ไฟแนนเชียลไทมส์ – ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ขยายมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบการเงินอีกครั้งเมื่อวันพุธ (30) เพื่อลดสภาพตึงตัวในตลาดเงินระยะสั้นในขณะนี้ลง รวมทั้งป้องกันความเป็นไปได้ของวิกฤตสภาพคล่องในช่วงสิ้นปี หรือในช่วงที่มีความต้องการใช้เม็ดเงินมากกว่าปกติ
ธนาคารกลางสหรัฐฯแถลงว่า จะเปิดให้ธนาคารเข้ามากู้เงินสดแบบระยะสามเดือน และยังจะเปิดช่องทางใหม่ในรูปการให้สถาบันการเงินเสนอประมูลซื้อออปชั่นส์จากเฟด นอกจากนั้น ยังจะให้วาณิชธนกิจตลอดจนพวก “ไพรมารี ดีลเลอร์” (โบรกเกอร์ใหญ่ที่ทำธุรกิจค้าพันธบัตรกับเฟด) ได้ต่อเวลาเข้ามาขอกู้วงเวินฉุกเฉินและขอกู้หลักทรัพย์กระทรวงการคลังไปจนกระทั่งถึงวันที่ 30 มกราคมปีหน้า
เฟดกล่าวว่า ต้องขยายความสนับสนุนต่อพวกไพรมารี ดีลเลอร์ทั้งหลาย “ในขณะที่สถานการณ์ในตลาดการเงินยังคงเปราะบาง”
ช่องทางใหม่ในเรื่องหน้าต่างประมูลซื้อออปชั่นส์ของเฟดคราวนี้ จะคล้ายคลึงกับมาตรการที่เฟดใช้ในปี 1999 เพื่อรับมือกับวิกฤตขาดแคลนสภาพคล่องที่อาจเกิดขึ้นจากปัญหา “วายทูเค” โดยในมาตรการดังกล่าวนี้ เฟดจะเปิดให้สถาบันการเงินเข้ามาประมูลเสนอราคาซื้อออปชั่นส์มูลค่า 50,000 ล้านดอลลาร์ สถาบันการเงินที่ถือออปชั่นส์เหล่านี้ มีสิ่งที่จะนำเอาหลักทรัพย์ที่ไม่มีสภาพคล่องมาสว็อปเป็นพันธบัตรกระทรวงการคลังภายในช่วงเวลาหนึ่ง อย่างเช่น ช่วงสิ้นปี ซึ่งจะมีความต้องการใช้เม็ดเงินเป็นจำนวนมาก
นอกจากนั้น ธนาคารกลางแห่งยุโรป หรือ อีซีบี และ ธนาคารแห่งชาติสวิส ก็จะเสนอบริการเงินกู้สกุลเงินดอลลาร์ระยะสามเดือน ให้แก่ธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ โดยผ่านช่องทางออฟชอร์ที่ร่วมมือจัดตั้งขึ้นกับเฟด ทั้งนี้ เฟดยังจะเพิ่มจำนวนเงินดอลลาร์ที่จัดหาให้แก่อีซีบีเพื่อใช้ในการนี้ (ด้วยวิธีนำเอาดอลลาร์มาแลกกับเงินยูโร) จาก 5,000 ล้านดอลลาร์ เป็น 50,000 ล้านดอลลาร์
ทางด้าน โกลด์แมนแซคส์ ให้ความเห็นว่า ความเคลื่อนไหวคราวนี้ “น่าจะสามารถช่วย...บรรเทาความตึงตัวของตลาดลงมาได้ แต่เป็นแค่การเพิ่มเม็ดเงินเท่านั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงสภาพการณ์ของตลาดแต่อย่างใด”
ธนาคารกลางสหรัฐฯนั้น ไม่เชื่อว่าตนเองจะสามารถแก้ไขปัญหา ซึ่งในหลายๆ กรณีแล้วเป็นปัญหาเรื่องเงินทุน ด้วยการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าไปในตลาดให้มากขึ้น แต่เฟดเชื่อว่าตนเองสามารถสนับสนุนกระบวนการปรับตัวของบรรดาแบงก์และสถาบันการเงินต่างๆ ในตลาด ด้วยการลดความเสี่ยงที่สถาบันแห่งหนึ่งแห่งใดอาจจะถูกกระแสถอนเงินอย่างแตกต่างจนกระทั่งขาดสภาพคล่อง หรือทำให้สถาบันแห่งหนึ่งแห่งใดต้องถูกบังคับให้ต้องนำสินทรัพย์ที่ขาดสภาพคล่องออกมาขายในราคาเลหลัง
เฟดรับรู้ว่าตลาดการเงินยังคงมีแรงกดดันเรื่องสภาพคล่องตึงตัวต่อไป ซึ่งก็ทำให้เห็นว่าหากจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อในเร็ว ๆก็จะยิ่งซ้ำเติมสภาพปัญหาในตลาดการเงินมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในระยะยาว ผู้กำหนดนโยบายของเฟดเชื่อว่ากลไกอัดฉีดสภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ยสามารถที่จะแยกออกกันได้
การตัดสินใจที่จะเสนอเงินกู้ 75,000 ล้านดอลลาร์แก่ธนาคารต่างๆ ในรูปสินเชื่ออายุ 3 เดือน เข้ามาแทนสินเชื่อวงเงินเท่ากันแต่อายุ 1 เดือน เป็นการแสดงให้เห็นถึงการตัดสินใจครั้งสำคัญของเฟด เพราะก่อนหน้านี้เฟดไม่ยอมตามเสียงเรียกร้องของพวกธนาคาร ที่ให้ขยายมาตรการจากระยะที่กำหนดไว้เพียงหนึ่งเดือน
ขณะเดียวกัน การเปิดช่องทางเรื่องหน้าต่างออปชั่นส์ ก็เป็นความตั้งใจของเฟดที่จะเตรียมการป้องกันมิให้เกิดสภาพตึงตัวในตลาดการเงิน “ก่อนหน้าที่จะปัญหาขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วตลาดการเงินสหรัฐฯจะมีความต้องการเม็ดเงินสูงขึ้นอย่างมาก ๆในช่วงเฉพาะอย่างเช่นในช่วงสิ้นสุดไตรมาส” และช่วงสิ้นปี
การตัดสินใจของเฟดคราวนี้เป็นปัจจัยหนี่งที่ทำให้ดัชนีหลักต่าง ๆในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯดีดกลับขึ้นมาในการซื้อขายเมื่อวันพุธ
ธนาคารกลางสหรัฐฯแถลงว่า จะเปิดให้ธนาคารเข้ามากู้เงินสดแบบระยะสามเดือน และยังจะเปิดช่องทางใหม่ในรูปการให้สถาบันการเงินเสนอประมูลซื้อออปชั่นส์จากเฟด นอกจากนั้น ยังจะให้วาณิชธนกิจตลอดจนพวก “ไพรมารี ดีลเลอร์” (โบรกเกอร์ใหญ่ที่ทำธุรกิจค้าพันธบัตรกับเฟด) ได้ต่อเวลาเข้ามาขอกู้วงเวินฉุกเฉินและขอกู้หลักทรัพย์กระทรวงการคลังไปจนกระทั่งถึงวันที่ 30 มกราคมปีหน้า
เฟดกล่าวว่า ต้องขยายความสนับสนุนต่อพวกไพรมารี ดีลเลอร์ทั้งหลาย “ในขณะที่สถานการณ์ในตลาดการเงินยังคงเปราะบาง”
ช่องทางใหม่ในเรื่องหน้าต่างประมูลซื้อออปชั่นส์ของเฟดคราวนี้ จะคล้ายคลึงกับมาตรการที่เฟดใช้ในปี 1999 เพื่อรับมือกับวิกฤตขาดแคลนสภาพคล่องที่อาจเกิดขึ้นจากปัญหา “วายทูเค” โดยในมาตรการดังกล่าวนี้ เฟดจะเปิดให้สถาบันการเงินเข้ามาประมูลเสนอราคาซื้อออปชั่นส์มูลค่า 50,000 ล้านดอลลาร์ สถาบันการเงินที่ถือออปชั่นส์เหล่านี้ มีสิ่งที่จะนำเอาหลักทรัพย์ที่ไม่มีสภาพคล่องมาสว็อปเป็นพันธบัตรกระทรวงการคลังภายในช่วงเวลาหนึ่ง อย่างเช่น ช่วงสิ้นปี ซึ่งจะมีความต้องการใช้เม็ดเงินเป็นจำนวนมาก
นอกจากนั้น ธนาคารกลางแห่งยุโรป หรือ อีซีบี และ ธนาคารแห่งชาติสวิส ก็จะเสนอบริการเงินกู้สกุลเงินดอลลาร์ระยะสามเดือน ให้แก่ธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ โดยผ่านช่องทางออฟชอร์ที่ร่วมมือจัดตั้งขึ้นกับเฟด ทั้งนี้ เฟดยังจะเพิ่มจำนวนเงินดอลลาร์ที่จัดหาให้แก่อีซีบีเพื่อใช้ในการนี้ (ด้วยวิธีนำเอาดอลลาร์มาแลกกับเงินยูโร) จาก 5,000 ล้านดอลลาร์ เป็น 50,000 ล้านดอลลาร์
ทางด้าน โกลด์แมนแซคส์ ให้ความเห็นว่า ความเคลื่อนไหวคราวนี้ “น่าจะสามารถช่วย...บรรเทาความตึงตัวของตลาดลงมาได้ แต่เป็นแค่การเพิ่มเม็ดเงินเท่านั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงสภาพการณ์ของตลาดแต่อย่างใด”
ธนาคารกลางสหรัฐฯนั้น ไม่เชื่อว่าตนเองจะสามารถแก้ไขปัญหา ซึ่งในหลายๆ กรณีแล้วเป็นปัญหาเรื่องเงินทุน ด้วยการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าไปในตลาดให้มากขึ้น แต่เฟดเชื่อว่าตนเองสามารถสนับสนุนกระบวนการปรับตัวของบรรดาแบงก์และสถาบันการเงินต่างๆ ในตลาด ด้วยการลดความเสี่ยงที่สถาบันแห่งหนึ่งแห่งใดอาจจะถูกกระแสถอนเงินอย่างแตกต่างจนกระทั่งขาดสภาพคล่อง หรือทำให้สถาบันแห่งหนึ่งแห่งใดต้องถูกบังคับให้ต้องนำสินทรัพย์ที่ขาดสภาพคล่องออกมาขายในราคาเลหลัง
เฟดรับรู้ว่าตลาดการเงินยังคงมีแรงกดดันเรื่องสภาพคล่องตึงตัวต่อไป ซึ่งก็ทำให้เห็นว่าหากจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อในเร็ว ๆก็จะยิ่งซ้ำเติมสภาพปัญหาในตลาดการเงินมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในระยะยาว ผู้กำหนดนโยบายของเฟดเชื่อว่ากลไกอัดฉีดสภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ยสามารถที่จะแยกออกกันได้
การตัดสินใจที่จะเสนอเงินกู้ 75,000 ล้านดอลลาร์แก่ธนาคารต่างๆ ในรูปสินเชื่ออายุ 3 เดือน เข้ามาแทนสินเชื่อวงเงินเท่ากันแต่อายุ 1 เดือน เป็นการแสดงให้เห็นถึงการตัดสินใจครั้งสำคัญของเฟด เพราะก่อนหน้านี้เฟดไม่ยอมตามเสียงเรียกร้องของพวกธนาคาร ที่ให้ขยายมาตรการจากระยะที่กำหนดไว้เพียงหนึ่งเดือน
ขณะเดียวกัน การเปิดช่องทางเรื่องหน้าต่างออปชั่นส์ ก็เป็นความตั้งใจของเฟดที่จะเตรียมการป้องกันมิให้เกิดสภาพตึงตัวในตลาดการเงิน “ก่อนหน้าที่จะปัญหาขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วตลาดการเงินสหรัฐฯจะมีความต้องการเม็ดเงินสูงขึ้นอย่างมาก ๆในช่วงเฉพาะอย่างเช่นในช่วงสิ้นสุดไตรมาส” และช่วงสิ้นปี
การตัดสินใจของเฟดคราวนี้เป็นปัจจัยหนี่งที่ทำให้ดัชนีหลักต่าง ๆในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯดีดกลับขึ้นมาในการซื้อขายเมื่อวันพุธ