ราคาพลังงานและอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นอยู่ที่ระดับ 1.2 เปอร์เซ็นต์ ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาสูงที่สุดในรอบ 10 ปี เพิ่มโอกาสที่ธนาคารกลางจะขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดภาวะเงินเฟ้อ
ราคาอาหารและพลังงานที่สูงขึ้นกำลังส่งผลกระทบต่อผลกำไรของบริษัทและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค แต่นักวิเคราะห์เชื่อว่าธนาคารกลางจะยังไม่ขึ้นดอกเบี้ยในเร็วๆ นี้ เนื่องจากเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่ยังย่ำแย่อยู่
การกลับเข้าสู่สถานการณ์เงินเฟ้อหลังจากประสบกับภาวะเงินฝืดนานหลายปี สร้างความกังวลให้กับผู้กำหนดนโยบายการเงินของญี่ปุ่นเพราะเงินเฟ้อครั้งนี้เกิดมาจากราคาสินค้านำเข้า เช่น น้ำมัน วัตถุดิบ และอาหารปรับตัวสูงขึ้นกำลังส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน ในขณะที่การใช้จ่ายเพื่อบริโภคและค่าจ้างแรงงานไม่ได้ปรับตัวขึ้นตาม
นักวิเคราะห์การเงินบางรายเชื่อว่า จากสถานการณ์ขณะนี้อาจทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นลดดอกเบี้ย ด้วยความวิตกว่าถ้าเศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะถดถอย จะฉุดให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นตกต่ำตามไปด้วย อย่างไรก็ดี จากอัตราดอกเบี้ยของญี่ปุ่นที่ต่ำอยู่แล้วเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ จะทำให้ธนาคารกลางลังเลที่จะลดดอกเบี้ยลงอีกเพราะจะยิ่งทำให้เกิดเงินเฟ้อ
ราคาอาหารและพลังงานที่สูงขึ้นกำลังส่งผลกระทบต่อผลกำไรของบริษัทและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค แต่นักวิเคราะห์เชื่อว่าธนาคารกลางจะยังไม่ขึ้นดอกเบี้ยในเร็วๆ นี้ เนื่องจากเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่ยังย่ำแย่อยู่
การกลับเข้าสู่สถานการณ์เงินเฟ้อหลังจากประสบกับภาวะเงินฝืดนานหลายปี สร้างความกังวลให้กับผู้กำหนดนโยบายการเงินของญี่ปุ่นเพราะเงินเฟ้อครั้งนี้เกิดมาจากราคาสินค้านำเข้า เช่น น้ำมัน วัตถุดิบ และอาหารปรับตัวสูงขึ้นกำลังส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน ในขณะที่การใช้จ่ายเพื่อบริโภคและค่าจ้างแรงงานไม่ได้ปรับตัวขึ้นตาม
นักวิเคราะห์การเงินบางรายเชื่อว่า จากสถานการณ์ขณะนี้อาจทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นลดดอกเบี้ย ด้วยความวิตกว่าถ้าเศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะถดถอย จะฉุดให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นตกต่ำตามไปด้วย อย่างไรก็ดี จากอัตราดอกเบี้ยของญี่ปุ่นที่ต่ำอยู่แล้วเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ จะทำให้ธนาคารกลางลังเลที่จะลดดอกเบี้ยลงอีกเพราะจะยิ่งทำให้เกิดเงินเฟ้อ