บลจ.นครหลวงไทยออกตัวเร็ว เร่งโปรโมทกองทุนเปิดแม็กซ์มั่นคง หวังปูพื้นฐานรองรับการขยายตัวของลูกค้า และ พ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝาก คาดมีโอกาสปรับเพิ่มขนาดกองทุนจาก 5,000 ล้านบาทในปัจจุบัน เมินลงทุนในทองคำ แต่สนใจลงทุนในซอร์ฟคอมมอดิตี้ ทั้งข้าวโพด และฝ้าย มากกว่าลงทุนฮาร์ทคอมมอดิตี้พวกโลหะ ระบุอยู่ในระหว่างพิจารณาปัจจัย ที่จะมีผลต่อการลงทุน
นายนที ดำรงกิจการ ผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นครหลวงไทย จำกัด เปิดเผยว่า การที่บริษัทเน้นขายกองทุนเปิดแมกซ์มั่นคง (MAX MUNKONG FUND : MAX M) ในช่วงนี้ เนื่องจากต้องการเพิ่มขนาดของกองทุนดังกล่าว และเตรียมไว้รองรับลูกค้าที่จะเข้ามาเพิ่มขึ้นจากอานิสงส์ของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองเงินฝากที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือนสิงหาคมนี้ เพื่อให้ลูกค้าทำความเข้าใจว่าการลงทุนในกองทุนรวมมีรูปแบบคล้ายคลึง และความเสี่ยงใกล้เคียงกับการฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ โดยจะเป็นการเริ่มปูพื้นฐานในการลงทุนให้แก่ลูกค้านั่นเอง
ส่วนสาเหตุที่เริ่มดำเนินการในช่วงนี้ และแนะนำกองทุนนี้เป็นพิเศษ เนื่องจากกองทุนดังกล่าวนับว่าเป็นกองทุนตลาดเงิน (มันนี่ มาร์เก็ต) เพียงกองเดียวของบริษัทนั่นเอง แต่จะไม่มีการออกโปรโมชั่นมาส่งเสริมการขายดังเช่นกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) และกองทุนหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) แต่อย่างใด โดยจะนำเสนอผลตอบแทนที่มากขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้ คาดว่ามีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มขนาดของกองทุนจากเดิมที่ขออนุญาตจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อรองรับไว้ที่ 5,000 ล้านบาท แต่ต้องดูสถานการณ์ของกองทุนไปอีกสักระยะหนึ่งก่อน
สำหรับกองทุนเปิดแมกซ์มั่นคง ซึ่งเป็นกองทุนเปิดตราสารหนี้ ที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน มูลค่าโครงการ 5,000 ล้านบาท และไม่กำหนดอายุโครงการ โดยมีนโยบายลงทุนในตราสารแห่งหนี้ภาครัฐ และบริษัทเอกชนที่มีความมั่นคง และให้ผลตอบแทนที่ดี โดยตราสารแห่งหนี้ บริษัทเอกชนนั้นจะต้องได้รับการจัดอันดับตั้งแต่ BBB- ขึ้นไป ทั้งนี้ กองทุนจะดำรงพอร์ตโฟลิโอ ดูเรชัน (Portfolio Duration) ของกองทุนในขณะใดขณะหนึ่งไม่เกิน 1.5 ปี และจะดำรงสัดส่วนการลงทุนในตราสารสภาพคล่องตามที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด ทั้งนี้ กองทุนจะไม่ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivative) และตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Note)
กองทุนเปิดแมกซ์มั่นคงมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2551 พบว่ามีมูลค่าสินทรัพย์สินสุทธิ 3,719,933,873.2 ล้านบาท และมูลค่าทรัพย์สินต่อหน่วย 11.1442 บาท
ส่วนผลการดำเนินงานของกองทุน ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2551 พบว่ากองทุนสามารถให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 2.55% เมื่อเทียบกับเงินฝากประจำ 1 ปีอยู่ที่ 2.35% และเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ -4.87% ผลตอบแทนย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 2.70% เมื่อเทียบกับเงินฝากประจำ 1 ปีอยู่ที่ 2.37% และเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ 3.06% ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 2.76% เมื่อเทียบกับเงินฝากประจำ 1 ปีอยู่ที่ 3.35% และเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ -0.18% และย้อนหลังตั้งแต่จัดตั้งกองทุนให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 3.03% เมื่อเทียบกับเงินฝากประจำ 1 ปีอยู่ที่ 2.58% และเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ 3.32%
ทั้งนี้ หลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุด 10 อันดับของกองทุน ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2551 พบว่าลงทุนในหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ 1. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 11.89 % 2. พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย 10.61 % 3. ธนาคาร เกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) 9.78 % 4. หุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกโดย ธนาคาร ทหารไทย จำกัด (มหาชน) 7.99 % 5. ตั๋วแลกเงินที่ออกโดยบริษัท สยามพาณิชย์ลีสซิ่ง จำกัด(มหาชน) 7.29 % 6. ตั๋วแลกเงินที่ออกโดยธนาคารธนชาต 5.92 % 7. ตั๋วแลกเงิน บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ภายใต้สัญญากู้เงินธนาคาร วงเงินที่ 2 4.96 % 8. ธนาคาร อาคารสงเคราะห์ 4.42 % 9. ตั๋วแลกเงินของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) 4.11 % 10. เงินฝากประจำ ธนาคาร ธนชาติ จำกัด 2.98 % และลงทุนในสินทรัพย์และหนี้สินอื่นๆ 30.05 %
นายนที กล่าวว่า บริษัทไม่มีนโยบายจะเข้าไปลงทุนในทองคำ แต่มีความสนใจที่จะเข้าไปลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี้) และจะเน้นในหมวดสินค้าเกษตร อาทิ ข้าวโพด และฝ้าย มากกว่าการลงทุนในหมวดโลหะมีค่า หรือโลหะอุตสาหกรรม เนื่องจากการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทดังกล่าว บริษัทไม่สามารถเข้าไปซื้อได้โดยตรงอยู่แล้ว และเป็นการเข้าไปซื้อดัชนีอ้างอิงที่สถาบันการเงินเข้าไปลงทุน โดยยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ที่จะเข้ามากระทบการลงทุน ยกเว้นราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ที่จะไม่นำมาพิจารณาด้วย
นายนที ดำรงกิจการ ผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นครหลวงไทย จำกัด เปิดเผยว่า การที่บริษัทเน้นขายกองทุนเปิดแมกซ์มั่นคง (MAX MUNKONG FUND : MAX M) ในช่วงนี้ เนื่องจากต้องการเพิ่มขนาดของกองทุนดังกล่าว และเตรียมไว้รองรับลูกค้าที่จะเข้ามาเพิ่มขึ้นจากอานิสงส์ของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองเงินฝากที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือนสิงหาคมนี้ เพื่อให้ลูกค้าทำความเข้าใจว่าการลงทุนในกองทุนรวมมีรูปแบบคล้ายคลึง และความเสี่ยงใกล้เคียงกับการฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ โดยจะเป็นการเริ่มปูพื้นฐานในการลงทุนให้แก่ลูกค้านั่นเอง
ส่วนสาเหตุที่เริ่มดำเนินการในช่วงนี้ และแนะนำกองทุนนี้เป็นพิเศษ เนื่องจากกองทุนดังกล่าวนับว่าเป็นกองทุนตลาดเงิน (มันนี่ มาร์เก็ต) เพียงกองเดียวของบริษัทนั่นเอง แต่จะไม่มีการออกโปรโมชั่นมาส่งเสริมการขายดังเช่นกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) และกองทุนหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) แต่อย่างใด โดยจะนำเสนอผลตอบแทนที่มากขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้ คาดว่ามีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มขนาดของกองทุนจากเดิมที่ขออนุญาตจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อรองรับไว้ที่ 5,000 ล้านบาท แต่ต้องดูสถานการณ์ของกองทุนไปอีกสักระยะหนึ่งก่อน
สำหรับกองทุนเปิดแมกซ์มั่นคง ซึ่งเป็นกองทุนเปิดตราสารหนี้ ที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน มูลค่าโครงการ 5,000 ล้านบาท และไม่กำหนดอายุโครงการ โดยมีนโยบายลงทุนในตราสารแห่งหนี้ภาครัฐ และบริษัทเอกชนที่มีความมั่นคง และให้ผลตอบแทนที่ดี โดยตราสารแห่งหนี้ บริษัทเอกชนนั้นจะต้องได้รับการจัดอันดับตั้งแต่ BBB- ขึ้นไป ทั้งนี้ กองทุนจะดำรงพอร์ตโฟลิโอ ดูเรชัน (Portfolio Duration) ของกองทุนในขณะใดขณะหนึ่งไม่เกิน 1.5 ปี และจะดำรงสัดส่วนการลงทุนในตราสารสภาพคล่องตามที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด ทั้งนี้ กองทุนจะไม่ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivative) และตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Note)
กองทุนเปิดแมกซ์มั่นคงมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2551 พบว่ามีมูลค่าสินทรัพย์สินสุทธิ 3,719,933,873.2 ล้านบาท และมูลค่าทรัพย์สินต่อหน่วย 11.1442 บาท
ส่วนผลการดำเนินงานของกองทุน ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2551 พบว่ากองทุนสามารถให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 2.55% เมื่อเทียบกับเงินฝากประจำ 1 ปีอยู่ที่ 2.35% และเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ -4.87% ผลตอบแทนย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 2.70% เมื่อเทียบกับเงินฝากประจำ 1 ปีอยู่ที่ 2.37% และเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ 3.06% ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 2.76% เมื่อเทียบกับเงินฝากประจำ 1 ปีอยู่ที่ 3.35% และเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ -0.18% และย้อนหลังตั้งแต่จัดตั้งกองทุนให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 3.03% เมื่อเทียบกับเงินฝากประจำ 1 ปีอยู่ที่ 2.58% และเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ 3.32%
ทั้งนี้ หลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุด 10 อันดับของกองทุน ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2551 พบว่าลงทุนในหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ 1. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 11.89 % 2. พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย 10.61 % 3. ธนาคาร เกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) 9.78 % 4. หุ้นกู้ระยะสั้นที่ออกโดย ธนาคาร ทหารไทย จำกัด (มหาชน) 7.99 % 5. ตั๋วแลกเงินที่ออกโดยบริษัท สยามพาณิชย์ลีสซิ่ง จำกัด(มหาชน) 7.29 % 6. ตั๋วแลกเงินที่ออกโดยธนาคารธนชาต 5.92 % 7. ตั๋วแลกเงิน บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ภายใต้สัญญากู้เงินธนาคาร วงเงินที่ 2 4.96 % 8. ธนาคาร อาคารสงเคราะห์ 4.42 % 9. ตั๋วแลกเงินของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) 4.11 % 10. เงินฝากประจำ ธนาคาร ธนชาติ จำกัด 2.98 % และลงทุนในสินทรัพย์และหนี้สินอื่นๆ 30.05 %
นายนที กล่าวว่า บริษัทไม่มีนโยบายจะเข้าไปลงทุนในทองคำ แต่มีความสนใจที่จะเข้าไปลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี้) และจะเน้นในหมวดสินค้าเกษตร อาทิ ข้าวโพด และฝ้าย มากกว่าการลงทุนในหมวดโลหะมีค่า หรือโลหะอุตสาหกรรม เนื่องจากการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทดังกล่าว บริษัทไม่สามารถเข้าไปซื้อได้โดยตรงอยู่แล้ว และเป็นการเข้าไปซื้อดัชนีอ้างอิงที่สถาบันการเงินเข้าไปลงทุน โดยยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ที่จะเข้ามากระทบการลงทุน ยกเว้นราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ที่จะไม่นำมาพิจารณาด้วย