บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานภาวะตลาดเงินในสัปดาห์นี้ ว่า ธนาคารพาณิชย์คงจะมีการทยอยเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงสิ้นเดือน ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นคงจะขยับใกล้ระดับ 3.25% เช่นเดิม ภายใต้ภาวะสภาพคล่องในตลาดเงินที่น่าจะไม่เปลี่ยนแปลงมาก นอกจากนี้ ตลาดคงจะจับตาการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯในวันที่ 24-25 มิถุนายน 2551 ด้วย
ส่วนเงินบาทในประเทศอาจมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ 33.30-33.60 บาทต่อดอลลาร์ โดยปัจจัยที่ควรจับตา ได้แก่ ประเด็นทางการเมืองในประเทศ แรงซื้อเงินดอลลาร์ของนักลงทุนต่างชาติและผู้นำเข้า ตลอดจนทิศทางของสกุลเงินในภูมิภาค และเงินดอลลาร์ ซึ่งจะขึ้นกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญประกอบด้วย ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ เดือนมิถุนายน ยอดขายบ้านใหม่ ยอดขายบ้านมือสอง ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน รายได้-รายจ่ายส่วนบุคคล และดัชนีราคา การใช้จ่ายด้านการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (Core PCE Price Index) เดือนพฤษภาคม ตลอดจนตัวเลข GDP ประจำไตรมาส 1/2551 (ขั้นสุดท้าย)
นอกจากนี้ ตลาดการเงินยังจับตาผลการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ วันที่ 24-25 มิถุนายน และการประชุมฉุกเฉินในวันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายนนี้ ที่ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นการประชุมระหว่างประเทศผู้ผลิตและผู้ใช้น้ำมันเพื่อหารือเรื่องการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมัน อีกด้วย
โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทในประเทศ (Onshore) อ่อนค่าแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 5 เดือนเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ ทั้งนี้ เงินบาทยังคงถูกกดดันจากแรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ อย่างต่อเนื่องจากนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งสอดคล้องกับแรงเทขายหุ้นไทยในระหว่างสัปดาห์ ท่ามกลางการยืดเยื้อของปัญหาการเมืองในประเทศ นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินบาทยังเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินในภูมิภาคอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีแรงขายเงินดอลลาร์ ซึ่งตลาดคาดการณ์ว่า เป็นการเข้าแทรกแซงจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อลดความผันผวนของค่าเงิน สำหรับในวันศุกร์ เงินบาทอ่อนค่าลงแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 5 เดือนที่ระดับประมาณ 33.58 ในช่วงแรก ก่อนจะฟื้นตัวแข็งค่าขึ้นกลับมายืนที่ระดับประมาณ 33.41 (ตลาดเอเชีย) หลังการชุมนุมทางการเมืองไม่มีเหตุการณ์ที่รุนแรง เทียบกับระดับ 33.18 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (13 มิถุนายน) อนึ่ง นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ธปท. กล่าวในระหว่างสัปดาห์ว่า ธปท.จะไม่ใช้ค่าเงินเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาเงินเฟ้อ
ส่วนเงินบาทในประเทศอาจมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ 33.30-33.60 บาทต่อดอลลาร์ โดยปัจจัยที่ควรจับตา ได้แก่ ประเด็นทางการเมืองในประเทศ แรงซื้อเงินดอลลาร์ของนักลงทุนต่างชาติและผู้นำเข้า ตลอดจนทิศทางของสกุลเงินในภูมิภาค และเงินดอลลาร์ ซึ่งจะขึ้นกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญประกอบด้วย ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ เดือนมิถุนายน ยอดขายบ้านใหม่ ยอดขายบ้านมือสอง ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน รายได้-รายจ่ายส่วนบุคคล และดัชนีราคา การใช้จ่ายด้านการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (Core PCE Price Index) เดือนพฤษภาคม ตลอดจนตัวเลข GDP ประจำไตรมาส 1/2551 (ขั้นสุดท้าย)
นอกจากนี้ ตลาดการเงินยังจับตาผลการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ วันที่ 24-25 มิถุนายน และการประชุมฉุกเฉินในวันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายนนี้ ที่ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นการประชุมระหว่างประเทศผู้ผลิตและผู้ใช้น้ำมันเพื่อหารือเรื่องการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมัน อีกด้วย
โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทในประเทศ (Onshore) อ่อนค่าแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 5 เดือนเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ ทั้งนี้ เงินบาทยังคงถูกกดดันจากแรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ อย่างต่อเนื่องจากนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งสอดคล้องกับแรงเทขายหุ้นไทยในระหว่างสัปดาห์ ท่ามกลางการยืดเยื้อของปัญหาการเมืองในประเทศ นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินบาทยังเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินในภูมิภาคอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีแรงขายเงินดอลลาร์ ซึ่งตลาดคาดการณ์ว่า เป็นการเข้าแทรกแซงจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อลดความผันผวนของค่าเงิน สำหรับในวันศุกร์ เงินบาทอ่อนค่าลงแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 5 เดือนที่ระดับประมาณ 33.58 ในช่วงแรก ก่อนจะฟื้นตัวแข็งค่าขึ้นกลับมายืนที่ระดับประมาณ 33.41 (ตลาดเอเชีย) หลังการชุมนุมทางการเมืองไม่มีเหตุการณ์ที่รุนแรง เทียบกับระดับ 33.18 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (13 มิถุนายน) อนึ่ง นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ธปท. กล่าวในระหว่างสัปดาห์ว่า ธปท.จะไม่ใช้ค่าเงินเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาเงินเฟ้อ