สภาทนายความให้การช่วยเหลือ 2 เหยื่อตชด.เหี้ยม พร้อมเตรียมผลักดันยกเลิกการล่อซื้อของตำรวจ พร้อมประณามการทรมานการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี
วันนี้ ( 5 ก.พ.) ที่สภาทนายความ ถ.ราชดำเนิน นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ แถลงข่าวการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายกับเหยื่อที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของแก๊ง ร.ต.อ.ณัฏฐ์ ชลนิธิวาณิชย์ อดีตผู้บังคับหมวด 426 กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน 42 ( กก.ตชด.) จ.นครศรีธรรมราช ช่วยราชการ กก.ตชด. 41 จ.ชุมพร กับพวกซึ่งเป็นอดีตตำรวจชุดปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติด
นายกสภาทนายความกล่าวว่า เมื่อวันที่ 4 ก.พ. นางนุจรี เมี่ยงติ่ง ญาติของนายไพรัตน์ หมื่นพล หลานชายจุฑาภรณ์ นุ่นรอด หญิงตั้งครรภ์อาชีพช่างซ่อมเครื่องประดับเงิน ย่านเพชรเกษม และนายประนอม อัมพิณย์ บิดาของนายนายเชาวลิต อัมพิณย์ ซึ่งเคยถูกกลุ่ม ร.ต.อ.ณัฏฐ์ กับพวกนำตัวไปกักขัง ทำร้ายร่างกาย และข่มขู่ด้วยการช็อตไฟฟ้าเพื่อให้รับสารภาพคดียาเสพติด (ยาบ้า) ได้เข้าร้องขอความช่วยเหลือทางกฎหมายต่อสภาทนายความ ซึ่งขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย โดยสภาทนายความจะตั้งคณะทำงานชุดพิเศษอีกด้วยในการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาตรวจสอบเกี่ยวกับการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐว่ากระทำโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ขณะเดียวกันนายกสภาทนายความ ยังได้ออกแถลงการณ์สภาทนายความ เรียกร้องให้มีการปฏิรูปกฎหมายเกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวนในคดีอาญาใหม่ โดยเห็นว่าเมื่อทำให้กระบวนการการจับกุมสืบสวนสอบสวนรวมไว้ที่เดียวกัน ส่งผลให้การดำเนินกระบวนการยุติธรรมเสียไปอย่างมาก ไม่มีการถ่วงดุลตรวจสอบทำให้เกิดการปกปิด ซึ่งกว่าจะล่วงรู้ถึงการกระทำที่โหดร้ายและไร้มนุษยธรรม ก็เกิดความเสียหายเป็นจำนวนมากแล้ว ดังนั้นจึงสมควรให้มีการพิจารณาระบบใหม่ และเลิกการสืบสวนและสอบสวน ด้วยการพิจารณาแก้ไขกฎหมายเพื่อให้มีการจัดตั้งกรมสอบสวนคดีขึ้นมาต่างหากเพื่อสร้างจริยธรรมและคุณธรรม ในด้านการสอบสวนให้สอดคล้องกับกฎหมายและความผูกพันตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี โดยประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.50 แล้ว
“ สภาทนายความเห็นว่าเวลานี้เหมาะสมกับเวลาแล้วที่ต้องปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมในด้านการแสวงหาและการเสนอข้อเท็จจริงต่อศาลเสียใหม่ และเป็นเวลาที่ประจวบเหมาะกับการปรับปรุงโครงสร้างกระบวนการดำเนินคดีอาญาที่จะต้องพัฒนาให้เหมาะสม ซึ่งรัฐบาลโยเฉพาะกระทรวงยุติธรรมควรยกร่างกฎหมายข้อบังคับ หรือระเบียบใหม่ที่เกี่ยวกับกฎหมายใหม่ รวมทั้งกฎหมายรองในเรื่องของข้อบังคับและระเบียบให้สอดคล้องกับอนุสัญญาดังกล่าวโดยไม่ชักช้า ” นายกสภาทนายความกล่าว พร้อมประณามกลุ่ม ร.ต.อ.ณัฏฐ์ กับพวกซึ่งเป็นอดีต ตชด.ชุดปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติด ด้วยว่า “ การกระทำของกลุ่มดังกล่าว ไร้ยางอาย อำมหิต เป็นคนเลวที่สมควรต้องโดนลงโทษประหารชีวิต ซึ่งจะต้องให้การสอบสวนความผิดตามช่องทางทุกกระบวนการ”
ทั้งนี้ นายเดชอุดม ยังกล่าวย้ำในตอนท้ายอีกว่า สภาทนายความ ขอย้ำเรื่องมาตรการตามพันธะกรณีการเข้าเป็นภาคีของประเทศต่ออนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ตามข้อ 10 , 11 , 12 , 13 ,14 และ 15 ที่หลักดังกล่าวเป็นสาระสำคัญเกี่ยวกับสร้างจริยธรรม ฝึกฝนเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งการกำหนดนโยบายในด้านของการสืบสวนสอบสวนตามาตรฐานของอารยะประเทศ อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่ประสบเคราะห์กรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ขอให้ติดต่อขอรับความช่วยเหลือได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชนทางกฎมาย สภาทนายความ ถ.ราชดำเนินกลาง และสภาทนายความจังหวัดทุกจังหวัด
ด้านนายเจษฎา อนุจาร อุปนายกฝ่ายปฏิบัติสภาทนายความ กล่าวเสริมว่า เรื่องนี้หากมีการดำเนินคดีแล้ว ไม่อยากจะให้มีวรรคทองที่จะปรากฏในสำนวนคดีว่า “ พนักงานสอบสวนปฏิบัติตามหน้าที่ โดยไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลย และกลั่นแกล้งที่จะให้ได้รับโทษทางอาญา ” เนื่องจากกรณีดังกล่าวทำให้เห็นแล้วว่า มีเจ้าหน้าที่ตำรวจบางนายที่ทำผิดกฎหมาย
ขณะที่นายประนอม อัมพิณย์ บิดานายเชาวลิต ผู้เสียหาย กล่าวว่า บุตรชายถูกจับกุมเพราะมีการตั้งข้อกล่าวหามียาไอซ์ไว้ในครอบครอง 1.5 กรัม ซึ่งขณะนี้ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำ และเมื่อได้เข้าไปเยี่ยมก็เห็นสภาพบุตรชายมีอาการตัวสั่นแสดงความหวาดกลัว ตนพยายามจะพาลูกชายไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล ปรากฏว่าลูกชายยังอยู่ในสภาพที่หวาดกลัว เกรงว่าจะถูกทำร้ายร่างกายอีก เมื่อเห็นลูกอยู่ในสภาพนั้นตนได้แต่นั่งร้องไห้เสียหายที่ลูกถูกกระทำอย่างไม่มีทางต่อสู้ จนกระทั่งเห็นข่าวของ ร.ต.อ.ณัฏฐ์ ถูกจับกุม จึงเข้าขอความช่วยเหลือกับทางสภาทนายความ
ด้าน น.ส.นุชจรี เมี่ยงติ่ง ญาติ นายไพรัตน์ มีหมื่นพล เหยื่ออีกราย กล่าวว่า นายไพรัตน์ ถูก ร.ต.อ.ณัฏฐ์ กับพวกจับกุมฐานครอบครองยาบ้าเพื่อจำหน่าย จำนวน 200 เม็ด เมื่อวันที่ 3 ก.พ.50 โดยนายไพรัตน์ ถูกควบคุมตัวไปกักขังไว้ที่ ตำรวจตระเวนชายแดนทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อนจะถูกทำร้ายร่างกาย และใช้ไฟฟ้าช็อตตามลำตัว เพื่อให้รับสารภาพ จนศาลมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 21 ส.ค.50 ให้จำคุกนายไพรัตน์ เป็นเวลา 3 ปี 14 เดือน ทั้งที่ไม่ได้กระทำผิด
วันนี้ ( 5 ก.พ.) ที่สภาทนายความ ถ.ราชดำเนิน นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ แถลงข่าวการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายกับเหยื่อที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของแก๊ง ร.ต.อ.ณัฏฐ์ ชลนิธิวาณิชย์ อดีตผู้บังคับหมวด 426 กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน 42 ( กก.ตชด.) จ.นครศรีธรรมราช ช่วยราชการ กก.ตชด. 41 จ.ชุมพร กับพวกซึ่งเป็นอดีตตำรวจชุดปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติด
นายกสภาทนายความกล่าวว่า เมื่อวันที่ 4 ก.พ. นางนุจรี เมี่ยงติ่ง ญาติของนายไพรัตน์ หมื่นพล หลานชายจุฑาภรณ์ นุ่นรอด หญิงตั้งครรภ์อาชีพช่างซ่อมเครื่องประดับเงิน ย่านเพชรเกษม และนายประนอม อัมพิณย์ บิดาของนายนายเชาวลิต อัมพิณย์ ซึ่งเคยถูกกลุ่ม ร.ต.อ.ณัฏฐ์ กับพวกนำตัวไปกักขัง ทำร้ายร่างกาย และข่มขู่ด้วยการช็อตไฟฟ้าเพื่อให้รับสารภาพคดียาเสพติด (ยาบ้า) ได้เข้าร้องขอความช่วยเหลือทางกฎหมายต่อสภาทนายความ ซึ่งขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย โดยสภาทนายความจะตั้งคณะทำงานชุดพิเศษอีกด้วยในการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาตรวจสอบเกี่ยวกับการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐว่ากระทำโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ขณะเดียวกันนายกสภาทนายความ ยังได้ออกแถลงการณ์สภาทนายความ เรียกร้องให้มีการปฏิรูปกฎหมายเกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวนในคดีอาญาใหม่ โดยเห็นว่าเมื่อทำให้กระบวนการการจับกุมสืบสวนสอบสวนรวมไว้ที่เดียวกัน ส่งผลให้การดำเนินกระบวนการยุติธรรมเสียไปอย่างมาก ไม่มีการถ่วงดุลตรวจสอบทำให้เกิดการปกปิด ซึ่งกว่าจะล่วงรู้ถึงการกระทำที่โหดร้ายและไร้มนุษยธรรม ก็เกิดความเสียหายเป็นจำนวนมากแล้ว ดังนั้นจึงสมควรให้มีการพิจารณาระบบใหม่ และเลิกการสืบสวนและสอบสวน ด้วยการพิจารณาแก้ไขกฎหมายเพื่อให้มีการจัดตั้งกรมสอบสวนคดีขึ้นมาต่างหากเพื่อสร้างจริยธรรมและคุณธรรม ในด้านการสอบสวนให้สอดคล้องกับกฎหมายและความผูกพันตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี โดยประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.50 แล้ว
“ สภาทนายความเห็นว่าเวลานี้เหมาะสมกับเวลาแล้วที่ต้องปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมในด้านการแสวงหาและการเสนอข้อเท็จจริงต่อศาลเสียใหม่ และเป็นเวลาที่ประจวบเหมาะกับการปรับปรุงโครงสร้างกระบวนการดำเนินคดีอาญาที่จะต้องพัฒนาให้เหมาะสม ซึ่งรัฐบาลโยเฉพาะกระทรวงยุติธรรมควรยกร่างกฎหมายข้อบังคับ หรือระเบียบใหม่ที่เกี่ยวกับกฎหมายใหม่ รวมทั้งกฎหมายรองในเรื่องของข้อบังคับและระเบียบให้สอดคล้องกับอนุสัญญาดังกล่าวโดยไม่ชักช้า ” นายกสภาทนายความกล่าว พร้อมประณามกลุ่ม ร.ต.อ.ณัฏฐ์ กับพวกซึ่งเป็นอดีต ตชด.ชุดปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติด ด้วยว่า “ การกระทำของกลุ่มดังกล่าว ไร้ยางอาย อำมหิต เป็นคนเลวที่สมควรต้องโดนลงโทษประหารชีวิต ซึ่งจะต้องให้การสอบสวนความผิดตามช่องทางทุกกระบวนการ”
ทั้งนี้ นายเดชอุดม ยังกล่าวย้ำในตอนท้ายอีกว่า สภาทนายความ ขอย้ำเรื่องมาตรการตามพันธะกรณีการเข้าเป็นภาคีของประเทศต่ออนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ตามข้อ 10 , 11 , 12 , 13 ,14 และ 15 ที่หลักดังกล่าวเป็นสาระสำคัญเกี่ยวกับสร้างจริยธรรม ฝึกฝนเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งการกำหนดนโยบายในด้านของการสืบสวนสอบสวนตามาตรฐานของอารยะประเทศ อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่ประสบเคราะห์กรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ขอให้ติดต่อขอรับความช่วยเหลือได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชนทางกฎมาย สภาทนายความ ถ.ราชดำเนินกลาง และสภาทนายความจังหวัดทุกจังหวัด
ด้านนายเจษฎา อนุจาร อุปนายกฝ่ายปฏิบัติสภาทนายความ กล่าวเสริมว่า เรื่องนี้หากมีการดำเนินคดีแล้ว ไม่อยากจะให้มีวรรคทองที่จะปรากฏในสำนวนคดีว่า “ พนักงานสอบสวนปฏิบัติตามหน้าที่ โดยไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลย และกลั่นแกล้งที่จะให้ได้รับโทษทางอาญา ” เนื่องจากกรณีดังกล่าวทำให้เห็นแล้วว่า มีเจ้าหน้าที่ตำรวจบางนายที่ทำผิดกฎหมาย
ขณะที่นายประนอม อัมพิณย์ บิดานายเชาวลิต ผู้เสียหาย กล่าวว่า บุตรชายถูกจับกุมเพราะมีการตั้งข้อกล่าวหามียาไอซ์ไว้ในครอบครอง 1.5 กรัม ซึ่งขณะนี้ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำ และเมื่อได้เข้าไปเยี่ยมก็เห็นสภาพบุตรชายมีอาการตัวสั่นแสดงความหวาดกลัว ตนพยายามจะพาลูกชายไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล ปรากฏว่าลูกชายยังอยู่ในสภาพที่หวาดกลัว เกรงว่าจะถูกทำร้ายร่างกายอีก เมื่อเห็นลูกอยู่ในสภาพนั้นตนได้แต่นั่งร้องไห้เสียหายที่ลูกถูกกระทำอย่างไม่มีทางต่อสู้ จนกระทั่งเห็นข่าวของ ร.ต.อ.ณัฏฐ์ ถูกจับกุม จึงเข้าขอความช่วยเหลือกับทางสภาทนายความ
ด้าน น.ส.นุชจรี เมี่ยงติ่ง ญาติ นายไพรัตน์ มีหมื่นพล เหยื่ออีกราย กล่าวว่า นายไพรัตน์ ถูก ร.ต.อ.ณัฏฐ์ กับพวกจับกุมฐานครอบครองยาบ้าเพื่อจำหน่าย จำนวน 200 เม็ด เมื่อวันที่ 3 ก.พ.50 โดยนายไพรัตน์ ถูกควบคุมตัวไปกักขังไว้ที่ ตำรวจตระเวนชายแดนทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อนจะถูกทำร้ายร่างกาย และใช้ไฟฟ้าช็อตตามลำตัว เพื่อให้รับสารภาพ จนศาลมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 21 ส.ค.50 ให้จำคุกนายไพรัตน์ เป็นเวลา 3 ปี 14 เดือน ทั้งที่ไม่ได้กระทำผิด