เอเอฟพี – รายงานของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ออกมาวานนี้ (7) ชี้ว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยาวนานที่สุดของญี่ปุ่นนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 น่าจะถึงจุดสิ้นสุดลงแล้ว ท่ามกลางความกังวลของหลายฝ่ายที่ว่าเศรษฐกิจแดนอาทิตย์อุทัยอาจจะกำลังเข้าสู่ภาวะชะลอตัวทั้งระบบ
“เศรษฐกิจอ่อนแอลงมากในช่วงเร็ว ๆนี้” รายงานของรัฐบาลญี่ปุ่นระบุ โดยในครั้งนี้ ไม่มีคำว่า “ฟื้นตัว” ซึ่งเคยอยู่ในการรายงานประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจทุกชิ้นในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา
“จากปัจจัยของสถานการณ์เศรษฐกิจในสหรัฐฯ, ตลาดเงินและตลาดหุ้นทั่วโลก รวมทั้งราคาน้ำมันในตลาดระหว่างประเทศ ต่างก็มีส่วนทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีความเสี่ยงที่จะอ่อนตัวลงต่อไปอีก” รายงานกล่าว
ส่วนเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะรัฐมนตรีคนหนึ่งก็บอกกับผู้สื่อข่าวว่า “ อาจเป็นไปได้ว่าเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยแล้วด้วยซ้ำ…. การขยายตัวของการจ้างงานและรายได้อยู่ในภาวะอ่อนตัวอย่างมาก ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นทำให้ความเชื่อมั่นของประชาชนย่ำแย่ลงไป เราคงจะไม่เห็นว่าการจับจ่ายใช้สอยส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นในเร็ว ๆนี้เป็นแน่”
เศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มขยายตัวอย่างช้า ๆและต่อเนื่องมาหลายปี ภายหลังฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่เมื่อทศวรรษ 1990 แต่ตอนนี้สภาพเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ราคาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น ได้สร้างแรงกดดันต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นอย่างหนัก
ในสัปดาห์หน้า ญี่ปุ่นจะประกาศตัวเลขผลผลิตมวลรวมประชาชาติของไตรมาส 2 ปีนี้ ซึ่งก็คาดกันว่าการเติบโตจะหดตัวลง และหากหดตัวลงติดต่อกันสองไตรมาส ก็จะเข้าสู่ “ภาวะถดถอย” อย่างแท้จริงตามนิยามในตำราเศรษฐศาสตร์
“เศรษฐกิจอ่อนแอลงมากในช่วงเร็ว ๆนี้” รายงานของรัฐบาลญี่ปุ่นระบุ โดยในครั้งนี้ ไม่มีคำว่า “ฟื้นตัว” ซึ่งเคยอยู่ในการรายงานประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจทุกชิ้นในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา
“จากปัจจัยของสถานการณ์เศรษฐกิจในสหรัฐฯ, ตลาดเงินและตลาดหุ้นทั่วโลก รวมทั้งราคาน้ำมันในตลาดระหว่างประเทศ ต่างก็มีส่วนทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีความเสี่ยงที่จะอ่อนตัวลงต่อไปอีก” รายงานกล่าว
ส่วนเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะรัฐมนตรีคนหนึ่งก็บอกกับผู้สื่อข่าวว่า “ อาจเป็นไปได้ว่าเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยแล้วด้วยซ้ำ…. การขยายตัวของการจ้างงานและรายได้อยู่ในภาวะอ่อนตัวอย่างมาก ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นทำให้ความเชื่อมั่นของประชาชนย่ำแย่ลงไป เราคงจะไม่เห็นว่าการจับจ่ายใช้สอยส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นในเร็ว ๆนี้เป็นแน่”
เศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มขยายตัวอย่างช้า ๆและต่อเนื่องมาหลายปี ภายหลังฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่เมื่อทศวรรษ 1990 แต่ตอนนี้สภาพเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ราคาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น ได้สร้างแรงกดดันต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นอย่างหนัก
ในสัปดาห์หน้า ญี่ปุ่นจะประกาศตัวเลขผลผลิตมวลรวมประชาชาติของไตรมาส 2 ปีนี้ ซึ่งก็คาดกันว่าการเติบโตจะหดตัวลง และหากหดตัวลงติดต่อกันสองไตรมาส ก็จะเข้าสู่ “ภาวะถดถอย” อย่างแท้จริงตามนิยามในตำราเศรษฐศาสตร์