นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีที่ระบุกับสำนักข่าวต่างประเทศว่า เหตุการณ์ 6 ตุลา มีผู้เสียชีวิต 1 ราย ซึ่งแตกต่างจากข้อมูลที่บันทึกไว้ว่า “จะเอาเรื่องนี้อีกแล้วหรอ โอ..โห ลองนับดูสิ กี่ปี 31 ปี แล้วคุณกี่ขวบ ผมไม่อยากนั่นหรอก พูดทีไรก็ทะเลาะเบาะแว้งมีเรื่องกัน วันก่อนสำนักข่าวอัลจาซีลาร์เป็นผู้หญิงสวยมาคุย คุยกันดี ดันมาตั้งข้อหากับผมก็เลยต้องพูดจากันไม่ค่อยดี ต้องเอาใหม่เปลี่ยนเทปใหม่ ต้องคุยใหม่ เพราะตอนนั้นเขายังไม่เกิด แล้วมานั่งกล่าวหาผม ผมก็พูดตามที่รู้ คุณเอาประวัติศาสตร์นั้นใครเขียน ผมไม่รู้ แต่ผมพูดที่ผมรู้ และผมยังมีชีวิตอยู่ คนที่เขาเกี่ยวข้องเขายังอยู่”
“ผมบอกว่า ถ้าผมเป็นคนเลวมาไม่ได้ไกลขนาดนี้หรอก ถ้าผมเป็นคนเกี่ยวข้อง ไม่ได้รับการสนับสนุนให้เดินหน้ามาถึงป่านนี้หรอก”
ผู้สื่อข่าวถามว่าแสดงว่า ข้อมูลในอดีตถูกบิดเบือนหรือไม่ นายสมัครกล่าวว่า “อ๋อ แน่นอน ไม่รู้ใครบิด ไม่เป็นปัญหา มันเลยมาป่านนี้แล้ว”
นายสมัคร กล่าวว่าในการประชุม ครม.วานนี้ (12 ก.พ.) ใช้เวลา 3 ชั่วโมงครึ่งหารือถึงนโยบายรัฐบาล ซึ่งร่างโดยพรรคการเมือง 6 พรรคร่วมกัน 4 หน เมื่อร่างนโยบายเสร็จ จึงให้รัฐมนตรีทุกคนไปอ่าน 1 วัน เมื่ออ่านแล้ววันนี้มีรัฐมนตรี 6-7 คน ทักท้วงว่าตรงไหนขาดไป และจะแก้อย่างไร โดยที่ประชุม ครม.ฟังแล้วเห็นชอบ จึงได้ให้เลขาธิการสภ าพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติในฐานะเจ้าของเรื่องนำไปแก้ไข แล้วจะนำไปแถลงต่อสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 18 ก.พ.นี้ จากนั้นในวันที่ 25 ก.พ.จะพบข้าราชการประจำเพื่อชี้แจงนโยบาย
ผู้สื่อข่าวถามถึงกระแสข่าวที่จะเลื่อนการแถลงนโยบายให้เร็วขึ้น นายสมัคร ย้อนถามว่า ใครเป็นคนบอก ตนไม่เคยได้ยินข่าวเลย เมื่อถามว่า นโยบายที่จะแถลงต่อสภาฯวางลำดับความสำคัญไว้อย่างไร นายสมัคร กล่าวว่า ให้ไปฟังในสภา ต้องให้สภาฯเขาก่อนแล้วพออภิปรายก็จะแจกเป็นสำเนา ตามขั้นตอน
นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษก ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแถลงหลังการประชุม ครม.ว่า นายสมัครได้ฝากรัฐมนตรีให้ความสำคัญกับการแถลงนโยบายรัฐบาลให้เต็มที่ แต่หากมีความจำเป็นอภิปรายเลยกำหนดมาถึงวันที่ 19 ก.พ.ก็อาจจะเลื่อนการประชุมครม.ออกไป
นายจักรภพ กล่าวต่อว่า นโยบายจำนวนมากจะเป็นการต่อยอดนโยบายของรัฐบาลก่อนการรัฐประหาร อาจจะมีการปรับปรุงของเดิมแต่ทุกนโยบายจะมีการประเมินผลเพื่อให้ดีขึ้นกว่าที่ผ่านมา โดยเฉพาะนโยบายที่เกี่ยวข้องกับประชาชนจำนวนมาก
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นโยบายของรัฐบาลที่จะแถลงต่อรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญต้องเสนอนโยบาย 4 ข้อ และ กฎหมายที่จำเป็นตามรัฐธรรมนูญที่ได้บัญญัติไว้ เช่นกฎหมายจัดตั้งองค์กรอิสระ ปฏิรูปกฎหมายต่างๆ ก็เขียนไว้พอสมควร
นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ในนโยบายรัฐบาลมีพูดไว้พอสมควร เพราะว่าต้องศึกษา ขณะเดียวกันก็จะรับฟังความคิดเห็น เมื่อถึงเวลาที่สมควรเราก็จะเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วนเรื่องระยะเวลายังไม่ได้ระบุเวลา
นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ยอมรับว่ารู้สึกอึดอัดกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่สกัดไม่ให้การเมืองเติบโต มีข้อห้ามหลายอย่าง
“เป็นเรื่องของคนร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่เคยสมัครเป็น ส.ส. เช่นไปกำหนดไม่ให้ ส.ส.เป็นเลขานุการรัฐมนตรีและที่ปรึกษารัฐมนตรี ทั้งที่เลขานุการรัฐมนตรีมีความสำคัญ ควบคู่ไปกับรัฐมนตรี เพราะหากประชาชนเดือดร้อนก็ต้องตามรัฐมนตรีไปแล้วนำเรื่องต่างๆ มาคุยกับรัฐมนตรีเพื่อช่วยเหลือ อย่างเรื่องราคาพืชผล การเกษตรฯปัญหาโน้นปัญหานี้ แต่นี่ทำอะไรไม่ได้เลย มันก็เป็นเรื่องที่ยาก จึงไม่ควรกำหนด รัฐมนตรีฉบับที่แล้ว ส.ส.เขตเป็นรัฐมนตรีไม่ได้ ครั้งนี้เป็นได้ แต่ห้ามเป็นเลขานุการรัฐมนตรีกลับหัวกลับหางไม่รู้จะทำอย่างไร ตอนนี้โยงไปถึง ว่าเป็นวิปรัฐบาลไม่ได้ยิ่งจะยุ่งกันไปใหญ่ ซึ่งจะต้องให้คนร่างรัฐธรรมนูญมาตอบ ตนไม่รู้ว่าเป็นแนวคิดของใคร คนนั้นก็ต้องมาตอบว่ามีความคิดเห็นอย่างไร ทำไมถึงเขียนและกำหนดออกมาอย่างนี้”
ผู้สื่อข่าวว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญระบุว่าเขียนไว้ให้ชัดเจนขึ้นหากรับกติกาไม่ได้ ก็ไม่ต้องเข้ามาเล่นการเมือง นายบรรหารกล่าวว่า ไม่จริงท่านพูดของท่านเอง ลองเปลี่ยนกันมาเล่นการเมืองไหมหล่ะ ตนถึงบอกว่าตอนไม่มีสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ได้คณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่เข้าใจถึงเหตุการณ์มาร่างมันก็จะมีปัญหาเกิดขึ้นทุกสมัยก็เป็นแบบนี้แล้วพวกเราก็ต้องมาแก้กันใหม่ ซึ่งยังมีปัญหาอีกเยอะแยะไม่ใช่แค่นี้
ส่วนรัฐบาลระบุว่าจะมีการเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 4-5 เดือน ก่อนหมดวาระรัฐบาลจะช้าเกินไปหรือไม่ นายบรรหารกล่าวว่า รอดูเวลาที่เหมาะสมดีกว่า เมื่อใช้ไปแล้วมีปัญหาก็ไม่ควรรอนานถึงขนาดนั้น ดูเวลาที่เหมาะสมดีกว่า
“ผมบอกว่า ถ้าผมเป็นคนเลวมาไม่ได้ไกลขนาดนี้หรอก ถ้าผมเป็นคนเกี่ยวข้อง ไม่ได้รับการสนับสนุนให้เดินหน้ามาถึงป่านนี้หรอก”
ผู้สื่อข่าวถามว่าแสดงว่า ข้อมูลในอดีตถูกบิดเบือนหรือไม่ นายสมัครกล่าวว่า “อ๋อ แน่นอน ไม่รู้ใครบิด ไม่เป็นปัญหา มันเลยมาป่านนี้แล้ว”
นายสมัคร กล่าวว่าในการประชุม ครม.วานนี้ (12 ก.พ.) ใช้เวลา 3 ชั่วโมงครึ่งหารือถึงนโยบายรัฐบาล ซึ่งร่างโดยพรรคการเมือง 6 พรรคร่วมกัน 4 หน เมื่อร่างนโยบายเสร็จ จึงให้รัฐมนตรีทุกคนไปอ่าน 1 วัน เมื่ออ่านแล้ววันนี้มีรัฐมนตรี 6-7 คน ทักท้วงว่าตรงไหนขาดไป และจะแก้อย่างไร โดยที่ประชุม ครม.ฟังแล้วเห็นชอบ จึงได้ให้เลขาธิการสภ าพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติในฐานะเจ้าของเรื่องนำไปแก้ไข แล้วจะนำไปแถลงต่อสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 18 ก.พ.นี้ จากนั้นในวันที่ 25 ก.พ.จะพบข้าราชการประจำเพื่อชี้แจงนโยบาย
ผู้สื่อข่าวถามถึงกระแสข่าวที่จะเลื่อนการแถลงนโยบายให้เร็วขึ้น นายสมัคร ย้อนถามว่า ใครเป็นคนบอก ตนไม่เคยได้ยินข่าวเลย เมื่อถามว่า นโยบายที่จะแถลงต่อสภาฯวางลำดับความสำคัญไว้อย่างไร นายสมัคร กล่าวว่า ให้ไปฟังในสภา ต้องให้สภาฯเขาก่อนแล้วพออภิปรายก็จะแจกเป็นสำเนา ตามขั้นตอน
นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษก ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแถลงหลังการประชุม ครม.ว่า นายสมัครได้ฝากรัฐมนตรีให้ความสำคัญกับการแถลงนโยบายรัฐบาลให้เต็มที่ แต่หากมีความจำเป็นอภิปรายเลยกำหนดมาถึงวันที่ 19 ก.พ.ก็อาจจะเลื่อนการประชุมครม.ออกไป
นายจักรภพ กล่าวต่อว่า นโยบายจำนวนมากจะเป็นการต่อยอดนโยบายของรัฐบาลก่อนการรัฐประหาร อาจจะมีการปรับปรุงของเดิมแต่ทุกนโยบายจะมีการประเมินผลเพื่อให้ดีขึ้นกว่าที่ผ่านมา โดยเฉพาะนโยบายที่เกี่ยวข้องกับประชาชนจำนวนมาก
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นโยบายของรัฐบาลที่จะแถลงต่อรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญต้องเสนอนโยบาย 4 ข้อ และ กฎหมายที่จำเป็นตามรัฐธรรมนูญที่ได้บัญญัติไว้ เช่นกฎหมายจัดตั้งองค์กรอิสระ ปฏิรูปกฎหมายต่างๆ ก็เขียนไว้พอสมควร
นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ในนโยบายรัฐบาลมีพูดไว้พอสมควร เพราะว่าต้องศึกษา ขณะเดียวกันก็จะรับฟังความคิดเห็น เมื่อถึงเวลาที่สมควรเราก็จะเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วนเรื่องระยะเวลายังไม่ได้ระบุเวลา
นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ยอมรับว่ารู้สึกอึดอัดกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่สกัดไม่ให้การเมืองเติบโต มีข้อห้ามหลายอย่าง
“เป็นเรื่องของคนร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่เคยสมัครเป็น ส.ส. เช่นไปกำหนดไม่ให้ ส.ส.เป็นเลขานุการรัฐมนตรีและที่ปรึกษารัฐมนตรี ทั้งที่เลขานุการรัฐมนตรีมีความสำคัญ ควบคู่ไปกับรัฐมนตรี เพราะหากประชาชนเดือดร้อนก็ต้องตามรัฐมนตรีไปแล้วนำเรื่องต่างๆ มาคุยกับรัฐมนตรีเพื่อช่วยเหลือ อย่างเรื่องราคาพืชผล การเกษตรฯปัญหาโน้นปัญหานี้ แต่นี่ทำอะไรไม่ได้เลย มันก็เป็นเรื่องที่ยาก จึงไม่ควรกำหนด รัฐมนตรีฉบับที่แล้ว ส.ส.เขตเป็นรัฐมนตรีไม่ได้ ครั้งนี้เป็นได้ แต่ห้ามเป็นเลขานุการรัฐมนตรีกลับหัวกลับหางไม่รู้จะทำอย่างไร ตอนนี้โยงไปถึง ว่าเป็นวิปรัฐบาลไม่ได้ยิ่งจะยุ่งกันไปใหญ่ ซึ่งจะต้องให้คนร่างรัฐธรรมนูญมาตอบ ตนไม่รู้ว่าเป็นแนวคิดของใคร คนนั้นก็ต้องมาตอบว่ามีความคิดเห็นอย่างไร ทำไมถึงเขียนและกำหนดออกมาอย่างนี้”
ผู้สื่อข่าวว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญระบุว่าเขียนไว้ให้ชัดเจนขึ้นหากรับกติกาไม่ได้ ก็ไม่ต้องเข้ามาเล่นการเมือง นายบรรหารกล่าวว่า ไม่จริงท่านพูดของท่านเอง ลองเปลี่ยนกันมาเล่นการเมืองไหมหล่ะ ตนถึงบอกว่าตอนไม่มีสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ได้คณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่เข้าใจถึงเหตุการณ์มาร่างมันก็จะมีปัญหาเกิดขึ้นทุกสมัยก็เป็นแบบนี้แล้วพวกเราก็ต้องมาแก้กันใหม่ ซึ่งยังมีปัญหาอีกเยอะแยะไม่ใช่แค่นี้
ส่วนรัฐบาลระบุว่าจะมีการเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 4-5 เดือน ก่อนหมดวาระรัฐบาลจะช้าเกินไปหรือไม่ นายบรรหารกล่าวว่า รอดูเวลาที่เหมาะสมดีกว่า เมื่อใช้ไปแล้วมีปัญหาก็ไม่ควรรอนานถึงขนาดนั้น ดูเวลาที่เหมาะสมดีกว่า