ผู้จัดการรายวัน - ปูนใหญ่ เจอพิษราคาพลังงานดันต้นทุนพุ่ง ฉุดผลงานงวด 6 เดือน กำไรสุทธิวูบเกือบ 2.5 พันล้านบาท บวกกับปีก่อนมีกำไรจากการขายเงินลงทุน ด้านผู้บริหารเตรียมอวดโฉมใหม่ปี 53 หลังรับรู้รายได้จากโครงการที่เริ่มเดินเครื่องตั้งแต่ปลายปี 52 มูลค่ากว่าแสนล้าน พร้อมประกาศจ่ายปันผลครึ่งปีแรกหุ้นละ 5.50 บาท หลังบอร์ดกำหนดการจ่ายปันผล 40-50% ของกำไรสุทธิรวม
นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCC ) แจ้งผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ปีนี้ สิ้นสุด 30 มิถุนายน 51 ว่าบริษัทมีกำไรสุทธิ 7,195,044 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 8,815,262 ล้านบาท หรือลดลง 18% จากงวดเดียวกันของปีก่อน ขณะที่งวด 6 เดือนแรกปีนี้มีกำไรสุทธิ 7,485.56 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 9,923.62 ล้านบาท หรือลดลง 2,438.06 ล้านบาท คิดเป็น 24.57% อันเป็นผลจากต้นทุนการผลิตของกลุ่มธุรกิจหลักเพิ่มสูงขึ้น ประกอบด้วย ต้นทุนวัตถุดิบ ถ่านหิน และพลังงาน โดยเฉพาะธุรกิจเคมีภัณฑ์สูงขึ้นมาก รวมถึงมีผลกระทบจากค่าใช้จ่ายในการขนส่งที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ในไตรมาสที่ 2 ปี 50 บริษัท มีรายการ Non-recurring items ได้แก่ กำไรสุทธิภาษีจากการขายเงินลงทุนในบริษัทเหล็กสยามยามาโตะ จำกัด และบริษัทอะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (ATC) จำนวน 2,500 ล้านบาท
โดยการเพิ่มขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบ ส่งผลให้บริษัทไม่อาจปรับราคาขายได้ทัน เนื่องจากต้นทุนเพิ่มสูงต่อเนื่อง แม้ว่าขบวนการผลิตของเครือส่วนใหญ่จะใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง แต่ราคาถ่านหินที่ขยับเพิ่มขึ้นเกิน 100% แบบปีต่อปี แม้จะสต๊อกได้บางส่วน แต่ผู้ประกอบการก็ไม่อาจส่งให้บริษัทในราคาที่สต็อกได้ทั้งหมดตามความต้องการนัก ผลจากคาคาตลาดโลกพุ่ง ส่งผลให้บริษัทไม่อาจครอบคลุมต้นทุนที่ขยับเพิ่มต่อเนื่องได้ แต่ยอมรับว่าราคาน้ำมันดีเซลกระทบต่อการขนส่งบ้างบางส่วน
แม้ว่าไตรมาสนี้บริษัทมียอดขายสุทธิ 80,253 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26 %จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปริมาณขายเพิ่มขึ้นและราคาขายผลิตภัณฑ์หลักปรับตัวสูงขึ้น แต่ก็ไม่ได้ช่วยดันกำไรให้เพิ่มได้ เนื่องจาก มาร์จินลดลง ทำให้กำไรหด ดังนั้น SCC จึงหันผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม เพื่อดันให้ยอดขายและกำไรโตตามกัน
นอกจากนี้ SCC ยังเน้นการลดต้นทุนการผลิต ด้วยการอัดงบ 15,000 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงระบบการผลิตและอื่น ๆ โดยใช้เครื่องจักรจำนวนเท่าเดิม แต่เพิ่มปริมาณการผลิตให้สูง ขณะเดียวกันกับที่ต้นทุนก็ทะยานต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้องหันมาลดค่าใช้จ่ายด้านการเงิน ซึ่งปัจจุบันเครือมีต้นทุนการเงินอยู่ที่ 5.0-5.1% ถือว่าอยู่ในระดับที่ยอมรับได้
จับตาราคาน้ำมัน
แม้การใช้น้ำมันไม่ได้กระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทมากนัก แต่ SCC ก็ต้องจับตาดูทิศทางราคาน้ำมันเชื้อเพลิงว่าจะไปในทิศทางใด ซึ่งช่วง 1-2 ปีนี้ต้นทุนเชื้อเพลิงถือว่าสำคัญ รวมทั้งการเก็งกำไรของเฮดจ์ฟันด์ต่าง ๆ ด้วย โดยเฉพาะวัตถุดิบที่อิงราคาตลาดโลก ขณะนี้ราคาถีบตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง แต่ 2ไตรมาสแรกปีนี้ ปิโตรเคมี ถือว่ายังดีอยู่ ขณะที่กระดาษก็ยังดีแต่ไม่มากนัก เพราะถูกต้นทุนฉุด ส่วนปูนซีเมนต์นั้นปีนี้ SCC มีแผนจะลดการส่งออก แต่พบว่าครึ่งแรกยอดการส่งออกแล้ว 4 ล้านตัน และเชื่อว่ายอดส่งออกปีนี้จะอยู่ที่ 8 แสนตัน
" ปูนซีเมนต์ เราขายในประเทศจะได้เม็ดเงินสูงกว่าการส่งออก เพราะกำไรน้อยมาก หากขายในประเทศได้น้อย กำไรก็จะน้อยลง ซึ่งตั้งแต่ปลายปี 50 ถึงปัจจุบัน ดีมานด์ในประเทศต่ำลง และ 60% มาจากการขายให้กับลูกค้าในต่างจังหวัด ขณะที่ยอดส่งออกครึ่งแรกปีนี้เท่ากับปีที่ผ่านมา ซึ่งจะช่วยพยุงผลการดำเนินงานของบริษัทได้บ้าง แม้ว่าแนวโน้มครึ่งปีหลังตลาดในประเทศยังทรง ๆ และเชื่อว่าครึ่งปีหลังคาดว่ายอดขายจะติดลบ 0-5% โดยทั้งปีอาจติดลบเฉลี่ย 2-3% ในปีนี้ " นายกานต์กล่าว
โดยเฉพาะตลาดเอเชียใต้มีออร์เดอร์ปูนซีเมนต์เข้ามา แต่ต้นทุนก็พุ่ง ทำให้บริษัทปรับราคาขายได้ตามต้นทุนที่ขยับขึ้น ขณะที่ธุรกิจกระดาษก็ดีขึ้น แต่ไม่มากนัก เพราะถูกต้นทุนฉุด ส่วนปิโตรเคมีก็เติบโตต่อเนื่องและดีกว่าที่คาดไว้ เนื่องจากโครงการแครกเกอร์ดีเลย์ แต่ต้นทุนที่ทะยานขึ้น ต้องคอบติดตามอย่างใกล้ชิด ซึ่ง SCC ส่งออกปิโตรเคมีกว่า 30%
นายกานต์กล่าวว่า แนวโน้มของอัตราเงินเฟ้อปีนี้ น่าจะปรับเพิ่มขึ้นแน่นอน เพราะราคาน้ำมันยังคงทรงตัวในระดับสูง แต่หากราคาน้ำมันลงมาอยู่ที่ 110 เหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล คงจะช่วยบรรเทาปัญหาเงินเฟ้อได้มาก ขณะเดียวกันหากปีนี้จีดีพีขยายตัวได้ 5% ถือว่ายังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ส่วนปัจจัยที่จะส่งผลให้จีดีพีขยายตัวได้คงจะมาจากการส่งออกที่ยังคงมีทิศทางดีอยู่
เตรียมอวดโฉมใหม่ปี 53
นายกานต์กล่าวว่า จากนี้ไปภาพของSCC จะแบบทรงตัว เนื่องจากเป็นช่วงที่เครืออยู่ระหว่างลงทุนและดำเนินการก่อสร้างโครงการต่าง ๆ ตามแผนที่บริษัทอัดโครงการที่ลงทุนไปแล้วเม็ดเงินกว่าแสนล้านบาท โดยเป็นการลงทุนในธุรกิจปิโตรเคมีกว่า 6 หมื่นล้านบาท และธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่ปิโตรเคมีกว่า 5 แสนล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่จะสามารถเดินเครื่องผลิตได้ปลายปี52 ดังนั้น SCC จะมีภาพลักษณ์ใหม่ในปี 53 หรือปี ค.ศ. 2010
สำหรับ โรงงานปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ที่เวียดนาม แม้ว่าจะได้รับใบอนุญาตจากรัฐบาลแต่ยังต้องเจรจาเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษี และรายละเอียดการลงทุนกับรัฐบาลเวียดนามอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะมีความชัดเจนทั้งหมดภายในปลายปี 51 และแล้วเสร็จในปี 56
ล่าสุดบอร์ด SCC ได้อนุมัติให้บริษัทกระเบื้องกระดาษไทย (กระเบื้องกระดาษ) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ SCC (SCC ถือหุ้นร้อยละ 100)ลงทุนประมาณ 1,000 ล้านบาท เพื่อขยายกำลังการผลิตผลิตภัณฑ์ไม้สังเคราะห์ซึ่งผลิตจากไฟเบอร์ซีเมนต์โดยมีกำลังการผลิตสูงสุดเพิ่มอีก 7.4 ล้านตารางเมตรต่อปี จากกำลังการผลิตเดิมทั้งหมด 100 ล้านตารางเมตร ต่อปี คาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 ที่โรงงานท่าหลวง จังหวัดสระบุรี และคาดว่าตลาดสำหรับไม้สังเคราะห์ซึ่งผลิตจากไฟเบอร์ซีเมนต์จะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องจากคุณสมบัติที่สามารถทดแทนไม้จริง ทั้งในด้านความทนทาน สวยงาม และราคา
ปันผลระหว่างกาลหุ้นละ 5.50 บาท
โดย SCC แจ้งมติคณะกรรมการบริษัทเมื่อ 23 กรกฎาคม 51ซึ่งบอร์ดมีมติอนุมัติ กำหนดนโยบายการจ่ายเงินปันผลในช่วงอัตราร้อยละ 40 ถึง 50 ของกำไรสุทธิของงบการเงินรวม แต่ในกรณีที่มีความจำเป็น หรือมีเหตุการณ์ที่ไม่ปกติ บริษัทฯ อาจพิจารณาเปลี่ยนแปลงการจ่ายเงินปันผลในช่วงนั้นๆ ตามความเหมาะสมได้ โดย SCC จะจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลงวดครึ่งแรกปี 51 อัตราหุ้นละ 5.50 บาท หรือคิดเป็น 46% ของกำไรสุทธิของงบการเงินรวม ให้กับผู้ถือหุ้นเฉพาะที่มีสิทธิรับเงินปันผลตามข้อบังคับของบริษัท ตามที่ปรากฏรายชื่อ ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นเพื่อสิทธิในการรับเงินปันผลในวันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม 2551เวลา 12.00 น. และกำหนดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลในวันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม 2551
จากที่ก่อนหน้านี้ SCC ไม่ได้กำหนดนโยบายดังกล่าวออกมา นับจากเกิดวิกฤตทางการเงินเมื่อปี 40 และหลังจากนั้น 4 ปี บริษัทจึงสามารถจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 1 บาท และหุ้นละ 3 บาทและ 4 บาท ในปีถัดๆ มา จนกระทั่งปี 48 ซึ่งจ่ายปันผลหุ้นละ 15 บาท จนกระทั่งปี 50
" เรากำหนดขึ้นมาชัดเจน เพื่อความสะดวกในการอธิบายและชัดเจนต่อผู้ถือหุ้น รวมทั้งนักวิเคราะห์ด้วย โดยเฉลี่ยที่ผ่านมาเราจ่ายปันผลอัตราเฉลี่ย 50-60% ตลอดช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ก่อนหน้าเราจ่ายที่ 40% ของกำไรสุทธิรวม " นายกานต์กล่าว
นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCC ) แจ้งผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ปีนี้ สิ้นสุด 30 มิถุนายน 51 ว่าบริษัทมีกำไรสุทธิ 7,195,044 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 8,815,262 ล้านบาท หรือลดลง 18% จากงวดเดียวกันของปีก่อน ขณะที่งวด 6 เดือนแรกปีนี้มีกำไรสุทธิ 7,485.56 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 9,923.62 ล้านบาท หรือลดลง 2,438.06 ล้านบาท คิดเป็น 24.57% อันเป็นผลจากต้นทุนการผลิตของกลุ่มธุรกิจหลักเพิ่มสูงขึ้น ประกอบด้วย ต้นทุนวัตถุดิบ ถ่านหิน และพลังงาน โดยเฉพาะธุรกิจเคมีภัณฑ์สูงขึ้นมาก รวมถึงมีผลกระทบจากค่าใช้จ่ายในการขนส่งที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ในไตรมาสที่ 2 ปี 50 บริษัท มีรายการ Non-recurring items ได้แก่ กำไรสุทธิภาษีจากการขายเงินลงทุนในบริษัทเหล็กสยามยามาโตะ จำกัด และบริษัทอะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (ATC) จำนวน 2,500 ล้านบาท
โดยการเพิ่มขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบ ส่งผลให้บริษัทไม่อาจปรับราคาขายได้ทัน เนื่องจากต้นทุนเพิ่มสูงต่อเนื่อง แม้ว่าขบวนการผลิตของเครือส่วนใหญ่จะใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง แต่ราคาถ่านหินที่ขยับเพิ่มขึ้นเกิน 100% แบบปีต่อปี แม้จะสต๊อกได้บางส่วน แต่ผู้ประกอบการก็ไม่อาจส่งให้บริษัทในราคาที่สต็อกได้ทั้งหมดตามความต้องการนัก ผลจากคาคาตลาดโลกพุ่ง ส่งผลให้บริษัทไม่อาจครอบคลุมต้นทุนที่ขยับเพิ่มต่อเนื่องได้ แต่ยอมรับว่าราคาน้ำมันดีเซลกระทบต่อการขนส่งบ้างบางส่วน
แม้ว่าไตรมาสนี้บริษัทมียอดขายสุทธิ 80,253 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26 %จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปริมาณขายเพิ่มขึ้นและราคาขายผลิตภัณฑ์หลักปรับตัวสูงขึ้น แต่ก็ไม่ได้ช่วยดันกำไรให้เพิ่มได้ เนื่องจาก มาร์จินลดลง ทำให้กำไรหด ดังนั้น SCC จึงหันผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม เพื่อดันให้ยอดขายและกำไรโตตามกัน
นอกจากนี้ SCC ยังเน้นการลดต้นทุนการผลิต ด้วยการอัดงบ 15,000 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงระบบการผลิตและอื่น ๆ โดยใช้เครื่องจักรจำนวนเท่าเดิม แต่เพิ่มปริมาณการผลิตให้สูง ขณะเดียวกันกับที่ต้นทุนก็ทะยานต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้องหันมาลดค่าใช้จ่ายด้านการเงิน ซึ่งปัจจุบันเครือมีต้นทุนการเงินอยู่ที่ 5.0-5.1% ถือว่าอยู่ในระดับที่ยอมรับได้
จับตาราคาน้ำมัน
แม้การใช้น้ำมันไม่ได้กระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทมากนัก แต่ SCC ก็ต้องจับตาดูทิศทางราคาน้ำมันเชื้อเพลิงว่าจะไปในทิศทางใด ซึ่งช่วง 1-2 ปีนี้ต้นทุนเชื้อเพลิงถือว่าสำคัญ รวมทั้งการเก็งกำไรของเฮดจ์ฟันด์ต่าง ๆ ด้วย โดยเฉพาะวัตถุดิบที่อิงราคาตลาดโลก ขณะนี้ราคาถีบตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง แต่ 2ไตรมาสแรกปีนี้ ปิโตรเคมี ถือว่ายังดีอยู่ ขณะที่กระดาษก็ยังดีแต่ไม่มากนัก เพราะถูกต้นทุนฉุด ส่วนปูนซีเมนต์นั้นปีนี้ SCC มีแผนจะลดการส่งออก แต่พบว่าครึ่งแรกยอดการส่งออกแล้ว 4 ล้านตัน และเชื่อว่ายอดส่งออกปีนี้จะอยู่ที่ 8 แสนตัน
" ปูนซีเมนต์ เราขายในประเทศจะได้เม็ดเงินสูงกว่าการส่งออก เพราะกำไรน้อยมาก หากขายในประเทศได้น้อย กำไรก็จะน้อยลง ซึ่งตั้งแต่ปลายปี 50 ถึงปัจจุบัน ดีมานด์ในประเทศต่ำลง และ 60% มาจากการขายให้กับลูกค้าในต่างจังหวัด ขณะที่ยอดส่งออกครึ่งแรกปีนี้เท่ากับปีที่ผ่านมา ซึ่งจะช่วยพยุงผลการดำเนินงานของบริษัทได้บ้าง แม้ว่าแนวโน้มครึ่งปีหลังตลาดในประเทศยังทรง ๆ และเชื่อว่าครึ่งปีหลังคาดว่ายอดขายจะติดลบ 0-5% โดยทั้งปีอาจติดลบเฉลี่ย 2-3% ในปีนี้ " นายกานต์กล่าว
โดยเฉพาะตลาดเอเชียใต้มีออร์เดอร์ปูนซีเมนต์เข้ามา แต่ต้นทุนก็พุ่ง ทำให้บริษัทปรับราคาขายได้ตามต้นทุนที่ขยับขึ้น ขณะที่ธุรกิจกระดาษก็ดีขึ้น แต่ไม่มากนัก เพราะถูกต้นทุนฉุด ส่วนปิโตรเคมีก็เติบโตต่อเนื่องและดีกว่าที่คาดไว้ เนื่องจากโครงการแครกเกอร์ดีเลย์ แต่ต้นทุนที่ทะยานขึ้น ต้องคอบติดตามอย่างใกล้ชิด ซึ่ง SCC ส่งออกปิโตรเคมีกว่า 30%
นายกานต์กล่าวว่า แนวโน้มของอัตราเงินเฟ้อปีนี้ น่าจะปรับเพิ่มขึ้นแน่นอน เพราะราคาน้ำมันยังคงทรงตัวในระดับสูง แต่หากราคาน้ำมันลงมาอยู่ที่ 110 เหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล คงจะช่วยบรรเทาปัญหาเงินเฟ้อได้มาก ขณะเดียวกันหากปีนี้จีดีพีขยายตัวได้ 5% ถือว่ายังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ส่วนปัจจัยที่จะส่งผลให้จีดีพีขยายตัวได้คงจะมาจากการส่งออกที่ยังคงมีทิศทางดีอยู่
เตรียมอวดโฉมใหม่ปี 53
นายกานต์กล่าวว่า จากนี้ไปภาพของSCC จะแบบทรงตัว เนื่องจากเป็นช่วงที่เครืออยู่ระหว่างลงทุนและดำเนินการก่อสร้างโครงการต่าง ๆ ตามแผนที่บริษัทอัดโครงการที่ลงทุนไปแล้วเม็ดเงินกว่าแสนล้านบาท โดยเป็นการลงทุนในธุรกิจปิโตรเคมีกว่า 6 หมื่นล้านบาท และธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่ปิโตรเคมีกว่า 5 แสนล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่จะสามารถเดินเครื่องผลิตได้ปลายปี52 ดังนั้น SCC จะมีภาพลักษณ์ใหม่ในปี 53 หรือปี ค.ศ. 2010
สำหรับ โรงงานปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ที่เวียดนาม แม้ว่าจะได้รับใบอนุญาตจากรัฐบาลแต่ยังต้องเจรจาเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษี และรายละเอียดการลงทุนกับรัฐบาลเวียดนามอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะมีความชัดเจนทั้งหมดภายในปลายปี 51 และแล้วเสร็จในปี 56
ล่าสุดบอร์ด SCC ได้อนุมัติให้บริษัทกระเบื้องกระดาษไทย (กระเบื้องกระดาษ) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ SCC (SCC ถือหุ้นร้อยละ 100)ลงทุนประมาณ 1,000 ล้านบาท เพื่อขยายกำลังการผลิตผลิตภัณฑ์ไม้สังเคราะห์ซึ่งผลิตจากไฟเบอร์ซีเมนต์โดยมีกำลังการผลิตสูงสุดเพิ่มอีก 7.4 ล้านตารางเมตรต่อปี จากกำลังการผลิตเดิมทั้งหมด 100 ล้านตารางเมตร ต่อปี คาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 ที่โรงงานท่าหลวง จังหวัดสระบุรี และคาดว่าตลาดสำหรับไม้สังเคราะห์ซึ่งผลิตจากไฟเบอร์ซีเมนต์จะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องจากคุณสมบัติที่สามารถทดแทนไม้จริง ทั้งในด้านความทนทาน สวยงาม และราคา
ปันผลระหว่างกาลหุ้นละ 5.50 บาท
โดย SCC แจ้งมติคณะกรรมการบริษัทเมื่อ 23 กรกฎาคม 51ซึ่งบอร์ดมีมติอนุมัติ กำหนดนโยบายการจ่ายเงินปันผลในช่วงอัตราร้อยละ 40 ถึง 50 ของกำไรสุทธิของงบการเงินรวม แต่ในกรณีที่มีความจำเป็น หรือมีเหตุการณ์ที่ไม่ปกติ บริษัทฯ อาจพิจารณาเปลี่ยนแปลงการจ่ายเงินปันผลในช่วงนั้นๆ ตามความเหมาะสมได้ โดย SCC จะจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลงวดครึ่งแรกปี 51 อัตราหุ้นละ 5.50 บาท หรือคิดเป็น 46% ของกำไรสุทธิของงบการเงินรวม ให้กับผู้ถือหุ้นเฉพาะที่มีสิทธิรับเงินปันผลตามข้อบังคับของบริษัท ตามที่ปรากฏรายชื่อ ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นเพื่อสิทธิในการรับเงินปันผลในวันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม 2551เวลา 12.00 น. และกำหนดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลในวันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม 2551
จากที่ก่อนหน้านี้ SCC ไม่ได้กำหนดนโยบายดังกล่าวออกมา นับจากเกิดวิกฤตทางการเงินเมื่อปี 40 และหลังจากนั้น 4 ปี บริษัทจึงสามารถจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 1 บาท และหุ้นละ 3 บาทและ 4 บาท ในปีถัดๆ มา จนกระทั่งปี 48 ซึ่งจ่ายปันผลหุ้นละ 15 บาท จนกระทั่งปี 50
" เรากำหนดขึ้นมาชัดเจน เพื่อความสะดวกในการอธิบายและชัดเจนต่อผู้ถือหุ้น รวมทั้งนักวิเคราะห์ด้วย โดยเฉลี่ยที่ผ่านมาเราจ่ายปันผลอัตราเฉลี่ย 50-60% ตลอดช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ก่อนหน้าเราจ่ายที่ 40% ของกำไรสุทธิรวม " นายกานต์กล่าว