เอเอฟพี - ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (บีไอเอส) ระบุในรายงานทบทวนภาวะภาคการธนาคารของโลกประจำรอบไตรมาสฉบับล่าสุดว่า ตลาดการเงินทั่วโลกกำลังฟื้นตัวอย่างช้า ๆและยังไม่มั่นคงนัก หลังจากเผชิญวิกฤตมาแรมเดือน โดยกลางเดือนมีนาคมเป็นจุดเปลี่ยนของสถานการณ์
อย่างไรก็ตามบีไอเอสก็เตือนในรายงานที่ออกมาในวันอาทิตย์ (8)ว่า ยังไม่ชัดเจนนักว่าการฟื้นตัวนี้จะยั่งยืนเพียงใด
รายงานของบีเอสไอออกมาหลังจากเมื่อวันศุกร์(6)ตลาดเงินและตลาดหลักทรัพย์ถูกทุบอย่างรุนแรงอันเป็นผลพวงมาจากราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นอย่างบ้าคลั่ง ปัจจัยอีกประการหนึ่งก็คือตัวเลขการว่างงานของสหรัฐฯที่เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดเอาไว้ส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย
.
บีไอเอสนั้นเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นธนาคารกลางของเหล่าธนาคารกลางทั้งหลาย ในรายงานที่ออกมาระบุว่า "ในช่วงสองสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม ความร้ายแรงของปัญหาพัฒนาขึ้นตลอดเวลา และก็เพิ่มความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงในเชิงโครงสร้างให้มากขึ้นด้วย แต่ช่วงต่อมาจนถึงปลายเดือนพฤษภาคม ตลาดการเงินก็ได้ประจักษ์ว่าความทนทานต่อความเสี่ยงของนักลงทุนได้กลับมาสู่ตลาดอีกครั้งหนึ่ง"
ตลาดการเงินโลกเข้าสู่ช่วงความปั่นป่วนนับตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2007 เป็นต้นมา โดยแรงฉุดของการไม่จ่ายหนี้ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆในตลาดซับไพรม์ ซึ่งเป็นสินเชื่อความเสี่ยงสูงสำหรับคนที่มีประวัติทางการเงินย่ำแย่
นับตั้งแต่สิ้นเดือนกุมภาพันธ์จนถึงสองสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม ตลาดหลักทรัพย์ได้เข้าสู่ภาวะ "ขาดแคลนสภาพคล่องรุนแรง และมีมูลค่าลดลงอย่างหนัก จนเข้าสู่ระดับที่บ่งชี้ถึงความตึงเครียดอย่างสาหัส"
บีเอสไอรายงานว่า การที่บรรดาธนาคารกลางทั้งต่างร่วมมือกันอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ตลาด รวมถึงการเข้ากู้สถานการณ์โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)เปิดทางให้มีการควบรวมกิจการของแบร์สเติร์นส ได้ทำให้ตลาดคลายความวิตก รวมทั้งนำการฟื้นตัวมาสู่ตลาดด้วย
"ทำให้กลางเดือนมีนาคมเป็นต้นมากลายเป็นจุดเปลี่ยนสำหรับสินทรัพย์หลาย ๆระดับ" รายงานกล่าว
"ความมีเสถียรภาพของตลาดการเงิน และการปรากฏขึ้นของการมองเศรษฐกิจรวมในเชิงบวกได้ทำให้ตลาดหลักทรัพย์นั้นกระเตื้องขึ้น" อย่างไรก็ตามบีไอเอสก็เตือนว่าก็ยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่าการฟื้นตัวนี้มีความชัดเจนแล้ว
"ด้วยสถานการณ์ของภาคสินเชื่อที่ยังคงย่ำแย่ต่อไป รวมทั้งการขาดทุนของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการปล่อยกู้นอกภาคสินเชื่อที่อยู่อาศัยก็ยังส่อเค้ารางว่าจะเกิดขึ้นมาอีก จึงยังไม่ชัดเจนนักว่าสภาพคล่องและความทนทานต่อความเสี่ยงได้ฟื้นตัวถึงระดับที่สามารถจะยืนระยะต่อไปและช่วยให้สถานการณ์ที่ดีขึ้นในระยะยาวหรือไม่" รายงานกล่าว
แม้ว่าตลาดสินเชื่อ หลักทรัพย์และพันธบัตรจะอยู่ในสภาพที่ดีกว่าเดิม แต่ตลาดการเงินอินเตอร์แบงก์ ซึ่งคือตลาดที่ธนาคารปล่อยกู้ให้แก่กันและกัน ก็ยัง "คงแสดงสัญญาณที่ชัดเจนถึงความตึงเครียดอย่างสาหัสในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม"
"และนี่ก็แสดงถึงนัยยะแห่งการมองภาพรวมในอนาคตที่ว่า สภาพตึงตัวในตลาดอินเตอร์แบงก์จะยังคงร้ายแรงต่อไปในอนาคต" บีไอเอสชี้
บีไอเอสกล่าวอีกว่า แม้ว่าการควบรวมแบร์สเติร์นสจะทำให้สภาพการณ์ในตลาดดีขึ้น เพราะเป็นการส่งสัญญาณให้เห็นว่าทางการจะไม่ยอมให้ธนาคารขนาดใหญ่ล้มครืนไปอย่างเด็ดขาด แต่ก็ยังแสดงให้เห็นด้วยว่าธนาคารจะเริ่มเข้าสู่ห้วงแห่งความหายนะได้เร็วขนาดไหน"
นอกจากนี้ แม้ว่าจะธนาคารกลางจะอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ตลาด แต่อัตรากู้ยืมระหว่างตลาดอินเตอร์แบงก์ก็ยังคงอยู่ในระดับสูง
"ในระดับหนึ่ง สภาวการณ์นี้อาจสะท้อนถึงความจริงที่ว่าเม็ดเงินที่อยู่ภายใต้แผนการอัดฉีดสภาพคล่องของธนาคารกลางจะเป็นจำนวนสูงมาก แต่เมื่อมองในอีกแง่หนึ่งกลับไม่มากพอเมื่อเทียบกับความต้องการสภาพคล่องทั้งหมดที่เหล่าธนาคารประเมินกันไว้" บีไอเอสระบุทิ้งท้าย
อย่างไรก็ตามบีไอเอสก็เตือนในรายงานที่ออกมาในวันอาทิตย์ (8)ว่า ยังไม่ชัดเจนนักว่าการฟื้นตัวนี้จะยั่งยืนเพียงใด
รายงานของบีเอสไอออกมาหลังจากเมื่อวันศุกร์(6)ตลาดเงินและตลาดหลักทรัพย์ถูกทุบอย่างรุนแรงอันเป็นผลพวงมาจากราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นอย่างบ้าคลั่ง ปัจจัยอีกประการหนึ่งก็คือตัวเลขการว่างงานของสหรัฐฯที่เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดเอาไว้ส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย
.
บีไอเอสนั้นเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นธนาคารกลางของเหล่าธนาคารกลางทั้งหลาย ในรายงานที่ออกมาระบุว่า "ในช่วงสองสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม ความร้ายแรงของปัญหาพัฒนาขึ้นตลอดเวลา และก็เพิ่มความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงในเชิงโครงสร้างให้มากขึ้นด้วย แต่ช่วงต่อมาจนถึงปลายเดือนพฤษภาคม ตลาดการเงินก็ได้ประจักษ์ว่าความทนทานต่อความเสี่ยงของนักลงทุนได้กลับมาสู่ตลาดอีกครั้งหนึ่ง"
ตลาดการเงินโลกเข้าสู่ช่วงความปั่นป่วนนับตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2007 เป็นต้นมา โดยแรงฉุดของการไม่จ่ายหนี้ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆในตลาดซับไพรม์ ซึ่งเป็นสินเชื่อความเสี่ยงสูงสำหรับคนที่มีประวัติทางการเงินย่ำแย่
นับตั้งแต่สิ้นเดือนกุมภาพันธ์จนถึงสองสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม ตลาดหลักทรัพย์ได้เข้าสู่ภาวะ "ขาดแคลนสภาพคล่องรุนแรง และมีมูลค่าลดลงอย่างหนัก จนเข้าสู่ระดับที่บ่งชี้ถึงความตึงเครียดอย่างสาหัส"
บีเอสไอรายงานว่า การที่บรรดาธนาคารกลางทั้งต่างร่วมมือกันอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ตลาด รวมถึงการเข้ากู้สถานการณ์โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)เปิดทางให้มีการควบรวมกิจการของแบร์สเติร์นส ได้ทำให้ตลาดคลายความวิตก รวมทั้งนำการฟื้นตัวมาสู่ตลาดด้วย
"ทำให้กลางเดือนมีนาคมเป็นต้นมากลายเป็นจุดเปลี่ยนสำหรับสินทรัพย์หลาย ๆระดับ" รายงานกล่าว
"ความมีเสถียรภาพของตลาดการเงิน และการปรากฏขึ้นของการมองเศรษฐกิจรวมในเชิงบวกได้ทำให้ตลาดหลักทรัพย์นั้นกระเตื้องขึ้น" อย่างไรก็ตามบีไอเอสก็เตือนว่าก็ยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่าการฟื้นตัวนี้มีความชัดเจนแล้ว
"ด้วยสถานการณ์ของภาคสินเชื่อที่ยังคงย่ำแย่ต่อไป รวมทั้งการขาดทุนของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการปล่อยกู้นอกภาคสินเชื่อที่อยู่อาศัยก็ยังส่อเค้ารางว่าจะเกิดขึ้นมาอีก จึงยังไม่ชัดเจนนักว่าสภาพคล่องและความทนทานต่อความเสี่ยงได้ฟื้นตัวถึงระดับที่สามารถจะยืนระยะต่อไปและช่วยให้สถานการณ์ที่ดีขึ้นในระยะยาวหรือไม่" รายงานกล่าว
แม้ว่าตลาดสินเชื่อ หลักทรัพย์และพันธบัตรจะอยู่ในสภาพที่ดีกว่าเดิม แต่ตลาดการเงินอินเตอร์แบงก์ ซึ่งคือตลาดที่ธนาคารปล่อยกู้ให้แก่กันและกัน ก็ยัง "คงแสดงสัญญาณที่ชัดเจนถึงความตึงเครียดอย่างสาหัสในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม"
"และนี่ก็แสดงถึงนัยยะแห่งการมองภาพรวมในอนาคตที่ว่า สภาพตึงตัวในตลาดอินเตอร์แบงก์จะยังคงร้ายแรงต่อไปในอนาคต" บีไอเอสชี้
บีไอเอสกล่าวอีกว่า แม้ว่าการควบรวมแบร์สเติร์นสจะทำให้สภาพการณ์ในตลาดดีขึ้น เพราะเป็นการส่งสัญญาณให้เห็นว่าทางการจะไม่ยอมให้ธนาคารขนาดใหญ่ล้มครืนไปอย่างเด็ดขาด แต่ก็ยังแสดงให้เห็นด้วยว่าธนาคารจะเริ่มเข้าสู่ห้วงแห่งความหายนะได้เร็วขนาดไหน"
นอกจากนี้ แม้ว่าจะธนาคารกลางจะอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ตลาด แต่อัตรากู้ยืมระหว่างตลาดอินเตอร์แบงก์ก็ยังคงอยู่ในระดับสูง
"ในระดับหนึ่ง สภาวการณ์นี้อาจสะท้อนถึงความจริงที่ว่าเม็ดเงินที่อยู่ภายใต้แผนการอัดฉีดสภาพคล่องของธนาคารกลางจะเป็นจำนวนสูงมาก แต่เมื่อมองในอีกแง่หนึ่งกลับไม่มากพอเมื่อเทียบกับความต้องการสภาพคล่องทั้งหมดที่เหล่าธนาคารประเมินกันไว้" บีไอเอสระบุทิ้งท้าย