นักวิเคราะห์ คาดการณ์ตลาดหุ้นไทยเดือนพ.ค.กระเตื้องตามผลประกอบการไตรมาสแรกของบริษัทจดทะเบียน บวกกับแนวโน้มราคาน้ำมัน โดยมีกรอบการเคลื่อนไหวอยู่ที่ 800-865 จุด ขณะที่เดือนเม.ย.ที่ผ่านมา วอลุ่มซื้อขายคึกคัก แม้เจอเทศกาลหยุดยาว ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น 15 จุด มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยวันละเกือบ 2 หมื่นล้าน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ากว่า 3 พันล้านบาท
บรรยากาศการลงทุนในเดือนเมษายนของทุกปี นับเป็นเดือนที่มีมูลค่าการซื้อขายค่อนข้างซบเซา เนื่องจากมีเทศกาลวันหยุดยาว โดยเฉพาะเทศกาลวันสงกรานต์ที่หยุดติดต่อกันถึง 4-5 วัน แต่ปรากฏว่า ในเดือนเมษายน 51 นี้ มูลค่าการซื้อขายกลับคึกคัก มีนักลงทุนเข้ามาลงทุนเป็นจำนวนมาก แม้ว่าช่วงต้นเดือนจะมีมูลค่าการซื้อขายค่อนข้างเงียบเหงา
ผู้จัดการรายวัน ได้สำรวจภาวะการลงทุนตลาดหุ้นไทยในเดือนเมษายน 51 ดัชนีปิดที่ 832.45 จุด ปรับเพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนมีนาคมถึง 15.42 จุด คิดเป็น 1.89% โดยระหว่างเดือนได้ปรับตัวขึ้นไปสูงสุดที่ 850.02 จุด (22 เม.ย.) ต่ำสุดที่ 820.98 จุด (10 เม.ย.) ด้วยมูลค่าการซื้อขายรวม 370,630.41 ล้านบาท เฉลี่ยวันละ 19,506.86 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,908.60 ล้านบาท จากเดือนมีนาคมที่มีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 16,598.26 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 583.35 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 65.12 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 648.47 ล้านบาท
หากพิจารณารายกลุ่มอุตสาหกรรมพบว่า ดัชนีกลุ่มอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยอันดับหนึ่งคือ กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม ดัชนีปิดที่ 86.92 จุด ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 5.36 จุด หรือ 6.57% กลุ่มทรัพยากร ดัชนีปิดที่ 178.54 จุด ปรับเพิ่มขึ้น 8.76 จุด หรือ 5.16% และอันดับสามกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ดัชนีปิดที่ 136.46 จุด ปรับเพิ่มขึ้น 3.33 จุด หรือ 2.50%
ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลง 4 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ดัชนีปิดที่ 88.08 จุด ปรับลดลง 0.88 จุด หรือ 0.99% กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ดัชนีปิดที่ 71.06 จุด ปรับลดลง 0.31 จุด หรือ 0.43% กลุ่มบริการ ดัชนีปิดที่ 114.11 จุด ปรับลดลง 0.14 จุด หรือ 0.12% และกลุ่มเทคโนโลยี ดัชนีปิดที่ 86.82 จุด ปรับลดลง 3.81 จุด หรือ 4.20%
นายอดิศักดิ์ คำมูล ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ภาพรวมตลาดหุ้นไทยในเดือนเมษายนดีขึ้นจากเดือนมีนาคม แต่นับเป็นเดือนที่ผันผวนมากเดือนหนึ่ง โดยดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น 15.42 จุด หรือ 1.89% ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเกือบ 3 พันล้านบาท เนื่องจากมีแรงซื้อเข้ามาในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ เพื่อหวังผลประกอบการประจำไตรมาสแรก แต่หลังจากผลประกอบการที่ประกาศออกมาดีตามที่คาดการณ์ไว้ จึงมีแรงเทขายทำกำไรออกมาบางส่วน
"ปัจจัยที่ส่งผลต่อตลาดหุ้นไทยในเดือนเมษายนมากที่สุดคือ การประกาศผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน มากกว่าปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ และปัญหาการเมืองภายในประเทศ"
สำหรับทิศทางตลาดหุ้นไทยเดือนพฤษภาคม 50 นี้ คาดว่าในช่วงครึ่งเดือนแรกตลาดหุ้นไทยจะยังคงรับรู้ปัจจัยจากการรายงานผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งการปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงคงเป็นรายตัวตามผลประกอบการที่จะทยอยแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ
ขณะที่ในช่วงครึ่งเดือนหลังนั้น ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะกลับมามีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยอีกครั้ง รวมถึงแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและราคาน้ำมันดิบ ขณะเดียวกันให้ติดตามตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือนเมษายนที่จะประกาศออกมา หากอ่อนตัวลงจะส่งผลดีกับตลาดหุ้น รวมถึงอาจเป็นช่องทางให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอนาคตได้ โดยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของดัชนีที่ 805-865 จุด กลยุทธ์ขึ้นซื้อลงขาย โดยกลุ่มที่น่าสนใจได้แก่ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มธนาคาร และกลุ่มพลังงาน
ด้านนักวิเคราะห์ทางเทคนิคและกลยุทธ์การลงทุน บล.ไอร่า กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นในรอบเดือนที่ผ่านมาหลังจากที่กลุ่ม Domestic Play อย่างกลุ่มธนาคาร อสังหาริมทรัพย์ ปรับขึ้นต่อเนื่องจากก่อนหน้านี้ และพาดัชนีขึ้นจากบริเวณ 800 จุดขึ้นมาทดสอบแนวต้านบริเวณ 830 จุด แต่ไม่สามารถผ่านขึ้นไปได้
ขณะที่ช่วงวันหยุดยาวสงกรานต์ ราคาน้ำมันดิบ Nymex ปรับตัวเพิ่มขึ้นทะลุ 112 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ทำให้เปิดตลาดหลังสงกรานต์ หุ้นกลุ่มน้ำมันปรับตัวขึ้นมานำดัชนีฝ่าแนวต้าน 830 จุดขึ้นทดสอบแนวต้าน 850 จุด แต่ไม่สามารถผ่านขึ้นไปได้ ซึ่งเป็นจังหวะที่กลุ่มธนาคารและกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เริ่มปรับฐานลง
ขณะเดียวกันความผันผวนในตลาดน้ำมันดิบจากกระแสเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นระลอกแรก รวมถึงการทดสอบแนวต้านจิตวิทยาบริเวณ 120 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล กดดันราคาน้ำมันดิบ Nymex ร่วงลงบริเวณ 114 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ก่อนจะดีดตัวขึ้นจากข่าวการก่อวินาศกรรมท่อน้ำมันในไนจีเรียและการสไตรค์ปิดโรงกลั่นในสก็อตแลนด์ขึ้นทดสอบ 120 ดอลลาร์อีกครั้ง และอ่อนตัวลงในที่สุดจากกระแสดอลลาร์แข็งค่าจากแนวโน้มการตรึงอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ส่งผลให้หุ้นน้ำมันผันผวนตาม ขณะที่กลุ่มธนาคาร อสังหาริมทรัพย์ปรับฐานตลอด ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยไม่สามารถผ่านแนวต้าน 850-860 จุดไปได้ ปรับตัวลงมาทดสอบบริเวณแนวรับเส้น SMA 200 วัน ที่ 828 จุด โดยทำจุดต่ำสุดไว้ที่ 832 จุด
สำหรับการเคลื่อนไหวในเดือนพ.ค.นั้น หากหุ้นกลุ่มน้ำมันไม่อ่อนตัวลงมาก บวกกับหุ้นกลุ่มธนาคาร และอสังหาริมทรัพย์ ที่ได้ปรับฐานมาพอสมควรแล้ว คาดว่าดัชนีพร้อมจะดีดกลับขึ้นไปที่ 850 จุดอีกรอบ แต่หากแนวโน้มดอลลาร์แข็งค่ากดดันให้หุ้นกลุ่มน้ำมันปรับฐานตาม บริษัทประเมินกรอบล่างในการฟอร์มไหล่ขวาไว้ที่ 800-828 จุด จนกว่าการปรับฐานของทั้งสองกลุ่มเสร็จสิ้นก็พร้อมจะกลับตัวขึ้นอีกรอบรับกระแส Fund Flow ที่อาจไหลเข้ามาในประเทศไทยจากการลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด
บรรยากาศการลงทุนในเดือนเมษายนของทุกปี นับเป็นเดือนที่มีมูลค่าการซื้อขายค่อนข้างซบเซา เนื่องจากมีเทศกาลวันหยุดยาว โดยเฉพาะเทศกาลวันสงกรานต์ที่หยุดติดต่อกันถึง 4-5 วัน แต่ปรากฏว่า ในเดือนเมษายน 51 นี้ มูลค่าการซื้อขายกลับคึกคัก มีนักลงทุนเข้ามาลงทุนเป็นจำนวนมาก แม้ว่าช่วงต้นเดือนจะมีมูลค่าการซื้อขายค่อนข้างเงียบเหงา
ผู้จัดการรายวัน ได้สำรวจภาวะการลงทุนตลาดหุ้นไทยในเดือนเมษายน 51 ดัชนีปิดที่ 832.45 จุด ปรับเพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนมีนาคมถึง 15.42 จุด คิดเป็น 1.89% โดยระหว่างเดือนได้ปรับตัวขึ้นไปสูงสุดที่ 850.02 จุด (22 เม.ย.) ต่ำสุดที่ 820.98 จุด (10 เม.ย.) ด้วยมูลค่าการซื้อขายรวม 370,630.41 ล้านบาท เฉลี่ยวันละ 19,506.86 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,908.60 ล้านบาท จากเดือนมีนาคมที่มีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 16,598.26 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 583.35 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 65.12 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 648.47 ล้านบาท
หากพิจารณารายกลุ่มอุตสาหกรรมพบว่า ดัชนีกลุ่มอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยอันดับหนึ่งคือ กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม ดัชนีปิดที่ 86.92 จุด ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 5.36 จุด หรือ 6.57% กลุ่มทรัพยากร ดัชนีปิดที่ 178.54 จุด ปรับเพิ่มขึ้น 8.76 จุด หรือ 5.16% และอันดับสามกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ดัชนีปิดที่ 136.46 จุด ปรับเพิ่มขึ้น 3.33 จุด หรือ 2.50%
ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลง 4 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ดัชนีปิดที่ 88.08 จุด ปรับลดลง 0.88 จุด หรือ 0.99% กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ดัชนีปิดที่ 71.06 จุด ปรับลดลง 0.31 จุด หรือ 0.43% กลุ่มบริการ ดัชนีปิดที่ 114.11 จุด ปรับลดลง 0.14 จุด หรือ 0.12% และกลุ่มเทคโนโลยี ดัชนีปิดที่ 86.82 จุด ปรับลดลง 3.81 จุด หรือ 4.20%
นายอดิศักดิ์ คำมูล ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ภาพรวมตลาดหุ้นไทยในเดือนเมษายนดีขึ้นจากเดือนมีนาคม แต่นับเป็นเดือนที่ผันผวนมากเดือนหนึ่ง โดยดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น 15.42 จุด หรือ 1.89% ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเกือบ 3 พันล้านบาท เนื่องจากมีแรงซื้อเข้ามาในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ เพื่อหวังผลประกอบการประจำไตรมาสแรก แต่หลังจากผลประกอบการที่ประกาศออกมาดีตามที่คาดการณ์ไว้ จึงมีแรงเทขายทำกำไรออกมาบางส่วน
"ปัจจัยที่ส่งผลต่อตลาดหุ้นไทยในเดือนเมษายนมากที่สุดคือ การประกาศผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน มากกว่าปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ และปัญหาการเมืองภายในประเทศ"
สำหรับทิศทางตลาดหุ้นไทยเดือนพฤษภาคม 50 นี้ คาดว่าในช่วงครึ่งเดือนแรกตลาดหุ้นไทยจะยังคงรับรู้ปัจจัยจากการรายงานผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งการปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงคงเป็นรายตัวตามผลประกอบการที่จะทยอยแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ
ขณะที่ในช่วงครึ่งเดือนหลังนั้น ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะกลับมามีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยอีกครั้ง รวมถึงแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและราคาน้ำมันดิบ ขณะเดียวกันให้ติดตามตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือนเมษายนที่จะประกาศออกมา หากอ่อนตัวลงจะส่งผลดีกับตลาดหุ้น รวมถึงอาจเป็นช่องทางให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอนาคตได้ โดยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของดัชนีที่ 805-865 จุด กลยุทธ์ขึ้นซื้อลงขาย โดยกลุ่มที่น่าสนใจได้แก่ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มธนาคาร และกลุ่มพลังงาน
ด้านนักวิเคราะห์ทางเทคนิคและกลยุทธ์การลงทุน บล.ไอร่า กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นในรอบเดือนที่ผ่านมาหลังจากที่กลุ่ม Domestic Play อย่างกลุ่มธนาคาร อสังหาริมทรัพย์ ปรับขึ้นต่อเนื่องจากก่อนหน้านี้ และพาดัชนีขึ้นจากบริเวณ 800 จุดขึ้นมาทดสอบแนวต้านบริเวณ 830 จุด แต่ไม่สามารถผ่านขึ้นไปได้
ขณะที่ช่วงวันหยุดยาวสงกรานต์ ราคาน้ำมันดิบ Nymex ปรับตัวเพิ่มขึ้นทะลุ 112 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ทำให้เปิดตลาดหลังสงกรานต์ หุ้นกลุ่มน้ำมันปรับตัวขึ้นมานำดัชนีฝ่าแนวต้าน 830 จุดขึ้นทดสอบแนวต้าน 850 จุด แต่ไม่สามารถผ่านขึ้นไปได้ ซึ่งเป็นจังหวะที่กลุ่มธนาคารและกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เริ่มปรับฐานลง
ขณะเดียวกันความผันผวนในตลาดน้ำมันดิบจากกระแสเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นระลอกแรก รวมถึงการทดสอบแนวต้านจิตวิทยาบริเวณ 120 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล กดดันราคาน้ำมันดิบ Nymex ร่วงลงบริเวณ 114 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ก่อนจะดีดตัวขึ้นจากข่าวการก่อวินาศกรรมท่อน้ำมันในไนจีเรียและการสไตรค์ปิดโรงกลั่นในสก็อตแลนด์ขึ้นทดสอบ 120 ดอลลาร์อีกครั้ง และอ่อนตัวลงในที่สุดจากกระแสดอลลาร์แข็งค่าจากแนวโน้มการตรึงอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ส่งผลให้หุ้นน้ำมันผันผวนตาม ขณะที่กลุ่มธนาคาร อสังหาริมทรัพย์ปรับฐานตลอด ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยไม่สามารถผ่านแนวต้าน 850-860 จุดไปได้ ปรับตัวลงมาทดสอบบริเวณแนวรับเส้น SMA 200 วัน ที่ 828 จุด โดยทำจุดต่ำสุดไว้ที่ 832 จุด
สำหรับการเคลื่อนไหวในเดือนพ.ค.นั้น หากหุ้นกลุ่มน้ำมันไม่อ่อนตัวลงมาก บวกกับหุ้นกลุ่มธนาคาร และอสังหาริมทรัพย์ ที่ได้ปรับฐานมาพอสมควรแล้ว คาดว่าดัชนีพร้อมจะดีดกลับขึ้นไปที่ 850 จุดอีกรอบ แต่หากแนวโน้มดอลลาร์แข็งค่ากดดันให้หุ้นกลุ่มน้ำมันปรับฐานตาม บริษัทประเมินกรอบล่างในการฟอร์มไหล่ขวาไว้ที่ 800-828 จุด จนกว่าการปรับฐานของทั้งสองกลุ่มเสร็จสิ้นก็พร้อมจะกลับตัวขึ้นอีกรอบรับกระแส Fund Flow ที่อาจไหลเข้ามาในประเทศไทยจากการลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด