ผู้จัดการรายวัน - เงินบาทล่าสุด 32.50 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่ากว่าเพื่อนบ้าน คาดแนวโน้มยังคงอ่อนค่าถึงสิ้นเดือน ปัจจัยการเมืองผสมโรง แบงก์ชาติมองแง่ดีเป็นทิศทางเดียวกับภูมิภาค เผยต่างชาติมีการซื้อดอลลาร์นำออกนอกประเทศมากขึ้น ยอมรับ ธปท.เข้าดูแล "ประสาร" ชี้สาเหตุดอลล์แข็งค่าหลังคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ถึงจุดต่ำสุด ขณะที่ภาคการเมืองที่ยังไม่นิ่งกดดันอีกแรง
นักค้าเงินจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเย็นวานนี้ (14 พ.ค.) ปิดตลาดที่ระดับ 32.49-32.50 บาทต่อดอลลาร์ ระหว่างวันค่าเงินบาทแข็งค่าสุดที่ระดับ 32.30 บาทต่อดอลลาร์ และอ่อนค่าสุดที่ระดับ 32.50 บาทต่อดอลลาร์ โดยทั้งวันการเคลื่อนไหวเป็นไปในลักษณะอ่อนค่า ซึ่งเป็นการอ่อนค่าตามค่าเงินสกุลหลักที่ยังคงอ่อนค่าสวนทางกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ และมองว่าแนวโน้มการอ่อนค่าของเงินบาทน่าจะเป็นการอ่อนค่าต่อเนื่องไปจนถึงช่วงปลายเดือน พ.ค. ส่วนแนวโน้มการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในวันนี้ (15 พ.ค.) คาดว่าจะอยู่ในกรอบ 32.45-32.60 บาทต่อดอลลาร์
นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน สายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) กล่าวว่า ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าต่อเนื่องในช่วงสัปดาห์นี้ว่า ค่าเงินบาทแม้จะอ่อนค่าตามภูมิภาคจากปัจจัยที่ดอลลาร์สหรัฐรีบาวน์ขึ้นไปหลังจากที่นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะไม่ปรับลดดอกเบี้ยลงอีกแล้ว ส่งผลให้ค่าเงินในภูมิภาคเอเชียอ่อนค่าแล้วประมาณ 1% แต่ค่าเงินบาทของไทยกลับอ่อนค่าเร็วกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค โดยค่าเงินบาทอ่อนค่าไปแล้ว 2% ซึ่งมองว่าส่วนหนึ่งมาจากความกังวลเรื่องการเมือง โดยเฉพาะการปฎิวัติทำให้นักลงทุนต่างชาติชะลอการลงทุนในประเทศไทย โดยมองว่าหากการเมืองยังมีการพูดถึงเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญก็น่าจะทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าต่อไป รวมถึงราคาน้ำมันที่สูงขึ้นก็ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลน้อยลง ทำให้มีเงินไหลออกมากกว่าไหลเข้า ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่า
ขณะที่นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ KBANK กล่าวว่า ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงในช่วงเวลานี้เกิดจากข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐกิจที่ออกมาเป็นรายวัน เช่น ข้อมูลของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจถึงจุดต่ำสุดแล้ว ส่งผลให้แนวโน้มเงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น ในจุดนี้ทำให้ผู้นำเข้าสินค้าของไทย ได้ซื้อประกันความสี่ยงค่าเงิน ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่า ซึ่งต่างกับช่วงก่อนหน้านี้ผู้ส่งออกวิตกว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่า จึงได้ประกันความเสี่ยงค่าเงิน ในจุดนี้ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น โดยอัตราแลกเปลี่ยนของไทยนั้นจะขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางเศรษฐกิจ หากดุลชำระเงินเกินดุลมากๆ ก็จะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นได้
ส่วนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงนี้จนถึงปลายปีน่าจะทรงตัวอยู่ในระดับเดิม ซึ่งทางนักวิเคราะห์หลายแห่งก็ประเมินไปในทิศทางนี้เช่นเดียวกัน แต่อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินจะค่อนข้างมีความผันผวน โดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรองมีความผันผวนสูง การซื้อขายบางวันอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นถึง 0.40-0.60 % ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากผู้ลงทุนมีความอ่อนไหวกับข่าวที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลก ประกอบกับในปัจจุบันนัลงทุนต่างชาติได้กลับเข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตรคิดเป็นเงินคงค้าง 100,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขการลงทุนเท่ากับก่อนที่ทางการใช้มาตรการสำรอง 30 % โดยอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรที่ผันผวนส่วนใหญ่เกิดจากพันธบัตระยะสั้นอายุ 1-3 ปี
“ดอกเบี้ยตลาดเงินค่อนข้างผันผวนเพราะมีต่างชาติมาลงทุนในตลาดตราสารหนี้สูงพอ ๆ กับช่วงก่อนที่จะใช้มาตรการกันสำรอง 30% ที่ในตอนนั้นมียอดคงค้างอยู่ประมาณ 100,000 ล้านบาท แต่พอประกาศใช้มาตรการก็ทำให้มีเงินทุนไหลออก แต่ตอนนี้เงินลงทุนได้กลับเข้ามา อย่างไรก็ตามดอกเบี้ยพันธบัตรในตลาดรองเกิดความผันผวนมาแล้ว 1-2 เดือน โดยสาเหตุส่วนหนึ่งก็มาจากภาวะตลาดเงินโลกที่ไม่นิ่ง” นายประสารกล่าว
แบงก์ชาติปลอบใจแข็งตามภูมิภาค
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงเงินบาทที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นสัปดาห์ว่า การที่เงินบาทอ่อนค่าในช่วง 3-4 วันที่ผ่านมาเป็นไปตามทิศทางเดียวกับค่าเงินในแถบภูมิภาค แต่ไม่ได้เป็นการอ่อนค่ามากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งการที่เงินบาทค่อนข้างอ่อนค่าเกิดจากต่างชาติมีการซื้อเงินดอลลาร์นำออกไปนอกประเทศมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม มองว่าค่าเงินดอลลาร์อาจกลับมาแข็งค่าขึ้นได้จากปัจจัยสนับสนุนที่คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจไม่ปรับลดดอกเบี้ยลงมากกว่าในปัจจุบัน รวมทั้งภาวะตลาดการเงินก็ไม่ได้เลวร้าย เชื่อทางสหรัฐฯสามารถควบคุมดูแลเศรษฐกิจได้แล้ว
ขณะเดียวกันผู้นำเข้าก็มีการซื้อเงินดอลลาร์บ้าง แต่ก็ไม่มาก โดยเฉพาะบริษัทนำเข้าน้ำมันและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อนำมาผลิต ดังนั้นในส่วนของคนไทยเองก็ไม่ได้เห็นสัญญาณว่าจะเร่งซื้อเงินดอลลาร์จนกดดันให้เงินบาทอ่อนค่ามากนัก
“ส่วนกระแสข่าวที่ว่ามีกองทุนต่างชาติเริ่มเข้ามาผสมโรงในการช้อนซื้อเงินดอลลาร์กลับไปนั้นจนทำให้เงินบาทอ่อนมาก ยังไม่เห็นสัญญาณผิดปกติ แต่เป็นเรื่องปกติที่เมื่อเขาเคยลงทุนไว้แล้วจะนำเงินออกไปบ้าง จึงเชื่อเรื่องนี้เป็นเพียงสถานการณ์ช่วงสั้นๆ ซึ่งธปท.พยายามติดตามและดูแลตามความจำเป็น เพื่อไม่ให้เงินบาทอ่อนค่ามากเกินไป" นางผ่องเพ็ญกล่าว
ผู้ว่าฯ แจงออกบอนด์อุ้มบาท
ด้านนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าฯ ธปท.กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่าในตลาดตราสารหนี้มีพันธบัตร ธปท.ออกมาจำนวนมากถึง 2.5 ล้านล้านบาท เพื่อช่วงพยุงค่าเงินว่า เป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา ธปท.มีการออกพันธบัตรอายุสั้นๆ ไม่เกิน 7 วัน หรือ 14 วัน ทำให้มีการครบกำหนดไถ่ถอนเร็ว และธปท.ก็มีการออกพันธบัตรใหม่มาทดแทนพันธบัตรเก่าที่หมดอายุดังกล่าว ซึ่งตามข้อเท็จจริงในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-เม.ย.) ธปท.ได้มีการออกพันธบัตรสู่ตลาดตราสารหนี้ไปแล้วแค่ 1.3 แสนล้านบาท เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนที่มีการออกไป 1.6 แสนล้านบาท ถือว่าน้อยมาก
ส่วนการออกพันธบัตรในปีนี้ที่น้อยกว่าปีก่อนขึ้นอยู่กับสถานการณ์แต่ละช่วงว่าธปท.จำเป็นต้องมีการดูดซับสภาพคล่องมากน้อยแค่ไหน ทำให้เหตุผลที่ออกพันธบัตรมามากไม่ได้เกี่ยวกับการดูแลค่าเงินบาทอย่างเดียว แต่ต้องดูเรื่องอื่นๆ ประกอบด้วยทั้งสภาพคล่องในระบบว่าธนาคารพาณิชย์มีสภาพคล่องส่วนเกินมากเกินไปไหมในช่วงนั้นๆ รัฐบาลมีการใช้จ่ายมากแค่ไหน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ธปท.ต้องนำมาพิจารณาในการออกพันธบัตรด้วย.
นักค้าเงินจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเย็นวานนี้ (14 พ.ค.) ปิดตลาดที่ระดับ 32.49-32.50 บาทต่อดอลลาร์ ระหว่างวันค่าเงินบาทแข็งค่าสุดที่ระดับ 32.30 บาทต่อดอลลาร์ และอ่อนค่าสุดที่ระดับ 32.50 บาทต่อดอลลาร์ โดยทั้งวันการเคลื่อนไหวเป็นไปในลักษณะอ่อนค่า ซึ่งเป็นการอ่อนค่าตามค่าเงินสกุลหลักที่ยังคงอ่อนค่าสวนทางกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ และมองว่าแนวโน้มการอ่อนค่าของเงินบาทน่าจะเป็นการอ่อนค่าต่อเนื่องไปจนถึงช่วงปลายเดือน พ.ค. ส่วนแนวโน้มการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในวันนี้ (15 พ.ค.) คาดว่าจะอยู่ในกรอบ 32.45-32.60 บาทต่อดอลลาร์
นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน สายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) กล่าวว่า ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าต่อเนื่องในช่วงสัปดาห์นี้ว่า ค่าเงินบาทแม้จะอ่อนค่าตามภูมิภาคจากปัจจัยที่ดอลลาร์สหรัฐรีบาวน์ขึ้นไปหลังจากที่นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะไม่ปรับลดดอกเบี้ยลงอีกแล้ว ส่งผลให้ค่าเงินในภูมิภาคเอเชียอ่อนค่าแล้วประมาณ 1% แต่ค่าเงินบาทของไทยกลับอ่อนค่าเร็วกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค โดยค่าเงินบาทอ่อนค่าไปแล้ว 2% ซึ่งมองว่าส่วนหนึ่งมาจากความกังวลเรื่องการเมือง โดยเฉพาะการปฎิวัติทำให้นักลงทุนต่างชาติชะลอการลงทุนในประเทศไทย โดยมองว่าหากการเมืองยังมีการพูดถึงเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญก็น่าจะทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าต่อไป รวมถึงราคาน้ำมันที่สูงขึ้นก็ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลน้อยลง ทำให้มีเงินไหลออกมากกว่าไหลเข้า ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่า
ขณะที่นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ KBANK กล่าวว่า ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงในช่วงเวลานี้เกิดจากข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐกิจที่ออกมาเป็นรายวัน เช่น ข้อมูลของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจถึงจุดต่ำสุดแล้ว ส่งผลให้แนวโน้มเงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น ในจุดนี้ทำให้ผู้นำเข้าสินค้าของไทย ได้ซื้อประกันความสี่ยงค่าเงิน ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่า ซึ่งต่างกับช่วงก่อนหน้านี้ผู้ส่งออกวิตกว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่า จึงได้ประกันความเสี่ยงค่าเงิน ในจุดนี้ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น โดยอัตราแลกเปลี่ยนของไทยนั้นจะขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางเศรษฐกิจ หากดุลชำระเงินเกินดุลมากๆ ก็จะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นได้
ส่วนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงนี้จนถึงปลายปีน่าจะทรงตัวอยู่ในระดับเดิม ซึ่งทางนักวิเคราะห์หลายแห่งก็ประเมินไปในทิศทางนี้เช่นเดียวกัน แต่อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินจะค่อนข้างมีความผันผวน โดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรองมีความผันผวนสูง การซื้อขายบางวันอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นถึง 0.40-0.60 % ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากผู้ลงทุนมีความอ่อนไหวกับข่าวที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลก ประกอบกับในปัจจุบันนัลงทุนต่างชาติได้กลับเข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตรคิดเป็นเงินคงค้าง 100,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขการลงทุนเท่ากับก่อนที่ทางการใช้มาตรการสำรอง 30 % โดยอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรที่ผันผวนส่วนใหญ่เกิดจากพันธบัตระยะสั้นอายุ 1-3 ปี
“ดอกเบี้ยตลาดเงินค่อนข้างผันผวนเพราะมีต่างชาติมาลงทุนในตลาดตราสารหนี้สูงพอ ๆ กับช่วงก่อนที่จะใช้มาตรการกันสำรอง 30% ที่ในตอนนั้นมียอดคงค้างอยู่ประมาณ 100,000 ล้านบาท แต่พอประกาศใช้มาตรการก็ทำให้มีเงินทุนไหลออก แต่ตอนนี้เงินลงทุนได้กลับเข้ามา อย่างไรก็ตามดอกเบี้ยพันธบัตรในตลาดรองเกิดความผันผวนมาแล้ว 1-2 เดือน โดยสาเหตุส่วนหนึ่งก็มาจากภาวะตลาดเงินโลกที่ไม่นิ่ง” นายประสารกล่าว
แบงก์ชาติปลอบใจแข็งตามภูมิภาค
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงเงินบาทที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นสัปดาห์ว่า การที่เงินบาทอ่อนค่าในช่วง 3-4 วันที่ผ่านมาเป็นไปตามทิศทางเดียวกับค่าเงินในแถบภูมิภาค แต่ไม่ได้เป็นการอ่อนค่ามากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งการที่เงินบาทค่อนข้างอ่อนค่าเกิดจากต่างชาติมีการซื้อเงินดอลลาร์นำออกไปนอกประเทศมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม มองว่าค่าเงินดอลลาร์อาจกลับมาแข็งค่าขึ้นได้จากปัจจัยสนับสนุนที่คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจไม่ปรับลดดอกเบี้ยลงมากกว่าในปัจจุบัน รวมทั้งภาวะตลาดการเงินก็ไม่ได้เลวร้าย เชื่อทางสหรัฐฯสามารถควบคุมดูแลเศรษฐกิจได้แล้ว
ขณะเดียวกันผู้นำเข้าก็มีการซื้อเงินดอลลาร์บ้าง แต่ก็ไม่มาก โดยเฉพาะบริษัทนำเข้าน้ำมันและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อนำมาผลิต ดังนั้นในส่วนของคนไทยเองก็ไม่ได้เห็นสัญญาณว่าจะเร่งซื้อเงินดอลลาร์จนกดดันให้เงินบาทอ่อนค่ามากนัก
“ส่วนกระแสข่าวที่ว่ามีกองทุนต่างชาติเริ่มเข้ามาผสมโรงในการช้อนซื้อเงินดอลลาร์กลับไปนั้นจนทำให้เงินบาทอ่อนมาก ยังไม่เห็นสัญญาณผิดปกติ แต่เป็นเรื่องปกติที่เมื่อเขาเคยลงทุนไว้แล้วจะนำเงินออกไปบ้าง จึงเชื่อเรื่องนี้เป็นเพียงสถานการณ์ช่วงสั้นๆ ซึ่งธปท.พยายามติดตามและดูแลตามความจำเป็น เพื่อไม่ให้เงินบาทอ่อนค่ามากเกินไป" นางผ่องเพ็ญกล่าว
ผู้ว่าฯ แจงออกบอนด์อุ้มบาท
ด้านนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าฯ ธปท.กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่าในตลาดตราสารหนี้มีพันธบัตร ธปท.ออกมาจำนวนมากถึง 2.5 ล้านล้านบาท เพื่อช่วงพยุงค่าเงินว่า เป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา ธปท.มีการออกพันธบัตรอายุสั้นๆ ไม่เกิน 7 วัน หรือ 14 วัน ทำให้มีการครบกำหนดไถ่ถอนเร็ว และธปท.ก็มีการออกพันธบัตรใหม่มาทดแทนพันธบัตรเก่าที่หมดอายุดังกล่าว ซึ่งตามข้อเท็จจริงในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-เม.ย.) ธปท.ได้มีการออกพันธบัตรสู่ตลาดตราสารหนี้ไปแล้วแค่ 1.3 แสนล้านบาท เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนที่มีการออกไป 1.6 แสนล้านบาท ถือว่าน้อยมาก
ส่วนการออกพันธบัตรในปีนี้ที่น้อยกว่าปีก่อนขึ้นอยู่กับสถานการณ์แต่ละช่วงว่าธปท.จำเป็นต้องมีการดูดซับสภาพคล่องมากน้อยแค่ไหน ทำให้เหตุผลที่ออกพันธบัตรมามากไม่ได้เกี่ยวกับการดูแลค่าเงินบาทอย่างเดียว แต่ต้องดูเรื่องอื่นๆ ประกอบด้วยทั้งสภาพคล่องในระบบว่าธนาคารพาณิชย์มีสภาพคล่องส่วนเกินมากเกินไปไหมในช่วงนั้นๆ รัฐบาลมีการใช้จ่ายมากแค่ไหน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ธปท.ต้องนำมาพิจารณาในการออกพันธบัตรด้วย.