บลจ.กรุงไทยมองจีดีพีปีนี้ ขยายตัวในระดับ 5.5-6% โดยจะได้ราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ช่วยหนุน พร้อมระบุหลังไตรมาส 2 เศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัว ทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในประเทศ ส่งผลต่อการบริโภคและการลงทุนในประเทศที่เพิ่มขึ้น ส่วค่าเงินมองอยู่นิ่งที่ระดับ 31.6-31.7 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เหตุภาคการส่งออกและนำเข้าเริ่มกลับมาสมดุล
นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน รองกรรมการผู้จัดการ สายงานจัดการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในปีนี้เศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวได้ถึงระดับ 5.5-6% โดยจะได้ปัจจัยหนุนจากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทั้งราคาข้าว อ้อย รวมถึงยางพารา ซึ่งไทยเองมีพื้นฐานทางด้านสินค้าเกษตรที่สูงอยู่แล้ว ทั้งนี้ มองว่าหลังจบไตรมาสที่ 2 การชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยน่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว หลังจากนั้นจะเริ่มฟื้นตัวทั้งจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในประเทศ
ขณะเดียวกัน การบริโภคในประเทศเองก็เริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัวและเพิ่มขึ้นกว่าปีที่แล้ว เห็นได้จากยอดการซื้อรถที่เพิ่มมากขึ้น หรือยอดการซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า และมือถือที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งการบริโภคเหล่านี้จะเชื่อมต่อกันเป็นลูกโซ่
สำหรับภาคการลงทุน ก็เริ่มเห็นอุตสาหกรรมหลายเซกเตอร์เพิ่มกำลังการผลิตกันบ้างแล้ว หลังจากเห็นการเพิ่มขึ้นของการบริโภคในประเทศ จากเดิมที่ยังกังวลจากหลายปัจจัยทั้งการเมือง ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นจนกลายเป็นต้นทุนที่สำคัญ นอกจากนี้ ภาคธนาคารพาณิชย์ยังหันมาออกหุ้นกู้เพื่อนำมาใช้ในการปล่อยสินเชื่อให้กับภาคการลงทุนที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวด้วย ซึ่งภาวะเช่นนี้แสดงให้เห็นถึงสัญญาณของการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ดีพอสมควร
"ในช่วงที่ผ่านมา การบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว แม้จะมีปัจจัยลบหลายปัจจัย แต่ยอดการซื้อรถก็เพิ่มขึ้น ซึ่งการมันส่งต่อเป็นลูกโซ่ นอกจากนี้ ยังเห็นภาคการลงทุนเพิ่มกำลังการผลิตมากขึ้น ส่งต่อเนื่องไปถึงแบงก์ที่หันมาออกหุ้นกู้เพื่อใช้ในการปล่อยสนิเชื่อให้ภาคการลงทุนมากขึ้นด้วยเช่นกัน"นายธีรพันธุ์่กล่าว
นายธีรพันธุ์กล่าวว่า สำหรับค่าเงินบาท มีแนวโน้มว่าคงจะนิ่งอยู่ที่ระดับ 31.6-31.7 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เพราะภาคการส่งออกและนำเข้าเริ่มกลับมาสมดุลมากขึ้น ส่งผลทำให้ค่าเงินบาทไม่แข็งไปมากกว่านี้ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ น่าจะเป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้เศรษฐกิจของไทย สามารถขยายตัวได้ดีขึ้น โดยในช่วงต้นปีเอง เราประมาณการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยอยู่ที่ระดับ 5% ต้นๆ เท่านั้น
สำหรับปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะปัจจัยเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งในครึ่งปีแรกมีแนวโน้มถดถอยจากผลของปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพร์ม) อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลัง จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐฯ และผลจากการลดดอกเบี้ยธนาคารกลางสหรัฐฯลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอยู่ที่ 2.0% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่โอกาสลดดอกเบี้ยอย่างรุนแรงมีน้อยลง เนื่องจากแรงกดดันจากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น จากราคาน้ำมันและราคาอาหารสูงขึ้น ค่าเงินดอลลาร์ อ่อนค่า เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัว และอัตราดอกเบี้ยต่ำ อย่างไรก็ตาม ช่วงครึ่งปีหลังดอลลาร์มีแนวโน้มแข็งค่า เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยอยู่ใกล้จุดต่ำสุดแล้ว และเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัว
ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา หลายฝ่ายมีการคาดการณ์กันว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาอยู่ที่ระดับ 1% จึงทำให้การค้าขายของโลก 60-70% ยังอยู่ในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐอยู่ เพราะการลดดอกเบี้ยดังกล่าวส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนลง และจากภาวะดังกล่าวได้กดดันให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี้) ที่ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน เนื่องจากผู้ค้าส่วนใหญ่เอาเงินดอลลาร์เข้าไปคำนวนในราคาน้ำมันรวมถึงราคาคอมมอดิตี้แล้ว
อย่างไรก็ตาม จากการที่เฟดลดดอกเบี้ยลงมาอีก 0.25% มาอยู่ที่ 2.00% เพื่อแก้ปัญหาการถอถอยของเศรษฐกิจในครั้งล่าสุดที่ผ่านมา ถูกคาดหมายว่าจะเป็นจุดต่ำสุดแล้ว เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก ส่งผลให้มีการคิดกลับข้างว่าเฟดจะใช้นโยบายคงดอกเบี้ยเอาไว้ หรืออาจจะปรับเพิ่มดอกเบี้ยเพื่อควบคุมไม่ให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นไปกว่านี้ สาเหตุนี้เองทำให้ราคาน้ำมันและราคาคอมมอดิตี้ โดยเฉพาะราคาทองคำปรับตัวลดลงมา
นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน รองกรรมการผู้จัดการ สายงานจัดการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในปีนี้เศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวได้ถึงระดับ 5.5-6% โดยจะได้ปัจจัยหนุนจากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทั้งราคาข้าว อ้อย รวมถึงยางพารา ซึ่งไทยเองมีพื้นฐานทางด้านสินค้าเกษตรที่สูงอยู่แล้ว ทั้งนี้ มองว่าหลังจบไตรมาสที่ 2 การชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยน่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว หลังจากนั้นจะเริ่มฟื้นตัวทั้งจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในประเทศ
ขณะเดียวกัน การบริโภคในประเทศเองก็เริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัวและเพิ่มขึ้นกว่าปีที่แล้ว เห็นได้จากยอดการซื้อรถที่เพิ่มมากขึ้น หรือยอดการซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า และมือถือที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งการบริโภคเหล่านี้จะเชื่อมต่อกันเป็นลูกโซ่
สำหรับภาคการลงทุน ก็เริ่มเห็นอุตสาหกรรมหลายเซกเตอร์เพิ่มกำลังการผลิตกันบ้างแล้ว หลังจากเห็นการเพิ่มขึ้นของการบริโภคในประเทศ จากเดิมที่ยังกังวลจากหลายปัจจัยทั้งการเมือง ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นจนกลายเป็นต้นทุนที่สำคัญ นอกจากนี้ ภาคธนาคารพาณิชย์ยังหันมาออกหุ้นกู้เพื่อนำมาใช้ในการปล่อยสินเชื่อให้กับภาคการลงทุนที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวด้วย ซึ่งภาวะเช่นนี้แสดงให้เห็นถึงสัญญาณของการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ดีพอสมควร
"ในช่วงที่ผ่านมา การบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว แม้จะมีปัจจัยลบหลายปัจจัย แต่ยอดการซื้อรถก็เพิ่มขึ้น ซึ่งการมันส่งต่อเป็นลูกโซ่ นอกจากนี้ ยังเห็นภาคการลงทุนเพิ่มกำลังการผลิตมากขึ้น ส่งต่อเนื่องไปถึงแบงก์ที่หันมาออกหุ้นกู้เพื่อใช้ในการปล่อยสนิเชื่อให้ภาคการลงทุนมากขึ้นด้วยเช่นกัน"นายธีรพันธุ์่กล่าว
นายธีรพันธุ์กล่าวว่า สำหรับค่าเงินบาท มีแนวโน้มว่าคงจะนิ่งอยู่ที่ระดับ 31.6-31.7 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เพราะภาคการส่งออกและนำเข้าเริ่มกลับมาสมดุลมากขึ้น ส่งผลทำให้ค่าเงินบาทไม่แข็งไปมากกว่านี้ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ น่าจะเป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้เศรษฐกิจของไทย สามารถขยายตัวได้ดีขึ้น โดยในช่วงต้นปีเอง เราประมาณการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยอยู่ที่ระดับ 5% ต้นๆ เท่านั้น
สำหรับปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะปัจจัยเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งในครึ่งปีแรกมีแนวโน้มถดถอยจากผลของปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพร์ม) อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลัง จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐฯ และผลจากการลดดอกเบี้ยธนาคารกลางสหรัฐฯลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอยู่ที่ 2.0% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่โอกาสลดดอกเบี้ยอย่างรุนแรงมีน้อยลง เนื่องจากแรงกดดันจากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น จากราคาน้ำมันและราคาอาหารสูงขึ้น ค่าเงินดอลลาร์ อ่อนค่า เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัว และอัตราดอกเบี้ยต่ำ อย่างไรก็ตาม ช่วงครึ่งปีหลังดอลลาร์มีแนวโน้มแข็งค่า เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยอยู่ใกล้จุดต่ำสุดแล้ว และเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัว
ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา หลายฝ่ายมีการคาดการณ์กันว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาอยู่ที่ระดับ 1% จึงทำให้การค้าขายของโลก 60-70% ยังอยู่ในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐอยู่ เพราะการลดดอกเบี้ยดังกล่าวส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนลง และจากภาวะดังกล่าวได้กดดันให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี้) ที่ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน เนื่องจากผู้ค้าส่วนใหญ่เอาเงินดอลลาร์เข้าไปคำนวนในราคาน้ำมันรวมถึงราคาคอมมอดิตี้แล้ว
อย่างไรก็ตาม จากการที่เฟดลดดอกเบี้ยลงมาอีก 0.25% มาอยู่ที่ 2.00% เพื่อแก้ปัญหาการถอถอยของเศรษฐกิจในครั้งล่าสุดที่ผ่านมา ถูกคาดหมายว่าจะเป็นจุดต่ำสุดแล้ว เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก ส่งผลให้มีการคิดกลับข้างว่าเฟดจะใช้นโยบายคงดอกเบี้ยเอาไว้ หรืออาจจะปรับเพิ่มดอกเบี้ยเพื่อควบคุมไม่ให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นไปกว่านี้ สาเหตุนี้เองทำให้ราคาน้ำมันและราคาคอมมอดิตี้ โดยเฉพาะราคาทองคำปรับตัวลดลงมา