ผู้จัดการรายวัน - โบรกเกอร์มั่นใจการบริโภค-การลงทุนขยายตัว ดันจีดีพีปีนี้โตได้ถึง 6% "มนตรี" แนะลงทุนหุ้นกลุ่มธนาคาร-พลังงาน ด้าน "สุกิจ" ชี้เงินเฟ้อมีความเสี่ยงมากขึ้น คาดพ.ค.-มิ.ย.แตะระดับสูงสุด ก่อนจะอ่อนตัวครึ่งปีหลัง ทำให้เฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 4.5% ส่วน "รณกฤต" เผยราคาน้ำมันพุ่งไม่หยุด-บาทอ่อนอาจกดดันให้เงินเฟ้อทะลุ 8% เลือกลงทุนหุ้นพี/อีต่ำ ปันผลไม่ต่ำกว่า 5% ขณะที่สัปดาห์นี้ยังได้แรงกดดันจากปัจจัยด้านการเมือง-เงินเฟ้อ
นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง "ปรับพอร์ตการลงทุนรับเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง" ว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวดีขึ้นจากปีก่อน โดยมั่นใจว่าตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ หรือ GDP จะโตได้ถึง 6% เนื่องจากการบริโภคในประเทศและการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น รวมถึงการส่งออกยังสามารถขยายตัวได้ดี แม้จะไม่ร้อนแรงเท่ากับปีที่ผ่านมา
ส่วนกรณีราคาข้าวที่ปรับตัวสูงขึ้น สืบเนื่องจากปริมาณสำรองข้าวของโลกที่ลดลงจากเดิม 140 ล้านตัน เหลือเพียง 60 ล้านตัน โดยจีนลดลงจากเดิม 96 ล้านตัน เหลือ 30 ล้านตัน อินเดียลดลงจาก 29 ล้านตัน เหลือ 10 ล้านตัน ซึ่งคาดว่าต้องใช้เวลา 3-5 ปี เพื่อทำให้สต็อกข้าวโลกกลับมาเป็นปกติดังเดิม ดังนั้นราคาข้าวน่าจะทรงตัวในระดับสูงต่อไป
สำหรับตลาดหุ้นสหรัฐฯ คาดว่าจะเริ่มปรับตัวดีขึ้น แม้ปัญหาเรื่องสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพยังไม่จบ แต่ได้แก้ปัญหาไปมากแล้ว ประกอบกับภาคเอกชนที่ยังแข็งแกร่ง แต่อาจจะมีข่าวการเพิ่มทุนของสถาบันการเงินออกมาบ้าง
นายมนตรี กล่าวว่า การที่อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นจะช่วยสนับสนุนให้นักลงทุนหันมาลงทุนในตลาดหุ้นมากขึ้น เพราะให้ผลตอบแทนมากกว่าเงินฝาก ซึ่งนักลงทุนจำเป็นต้องมีการบริหารพอร์ตให้มีประสิทธิภาพ โดยหุ้นที่น่าสนใจได้แก่ กลุ่มธนาคาร พลังงานที่น่าจะผลการดำเนินงานดีขึ้น รวมถึงกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคในประเทศ ที่ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศ
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.นครหลวงไทย กล่าวว่า ขณะนี้ปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่กระทบต่อตลาดหุ้น โดยเฉพาะสัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นทั่วโลกได้ปรับตัวลดลง เนื่องจากความกังวลปัญหาเงินเฟ้อ
"เงินเฟ้อที่สูงขึ้นจะทำให้ต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการสูงขึ้น ขณะที่ผู้บริโภคจะต้องแบกรับภาระราคาสินค้าที่สูงขึ้นเช่นกัน แม้ว่ารัฐบาลพยายามเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน อาทิ มาตรการภาษี การอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ เพื่อให้ประชาชนมีกำลังซื้อมากขึ้น แต่ปัจจุบันกำลังถูกบันทอนด้วยปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น"
ทั้งนี้ ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 5.3% แต่ถือเป็นระดับที่ไม่น่ากังวลมากนัก เพราะคาดจะชะลอตัวในครึ่งปีหลัง เนื่องจากไทยไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงจากราคาอาหารมากนัก รวมถึงราคาน้ำมันจะปรับตัวลดลงได้บ้าง โดยประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวขึ้นสูงสุดในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน นี้ ขณะที่เฉลี่ยทั้งปีน่าจะอยู่ที่ประมาณ 4.5%
ขณะที่ทิศทางตลาดหุ้นมีแนวโน้มดีขึ้น หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีแนวโน้มจะตรึงอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าและมีเงินทุนไหลออกจากตลาดพันธบัตรและสินค้าโภคภัณฑ์เข้าสู่ตลาดหุ้น แม้วิกฤติการเงินในสหรัฐฯ ยังไม่จบ แต่ถือว่าผ่านจุดที่ทุกคนกลัวที่สุดไปแล้ว แม้นับจากนี้จะมีข่าวร้ายออกมาบ้าง แต่จะไม่กระทบกับตลาดหุ้นแรงเหมือนช่วงที่ผ่านมา
นายรณกฤต สาริณวงศ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.แอ๊ดคินซัน กล่าวว่า ราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 126 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล บวกกับเงินบาทที่อ่อนค่าลง หลังจากปัญหาซับไพรม์เริ่มคลี่คลายทำให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ทำให้ไทยต้องจ่ายเงินซื้อน้ำมันมากขึ้น ซึ่งจะปัจจัยสำคัญที่กดดันให้เงินเฟ้อสูงขึ้น โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นไปถึงระดับ 8-10%
สำหรับการเลือกหุ้นในช่วงนี้ควรเลือกเล่นเป็นรายตัวมากกว่าเป็นกลุ่ม ยกเว้นช่วงที่เงินทุนต่างชาติไหลเข้ามา โดยให้เลือกหุ้นที่มีอัตราการเติบโตดีที่สุดในกลุ่ม มีค่าพี/อีไม่สูงมากนัก ประมาณ 8-10 เท่า ไม่ควรเกินพี/อีตลาด และมีปันผลดีไม่ควรต่ำกว่า 5%
ตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้ไร้ปัจจัยบวก
นายวีระชัย ครองสามสี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.ฟาร์อีสท์ กล่าวถึง ทิศทางตลาดหุ้นสัปดาห์นี้ ว่า ตลาดหุ้นจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ แม้จะได้รับผลดีจากการประกาศผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน แต่จะได้รัอัตราเงินเฟ้อที่จะปรับตัวสูงขึ้น และส่งผลกระทบต้นทุนการผลิต และฉุดการเติบโตของเศรษฐกิจ
โดยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของดัชนีแนวรับที่ 840 จุด และแนวต้านที่ 855 จุด มีโอกาสที่ดัชนีจะทรงตัวหรืออ่อนค่า โดยกลุ่มเกษตรยังน่าสนใจจากราคาข้าวที่ปรับตัวสูงขึ้น จากปัญหาภัยพิบัติในพม่า เช่นเดียวถ่านหินที่ราคาปรับสูงขึ้น ทำให้บริษัทที่ประกอบธุรกิจถ่านหินยังคงน่าสนใจ ขณะที่กลุ่มน้ำมันเริ่มมีแรงเทขายออกมา ในระยะสั้นอาจจะอ่อนตัวลง แต่ในระยะกลางและระยะยาวยังได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ทรงตัวในระดับสูง
นายอภิสิทธิ์ ลิมศุภนาค ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.บีฟิท กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยยังถูกกดดันจากปัญหาการเมืองในประเทศเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมีเรื่องที่ต้องติดตาม คือ การเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร การสรรหาประธานสภาฯ และการยื่นขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงหรือไม่
ทั้งนี้ อีกประเด็นที่ต้องติดตามนอกจากการเมืองในประเทศ คือ ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับปัญหาเงินเฟ้อไปทั่วโลก เห็นได้จากอินโดนีเซียที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทำให้น้ำหนักที่หลายประเทศจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมีมากขึ้น หากราคาน้ำมันดิบยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังต้องติดตามการประกาศตัวเลข CPI ของสหรัฐฯ โดยประเมินกรอบดัชนีตลาดหุ้นไทยที่แนวรับ 830 จุด และแนวต้านที่ 855-860 จุด
ทีมวิเคราะห์ทางเทคนิคและกลยุทธ์การลงทุน บล.ไอร่า ประเมินว่า สัปดาห์นี้ยังมีแนวต้านที่สำคัญอยู่ที่ระดับ 850 จุด หากดัชนีไม่สามารถกลับขึ้นยืนเหนือ 850 จุด ดัชนีจะปรับตัวลงมาเคลื่อนไหวในกรอบ 828-840 จุด แต่หากยืนได้ก็จะปรับตัวขึ้นทดสอบ 856 จุดอีกครั้ง โดยประเด็นที่จะชี้การยืนได้อย่างมั่นคงของดัชนีบริเวณ 850-860 จุด คือ การซื้อสุทธิสะสมของนักลงทุนต่างประเทศ
นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง "ปรับพอร์ตการลงทุนรับเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง" ว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวดีขึ้นจากปีก่อน โดยมั่นใจว่าตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ หรือ GDP จะโตได้ถึง 6% เนื่องจากการบริโภคในประเทศและการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น รวมถึงการส่งออกยังสามารถขยายตัวได้ดี แม้จะไม่ร้อนแรงเท่ากับปีที่ผ่านมา
ส่วนกรณีราคาข้าวที่ปรับตัวสูงขึ้น สืบเนื่องจากปริมาณสำรองข้าวของโลกที่ลดลงจากเดิม 140 ล้านตัน เหลือเพียง 60 ล้านตัน โดยจีนลดลงจากเดิม 96 ล้านตัน เหลือ 30 ล้านตัน อินเดียลดลงจาก 29 ล้านตัน เหลือ 10 ล้านตัน ซึ่งคาดว่าต้องใช้เวลา 3-5 ปี เพื่อทำให้สต็อกข้าวโลกกลับมาเป็นปกติดังเดิม ดังนั้นราคาข้าวน่าจะทรงตัวในระดับสูงต่อไป
สำหรับตลาดหุ้นสหรัฐฯ คาดว่าจะเริ่มปรับตัวดีขึ้น แม้ปัญหาเรื่องสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพยังไม่จบ แต่ได้แก้ปัญหาไปมากแล้ว ประกอบกับภาคเอกชนที่ยังแข็งแกร่ง แต่อาจจะมีข่าวการเพิ่มทุนของสถาบันการเงินออกมาบ้าง
นายมนตรี กล่าวว่า การที่อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นจะช่วยสนับสนุนให้นักลงทุนหันมาลงทุนในตลาดหุ้นมากขึ้น เพราะให้ผลตอบแทนมากกว่าเงินฝาก ซึ่งนักลงทุนจำเป็นต้องมีการบริหารพอร์ตให้มีประสิทธิภาพ โดยหุ้นที่น่าสนใจได้แก่ กลุ่มธนาคาร พลังงานที่น่าจะผลการดำเนินงานดีขึ้น รวมถึงกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคในประเทศ ที่ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศ
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.นครหลวงไทย กล่าวว่า ขณะนี้ปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่กระทบต่อตลาดหุ้น โดยเฉพาะสัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นทั่วโลกได้ปรับตัวลดลง เนื่องจากความกังวลปัญหาเงินเฟ้อ
"เงินเฟ้อที่สูงขึ้นจะทำให้ต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการสูงขึ้น ขณะที่ผู้บริโภคจะต้องแบกรับภาระราคาสินค้าที่สูงขึ้นเช่นกัน แม้ว่ารัฐบาลพยายามเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน อาทิ มาตรการภาษี การอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ เพื่อให้ประชาชนมีกำลังซื้อมากขึ้น แต่ปัจจุบันกำลังถูกบันทอนด้วยปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น"
ทั้งนี้ ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 5.3% แต่ถือเป็นระดับที่ไม่น่ากังวลมากนัก เพราะคาดจะชะลอตัวในครึ่งปีหลัง เนื่องจากไทยไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงจากราคาอาหารมากนัก รวมถึงราคาน้ำมันจะปรับตัวลดลงได้บ้าง โดยประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวขึ้นสูงสุดในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน นี้ ขณะที่เฉลี่ยทั้งปีน่าจะอยู่ที่ประมาณ 4.5%
ขณะที่ทิศทางตลาดหุ้นมีแนวโน้มดีขึ้น หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีแนวโน้มจะตรึงอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าและมีเงินทุนไหลออกจากตลาดพันธบัตรและสินค้าโภคภัณฑ์เข้าสู่ตลาดหุ้น แม้วิกฤติการเงินในสหรัฐฯ ยังไม่จบ แต่ถือว่าผ่านจุดที่ทุกคนกลัวที่สุดไปแล้ว แม้นับจากนี้จะมีข่าวร้ายออกมาบ้าง แต่จะไม่กระทบกับตลาดหุ้นแรงเหมือนช่วงที่ผ่านมา
นายรณกฤต สาริณวงศ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.แอ๊ดคินซัน กล่าวว่า ราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 126 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล บวกกับเงินบาทที่อ่อนค่าลง หลังจากปัญหาซับไพรม์เริ่มคลี่คลายทำให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ทำให้ไทยต้องจ่ายเงินซื้อน้ำมันมากขึ้น ซึ่งจะปัจจัยสำคัญที่กดดันให้เงินเฟ้อสูงขึ้น โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นไปถึงระดับ 8-10%
สำหรับการเลือกหุ้นในช่วงนี้ควรเลือกเล่นเป็นรายตัวมากกว่าเป็นกลุ่ม ยกเว้นช่วงที่เงินทุนต่างชาติไหลเข้ามา โดยให้เลือกหุ้นที่มีอัตราการเติบโตดีที่สุดในกลุ่ม มีค่าพี/อีไม่สูงมากนัก ประมาณ 8-10 เท่า ไม่ควรเกินพี/อีตลาด และมีปันผลดีไม่ควรต่ำกว่า 5%
ตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้ไร้ปัจจัยบวก
นายวีระชัย ครองสามสี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.ฟาร์อีสท์ กล่าวถึง ทิศทางตลาดหุ้นสัปดาห์นี้ ว่า ตลาดหุ้นจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ แม้จะได้รับผลดีจากการประกาศผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน แต่จะได้รัอัตราเงินเฟ้อที่จะปรับตัวสูงขึ้น และส่งผลกระทบต้นทุนการผลิต และฉุดการเติบโตของเศรษฐกิจ
โดยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของดัชนีแนวรับที่ 840 จุด และแนวต้านที่ 855 จุด มีโอกาสที่ดัชนีจะทรงตัวหรืออ่อนค่า โดยกลุ่มเกษตรยังน่าสนใจจากราคาข้าวที่ปรับตัวสูงขึ้น จากปัญหาภัยพิบัติในพม่า เช่นเดียวถ่านหินที่ราคาปรับสูงขึ้น ทำให้บริษัทที่ประกอบธุรกิจถ่านหินยังคงน่าสนใจ ขณะที่กลุ่มน้ำมันเริ่มมีแรงเทขายออกมา ในระยะสั้นอาจจะอ่อนตัวลง แต่ในระยะกลางและระยะยาวยังได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ทรงตัวในระดับสูง
นายอภิสิทธิ์ ลิมศุภนาค ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.บีฟิท กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยยังถูกกดดันจากปัญหาการเมืองในประเทศเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมีเรื่องที่ต้องติดตาม คือ การเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร การสรรหาประธานสภาฯ และการยื่นขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงหรือไม่
ทั้งนี้ อีกประเด็นที่ต้องติดตามนอกจากการเมืองในประเทศ คือ ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับปัญหาเงินเฟ้อไปทั่วโลก เห็นได้จากอินโดนีเซียที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทำให้น้ำหนักที่หลายประเทศจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมีมากขึ้น หากราคาน้ำมันดิบยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังต้องติดตามการประกาศตัวเลข CPI ของสหรัฐฯ โดยประเมินกรอบดัชนีตลาดหุ้นไทยที่แนวรับ 830 จุด และแนวต้านที่ 855-860 จุด
ทีมวิเคราะห์ทางเทคนิคและกลยุทธ์การลงทุน บล.ไอร่า ประเมินว่า สัปดาห์นี้ยังมีแนวต้านที่สำคัญอยู่ที่ระดับ 850 จุด หากดัชนีไม่สามารถกลับขึ้นยืนเหนือ 850 จุด ดัชนีจะปรับตัวลงมาเคลื่อนไหวในกรอบ 828-840 จุด แต่หากยืนได้ก็จะปรับตัวขึ้นทดสอบ 856 จุดอีกครั้ง โดยประเด็นที่จะชี้การยืนได้อย่างมั่นคงของดัชนีบริเวณ 850-860 จุด คือ การซื้อสุทธิสะสมของนักลงทุนต่างประเทศ