xs
xsm
sm
md
lg

ป.ป.ช.โชว์หลักฐานฉีกหน้ารัฐ เปิดหนังสือราชเลขาธิการรับรอง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้แจกจ่ายหนังสือปกขาว ที่จัดทำขึ้นเพี่อชี้แจงที่มาและผลการทำงานของ ป.ป.ช. จำนวน 20,000 เล่ม หนา 40 หน้า ภายใต้ชื่อ ล้างทุจริตให้สิ้นแผ่นดินไทย เพื่อเทิดไท้องค์ราชัน โดยหน้าแรกได้อัญเชิญพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 6 ความว่า ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้
นอกจากนี้ยังมีคำปรารภของหนังสือเล่มนี้ มีใจความน่าสนใจ โดยได้มีการ กล่าวถึงที่มาของป.ป.ช.ที่เข้ามาทำหน้าที่อย่างราบรื่น เข้มแข็ง และมีประสิทธิภาพ แต่ทันใดที่คณะกรรมการป.ป.ช.ได้รับโอนคดีจาก คตส.ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2551 ก็มีเสียงโจมตีอย่างหนักถึงที่มาของป.ป.ช. จากฝ่ายที่เสียประโยชน์ และที่ถูกไต่สวนดำเนินคดี ทำให้ประชาชนเกิดความสับสน และสงสัยว่าป.ป.ช.ทุกคนมีที่มาอันถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ป.ป.ช.จึงต้อง แถลงชี้แจงให้ประชาชนได้รับทราบความจริงที่ถูกต้อง และเพื่อให้ประชาชนทุกท่าน ได้เกิดความมั่นใจว่าป.ป.ช.มีที่มาโดยถูกต้อง และได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้อง ทั้งจะยืนหยัดทำงานต่อไป โดยยึดหลักความเป็นกลาง ซื่อสัตย์สุจริต ปราศจากอคติ และเป็นอิสระต่อไป
สำหรับที่มาของป.ป.ช.นั้น ได้ชี้แจงผ่านหนังสือเล่มนี้ สรุปว่า ตามประกาศ คปค. ลงวันที่ 22 ก.ย. 2549 เรื่องให้กฎหมายป.ป.ช.มีผลใช้บังคับต่อไป และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการป.ป.ช.ชุดปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้คณะกรรมการป.ป.ช. จึงเกิดขึ้นพร้อมกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยป.ป.ช.
นอกจากนี้ยังมีเหตุผลอื่นรองรับคณะกรรมการป.ป.ช.ว่าเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ที่มาจากการแต่งตั้งโดยชอบด้วยกฎหมายมาตั้งแต่ต้น โดยยกคำพิพากษา ฎีกาที่ 45/2496 1662/2505 และ 6411/2534 ได้วินิจฉัยว่า การที่คณะรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองได้สำเร็จนั้น คณะรัฐประหารย่อมมีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลง แก้ไข ยกเลิก และออกกฎหมายตามระบบแห่งการปฏิวัติ เพื่อบริหารประเทศต่อไปได้ มิฉะนั้นประเทศชาติจะตั้งอยู่ในความสงบไม่ได้ ถือเป็นกฎหมายที่บังคับใช้แก่ประชาชนได้ แม้ต่อมาคณะปฏิวัติจะสลายตัวไป โดยมีรัฐธรรมนูญแ ออกใช้บังคับก็ตาม หากไม่มีกฎหมายยกเลิกประกาศหรือคำสั่งดังกล่าวแล้ว ประกาศหรือคำสั่งนั้นยังคงเป็นกฎหมายใช้บังคับได้โดยชอบต่อไป
2.ประกาศ คปค.ฉบับที่ 31 เรื่องการดำเนินตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ลงวันที่ 30 ก.ย. 2549 ข้อ 1 บัญญัติว่าการยกเลิกรัฐธรรมนูญ มิให้กระทบกระเทือนการบังคับใช้พ.ร.บฐประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 โดยยังใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีกฎหมาย แก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก และให้ถือว่าคณะกรรมการปปช.ซึ่งได้รับแต่งตั้งตามประกาศคณะปฏิรูปฯได้รับการสรรหาและแต่งตั้งโดยชอบ
3.คำสั่ง ประกาศของหัวหน้าปฏิวัติ ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งนั้น ไม่ว่าการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งนั้นจะกระทำก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้เป็นประกาศหรือคำสั่งหรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
4.รัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 309 บัญญัติว่าบรรดาการใดๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549 ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้ในรัฐธรรมนูญนี้ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
5. รัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 299 ได้บัญญัติให้กรรมการป.ป.ช. ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้คงดำรงตำแหน่งต่อไป จนกว่าจะสิ้นสุดวาระ โดยนับตั้งแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งอันเป็นผลทำให้ป.ป.ช. ชุดนี้ดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ
ส่วนกรณีที่ระบุว่าคณะกรรมการป.ป.ช.ได้ล่วงละเมิดพระราชอำนาจ โดยปฏิบัติงานก่อนที่จะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งนั้นถึงแม้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้รับการการแต่งตั้งจากคณะปฏิรูปการปกครองฯ ขณะเป็นรัฎฐาธิปัตย์ก็ตาม แต่ในสถานะของความเป็นข้าฯ ในเบื้องยุคลบาท ยังคงไว้ซึ่งความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ทั้งยังได้ตระหนักถึงพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาโดยตลอด ดังจะเห็นได้จากการที่มีหนังสือถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อขอให้นำความกราบบังคลทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะกรรมการปปช.
ทั้งนี้ได้นำหนังสือตอบรับจากสำนักราชเลขาธิการสำนักราชวัง ที่นายอาสา สารสิน ราชเลขาธิการ ทำหนังสือถึง ป.ป.ช.เพื่ออนุญาตให้เปิดเผยข้อความในหนังสือสำนักราชเลขาธิการฉบับที่ยืนยันประกาศคปค.ฉบับที่ 19 แต่งตั้งคณะกรรมการป.ป.ช.ให้ดำรงตำแหน่งแล้วนั้น ย่อมถือได้ว่ามีผลสมบูรณ์สามารถบังคับใช้ตามกฎหมาย เรื่องจากขณะนั้นคณะปฏิรูปฯมีฐานะเป็น รัฎฐาธิปัตย์ มีอำนาจเด็ดขาดแต่ผู้เดียว นอกจากนี้ยังหนังจากสำนักราชเลขาฯยังระบุว่าหนังสือฉบับที่ รล.0001.1/26519 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2549
นอกจากจะมีประเด็นที่เกี่ยวกับคณะกรรมการป.ป.ช.แล้วยังมีประเด็นเรื่องอื่นรวมอยู่ด้วย
สำหรับผลงานของคณะกรรมการปปช.ในด้านการปราบปรามการทุจริต มีดังนี้ 1.เรื่องค้างดำเนินการ จำนวน 11,578 เรื่อง 2.รับเรื่องเข้ามาใหม่ จำนวน 4,986 เรื่อง 3. รวมรับดำเนินการ จำนวน 16,564 เรื่อง 4.ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 11,231 เรื่อง 5. อยู่ในระหว่างดำเนินการ จำวน 5,333 เรื่อง
นอกจากนียังมีเรื่องที่ส่งให้อัยการสูงสุดดำเนิตคดีอาญา เพื่อพิจารณา พิพากษาคดีกับเจ้าหน้ารัฐทั้งผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง รวมทั้งเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ โดยป.ป.ช.มีมติจำนวนทั้งสิ้น 119 เรื่อง
นอกจากนี้ป.ป.ช.ยังได้มีการพิจารณาถอดถอนกรณีร้องขอถอดถอนให้ออกจาก ตำแหน่ง อาทิ การยื่นถอดถอนนายนพดล ปัทมะ อดีตรมว.การต่างประเทศ กรณีส่อว่า จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญโดยลงนามในแถลงการณ์ร่วม ไทย-กัมพูชา รวมทั้งคดีที่ป.ป.ช. รับเรื่องมาดำเนินการต่อจากคตส.ประกอบด้วยคดี การหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งศาลอาญามีคำพิพากษาแล้ว คดีที่ดินรัชดา คดีสลากเลขท้าย 3 ตัว 2 ตัว คดีเอ็กซิมแบงค์ และคดีกล้ายาง
อย่างไรก็ตามช่วงท้ายของสมุดปกขาว ได้มีการตั้งหัวข้อ จากข้อสงสัย โดยได้มีการถามถึงคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้รับการแต่งตั้งโดยถูกต้องหรือไม่ รวมถึง เหตุผลที่ป.ป.ช.ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก คปค.โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 9 ปี ซึ่งถูกมองว่าขั้นตอนการสรรหาไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ และยังมีคำถามถึงความมั่นคงที่จะผดุงซึ่งความยุติธรรมและเที่ยวธรรม ไม่หวั่นไหวกับกระแสสังคม ที่มีทัศนคติไม่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติหน้าที่ ขณะที่ป.ป.ช.ตอบว่า กรรมการป.ป.ช. มีเจตนารมย์มุ่งมั่น ที่จะผดุงความยุติธรรม รักษาผลประโยชน์ประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญตามกระแสพระราชดำรัสของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และได้ยืนยันว่าจะพยายามเร่งให้ข้อเท็จจริงต่างๆ ได้เปิดเผยต่อสาธารณะชนโดยเร็วต่อไป
ส่วนข้อสงสัยเรื่องการเสนอขึ้นเงินเดินค่าตอบแทนที่ปรึกษา เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ นั้น ป.ป.ช.ได้ชี้แจงว่าบุคคลเหล่านี้อยู่ในฐานะหน่วยงานธุรการ ที่จ้างมาปฏิบัติงานซึ่งได้รับเงินเดือนและค่าตอบแทนเป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการป.ป.ช.กำหนดตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 107 และการขึ้นค่าตอบแทนของบุคคลดังกล่าว เป็นไปตามสภาวะเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับการขึ้นเงินเดือนของข้าราชการและลูกจ้างทั่วไป และเทียบได้กับองค์กรอิสระอื่น ทั้งนี้ได้มีการได้มีกรเพิ่มค่าตอบแทน ให้ข้าราชการและลูกจ้างของสำนักงานปปช.ในคราวเดียวกันด้วย
ด้าน นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตแกนนำ นปก. และ1 ในผู้ดำเนินรายการ ความจริงวันนี้ ทางสถานีโทรทัศน์ NBT และกล่าวโจมตีที่มาของ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ตลอดกล่าวว่า ตนจะยังไม่แถลงในเรื่องนี้ แต่ตั้งข้อสังเกตว่าเอกสารที่แสดงไม่ใช่ทั้งหมดที่ตนเรียกร้องให้ป.ป.ช.แสดง อย่างไรก็ตามตนมีหลักฐานเด็ดที่จะแถลงต่อสื่อมวลชนในวันพรุ่งนี้ (15 ส.ค.) ช่วงบ่ายที่ทำเนียบรัฐบาล
กำลังโหลดความคิดเห็น