ธุรกิจบริการลอจิสติกส์โดยบุคคลที่สาม (Third Party Logistic - 3PL) ได้เริ่มต้นอย่างจริงๆ จังๆ ในช่วง 15 - 20 ปีที่ผ่านมา และได้เติบโตอย่างรวดเร็วในสหรัฐฯ จากนั้นได้เริ่มแพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปยังประเทศอื่นๆ ปัจจุบันอยู่ภายใต้กระแสควบรวมกิจการเพื่อช่วงชิงอันดับ 1 ของโลกและเพื่อให้บริการแก่ลูกค้าอย่างครบวงจรและมีประสิทธิภาพสูงสุด
ปัจจุบันวิวัฒนาการรูปแบบของกระบวนการดำเนินธุรกิจของประเทศต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก โดยบริษัทชั้นนำทั่วโลกได้ปรับลดการทำงานของตัวเองลง เหลือเฉพาะในส่วนที่สำคัญและเป็น Core Competency ของตนเองเท่านั้น สำหรับงานในส่วนอื่นๆ ได้มีการว่าจ้างให้บริษัทผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ มาทำหน้าที่แทนให้ทั้งหมด
สำหรับกิจกรรมในด้านลอจิสติกส์ก็เช่นเดียวกัน เดิมผู้ประกอบการดำเนินการด้วยตนเอง แต่เนื่องจากความยุ่งยากทั้งในส่วนการควบคุมพนักงานขับรถบรรทุก ค่าน้ำมัน ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรถยนต์ ฯลฯ ประกอบกับผู้ประกอบการนั้นๆ ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านลอจิสติกส์ ทำให้คุณภาพบริการต่ำกว่าของคู่แข่ง
เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น ในช่วงต่อมาอาจว่าจ้างผู้ให้บริการด้านลอจิสติกส์มาดำเนินการแทน โดยจัดแบ่งสรรงานให้แต่ละบริษัทไปคนละส่วน หรือเรียกในชื่อว่า Piecemeal Logistics เช่น คลังสินค้า การขนส่ง ฯลฯ แต่ก็ยังก่อให้เกิดความยุ่งยากอย่างมากต่อบริษัทในการควบคุมและประสานงาน ทำให้ไม่มั่นใจว่าสินค้าจะส่งถึงจุดหมายปลายทางตามกำหนดหรือไม่
แนวโน้มสำคัญในปัจจุบัน คือ ผู้ประกอบการจะว่าจ้างบริษัทลอจิสติกส์มาให้บริการแบบครบวงจรแบบ 3PL ซึ่งบางครั้งจะเรียกในชื่อว่า Logistics Integrator เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงลอจิสติกส์ในส่วนๆ อย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นการอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการ ซึ่งเราสามารถจำแนกธุรกิจ 3PL ออกได้เป็นบริการ 2 กลุ่มหลัก
บริการกลุ่มแรก Freight Management เป็นบริการในช่วงต้นน้ำของ Supply Chain บริษัททำธุรกิจในด้านนี้จะให้บริการแก่ลูกค้าอย่างครบวงจรทั้งในส่วนการขนส่งทางบก ทางเรือ หรือทางอากาศนอกจากนี้ บริการยังครอบคลุมถึงการรับจัดการในด้านพิธีการศุลกากร การจัดเก็บสินค้าระยะสั้นระหว่างรอการขนส่ง การบรรจุหีบห่อสินค้า ติดสลาก การตรวจสอบคุณภาพ ฯลฯ โดยลักษณะสำคัญของธุรกิจประเภทนี้ คือ บริษัทขนาดใหญ่จะได้เปรียบบริษัทขนาดเล็กค่อนข้างมาก เนื่องจากการประหยัดจากขนาด (Economies of Scale)
บริการกลุ่มที่สอง Contract Logistics เป็นการทำสัญญาให้บริการแบบแก่ลูกค้าในระยะยาว ในรูปแบบต่างๆ ครอบคลุมตั้งแต่การบริหารคลังสินค้า การจัดส่งสินค้าระยะใกล้ไปถึงผู้รับในท้องถิ่น ฯลฯ โดยจากการศึกษาเมื่อปี 2549 ในสหรัฐฯ และแคนาดา พบว่าโดยธุรกิจ Contract Logistic จะทำสัญญารับจ้างบริหารคลังสินค้าโดยเฉลี่ยต่อสัญญา 25,000 ตร.ม. และคิดค่าบริการโดยเฉลี่ย 4.4 ล้านเหรียญสหรัฐ/ราย ทั้งนี้ กิจการประเภทนี้จะแตกต่างจาก Freight Management กล่าวคือ การประหยัดจากขนาดไม่สำคัญมากนัก
เดิมบริษัท Exel ของสหราชอาณาจักร นับเป็นผู้ให้บริการ 3PL รายใหญ่ของโลก แต่จากการที่กลุ่ม DPWN ซึ่งเป็นผู้ประกอบของเยอรมนี ซึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจส่งพัสดุด่วน DHL ได้ซื้อกิจการบริษัท Exel เมื่อปี 2548 ทำให้ก้าวขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ของโลก ขณะที่อันดับ 2 เป็นบริษัท Kuehne & Nagel International ของสวิตเซอร์แลนด์ และอันดับเป็นบริษัท Schenker ซึ่งเป็นกิจการในเครือกลุ่ม DB ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรถไฟของเยอรมนี
ผู้ให้บริการ 3PL รายใหญ่ 25 อันดับแรกของโลก
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
แหล่งข้อมูล : Moveable Feast of Top 25 Global Third-Party Logistics Providers” Global Logistics and Supply Chain Strategies May 2007
เป็นที่น่าสังเกตว่า ธุรกิจ 3PL มีการควบรวมกิจการค่อนข้างมากในช่วงเวลาที่ผ่านมา เป็นต้นว่า บริษัท Deutsche Bahn ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรถไฟในเยอรมนี ได้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท Schenker เมื่อปี 2545 และกลายเป็นผู้ดำเนินธุรกิจ 3PL ใหญ่อันดับ 3 ของโลก ล่าสุดเมื่อเดือนมกราคม 2549 บริษัท Schenker ได้จ่ายเงิน 50,000 ล้านบาท เพื่อซื้อกิจการบริษัท BAX Global ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ 3PL ใหญ่อันดับ 16 ของโลก ทำให้รายได้เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดและหายใจรดต้นคอบริษัท Kuehne & Nagel International ซึ่งเป็นอันดับ 2 ของโลก
บริษัท CEVA Logistics ถือกำเนิดขึ้นจากบริษัท TNT ได้ขายกิจการแผนกลอจิสติกส์บางส่วนซึ่งเดิมดำเนินการนาม TNT Logistics ให้แก่กองทุน Apollo Investment Fund แต่กองทุนแห่งนี้ยังไม่พอใจ ดังนั้น ต่อมาได้จ่ายเงิน 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อซื้อกิจการบริษัท EGL ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจ 3PL ใหญ่เป็นอันดับที่ 15 ของโลก ภายหลังควบกิจการเข้าด้วยกันเมื่อเดือนสิงหาคม 2550 ทำให้บริษัท CEVA Logistics กลายเป็นผู้ประกอบการลอจิสติกส์รายใหญ่อันดับ 8 ของโลก โดยมีบุคลากรทั่วโลกรวมกันกว่า 54,000 คน มีคลังสินค้ารวม 615 แห่ง มีพื้นที่คลังสินค้าทั่วโลกรวม 8.6 ล้าน ตร.ม. และมีเครือข่ายครอบคลุมกว่า 100 ประเทศทั่วโลก
สำหรับบริษัท Agility ของคูเวต ซึ่งเป็นอันดับ 7 ของโลก ซึ่งเติบโตอย่างรวดเร็วจากธุรกิจลอจิสติกส์แก่กระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ ในช่วงสงครามอิรัก ได้ซื้อกิจการบริษัท GeoLogistics ซึ่งเชี่ยวชาญในด้าน Freight Forwarder และ บริษัท Lep International ภายหลังควบกิจการเข้าด้วยกัน ได้เปลี่ยนชื่อเสียใหม่ว่าบริษัท Agility ซึ่งประสบผลสำเร็จทางธุรกิจเป็นอย่างมาก
บริษัท UPS ซื้อกิจการบริษัท Menlo Worldwide Forwarding (เดิมชื่อ Emery Worldwide) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการในธุรกิจ 3PL ใหญ่อันดับ 11 ของโลก เป็นเงิน 260 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ก้าวกระโดดจากอันดับ 8 มาเป็นอันดับ 4 ของโลก
สำหรับบริษัท Toll Holdings ซึ่งเป็นผู้ให้บริการลอจิสติกส์รายใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย ได้ซื้อกิจการบริษัท SembCorp Industries ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของสิงคโปร์ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ 3PL ใหญ่อันดับที่ 25 ของโลก เมื่อกลางปี 2549 ทำให้ก้าวกระโดดมาเป็นผู้ให้บริการใหญ่อันดับ 22 ของโลก
สุดท้ายนี้ ปัจจุบันตลาด 3PL ของประเทศไทยมีขนาดประมาณ 100,000 ล้านบาท โดยผู้ประกอบการของไทยอ่อนแอมากเมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทต่างชาติ ทั้งนี้ จากการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษา Frost & Sullivan โดยใช้ข้อมูลการสำรวจความเห็นของผู้ใช้บริการในประเทศไทยเมื่อปี 2551 พบว่าบริษัทต่างชาติครองตำแหน่งผู้ให้บริการลอจิสติกส์ยอดเยี่ยมแทบทั้งหมด โดยเฉพาะบริษัท DHL ของเยอรมนี บริษัท IDS Logistics ของฮ่องกง และบริษัท CEVA ของกองทุนสหรัฐฯ ทั้งนี้ สถานการณ์ของไทยแตกต่างจากกรณีประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่บริษัทท้องถิ่นสามารถสอดแทรกครองตำแหน่งยอดเยี่ยมในตลาดของตนเองได้ค่อนข้างมาก
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th
ธุรกิจลอจิสติกส์ในประเทศไทยที่ได้รับรางวัล
ASEAN Transportation & Logistics Awards
แหล่งข้อมูล : ข้อมูลคำแถลงข่าวของบริษัท Frost & Sullivan เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2551
ปัจจุบันวิวัฒนาการรูปแบบของกระบวนการดำเนินธุรกิจของประเทศต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก โดยบริษัทชั้นนำทั่วโลกได้ปรับลดการทำงานของตัวเองลง เหลือเฉพาะในส่วนที่สำคัญและเป็น Core Competency ของตนเองเท่านั้น สำหรับงานในส่วนอื่นๆ ได้มีการว่าจ้างให้บริษัทผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ มาทำหน้าที่แทนให้ทั้งหมด
สำหรับกิจกรรมในด้านลอจิสติกส์ก็เช่นเดียวกัน เดิมผู้ประกอบการดำเนินการด้วยตนเอง แต่เนื่องจากความยุ่งยากทั้งในส่วนการควบคุมพนักงานขับรถบรรทุก ค่าน้ำมัน ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรถยนต์ ฯลฯ ประกอบกับผู้ประกอบการนั้นๆ ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านลอจิสติกส์ ทำให้คุณภาพบริการต่ำกว่าของคู่แข่ง
เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น ในช่วงต่อมาอาจว่าจ้างผู้ให้บริการด้านลอจิสติกส์มาดำเนินการแทน โดยจัดแบ่งสรรงานให้แต่ละบริษัทไปคนละส่วน หรือเรียกในชื่อว่า Piecemeal Logistics เช่น คลังสินค้า การขนส่ง ฯลฯ แต่ก็ยังก่อให้เกิดความยุ่งยากอย่างมากต่อบริษัทในการควบคุมและประสานงาน ทำให้ไม่มั่นใจว่าสินค้าจะส่งถึงจุดหมายปลายทางตามกำหนดหรือไม่
แนวโน้มสำคัญในปัจจุบัน คือ ผู้ประกอบการจะว่าจ้างบริษัทลอจิสติกส์มาให้บริการแบบครบวงจรแบบ 3PL ซึ่งบางครั้งจะเรียกในชื่อว่า Logistics Integrator เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงลอจิสติกส์ในส่วนๆ อย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นการอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการ ซึ่งเราสามารถจำแนกธุรกิจ 3PL ออกได้เป็นบริการ 2 กลุ่มหลัก
บริการกลุ่มแรก Freight Management เป็นบริการในช่วงต้นน้ำของ Supply Chain บริษัททำธุรกิจในด้านนี้จะให้บริการแก่ลูกค้าอย่างครบวงจรทั้งในส่วนการขนส่งทางบก ทางเรือ หรือทางอากาศนอกจากนี้ บริการยังครอบคลุมถึงการรับจัดการในด้านพิธีการศุลกากร การจัดเก็บสินค้าระยะสั้นระหว่างรอการขนส่ง การบรรจุหีบห่อสินค้า ติดสลาก การตรวจสอบคุณภาพ ฯลฯ โดยลักษณะสำคัญของธุรกิจประเภทนี้ คือ บริษัทขนาดใหญ่จะได้เปรียบบริษัทขนาดเล็กค่อนข้างมาก เนื่องจากการประหยัดจากขนาด (Economies of Scale)
บริการกลุ่มที่สอง Contract Logistics เป็นการทำสัญญาให้บริการแบบแก่ลูกค้าในระยะยาว ในรูปแบบต่างๆ ครอบคลุมตั้งแต่การบริหารคลังสินค้า การจัดส่งสินค้าระยะใกล้ไปถึงผู้รับในท้องถิ่น ฯลฯ โดยจากการศึกษาเมื่อปี 2549 ในสหรัฐฯ และแคนาดา พบว่าโดยธุรกิจ Contract Logistic จะทำสัญญารับจ้างบริหารคลังสินค้าโดยเฉลี่ยต่อสัญญา 25,000 ตร.ม. และคิดค่าบริการโดยเฉลี่ย 4.4 ล้านเหรียญสหรัฐ/ราย ทั้งนี้ กิจการประเภทนี้จะแตกต่างจาก Freight Management กล่าวคือ การประหยัดจากขนาดไม่สำคัญมากนัก
เดิมบริษัท Exel ของสหราชอาณาจักร นับเป็นผู้ให้บริการ 3PL รายใหญ่ของโลก แต่จากการที่กลุ่ม DPWN ซึ่งเป็นผู้ประกอบของเยอรมนี ซึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจส่งพัสดุด่วน DHL ได้ซื้อกิจการบริษัท Exel เมื่อปี 2548 ทำให้ก้าวขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ของโลก ขณะที่อันดับ 2 เป็นบริษัท Kuehne & Nagel International ของสวิตเซอร์แลนด์ และอันดับเป็นบริษัท Schenker ซึ่งเป็นกิจการในเครือกลุ่ม DB ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรถไฟของเยอรมนี
ผู้ให้บริการ 3PL รายใหญ่ 25 อันดับแรกของโลก
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ปี 2546 | ปี 2549 | |||
อันดับ | บริษัท | รายได้ | บริษัท | รายได้ |
Exel | 8,900 | DHL Exel | 31,000 | |
Kuehne & Nagel International | 6,900 | Kuehne & Nagel International | 14,900 | |
Schenker | 6,400 | Schenker | 14,000 | |
DHL | 5,700 | UPS Supply Chain Solutions | 8,000 | |
P&D Nedlloyd | 4,800 | Panalpina World Transport | 7,720 | |
TPG/TNT | 4,700 | CH Robinson Worldwide | 6,600 | |
Panalpina World Transport | 4,600 | Agility Logistics | 4,900 | |
UPS Supply Chain Solutions | 4,100 | CEVA Logistics | 4,600 | |
Nippon Express | 4,000 | Expeditors | 4,600 | |
CH Robinson Worldwide | 3,600 | NYK Logistics | 4,200 | |
Menlo Worldwide | 3,100 | UTi Worldwide | 3,500 | |
NYK Logistics | 3,000 | Nippon Express | 3,400 | |
Expeditors | 2,600 | Eagle Global Logistics | 3,200 | |
Penske Logistics | 2,500 | Penske Logistics | 3,050 | |
Eagle Global Logistics | 2,200 | Ryder | 2,600 | |
BAX Global | 2,000 | Hellmann Worldwide Logistics | 2,600 | |
Ryder | 1,900 | Caterpillar Logistics | 2,400 | |
Schneider Logistics | 1,900 | Kintetsu World Express | 2,300 | |
UTi Worldwide | 1,200 | Schneider Logistics | 1,585 | |
Caterpillar Logistics | 1,000 | Menlo Worldwide | 1,400 | |
APL Logistics | 900 | APL Logistics | 1,300 | |
Wilson Logistics Group | 860 | Toll Holdings | 1,100 | |
FedEx Supply Chain Service | 603 | Maersk Logistics | 800 | |
Maersk Logistics | 350 | FedEx Supply Trade Network/Supply Chain Services | 739 | |
SembCorp Logistics | 275 | Landstar Global Logistics | 683 |
แหล่งข้อมูล : Moveable Feast of Top 25 Global Third-Party Logistics Providers” Global Logistics and Supply Chain Strategies May 2007
เป็นที่น่าสังเกตว่า ธุรกิจ 3PL มีการควบรวมกิจการค่อนข้างมากในช่วงเวลาที่ผ่านมา เป็นต้นว่า บริษัท Deutsche Bahn ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรถไฟในเยอรมนี ได้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท Schenker เมื่อปี 2545 และกลายเป็นผู้ดำเนินธุรกิจ 3PL ใหญ่อันดับ 3 ของโลก ล่าสุดเมื่อเดือนมกราคม 2549 บริษัท Schenker ได้จ่ายเงิน 50,000 ล้านบาท เพื่อซื้อกิจการบริษัท BAX Global ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ 3PL ใหญ่อันดับ 16 ของโลก ทำให้รายได้เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดและหายใจรดต้นคอบริษัท Kuehne & Nagel International ซึ่งเป็นอันดับ 2 ของโลก
บริษัท CEVA Logistics ถือกำเนิดขึ้นจากบริษัท TNT ได้ขายกิจการแผนกลอจิสติกส์บางส่วนซึ่งเดิมดำเนินการนาม TNT Logistics ให้แก่กองทุน Apollo Investment Fund แต่กองทุนแห่งนี้ยังไม่พอใจ ดังนั้น ต่อมาได้จ่ายเงิน 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อซื้อกิจการบริษัท EGL ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจ 3PL ใหญ่เป็นอันดับที่ 15 ของโลก ภายหลังควบกิจการเข้าด้วยกันเมื่อเดือนสิงหาคม 2550 ทำให้บริษัท CEVA Logistics กลายเป็นผู้ประกอบการลอจิสติกส์รายใหญ่อันดับ 8 ของโลก โดยมีบุคลากรทั่วโลกรวมกันกว่า 54,000 คน มีคลังสินค้ารวม 615 แห่ง มีพื้นที่คลังสินค้าทั่วโลกรวม 8.6 ล้าน ตร.ม. และมีเครือข่ายครอบคลุมกว่า 100 ประเทศทั่วโลก
สำหรับบริษัท Agility ของคูเวต ซึ่งเป็นอันดับ 7 ของโลก ซึ่งเติบโตอย่างรวดเร็วจากธุรกิจลอจิสติกส์แก่กระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ ในช่วงสงครามอิรัก ได้ซื้อกิจการบริษัท GeoLogistics ซึ่งเชี่ยวชาญในด้าน Freight Forwarder และ บริษัท Lep International ภายหลังควบกิจการเข้าด้วยกัน ได้เปลี่ยนชื่อเสียใหม่ว่าบริษัท Agility ซึ่งประสบผลสำเร็จทางธุรกิจเป็นอย่างมาก
บริษัท UPS ซื้อกิจการบริษัท Menlo Worldwide Forwarding (เดิมชื่อ Emery Worldwide) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการในธุรกิจ 3PL ใหญ่อันดับ 11 ของโลก เป็นเงิน 260 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ก้าวกระโดดจากอันดับ 8 มาเป็นอันดับ 4 ของโลก
สำหรับบริษัท Toll Holdings ซึ่งเป็นผู้ให้บริการลอจิสติกส์รายใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย ได้ซื้อกิจการบริษัท SembCorp Industries ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของสิงคโปร์ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ 3PL ใหญ่อันดับที่ 25 ของโลก เมื่อกลางปี 2549 ทำให้ก้าวกระโดดมาเป็นผู้ให้บริการใหญ่อันดับ 22 ของโลก
สุดท้ายนี้ ปัจจุบันตลาด 3PL ของประเทศไทยมีขนาดประมาณ 100,000 ล้านบาท โดยผู้ประกอบการของไทยอ่อนแอมากเมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทต่างชาติ ทั้งนี้ จากการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษา Frost & Sullivan โดยใช้ข้อมูลการสำรวจความเห็นของผู้ใช้บริการในประเทศไทยเมื่อปี 2551 พบว่าบริษัทต่างชาติครองตำแหน่งผู้ให้บริการลอจิสติกส์ยอดเยี่ยมแทบทั้งหมด โดยเฉพาะบริษัท DHL ของเยอรมนี บริษัท IDS Logistics ของฮ่องกง และบริษัท CEVA ของกองทุนสหรัฐฯ ทั้งนี้ สถานการณ์ของไทยแตกต่างจากกรณีประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่บริษัทท้องถิ่นสามารถสอดแทรกครองตำแหน่งยอดเยี่ยมในตลาดของตนเองได้ค่อนข้างมาก
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th
ธุรกิจลอจิสติกส์ในประเทศไทยที่ได้รับรางวัล
ASEAN Transportation & Logistics Awards
ประเภทบริการ | ปี 2550 | ปี 2551 |
ยานยนต์ | NYK Logistics | CEVA Logistics |
IT และอิเล็กทรอนิกส์ | DHL | CEVA Logistics |
สินค้าอุปโภคบริโภคที่ซื้อขายจำนวนมาก (Fast Moving Consumer Goods) | Expeditors | IDS Logistics |
ค้าปลีก | IDS Logistics | |
ยารักษาโรค | DHL | Inter Express Logistics |
บริการขนส่งพัสดุด่วน | - | DHL |
ผู้ประกอบการท้องถิ่น | V-Serve Group | รวมถาวร |
แหล่งข้อมูล : ข้อมูลคำแถลงข่าวของบริษัท Frost & Sullivan เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2551