โลกยุคโลกาภิวัตน์ เป็นโลกซึ่งมีระเบียบและกฎเกณฑ์ (World Order) โดยขณะนี้มีแนวโน้มหรือระเบียบกฎเกณฑ์ใหญ่ๆ 5 กฎเกณฑ์คือ
1. การปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยมหาอำนาจของโลกซึ่งได้แก่ยุโรปตะวันตกและสหรัฐอเมริกา รวมทั้งประเทศที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันเป็นผู้กำหนด และประกาศว่าโลกต้องมีการปกครองแบบประชาธิปไตย ถ้าไม่มีการปกครองแบบประชาธิปไตยก็จะถูกคว่ำบาตรด้วยวิธีการต่างๆ
2. ต้องมีการเคารพสิทธิมนุษยชนซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ประเทศที่ไม่มีการเคารพสิทธิมนุษยชนก็จะถูกมาตรการต่างๆ บีบคั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการการค้า
3. การค้าเสรีซึ่งจะต้องงดเว้นการขึ้นกำแพงภาษี ปล่อยให้มีการลงทุนข้ามชาติอย่างเสรี ฯลฯ
4. การรักษาสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นเรื่องโลกร้อน การป้องกันมลพิษ
5. การเคารพสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจะต้องเคารพทั้งลิขสิทธิ์ศิลปกรรม วรรณกรรม สิทธิบัตรยา สิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ
ระเบียบโลกดังกล่าวนี้เห็นได้ชัดว่ากำหนดขึ้นโดยมหาอำนาจตะวันตกโดยมีสหรัฐฯ เป็นหัวหน้า ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายต่างต้องอยู่ภายใต้ระบบดังกล่าว
ในส่วนขององค์กรต่างๆ ของโลกซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศนั้นก็ได้แก่ สหประชาชาติซึ่งมีหน้าที่ดูแลสันติภาพ รวมทั้งประเด็นความยุติธรรมระหว่างประเทศ ธนาคารโลกที่ให้กู้เงินเพื่อการพัฒนา กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) องค์การการค้าโลก (WTO) องค์กรเหล่านี้เกิดคำถามได้ว่าประเทศใดมีบทบาทสำคัญที่สุดในการกำหนดทิศทาง ในการวางนโยบาย รวมทั้งในการตัดสินใจ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่สหประชาชาตินั้นสหรัฐฯ เป็นหนึ่งในห้าสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคง กรณีสงครามเวียดนามก็ดี กรณีสงครามอิรักก็ดี ไม่เคยมีเรื่องเข้าสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ และถึงแม้จะมีการนำเข้าในที่ประชุมก็ไม่น่าจะเกิดผลอะไรเพราะสหประชาชาตินั้นสหรัฐฯ เป็นหนึ่งในห้าประเทศที่มีอิทธิพลมาก มีสิทธิที่จะวีโต้ได้ในคณะมนตรีความมั่นคง ระเบียบสันติภาพก็ดี ระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็ดี ที่อยู่ภายใต้กฎบัตรสหประชาชาตินั้นกำหนดขึ้นโดยประเทศมหาอำนาจทั้งสิ้น
ในแง่ของการค้าเสรี (Free Trade) ซึ่งเป็นการกำหนดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของระเบียบโลกใหม่ ประเทศกำลังพัฒนาไม่สามารถจะแข่งขันได้อย่างเต็มที่ในลักษณะเสมอภาคกัน หลายประเทศจึงเสียเปรียบเนื่องจากอำนาจในการผลิตและระดับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่ำกว่า คำว่า Free Trade ซึ่งหมายถึงการค้าเสรีจึงอาจจะไม่ใช่ Fair Trade คือการค้าเสรีที่ยุติธรรม ประเด็นนี้เป็นสิ่งที่ประเทศกำลังพัฒนาสามารถจะตั้งคำถามขึ้นได้ว่าใครเป็นคนกำหนดขึ้น
ประเทศทั้งหลายในโลกแบ่งออกเป็นประเทศที่ร่ำรวยและยากจน หรือพัฒนาและกำลังพัฒนา แต่คำถามที่หลายประเทศไม่เคยตั้งคำถามก็คือ ทำไมถึงปล่อยให้เงินดอลลาร์สหรัฐ กลายเป็นสกุลเงินที่แทบจะเป็นสื่อกลางของการแลกเปลี่ยนการค้าทั่วโลก ราคาสินค้าและหน่วยวัดมูลค่าใช้เงินดอลลาร์สหรัฐเป็นฐาน
ในขณะที่สหรัฐฯ ติดหนี้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกจนกลายเป็นตัวแปรสำคัญที่สุดที่จะนำไปสู่เศรษฐกิจตกต่ำหรือรุ่งเรืองของเศรษฐกิจโลก ถ้าสหรัฐฯ มีปัญหาทางเศรษฐกิจก็จะส่งผลเศรษฐกิจไปทั่วโลกยกเว้นประเทศที่ไม่ติดต่อกับสหรัฐฯ โดยตรง เช่น เกาหลีเหนือและพม่า จนมีคำกล่าวว่า เมื่อสหรัฐฯ เป็นหวัดประเทศอื่นก็จะป่วยเป็นโรคปอดบวม ในกรณีประเทศกำลังพัฒนานั้นกว่าจะหาเงินเหรียญสหรัฐ เพื่อมาซื้อเครื่องจักรอุตสาหกรรมต้องขายสินค้าเกษตรเป็นจำนวนมหาศาล ความพยายามที่จะฉีกตัวจากการผูกพันกับเงินเหรียญสหรัฐ กระทำได้ยากมาก ขณะเดียวกันก็อาจจะต้องไปผูกพันกับเงินสกุลแข็งอื่น เช่น เงินยูโร เป็นต้น นี่คือสัจธรรมของระเบียบโลกที่วิวัฒนาการมาถึงจุดนี้ คำถามนี้จะไม่มีความคิดเพื่อพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้เลยหรือ
ในส่วนที่เกี่ยวกับอาวุธที่มีแรงทำลายสูง เช่น อาวุธนิวเคลียร์ ก็มีกติกาสำคัญที่กำหนดขึ้นโดยมหาอำนาจ ประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น อิหร่านไม่มีสิทธิที่จะผลิตอาวุธนิวเคลียร์ และถ้ามีข่าวว่าจะทำการผลิตอาวุธดังกล่าวก็อาจจะถูกโจมตีด้วยอาวุธที่มีอานุภาพทำลายสูง หรือยกกำลังทหารเข้าไปค้นหาอาวุธดังเช่นกรณีอิรัก เป็นต้น แต่ในขณะที่ห้ามมิให้อิหร่านผลิตอาวุธนิวเคลียร์นั้นสหรัฐฯ เป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์มากที่สุด ตามด้วยรัสเซีย จีน ฝรั่งเศส อินเดีย ปากีสถาน เป็นต้น คำถามคือ ถ้าประเทศเหล่านี้มีอาวุธนิวเคลียร์ได้ทำไมอิหร่านไม่มีสิทธิที่จะมีได้ ถ้าต้องการจำกัดอาวุธนิวเคลียร์ก็ควรทำลายทิ้งหมดทั้งโลก และยังมีข้อสังเกตว่า ในกรณีอิหร่านนั้นถูกข่มขู่ตลอดเวลา แต่ในกรณีเกาหลีเหนือซึ่งอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของจีนกลับกลายเป็นประเทศที่ข่มขู่ประเทศสหรัฐฯ โดยมีเงื่อนไขว่าถ้าสหรัฐฯ ต้องการให้เกาหลีเหนือยุติการสร้างอาวุธปรมาณูจะต้องมีการแลกเปลี่ยนด้วยการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ อะไรทำให้เกิดความแตกต่างในนโยบายเช่นนี้
ในกรณีแม่น้ำ มีตัวอย่างแม่น้ำนานาชาติ เช่น กรณีของแม่น้ำโขงซึ่งเริ่มต้นมาจากประเทศจีนไหลผ่านประเทศต่างๆ ในทางใต้ โดยกฎหมายระหว่างประเทศต่างถือว่าแม่น้ำสากลนั้นจะต้องเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อชาติต่างๆ ซึ่งได้ประโยชน์มาแต่เดิม การสร้างเขื่อนปิดกั้นไม่ให้น้ำไหลลงสู่ข้างล่างโดยสามารถกำหนดจำนวนน้ำที่จะปล่อยลงมาเพื่อนำน้ำนั้นไปใช้ประโยชน์ในการผลิตทางเกษตรหรือผลิตกำลังไฟฟ้า เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง แต่ก็ปรากฏว่าแม่น้ำโขงนั้นถูกกำหนดจำนวนน้ำโดยเขื่อนสี่เขื่อนของจีน และอาจจะสร้างอีกสิบเขื่อนซึ่งมีเขื่อนอยู่หนึ่งเขื่อนสูง 250 กว่าเมตร ดังนั้น ถ้าสร้างเขื่อนอีกสิบเขื่อนถ้าน้ำกระจายออกไปจนจำนวนน้ำลดลงผลในทางลบย่อมอาจจะเกิดขึ้นมากมาย ถึงแม้การสร้างเขื่อนจะเกิดขึ้นในประเทศจีนแต่น้ำนั่นน่าจะเป็นของโลกและของสากล
ประเด็นเรื่องแม่น้ำโขงและการสร้างเขื่อนเป็นปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเล็กและประเทศใหญ่ ระเบียบโลกที่กำหนดไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศก็ดี ในข้อตกลงเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันโดยอยู่ร่วมกันอย่างสันติและเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อกันก็ดี อาจจะถูกมองข้ามบ่อยครั้ง เพราะประเทศเล็กขาดอำนาจต่อรอง
ในกรณีของแม่น้ำโขงทำให้เกิดโยงไปถึงเรื่องน้ำมัน ในเมื่อโลกยุคปัจจุบันเป็น
โลกที่ขับเคลื่อนน้ำมันเชื้อเพลิง และเศรษฐกิจของโลกจะจรรโลงอยู่ได้โดยไม่ส่งผลกระทบในวงกว้างจนนำไปสู่ความวุ่นวายทางการเมืองและสังคม หรือแม้กระทั่งนำไปสู่การเกิดสงคราม ปัญหาใหญ่ๆ ของโลกจึงอาจจะเกิดจากปัญหาการผลิตและการผูกขาดราคาน้ำมัน น้ำมันน่าจะมองได้อีกมุมหนึ่งว่าถึงแม้จะเกิดขึ้นในประเทศที่มีบ่อน้ำมัน แต่น่าจะเป็นสมบัติของมนุษยชาติเพราะเกิดจากโลกใบเดียวกัน ความคิดเช่นนี้คงไม่เป็นที่ยอมรับ
แต่ถ้าหากมีการตกลงและจัดการอย่างถูกต้องโลกน่าจะได้ประโยชน์จากทรัพยากรดังกล่าวนี้ แทนที่จะถือเอาดินแดนของรัฐชาติเป็นหลัก น่าจะเอาโลกเป็นหลัก ทำนองเดียวกับอากาศ น้ำ ซึ่งโลกใบนี้มีอยู่ควรจะเป็นสมบัติของทุกชาติ การปล่อยเขม่าและคาร์บอนมอนอกไซด์ขึ้นสู่ท้องฟ้าข้ามไปอีกประเทศหนึ่งจนเกิดมลพิษไปทั่วนั้นน่าจะไม่เป็นสิ่งถูกต้อง เพราะประเทศต่างๆ ในโลกย่อมจะมีสิทธิได้รับอากาศที่บริสุทธิ์เท่าเทียมกัน ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับน้ำที่ไหลจากที่ใดก็ตามไปจนสุดทางของแม่น้ำนั้น ในกรณีของน้ำมันอาจจะมีมุมมองที่กล่าวมาเบื้องต้นได้แม้จะยากต่อการปฏิบัติและเป็นที่ยอมรับของผู้ผลิตน้ำมันก็ตาม
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ก็คือการตั้งคำถามสำหรับประเทศพัฒนาและกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะนี้ยังไม่มีใครตั้งคำถามดังกล่าวอย่างจริงจัง และส่วนใหญ่ก็ทึกทักว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้อันเป็นระเบียบโลกที่ได้วิวัฒนาการมาโดยการกำหนดของมหาอำนาจ เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องปรับตัวเข้าสู่ระเบียบโลกดังกล่าว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคำถามดังกล่าวนี้จะไร้ประโยชน์เพราะประเทศกำลังพัฒนาไม่มีอำนาจต่อรองอันใด ที่น่าเสียดายที่สุดก็คือ ประเทศผู้สร้างระเบียบโลกนั้นบ่อยครั้งจะเป็นผู้ละเมิดระเบียบโลกนั้นเอง
ตัวอย่างเช่น ประเทศที่มีบทบาทที่สุดในสหประชาชาติซึ่งมีภารกิจสำคัญในการรักษาสันติภาพ กลับกลายเป็นประเทศที่ก่อสงครามไม่หยุดหย่อน ประเทศที่ยืนยันในหลักการของการรักษาสภาพแวดล้อมกลับกลายเป็นประเทศแรกที่ถอนตัวออกจาก Kyoto Protocol ประเทศที่ประกาศการค้าเสรีกลับกลายเป็นประเทศที่กีดกันการค้า ตัวอย่างคือ ไม่ปล่อยให้แรงงานเข้าทำงานในประเทศดังกล่าวนั้นโดยมีกฎระเบียบที่เข้มงวดเกี่ยวกับการออกวีซ่าสำหรับเข้าประเทศ และที่สำคัญที่สุดตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ประเทศที่ห้ามมิให้ประเทศอื่นมีอาวุธนิวเคลียร์กลับกลายเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์มากที่สุด ปรากฏการณ์และการกระทำที่มีความขัดแย้งเช่นนี้ทำให้ยากต่อความเข้าใจของคนจำนวนไม่น้อย แต่หลายคนก็ไม่เคยตั้งคำถามหรือแม้แต่จะคิดเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวมาเบื้องต้น
1. การปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยมหาอำนาจของโลกซึ่งได้แก่ยุโรปตะวันตกและสหรัฐอเมริกา รวมทั้งประเทศที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันเป็นผู้กำหนด และประกาศว่าโลกต้องมีการปกครองแบบประชาธิปไตย ถ้าไม่มีการปกครองแบบประชาธิปไตยก็จะถูกคว่ำบาตรด้วยวิธีการต่างๆ
2. ต้องมีการเคารพสิทธิมนุษยชนซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ประเทศที่ไม่มีการเคารพสิทธิมนุษยชนก็จะถูกมาตรการต่างๆ บีบคั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการการค้า
3. การค้าเสรีซึ่งจะต้องงดเว้นการขึ้นกำแพงภาษี ปล่อยให้มีการลงทุนข้ามชาติอย่างเสรี ฯลฯ
4. การรักษาสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นเรื่องโลกร้อน การป้องกันมลพิษ
5. การเคารพสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจะต้องเคารพทั้งลิขสิทธิ์ศิลปกรรม วรรณกรรม สิทธิบัตรยา สิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ
ระเบียบโลกดังกล่าวนี้เห็นได้ชัดว่ากำหนดขึ้นโดยมหาอำนาจตะวันตกโดยมีสหรัฐฯ เป็นหัวหน้า ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายต่างต้องอยู่ภายใต้ระบบดังกล่าว
ในส่วนขององค์กรต่างๆ ของโลกซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศนั้นก็ได้แก่ สหประชาชาติซึ่งมีหน้าที่ดูแลสันติภาพ รวมทั้งประเด็นความยุติธรรมระหว่างประเทศ ธนาคารโลกที่ให้กู้เงินเพื่อการพัฒนา กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) องค์การการค้าโลก (WTO) องค์กรเหล่านี้เกิดคำถามได้ว่าประเทศใดมีบทบาทสำคัญที่สุดในการกำหนดทิศทาง ในการวางนโยบาย รวมทั้งในการตัดสินใจ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่สหประชาชาตินั้นสหรัฐฯ เป็นหนึ่งในห้าสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคง กรณีสงครามเวียดนามก็ดี กรณีสงครามอิรักก็ดี ไม่เคยมีเรื่องเข้าสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ และถึงแม้จะมีการนำเข้าในที่ประชุมก็ไม่น่าจะเกิดผลอะไรเพราะสหประชาชาตินั้นสหรัฐฯ เป็นหนึ่งในห้าประเทศที่มีอิทธิพลมาก มีสิทธิที่จะวีโต้ได้ในคณะมนตรีความมั่นคง ระเบียบสันติภาพก็ดี ระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็ดี ที่อยู่ภายใต้กฎบัตรสหประชาชาตินั้นกำหนดขึ้นโดยประเทศมหาอำนาจทั้งสิ้น
ในแง่ของการค้าเสรี (Free Trade) ซึ่งเป็นการกำหนดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของระเบียบโลกใหม่ ประเทศกำลังพัฒนาไม่สามารถจะแข่งขันได้อย่างเต็มที่ในลักษณะเสมอภาคกัน หลายประเทศจึงเสียเปรียบเนื่องจากอำนาจในการผลิตและระดับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่ำกว่า คำว่า Free Trade ซึ่งหมายถึงการค้าเสรีจึงอาจจะไม่ใช่ Fair Trade คือการค้าเสรีที่ยุติธรรม ประเด็นนี้เป็นสิ่งที่ประเทศกำลังพัฒนาสามารถจะตั้งคำถามขึ้นได้ว่าใครเป็นคนกำหนดขึ้น
ประเทศทั้งหลายในโลกแบ่งออกเป็นประเทศที่ร่ำรวยและยากจน หรือพัฒนาและกำลังพัฒนา แต่คำถามที่หลายประเทศไม่เคยตั้งคำถามก็คือ ทำไมถึงปล่อยให้เงินดอลลาร์สหรัฐ กลายเป็นสกุลเงินที่แทบจะเป็นสื่อกลางของการแลกเปลี่ยนการค้าทั่วโลก ราคาสินค้าและหน่วยวัดมูลค่าใช้เงินดอลลาร์สหรัฐเป็นฐาน
ในขณะที่สหรัฐฯ ติดหนี้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกจนกลายเป็นตัวแปรสำคัญที่สุดที่จะนำไปสู่เศรษฐกิจตกต่ำหรือรุ่งเรืองของเศรษฐกิจโลก ถ้าสหรัฐฯ มีปัญหาทางเศรษฐกิจก็จะส่งผลเศรษฐกิจไปทั่วโลกยกเว้นประเทศที่ไม่ติดต่อกับสหรัฐฯ โดยตรง เช่น เกาหลีเหนือและพม่า จนมีคำกล่าวว่า เมื่อสหรัฐฯ เป็นหวัดประเทศอื่นก็จะป่วยเป็นโรคปอดบวม ในกรณีประเทศกำลังพัฒนานั้นกว่าจะหาเงินเหรียญสหรัฐ เพื่อมาซื้อเครื่องจักรอุตสาหกรรมต้องขายสินค้าเกษตรเป็นจำนวนมหาศาล ความพยายามที่จะฉีกตัวจากการผูกพันกับเงินเหรียญสหรัฐ กระทำได้ยากมาก ขณะเดียวกันก็อาจจะต้องไปผูกพันกับเงินสกุลแข็งอื่น เช่น เงินยูโร เป็นต้น นี่คือสัจธรรมของระเบียบโลกที่วิวัฒนาการมาถึงจุดนี้ คำถามนี้จะไม่มีความคิดเพื่อพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้เลยหรือ
ในส่วนที่เกี่ยวกับอาวุธที่มีแรงทำลายสูง เช่น อาวุธนิวเคลียร์ ก็มีกติกาสำคัญที่กำหนดขึ้นโดยมหาอำนาจ ประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น อิหร่านไม่มีสิทธิที่จะผลิตอาวุธนิวเคลียร์ และถ้ามีข่าวว่าจะทำการผลิตอาวุธดังกล่าวก็อาจจะถูกโจมตีด้วยอาวุธที่มีอานุภาพทำลายสูง หรือยกกำลังทหารเข้าไปค้นหาอาวุธดังเช่นกรณีอิรัก เป็นต้น แต่ในขณะที่ห้ามมิให้อิหร่านผลิตอาวุธนิวเคลียร์นั้นสหรัฐฯ เป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์มากที่สุด ตามด้วยรัสเซีย จีน ฝรั่งเศส อินเดีย ปากีสถาน เป็นต้น คำถามคือ ถ้าประเทศเหล่านี้มีอาวุธนิวเคลียร์ได้ทำไมอิหร่านไม่มีสิทธิที่จะมีได้ ถ้าต้องการจำกัดอาวุธนิวเคลียร์ก็ควรทำลายทิ้งหมดทั้งโลก และยังมีข้อสังเกตว่า ในกรณีอิหร่านนั้นถูกข่มขู่ตลอดเวลา แต่ในกรณีเกาหลีเหนือซึ่งอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของจีนกลับกลายเป็นประเทศที่ข่มขู่ประเทศสหรัฐฯ โดยมีเงื่อนไขว่าถ้าสหรัฐฯ ต้องการให้เกาหลีเหนือยุติการสร้างอาวุธปรมาณูจะต้องมีการแลกเปลี่ยนด้วยการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ อะไรทำให้เกิดความแตกต่างในนโยบายเช่นนี้
ในกรณีแม่น้ำ มีตัวอย่างแม่น้ำนานาชาติ เช่น กรณีของแม่น้ำโขงซึ่งเริ่มต้นมาจากประเทศจีนไหลผ่านประเทศต่างๆ ในทางใต้ โดยกฎหมายระหว่างประเทศต่างถือว่าแม่น้ำสากลนั้นจะต้องเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อชาติต่างๆ ซึ่งได้ประโยชน์มาแต่เดิม การสร้างเขื่อนปิดกั้นไม่ให้น้ำไหลลงสู่ข้างล่างโดยสามารถกำหนดจำนวนน้ำที่จะปล่อยลงมาเพื่อนำน้ำนั้นไปใช้ประโยชน์ในการผลิตทางเกษตรหรือผลิตกำลังไฟฟ้า เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง แต่ก็ปรากฏว่าแม่น้ำโขงนั้นถูกกำหนดจำนวนน้ำโดยเขื่อนสี่เขื่อนของจีน และอาจจะสร้างอีกสิบเขื่อนซึ่งมีเขื่อนอยู่หนึ่งเขื่อนสูง 250 กว่าเมตร ดังนั้น ถ้าสร้างเขื่อนอีกสิบเขื่อนถ้าน้ำกระจายออกไปจนจำนวนน้ำลดลงผลในทางลบย่อมอาจจะเกิดขึ้นมากมาย ถึงแม้การสร้างเขื่อนจะเกิดขึ้นในประเทศจีนแต่น้ำนั่นน่าจะเป็นของโลกและของสากล
ประเด็นเรื่องแม่น้ำโขงและการสร้างเขื่อนเป็นปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเล็กและประเทศใหญ่ ระเบียบโลกที่กำหนดไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศก็ดี ในข้อตกลงเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันโดยอยู่ร่วมกันอย่างสันติและเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อกันก็ดี อาจจะถูกมองข้ามบ่อยครั้ง เพราะประเทศเล็กขาดอำนาจต่อรอง
ในกรณีของแม่น้ำโขงทำให้เกิดโยงไปถึงเรื่องน้ำมัน ในเมื่อโลกยุคปัจจุบันเป็น
โลกที่ขับเคลื่อนน้ำมันเชื้อเพลิง และเศรษฐกิจของโลกจะจรรโลงอยู่ได้โดยไม่ส่งผลกระทบในวงกว้างจนนำไปสู่ความวุ่นวายทางการเมืองและสังคม หรือแม้กระทั่งนำไปสู่การเกิดสงคราม ปัญหาใหญ่ๆ ของโลกจึงอาจจะเกิดจากปัญหาการผลิตและการผูกขาดราคาน้ำมัน น้ำมันน่าจะมองได้อีกมุมหนึ่งว่าถึงแม้จะเกิดขึ้นในประเทศที่มีบ่อน้ำมัน แต่น่าจะเป็นสมบัติของมนุษยชาติเพราะเกิดจากโลกใบเดียวกัน ความคิดเช่นนี้คงไม่เป็นที่ยอมรับ
แต่ถ้าหากมีการตกลงและจัดการอย่างถูกต้องโลกน่าจะได้ประโยชน์จากทรัพยากรดังกล่าวนี้ แทนที่จะถือเอาดินแดนของรัฐชาติเป็นหลัก น่าจะเอาโลกเป็นหลัก ทำนองเดียวกับอากาศ น้ำ ซึ่งโลกใบนี้มีอยู่ควรจะเป็นสมบัติของทุกชาติ การปล่อยเขม่าและคาร์บอนมอนอกไซด์ขึ้นสู่ท้องฟ้าข้ามไปอีกประเทศหนึ่งจนเกิดมลพิษไปทั่วนั้นน่าจะไม่เป็นสิ่งถูกต้อง เพราะประเทศต่างๆ ในโลกย่อมจะมีสิทธิได้รับอากาศที่บริสุทธิ์เท่าเทียมกัน ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับน้ำที่ไหลจากที่ใดก็ตามไปจนสุดทางของแม่น้ำนั้น ในกรณีของน้ำมันอาจจะมีมุมมองที่กล่าวมาเบื้องต้นได้แม้จะยากต่อการปฏิบัติและเป็นที่ยอมรับของผู้ผลิตน้ำมันก็ตาม
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ก็คือการตั้งคำถามสำหรับประเทศพัฒนาและกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะนี้ยังไม่มีใครตั้งคำถามดังกล่าวอย่างจริงจัง และส่วนใหญ่ก็ทึกทักว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้อันเป็นระเบียบโลกที่ได้วิวัฒนาการมาโดยการกำหนดของมหาอำนาจ เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องปรับตัวเข้าสู่ระเบียบโลกดังกล่าว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคำถามดังกล่าวนี้จะไร้ประโยชน์เพราะประเทศกำลังพัฒนาไม่มีอำนาจต่อรองอันใด ที่น่าเสียดายที่สุดก็คือ ประเทศผู้สร้างระเบียบโลกนั้นบ่อยครั้งจะเป็นผู้ละเมิดระเบียบโลกนั้นเอง
ตัวอย่างเช่น ประเทศที่มีบทบาทที่สุดในสหประชาชาติซึ่งมีภารกิจสำคัญในการรักษาสันติภาพ กลับกลายเป็นประเทศที่ก่อสงครามไม่หยุดหย่อน ประเทศที่ยืนยันในหลักการของการรักษาสภาพแวดล้อมกลับกลายเป็นประเทศแรกที่ถอนตัวออกจาก Kyoto Protocol ประเทศที่ประกาศการค้าเสรีกลับกลายเป็นประเทศที่กีดกันการค้า ตัวอย่างคือ ไม่ปล่อยให้แรงงานเข้าทำงานในประเทศดังกล่าวนั้นโดยมีกฎระเบียบที่เข้มงวดเกี่ยวกับการออกวีซ่าสำหรับเข้าประเทศ และที่สำคัญที่สุดตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ประเทศที่ห้ามมิให้ประเทศอื่นมีอาวุธนิวเคลียร์กลับกลายเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์มากที่สุด ปรากฏการณ์และการกระทำที่มีความขัดแย้งเช่นนี้ทำให้ยากต่อความเข้าใจของคนจำนวนไม่น้อย แต่หลายคนก็ไม่เคยตั้งคำถามหรือแม้แต่จะคิดเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวมาเบื้องต้น