไม่กลัว เพราะทุกอย่างที่ทำมันแสดงให้เห็นถึงความคิดเห็นที่แตกต่าง
นอกจากนี้ยังมีตัวแทนนักเรียนทั้งชายหญิงอีกลายคน ผลัดเปลี่ยนขึ้นมา สอบถามเหตุผลในการเลือกพื้นที่นี้ โดยหลายคนสอบถามด้วยน้ำเสียงสะอื้น มีน้ำตาคลอว่า พึ่งรู้ว่าจะต้องย้ายโรงเรียนภายใน 2 เดือน ก่อนหน้านี้ไม่ทราบข้อมูล มาก่อน ผู้อำนวยการจะมาเซ็นร่วมข้อตกลงกับประธานสภาฯก็ไม่มีใครรู้ ถามว่านักเรียนไม่มีสิทธิมีเสียงอะไรหรือ กว่าจะออกมาจากโรงเรียนได้ก็โดนโรงเรียนและตำรวจปิดกั้น ผู้อำนวยการไปตกลงโดยไม่ได้รับความยินยอมจากนักเรียน อาจเพราะคิดว่าจะเกษียณ ภายในเดือนตุลาคม จึงไม่คิดว่าเป็นเรื่องของตัวเองอีกแล้ว ทั้งนี้พื้นที่อื่นมีมากมายทำไมไม่เลือก เช่น พื้นทีคลังแสง สรรพาวุธจังหวัดนนทบุรี
นอกจากนี้หากสร้างสภาใหม่ที่นี่จะต้องขยายถนน จะต้องเวนคืนชาวบ้านแถวนั้นจะได้รับความเดือร้อนอย่างมาก ทราบมาว่างบประมาณในการรื้อถอน และชดเชยประมาณ 1 หมื่นล้านบาทสามารถเอาไปทำอะไรได้เยอะ
หลังจากนั้นนางอรสา สุขรักษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาอังกฤษ ได้กล่าวกับนักเรียนว่า ขอให้นักเรียนส่งตัวแทนมาจำนวน 20 คน เพื่อที่จะได้พูดคุยกับคณะกรรมการจัดหาสถานที่สร้างรัฐสภา เพราะการประท้วงอย่างนี้ไม่มีประโยชน์และครูก็ไม่ชอบที่เห็นนักเรียนทำเช่นนี้ ซึ่งทำให้นักเรียนโห่ร้อง ไม่เห็นด้วย สุดท้ายก็ยอมส่งตัวแทน 20 คน โดยส่วนใหญ่ตัวแทนไม่แน่ใจว่าการเข้าร่วมประชุมกับกรรมการจัดหาสถานที่สร้างสภาใหม่
ก่อนที่จะมีการสลายการชุมนุม นายปรัชญา ได้กล่าวว่าทราบว่าภายในวันนี้จะมีการเช็นเอ็มโอยู เพื่อใช้สถานที่ในการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่แล้ว แต่ได้รับการปฎิเสธจากประธานสภาผู้แทนฯ
ต่อมาเวลา 16.00 น.นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม พร้อมด้วยนายชัย ชิดชอบ ปรานสภาฯ ได้ร่วมเป็นพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาใหม่ โดยมีตัวแทนจาก 8 หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมลงนามประกอบด้วย รัฐสภา สำนักงานปลัดกระทรวงปกลาโหม กองทัพบก กรมราชองครักษ์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ กรมธนารักษ์ และ กทม.
ภายหลังตัวแทนทั้ง 8 หน่วยงานได้การลงนามในบันทึกข้อตกลงฯนายกรัฐมนตรีได้ขอให้ลงบันทึกช่วยจำว่าในฐานะนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม รับจะไปดำเนินการดังต่อไปนี้ คือ ปัญหาที่พักอาศัยของเจ้าหน้าที่ทหารระหว่างรอการก่อสร้าง ขณะนี้ได้จัดเตรียมบ้านในโครงการบ้านเอื้ออาทร ที่เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ย่านถนนงามวงศ์วาน หากเป็นครอบครัวใหญ่ก็ให้ 2 ยูนิต แต่ครอบครัวเล็ก 1 ยูนิต โดยสามารถย้ายเข้าไปอยู่ได้เลย และรัฐบาลจะเร่งก่อสร้างแฟลตที่อยู่อาศัยใหม่ให้เสร็จใช้เวลาไม่เกิน 1 ปีครึ่ง
สำหรับห้องเรียนของโรงเรียนขส.ทบ.ที่เดิมมี 50 ห้องจะใช้แบบเดียวกันกับอาคารสนามของกรมทางหลวงซึ่งจะสร้างเสร็จภายใน 2 เดือนนี้ ซึ่งทั้งหมดนี้จะรื้อถอนและขนย้ายให้เสร็จภายใน 3 เดือนนับจากนี้ แต่ในส่วนของ โรงเรียนโยธินบูรณะต้องอยู่ต่ออีก 2 ปี จนกว่าจะก่อสร้างโรงเรียนแห่งใหม่เสร็จ ส่วนที่อยู่อาศัยของประชาชนในชุมชนโรงานทอผ้าจำนวน 3 ไร่เศษ ตนจะดูราคาเวนคืนที่เหมาะสมและดีที่สุด แต่ถ้าตกลงไม่ได้ก็จะใช้อำนาจรัฐดำเนินการเวนคืน
ขณะที่นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 กล่าวว่า ภายในวันที่ 20 ส.ค.นี้จะเปิดให้บริษัทเอกชนเข้าร่วมประมูลเสนอแบบก่อสร้าง โดยจะเน้นสถาปัตยกรรมไทย และจะมีการวางศิลาฤกษ์ก่อนวันที่ 5 ธ.ค.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนหน้าจะมีพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงฯนั้น กลุ่มตัวแทน นักเรียนจากโรงเรียนโยธินบูรณะได้เข้าพบคุณหญิงกษมา วรวรรณ เลขาธิการ สพฐ. โดยเรียกร้องใน 4 ข้อ คือ 1 .งบประมาณในการก่อสร้างโรงเรียนแห่งใหม่ ต้องไม่น้อยกว่า 1 พันล้านบาท 2.ต้องจัดระบบการจราจรให้ดี 3.จัดระบบของชุมชน ในบริเวณนั้นให้เหมาะสม และ4.ให้รื้อถอนปั๊มแก๊สในบริเวณดังกล่าวออก โดย คุณหญิงกษมาได้รับปากว่าจะนำข้อเสนอเหล่านี้ให้รัฐบาลไปพิจารณา
โดยทางกลุ่มตัวแทนนักเรียนกล่าวว่า หากรัฐบาลทำตามเงื่อนไขไม่ได้ พวกเราก็มีสิทธิ์จะต่อสู้ต่อไป และการส่งมอบพื้นที่เพื่อก่อสร้างรัฐสภาใหม่ก็จะเป็นโมฆะ ซึ่งคุณหญิงกษมา กล่าวว่า หากทางนักเรียนจะต่อสู้ในกรณีที่รัฐบาลไม่ทำตามสัญญาก็ให้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองได้
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ระหว่างมีการเซ็นเอ็มโอยูกันนั้น ตัวแทนนักเรียนก 20 คนที่รฐสภารับปากจะให้เข้าไปร่วมสังเกตุการณ์กลับไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าบริเวณที่ทำพิธีลงนาม โดย รปภ.ปิดประตูล็อคกุญแจ ทำให้ตัวแทนนักเรียนบางคนถึงกับร้องให้
นายปรัชญา มานพ ประธานนักเรียนกล่าวว่า ผู้ใหญ่สอนให้เราเรียนรู้ประชาธิปไตย แต่ผู้ใหญ่ไม่ได้ทำประชาธิปไตยให้เราเห็น และไม่พอใจคำตอบที่ได้รับเพราะไม่มีอะไรยืนยันได้เลย ทั้งนี้จะมีการทำประชาพิจารณ์กันเองเพื่อให้สังคมรู้ว่า มีคนไม่เห็นด้วยกับการย้ายโรงเรียน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากได้รับการชี้แจงตัวแทนนักเรียนทั้งหมดได้นำ คำตอบไปแจ้งให้นักเรียนที่อยู่หน้าประตูรัฐสภารับทราบ โดยทุกคนต่างผิดหวังกันไปตามๆกัน ขณะที่ศิษย์เก่าของโรงเรียนได้ขอให้กลับไปบอกต่อรุ่นพี่ที่ไม่เห็นด้วยกับการย้ายครั้งนี้เพื่อจะนำเรื่องไปฟ้องต่อศาลปกครอง โดยก่อนที่ทุกคนจะแยกย้ายกันกลับบ้านก็ได้ร้องเพลงประจำโรงเรียนและปรบมือให้กับจุดยืนของตัวเองด้วย