ผู้จัดการรายวัน - ตลาดหุ้นไทยยังมืดมนหลังนักลงทุนต่างชาติเริ่มเทขายหนักขึ้น เหตุจากปัจจัยในประเทศรบกวนจิตวิทยาในการลงทุนไม่หยุด สัปดาห์นี้จับตาการพิจารณาคดียุบ"ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" และการขึ้นศาลครั้งแรกของ "พ.ต.ท.ทักษิณ" โบรกเกอร์เชื่อนักลงทุนโยกเล่นหุ้นขนาดกลางหลังเห็นสัญญาณต่างชาติถอดใจรอการเมืองชัดเจนก่อน ฟันธงเกิดปัญหาแน่หากตัดสินยุบพรรคแน่ พร้อมแนะนำให้ถือเงินสด ด้านบล.ไอร่า ชี้ปัญหา "Stagflation" น่ากลัวกว่าซับไพรม์หลายเท่า
สถานการณ์การลงทุนในตลาดหุ้นไทย ยังตกอยู่ในภาวะอึมครึมจากปัจจัยลบต่างประเทศ โดยเฉพาะผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ที่ยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ส่งผลให้กำไรสุทธิลดฮวบจากปีที่ผ่านมา รวมถึงคำแถลงของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ส่งสัญญาณที่ชัดเจนว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะยังคงเดินหน้าเข้าสู่สภาวะถดถอย
ขณะที่ปัจจัยลบในประเทศแม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีความชัดเจนเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาล การแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี แต่ดูเหมือนว่าประเด็นดังกล่าวยังไม่สามารถถูกกำจัดให้หมดไปได้ เนื่องจากยังมีคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการทุจริตการเลือกตั้ง ซึ่งในสัปดาห์นี้จะมีการพิจารณาคดีทุจริตของกรรมการบริหารพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ในวันที่ 11 มี.ค.นี้ ซึ่งเรื่องดังกล่าวจะมีการพิจารณาว่าจะนำไปสู่การตัดสินยุบพรรคหรือไม่
การพิจารณาคดีทุจริตการเลือกตั้งของทั้ง 2 พรรค อาจจะถูกนำไปใช้เป็นบรรทัดฐานในการพิจารณากรณีนายยงยุทธ ติยะไพรัช รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชนในอนาคตได้ รวมถึงประเด็นสำคัญคือ การขึ้นศาลครั้งแรกของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในคดีทุจริตซื้อดินรัชดาภิเษก
จากการสำรวจปริมาณการซื้อขายในช่วงที่ผ่านมา พบว่า นักลงทุนต่างประเทศมีสัญญาณการชะลอการลงทุนที่ชัดเจน คือ ตั้งแต่วันที่ 3 มี.ค.- 7 มี.ค. 51 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิถึง 4,736.91 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 2,189.43 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 6,926.34 ล้านบาท
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ นครหลวงไทย จำกัด กล่าวว่า ปัจจัยการเมืองในประเทศยังเป็นประเด็นที่กดดันต่อความมั่นใจในการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ โดยที่ผ่านมาจะเริ่มเห็นการชะลอการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นทั่วภูมิภาคเอเชีย
ทั้งนี้ ช่วงระยะสั้นๆ หลังจากนี้เชื่อว่าหุ้นขนาดใหญ่โดยเฉพาะในกลุ่มพลังงาน และกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่เคยได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติอาจจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนกลุ่มลงทุน โดยกลุ่มหุ้นที่ขนาดเล็กลงอาจจะกลายเป็นกลุ่มที่กลับมาได้รับความสนใจมากขึ้น
"นักลงทุนต่างชาติไม่ได้หยุดการซื้อขายในตลาดหุ้นไทยเพียงที่เดียว แต่เริ่มชะลอการลงทุนทั่วตลาดหุ้นในเอเชีย หลังจากนี้คงจะได้เห็นหุ้นขนาดกลางกลับมาได้รับความสนใจมากขึ้น" นายสุกิจ กล่าว
วิตกการเมือง-ลุ้นผลยุบพรรค
นายอภิสิทธิ์ ลิมป์ธำรงกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เกียรตินาคิน กล่าวว่า มูลค่าการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ลดลงเป็นผลมาจากความกังวลจากการปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดดาวโจนส์จากผลกระทบครั้งใหญ่ของปัญหาซับไพรม์ โดยตัวเลขการฟ้องยึดหลักประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัยในไตรมาส 4/50 เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ยิ่งเพิ่มความวิตกกังวลต่อสภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มากยิ่งขึ้น จึงทำให้มีแรงขายออกมาในตลาดหุ้นทั่วโลก
ส่วนแนวโน้มการลงทุนในสัปดาห์นี้ ตลาดหุ้นจะยังตกอยู่ในสาภวะซบเซาและยังมีแนวโน้มที่ดัชนีจะปรับตัวลดลง เนื่องจากปัจจัยลบทั้งในประเทศและจากต่างประเทศจะเป็นแรงกดดันทางจิตวิทยา โดยประเด็นที่ต้องติดตามคือ ปัญหาการเมืองเกี่ยวกับคดีทุจริตการเลือกตั้งของนายยงยุทธ ติยะไพรัช และคดียุบพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย รวมถึงการเคลื่อนไหวต่อต้านของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ไม่พอใจการโยกย้ายตำแหน่งข้าราชการ โดยบริษัทแนะนำให้ขายหุ้นเพื่อถือเงินสดเพื่อลดความเสี่ยงโดยให้แนวรับ 800 จุด แนวต้าน 830 จุด
แหล่งข่าวนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า ในสัปดาห์นี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็นจุดตัดสินใจของนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนหรือชะลอการลงทุนในตลาดหุ้น เนื่องจากมีหลายประเด็นที่นักลงทุนยังต้องติดตามโดยเฉพาะคดีทางการเมืองที่จะพิจารณาตัดสินคดีทุจริตการเลือกตั้งและอาจนำไปสู่การยุบพรรคการเมือง
ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศที่ต้องกังวลต่อการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ แล้ว ประเด็นเรื่องราคาน้ำมันอาจจะปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งหากเป็นไปดังที่คาดการณ์อาจจะส่งผลกระทบต่อปัญหาเงินเฟ้อในหลายประเทศเนื่องจากราคาสินค้าอาจจะต้องปรับเพิ่มขึ้นจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
"ค่อนข้างน่าเป็นห่วงว่าตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไร เพราะยังมีอีกหลายเรื่องให้ติดตามโดยเฉพาะประเด็นทางการเมืองซึ่งหากมีคำตัดสินให้ยุบพรรคอาจจะนำไปสู่ปัญหาใหญ่ของประเทศอีกครั้ง" แหล่งข่าวกล่าว
คาดหุ้นรูดแตะ 790 จุด
นายสมพงษ์ เบญจเทพานันท์ ผู้อำนวยการสายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ไอร่า กล่าวว่า ราคาน้ำมันที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูงยังเป็นปัจจัยลบที่กดดันให้ตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้อยู่ในช่วงขาลง โดยดัชนีอาจปรับลดลงมาแตะที่ระดับ 790 จุด ในทางกลับกันหากราคาน้ำมันลดลงมาอยู่ที่ระดับ 90 ดอลลาร์/บาร์เรล และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมีรูปธรรมมากขึ้น ตลาดหุ้นพร้อมจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน และหากไม่มีปัจจัยลบที่รุนแรงตลาดหุ้นไทยมีโอกาสปรับตัวแตะ 990 จุดได้
สำหรับหุ้นที่มีแนวโน้มสดใสในปีนี้ อาทิ หุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ และอสังหาริมทรัพย์ ที่จะได้รับประโยชย์จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ทั้งการเดินหน้าโครงการเมกะโปรเจกต์ มาตรการด้านภาษี และการลดอัตราดอกเบี้ย ขณะที่หุ้นกลุ่มพลังงาน น่าจะอยู่ระหว่างการปรับฐาน เพราะได้รับผลกระทบจากการปรับพอร์ตของนักลงทุนต่างประเทศ
Stagflation ไวรัสพันธุ์ใหม่
นายนิพนธ์ สุวรรณประสิทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.ไอร่า จำกัด (มหาชน) กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง "กลยุทธ์การลงทุนภายใต้สภาวะ Stagflation" ว่า ในอนาคตนักลงทุนจะได้ยินศัพท์ทางการเงิน "Stagflation" ซึ่งหากเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจจะมีผลกระทบและอานุภาพการทำลายล้างสูงกว่าวิกฤตซับไพรม์หลายเท่า
ทั้งนี้ Stagflation คือสภาวะเงินเฟ้อทรงตัวอยู่ในระดับสูง ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวลง คนมีรายได้น้อย ตกงาน ราคาสินค้าแพง แต่ผู้ผลิตจำเป็นต้องหยุดการผลิต เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทำให้สินค้าขาดแคลนและราคาสินค้าสูงขึ้นอีก มีเงินเฟ้อตามมา คนมีรายได้น้อยลง จนเกิดภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ
"Stagflation เปรียบเหมือนไวรัสในระบบเศรษฐกิจ ที่ไม่มีมาตรการแก้ไขได้ในระยะสั้น เหมือนกับเป็นไวรัสไม่มียารักษา แต่จะหายไปเอง ขณะที่ความรุนแรงจะมากน้อยเพียงใดหรือจะใช้ระยะเวลาเยียวยานานหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงทางด้านเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ"
นายนิพนธ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ตกอยู่ในภาวะ Stagflation หรือไม่ แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวและอาจถึงขั้นถดถอย มีความเสี่ยงที่จะเกิดเงินเฟ้อได้ หลังจากราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงเป็นประวัติการณ์ รวมถึงอัตราการว่างงานสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ปัจจุบันผลกระทบจากราคาน้ำมันยังไม่ได้ส่งสัญญาณที่ชัดเจนต่อปัญหาเงินเฟ้อมากนัก
ส่วนประเทศไทยมีโอกาสจะเกิด Stagflation น้อย เพราะเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาขึ้น หลังจากทรงตัวอยู่หลายปี ไม่มีภาวะเงินเฟ้อ และอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ ยกเว้นเกิดเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมืองจนทำให้รัฐบาลไม่สามารถดำเนินนโยบายต่างๆ ได้ ขณะที่ปัจจัยที่ต้องระมัดระวังคือ มาตรการควบคุมการเก็งกำไรในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่อาจจะก่อให้เกิดปัญหาซับไพรม์เหมือนที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ
สถานการณ์การลงทุนในตลาดหุ้นไทย ยังตกอยู่ในภาวะอึมครึมจากปัจจัยลบต่างประเทศ โดยเฉพาะผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ที่ยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ส่งผลให้กำไรสุทธิลดฮวบจากปีที่ผ่านมา รวมถึงคำแถลงของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ส่งสัญญาณที่ชัดเจนว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะยังคงเดินหน้าเข้าสู่สภาวะถดถอย
ขณะที่ปัจจัยลบในประเทศแม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีความชัดเจนเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาล การแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี แต่ดูเหมือนว่าประเด็นดังกล่าวยังไม่สามารถถูกกำจัดให้หมดไปได้ เนื่องจากยังมีคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการทุจริตการเลือกตั้ง ซึ่งในสัปดาห์นี้จะมีการพิจารณาคดีทุจริตของกรรมการบริหารพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ในวันที่ 11 มี.ค.นี้ ซึ่งเรื่องดังกล่าวจะมีการพิจารณาว่าจะนำไปสู่การตัดสินยุบพรรคหรือไม่
การพิจารณาคดีทุจริตการเลือกตั้งของทั้ง 2 พรรค อาจจะถูกนำไปใช้เป็นบรรทัดฐานในการพิจารณากรณีนายยงยุทธ ติยะไพรัช รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชนในอนาคตได้ รวมถึงประเด็นสำคัญคือ การขึ้นศาลครั้งแรกของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในคดีทุจริตซื้อดินรัชดาภิเษก
จากการสำรวจปริมาณการซื้อขายในช่วงที่ผ่านมา พบว่า นักลงทุนต่างประเทศมีสัญญาณการชะลอการลงทุนที่ชัดเจน คือ ตั้งแต่วันที่ 3 มี.ค.- 7 มี.ค. 51 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิถึง 4,736.91 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 2,189.43 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 6,926.34 ล้านบาท
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ นครหลวงไทย จำกัด กล่าวว่า ปัจจัยการเมืองในประเทศยังเป็นประเด็นที่กดดันต่อความมั่นใจในการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ โดยที่ผ่านมาจะเริ่มเห็นการชะลอการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นทั่วภูมิภาคเอเชีย
ทั้งนี้ ช่วงระยะสั้นๆ หลังจากนี้เชื่อว่าหุ้นขนาดใหญ่โดยเฉพาะในกลุ่มพลังงาน และกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่เคยได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติอาจจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนกลุ่มลงทุน โดยกลุ่มหุ้นที่ขนาดเล็กลงอาจจะกลายเป็นกลุ่มที่กลับมาได้รับความสนใจมากขึ้น
"นักลงทุนต่างชาติไม่ได้หยุดการซื้อขายในตลาดหุ้นไทยเพียงที่เดียว แต่เริ่มชะลอการลงทุนทั่วตลาดหุ้นในเอเชีย หลังจากนี้คงจะได้เห็นหุ้นขนาดกลางกลับมาได้รับความสนใจมากขึ้น" นายสุกิจ กล่าว
วิตกการเมือง-ลุ้นผลยุบพรรค
นายอภิสิทธิ์ ลิมป์ธำรงกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เกียรตินาคิน กล่าวว่า มูลค่าการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ลดลงเป็นผลมาจากความกังวลจากการปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดดาวโจนส์จากผลกระทบครั้งใหญ่ของปัญหาซับไพรม์ โดยตัวเลขการฟ้องยึดหลักประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัยในไตรมาส 4/50 เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ยิ่งเพิ่มความวิตกกังวลต่อสภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มากยิ่งขึ้น จึงทำให้มีแรงขายออกมาในตลาดหุ้นทั่วโลก
ส่วนแนวโน้มการลงทุนในสัปดาห์นี้ ตลาดหุ้นจะยังตกอยู่ในสาภวะซบเซาและยังมีแนวโน้มที่ดัชนีจะปรับตัวลดลง เนื่องจากปัจจัยลบทั้งในประเทศและจากต่างประเทศจะเป็นแรงกดดันทางจิตวิทยา โดยประเด็นที่ต้องติดตามคือ ปัญหาการเมืองเกี่ยวกับคดีทุจริตการเลือกตั้งของนายยงยุทธ ติยะไพรัช และคดียุบพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย รวมถึงการเคลื่อนไหวต่อต้านของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ไม่พอใจการโยกย้ายตำแหน่งข้าราชการ โดยบริษัทแนะนำให้ขายหุ้นเพื่อถือเงินสดเพื่อลดความเสี่ยงโดยให้แนวรับ 800 จุด แนวต้าน 830 จุด
แหล่งข่าวนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า ในสัปดาห์นี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็นจุดตัดสินใจของนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนหรือชะลอการลงทุนในตลาดหุ้น เนื่องจากมีหลายประเด็นที่นักลงทุนยังต้องติดตามโดยเฉพาะคดีทางการเมืองที่จะพิจารณาตัดสินคดีทุจริตการเลือกตั้งและอาจนำไปสู่การยุบพรรคการเมือง
ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศที่ต้องกังวลต่อการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ แล้ว ประเด็นเรื่องราคาน้ำมันอาจจะปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งหากเป็นไปดังที่คาดการณ์อาจจะส่งผลกระทบต่อปัญหาเงินเฟ้อในหลายประเทศเนื่องจากราคาสินค้าอาจจะต้องปรับเพิ่มขึ้นจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
"ค่อนข้างน่าเป็นห่วงว่าตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไร เพราะยังมีอีกหลายเรื่องให้ติดตามโดยเฉพาะประเด็นทางการเมืองซึ่งหากมีคำตัดสินให้ยุบพรรคอาจจะนำไปสู่ปัญหาใหญ่ของประเทศอีกครั้ง" แหล่งข่าวกล่าว
คาดหุ้นรูดแตะ 790 จุด
นายสมพงษ์ เบญจเทพานันท์ ผู้อำนวยการสายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ไอร่า กล่าวว่า ราคาน้ำมันที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูงยังเป็นปัจจัยลบที่กดดันให้ตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้อยู่ในช่วงขาลง โดยดัชนีอาจปรับลดลงมาแตะที่ระดับ 790 จุด ในทางกลับกันหากราคาน้ำมันลดลงมาอยู่ที่ระดับ 90 ดอลลาร์/บาร์เรล และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมีรูปธรรมมากขึ้น ตลาดหุ้นพร้อมจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน และหากไม่มีปัจจัยลบที่รุนแรงตลาดหุ้นไทยมีโอกาสปรับตัวแตะ 990 จุดได้
สำหรับหุ้นที่มีแนวโน้มสดใสในปีนี้ อาทิ หุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ และอสังหาริมทรัพย์ ที่จะได้รับประโยชย์จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ทั้งการเดินหน้าโครงการเมกะโปรเจกต์ มาตรการด้านภาษี และการลดอัตราดอกเบี้ย ขณะที่หุ้นกลุ่มพลังงาน น่าจะอยู่ระหว่างการปรับฐาน เพราะได้รับผลกระทบจากการปรับพอร์ตของนักลงทุนต่างประเทศ
Stagflation ไวรัสพันธุ์ใหม่
นายนิพนธ์ สุวรรณประสิทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.ไอร่า จำกัด (มหาชน) กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง "กลยุทธ์การลงทุนภายใต้สภาวะ Stagflation" ว่า ในอนาคตนักลงทุนจะได้ยินศัพท์ทางการเงิน "Stagflation" ซึ่งหากเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจจะมีผลกระทบและอานุภาพการทำลายล้างสูงกว่าวิกฤตซับไพรม์หลายเท่า
ทั้งนี้ Stagflation คือสภาวะเงินเฟ้อทรงตัวอยู่ในระดับสูง ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวลง คนมีรายได้น้อย ตกงาน ราคาสินค้าแพง แต่ผู้ผลิตจำเป็นต้องหยุดการผลิต เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทำให้สินค้าขาดแคลนและราคาสินค้าสูงขึ้นอีก มีเงินเฟ้อตามมา คนมีรายได้น้อยลง จนเกิดภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ
"Stagflation เปรียบเหมือนไวรัสในระบบเศรษฐกิจ ที่ไม่มีมาตรการแก้ไขได้ในระยะสั้น เหมือนกับเป็นไวรัสไม่มียารักษา แต่จะหายไปเอง ขณะที่ความรุนแรงจะมากน้อยเพียงใดหรือจะใช้ระยะเวลาเยียวยานานหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงทางด้านเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ"
นายนิพนธ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ตกอยู่ในภาวะ Stagflation หรือไม่ แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวและอาจถึงขั้นถดถอย มีความเสี่ยงที่จะเกิดเงินเฟ้อได้ หลังจากราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงเป็นประวัติการณ์ รวมถึงอัตราการว่างงานสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ปัจจุบันผลกระทบจากราคาน้ำมันยังไม่ได้ส่งสัญญาณที่ชัดเจนต่อปัญหาเงินเฟ้อมากนัก
ส่วนประเทศไทยมีโอกาสจะเกิด Stagflation น้อย เพราะเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาขึ้น หลังจากทรงตัวอยู่หลายปี ไม่มีภาวะเงินเฟ้อ และอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ ยกเว้นเกิดเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมืองจนทำให้รัฐบาลไม่สามารถดำเนินนโยบายต่างๆ ได้ ขณะที่ปัจจัยที่ต้องระมัดระวังคือ มาตรการควบคุมการเก็งกำไรในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่อาจจะก่อให้เกิดปัญหาซับไพรม์เหมือนที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ