ผู้จัดการรายวัน-การจับกุมแก๊ง ตชด.นำโดย "ร.ต.อ.ณัฏฐ์ ชนนิธิวณิชย์" ที่ก่อเหตุ “ อุ้ม”เหยื่อไปกักขัง ยัดยาบ้า และเรียกค่าไถ่ เป็นคดีที่สร้างรอยด่างต่อวงการผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ไทย เมื่อต้น “ธารแห่งกระบวนการยุติธรรม” กลับกลายมาเป็น “องค์กรอาชญากรรม” เสียเองขณะที่“เหยื่อ” ต่างดาหน้าออกมาแฉพฤติกรรมอันเลวร้ายของ “โจรในเครื่องแบบ” จนคนบริสุทธิ์ต้องเข้าไปอยู่ในคุก และส่งผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมไทยครั้งสำคัญ
การจับกุมแก๊งตำรวจตระเวนชายแดน สังกัด ตชด.41 ซึ่งนำโดย “ร.ต.อ.ณัฏฐ์ ชนนิธิวณิชย์” ที่ก่อเหตุ “ อุ้ม” นางเพียงจิต พึ่งอ้น นักธุรกิจย่านฝั่งธนฯ พร้อมลูกอีก 2 คนไปกักขังหน่วงเหนี่ยวยัดยาบ้า และเรียกค่าไถ่ เป็นคดีที่สร้างรอยด่างอีกครั้งต่อวงการผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ไทย เมื่อต้น “ธารแห่งกระบวนการยุติธรรม” กลับกลายมาเป็น “องค์กรอาชญากรรม” เสียเอง ยิ่งเมื่อเรื่องแดงขึ้นมาเหล่าบรรดาญาติพี่น้อง “เหยื่อ” ที่เคยถูกแก๊ง ตชด.อุ้มไปรีดไถแล้วยัดยา ต่างดาหน้าออกมาแฉพฤติกรรมอันเลวร้ายของ “โจรในเครื่องแบบ” ที่ใช้อำนาจในมือจนคนบริสุทธิ์ต้องเข้าไปอยู่ในคุก ที่สุดแล้วเรื่องนี้จะส่งผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมไทยในวงกว้างมากน้อยเพียงใดผู้ทรงคุณวุฒิในวงการหลายคนได้ให้ความเห็นเอาไว้อย่างน่าสนใจ
นายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม เห็นว่าบทเรียนจากกรณีดังกล่าวน่าจะนำไปสู่การกำหนดมาตรการที่เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายที่จะเอาผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐให้หนักขึ้นกว่าประชาชนทั่วไป โดยเสนอให้มีการนำกฎหมายฟอกเงินมาใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบเจ้าหน้าที่รัฐโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับคดียาเสพติด
ส่วนที่พบว่ามีการใช้กำลังทำร้ายร่างกายเหยื่อจนต้องยอมรับให้การสารภาพนั้น นายจรัญ เห็นว่าในการพิจารณาคดีของผู้พิพากษาอาจต้องปรับให้มีการฟังพยานหลักฐานอื่นด้วย ไม่ใช่ฟังเพียงคำให้การรับสารภาพเท่านั้น นอกจากนี้ยังเห็นว่าควรให้เพิ่มค่าชดเชยทางแพ่งแก่คดีที่มีการละเมิดสิทธิของประชาชนด้วย
ขณะที่ นายสราวุธ เบญจกุล รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ระบุว่าในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลจะพิจารณาทั้งจากข้อกฎหมาย และข้อเท็จจริง ดังนั้นเหยื่อที่ต้องตกเป็นจำเลยจึงสามารถนำข้อเท็จจริงเรื่องเกี่ยวกับการปฎิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนดังกล่าว มาใช้ต่อสู้ในชั้นศาลได้ เพราะการที่ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยก็ต่อเมื่อเชื่อโดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยนั้นกระทำผิดจริง ส่วนคดีที่ยังไม่ขึ้นสู่ชั้นศาลนั้นเหยื่อที่คิดว่าตัวเองถูกดำเนินคดีอย่างไม่เป็นธรรมในชั้นพนักงานสอบสวนก็สามารถนำเข้าเท็จจริงตรงนี้ไปร้องขอความเป็นธรรมกับพนักงานอัยการเพื่อให้พิจารณาสั่งไม่คดีได้เช่นกัน
“หลายคนมองว่าเรื่องที่เกิดขึ้นสร้างความสั่นสะเทือนให้กับวงการยุติธรรมในวงกว้าง แต่ผมกลับมองว่าวิกฤติครั้งนี้น่าจะเป็นโอกาสให้ผู้บังคับบัญชาสร้างระบบในการตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานตัวเอง เพื่อให้สามารถดำเนินการป้องกันและปราบปรามปัญหาอาชญากรรม โดยวิธีที่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่ละเมิดสิทธิของประชาชน ”
ด้าน นายเดชอุดม ไกรฤกษ์ นายกสภาทนายความ กล่าวว่าเพื่อไม่ให้มีเหตุลักษณะนี้ซ้ำอีก จึงเรียกร้องให้กระทรวงยุติธรรมเร่งยกร่างกฎหมาย ข้อบังคับและระเบียบให้สอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและปฏิบัติหารือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี รวมถึงปฏิรูปกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนในคดีอาญาใหม่ โดยที่แยกกระบวนการสอบสวนกับสืบสวนออกจากกัน เพื่อให้เกิดการถ่วงดุล ความโปร่งใสและเป็นการแก้ปัญหาระบบยุติธรรมในระยะยาว ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ก็ควรหยุดออกใบอนุญาตให้มีการสืบสวน และระงับการจ่ายเงินรางวัล เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นช่องทางให้ตำรวจนอกรีดแสวงหาผลประโยชน์ได้
ด้าน นายวันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ให้ความเห็นว่าที่ผ่านมาการจับกุมผู้ต้องหาคดียาเสพติดทั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม และประชาชนมักจะเชื่อผู้จับกุมมากกว่า ซึ่งคนที่ถูกซ้อมและยัดข้อหาก็จะอ่อนแอ ส่วนผู้ที่กระทำก็จะมีการวางแผนมาเป็นอย่างดี จึงมองว่าทางแก้ไขเพื่อให้ผู้บริสุทธิ์ไม่ต้องได้รับความเดือดร้อนจากกระบวนการยุติธรรมนั้นต้องปรับที่การรับฟังพยานหลักฐานให้มากขึ้นไม่เชื่อเพียงการทำสำนวนและหลักฐานของตำรวจ ทุกข้อกล่าวอ้างของพยานจำเลยที่ระบุว่าถูกกลั่นแกล้งศาลควรให้ฝ่ายจำเลยได้หาหลักฐานมาพิสูจน์อย่างชัดเจน
บทเรียนจากคดี แก๊ง ตชด.สะท้อนให้เห็นถึงความบกพร่องของกระบวนการยุติธรรมไทย ตั้งแต่ชั้นการจับกุมสอบสวน การพิจารณาสั่งคดีของพนักงานอัยการที่เสนอสำนวนขึ้นสู่ศาล และนำมาสู่คำถามที่ว่า ถึงเวลาแล้วหรือยัง ?!?ที่จะต้องเร่งสร้างกระบวนการตรวจสอบและถ่วงดุลย์อำนาจของพนักงานสอบสวนที่มีอยู่ล้นฟ้าโดยเฉพาะในคดีเกี่ยวข้องยาเสพติด เพื่อไม่ให้กระบวนการยุติธรรมต้องกลายเป็นเครื่องมือของกลุ่มคนบางกลุ่มที่มุ่งเพียงแสวงหาผลประโยชน์โดยไม่คำนึงถึงสิทธิของประชาชนผู้บริสุทธิ์
การจับกุมแก๊งตำรวจตระเวนชายแดน สังกัด ตชด.41 ซึ่งนำโดย “ร.ต.อ.ณัฏฐ์ ชนนิธิวณิชย์” ที่ก่อเหตุ “ อุ้ม” นางเพียงจิต พึ่งอ้น นักธุรกิจย่านฝั่งธนฯ พร้อมลูกอีก 2 คนไปกักขังหน่วงเหนี่ยวยัดยาบ้า และเรียกค่าไถ่ เป็นคดีที่สร้างรอยด่างอีกครั้งต่อวงการผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ไทย เมื่อต้น “ธารแห่งกระบวนการยุติธรรม” กลับกลายมาเป็น “องค์กรอาชญากรรม” เสียเอง ยิ่งเมื่อเรื่องแดงขึ้นมาเหล่าบรรดาญาติพี่น้อง “เหยื่อ” ที่เคยถูกแก๊ง ตชด.อุ้มไปรีดไถแล้วยัดยา ต่างดาหน้าออกมาแฉพฤติกรรมอันเลวร้ายของ “โจรในเครื่องแบบ” ที่ใช้อำนาจในมือจนคนบริสุทธิ์ต้องเข้าไปอยู่ในคุก ที่สุดแล้วเรื่องนี้จะส่งผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมไทยในวงกว้างมากน้อยเพียงใดผู้ทรงคุณวุฒิในวงการหลายคนได้ให้ความเห็นเอาไว้อย่างน่าสนใจ
นายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม เห็นว่าบทเรียนจากกรณีดังกล่าวน่าจะนำไปสู่การกำหนดมาตรการที่เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายที่จะเอาผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐให้หนักขึ้นกว่าประชาชนทั่วไป โดยเสนอให้มีการนำกฎหมายฟอกเงินมาใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบเจ้าหน้าที่รัฐโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับคดียาเสพติด
ส่วนที่พบว่ามีการใช้กำลังทำร้ายร่างกายเหยื่อจนต้องยอมรับให้การสารภาพนั้น นายจรัญ เห็นว่าในการพิจารณาคดีของผู้พิพากษาอาจต้องปรับให้มีการฟังพยานหลักฐานอื่นด้วย ไม่ใช่ฟังเพียงคำให้การรับสารภาพเท่านั้น นอกจากนี้ยังเห็นว่าควรให้เพิ่มค่าชดเชยทางแพ่งแก่คดีที่มีการละเมิดสิทธิของประชาชนด้วย
ขณะที่ นายสราวุธ เบญจกุล รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ระบุว่าในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลจะพิจารณาทั้งจากข้อกฎหมาย และข้อเท็จจริง ดังนั้นเหยื่อที่ต้องตกเป็นจำเลยจึงสามารถนำข้อเท็จจริงเรื่องเกี่ยวกับการปฎิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนดังกล่าว มาใช้ต่อสู้ในชั้นศาลได้ เพราะการที่ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยก็ต่อเมื่อเชื่อโดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยนั้นกระทำผิดจริง ส่วนคดีที่ยังไม่ขึ้นสู่ชั้นศาลนั้นเหยื่อที่คิดว่าตัวเองถูกดำเนินคดีอย่างไม่เป็นธรรมในชั้นพนักงานสอบสวนก็สามารถนำเข้าเท็จจริงตรงนี้ไปร้องขอความเป็นธรรมกับพนักงานอัยการเพื่อให้พิจารณาสั่งไม่คดีได้เช่นกัน
“หลายคนมองว่าเรื่องที่เกิดขึ้นสร้างความสั่นสะเทือนให้กับวงการยุติธรรมในวงกว้าง แต่ผมกลับมองว่าวิกฤติครั้งนี้น่าจะเป็นโอกาสให้ผู้บังคับบัญชาสร้างระบบในการตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานตัวเอง เพื่อให้สามารถดำเนินการป้องกันและปราบปรามปัญหาอาชญากรรม โดยวิธีที่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่ละเมิดสิทธิของประชาชน ”
ด้าน นายเดชอุดม ไกรฤกษ์ นายกสภาทนายความ กล่าวว่าเพื่อไม่ให้มีเหตุลักษณะนี้ซ้ำอีก จึงเรียกร้องให้กระทรวงยุติธรรมเร่งยกร่างกฎหมาย ข้อบังคับและระเบียบให้สอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและปฏิบัติหารือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี รวมถึงปฏิรูปกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนในคดีอาญาใหม่ โดยที่แยกกระบวนการสอบสวนกับสืบสวนออกจากกัน เพื่อให้เกิดการถ่วงดุล ความโปร่งใสและเป็นการแก้ปัญหาระบบยุติธรรมในระยะยาว ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ก็ควรหยุดออกใบอนุญาตให้มีการสืบสวน และระงับการจ่ายเงินรางวัล เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นช่องทางให้ตำรวจนอกรีดแสวงหาผลประโยชน์ได้
ด้าน นายวันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ให้ความเห็นว่าที่ผ่านมาการจับกุมผู้ต้องหาคดียาเสพติดทั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม และประชาชนมักจะเชื่อผู้จับกุมมากกว่า ซึ่งคนที่ถูกซ้อมและยัดข้อหาก็จะอ่อนแอ ส่วนผู้ที่กระทำก็จะมีการวางแผนมาเป็นอย่างดี จึงมองว่าทางแก้ไขเพื่อให้ผู้บริสุทธิ์ไม่ต้องได้รับความเดือดร้อนจากกระบวนการยุติธรรมนั้นต้องปรับที่การรับฟังพยานหลักฐานให้มากขึ้นไม่เชื่อเพียงการทำสำนวนและหลักฐานของตำรวจ ทุกข้อกล่าวอ้างของพยานจำเลยที่ระบุว่าถูกกลั่นแกล้งศาลควรให้ฝ่ายจำเลยได้หาหลักฐานมาพิสูจน์อย่างชัดเจน
บทเรียนจากคดี แก๊ง ตชด.สะท้อนให้เห็นถึงความบกพร่องของกระบวนการยุติธรรมไทย ตั้งแต่ชั้นการจับกุมสอบสวน การพิจารณาสั่งคดีของพนักงานอัยการที่เสนอสำนวนขึ้นสู่ศาล และนำมาสู่คำถามที่ว่า ถึงเวลาแล้วหรือยัง ?!?ที่จะต้องเร่งสร้างกระบวนการตรวจสอบและถ่วงดุลย์อำนาจของพนักงานสอบสวนที่มีอยู่ล้นฟ้าโดยเฉพาะในคดีเกี่ยวข้องยาเสพติด เพื่อไม่ให้กระบวนการยุติธรรมต้องกลายเป็นเครื่องมือของกลุ่มคนบางกลุ่มที่มุ่งเพียงแสวงหาผลประโยชน์โดยไม่คำนึงถึงสิทธิของประชาชนผู้บริสุทธิ์