3 หนายังเรียกพี่ "เลี้ยบ" อ้างระบบเศรษฐกิจมีขนาดใหญ่ แก๊งออฟโฟร์ครอบงำไม่ได้ ปัดส่งทายาทอสูรยึดตลาดเงินตลาดทุน ชี้กรณี ก.ล.ต.เลือก "นิพัทธ" เป็นบอร์ดตลาดหุ้นทั้งๆ ที่นิพัทธตั้งบอร์ด ก.ล.ต.เป็นสิ่งถูกต้อง เรียกร้องสังคมให้เวลาพิสูจน์บอร์ด ธปท.-ตลท.ชุดใหม่ เผยวันนี้ถก 4 หน่วยงานปั่นจีดีพี ส่วน "โกร่ง" ตามราวีแบงก์ชาติกลางเวทีสัมมนากระทรวงพาณิชย์ เจอรองผู้ว่าฯ ตอกกลับ กนง.ไม่มีหน้าที่ปั่นจีดีพี แม้ให้ยาแรงแต่คนไข้รับไหว ด้านฝ่ายค้าน ต่อสาย “หม่อมเต่า-บวรศักดิ์” ร่วมเป็นผู้เสียหาย ยื่นศาลปกครองวินิจฉัยคุณสมบัติกรรมการสรรหาบอร์ดธปท.
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เปิดเผยกรณีที่หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าแก๊งออฟโฟร์ในพรรคพลังประชาชนเดินเกมขยายอิทธิพลไปยังตลาดเงินตลาดทุนว่า เป็นการโยงเรื่องของการเมืองให้มาเกี่ยวข้องกับเรื่องเศรษฐกิจซึ่งเป็นการสร้างกระแสทางการเมืองว่ากลุ่มการเมืองกลุ่มหนึ่งกำลังสร้างอิทธิพลไปอยู่เหนือตลาดเงินตลาดทุน ไม่ว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศมีขนาดใหญ่ จึงไม่มีบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง จะมีอำนาจในการชี้นำในภาพรวมเหนือตลาดเงินตลาดทุนได้
“บอร์ดของหน่วยงานต่างๆ ที่แต่งตั้งขึ้นโดยใช้อำนาจรัฐมนตรีคลังมาจากหลากหลายสาขาอาชีพและเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถมีความคิดเป็นของตนเอง คงไม่มีใครที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเป็นบอร์ดที่กำกับดูแลตลาดเงินตลาดทุนของประเทศแล้วมีผู้อยู่เบื้องหลังกำหนดว่าให้ทำอะไรได้หรือทำอะไรไม่ได้ แต่ละคนที่ได้รับการแต่งตั้งคิดตัดสินใจเองได้ไม่มีเรื่องอิทธิพลใดๆ แน่นอน”นพ.สุรพงษ์ กล่าว
รมว.คลัง กล่าวว่า การแต่งตั้งบอร์ดของ ก.ล.ต.และ ธปท.ที่ผ่านมาเป็นไปตามกระบวนการทางกฎหมาย ที่ตนเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาขึ้นมาเพื่อคัดเลือกบอร์ดและยืนยันอย่างชัดเจนว่าการกระทำต่างๆ ถูกต้องตามกฎหมายอย่างแน่นอน
ทั้งนี้ กรณีล่าสุดที่ ก.ล.ต.แต่งตั้งนายนิพัทธ พุกกะณะสุต เป็นกรรมการ ตลท.นั้น ทั้งๆ ที่นายนิพัทธเคยเป็นประธานสรรหาบอร์ดก.ล.ต.มาก่อน นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า ต้องไปถามผู้ที่คัดเลือกเองว่าทำไมถึงมีการคัดเลือกเช่นนั้น แต่เชื่อว่าการที่ ก.ล.ต.เลือกนายนิพัทธขึ้นเป็นบอร์ด ตลท.คงมีการตัดสินใจอย่างรอบคอบแล้ว จะเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมเขาก็คงจะใช้วิจารณาญาณที่ดีแล้วในการตัดสินใจเลือกในครั้งนี้ และความคิดเห็นของบอร์ดแต่ละชุดที่ทำหน้าที่แตกต่างกันไปนั้นย่อมทำหน้าที่อย่างเข้มข้นตามความรับผิดชอบของตนเองอยู่แล้ว
“ต้องรอให้เขาทำหน้าที่เพื่อพิสูจน์ผลงานของตนเองก่อน ส่วนการที่จะตัดสินว่าการคัดเลือกในครั้งนี้เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมก็ต้องขึ้นอยู่กับคนเลือก ไม่เกี่ยวกับผม” รมว.คลังกล่าว
ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการสรรหาบอร์ด ธปท.ที่มาจากการแต่งตั้งของ นพ.สุรพงษ์ก็มีพฤติกรรมดังกล่าว โดย 3 ใน 7 คน ของกรรมการสรรหา เป็นกรรมการในธนาคารพาณิชย์ (นายวิจิตร สุพินิจ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบธนาคารทหารไทย นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานคณะกรรมการธนาคารทหารไทย และนายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ประธานคณะกรรมการบริหารธนาคารกรุงไทย) ส่อขัดต่อมาตรา 28/1 ของ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 คือ มีผลประโยชน์ หรือมีส่วนได้ส่วนเสียที่ขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ.นี้ และนางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าฯ ธปท. ก็ได้มีการทักท้วงแล้ว แต่ นพ.สุรพงษ์ก็ยังเสนอให้ ครม. ตีตรา ขณะนี้พรรคประชาธิปัตย์กำลังรวบรวมข้อมูลฟ้องศาลปกครอง
ถก 4 หน่วยงานปั่นจีดีพีวันนี้
นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า จะเรียกประชุม 4 หน่วยงานด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อพิจารณาภาพรวมด้านเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรก และประเมินเป้าหมายเศรษฐกิจช่วงครึ่งปีหลัง รวมทั้งแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจและการปรับโครงสร้างต้นทุนเมกะโปรเจกต์ โดยใช้ปัจจัยราคาน้ำมันในตลาดโลกมาประกอบการพิจารณา ในเวลา 16.00 น. วันนี้ (14 ส.ค.)
โกร่งอัดอีก ธปท.แก้เงินเฟ้อ
นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยในงานสัมมนา 60 ปีดัชนีไทยก้าวไกลสู่สากล จัดโดยกระทรวงพาณิชย์ วานนี้ (13 ส.ค.) ว่า แนวทางการดูแลแก้ปัญหาเศรษฐกิจในประเทศจะต้องทำควบคู่กันทั้ง 3-4 เป้าหมายใหญ่ คือ ดูแลการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยนกับดุลการค้า และเสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งจะมามุ่งเน้นแก้เพียงปัญหาใดปัญหาหนึ่งเพียงอย่างเดียว จนสร้างผลกระทบต่อเป้าหมายอย่างอื่นไม่ได้
ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยการใช้นโยบายการเงิน ยอมรับว่าเห็นผลเร็ว แก้ได้ชะงัก แต่ก็มีผลกระทบข้างเคียงแรงมาก ดังนั้น การใช้นโยบายการเงินจะต้องระวัง บางทีอาจได้ไม่คุ้มเสีย ผิดกับนโยบายการคลัง ที่หากทำถูกบ้างผิดบ้าง ก็ไม่มีผลกระทบต่อภาพรวมมากนัก
“การใช้นโยบายการคลังเหมือนเป็นการให้ยาหม้อ ทำให้ผู้ป่วยหาช้าก็จริง แต่ผลข้างเคียงมีไม่มาก แต่การใช้นโยบายการเงิน ถือเป็นการให้ยาแรง และอาจเกิดผลเสียจนทำให้เศรษฐกิจหยุดชะงักได้ โดยเฉพาะการขึ้นหรือลดดอกเบี้ย และการแก้ไขปัญหาที่ผ่านๆ มา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ค่อยเข้ามาคุยกัน ต้องหาคนมาประสานให้ทำงานร่วมกัน ตกลงให้ได้ว่าใครจะทำอะไร เพื่อเป้าหมายตรงไหน” นายวีรพงษ์กล่าวและว่า จากนี้ไป จะต้องคิดว่าทำอย่างไรให้การใช้นโยบายการเงินและการคลังสอดคล้องกัน หากเดินไปในทิศทางเดียวกันจะทำให้เศรษฐกิจไทยมีเสถียรภาพ หากใช้ด้านใดด้านหนึ่งก็อาจจะทำให้เศรษฐกิจหยุดชะงัก เพราะขณะนี้นักลงทุนหลายประเทศกังวลใจในเรื่องอัตราเงินเฟ้อ ต้องดูแลไม่ให้สูงขึ้นหรือลดลงมากเกินไป โดยระดับที่เหมาะสมควรไม่เกิน 5% และไม่ควรต่ำกว่า 2% เพื่อให้รายได้ประชาชาติเติบโตดี และสอดคล้องกับแนวโน้มเงินเฟ้อทั่วโลก
รายงานข่าวแจ้งว่า หลังจากกล่าวจบ นายวีรพงษ์ได้เดินทางกลับในทันที โดยผู้สื่อข่าวได้พยายามสอบถามว่าจะประสานความแตกต่างนโยบายการเงินและการคลังอย่างไร แต่นายวีรพงษ์ กลับรับฟังด้วยท่าทีนิ่งเงียบ และไม่ตอบคำถามก่อนเดินขึ้นรถไป
นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า แนวทางการแก้ปัญหาของ ธปท.คือ ดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว ไม่ได้พิจารณาเพียงแค่แก้ปัญหาเงินเฟ้ออย่างเดียว ธปท.เห็นว่าปัญหาสำคัญของเศรษฐกิจของไทยในตอนนี้คือเรื่องเงินเฟ้อสูง ไม่ใช่เรื่องการขยายตัวเศรษฐ-กิจ จึงจำเป็นต้องเข้าไปแก้ปัญหาที่เงินเฟ้อ อีกทั้งเห็นได้ชัดว่าเศรษฐ-กิจไทยช่วงครึ่งปีแรกยังเติบโตได้ดีไม่มีปัญหา
“เราไม่ได้เห็นแย้งกันในการบริหารเศรษฐกิจมหภาค แบงก์ชาติมองถึงจุดสมดุลตลอด เพราะก่อนที่หมอจะให้ยารักษาโรค ก็ต้องมั่นใจแล้วว่าคนไข้แข็งแรงพอ สามารถรับยาได้ ซึ่งยาจะรุนแรงกว่าโรคไม่ได้ เราเข้าใจดีว่านโยบายที่ออกมาอาจมีผลข้างเคียง แต่ก็ได้หารือในคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ตลอด และดูแล้วว่าเศรษฐกิจยังแข็งแรงดีอยู่ เราจะไม่ให้ยาแรงจนคนไข้รับไม่ไหว” นายอัจนา กล่าว
นางอัจนากล่าวว่า หากประเทศไทยต้องการให้เศรษฐกิจโตในระยะยาว ก็ต้องให้แน่ใจว่าปัญหาเงินเฟ้อสูง จะไม่ยืดเยื้อยาวนาว ซึ่งหากเศรษฐกิจเติบโตดี แต่เงินเฟ้อสูง 8-9% ก็อาจไม่ได้ประโยชน์ และการปรับขึ้นดอกเบี้ยในภาวะเงินเฟ้อสูง และน้ำมันแพง เป็นเรื่องที่ธนาคารกลางของหลายประเทศได้ดำเนินการ เพราะได้พิสูจน์แล้วว่าการลดดอกเบี้ยเพื่อจะหวังเพิ่มอำนาจซื้อของประชาชนนั้นไม่เป็นผล เนื่องจากเมื่อราคาน้ำมันปรับตัวลดลง เงินเฟ้อก็ยังคงอยู่ในระดับที่สูง
ส่วนโน้มเงินเฟ้อในช่วงครึ่งปีหลัง เดิมทีคาดว่าจะทรงตัวอยู่ในระดับสูง แต่มีพอ 6 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาลออกมาช่วยลดค่าครองชีพ เชื่อว่าจะช่วยลดเงินเฟ้อได้ เป็นมาตรการที่จำเป็นในยุคของแพง ยุคน้ำมันแพง แต่ไม่ใช่ดีที่สุดในแง่เศรษฐศาสตร์ แต่จำเป็น ทั้งนี้ เห็นว่าเงินเฟ้อยังมีโอกาสเกิดขึ้นอีกรอบสอง เพราะหากต้นทุนสินค้ายังคงสูง ผู้ผลิตยังมองเห็นว่าจะผลักภาระให้ผู้บริโภคได้ ขณะที่ลูกจ้าง เห็นว่ามีโอกาสขอเพิ่มค่าจ้างแรงงานได้ ก็มีส่วนที่จะทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นได้อีก
นายปรเมธี วิมลศิริ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้จะเติบโตราว 5% แต่สิ่งสำคัญที่รัฐบาลจะต้องเร่งทำในช่วงครึ่งปีหลังและต่อเนื่องไปจนถึงต้นปีหน้า คือการสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนเพื่อให้เกิดการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน เพราะช่วงที่ผ่านมาการลงทุนภาคเอกชนเริ่มชะลอตัวจากปัญหาเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย รวมถึงปัญหาการเมืองในประเทศ
ปชป.ยื่นศาล ปค.สัปดาห์หน้า
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานคณะกรรมการประสานงาน (วิป) พรรคฝ่ายค้าน เปิดเผยความคืบหน้าการยื่นศาลปกครองตรวจสอบเพื่อให้ตรวจสอบคุณสมบัติคณะกรรมการสรรหา คณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือบอร์ด ธปท. ว่า ที่ประชุมพรรคได้พิจารณาเรื่องดังกล่าว สรุปว่ากรณีนี้ พรรคจะยื่นศาลปกครองให้ตรวจสอบภายในสัปดาห์หน้า แต่เนื่องด้วยการพิจารณาของศาลปกครองต่อกรณีดังกล่าว จำเป็นที่ต้องมีผู้เสียหาย ซึ่งถ้าพรรคยื่นฝ่ายเดียวก็อาจจะไม่มีน้ำหนักพอ ดังนั้น อาจมีการประสานไปยังม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล อดีตปลัดกระทรวงการคลัง และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และนาย บวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ให้เป็นผู้เสียหายร่วม เนื่องจากทั้ง 2 คน เป็นแคนดิเดตในคณะกรรมการสรรหาชุดดังกล่าวด้วย
นายสาทิตย์ กล่าวว่า ซึ่งในระหว่างรอการประสานอยู่นั้น พรรคก็จะใช้อีกช่องทางโดยการยื่นผู้ตรวจการแผ่นดิน แห่งรัฐสภา ให้รับเรื่องดังกล่าวด้วย ซึ่งถ้าผู้ตรวจฯ พิจารณาว่าไม่ถูกต้อง ก็สามารถยื่นให้ศาลปกครองพิจารณาต่อไปได้
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เปิดเผยกรณีที่หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าแก๊งออฟโฟร์ในพรรคพลังประชาชนเดินเกมขยายอิทธิพลไปยังตลาดเงินตลาดทุนว่า เป็นการโยงเรื่องของการเมืองให้มาเกี่ยวข้องกับเรื่องเศรษฐกิจซึ่งเป็นการสร้างกระแสทางการเมืองว่ากลุ่มการเมืองกลุ่มหนึ่งกำลังสร้างอิทธิพลไปอยู่เหนือตลาดเงินตลาดทุน ไม่ว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศมีขนาดใหญ่ จึงไม่มีบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง จะมีอำนาจในการชี้นำในภาพรวมเหนือตลาดเงินตลาดทุนได้
“บอร์ดของหน่วยงานต่างๆ ที่แต่งตั้งขึ้นโดยใช้อำนาจรัฐมนตรีคลังมาจากหลากหลายสาขาอาชีพและเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถมีความคิดเป็นของตนเอง คงไม่มีใครที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเป็นบอร์ดที่กำกับดูแลตลาดเงินตลาดทุนของประเทศแล้วมีผู้อยู่เบื้องหลังกำหนดว่าให้ทำอะไรได้หรือทำอะไรไม่ได้ แต่ละคนที่ได้รับการแต่งตั้งคิดตัดสินใจเองได้ไม่มีเรื่องอิทธิพลใดๆ แน่นอน”นพ.สุรพงษ์ กล่าว
รมว.คลัง กล่าวว่า การแต่งตั้งบอร์ดของ ก.ล.ต.และ ธปท.ที่ผ่านมาเป็นไปตามกระบวนการทางกฎหมาย ที่ตนเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาขึ้นมาเพื่อคัดเลือกบอร์ดและยืนยันอย่างชัดเจนว่าการกระทำต่างๆ ถูกต้องตามกฎหมายอย่างแน่นอน
ทั้งนี้ กรณีล่าสุดที่ ก.ล.ต.แต่งตั้งนายนิพัทธ พุกกะณะสุต เป็นกรรมการ ตลท.นั้น ทั้งๆ ที่นายนิพัทธเคยเป็นประธานสรรหาบอร์ดก.ล.ต.มาก่อน นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า ต้องไปถามผู้ที่คัดเลือกเองว่าทำไมถึงมีการคัดเลือกเช่นนั้น แต่เชื่อว่าการที่ ก.ล.ต.เลือกนายนิพัทธขึ้นเป็นบอร์ด ตลท.คงมีการตัดสินใจอย่างรอบคอบแล้ว จะเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมเขาก็คงจะใช้วิจารณาญาณที่ดีแล้วในการตัดสินใจเลือกในครั้งนี้ และความคิดเห็นของบอร์ดแต่ละชุดที่ทำหน้าที่แตกต่างกันไปนั้นย่อมทำหน้าที่อย่างเข้มข้นตามความรับผิดชอบของตนเองอยู่แล้ว
“ต้องรอให้เขาทำหน้าที่เพื่อพิสูจน์ผลงานของตนเองก่อน ส่วนการที่จะตัดสินว่าการคัดเลือกในครั้งนี้เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมก็ต้องขึ้นอยู่กับคนเลือก ไม่เกี่ยวกับผม” รมว.คลังกล่าว
ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการสรรหาบอร์ด ธปท.ที่มาจากการแต่งตั้งของ นพ.สุรพงษ์ก็มีพฤติกรรมดังกล่าว โดย 3 ใน 7 คน ของกรรมการสรรหา เป็นกรรมการในธนาคารพาณิชย์ (นายวิจิตร สุพินิจ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบธนาคารทหารไทย นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานคณะกรรมการธนาคารทหารไทย และนายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ประธานคณะกรรมการบริหารธนาคารกรุงไทย) ส่อขัดต่อมาตรา 28/1 ของ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 คือ มีผลประโยชน์ หรือมีส่วนได้ส่วนเสียที่ขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ.นี้ และนางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าฯ ธปท. ก็ได้มีการทักท้วงแล้ว แต่ นพ.สุรพงษ์ก็ยังเสนอให้ ครม. ตีตรา ขณะนี้พรรคประชาธิปัตย์กำลังรวบรวมข้อมูลฟ้องศาลปกครอง
ถก 4 หน่วยงานปั่นจีดีพีวันนี้
นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า จะเรียกประชุม 4 หน่วยงานด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อพิจารณาภาพรวมด้านเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรก และประเมินเป้าหมายเศรษฐกิจช่วงครึ่งปีหลัง รวมทั้งแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจและการปรับโครงสร้างต้นทุนเมกะโปรเจกต์ โดยใช้ปัจจัยราคาน้ำมันในตลาดโลกมาประกอบการพิจารณา ในเวลา 16.00 น. วันนี้ (14 ส.ค.)
โกร่งอัดอีก ธปท.แก้เงินเฟ้อ
นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยในงานสัมมนา 60 ปีดัชนีไทยก้าวไกลสู่สากล จัดโดยกระทรวงพาณิชย์ วานนี้ (13 ส.ค.) ว่า แนวทางการดูแลแก้ปัญหาเศรษฐกิจในประเทศจะต้องทำควบคู่กันทั้ง 3-4 เป้าหมายใหญ่ คือ ดูแลการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยนกับดุลการค้า และเสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งจะมามุ่งเน้นแก้เพียงปัญหาใดปัญหาหนึ่งเพียงอย่างเดียว จนสร้างผลกระทบต่อเป้าหมายอย่างอื่นไม่ได้
ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยการใช้นโยบายการเงิน ยอมรับว่าเห็นผลเร็ว แก้ได้ชะงัก แต่ก็มีผลกระทบข้างเคียงแรงมาก ดังนั้น การใช้นโยบายการเงินจะต้องระวัง บางทีอาจได้ไม่คุ้มเสีย ผิดกับนโยบายการคลัง ที่หากทำถูกบ้างผิดบ้าง ก็ไม่มีผลกระทบต่อภาพรวมมากนัก
“การใช้นโยบายการคลังเหมือนเป็นการให้ยาหม้อ ทำให้ผู้ป่วยหาช้าก็จริง แต่ผลข้างเคียงมีไม่มาก แต่การใช้นโยบายการเงิน ถือเป็นการให้ยาแรง และอาจเกิดผลเสียจนทำให้เศรษฐกิจหยุดชะงักได้ โดยเฉพาะการขึ้นหรือลดดอกเบี้ย และการแก้ไขปัญหาที่ผ่านๆ มา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ค่อยเข้ามาคุยกัน ต้องหาคนมาประสานให้ทำงานร่วมกัน ตกลงให้ได้ว่าใครจะทำอะไร เพื่อเป้าหมายตรงไหน” นายวีรพงษ์กล่าวและว่า จากนี้ไป จะต้องคิดว่าทำอย่างไรให้การใช้นโยบายการเงินและการคลังสอดคล้องกัน หากเดินไปในทิศทางเดียวกันจะทำให้เศรษฐกิจไทยมีเสถียรภาพ หากใช้ด้านใดด้านหนึ่งก็อาจจะทำให้เศรษฐกิจหยุดชะงัก เพราะขณะนี้นักลงทุนหลายประเทศกังวลใจในเรื่องอัตราเงินเฟ้อ ต้องดูแลไม่ให้สูงขึ้นหรือลดลงมากเกินไป โดยระดับที่เหมาะสมควรไม่เกิน 5% และไม่ควรต่ำกว่า 2% เพื่อให้รายได้ประชาชาติเติบโตดี และสอดคล้องกับแนวโน้มเงินเฟ้อทั่วโลก
รายงานข่าวแจ้งว่า หลังจากกล่าวจบ นายวีรพงษ์ได้เดินทางกลับในทันที โดยผู้สื่อข่าวได้พยายามสอบถามว่าจะประสานความแตกต่างนโยบายการเงินและการคลังอย่างไร แต่นายวีรพงษ์ กลับรับฟังด้วยท่าทีนิ่งเงียบ และไม่ตอบคำถามก่อนเดินขึ้นรถไป
นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า แนวทางการแก้ปัญหาของ ธปท.คือ ดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว ไม่ได้พิจารณาเพียงแค่แก้ปัญหาเงินเฟ้ออย่างเดียว ธปท.เห็นว่าปัญหาสำคัญของเศรษฐกิจของไทยในตอนนี้คือเรื่องเงินเฟ้อสูง ไม่ใช่เรื่องการขยายตัวเศรษฐ-กิจ จึงจำเป็นต้องเข้าไปแก้ปัญหาที่เงินเฟ้อ อีกทั้งเห็นได้ชัดว่าเศรษฐ-กิจไทยช่วงครึ่งปีแรกยังเติบโตได้ดีไม่มีปัญหา
“เราไม่ได้เห็นแย้งกันในการบริหารเศรษฐกิจมหภาค แบงก์ชาติมองถึงจุดสมดุลตลอด เพราะก่อนที่หมอจะให้ยารักษาโรค ก็ต้องมั่นใจแล้วว่าคนไข้แข็งแรงพอ สามารถรับยาได้ ซึ่งยาจะรุนแรงกว่าโรคไม่ได้ เราเข้าใจดีว่านโยบายที่ออกมาอาจมีผลข้างเคียง แต่ก็ได้หารือในคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ตลอด และดูแล้วว่าเศรษฐกิจยังแข็งแรงดีอยู่ เราจะไม่ให้ยาแรงจนคนไข้รับไม่ไหว” นายอัจนา กล่าว
นางอัจนากล่าวว่า หากประเทศไทยต้องการให้เศรษฐกิจโตในระยะยาว ก็ต้องให้แน่ใจว่าปัญหาเงินเฟ้อสูง จะไม่ยืดเยื้อยาวนาว ซึ่งหากเศรษฐกิจเติบโตดี แต่เงินเฟ้อสูง 8-9% ก็อาจไม่ได้ประโยชน์ และการปรับขึ้นดอกเบี้ยในภาวะเงินเฟ้อสูง และน้ำมันแพง เป็นเรื่องที่ธนาคารกลางของหลายประเทศได้ดำเนินการ เพราะได้พิสูจน์แล้วว่าการลดดอกเบี้ยเพื่อจะหวังเพิ่มอำนาจซื้อของประชาชนนั้นไม่เป็นผล เนื่องจากเมื่อราคาน้ำมันปรับตัวลดลง เงินเฟ้อก็ยังคงอยู่ในระดับที่สูง
ส่วนโน้มเงินเฟ้อในช่วงครึ่งปีหลัง เดิมทีคาดว่าจะทรงตัวอยู่ในระดับสูง แต่มีพอ 6 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาลออกมาช่วยลดค่าครองชีพ เชื่อว่าจะช่วยลดเงินเฟ้อได้ เป็นมาตรการที่จำเป็นในยุคของแพง ยุคน้ำมันแพง แต่ไม่ใช่ดีที่สุดในแง่เศรษฐศาสตร์ แต่จำเป็น ทั้งนี้ เห็นว่าเงินเฟ้อยังมีโอกาสเกิดขึ้นอีกรอบสอง เพราะหากต้นทุนสินค้ายังคงสูง ผู้ผลิตยังมองเห็นว่าจะผลักภาระให้ผู้บริโภคได้ ขณะที่ลูกจ้าง เห็นว่ามีโอกาสขอเพิ่มค่าจ้างแรงงานได้ ก็มีส่วนที่จะทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นได้อีก
นายปรเมธี วิมลศิริ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้จะเติบโตราว 5% แต่สิ่งสำคัญที่รัฐบาลจะต้องเร่งทำในช่วงครึ่งปีหลังและต่อเนื่องไปจนถึงต้นปีหน้า คือการสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนเพื่อให้เกิดการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน เพราะช่วงที่ผ่านมาการลงทุนภาคเอกชนเริ่มชะลอตัวจากปัญหาเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย รวมถึงปัญหาการเมืองในประเทศ
ปชป.ยื่นศาล ปค.สัปดาห์หน้า
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานคณะกรรมการประสานงาน (วิป) พรรคฝ่ายค้าน เปิดเผยความคืบหน้าการยื่นศาลปกครองตรวจสอบเพื่อให้ตรวจสอบคุณสมบัติคณะกรรมการสรรหา คณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือบอร์ด ธปท. ว่า ที่ประชุมพรรคได้พิจารณาเรื่องดังกล่าว สรุปว่ากรณีนี้ พรรคจะยื่นศาลปกครองให้ตรวจสอบภายในสัปดาห์หน้า แต่เนื่องด้วยการพิจารณาของศาลปกครองต่อกรณีดังกล่าว จำเป็นที่ต้องมีผู้เสียหาย ซึ่งถ้าพรรคยื่นฝ่ายเดียวก็อาจจะไม่มีน้ำหนักพอ ดังนั้น อาจมีการประสานไปยังม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล อดีตปลัดกระทรวงการคลัง และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และนาย บวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ให้เป็นผู้เสียหายร่วม เนื่องจากทั้ง 2 คน เป็นแคนดิเดตในคณะกรรมการสรรหาชุดดังกล่าวด้วย
นายสาทิตย์ กล่าวว่า ซึ่งในระหว่างรอการประสานอยู่นั้น พรรคก็จะใช้อีกช่องทางโดยการยื่นผู้ตรวจการแผ่นดิน แห่งรัฐสภา ให้รับเรื่องดังกล่าวด้วย ซึ่งถ้าผู้ตรวจฯ พิจารณาว่าไม่ถูกต้อง ก็สามารถยื่นให้ศาลปกครองพิจารณาต่อไปได้