ผู้จัดการรายวัน- ชำแหละทีมเศรษฐกิจสมัคร แค่ตบรางวัลนายทุนพรรคนั่งเก้าอี้รมต.ทั้งที่ไม่มีฝีมือ แฉตั้ง “โกร่งและพวก” เป็นที่ปรึกษาเลี่ยง นั่งรัฐมนตรี เพราะไม่ต้องการเปิดบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน หวั่นผลประโยชน์ทับซ้อนแอบอิงอำนาจรัฐ ล้วงข้อมูลภายใน เหตุเป็นที่ปรึกษาบริษัทเอกชนหลายแห่ง จี้นายกรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบ จับตาเปิดศึกเขย่าแบงก์ชาติ เผยบทบาทการเมือง-ธุรกิจของ ‘วีรพงษ์’คลุมเครือแยกกันไม่ออก ด้านภาคเอกชนหวั่นทำงานไปคนละทาง ที่ปรึกษาไม่มีอำนาจ แนะแก้ไขด่วนดูแลปัญหาค่าครองชีพประชาชน เงินเฟ้อ ความชัดเจนแผนพลังงานโดยเฉพาะอี -85 การขึ้นราคาก๊าช
จากกรณีนายสมัคร สุนทรเวช ได้ปรับคณะรัฐมนตรี และ ต่อมาประการแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาเศรษฐกิจซึ่งนำโดยนายวีรพงษ์ รามางกูร เป็นประธานเมื่อวานนั้น(3ส.ค.)นั้น
นายกรณ์ จาติกวาณิช รมว.คลังเงา และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า โดยภาพรวมรัฐบาลไม่สามารถทำให้ประชาชนที่คาดหวังว่าจะทำให้เศรษฐกิจของไทยเดินหน้าผ่านวิกฤตไปได้ เพราะนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ยังยึดติดเกี่ยวกับจำนวนโควตาและนายทุนพรรค นำบุคคลที่ไม่มีประสบการณ์ในการบริหารงานด้านเศรษฐกิจเข้ามาเป็นเป็นรัฐมนตรี ทั้งที่จริงแล้วบุคคลที่จะมาบริหารงานตรงนี้ได้ควรเป็นคนมีความรู้ ความสามารถ มีทัศนคติในการบริหารประเทศ แต่รายชื่อที่ปรากฏออกมาสร้างความผิดหวังครั้งใหญ่ เป็นการปิดโอกาสที่จะกอบกู้เศรษฐกิจของชาติกลับคืนมา สูญเสียความเชื่อมั่นในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อกับนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ โดยเฉพาะตัว รมว.คลัง ที่ปฏิเสธที่จะแสดงสปิริตหลังศาลฎีกาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีมติรับฟ้องคดีหวยบนดิน และการแต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยที่ยังยึดโยงอยู่กับโควตาของพรรคร่วม
นายกรณ์ ยังกล่าวถึงการแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาพิเศษคณะรัฐมนตรี โดยไม่แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี เพราะอาจขาดรายได้มหาศาลและเสี่ยงต่อการติดคุกว่า บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งเข้ามาล้วนแต่เป็นผู้มีชื่อเสียง เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐกิจ แต่คงไม่สามารถช่วยอะไรได้ เนื่องจากตำแหน่งดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจนคนจึงไม่มีความเชื่อมัน และบางคนก็เคยแสดงจุดยืนเป็นฝ่ายเดียวกับรมว.คลัง แต่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับผู้ว่าการ ธปท.ทั้งที่ภารกิจที่จะต้องประสานระหว่ากระทรวงการคลัง และธปท.มีความจำเป็นมา แต่จุดยืน และหลักความเชื่อต่างกัน จึงมีการแสดงออกที่ไม่เป็นมิตรผ่านทางสื่อ และการแต่งตั้งนี้ เพียงเพื่อมากลบเกลื่อน การตั้ง รมต.ที่บรรดานักลงทุน และภาคเศรษฐกิจไม่มีความมั่นใจ
ดังนั้น จึงสะท้อนให้เห็นได้จากตัวเลขการลงทุนในไตรมาส 2 ที่เหลือเพียง 4% ซึ่งเห็นชัดเจนเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ที่อยู่ที่ 7% และในช่วงเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมาเดือนเดียวมีเงินทุนไหลออก ดุลบัญชีขาดทุนกว่า 3.7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งไม่เคยมีเงินทุนไหลออกมาขนาดนี้นับตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจ 2540 เป็นการสะท้องให้เห็นถึงแนวนโยบายในการบริหารด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลนี้
**แฉตั้ง “โกร่งและพวก”
เลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อน-หวั่นล้วงข้อมูล
ส่วนการให้ นายวีรพงษ์ รามางกูร มาเป็นที่ปรึกษา ครม.และยังมีสิทธิเข้าร่วมประชุม ครม.ทั้งที่ยังเป็นผู้บริหารบริษัทเอกชนจะเกิดปัญหาหรือไม่ นายกรณ์ กล่าวว่า กรณีดังกล่าวจะถูกมองว่าเป็นเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน และการให้อำนาจคล้าย รัฐมนตรี แต่ไม่มีกระบวนการตรวจสอบ ก็เป็นเรื่องสุ่มเสี่ยงอาจมีการแทรกแซงนโยบายทางด้านตลาดทุน เช่น ก.ล.ต. ธปท. และองค์กรอิสระอื่น เป็นการหลบเลี่ยงไม่แสดงบัญชีทรัพย์สิ และหนี้สิน เป็นการสร้างมิติที่ไม่สมควรขึ้นมา และจะเกิดข้อครหาได้ว่า เป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลนอกเข้าไปล้วงลูกข้อมูลทางเศรษฐกิจ รู้ความลับที่ไม่ควรเปิดเผยในการประชุม ครม.
“การแต่งตั้งบุคคลระดับนี้ในลักษณะนี้ไม่น่าจะคุ้มค่า เพราะหากต้องการปรึกษา เรื่องใด ก็สามารถขอคำปรึกษาได้ทุกเมื่อ โดยไม่จำเป็นต้องแต่ตั้งมาเป็นที่ปรึกษา เป็นการหาผักชีชั้นสูงมาโรย ทำให้เกิดหน้าตาของทีม ครม.เศรษฐกิจดีขึ้น ดังนั้น คำปรึกษาของคณะที่ปรึกษาส่งผลกระทบต่อการบริหารนโยบาย นายกรัฐมนตรีต้องเป็นผู้รับผิดชอบ”
** ‘โกร่ง’ ธุรกิจ-การเมืองแยกไม่ออก
สำหรับนายวีรพงษ์ รามางกูร เป็นผู้เคยมีบทบาทใน ด้านนโยบายเศรษฐกิจ ตั้งแต่เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในยุคพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (2523-2531) และจากนั้นนายวีรพงษ์ก็มีโอกาสดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และรองนายกรัฐมนตรี มาตั้งแต่รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน พลเอกสุจินดา คราประยูร และ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ขณะเดียวกันในช่วงรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เขาก็รับเป็นที่ปรึกษาให้พ.ต.ท.ทักษิณอย่างไม่เป็นทางการ โดยทำงานร่วมกับนายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ที่ปรึกษาคนสำคัญในระบอบทักษิณที่สนิทสนมกันมายาวนาน จนได้รับผลตอบแทนให้นั่งเป็นประธานการบินไทย และ กรรมการบริษัทไออาร์พีซี(ทีพีไอเดิม)
นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งทางธุรกิจกับ ช.การช่าง เป็น ประธานกรรมการบริหาร แอ๊ดวานซ์ อะโกร จำกัด(มหาชน) ของกลุ่มเกษตรรุ่งเรือง แต่ความที่มีชื่อเสียงด้านเศรษฐศาสตร์ ผู้หนึ่ง ทำให้สังคมมองข้ามความสัมพันธ์ทางการเมือง และ ผลประโยชน์ทับซ้อนจากการนั่งเป็นประธานบริษัทเอกชนหลายแห่งของเขา
ทั้งนี้จากการค้นข้อมูลที่ปรากฏในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่า นายวีรพงษ์ เป็นประธานกรรมการ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการบริษัท ฟินันซ่า จำกัด(มหาชน)
การเข้ามาพัวพันกับรัฐบาลนอมีนีครั้งนี้ นายวีรพงษ์ ถูกตั้งความหวังให้ช่วยเข้ามายกระดับความน่าเชื่อถือทีมเศรษฐกิจที่ขี้ริ้วขี้เหล่ ไม่มีฝีมือ แต่เขาก็ปฎิเสธที่นั่งเก้าอี้รัฐมนตรี หรือ ตำแหน่งทางการเมืองอื่น เพราะ จุดยืนของเขาเคยย้ำมาหลายครั้งว่า ต้องการอยู่หลังฉากมากกว่า ไม่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำโดยตรงและ ไม่ต้องการเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบที่เข้มข้น
ดังนั้น การเข้ามารับตำแหน่งที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสามารถเข้ารับฟังการประชุมครม. รัฐบาลต้องตอบคำถามสังคมให้ได้ว่า นายวีรพงษ์จะไม่มีอิทธิพลต่อการช่วยเหลือธุรกิจที่เขาเคยนั่งบริหารและมีความสัมพันธ์กันอยู่ อาทิ การปรับขึ้นค่าทางด่วน
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังจากทราบว่าจะได้เป็นที่ปรึกษาของนายสมัคร นายวีรพงษ์เริ่มทำผลงานด้วยการโจมตีฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล ทั้งการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และ แบงก์ชาติอย่างรุนแรง
โดยเฉพาะ แบงก์ชาตินั้น นายวีรพงษ์ได้ใช้เวทีสัมมนาประจำปีของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ในหัวข้อเรื่อง "อนาคตเศรษฐกิจไทยภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ทางเศรษฐกิจ" ว่าเป็นต้นเหตุทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจรอบใหม่ และเป็นนโยบายที่ไม่ไปทิศทางเดียวกับนโยบายการคลัง
"ธปท.ทำให้เกิดวิกฤตการเงินมาหลายครั้ง ตั้งแต่ปี 2527 และ ปี 2539 และ สงสัยว่าวิกฤตเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นใหม่ ธปท.จะเป็นคนทำอีกหรือไม่ ต้องเป็นเรื่องจับตา เพราะธปท. แก้ไขเงินเฟ้อโดยการขึ้นดอกเบี้ย ที่เป็นยาครอบจักรวาล เป็นการทำผิดซ้ำซาก อยากให้ธปท.เข้าใจมหภาคมากกว่านี้ ต้องดูแลประเทศไม่ให้ถลำลึกเข้าโครงการไอเอ็มเอฟอีก" นายวีรพงษ์ กล่าว
**ภาคเอกชนหวั่นที่ปรึกษาไปคนละทางกับครม.
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่รัฐบาลได้มีการปรับคณะรัฐมนตรี(ครม.)ใหม่และทีมที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจนายกรัฐมนตรี แม้อาจจะส่งผลให้ภาพลักษณ์รัฐบาลดีขึ้น เพราะบุคคลดังกล่าวเป็นผู้มีประสบการณ์ด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามภาคเอกชนบางส่วนมีความเป็นห่วงว่า เมื่อทีมที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีให้ความเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจแล้ว รัฐมนตรีเศรษฐกิจของรัฐบาลนี้จะฟังหรือไม่ ดังนั้น นายกรัฐมนตรีต้องให้อำนาจแก่ทีมที่ปรึกษาเศรษฐกิจด้วย
" ประชาชนส่วนหนึ่งมองว่า รัฐบาลนี้อยู่ไม่นาน ดังนั้น ทีมที่ปรึกษาและทีมเศรษฐกิจเมื่อมีโอกาสเข้ามาทำงานก็ต้องเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศให้กับประชาชนโดยเร็ว และที่สำคัญคือเมื่อทีมที่ปรึกษามีนโยบายด้านเศรษฐกิจหรือให้คำแนะนำมาแล้วรัฐมนตรีที่ดูแลกระทรวงเศรษฐกิจต่างๆ จะทำตามหรือไม่เพราะไม่เช่นนั้นก็ไม่มีประโยชน์ และในการประชุมช่วงเริ่มแรกเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น นายกรัฐมนตรีน่าจะพิจารณามานั่งเป็นประธานในการประชุมระหว่างทีมที่ปรึกษาเศรษฐกิจและทีมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม จะต้องติดตามการทำงานว่า จะสามารถประสานการทำงานได้มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ ต้องประสานงานกันให้ได้ ทุกกระทรวงและต้องทำงานพร้อม ๆ กันไป ถึงจะมีพลังในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไม่ต้องการเห็นการทำงานที่ไม่สอดรับกันเหมือนกับที่ผ่านมา"นายสันติกล่าว
สำหรับสิ่งที่ต้องการให้ทีมที่ปรึกษาเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรีเร่งพิจารณาแก้ไขปัญหาเร่งด่วนคือการดูแลค่าครองชีพของประชาชนที่จะทำเช่นไรให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นอย่างมาก รวมถึงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี)ทำอย่างไรให้สามารถอยู่รอดได้ และมีความมั่นใจในการขยายงานเพราะถือเป็นภาคธุรกิจที่สำคัญในการจ้างงาน โดยเห็นว่านโยบายด้านพลังงานเป็นสิ่งสำคัญภาพรวมเพราะปัจจุบันได้ส่งผลกระทบต่อทุกระดับเป็นห่วงโซ่ซึ่งควรมีความชัดเจนในแผนระยะกลางและยาวว่าจะเดินไปในทางใดจะเป็นพลังงานนิวเคลียร์ ถ่านหิน เพื่อลดนำเข้าพลังงาน พร้อมกันนี้จะต้องเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐด้วยการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณเพราะที่ผ่านมาพบว่าการลงทุนของภาครัฐค่อนข้างต่ำ
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า การแต่งตั้งนายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานคณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) เป็นทีมที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจถือว่าเป็นสิ่งที่ดีเพราะทั้ง 2 คนเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ เป็นที่ยอมรับในสังคมแต่อำนาจการตัดสินใจของทีมที่ปรึกษาจะมีมากน้อยเพียงใดเพราะจะต้องทำงานประสานกับรัฐมนตรีที่กำกับดูแลด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลหากทำงานไม่ประสานกันต่างคนต่างทำก็ไม่เป็นประโยชน์ใดๆ
สำหรับสิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขเร่งด่วน คือ ปัญหาอัตราเงินเฟ้อ ควรวางกรอบแก้ไขระยะยาว เพื่อดึงความเชื่อมั่นนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ และรัฐบาลไม่ควรออกมาพูดในเรื่องโครงการเมกะโปรเจ็กต์ อยากให้ลงมือปฏิบัติ อย่างไรก็ตามในฐานะนายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยรู้สึกเป็นห่วงกรณีรัฐบาลขายข้าวจำนวน 2.1 ล้านตัน แบบรัฐต่อรัฐ เพราะการประกาศดังกล่าวเป็นช่วงเวลาไม่เหมาะสม เพราะขณะนี้เป็นจังหวะของผู้ซื้อมากกว่าผู้ขาย ดังนั้น อยากให้ภาครัฐกลับไปทบทวน หากจะดำเนินการขายข้าวควรดึงเอกชนร่วมประชุมวางกรอบการทำงาน เพราะการทำเช่นนี้จะทำให้ตลาดปั่นป่วน ซึ่งการประกาศขายข้าวในลักษณะนี้เป็นการทุบตลาดข้าวตนเอง ทำให้ทุกคนรู้ว่า สตอกข้าวรัฐมีจำนวนเท่าใด
นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่า ทีมที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีโดยเฉพาะนายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายณรงค์ชัย อัครเศรณี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ น่าจะสามารถประคับประคองเศรษฐกิจให้ถึงฝั่ง แต่ก็ขึ้นอยู่กับการให้อำนาจการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีว่า จะให้ขอบเขตแค่ไหน เพราะที่ปรึกษาอาจจะไม่มีอำนาจในการตัดสินใจจึงอยากเสนอให้ทีมเศรษฐกิจรัฐบาลไม่ว่ากระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำงานเป็นทีมเดียวกันมากขึ้น แม้ว่ารัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจจะมาจากการเมือง แต่ทางการเมืองจะต้องเปิดรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ทั้งข้าราชการประจำและภาคเอกชน ไม่ว่าสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สมาคมธนาคารไทย เพราะบุคคลเหล่านี้เป็นผู้มีความรู้และความชำนาญด้านเศรษฐกิจ จึงอยากให้ทีมเศรษฐกิจที่มาจากการเมืองรับฟังความคิดเห็น เพราะจะทำให้การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เป็นไปทิศทางเดียวกัน
***แนะรัฐต้องชัดเจนอี-85-ลอยตัวแอลพีจี
นายอดิศักดิ์ โรหิตศุน รองประธานส.อ.ท.กล่าวว่า ผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศคงจะต้องการความชัดเจนในเรื่องของแผนการส่งเสริมแก๊สโซฮอล์ อี -85 ที่กระทรวงพลังงานต้องการส่งเสริมและอาจมีการนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศมารองรับอี -85 ว่าจะเป็นแผนอย่างไรแน่ซึ่งภาครัฐควรจะกำหนดความชัดเจนของกลุ่มพลังงานที่จะส่งเสริมเพื่อลดการนำเข้าในส่วนของการทดแทนเบนซินจะมีอะไรบ้างเช่นอี -10, อี-20,อี -85 ดีเซลจะเป็น NGV ระยะยาวจะเป็นอย่างไร โดยส่วนของก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจี การขึ้นราคาแอลพีจีส่วนของภาคขนส่งและอุตสาหกรรมต้องชัดเจนเพราะปัจจุบันมีผลให้ประชาชนแห่ไปติดตั้งการใช้แอลพีจีอย่างมาก
" เวลานี้รถยนต์ที่ใช้อี-20 มีแล้ว 1 แสนคันคาดว่าสิ้นปีนี้จะเพิ่มเป็น 2 แสนคันปั๊มน้ำมันมีเพียง 68 แห่งและคาดว่าสิ้นปีนี้คงจะเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้นอี -85 ก็คิดว่าจะมีเวลาเช่นกันคงไม่ได้เกิดเร็วๆ นี้ได้นักเพราะทั้งหมดจะต้องมีความพร้อมทั้งผู้ผลิตเอทานอล ผู้ผลิตรถ ค่ายน้ำมัน "นายอดิศักดิ์กล่าว
จากกรณีนายสมัคร สุนทรเวช ได้ปรับคณะรัฐมนตรี และ ต่อมาประการแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาเศรษฐกิจซึ่งนำโดยนายวีรพงษ์ รามางกูร เป็นประธานเมื่อวานนั้น(3ส.ค.)นั้น
นายกรณ์ จาติกวาณิช รมว.คลังเงา และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า โดยภาพรวมรัฐบาลไม่สามารถทำให้ประชาชนที่คาดหวังว่าจะทำให้เศรษฐกิจของไทยเดินหน้าผ่านวิกฤตไปได้ เพราะนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ยังยึดติดเกี่ยวกับจำนวนโควตาและนายทุนพรรค นำบุคคลที่ไม่มีประสบการณ์ในการบริหารงานด้านเศรษฐกิจเข้ามาเป็นเป็นรัฐมนตรี ทั้งที่จริงแล้วบุคคลที่จะมาบริหารงานตรงนี้ได้ควรเป็นคนมีความรู้ ความสามารถ มีทัศนคติในการบริหารประเทศ แต่รายชื่อที่ปรากฏออกมาสร้างความผิดหวังครั้งใหญ่ เป็นการปิดโอกาสที่จะกอบกู้เศรษฐกิจของชาติกลับคืนมา สูญเสียความเชื่อมั่นในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อกับนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ โดยเฉพาะตัว รมว.คลัง ที่ปฏิเสธที่จะแสดงสปิริตหลังศาลฎีกาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีมติรับฟ้องคดีหวยบนดิน และการแต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยที่ยังยึดโยงอยู่กับโควตาของพรรคร่วม
นายกรณ์ ยังกล่าวถึงการแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาพิเศษคณะรัฐมนตรี โดยไม่แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี เพราะอาจขาดรายได้มหาศาลและเสี่ยงต่อการติดคุกว่า บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งเข้ามาล้วนแต่เป็นผู้มีชื่อเสียง เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐกิจ แต่คงไม่สามารถช่วยอะไรได้ เนื่องจากตำแหน่งดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจนคนจึงไม่มีความเชื่อมัน และบางคนก็เคยแสดงจุดยืนเป็นฝ่ายเดียวกับรมว.คลัง แต่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับผู้ว่าการ ธปท.ทั้งที่ภารกิจที่จะต้องประสานระหว่ากระทรวงการคลัง และธปท.มีความจำเป็นมา แต่จุดยืน และหลักความเชื่อต่างกัน จึงมีการแสดงออกที่ไม่เป็นมิตรผ่านทางสื่อ และการแต่งตั้งนี้ เพียงเพื่อมากลบเกลื่อน การตั้ง รมต.ที่บรรดานักลงทุน และภาคเศรษฐกิจไม่มีความมั่นใจ
ดังนั้น จึงสะท้อนให้เห็นได้จากตัวเลขการลงทุนในไตรมาส 2 ที่เหลือเพียง 4% ซึ่งเห็นชัดเจนเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ที่อยู่ที่ 7% และในช่วงเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมาเดือนเดียวมีเงินทุนไหลออก ดุลบัญชีขาดทุนกว่า 3.7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งไม่เคยมีเงินทุนไหลออกมาขนาดนี้นับตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจ 2540 เป็นการสะท้องให้เห็นถึงแนวนโยบายในการบริหารด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลนี้
**แฉตั้ง “โกร่งและพวก”
เลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อน-หวั่นล้วงข้อมูล
ส่วนการให้ นายวีรพงษ์ รามางกูร มาเป็นที่ปรึกษา ครม.และยังมีสิทธิเข้าร่วมประชุม ครม.ทั้งที่ยังเป็นผู้บริหารบริษัทเอกชนจะเกิดปัญหาหรือไม่ นายกรณ์ กล่าวว่า กรณีดังกล่าวจะถูกมองว่าเป็นเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน และการให้อำนาจคล้าย รัฐมนตรี แต่ไม่มีกระบวนการตรวจสอบ ก็เป็นเรื่องสุ่มเสี่ยงอาจมีการแทรกแซงนโยบายทางด้านตลาดทุน เช่น ก.ล.ต. ธปท. และองค์กรอิสระอื่น เป็นการหลบเลี่ยงไม่แสดงบัญชีทรัพย์สิ และหนี้สิน เป็นการสร้างมิติที่ไม่สมควรขึ้นมา และจะเกิดข้อครหาได้ว่า เป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลนอกเข้าไปล้วงลูกข้อมูลทางเศรษฐกิจ รู้ความลับที่ไม่ควรเปิดเผยในการประชุม ครม.
“การแต่งตั้งบุคคลระดับนี้ในลักษณะนี้ไม่น่าจะคุ้มค่า เพราะหากต้องการปรึกษา เรื่องใด ก็สามารถขอคำปรึกษาได้ทุกเมื่อ โดยไม่จำเป็นต้องแต่ตั้งมาเป็นที่ปรึกษา เป็นการหาผักชีชั้นสูงมาโรย ทำให้เกิดหน้าตาของทีม ครม.เศรษฐกิจดีขึ้น ดังนั้น คำปรึกษาของคณะที่ปรึกษาส่งผลกระทบต่อการบริหารนโยบาย นายกรัฐมนตรีต้องเป็นผู้รับผิดชอบ”
** ‘โกร่ง’ ธุรกิจ-การเมืองแยกไม่ออก
สำหรับนายวีรพงษ์ รามางกูร เป็นผู้เคยมีบทบาทใน ด้านนโยบายเศรษฐกิจ ตั้งแต่เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในยุคพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (2523-2531) และจากนั้นนายวีรพงษ์ก็มีโอกาสดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และรองนายกรัฐมนตรี มาตั้งแต่รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน พลเอกสุจินดา คราประยูร และ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ขณะเดียวกันในช่วงรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เขาก็รับเป็นที่ปรึกษาให้พ.ต.ท.ทักษิณอย่างไม่เป็นทางการ โดยทำงานร่วมกับนายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ที่ปรึกษาคนสำคัญในระบอบทักษิณที่สนิทสนมกันมายาวนาน จนได้รับผลตอบแทนให้นั่งเป็นประธานการบินไทย และ กรรมการบริษัทไออาร์พีซี(ทีพีไอเดิม)
นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งทางธุรกิจกับ ช.การช่าง เป็น ประธานกรรมการบริหาร แอ๊ดวานซ์ อะโกร จำกัด(มหาชน) ของกลุ่มเกษตรรุ่งเรือง แต่ความที่มีชื่อเสียงด้านเศรษฐศาสตร์ ผู้หนึ่ง ทำให้สังคมมองข้ามความสัมพันธ์ทางการเมือง และ ผลประโยชน์ทับซ้อนจากการนั่งเป็นประธานบริษัทเอกชนหลายแห่งของเขา
ทั้งนี้จากการค้นข้อมูลที่ปรากฏในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่า นายวีรพงษ์ เป็นประธานกรรมการ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการบริษัท ฟินันซ่า จำกัด(มหาชน)
การเข้ามาพัวพันกับรัฐบาลนอมีนีครั้งนี้ นายวีรพงษ์ ถูกตั้งความหวังให้ช่วยเข้ามายกระดับความน่าเชื่อถือทีมเศรษฐกิจที่ขี้ริ้วขี้เหล่ ไม่มีฝีมือ แต่เขาก็ปฎิเสธที่นั่งเก้าอี้รัฐมนตรี หรือ ตำแหน่งทางการเมืองอื่น เพราะ จุดยืนของเขาเคยย้ำมาหลายครั้งว่า ต้องการอยู่หลังฉากมากกว่า ไม่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำโดยตรงและ ไม่ต้องการเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบที่เข้มข้น
ดังนั้น การเข้ามารับตำแหน่งที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสามารถเข้ารับฟังการประชุมครม. รัฐบาลต้องตอบคำถามสังคมให้ได้ว่า นายวีรพงษ์จะไม่มีอิทธิพลต่อการช่วยเหลือธุรกิจที่เขาเคยนั่งบริหารและมีความสัมพันธ์กันอยู่ อาทิ การปรับขึ้นค่าทางด่วน
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังจากทราบว่าจะได้เป็นที่ปรึกษาของนายสมัคร นายวีรพงษ์เริ่มทำผลงานด้วยการโจมตีฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล ทั้งการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และ แบงก์ชาติอย่างรุนแรง
โดยเฉพาะ แบงก์ชาตินั้น นายวีรพงษ์ได้ใช้เวทีสัมมนาประจำปีของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ในหัวข้อเรื่อง "อนาคตเศรษฐกิจไทยภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ทางเศรษฐกิจ" ว่าเป็นต้นเหตุทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจรอบใหม่ และเป็นนโยบายที่ไม่ไปทิศทางเดียวกับนโยบายการคลัง
"ธปท.ทำให้เกิดวิกฤตการเงินมาหลายครั้ง ตั้งแต่ปี 2527 และ ปี 2539 และ สงสัยว่าวิกฤตเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นใหม่ ธปท.จะเป็นคนทำอีกหรือไม่ ต้องเป็นเรื่องจับตา เพราะธปท. แก้ไขเงินเฟ้อโดยการขึ้นดอกเบี้ย ที่เป็นยาครอบจักรวาล เป็นการทำผิดซ้ำซาก อยากให้ธปท.เข้าใจมหภาคมากกว่านี้ ต้องดูแลประเทศไม่ให้ถลำลึกเข้าโครงการไอเอ็มเอฟอีก" นายวีรพงษ์ กล่าว
**ภาคเอกชนหวั่นที่ปรึกษาไปคนละทางกับครม.
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่รัฐบาลได้มีการปรับคณะรัฐมนตรี(ครม.)ใหม่และทีมที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจนายกรัฐมนตรี แม้อาจจะส่งผลให้ภาพลักษณ์รัฐบาลดีขึ้น เพราะบุคคลดังกล่าวเป็นผู้มีประสบการณ์ด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามภาคเอกชนบางส่วนมีความเป็นห่วงว่า เมื่อทีมที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีให้ความเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจแล้ว รัฐมนตรีเศรษฐกิจของรัฐบาลนี้จะฟังหรือไม่ ดังนั้น นายกรัฐมนตรีต้องให้อำนาจแก่ทีมที่ปรึกษาเศรษฐกิจด้วย
" ประชาชนส่วนหนึ่งมองว่า รัฐบาลนี้อยู่ไม่นาน ดังนั้น ทีมที่ปรึกษาและทีมเศรษฐกิจเมื่อมีโอกาสเข้ามาทำงานก็ต้องเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศให้กับประชาชนโดยเร็ว และที่สำคัญคือเมื่อทีมที่ปรึกษามีนโยบายด้านเศรษฐกิจหรือให้คำแนะนำมาแล้วรัฐมนตรีที่ดูแลกระทรวงเศรษฐกิจต่างๆ จะทำตามหรือไม่เพราะไม่เช่นนั้นก็ไม่มีประโยชน์ และในการประชุมช่วงเริ่มแรกเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น นายกรัฐมนตรีน่าจะพิจารณามานั่งเป็นประธานในการประชุมระหว่างทีมที่ปรึกษาเศรษฐกิจและทีมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม จะต้องติดตามการทำงานว่า จะสามารถประสานการทำงานได้มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ ต้องประสานงานกันให้ได้ ทุกกระทรวงและต้องทำงานพร้อม ๆ กันไป ถึงจะมีพลังในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไม่ต้องการเห็นการทำงานที่ไม่สอดรับกันเหมือนกับที่ผ่านมา"นายสันติกล่าว
สำหรับสิ่งที่ต้องการให้ทีมที่ปรึกษาเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรีเร่งพิจารณาแก้ไขปัญหาเร่งด่วนคือการดูแลค่าครองชีพของประชาชนที่จะทำเช่นไรให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นอย่างมาก รวมถึงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี)ทำอย่างไรให้สามารถอยู่รอดได้ และมีความมั่นใจในการขยายงานเพราะถือเป็นภาคธุรกิจที่สำคัญในการจ้างงาน โดยเห็นว่านโยบายด้านพลังงานเป็นสิ่งสำคัญภาพรวมเพราะปัจจุบันได้ส่งผลกระทบต่อทุกระดับเป็นห่วงโซ่ซึ่งควรมีความชัดเจนในแผนระยะกลางและยาวว่าจะเดินไปในทางใดจะเป็นพลังงานนิวเคลียร์ ถ่านหิน เพื่อลดนำเข้าพลังงาน พร้อมกันนี้จะต้องเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐด้วยการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณเพราะที่ผ่านมาพบว่าการลงทุนของภาครัฐค่อนข้างต่ำ
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า การแต่งตั้งนายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานคณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) เป็นทีมที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจถือว่าเป็นสิ่งที่ดีเพราะทั้ง 2 คนเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ เป็นที่ยอมรับในสังคมแต่อำนาจการตัดสินใจของทีมที่ปรึกษาจะมีมากน้อยเพียงใดเพราะจะต้องทำงานประสานกับรัฐมนตรีที่กำกับดูแลด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลหากทำงานไม่ประสานกันต่างคนต่างทำก็ไม่เป็นประโยชน์ใดๆ
สำหรับสิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขเร่งด่วน คือ ปัญหาอัตราเงินเฟ้อ ควรวางกรอบแก้ไขระยะยาว เพื่อดึงความเชื่อมั่นนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ และรัฐบาลไม่ควรออกมาพูดในเรื่องโครงการเมกะโปรเจ็กต์ อยากให้ลงมือปฏิบัติ อย่างไรก็ตามในฐานะนายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยรู้สึกเป็นห่วงกรณีรัฐบาลขายข้าวจำนวน 2.1 ล้านตัน แบบรัฐต่อรัฐ เพราะการประกาศดังกล่าวเป็นช่วงเวลาไม่เหมาะสม เพราะขณะนี้เป็นจังหวะของผู้ซื้อมากกว่าผู้ขาย ดังนั้น อยากให้ภาครัฐกลับไปทบทวน หากจะดำเนินการขายข้าวควรดึงเอกชนร่วมประชุมวางกรอบการทำงาน เพราะการทำเช่นนี้จะทำให้ตลาดปั่นป่วน ซึ่งการประกาศขายข้าวในลักษณะนี้เป็นการทุบตลาดข้าวตนเอง ทำให้ทุกคนรู้ว่า สตอกข้าวรัฐมีจำนวนเท่าใด
นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่า ทีมที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีโดยเฉพาะนายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายณรงค์ชัย อัครเศรณี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ น่าจะสามารถประคับประคองเศรษฐกิจให้ถึงฝั่ง แต่ก็ขึ้นอยู่กับการให้อำนาจการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีว่า จะให้ขอบเขตแค่ไหน เพราะที่ปรึกษาอาจจะไม่มีอำนาจในการตัดสินใจจึงอยากเสนอให้ทีมเศรษฐกิจรัฐบาลไม่ว่ากระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำงานเป็นทีมเดียวกันมากขึ้น แม้ว่ารัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจจะมาจากการเมือง แต่ทางการเมืองจะต้องเปิดรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ทั้งข้าราชการประจำและภาคเอกชน ไม่ว่าสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สมาคมธนาคารไทย เพราะบุคคลเหล่านี้เป็นผู้มีความรู้และความชำนาญด้านเศรษฐกิจ จึงอยากให้ทีมเศรษฐกิจที่มาจากการเมืองรับฟังความคิดเห็น เพราะจะทำให้การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เป็นไปทิศทางเดียวกัน
***แนะรัฐต้องชัดเจนอี-85-ลอยตัวแอลพีจี
นายอดิศักดิ์ โรหิตศุน รองประธานส.อ.ท.กล่าวว่า ผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศคงจะต้องการความชัดเจนในเรื่องของแผนการส่งเสริมแก๊สโซฮอล์ อี -85 ที่กระทรวงพลังงานต้องการส่งเสริมและอาจมีการนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศมารองรับอี -85 ว่าจะเป็นแผนอย่างไรแน่ซึ่งภาครัฐควรจะกำหนดความชัดเจนของกลุ่มพลังงานที่จะส่งเสริมเพื่อลดการนำเข้าในส่วนของการทดแทนเบนซินจะมีอะไรบ้างเช่นอี -10, อี-20,อี -85 ดีเซลจะเป็น NGV ระยะยาวจะเป็นอย่างไร โดยส่วนของก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจี การขึ้นราคาแอลพีจีส่วนของภาคขนส่งและอุตสาหกรรมต้องชัดเจนเพราะปัจจุบันมีผลให้ประชาชนแห่ไปติดตั้งการใช้แอลพีจีอย่างมาก
" เวลานี้รถยนต์ที่ใช้อี-20 มีแล้ว 1 แสนคันคาดว่าสิ้นปีนี้จะเพิ่มเป็น 2 แสนคันปั๊มน้ำมันมีเพียง 68 แห่งและคาดว่าสิ้นปีนี้คงจะเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้นอี -85 ก็คิดว่าจะมีเวลาเช่นกันคงไม่ได้เกิดเร็วๆ นี้ได้นักเพราะทั้งหมดจะต้องมีความพร้อมทั้งผู้ผลิตเอทานอล ผู้ผลิตรถ ค่ายน้ำมัน "นายอดิศักดิ์กล่าว