เอเอฟพี/เอเยนซีส์ – ฝ่ายตะวันตกกำลังวิตกเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าการสู้รบอย่างนองเลือดระหว่างจอร์เจียกับรัสเซีย จะส่งผลกระทบต่อท่อส่งน้ำมันสายสำคัญที่ตัดผ่านภูมิภาคแถบนี้ เพื่อนำเอาทรัพยากรน้ำมันและก๊าซในแถบทะเลสาบแคสเปียน ไปสู่ยุโรปและสหรัฐฯ ทั้งนี้เป็นความเห็นของนักวิเคราะห์หลายราย
ขณะที่จอร์เจียไม่ได้เป็นผู้ผลิตน้ำมันด้วยตัวเอง ทว่าบริษัทพลังงานของอเมริกันกับยุโรปกลับกำหนดให้ประเทศที่มีแนวทางนิยมตะวันตกแห่งนี้ ซึ่งมีอาณาเขตแทรกหว่างกลางระหว่างรัสเซียกับอิหร่านที่อยู่ต่ำลงมาทางใต้ เป็นเจ้าบ้านรองรับแนวท่อส่งน้ำมันและก๊าซ ที่ส่งออกมาจากประเทศอาร์เซอร์ไบจัน
ตั้งแต่ที่ประธานาธิบดี มีเฮอิล ซาคาชวิลลี ขึ้นครองอำนาจในจอร์เจียเมื่อปี 2004 ได้มีการสร้างสายท่อส่งน้ำมันและก๊าซขึ้นใหม่รวม 2 สาย ความรุนแรงที่กำลังปะทุขึ้นมาระหว่างจอร์เจีย กับรัสเซียผู้เป็นเพื่อนบ้านที่มีขนาดใหญ่มหึมากว่ามากทางตอนเหนือ จึงกำลังคุกคามท่อส่งน้ำมันเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่อส่งน้ำมันสาย บากู (เมืองหลวงของอาร์เซอร์ไบจัน) – ทบิลิซิ (เมืองหลวงของจอร์เจีย) – เซย์ฮาน (เมืองท่าในตุรกี) หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า สาย บีทีซี
และราวกับจะเป็นการยืนยันความกังวลดังกล่าวนี้ ประธานของบริษัทน้ำมันแห่งรัฐของอาร์เซอร์ไบจัน ออกคำแถลงในวันเสาร์(9)ที่ผ่านมาว่า จะระงับการส่งออกน้ำมันผ่านเมืองท่าของจอร์เจีย 2 แห่ง คือ บาตูมี และ คูเลวี สืบเนื่องจากการสู้รบกันในดินแดนเซาท์ออสเซเทีย ที่ประกาศแยกตัวออกจากจอร์เจีย
การแถลงครั้งนี้มีขึ้นไม่นาน หลังจากนายกรัฐมนตรีจอร์เจีย ลาโด กุรเกนิดเซ บอกว่า เครื่องบินรบของรัสเซียได้เปิดการโจมตีในบริเวณใกล้ๆ กับท่อส่งน้ำมันสายบีทีซี ซึ่งมีความยาว 1,774 กิโลเมตร นับเป็นท่อสายที่มีความยาวเป็นอันดับสองของโลก โดยที่ราวๆ 249 กิโลเมตรผ่านเขตแดนของจอร์เจีย และหลายๆ ส่วนอยู่ห่างจากเซาท์ออสเซเทียประมาณ 55 กิโลเมตร
อย่างไรก็ตาม บีพี บริษัทน้ำมันยักษ์สัญชาติอังกฤษ ได้ลดทอนน้ำหนักความน่ากลัวของรายงานข่าวนี้ เมื่อโฆษกผู้หนึ่งของบีพีบอกว่า ไม่สามารถยืนยันได้ว่ามีการโจมตีทิ้งระเบิดของฝ่ายรัสเซีย “เราไม่ได้รับรู้เลยเกี่ยวกับการโจมตีนี้ และผมคิดว่าเราควรที่จะรู้นะ ถ้าหากข่าวนี้เป็นความจริง”
ท่อส่งน้ำมัน บีทีซี เริ่มเปิดใช้ในปี 2006 สามารถที่จะลำเลียงน้ำมันได้ 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากอาร์เซอร์ไบจัน ซึ่งอยู่ริมทะเลสาบแคสเปียน ไปยังเมืองท่าเซย์ฮาน ริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียมของตุรกี และจากที่นั่นก็จะมีเรือบรรทุกน้ำมันขนาดยักษ์มารอขนถ่าย เพื่อขนส่งต่อไปสู่ยุโรปและสหรัฐฯต่อไป
บีพีมีหุ้นอยู่ราว 30% ในท่อส่งน้ำมันสายนี้ ซึ่งสิ้นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างราว 3,000 ล้านดอลลาร์ โดยที่มีหุ้นส่วนอื่นๆ อีกราว 10 รายมาร่วมลงขันด้วย อาทิ บริษัทน้ำมันยักษ์ของสหรัฐฯอย่าง เชฟรอน และ โคโนโคฟิลิปส์
การขนส่งน้ำมันทางท่อผ่านเทือกเขาคอเคซัสเช่นนี้ มีความมุ่งหมายที่จะทำให้ตะวันตกลดการต้องพึ่งพิงน้ำมันและก๊าซจากรัสเซีย ซึ่งได้สร้างความกังวลใจด้วยการปิดท่อส่งน้ำมันและก๊าซ ระหว่างที่เกิดการพิพาทกับพวกรัฐอดีตสหภาพโซเวียตในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
แต่ พอล สตีเวนส์ นักวิเคราะห์ด้านน้ำมันแห่ง ชาแธม เฮาส์ สถาบันศึกษาวิจัยชื่อดังในลอนดอน ให้ความเห็นว่า ความเป็นไปได้ที่อาจเกิดภัยคุกคามต่อท่อส่งน้ำมันบีทีซี ไม่น่าที่จะสร้างความหวาดหวั่นแก่ตลาดน้ำมัน อย่างน้อยก็ในระยะสั้น
อันที่จริง ท่อส่งน้ำมันสายนี้ต้องหยุดการลำเลียงมาตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว สืบเนื่องจากเกิดการระเบิดในช่วงผ่านภาคตะวันออกของตุรกี โดยที่พวกกบฏแบ่งแยกดินแดนชาวเคิร์ดอ้างความรับผิดชอบ สตีเวนส์อธิบาย พร้อมกับชี้ว่า กระทั่งท่อต้องปิดลง 1-2 สัปดาห์ ก็ยังไม่น่ากระทบกระเทือนอะไรนักต่อซัปพลายน้ำมันของโลก
บีพียังเป็นผู้ดำเนินการท่อส่งสายเซาท์คอเคซัส ความยาว 692 กิโลเมตร ที่ส่งก๊าซจากอาร์เซอร์ไบจัน ผ่านจอร์เจีย ไปยังพรมแดนตุรกี
นาตาเลีย เลชเชนโก นักวิเคราะห์แห่ง โกลบอล อินไซต์ ก็มีความเห็นว่า ความขัดแย้งในระดับปัจจุบัน แทบไม่ส่งผลอะไรต่อการลำเลียงน้ำมันและก๊าซผ่านท่อส่งเหล่านี้ อย่างน้อยก็ในเฉพาะหน้า ยกเว้นแต่สงครามจะยกระดับรุนแรงขึ้น
แต่แธอก็เสริมด้วยว่า “ถ้ารัสเซียเริ่มต้นการปิดล้อมทางเศรษฐกิจ รัสเซียก็อาจจะพุ่งเป้าไปที่ท่อส่งน้ำมันและก๊าซเหล่านี้”
อย่างไรก็ตาม กองทัพรัสเซียได้ออกมาปฏิเสธเมื่อวานนี้(10)ต่อรายงานข่าวที่ว่า พวกเขากำลังใช้กำลังนาวีมาปิดล้อม เพื่อสกัดกั้นเรือที่จะขนส่งอาวุธไปยังเมืองท่าต่างๆ ของจอร์เจีย
ขณะที่จอร์เจียไม่ได้เป็นผู้ผลิตน้ำมันด้วยตัวเอง ทว่าบริษัทพลังงานของอเมริกันกับยุโรปกลับกำหนดให้ประเทศที่มีแนวทางนิยมตะวันตกแห่งนี้ ซึ่งมีอาณาเขตแทรกหว่างกลางระหว่างรัสเซียกับอิหร่านที่อยู่ต่ำลงมาทางใต้ เป็นเจ้าบ้านรองรับแนวท่อส่งน้ำมันและก๊าซ ที่ส่งออกมาจากประเทศอาร์เซอร์ไบจัน
ตั้งแต่ที่ประธานาธิบดี มีเฮอิล ซาคาชวิลลี ขึ้นครองอำนาจในจอร์เจียเมื่อปี 2004 ได้มีการสร้างสายท่อส่งน้ำมันและก๊าซขึ้นใหม่รวม 2 สาย ความรุนแรงที่กำลังปะทุขึ้นมาระหว่างจอร์เจีย กับรัสเซียผู้เป็นเพื่อนบ้านที่มีขนาดใหญ่มหึมากว่ามากทางตอนเหนือ จึงกำลังคุกคามท่อส่งน้ำมันเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่อส่งน้ำมันสาย บากู (เมืองหลวงของอาร์เซอร์ไบจัน) – ทบิลิซิ (เมืองหลวงของจอร์เจีย) – เซย์ฮาน (เมืองท่าในตุรกี) หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า สาย บีทีซี
และราวกับจะเป็นการยืนยันความกังวลดังกล่าวนี้ ประธานของบริษัทน้ำมันแห่งรัฐของอาร์เซอร์ไบจัน ออกคำแถลงในวันเสาร์(9)ที่ผ่านมาว่า จะระงับการส่งออกน้ำมันผ่านเมืองท่าของจอร์เจีย 2 แห่ง คือ บาตูมี และ คูเลวี สืบเนื่องจากการสู้รบกันในดินแดนเซาท์ออสเซเทีย ที่ประกาศแยกตัวออกจากจอร์เจีย
การแถลงครั้งนี้มีขึ้นไม่นาน หลังจากนายกรัฐมนตรีจอร์เจีย ลาโด กุรเกนิดเซ บอกว่า เครื่องบินรบของรัสเซียได้เปิดการโจมตีในบริเวณใกล้ๆ กับท่อส่งน้ำมันสายบีทีซี ซึ่งมีความยาว 1,774 กิโลเมตร นับเป็นท่อสายที่มีความยาวเป็นอันดับสองของโลก โดยที่ราวๆ 249 กิโลเมตรผ่านเขตแดนของจอร์เจีย และหลายๆ ส่วนอยู่ห่างจากเซาท์ออสเซเทียประมาณ 55 กิโลเมตร
อย่างไรก็ตาม บีพี บริษัทน้ำมันยักษ์สัญชาติอังกฤษ ได้ลดทอนน้ำหนักความน่ากลัวของรายงานข่าวนี้ เมื่อโฆษกผู้หนึ่งของบีพีบอกว่า ไม่สามารถยืนยันได้ว่ามีการโจมตีทิ้งระเบิดของฝ่ายรัสเซีย “เราไม่ได้รับรู้เลยเกี่ยวกับการโจมตีนี้ และผมคิดว่าเราควรที่จะรู้นะ ถ้าหากข่าวนี้เป็นความจริง”
ท่อส่งน้ำมัน บีทีซี เริ่มเปิดใช้ในปี 2006 สามารถที่จะลำเลียงน้ำมันได้ 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากอาร์เซอร์ไบจัน ซึ่งอยู่ริมทะเลสาบแคสเปียน ไปยังเมืองท่าเซย์ฮาน ริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียมของตุรกี และจากที่นั่นก็จะมีเรือบรรทุกน้ำมันขนาดยักษ์มารอขนถ่าย เพื่อขนส่งต่อไปสู่ยุโรปและสหรัฐฯต่อไป
บีพีมีหุ้นอยู่ราว 30% ในท่อส่งน้ำมันสายนี้ ซึ่งสิ้นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างราว 3,000 ล้านดอลลาร์ โดยที่มีหุ้นส่วนอื่นๆ อีกราว 10 รายมาร่วมลงขันด้วย อาทิ บริษัทน้ำมันยักษ์ของสหรัฐฯอย่าง เชฟรอน และ โคโนโคฟิลิปส์
การขนส่งน้ำมันทางท่อผ่านเทือกเขาคอเคซัสเช่นนี้ มีความมุ่งหมายที่จะทำให้ตะวันตกลดการต้องพึ่งพิงน้ำมันและก๊าซจากรัสเซีย ซึ่งได้สร้างความกังวลใจด้วยการปิดท่อส่งน้ำมันและก๊าซ ระหว่างที่เกิดการพิพาทกับพวกรัฐอดีตสหภาพโซเวียตในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
แต่ พอล สตีเวนส์ นักวิเคราะห์ด้านน้ำมันแห่ง ชาแธม เฮาส์ สถาบันศึกษาวิจัยชื่อดังในลอนดอน ให้ความเห็นว่า ความเป็นไปได้ที่อาจเกิดภัยคุกคามต่อท่อส่งน้ำมันบีทีซี ไม่น่าที่จะสร้างความหวาดหวั่นแก่ตลาดน้ำมัน อย่างน้อยก็ในระยะสั้น
อันที่จริง ท่อส่งน้ำมันสายนี้ต้องหยุดการลำเลียงมาตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว สืบเนื่องจากเกิดการระเบิดในช่วงผ่านภาคตะวันออกของตุรกี โดยที่พวกกบฏแบ่งแยกดินแดนชาวเคิร์ดอ้างความรับผิดชอบ สตีเวนส์อธิบาย พร้อมกับชี้ว่า กระทั่งท่อต้องปิดลง 1-2 สัปดาห์ ก็ยังไม่น่ากระทบกระเทือนอะไรนักต่อซัปพลายน้ำมันของโลก
บีพียังเป็นผู้ดำเนินการท่อส่งสายเซาท์คอเคซัส ความยาว 692 กิโลเมตร ที่ส่งก๊าซจากอาร์เซอร์ไบจัน ผ่านจอร์เจีย ไปยังพรมแดนตุรกี
นาตาเลีย เลชเชนโก นักวิเคราะห์แห่ง โกลบอล อินไซต์ ก็มีความเห็นว่า ความขัดแย้งในระดับปัจจุบัน แทบไม่ส่งผลอะไรต่อการลำเลียงน้ำมันและก๊าซผ่านท่อส่งเหล่านี้ อย่างน้อยก็ในเฉพาะหน้า ยกเว้นแต่สงครามจะยกระดับรุนแรงขึ้น
แต่แธอก็เสริมด้วยว่า “ถ้ารัสเซียเริ่มต้นการปิดล้อมทางเศรษฐกิจ รัสเซียก็อาจจะพุ่งเป้าไปที่ท่อส่งน้ำมันและก๊าซเหล่านี้”
อย่างไรก็ตาม กองทัพรัสเซียได้ออกมาปฏิเสธเมื่อวานนี้(10)ต่อรายงานข่าวที่ว่า พวกเขากำลังใช้กำลังนาวีมาปิดล้อม เพื่อสกัดกั้นเรือที่จะขนส่งอาวุธไปยังเมืองท่าต่างๆ ของจอร์เจีย