นิตยสารฟอร์จูนฉบับวันที่ 21 กรกฎาคม 2551 ได้ตีพิมพ์เกี่ยวกับบัญชีรายชื่อบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก 500 อันดับแรก เรียงลำดับตามรายได้ และมีบริษัทในธุรกิจลอจิสติกส์ติดอันดับจำนวนมากถึง 11 ราย ซึ่งสามารถสรุปได้ ดังนี้
บริษัทลอจิสติกส์รายใหญ่ของโลกในปี 2550
หน่วย : (ล้านบาท)
เป็นที่น่าสังเกตว่าในบรรดาผู้ให้บริการลอจิสติกส์รายใหญ่ 10 อันดับแรกข้างต้น เป็นผู้ประกอบธุรกิจไปรษณีย์เป็นจำนวนมากถึง 5 ราย หรือครึ่งหนึ่งของทั้งหมด ซึ่งธุรกิจไปรษณีย์นับว่าต้องเผชิญกับความท้าทายอย่างมาก เนื่องจากเดิมเป็นกิจการผูกขาด ซึ่งมีจุดอ่อนสำคัญ คือ มีต้นทุนคงที่สูงมาก เนื่องจากต้องจ้างบุคลากรจำนวนมาก รวมถึงจัดตั้งที่ทำการไปรษณีย์ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ
ขณะเดียวกันจากการที่ตลาดไปรษณีย์มีแนวโน้มทรงตัวหรือมีขนาดหดตัวลง เนื่องจากต้องเผชิญกับผลกระทบทางลบจากการแข่งขันของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (eMail) ทำให้ปัจจุบันประชาชนทั่วไปแทบจะไม่เดินทางไปยังที่ทำการไปรษณีย์ รวมถึงต้องเผชิญกับการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากผู้ให้บริการลอจิสติกส์กลุ่ม Big Four คือ UPS, FedEx, DHL และ TNT ซึ่งทำธุรกิจในด้านขนส่งพัสดุด่วนที่มีเครือข่ายทั่วโลก ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจไปรษณีย์ต้องพยายามแสวงหาธุรกิจใหม่ๆ เพื่อหารายได้เสริม เป็นต้นว่า ธุรกิจลอจิสติกส์ ธุรกิจการเงิน ธุรกิจค้าปลีก ฯลฯ
สำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่อันดับ 1 ของโลก คือ บริษัท Deutsche Post ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจไปรษณีย์ในเยอรมนี ทั้งนี้ในระยะที่ผ่านมาประสบผลสำเร็จอย่างมากในการขยายไปสู่ธุรกิจลอจิสติกส์ โดยซื้อกิจการบริษัท DHL และบริษัท Exel นอกจากนี้ ยังขยายไปสู่ธุรกิจด้านการเงิน ซึ่งนับว่าเป็นธนาคารสำหรับฝากเงินของลูกค้ารายย่อยขนาดใหญ่ที่สุดในเยอรมนี
ปัจจุบันคนไทยคุ้นเคยกับบริษัทนี้เป็นอย่างดีภายใต้แบรนด์ DHL โดยเฉพาะบริการส่งพัสดุด่วนระหว่างประเทศ ซึ่งปัจจุบัน DHL ครองตลาดในประเทศไทยมากถึง 60% นอกจากนี้ ในส่วนธุรกิจลอจิสติกส์แบบครบวงจรในรูปแบบ 3PL ซึ่งใช้แบรนด์ DHL Exel Supply Chain นั้น ได้ให้บริการแก่หลายบริษัทในประเทศไทย เป็นต้นว่า ห้างบิ๊กซี
อันดับที่ 2 คือ US Post Services ซึ่งเป็นธุรกิจไปรษณีย์ของสหรัฐฯ แม้กิจการมีรายได้มากเป็นอันดับ 2 แต่ธุรกิจไม่ค่อยดีนัก ขาดทุนเป็นเงินมากถึง 5,142 ล้านบาท เนื่องจากในระยะที่ผ่านมาปริมาณการส่งจดหมายในสหรัฐฯ ลดลงอย่างต่อเนื่อง
อันดับ 3 คือ บริษัท AP Moller Maersk ซึ่งเป็นเจ้าของสายการเดินเรือใหญ่ที่สุดในโลก คือ สายการเดินเรือ Maersk Line โดยมีส่วนแบ่งตลาดโลกในธุรกิจขนส่งตู้คอนเทนเนอร์เป็นสัดส่วนสูงถึง 18% รวมถึงมีกองเรือเดินสมุทรเป็นจำนวนมากกว่า 600 ลำ รวมถึงเป็นเจ้าของเรือคอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมีชื่อว่า “Emma Maersk” มีขนาดระวางบรรทุกมากถึง 15,200 TEU
สำหรับในระยะที่ผ่านมาบริษัทแห่งนี้ได้ขยายกิจการอย่างรวดเร็วจากการซื้อกิจการสายการเดินเรือคู่แข่งหลายบริษัท เป็นต้นว่า ซื้อกิจการสายการเดินเรือ Sea-Land ของสหรัฐฯ สายการเดินเรือ P&O Nedlloyd ของสหราชอาณาจักรและเนเธอร์แลนด์ ฯลฯ
อันดับที่ 4 คือ บริษัท UPS ของสหรัฐฯ ซึ่งนับเป็นผู้ดำเนินธุรกิจขนส่งพัสดุด่วนใหญ่ที่สุดในโลก และแข็งแกร่งมากในตลาดสหรัฐฯโดยแต่ละวันสามารถจัดส่งพัสดุได้มากถึง 15.7 ล้านชิ้น เน้นขนส่งทั้งทางบกและทางอากาศ โดยปัจจุบันเป็นสายการบินขนส่งสินค้าใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก มีเครือข่ายครอบคลุมมากกว่า 200 ประเทศ และสามารถจัดส่งพัสดุไปถึงทุกแห่งหนของโลกในเวลาไม่เกิน 24 – 48 ชั่วโมง และปัจจุบันมีเที่ยวบินบรรทุกสินค้าโดยใช้เครื่องบินแบบ MD-11 มาแวะที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของไทยจำนวน 5 เที่ยวบิน/สัปดาห์
อันดับที่ 5 คือ บริษัท FedEx ของสหรัฐฯ นับเป็นผู้ดำเนินธุรกิจขนส่งพัสดุด่วนใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก โดยขนส่งพัสดุภัณฑ์และเอกสารมากถึง 6 ล้านชิ้น/วัน แต่หากนับเฉพาะการขนส่งทางอากาศแล้ว UPS นับว่าเป็นสายการบินขนส่งสินค้าใหญ่ที่สุดในโลก เนื่องจากธุรกิจเน้นการขนส่งทางอากาศโดยใช้เครื่องบินของตนเองเป็นหลัก
อันดับ 6 คือ La Poste เป็นผู้ประกอบธุรกิจไปรษณีย์ในฝรั่งเศส ซึ่งนับเป็นผู้ให้บริการไปรษณีย์รายใหญ่อันดับ 2 ของยุโรป รองจากบริษัท Deutsche Post ของเยอรมนี ปัจจุบันได้ขยายกิจการไปสู่ธุรกิจขนส่งพัสดุด่วนซึ่งดำเนินการในนามบริษัท GeoPost และธุรกิจการเงินในนาม La Banque Postale
เดิมเมื่อประมาณ 12 ปีมาแล้ว La Poste นับว่ามีผลประกอบการและคุณภาพบริการใกล้เคียงสูสีกับบริษัท Deutsche Post ซึ่งเป็นผู้ให้บริการไปรษณีย์ของเยอรมนี แต่ปัจจุบันถูกทิ้งห่างอย่างไม่เห็นฝุ่น โดยรายได้ของบริษัท Deutsche Post มีมากเป็น 3 เท่าของ La Poste ยิ่งไปกว่านั้น ขณะที่ไปรษณีย์ของเยอรมนีสามารถบริการส่งจดหมายถึงผู้รับในวันรุ่งขึ้นได้เป็นสัดส่วนสูงถึง 90% ของทั้งหมด แต่ La Poste ทำได้เพียง 75% เท่านั้น เนื่องจากกรณีของเยอรมนีมีการเปิดเสรี ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจไปรษณีย์ต้องปรับตัวรองรับการแข่งขัน แตกต่างจากกรณีของฝรั่งเศสที่กิจการไปรษณีย์มีลักษณะค่อนข้างผูกขาด
สำหรับความท้าทายสำคัญของ La Poste คือ การเปิดเสรีธุรกิจไปรษณีย์ในยุโรปในปี 2554 ซึ่งมีแนวโน้มสูงว่าผู้ประกอบธุรกิจไปรษณีย์ในเยอรมนีและเนเธอร์แลนด์ จะรุกมาแข่งขันให้บริการไปรษณีย์ในฝรั่งเศส
อันดับ 7 คือ บริษัท Poste Italiane เป็นผู้ประกอบธุรกิจไปรษณีย์ในอิตาลี โดยปัจจุบันนอกจากให้บริการในด้านส่งจดหมายแล้ว ยังขยายธุรกิจไปสู่บริการทางการเงินและลอจิสติกส์ โดยเฉพาะธุรกิจการเงินภายใต้แบรนด์ BancoPosta นับเป็นธนาคารแก่ลูกค้าฝากเงินรายย่อยใหญ่ที่สุดในอิตาลี โดยอาศัยเครือข่ายที่ทำการไปรษณีย์ที่กระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ
นอกจากนี้ บริษัท Poste Italiane ยังให้บริการโทรศัพท์มือถือโดยใช้แบรนด์ PosteMobile โดยดำเนินธุรกิจในรูปแบบ Virtual Operator กล่าวคือ ไม่ได้ลงทุนในอุปกรณ์เครือข่ายของตนเอง แต่ใช้การเช่าเครือข่ายของบริษัทให้บริการมือถือรายอื่น ทั้งนี้ จากการที่มีธุรกิจมากมายหลายรูปแบบ ทำให้ปัจจุบันมีรายได้จากธุรกิจไปรษณีย์คิดเป็นสัดส่วนเพียง 33% ของรายได้ทั้งหมด
อันดับ 8 คือ Nippon Yusen Kaisha หรือมีชื่อย่อว่า NYK เป็นเจ้าของสายการเดินเรือใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น เป็นบริษัทเก่าแก่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2428 แม้ว่าเรือแทบทุกลำจะถูกทำลายเสียหายในช่วงสงครามครั้งที่ 2 แต่ได้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วภายหลังสงคราม ซึ่งปัจจุบันประสบผลสำเร็จทางธุรกิจอย่างมากในประเทศไทยทั้งในด้านเดินเรือและลอจิสติกส์
อันดับ 9 คือ กลุ่ม China Ocean Shipping (Group) Co หรือ COSCO ถือเป็นวิสาหกิจของรัฐบาลจีน โดยเป็นสายการเดินเรือขนาดใหญ่ที่สุดของจีน มีกองเรือพาณิชย์จำนวนมากกว่า 500 ลำ ประกอบด้วยเรือแบบต่างๆ ทั้งเรือคอนเทนเนอร์ เรือบรรทุกสินค้าเทกอง เรือบรรทุกน้ำมัน ฯลฯ
อันดับ 10 คือ Royal Mail Holding เป็นผู้ประกอบธุรกิจไปรษณีย์ในสหราชอาณาจักร โดยเป็นกิจการผูกขาดมาเป็นเวลายาวนานถึง 350 ปี แต่เผชิญความท้าทายสำคัญ เนื่องจากรัฐบาลสหราชอาณาจักรได้เปิดเสรีธุรกิจไปรษณีย์ให้รายอื่นเข้ามาแข่งขันนับตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ทำให้เริ่มถูกคู่แข่งแย่งตลาดธุรกิจไปรษณีย์ในส่วนการให้บริการแก่บริษัทขนาดใหญ่ แม้ว่าธุรกิจไปรษณีย์สำหรับลูกค้ารายย่อยจะยังคงครองตลาดอย่างเหนียวแน่นก็ตาม
ปัจจุบันมีกระแสควบรวมกิจการซึ่งจะทำให้เกิดบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกในธุรกิจ
ลอจิสติกส์เพิ่มขึ้นในอนาคต เป็นต้นว่า บริษัท Neptune Orient Lines ซึ่งเป็นเจ้าของสายการเดินเรือ APL ซึ่งนับเป็นผู้ประกอบธุรกิจเดินเรือคอนเทนเนอร์รายใหญ่ที่สุดของสิงคโปร์และเป็นอันดับ 7 ของโลก โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ กองทุนเทมาเส็กของสิงคโปร์ที่คนไทยรู้จักดี ได้ประกาศเมื่อกลางปี 2551 ที่จะเสนอซื้อกิจการสายการเดินเรือ Hapag-Lloyd ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก
หากการเจรจาซื้อกิจการดังกล่าวข้างต้นเป็นผลสำเร็จ จะทำให้กลายเป็นสายการเดินเรือคอนเทนเนอร์ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก โดยแซงหน้าสายการเดินเรือ Evergreen ของไต้หวัน ซึ่งปัจจุบันเป็นอันดับ 3 ของโลก และสายการเดินเรือ CMA-CGM ของฝรั่งเศส ซึ่งปัจจุบันเป็นอันดับ 4 ของโลก
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th
บริษัทลอจิสติกส์รายใหญ่ของโลกในปี 2550
หน่วย : (ล้านบาท)
อันดับ | บริษัท | ประเทศ | ธุรกิจหลัก | รายได้ | กำไร |
1 | Deutsche Post | เยอรมนี | ไปรษณีย์/พัสดุด่วน | 90,472 | 1,901 |
2 | US Post Services | สหรัฐฯ | ไปรษณีย์ | 74,778 | -5,142 |
3 | AP Moller Maersk | เดนมาร์ก | เดินเรือ | 52,381 | 3,275 |
4 | UPS | สหรัฐฯ | พัสดุด่วน | 49,692 | 382 |
5 | FedEx | สหรัฐฯ | พัสดุด่วน | 35,214 | 2,016 |
6 | La Poste | ฝรั่งเศส | ไปรษณีย์ | 31,947 | 1,291 |
7 | Poste Italiane | อิตาลี | ไปรษณีย์ | 23,518 | 1,155 |
8 | Nippon Yusen Kaisha (NYK) | ญี่ปุ่น | เดินเรือ | 22,632 | 999 |
9 | China Ocean Shipping (COSCO) | จีน | เดินเรือ | 20,840 | 3,678 |
10 | Royal Mail Holding | สหราชอาณาจักร | ไปรษณีย์ | 18,841 | 271 |
11 | Mitsui OSK Line | ญี่ปุ่น | เดินเรือ | 17,037 | 1,667 |
เป็นที่น่าสังเกตว่าในบรรดาผู้ให้บริการลอจิสติกส์รายใหญ่ 10 อันดับแรกข้างต้น เป็นผู้ประกอบธุรกิจไปรษณีย์เป็นจำนวนมากถึง 5 ราย หรือครึ่งหนึ่งของทั้งหมด ซึ่งธุรกิจไปรษณีย์นับว่าต้องเผชิญกับความท้าทายอย่างมาก เนื่องจากเดิมเป็นกิจการผูกขาด ซึ่งมีจุดอ่อนสำคัญ คือ มีต้นทุนคงที่สูงมาก เนื่องจากต้องจ้างบุคลากรจำนวนมาก รวมถึงจัดตั้งที่ทำการไปรษณีย์ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ
ขณะเดียวกันจากการที่ตลาดไปรษณีย์มีแนวโน้มทรงตัวหรือมีขนาดหดตัวลง เนื่องจากต้องเผชิญกับผลกระทบทางลบจากการแข่งขันของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (eMail) ทำให้ปัจจุบันประชาชนทั่วไปแทบจะไม่เดินทางไปยังที่ทำการไปรษณีย์ รวมถึงต้องเผชิญกับการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากผู้ให้บริการลอจิสติกส์กลุ่ม Big Four คือ UPS, FedEx, DHL และ TNT ซึ่งทำธุรกิจในด้านขนส่งพัสดุด่วนที่มีเครือข่ายทั่วโลก ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจไปรษณีย์ต้องพยายามแสวงหาธุรกิจใหม่ๆ เพื่อหารายได้เสริม เป็นต้นว่า ธุรกิจลอจิสติกส์ ธุรกิจการเงิน ธุรกิจค้าปลีก ฯลฯ
สำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่อันดับ 1 ของโลก คือ บริษัท Deutsche Post ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจไปรษณีย์ในเยอรมนี ทั้งนี้ในระยะที่ผ่านมาประสบผลสำเร็จอย่างมากในการขยายไปสู่ธุรกิจลอจิสติกส์ โดยซื้อกิจการบริษัท DHL และบริษัท Exel นอกจากนี้ ยังขยายไปสู่ธุรกิจด้านการเงิน ซึ่งนับว่าเป็นธนาคารสำหรับฝากเงินของลูกค้ารายย่อยขนาดใหญ่ที่สุดในเยอรมนี
ปัจจุบันคนไทยคุ้นเคยกับบริษัทนี้เป็นอย่างดีภายใต้แบรนด์ DHL โดยเฉพาะบริการส่งพัสดุด่วนระหว่างประเทศ ซึ่งปัจจุบัน DHL ครองตลาดในประเทศไทยมากถึง 60% นอกจากนี้ ในส่วนธุรกิจลอจิสติกส์แบบครบวงจรในรูปแบบ 3PL ซึ่งใช้แบรนด์ DHL Exel Supply Chain นั้น ได้ให้บริการแก่หลายบริษัทในประเทศไทย เป็นต้นว่า ห้างบิ๊กซี
อันดับที่ 2 คือ US Post Services ซึ่งเป็นธุรกิจไปรษณีย์ของสหรัฐฯ แม้กิจการมีรายได้มากเป็นอันดับ 2 แต่ธุรกิจไม่ค่อยดีนัก ขาดทุนเป็นเงินมากถึง 5,142 ล้านบาท เนื่องจากในระยะที่ผ่านมาปริมาณการส่งจดหมายในสหรัฐฯ ลดลงอย่างต่อเนื่อง
อันดับ 3 คือ บริษัท AP Moller Maersk ซึ่งเป็นเจ้าของสายการเดินเรือใหญ่ที่สุดในโลก คือ สายการเดินเรือ Maersk Line โดยมีส่วนแบ่งตลาดโลกในธุรกิจขนส่งตู้คอนเทนเนอร์เป็นสัดส่วนสูงถึง 18% รวมถึงมีกองเรือเดินสมุทรเป็นจำนวนมากกว่า 600 ลำ รวมถึงเป็นเจ้าของเรือคอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมีชื่อว่า “Emma Maersk” มีขนาดระวางบรรทุกมากถึง 15,200 TEU
สำหรับในระยะที่ผ่านมาบริษัทแห่งนี้ได้ขยายกิจการอย่างรวดเร็วจากการซื้อกิจการสายการเดินเรือคู่แข่งหลายบริษัท เป็นต้นว่า ซื้อกิจการสายการเดินเรือ Sea-Land ของสหรัฐฯ สายการเดินเรือ P&O Nedlloyd ของสหราชอาณาจักรและเนเธอร์แลนด์ ฯลฯ
อันดับที่ 4 คือ บริษัท UPS ของสหรัฐฯ ซึ่งนับเป็นผู้ดำเนินธุรกิจขนส่งพัสดุด่วนใหญ่ที่สุดในโลก และแข็งแกร่งมากในตลาดสหรัฐฯโดยแต่ละวันสามารถจัดส่งพัสดุได้มากถึง 15.7 ล้านชิ้น เน้นขนส่งทั้งทางบกและทางอากาศ โดยปัจจุบันเป็นสายการบินขนส่งสินค้าใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก มีเครือข่ายครอบคลุมมากกว่า 200 ประเทศ และสามารถจัดส่งพัสดุไปถึงทุกแห่งหนของโลกในเวลาไม่เกิน 24 – 48 ชั่วโมง และปัจจุบันมีเที่ยวบินบรรทุกสินค้าโดยใช้เครื่องบินแบบ MD-11 มาแวะที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของไทยจำนวน 5 เที่ยวบิน/สัปดาห์
อันดับที่ 5 คือ บริษัท FedEx ของสหรัฐฯ นับเป็นผู้ดำเนินธุรกิจขนส่งพัสดุด่วนใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก โดยขนส่งพัสดุภัณฑ์และเอกสารมากถึง 6 ล้านชิ้น/วัน แต่หากนับเฉพาะการขนส่งทางอากาศแล้ว UPS นับว่าเป็นสายการบินขนส่งสินค้าใหญ่ที่สุดในโลก เนื่องจากธุรกิจเน้นการขนส่งทางอากาศโดยใช้เครื่องบินของตนเองเป็นหลัก
อันดับ 6 คือ La Poste เป็นผู้ประกอบธุรกิจไปรษณีย์ในฝรั่งเศส ซึ่งนับเป็นผู้ให้บริการไปรษณีย์รายใหญ่อันดับ 2 ของยุโรป รองจากบริษัท Deutsche Post ของเยอรมนี ปัจจุบันได้ขยายกิจการไปสู่ธุรกิจขนส่งพัสดุด่วนซึ่งดำเนินการในนามบริษัท GeoPost และธุรกิจการเงินในนาม La Banque Postale
เดิมเมื่อประมาณ 12 ปีมาแล้ว La Poste นับว่ามีผลประกอบการและคุณภาพบริการใกล้เคียงสูสีกับบริษัท Deutsche Post ซึ่งเป็นผู้ให้บริการไปรษณีย์ของเยอรมนี แต่ปัจจุบันถูกทิ้งห่างอย่างไม่เห็นฝุ่น โดยรายได้ของบริษัท Deutsche Post มีมากเป็น 3 เท่าของ La Poste ยิ่งไปกว่านั้น ขณะที่ไปรษณีย์ของเยอรมนีสามารถบริการส่งจดหมายถึงผู้รับในวันรุ่งขึ้นได้เป็นสัดส่วนสูงถึง 90% ของทั้งหมด แต่ La Poste ทำได้เพียง 75% เท่านั้น เนื่องจากกรณีของเยอรมนีมีการเปิดเสรี ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจไปรษณีย์ต้องปรับตัวรองรับการแข่งขัน แตกต่างจากกรณีของฝรั่งเศสที่กิจการไปรษณีย์มีลักษณะค่อนข้างผูกขาด
สำหรับความท้าทายสำคัญของ La Poste คือ การเปิดเสรีธุรกิจไปรษณีย์ในยุโรปในปี 2554 ซึ่งมีแนวโน้มสูงว่าผู้ประกอบธุรกิจไปรษณีย์ในเยอรมนีและเนเธอร์แลนด์ จะรุกมาแข่งขันให้บริการไปรษณีย์ในฝรั่งเศส
อันดับ 7 คือ บริษัท Poste Italiane เป็นผู้ประกอบธุรกิจไปรษณีย์ในอิตาลี โดยปัจจุบันนอกจากให้บริการในด้านส่งจดหมายแล้ว ยังขยายธุรกิจไปสู่บริการทางการเงินและลอจิสติกส์ โดยเฉพาะธุรกิจการเงินภายใต้แบรนด์ BancoPosta นับเป็นธนาคารแก่ลูกค้าฝากเงินรายย่อยใหญ่ที่สุดในอิตาลี โดยอาศัยเครือข่ายที่ทำการไปรษณีย์ที่กระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ
นอกจากนี้ บริษัท Poste Italiane ยังให้บริการโทรศัพท์มือถือโดยใช้แบรนด์ PosteMobile โดยดำเนินธุรกิจในรูปแบบ Virtual Operator กล่าวคือ ไม่ได้ลงทุนในอุปกรณ์เครือข่ายของตนเอง แต่ใช้การเช่าเครือข่ายของบริษัทให้บริการมือถือรายอื่น ทั้งนี้ จากการที่มีธุรกิจมากมายหลายรูปแบบ ทำให้ปัจจุบันมีรายได้จากธุรกิจไปรษณีย์คิดเป็นสัดส่วนเพียง 33% ของรายได้ทั้งหมด
อันดับ 8 คือ Nippon Yusen Kaisha หรือมีชื่อย่อว่า NYK เป็นเจ้าของสายการเดินเรือใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น เป็นบริษัทเก่าแก่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2428 แม้ว่าเรือแทบทุกลำจะถูกทำลายเสียหายในช่วงสงครามครั้งที่ 2 แต่ได้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วภายหลังสงคราม ซึ่งปัจจุบันประสบผลสำเร็จทางธุรกิจอย่างมากในประเทศไทยทั้งในด้านเดินเรือและลอจิสติกส์
อันดับ 9 คือ กลุ่ม China Ocean Shipping (Group) Co หรือ COSCO ถือเป็นวิสาหกิจของรัฐบาลจีน โดยเป็นสายการเดินเรือขนาดใหญ่ที่สุดของจีน มีกองเรือพาณิชย์จำนวนมากกว่า 500 ลำ ประกอบด้วยเรือแบบต่างๆ ทั้งเรือคอนเทนเนอร์ เรือบรรทุกสินค้าเทกอง เรือบรรทุกน้ำมัน ฯลฯ
อันดับ 10 คือ Royal Mail Holding เป็นผู้ประกอบธุรกิจไปรษณีย์ในสหราชอาณาจักร โดยเป็นกิจการผูกขาดมาเป็นเวลายาวนานถึง 350 ปี แต่เผชิญความท้าทายสำคัญ เนื่องจากรัฐบาลสหราชอาณาจักรได้เปิดเสรีธุรกิจไปรษณีย์ให้รายอื่นเข้ามาแข่งขันนับตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ทำให้เริ่มถูกคู่แข่งแย่งตลาดธุรกิจไปรษณีย์ในส่วนการให้บริการแก่บริษัทขนาดใหญ่ แม้ว่าธุรกิจไปรษณีย์สำหรับลูกค้ารายย่อยจะยังคงครองตลาดอย่างเหนียวแน่นก็ตาม
ปัจจุบันมีกระแสควบรวมกิจการซึ่งจะทำให้เกิดบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกในธุรกิจ
ลอจิสติกส์เพิ่มขึ้นในอนาคต เป็นต้นว่า บริษัท Neptune Orient Lines ซึ่งเป็นเจ้าของสายการเดินเรือ APL ซึ่งนับเป็นผู้ประกอบธุรกิจเดินเรือคอนเทนเนอร์รายใหญ่ที่สุดของสิงคโปร์และเป็นอันดับ 7 ของโลก โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ กองทุนเทมาเส็กของสิงคโปร์ที่คนไทยรู้จักดี ได้ประกาศเมื่อกลางปี 2551 ที่จะเสนอซื้อกิจการสายการเดินเรือ Hapag-Lloyd ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก
หากการเจรจาซื้อกิจการดังกล่าวข้างต้นเป็นผลสำเร็จ จะทำให้กลายเป็นสายการเดินเรือคอนเทนเนอร์ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก โดยแซงหน้าสายการเดินเรือ Evergreen ของไต้หวัน ซึ่งปัจจุบันเป็นอันดับ 3 ของโลก และสายการเดินเรือ CMA-CGM ของฝรั่งเศส ซึ่งปัจจุบันเป็นอันดับ 4 ของโลก
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th