ผู้จัดการรายวัน – "ประสาร"ชี้ประกาศใช้พ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝากยังไม่กระทบผู้ฝากเงินทันทีที่ประกาศใช้ แต่หลังจากมีการลดวงเงินค้ำประกันลงจะทำให้มีเงินไหลออกจากแบงก์ขนาดเล็กมากขึ้น และทำให้มีการแข่งขันกันระดมเงินฝากมากขึ้น ด้านสศค.คาดหากมีการแข่งขันด้านราคามากขึ้น อาจะทำให้สเปรดของแบงก์ลดเหลือ 2%จากปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 4%
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า การประกาศใช้พ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝากในวันที่ 11 ส.ค.นี้ จะยังไม่กระทบต่อผู้ฝากเงินเนื่องจากทางการได้ให้เวลาในการปรับตัวด้วยการทยอยลดวงเงินค้ำประกัน ซึ่งในส่วนของผู้ฝากเงินคงจะมีความกังวลบ้าง แต่ต่อจากนี้ทางการรวมถึงสถาบันการเงินก็จะมีการให้ความรู้กับเรื่องดังกล่าวมากขึ้น โดยต่อจากนี้คงจะเห็นสถาบันการเงินมีความเข้มข้นในการแข่งขันระดมเงินฝากมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาจะเห็นว่าการแข่งขันเรื่องของเงินฝากนั้นก็มีมากพอสมควร
ส่วนการแข่งขันเรื่องของอัตราดอกเบี้ยก็คงเป็นวิธีหนึ่ง แต่ที่สำคัญคงอยู่ที่การสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้ามากกว่า ซึ่งผู้ฝากจำเป็นต้องดูถึงผลตอบแทนที่จะได้รับรวมถึงความเสี่ยง ดังนั้น จึงต้องหาจุดสมดุลให้กับตัวเอง
"ลูกค้า 60% ยังไม่เข้าใจในเรื่องนี้ก็ถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงแต่ยังมีเวลาที่จะอธิบายให้เข้าใจและให้ข้อมูลกับลูกค้า ซึ่งช่วงต่อจากนี้แบงก์ก็คงจะพยายามเสริมฐานะให้เข้มแข็งขึ้นและเงินฝากก็คงจะมีออกบ้างรับบ้าง ส่วนของแบงก์เองคงจะเป็นฝ่ายรับและหากมีสภาพคล่องมากก็คงไม่มีผลกับต้นทุนมากนักเพราะเราสามารถเอาไปลงทุนในตลาดเงินได้ส่วนตั๋วแลกเงิน(B/E)ต่อจากนี้คงจะเป็นที่นิยมมากขึ้น"นายประสาร กล่าวว่า
สำหรับสินเชื่อครึ่งปีแรกของธนาคารนั้น มีการเติบโตทั้งจากสินเชื่อรายใหญ่ รายย่อย และสินเชื่อขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี) ซึ่งในส่วนของครึ่งปีหลังคงจะยังมีการขยายตัวต่อเนื่อง โดยทั้งปีสิ้นเชื่อน่าจะขยายตัวอยู่ที่เป้าหมาย 15% ทั้งนี้ การขยายตัวของสินเชื่อในครึ่งปีแรกนั้นมาจากราคาสินค้าที่สูงขึ้น ทำให้ลูกค้ามีความต้องการใช้เงินทุนหมุนเวียนมากขึ้น
ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในครึ่งปีแรกอยู่ที่ 3.8%และในสิ้นปีนี้จะควบคุมให้อยู่ที่ไม่เกิน 4% โดยในส่วนที่เป็นจำนวนเงินนั้นมีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแต่ก็ไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วง
นอกจากนี้ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยครึ่งปีหลังน่าจะอยู่ที่ 4% จากครึ่งปีแรกอยู่ที่ 4.1% แต่เฉลี่ยทั้งปีน่าจะเกินกว่า 4% โดยการที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยในครึ่งปีหลังมีการลดลงเพราะว่าแนวโน้มการแข่งขันเรื่องเงินฝากจะมีมากขึ้นทำให้ต้นทุนเงินเพิ่มขึ้น
ขณะที่เศรษฐกิจไทยในขณะนี้ถือว่าไม่ได้เลวร้ายมากนักและน่าจะมีการขยายตัวอยู่ที่เกือบ 5% โดยการส่งออกมีการขยายตัวอยู่ที่กว่า 20%ส่วนการอุปโภคบริโภคและการลงทุนมีการชะลอลงบ้าง
คาดสเปรดลดเหลือแค่2%
นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้อำนวยการส่วนกลยุทธ์และพัฒนาระบบการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) กระทรวงการคลัง กล่าวว่า ภายหลังพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากประกาศใช้ในวันที่ 11 สิงหาคม 2551 คาดว่าจะมีการเคลื่อนย้ายเงินฝากจากธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็กมาสู่ธนาคาพาณิชย์ขนาดใหญ่มากขึ้น เนื่องจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่จะยึดติดอยู่กับขนาด และต้องการกระจายความเสี่ยง
“ประชาชนส่วนใหญ่ยึดติดกับความสัมพันธ์กับแบงก์ขนาดใหญ่ ซึ่งเมื่อพ.ร.บ.ฉบับนี้บังคับใช้เต็มที่ในอีก 5 ปี เงินจะทยอยออกจากแบงก์เล็กมากขึ้น ซึ่งคนมักจะเชื่อว่าแบงก์ขนาดใหญ่จะมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศทำให้รัฐบาลคงจะไม่ปล่อยให้ล้มง่ายๆ”นายโชติชัยกล่าว
ทั้งนี้ คาดว่าธนาคารพาณิชย์เล็กคงจะต้องมีการปรับตัวเพิ่มมากขึ้น เพื่อแข่งขันด้านการระดมเงินฝาก โดยนอกจากทรัพยสินของธนาคาร ทั้งเรื่องของลูกหนี้ และความเข้มงวดในการปล่อยกู้แล้ว อัตราดอกเบี้ยอาจมีส่วนในการนำมาเป็นเครื่องมือในการระดมเงินฝากด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม หากธนาคาพาณิชย์ขนาดเล็กมีการปรับตัวในเรื่องของสินทรัพย์ ลูกหนี้ และความเข้มงวดในการปล่อยกู้ได้ คงจะทำให้ประชาชนหันมามีความเชื่อมั่นเพิ่มมากขึ้น และไม่จำเป็นต้องใช้อัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือระดมเงินฝากได้ แต่คาดว่าหลังจากนี้ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้(สเปรด)ของแต่ละธนาคารอาจมีการปรับตัวลดลงจาก 4% จนเหลือ 2% ในอนาคต
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า การประกาศใช้พ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝากในวันที่ 11 ส.ค.นี้ จะยังไม่กระทบต่อผู้ฝากเงินเนื่องจากทางการได้ให้เวลาในการปรับตัวด้วยการทยอยลดวงเงินค้ำประกัน ซึ่งในส่วนของผู้ฝากเงินคงจะมีความกังวลบ้าง แต่ต่อจากนี้ทางการรวมถึงสถาบันการเงินก็จะมีการให้ความรู้กับเรื่องดังกล่าวมากขึ้น โดยต่อจากนี้คงจะเห็นสถาบันการเงินมีความเข้มข้นในการแข่งขันระดมเงินฝากมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาจะเห็นว่าการแข่งขันเรื่องของเงินฝากนั้นก็มีมากพอสมควร
ส่วนการแข่งขันเรื่องของอัตราดอกเบี้ยก็คงเป็นวิธีหนึ่ง แต่ที่สำคัญคงอยู่ที่การสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้ามากกว่า ซึ่งผู้ฝากจำเป็นต้องดูถึงผลตอบแทนที่จะได้รับรวมถึงความเสี่ยง ดังนั้น จึงต้องหาจุดสมดุลให้กับตัวเอง
"ลูกค้า 60% ยังไม่เข้าใจในเรื่องนี้ก็ถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงแต่ยังมีเวลาที่จะอธิบายให้เข้าใจและให้ข้อมูลกับลูกค้า ซึ่งช่วงต่อจากนี้แบงก์ก็คงจะพยายามเสริมฐานะให้เข้มแข็งขึ้นและเงินฝากก็คงจะมีออกบ้างรับบ้าง ส่วนของแบงก์เองคงจะเป็นฝ่ายรับและหากมีสภาพคล่องมากก็คงไม่มีผลกับต้นทุนมากนักเพราะเราสามารถเอาไปลงทุนในตลาดเงินได้ส่วนตั๋วแลกเงิน(B/E)ต่อจากนี้คงจะเป็นที่นิยมมากขึ้น"นายประสาร กล่าวว่า
สำหรับสินเชื่อครึ่งปีแรกของธนาคารนั้น มีการเติบโตทั้งจากสินเชื่อรายใหญ่ รายย่อย และสินเชื่อขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี) ซึ่งในส่วนของครึ่งปีหลังคงจะยังมีการขยายตัวต่อเนื่อง โดยทั้งปีสิ้นเชื่อน่าจะขยายตัวอยู่ที่เป้าหมาย 15% ทั้งนี้ การขยายตัวของสินเชื่อในครึ่งปีแรกนั้นมาจากราคาสินค้าที่สูงขึ้น ทำให้ลูกค้ามีความต้องการใช้เงินทุนหมุนเวียนมากขึ้น
ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในครึ่งปีแรกอยู่ที่ 3.8%และในสิ้นปีนี้จะควบคุมให้อยู่ที่ไม่เกิน 4% โดยในส่วนที่เป็นจำนวนเงินนั้นมีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแต่ก็ไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วง
นอกจากนี้ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยครึ่งปีหลังน่าจะอยู่ที่ 4% จากครึ่งปีแรกอยู่ที่ 4.1% แต่เฉลี่ยทั้งปีน่าจะเกินกว่า 4% โดยการที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยในครึ่งปีหลังมีการลดลงเพราะว่าแนวโน้มการแข่งขันเรื่องเงินฝากจะมีมากขึ้นทำให้ต้นทุนเงินเพิ่มขึ้น
ขณะที่เศรษฐกิจไทยในขณะนี้ถือว่าไม่ได้เลวร้ายมากนักและน่าจะมีการขยายตัวอยู่ที่เกือบ 5% โดยการส่งออกมีการขยายตัวอยู่ที่กว่า 20%ส่วนการอุปโภคบริโภคและการลงทุนมีการชะลอลงบ้าง
คาดสเปรดลดเหลือแค่2%
นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้อำนวยการส่วนกลยุทธ์และพัฒนาระบบการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) กระทรวงการคลัง กล่าวว่า ภายหลังพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากประกาศใช้ในวันที่ 11 สิงหาคม 2551 คาดว่าจะมีการเคลื่อนย้ายเงินฝากจากธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็กมาสู่ธนาคาพาณิชย์ขนาดใหญ่มากขึ้น เนื่องจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่จะยึดติดอยู่กับขนาด และต้องการกระจายความเสี่ยง
“ประชาชนส่วนใหญ่ยึดติดกับความสัมพันธ์กับแบงก์ขนาดใหญ่ ซึ่งเมื่อพ.ร.บ.ฉบับนี้บังคับใช้เต็มที่ในอีก 5 ปี เงินจะทยอยออกจากแบงก์เล็กมากขึ้น ซึ่งคนมักจะเชื่อว่าแบงก์ขนาดใหญ่จะมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศทำให้รัฐบาลคงจะไม่ปล่อยให้ล้มง่ายๆ”นายโชติชัยกล่าว
ทั้งนี้ คาดว่าธนาคารพาณิชย์เล็กคงจะต้องมีการปรับตัวเพิ่มมากขึ้น เพื่อแข่งขันด้านการระดมเงินฝาก โดยนอกจากทรัพยสินของธนาคาร ทั้งเรื่องของลูกหนี้ และความเข้มงวดในการปล่อยกู้แล้ว อัตราดอกเบี้ยอาจมีส่วนในการนำมาเป็นเครื่องมือในการระดมเงินฝากด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม หากธนาคาพาณิชย์ขนาดเล็กมีการปรับตัวในเรื่องของสินทรัพย์ ลูกหนี้ และความเข้มงวดในการปล่อยกู้ได้ คงจะทำให้ประชาชนหันมามีความเชื่อมั่นเพิ่มมากขึ้น และไม่จำเป็นต้องใช้อัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือระดมเงินฝากได้ แต่คาดว่าหลังจากนี้ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้(สเปรด)ของแต่ละธนาคารอาจมีการปรับตัวลดลงจาก 4% จนเหลือ 2% ในอนาคต