เอเอฟพี – ญี่ปุ่นระบุวานนี้(13) อัตราเติบโตของเศรษฐกิจไตรมาสสองปีนี้หดตัวลงเพราะการส่งออกและการจับจ่ายใช้สอยในประเทศที่ชะลอ ส่งผลให้เกิดความกังวลว่าญี่ปุ่นจะเผชิญหน้ากับภาวะเศรษฐกิจถดถอย
ผลผลิตมวลรวมประชาชาติหรือจีดีพีไตรมาสสองที่สิ้นสุดเมื่อเดือนมิถุนายนปีนี้ หดตัวลงไป 0.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก หรือหากคิดเป็นอัตราการเติบโตต่อปีก็จะเท่ากับหดตัวลง 2.4% ความกังวลนี้บวกกับวิกฤตการเงินในสหรัฐฯที่ทำท่าว่าจะรุนแรงขึ้นอีกทำให้ตลาดหุ้นโตเกียวเมื่อวานนี้ (13) ร่วงลงไปถึง 2.1%
เสาหลักทั้ง 3 เสาของเศรษฐกิจญี่ปุ่น ต่างส่งสัญญาณชะลอตัวทั้งหมด โดยยอดการส่งออกในไตรมาสสองตกลงถึง 2.3% จากความต้องการสินค้าในต่างประเทศที่ลดลงมาก ขณะที่การจับจ่ายใช้สอยในประเทศลดลง 0.5% ส่วนการลงทุนภาคธุรกิจก็ลดลงไป 0.2% เช่นกัน
นักวิเคราะห์เห็นว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.5% ดังเดิมเพราะนอกจากเศรษฐกิจชะลอตัวแล้ว ญี่ปุ่นก็ยังเผชิญกับปัญหาอัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นอีกด้วย ทำให้ธนาคารกลางยังไม่สามารถจะทำอะไรได้ถนัดนัก
นอกจากนี้การขยายตัวจีดีพีไตรมาสแรกที่ปีนี้ก็ถูกปรับลดลงมาเหลือเพียง 0.8% จาก 1% ในรายงานครั้งก่อน ครั้งสุดท้ายที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะถดถอยก็คือปี 2001 ซึ่งมีการขยายตัวจีดีพีหดตัว 3 ไตรมาสติดกัน
ญี่ปุ่นไม่ใช่ประเทศเดียวที่ส่งสัญญาณเศรษฐกิจชะลอตัวต่อเนื่องจากสหรัฐฯ เพราะ อังกฤษ แคนาดา อิตาลีก็ประสบภาวะแบบเดียวกัน
ผลผลิตมวลรวมประชาชาติหรือจีดีพีไตรมาสสองที่สิ้นสุดเมื่อเดือนมิถุนายนปีนี้ หดตัวลงไป 0.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก หรือหากคิดเป็นอัตราการเติบโตต่อปีก็จะเท่ากับหดตัวลง 2.4% ความกังวลนี้บวกกับวิกฤตการเงินในสหรัฐฯที่ทำท่าว่าจะรุนแรงขึ้นอีกทำให้ตลาดหุ้นโตเกียวเมื่อวานนี้ (13) ร่วงลงไปถึง 2.1%
เสาหลักทั้ง 3 เสาของเศรษฐกิจญี่ปุ่น ต่างส่งสัญญาณชะลอตัวทั้งหมด โดยยอดการส่งออกในไตรมาสสองตกลงถึง 2.3% จากความต้องการสินค้าในต่างประเทศที่ลดลงมาก ขณะที่การจับจ่ายใช้สอยในประเทศลดลง 0.5% ส่วนการลงทุนภาคธุรกิจก็ลดลงไป 0.2% เช่นกัน
นักวิเคราะห์เห็นว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.5% ดังเดิมเพราะนอกจากเศรษฐกิจชะลอตัวแล้ว ญี่ปุ่นก็ยังเผชิญกับปัญหาอัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นอีกด้วย ทำให้ธนาคารกลางยังไม่สามารถจะทำอะไรได้ถนัดนัก
นอกจากนี้การขยายตัวจีดีพีไตรมาสแรกที่ปีนี้ก็ถูกปรับลดลงมาเหลือเพียง 0.8% จาก 1% ในรายงานครั้งก่อน ครั้งสุดท้ายที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะถดถอยก็คือปี 2001 ซึ่งมีการขยายตัวจีดีพีหดตัว 3 ไตรมาสติดกัน
ญี่ปุ่นไม่ใช่ประเทศเดียวที่ส่งสัญญาณเศรษฐกิจชะลอตัวต่อเนื่องจากสหรัฐฯ เพราะ อังกฤษ แคนาดา อิตาลีก็ประสบภาวะแบบเดียวกัน