รอยเตอร์ - ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ออกรายงานเมื่อวันพุธ(21) ลดประมาณการเติบโตของเศรษฐกิจอเมริกาสำหรับปีนี้ลง นอกจากนั้นก็ส่งสัญญาณด้วยว่า กำลังมีความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น จนอาจไม่มีการลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกแล้ว
ในบันทึกรายงานการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (เอฟโอเอ็มซี) เมื่อวันที่ 29-30 เมษายนที่ผ่านมา ซึ่งเฟดนำออกมาเปิดเผยในวันพุธ(21) ได้ระบุว่าเอาไว้ว่า "สมาชิกหลายรายให้ข้อสังเกตว่าน่าจะไม่เหมาะสมที่จะผ่อนคลายมาตรการการเงินต่อไป เพื่อเป็นการตอบโต้กับข้อมูลที่ชี้ว่าเศรษฐกิจกำลังชะลอตัวลงอีก หรือกระทั่งอาจจะหดตัวลงเล็กน้อยด้วยซ้ำ ในอนาคตอันใกล้นี้"
จากบันทึกรายงานดังกล่าวชี้ว่า พวกผู้บริหารเฟดหลายคนบอกว่า การที่เอฟโอเอ็มซีมีมติในการประชุมคราววันที่ 29-30 เมษายนนี้ ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เฟดฟันด์เรต (เป้าหมายอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคารชั่วเวลาข้ามคืน) ลงอีก 0.25% จนเหลือ 2.0% นั้น เป็นมติที่ "เฉียดฉิว" มาก ถ้อยคำดังกล่าวนี้ยิ่งตอกย้ำความเข้าใจของตลาดที่ว่า บรรดาผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางเหล่านี้ อาจจะไม่ลดดอกเบี้ยลงไปอีกในอนาคต
นักวิเคราะหลายๆ ราย อย่างเช่น คริสโตเฟอร์ โลว์หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเอฟทีเอ็น ไฟแนนเชียล ในนิวยอร์ก ให้ความเห็นว่า "หากคุณเคยมีข้อสงสัยใดๆ ว่าเฟดกำลังสัญญาณที่จะหยุดลดดอกเบี้ยจริงหรือเปล่า ตอนนี้ก็คงเลิกสงสัยได้แล้ว"
พร้อมๆ กับการเปิดเผยบันทึกรายงานการประชุม เมื่อวันพุธเฟดยังได้เผยแพร่รายงานประมาณการเติบโตของเศรษฐกิจฉบับล่าสุด ซึ่งได้ลดคำทำนายอัตราเติบโตในปี 2008 นี้ ลงอีก 0.3% ให้มาอยู่ที่ 1.2% จากระดับ 1.3% ถึง 2.0 %ซึ่งประมาณการไว้เมื่อสองเดือนก่อน
ในขณะเดียวกันธนาคารกลางก็คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะขยายตัว และการว่างงานก็จะเพิ่มขึ้น "อย่างมีนัยสำคัญ" ด้วยเช่นกัน
หลังจากเฟดประกาศคาดการการเติบโตเศรษฐกิจออกมาเช่นนี้ ตลาดหุ้นวอลสตรีทก็ร่วงลง ดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ดิ่งปิดลดลงไปเกือบ 1.8% ส่วนราคาพันธบัตรก็ต่ำลง ขณะเดียวกันดอลลาร์สหรัฐฯก็อ่อนตัวลงต่อเมื่อเทียบกับเงินยูโรและเยน
ส่วนตราสารฟิวเจอร์ของอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นสหรัฐฯยังแสดงให้เห็นแนวโน้มว่านักลงทุนไม่คาดว่าเฟดจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในช่วงนี้ แต่ชี้ว่าน่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงเดือนท้าย ๆของปี
การฟื้นตัวที่เชื่องช้า
บันทึกการประชุมแสดงให้เห็นว่าธนาคารกลางสหรัฐฯมีความกังวลเรื่องอัตราเงินเฟ้อและคาดว่าอัตราการเติบโตจะชะลอตัวลงชั่วขณะ แต่ผู้บริหารเฟดต่างก็มีความเห็นพ้องกันว่าสถานการณ์ย่ำแย่ที่สุดในวิกฤตการเงินครั้งนี้ได้ผ่านพ้นไปแล้ว
"ดูเหมือนว่าความกังวลเกี่ยวกับปัญหาในตลาดการเงิน ซึ่งทำให้เฟดตัดสินใจใช้นโยบายเชิงรุกทางการเงินในช่วงต้นปีนี้ จะบรรเทาเบาบางลงไปในแล้วในความรู้สึกของผู้บริหารเฟดส่วนใหญ่" ไมเคิล แฮนสัน นักเศรษฐศาสตร์ของเลห์แมนบราเธอรส์กล่าว
เฟดกล่าวว่าเนื่องจากเศรษฐกิจเกิดการสะดุดรุนแรงหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมา ทำให้อาจต้องใช้เวลาหลายปีก่อนที่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราการว่างงานจะกลับมาอยู่ในอัตราเดิม
การลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อวันที่ 30 เมษายนนับเป็นครั้งที่ 7 ติดต่อกัน ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคารลดลงมาถึง 3.25% โดยเริ่มจากเดือนกันยายนปีที่แล้วเป็นต้นมา
เศรษฐกิจสหรัฐฯนั้นเติบโตในอัตราเพียง 0.6% ต่อปีทั้งในช่วงสามเดือนสุดท้ายของปีที่แล้วและสามเดือนแรกของปีนี้
ในขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันที่พุ่งแตะระดับสูงครั้งใหม่รายวันก็ทำให้ราคาอาหารและเชื้อเพลิงขยับขึ้น ฉุดให้ดัชนีราคาผู้บริโภคไปแตะที่ 3.9% ในช่วง 12 เดือนที่สิ้นสุดเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา
บรรดาผู้บริหารธนาคารกลางแสดงความรู้สึกในระหว่างการประชุมเดือนเมษายนว่าความเสี่ยงที่ว่าอัตราการเติบโตจะชะลอตัวลงนั้นยังคงอยู่ แต่ในขณะเดียวกันความเสี่ยงเงินเฟ้ออาจจะพุ่งขึ้นได้
"บรรดาผู้บริหารเฟดต่างก็ ... แสดงความกังวลเกี่ยวกับแรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากราคาน้ำมันและโภคภัณฑ์อื่น ๆที่พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเครื่องบ่งชี้หลายประการก็ชี้ว่าปัจจัยเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา" บันทึกการประชุมระบุ
ในบันทึกรายงานการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (เอฟโอเอ็มซี) เมื่อวันที่ 29-30 เมษายนที่ผ่านมา ซึ่งเฟดนำออกมาเปิดเผยในวันพุธ(21) ได้ระบุว่าเอาไว้ว่า "สมาชิกหลายรายให้ข้อสังเกตว่าน่าจะไม่เหมาะสมที่จะผ่อนคลายมาตรการการเงินต่อไป เพื่อเป็นการตอบโต้กับข้อมูลที่ชี้ว่าเศรษฐกิจกำลังชะลอตัวลงอีก หรือกระทั่งอาจจะหดตัวลงเล็กน้อยด้วยซ้ำ ในอนาคตอันใกล้นี้"
จากบันทึกรายงานดังกล่าวชี้ว่า พวกผู้บริหารเฟดหลายคนบอกว่า การที่เอฟโอเอ็มซีมีมติในการประชุมคราววันที่ 29-30 เมษายนนี้ ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เฟดฟันด์เรต (เป้าหมายอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคารชั่วเวลาข้ามคืน) ลงอีก 0.25% จนเหลือ 2.0% นั้น เป็นมติที่ "เฉียดฉิว" มาก ถ้อยคำดังกล่าวนี้ยิ่งตอกย้ำความเข้าใจของตลาดที่ว่า บรรดาผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางเหล่านี้ อาจจะไม่ลดดอกเบี้ยลงไปอีกในอนาคต
นักวิเคราะหลายๆ ราย อย่างเช่น คริสโตเฟอร์ โลว์หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเอฟทีเอ็น ไฟแนนเชียล ในนิวยอร์ก ให้ความเห็นว่า "หากคุณเคยมีข้อสงสัยใดๆ ว่าเฟดกำลังสัญญาณที่จะหยุดลดดอกเบี้ยจริงหรือเปล่า ตอนนี้ก็คงเลิกสงสัยได้แล้ว"
พร้อมๆ กับการเปิดเผยบันทึกรายงานการประชุม เมื่อวันพุธเฟดยังได้เผยแพร่รายงานประมาณการเติบโตของเศรษฐกิจฉบับล่าสุด ซึ่งได้ลดคำทำนายอัตราเติบโตในปี 2008 นี้ ลงอีก 0.3% ให้มาอยู่ที่ 1.2% จากระดับ 1.3% ถึง 2.0 %ซึ่งประมาณการไว้เมื่อสองเดือนก่อน
ในขณะเดียวกันธนาคารกลางก็คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะขยายตัว และการว่างงานก็จะเพิ่มขึ้น "อย่างมีนัยสำคัญ" ด้วยเช่นกัน
หลังจากเฟดประกาศคาดการการเติบโตเศรษฐกิจออกมาเช่นนี้ ตลาดหุ้นวอลสตรีทก็ร่วงลง ดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ดิ่งปิดลดลงไปเกือบ 1.8% ส่วนราคาพันธบัตรก็ต่ำลง ขณะเดียวกันดอลลาร์สหรัฐฯก็อ่อนตัวลงต่อเมื่อเทียบกับเงินยูโรและเยน
ส่วนตราสารฟิวเจอร์ของอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นสหรัฐฯยังแสดงให้เห็นแนวโน้มว่านักลงทุนไม่คาดว่าเฟดจะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในช่วงนี้ แต่ชี้ว่าน่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงเดือนท้าย ๆของปี
การฟื้นตัวที่เชื่องช้า
บันทึกการประชุมแสดงให้เห็นว่าธนาคารกลางสหรัฐฯมีความกังวลเรื่องอัตราเงินเฟ้อและคาดว่าอัตราการเติบโตจะชะลอตัวลงชั่วขณะ แต่ผู้บริหารเฟดต่างก็มีความเห็นพ้องกันว่าสถานการณ์ย่ำแย่ที่สุดในวิกฤตการเงินครั้งนี้ได้ผ่านพ้นไปแล้ว
"ดูเหมือนว่าความกังวลเกี่ยวกับปัญหาในตลาดการเงิน ซึ่งทำให้เฟดตัดสินใจใช้นโยบายเชิงรุกทางการเงินในช่วงต้นปีนี้ จะบรรเทาเบาบางลงไปในแล้วในความรู้สึกของผู้บริหารเฟดส่วนใหญ่" ไมเคิล แฮนสัน นักเศรษฐศาสตร์ของเลห์แมนบราเธอรส์กล่าว
เฟดกล่าวว่าเนื่องจากเศรษฐกิจเกิดการสะดุดรุนแรงหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมา ทำให้อาจต้องใช้เวลาหลายปีก่อนที่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราการว่างงานจะกลับมาอยู่ในอัตราเดิม
การลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อวันที่ 30 เมษายนนับเป็นครั้งที่ 7 ติดต่อกัน ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคารลดลงมาถึง 3.25% โดยเริ่มจากเดือนกันยายนปีที่แล้วเป็นต้นมา
เศรษฐกิจสหรัฐฯนั้นเติบโตในอัตราเพียง 0.6% ต่อปีทั้งในช่วงสามเดือนสุดท้ายของปีที่แล้วและสามเดือนแรกของปีนี้
ในขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันที่พุ่งแตะระดับสูงครั้งใหม่รายวันก็ทำให้ราคาอาหารและเชื้อเพลิงขยับขึ้น ฉุดให้ดัชนีราคาผู้บริโภคไปแตะที่ 3.9% ในช่วง 12 เดือนที่สิ้นสุดเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา
บรรดาผู้บริหารธนาคารกลางแสดงความรู้สึกในระหว่างการประชุมเดือนเมษายนว่าความเสี่ยงที่ว่าอัตราการเติบโตจะชะลอตัวลงนั้นยังคงอยู่ แต่ในขณะเดียวกันความเสี่ยงเงินเฟ้ออาจจะพุ่งขึ้นได้
"บรรดาผู้บริหารเฟดต่างก็ ... แสดงความกังวลเกี่ยวกับแรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากราคาน้ำมันและโภคภัณฑ์อื่น ๆที่พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเครื่องบ่งชี้หลายประการก็ชี้ว่าปัจจัยเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา" บันทึกการประชุมระบุ