เอเอฟพี - โออีซีดีลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมของโลก พร้อมทั้งเตือนว่าการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอาจเกิดขึ้นในอีกหลายเดือนข้างหน้า แม้จะมีสัญญาณว่าความปั่นป่วนในตลาดการเงินโลกอาจจะ "ผ่านพ้นช่วงวิกฤตที่สุดไปแล้วก็ตาม"
องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาเศรษฐกิจ (โออีซีดี) ระบุในรายงานสำรวจภาวะเศรษฐกิจประจำรอบครึ่งปีฉบับล่าสุดว่า ประเทศสมาชิก 30 ชาติของโออีซีดี ที่ต่างเป็นประเทศอุตสาหกรรม กำลังเผชิญหน้ากับ "ภาวะช็อกสามด้าน" คือ ตลาดการเงินที่ยังไม่แน่นอน, ตลาดที่อยู่อาศัยอยู่ในช่วงขาลง และราคาอาหารและเชื้อเพลิงพุ่งขึ้น
โออีซีดี ทำนายว่า ความเร่งของอัตราขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของโลกอุตสาหกรรมจะชะลอลงสู่ระดับ 1.8%ในปีนี้ จาก 2.7%ของปีที่แล้ว และเหลือ 1.7% ในปี 2009 เทียบกับรายงานโออีซีดีฉบับก่อนซึ่งออกในเดือนธันวาคมที่คาดว่า ปีนี้เศรษฐกิจจะเติบโต 2.3% และเป็น 2.4%ในปี 2009
ทางด้านอัตราเงินเฟ้อที่กำลังหนุนโดยราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น โออีซี บอกว่า บรรดาชาติสมาชิกจะประสบปัญหามากขึ้น โดยคาดว่าจะพุ่งขึ้นเป็น 3.0%ในปีนี้เทียบกับ 2.7%ของปีที่แล้ว
"ประเทศโออีซีดีส่วนใหญ่จะประสบภาวะอัตราการเติบโตชะลอตัวในหลายไตรมาสข้างหน้า" เจอร์เกน เอลเมสคอฟ รักษาการหัวหน้าหน่วยเศรษฐศาสตร์ของโออีซีดีเขียนไว้ในบทบรรณาธิการที่ชื่อ "หลังพายุใหญ่"
"แต่แต้มต่อก็เริ่มดีขึ้น เพราะความวุ่นวายในตลาดการเงินได้ผ่านพ้นช่วงวิกฤตที่สุดไปแล้ว แม้ยังไม่เข้าใกล้จุดสิ้นสุด" เขากล่าว "หรือถ้ามองว่าวิกฤตสิ้นสุดลงแล้ว แต่ผลต่ออัตราการเติบโตของมันก็จะยังคงมีอยู่"
โออีซีดี คาดว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะยังคงอ่อนตัวทั้งปี โดยจะหดตัวลงอีกในช่วงไตรมาส 2 ก่อนที่จะเริ่มฟื้นตัวในปี 2009 โดยที่อัตราขยายตัวของผลผลิตมวลรวมประชาชาติจะอยู่ที่ 1.2% ในปีนี้ และ 1.1% ในปีหน้า
ส่วนยูโรโซนจะสามารถต้านทางแรงฉุดของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวได้บางส่วน แรงขับเคลื่อนจะมาจากเศรษฐกิจเยอรมนี "ที่แข็งแกร่งอย่างน่าประหลาดใจ" เศรษฐกิจยูโรโซนจะเติบโต 1.7% ในปี 2008 และ 1.4% ปีหน้า
แต่โออีซีดีก็เตือนว่า ตอนนี้ "มีสัญญาณที่แรงขึ้นว่าเงินยูโรจะแข็งค่าขึ้นไปอีกจากการแข็งค่าขึ้น 10% ในมูลค่าแท้จริงนับตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมา ซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกลดลง"
ที่ญี่ปุ่น การฟื้นตัวของการลงทุนในภาคที่อยู่อาศัย และการส่งออกที่เฟื่องฟูช่วยให้เศรษฐกิจปีนี้ขยายตัว 1.7% และ 1.5% ในปี 2009 อย่างไรก็ตาม โออีซีดี ชี้ว่า การลงทุนในธุรกิจของญี่ปุ่นยังคงอ่อนตัว ในขณะที่ราคาอาหารและเชื้อเพลิงที่พุ่งขึ้นก็จะทำให้การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคลดลง
รายงาน ระบุว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟดควรจะเตรียมพร้อมที่จะลดอัตราดอกเบี้ยต่อไปจนกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอีกครั้ง ส่วนธนาคารกลางยุโรปซึ่งไม่ยอมลดอัตราดอกเบี้ยตลอดมา ก็ควรจะดำเนินนโยบายนี้ต่อไป
สำหรับญี่ปุ่น โออีซีดี เห็นว่า ภาพรวมอัตราการเติบโตที่อ่อนแอและความจำเป็นที่จะต้องต่อสู้กับภาวะเงินฝืดทำให้เห็นว่ายังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินในเร็ว ๆนี้
ในขณะเดียวกัน โออีซีดีก็ระบุว่า สุขภาพของภาคการธนาคารของโลกนั้นแข็งแกร่งขึ้นมากแล้ว หลังจากที่ธนาคารทั้งในสหรัฐฯและส่วนอื่น ๆของโลกรายงานการตัดยอดขาดทุนและการขาดทุนจริงเนื่องจากวิกฤตซับไพรม์รวมเป็นเงินถึง 380,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
แม้ว่าปัจจัยในตลาดหลายประการจะแสดงให้เห็นว่าสถานการณ์ของตลาดการเงินโลกกำลังดีขึ้น เพราะราคาหลักทรัพย์ก็เริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น ส่วนราคาการสวอปสินเชื่อที่ลูกหนี้ไม่มาจ่ายเมื่อครบกำหนดนั้นก็เริ่มลดลง อย่างไรก็ตาม "ความปั่นป่วนภาคการเงินยังคงมีอยู่ต่อไป และน่าจะบรรเทาเบาบางลงในช่วงครึ่งแรกของปี 2009" โออีซีดีบอก
องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาเศรษฐกิจ (โออีซีดี) ระบุในรายงานสำรวจภาวะเศรษฐกิจประจำรอบครึ่งปีฉบับล่าสุดว่า ประเทศสมาชิก 30 ชาติของโออีซีดี ที่ต่างเป็นประเทศอุตสาหกรรม กำลังเผชิญหน้ากับ "ภาวะช็อกสามด้าน" คือ ตลาดการเงินที่ยังไม่แน่นอน, ตลาดที่อยู่อาศัยอยู่ในช่วงขาลง และราคาอาหารและเชื้อเพลิงพุ่งขึ้น
โออีซีดี ทำนายว่า ความเร่งของอัตราขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของโลกอุตสาหกรรมจะชะลอลงสู่ระดับ 1.8%ในปีนี้ จาก 2.7%ของปีที่แล้ว และเหลือ 1.7% ในปี 2009 เทียบกับรายงานโออีซีดีฉบับก่อนซึ่งออกในเดือนธันวาคมที่คาดว่า ปีนี้เศรษฐกิจจะเติบโต 2.3% และเป็น 2.4%ในปี 2009
ทางด้านอัตราเงินเฟ้อที่กำลังหนุนโดยราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น โออีซี บอกว่า บรรดาชาติสมาชิกจะประสบปัญหามากขึ้น โดยคาดว่าจะพุ่งขึ้นเป็น 3.0%ในปีนี้เทียบกับ 2.7%ของปีที่แล้ว
"ประเทศโออีซีดีส่วนใหญ่จะประสบภาวะอัตราการเติบโตชะลอตัวในหลายไตรมาสข้างหน้า" เจอร์เกน เอลเมสคอฟ รักษาการหัวหน้าหน่วยเศรษฐศาสตร์ของโออีซีดีเขียนไว้ในบทบรรณาธิการที่ชื่อ "หลังพายุใหญ่"
"แต่แต้มต่อก็เริ่มดีขึ้น เพราะความวุ่นวายในตลาดการเงินได้ผ่านพ้นช่วงวิกฤตที่สุดไปแล้ว แม้ยังไม่เข้าใกล้จุดสิ้นสุด" เขากล่าว "หรือถ้ามองว่าวิกฤตสิ้นสุดลงแล้ว แต่ผลต่ออัตราการเติบโตของมันก็จะยังคงมีอยู่"
โออีซีดี คาดว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะยังคงอ่อนตัวทั้งปี โดยจะหดตัวลงอีกในช่วงไตรมาส 2 ก่อนที่จะเริ่มฟื้นตัวในปี 2009 โดยที่อัตราขยายตัวของผลผลิตมวลรวมประชาชาติจะอยู่ที่ 1.2% ในปีนี้ และ 1.1% ในปีหน้า
ส่วนยูโรโซนจะสามารถต้านทางแรงฉุดของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวได้บางส่วน แรงขับเคลื่อนจะมาจากเศรษฐกิจเยอรมนี "ที่แข็งแกร่งอย่างน่าประหลาดใจ" เศรษฐกิจยูโรโซนจะเติบโต 1.7% ในปี 2008 และ 1.4% ปีหน้า
แต่โออีซีดีก็เตือนว่า ตอนนี้ "มีสัญญาณที่แรงขึ้นว่าเงินยูโรจะแข็งค่าขึ้นไปอีกจากการแข็งค่าขึ้น 10% ในมูลค่าแท้จริงนับตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมา ซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกลดลง"
ที่ญี่ปุ่น การฟื้นตัวของการลงทุนในภาคที่อยู่อาศัย และการส่งออกที่เฟื่องฟูช่วยให้เศรษฐกิจปีนี้ขยายตัว 1.7% และ 1.5% ในปี 2009 อย่างไรก็ตาม โออีซีดี ชี้ว่า การลงทุนในธุรกิจของญี่ปุ่นยังคงอ่อนตัว ในขณะที่ราคาอาหารและเชื้อเพลิงที่พุ่งขึ้นก็จะทำให้การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคลดลง
รายงาน ระบุว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟดควรจะเตรียมพร้อมที่จะลดอัตราดอกเบี้ยต่อไปจนกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอีกครั้ง ส่วนธนาคารกลางยุโรปซึ่งไม่ยอมลดอัตราดอกเบี้ยตลอดมา ก็ควรจะดำเนินนโยบายนี้ต่อไป
สำหรับญี่ปุ่น โออีซีดี เห็นว่า ภาพรวมอัตราการเติบโตที่อ่อนแอและความจำเป็นที่จะต้องต่อสู้กับภาวะเงินฝืดทำให้เห็นว่ายังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินในเร็ว ๆนี้
ในขณะเดียวกัน โออีซีดีก็ระบุว่า สุขภาพของภาคการธนาคารของโลกนั้นแข็งแกร่งขึ้นมากแล้ว หลังจากที่ธนาคารทั้งในสหรัฐฯและส่วนอื่น ๆของโลกรายงานการตัดยอดขาดทุนและการขาดทุนจริงเนื่องจากวิกฤตซับไพรม์รวมเป็นเงินถึง 380,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
แม้ว่าปัจจัยในตลาดหลายประการจะแสดงให้เห็นว่าสถานการณ์ของตลาดการเงินโลกกำลังดีขึ้น เพราะราคาหลักทรัพย์ก็เริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น ส่วนราคาการสวอปสินเชื่อที่ลูกหนี้ไม่มาจ่ายเมื่อครบกำหนดนั้นก็เริ่มลดลง อย่างไรก็ตาม "ความปั่นป่วนภาคการเงินยังคงมีอยู่ต่อไป และน่าจะบรรเทาเบาบางลงในช่วงครึ่งแรกของปี 2009" โออีซีดีบอก