xs
xsm
sm
md
lg

ปชป.ซัดพปช.ชงกม.เลอะเทอะที่รธน.บังคับคลอดกลับไม่ใส่ใจ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงข่าวที่ว่า นายชุมพฏ บุญใหญ่ ส.ส.สกลนคร พรรคพลังประชาชน แอบเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ให้ดำเนินคดีกับผู้ที่รู้ถึงเรื่องที่มีการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแล้วไม่แจ้งความดำเนินคดี แต่นำออกมาพูดในที่สาธารณะ โดยมีโทษจำคุก 5 ปีว่า ไม่เคยผ่านหู ผ่านตา ทราบจากข่าว ยังงงอยู่ บางทีอาจเป็นเรื่องความมุ่งหวังทางการเมือง
สำหรับร่างพ.ร.บ.จัดระเบียบการชุมนุม ที่เสนอโดยนายจุมพฏ บุญใหญ่ นั้น เป็นเอกสทิธิของ ส.ส.ที่จะเสนอ แต่พรรคไม่มีมติสนับสนุนจะให้พรรคถอนก็ไม่ถูก ซึ่งนายจุมพฏเป็นส.ส.ใหม่ นักกฎหมาย เห็นว่ารำคาญ ประท้วงปิดถนน ไม่ใช่ร่างที่เสนอโดยพรรคพลังประชาชน
ผู้สื่อข่าวถามว่ามองว่าร่างนี้ละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ได้อธิบายให้ฟังแล้วว่า สิ่งที่ควรต้องทำเป็นอย่างไร การใช้สิทธิชุมนุม สาธารณะกับประโยชน์ของประชาชนในการใช้ทางสาธารณะ ควรว่าอย่างไร เพราะรัฐธรรมนูญ มารตราดังกล่าว วรรคสอง ยกเว้นไว้เรื่องเดียว เรื่องใหญ่คือ จำกัดได้ถ้า เพื่อประโยชน์ของประชาชนในการใช้ทางสาธารณะ หลักการคือเป็นเสรีภาพของประชาชนในการชุมนุมสาธารณะ
ผู้สื่อข่าวถามว่าการขออนุญาติรัฐบาลในการชุมนุมก่อนหรือไม่ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ไม่เกี่ยวกัน การชุมนุมจะจำกัดได้ก็ต่อเมื่อการใช้ทางสาธารณะพี่น้องประชาชนจะสัญจรไปมาแค่นั้นเอง ส่วนเรื่องคำพูดใครพูดหมิ่นประมาทใครก็ต้องไปรับผิดชอบกันทางกฎหมาย จะไปเขียนจำกัดอย่างโน้น อย่างนี้ไม่ได้ และตนได้แนะนำนายจุมพฎ ให้ดูร่างกฎหมายให้สอดคล้องรัฐธรรมนูญหากจะแก้รัฐธรรมนูญตามที่ว่า ก็หมายถึงกฎหมายสูงสุดก็แก้ได้ ว่ากันอีกเรื่องหนึ่ง แต่ถ้าเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญออกมา อาจจะมีปัญหาทางรัฐธรรมนูญได้

ลุยแก้รธน.ไม่สนสร้างความแตกแยก
ผู้สื่อข่าวถามว่านายกรัฐมนตรีมีนโนบายสร้างความสมารฉันฑ์ในชาติ โดยมีผู้เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีปรับบุคลิกมีความเห็นอย่างไร นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ก็ต้องดูกัน แต่ท่าทีที่ผ่านมาท่านก็ไม่ได้โจมตี ให้ร้าย กล่าวร้ายใคร เพียงแต่ส่วนใหญ่ เป็นการปกป้องตนเอง เนื่องจากมีข้อกล่าวหา ท่าทีที่นายกฯ ออกมาเป็นสิ่งที่ดี ท้ายที่สุดต่อไปนี้หน้าที่คงต้องทำกันไป แต่เรื่องที่จะมาโจมตีกล่าวหาให้ร้ายกัน ใช้วจีไม่สุจริต ตนว่าควรจะต้องมีสิทธิ
ส่วนเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญที่หลายฝ่ายมองว่าเป็นชนวนสำคัญในการสร้างความแตกแยก หากต้องการสมานฉันท์ควรจะต้องหยุดหรือไม่นั้น นายชูศักดิ์ กล่าวว่า เรื่องการแก้รัฐธรรมนูญนั้นมีมาช้านานแล้ว หลายเรื่องเห็นพ้อง ต้องกันแล้วว่าควรจะแก้ ดำเนินการ เชื่อว่า พี่น้องประชาชน และสื่อทราบดี ฉะนั้นถ้าคิดว่า เราดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแล้วมีเหตุผลตอบปัญหาได้ คงต้องให้ครรลองระบบสภาดำเนินการ อย่าไปคิดว่าทำอย่างนี้เพื่อตนเอง
แก้เพื่อให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม หลักนิติรัฐ ไม่ใช่ใครไม่ได้ทำความผิด ก็ควรจะไม่ถูกลงโทษ ต้องฟังเหตุผลกัน ท้ายที่สุดให้สภาจะเป็นผู้พิจารณาตัดสิน ให้ส.ส. วุฒิสมาชิกทั้งด้านสรรหา และเลือกตั้ง ให้กระบวนการครรลองสภาว่ากันไป ถ้าแก้ได้ก็แก้ แก้ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ถ้าเต้องหยุดทุกอย่าง หมายความว่ากระบวนการตามรัฐธรรมนูญ การบริหารราชการแผ่นดิน การทำหน้าที่รัฐสภาทำไม่ได้เลยหรือ ไม่ใช่เหตุผล

ย้ำไม่แตะต้องหมวดพระมหากษัตริย์
ผู้สื่อข่าวถามว่า เวลานี้เหมาะสมหรือไม่ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารก็ต้องใช้กันไป ดำเนินกันไป จะบอกให้หยุดใช้อำนาจหน้าที่ก็ไม่ได้ ไม่ถูกต้อง
ส่วนที่ส.ส.พรรคพลังประชาชนเสนอให้แก้รัฐธรรมนูญ หมวด 2 ที่เกี่ยวข้องกับหมวดพระมหากษัตริย์และองค์มนตรีนั้น นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาเราไม่แตะหมวดนี้เลย มีคนถามตนในสภาว่าทำไมถึงไม่มีการแก้ไขหมวดนี้เลย ตนได้ชี้แจงแล้ว ว่ามีเหมือนเดิม ไม่ได้แก้จึงไม่มีบทเฉพาะกาลไว้ ยืนยันว่ารัฐบาลไม่แตะต้องอะไร ส่วนมาตรา63 ก็ยังไม่ได้พูดคุยกัน ร่างที่ตนได้ทำให้ไม่เกี่ยวมาตรานี้

ติงจุมพฏเสนอกม.ไม่ผ่านวิป
นายสามารถ แก้วมีชัย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวว่าการที่นายจุมพฏ บุญใหญ่ ส.ส.สกลนคร พรรคพลังประชาชนเสนอแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่เพิ่มโทษการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ สำหรับผู้ที่นำมาเผยแพร่ และไม่แจ้งความดำเนินคดีกับผู้หมินพระบรมเดชานุภาพถือเป็นเอกสิทธ ของส.ส.ที่สามารถเสนอกฎหมายที่ไม่เกี่ยวกับการเงินการคลังได้ ซึ่งตนเพิ่งทราบว่ามีการเสนอกฎหมายมาตราดังกล่าว
ดังนั้นหากเจอหน้านายจุมพฏ ก็คงต้องสอบถามว่ามีจุดประสงค์อะไร และในการประชุมวิปรัฐบาลในวันที่ 11 ส.ค.นี้ คงต้องให้นายจุมพฏชี้แจง อย่างเป็นทางการอีกครั้ง เพราะเป็นสิทธิของ วิปว่าจะพิจารณาหรือไม่ ซึ่ง การเสนอร่างกฎหมายต้องได้รับความเห็นชอบจากวิปรัฐบาลเสียก่อน แต่ตอนนี้วิปรัฐบาลยังไม่ได้พิจารณา ร่างแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา นี้เลย ไม่ใช่พรวดพราดจะเสนอเข้ามาก็บรรจุวาระได้เลย ถือว่าการแก้ไขกฎหมายนี้ยังไม่มีความเร่งด่วน ซึ่งการที่ฝ่ายค้านแสดงความกังวลว่าจะแก้ไขกฎหมายเพื่อเล่นงานฝ่ายตรงข้ามนั้นถือเป็นความกังวลเกินเหตุ เพราะเท่าที่รู้จักนายจุมพฏก็ถือเป็นนักกฎหมาย เมื่อเห็นกฎหมายมีข้อบกพร่องก็สามารถ เสนอให้แก้ไขได้ โดยยืนยันว่าไม่ได้จะแก้ไขกฎหมายเพื่อมาปราบม็อบและไม่มีเจตนาแอบแฝง ไม่มีธงใด ๆ ทั้งนั้น

ฝ่ายค้านซัดพปช.โยนความผิดรธน.
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานคณะกรรมการประสานงาน (วิป) พรรคฝ่ายค้าน กล่าวถึงกรณีวิปรัฐบาลปฏิเสธจะไม่มีการผลักดันแก้กฎหมายอาญา มาตรา 112 ว่า เป็นเรื่องที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายการจัดระเบียบการชุมนุม หรือการหมิ่นเบื้องสูง เป็นเรื่องที่น่าจะพูดคุยกันได้ และถอนร่างนั้นออก ไม่เช่นนั้นจะเกิดความหวาดระแวง ว่าวันใดวันหนึ่งจะหยิบยกขึ้นมาพิจารณา กลายเป็นประเด็นบานปลาย และเคลื่อนไหวคัดค้านอย่างรุนแรงก็ได้ ตนคิดว่าการเสนอกฎหมาย ของพรรคการเมือง เป็นการสะท้อนวิธีคิดของนักการเมืองด้วย แม้ตามรัฐธรรมนูญ สามารถเสนอกฎหมายได้ แต่โดยปกติพรรคการเมืองจะต้องมีการปรึกษาหารือว่าจะเสนอกฎหมายใด
ส่วนข้ออ้างที่ว่าเป็นเอกสิทธิของ ส.ส.ในการเสนอร่างกฎหมายไม่เกี่ยวกับพรรค นายสาทิตย์ กล่าวว่า นึกอะไรไม่ออกกก็โทษรัฐธรรมนูญไว้ก่อน ซึ่งรัฐธรรมนูญ เป็นจำเลยไม่ได้ ในส่วนขอพรรคพลังประชาชน ก็มีส.ส.ลงชื่อ 10 กว่าชื่อ ดังนั้นเป็น ไปไม่ได้ที่พรรคจะไม่รับรู้ และในการประชุมวิปแต่ละครั้ง ต้องมีการหยิบยกกฎมาย ขึ้นมาดูทุกฉบับ ซึ่งเป็นวิธีการทำงานแบบปกติของวิปฝ่ายค้านและรัฐบาล
ผมสังเกตเห็นวิธีการเสนอกฎหมายของพรรคพลังประชาชนมีปัญหามาก โดยกฎหมายที่สำคัญๆ ยังไม่สามารถเสนอเข้ามาได้เลย แม้ว่าจะเป็นกฎหมาย ที่ออกตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งใกล้จะครบกำหนดเร็วๆนี้ ซึ่งบางฉบับเป็นกฎหมาย คุมครองสิทธิเสรีของบุคคล กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาฟรี หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับองค์กรปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ซึ่งก็ไม่มีการเสนอเข้ามาในระเบียบวาระแม้แต่ฉบับเดียว สะท้อนให้เห็นกระบวนการทำงานของรัฐบาลมีปัญหา
ขณะเดียวกันกฎหมายที่มีความสำคัญเช่น กสท.ก็ถอนออกไปเมื่อวันที่ 6 ส.ค. ทั้งที่เป็นกฎหมายที่ต้องทำให้เสร็จสิ้นภายใน 80 วันหลังจากแถลงนโยบาย ดังนั้น จากนี้ไปเราอยากจะเห็นวิปรัฐบาลได้หารือกับ ครม. เพื่อจัดระบบการเสนอ กฎหมายใหม่ โดยเรียงลำดับความสำคัญของกฎหมายให้ชัดเจน ทั้งนี้ฝ่ายค้านพร้อมให้ความร่วมมือ

ขู่ฟันรัฐบาลไม่ออกกม.ตามรธน.กำหนด
นายสาทิตย์กล่าวว่า ตอนนี้มีปัญหาว่าในสัปดาห์หน้ายังไม่รู้ว่ามีกฎหมายอะไรเข้าสู่การพิจารณาของสภา ซึ่งก็มีกฎหมายที่สำคัญรออยู่จำนวนมาก แต่ก็ยังไม่บรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระ ในขณะที่มีกฎหมายที่ต้องออกตามรัฐธรรมนูญมากกว่า 30 ฉบับ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชน หรือปรับปรุงองค์กรตามรัฐธรรมนูญ แม้ว่ารัฐบาลจะไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ โดยเอารัฐธรรมนูญ เป็นจำเลยและโทษ ซึ่งถ้าไม่รีบออกกฎมายตามรัฐธรรมนูญ จะมีผลทำให้ประชาชนเสียประโยชน์
ผู้สื่อข่าวถามว่าเมื่อไม่มีบทลงโทษ ทำให้รัฐบาลไม่กระตือรือร้นออกกฎหมาย ใช่หรือไม่ นายสาทิตย์ กล่าวว่า ถ้าตีความตามกฎหมายจะต้องดำเนินการอย่างเร่งรัด แต่ตนคิดว่าจะมีผลทางด้านกฎหมาย เพราะในรัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้ครม.ต้องรับผิดชอบต่อสภานิติบัญญัติ ซึ่งส่วนหนึ่งก็คือการออกกฎหมายที่เขียนไว้ตามรัฐธรรมนูญ หากไม่ดำเนินการต่อไป ผู้ที่ได้รับความเสียหายก็จะดำเนินการฟ้องร้องได้ และหากรัฐบาลมีเจตนาในการถ่วงเวลา ก็ถือว่าเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่ง ในการยื่นถอดถอนได้
ผู้สื่อข่าวถามว่ามีความไม่แน่นอนเรื่องการเมือง จึงเป็นสาเหตุที่รัฐบาลไม่เสนอ กฎหมายด้วยหรือไม่ นายสาทิตย์กล่าวว่า จะเอาเงื่อนไขของความไม่แน่นอน ทางการเมือง เพื่อไม่ดำเนินการอะไรที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพช่วยเหลือประชาชน ทำไม่ได้ เป็นหน้าที่ของรัฐที่จ้องทำงานอยู่แล้ว แม้เป็นรัฐบาลรักษาการยังต้องทำ แม้รัฐบาลจะไปโจมตีรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรี ว่ามาจากเผด็จการ แต่ก็ยังออกกฎหมายที่เป็นระโยชน์กว่ารัฐบาลชุดนี้

ชี้รัฐบาลพาลเสนออัยการวินิจฉัยชุมนุม
ส่วนกระแสข่าวที่ว่าวิปรัฐบาลเตรียมยื่นให้อัยการสูงสุด วินิจฉัยว่าการชุมนุม ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยว่าขัดต่อมตรา 68 ของรัฐธรรมนูญหรือไม่ นายสาทิตย์กล่าวว่า เป็นสิทธิทางกฎหมายที่จะทำได้ แต่ก็สะท้อนวิธีคิดกับนโยบายของรัฐบาลว่ายอมรับความคิดที่แตกต่างได้หรือไม่ ขณะนี้ก็มีหลายฝ่ายที่พยายามเตือนพันธมิตรฯ ว่าจะต้องดำเนินกรภายใต้รัฐธรรมนูญและกฎหมาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่นโยบายของรัฐบาลก็ต้องยอมรับความคิดเห็น ที่แตกต่าง แต่ไม่ควรดำเนินการที่เป็นชนวนปัญหา
ผู้สื่อข่าวถามว่าหลังจากที่เสนอกฎหมายจัดระเบียบการชุมนุมไม่เป็นผลและถูกคัดค้าน จึงหันมาเสนอให้อัยการสูงสุดตีความแทนหรือไม่ นายสาทิตย์กล่าวว่า รัฐบาลไม่ควรใช้หลักพาลแล้วหาเรื่อง ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกรอบ อย่างไรก็ตาม ก้ต้องรอดูว่ารัฐบาลจะมีวิธีการจัดการกับกลุ่มผู้ชุมนุมต่อไปอย่างไร ว่าเป็นการทำ ตามกฎหมายหรือกลั่นแกล้ง และคนที่เสียหายก็มีสิทธิที่จะปกป้อง
กำลังโหลดความคิดเห็น