บลจ.ฟินันซ่า แนะนักลงทุนลุยตลาดต่างประเทศ กระจายความเสี่ยงการลงทุนเพื่อชนะเงินเฟ้อ ชูกองธง "FAM GCF" ที่ลงทุนผ่านคอมมอดิตี้ และ "FAM GAF" ที่ลงผ่านหุ้นทั่วโลกซึ่งโดดเด่นจากผลตอบแทนที่ผ่านมา ส่วนเข้าการลงทุนในสหรัฐ ไม่ต้องรีบร้อนมีโอกาสให้จับจังหวะถึงปีหน้า ส่วนตลาดอื่นๆไม่ควรลงทุนเฉพาะที่ เหตุปรับตัวลดแล้วแก้คืนลำบาก
นายธีระ ภู่ตระกูล ประธานกรรมการเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ฟินันซ่า จำกัด กล่าวว่า การลงทุนในต่างประเทศนั้น คือหนึ่งในเป้าหมายของบริษัท เพราะได้เน้นย้ำให้ลูกค้าอย่างสม่ำเสมอว่า ควรที่จะลงทุนให้ชนะเงินเฟ้อ เนื่องจากปีนี้อัตราการเติบโตของเงินเฟ้อในประเทศจะสูงขึ้น ตามยุคข้าวยากหมากแพง แต่มีออปชั่นไม่มากเท่าไรที่สามารถเลือกลงทุนได้ลงทุนได้ โดยตัวเลขเดือนเมษายนอยู่ 6.2% และพ.ค.ปรับเพิ่มมาอยู่ที่ 7.6% ซึ่งถือว่าสูงมาก
“ตอนนี้ทั่วโลกได้รับความเดือดร้อนจากน้ำมันแพง ไม่เฉพาะสินค้าเกษตรเท่านั้นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น สิ่งอุปโภค เช่น ไข่ไก่ เนื้อหมู น้ำมันพืช หรือแม้แต่อาหารที่รับประทานอย่างก๋วยเตี๋ยวก็ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยภายใน 5 เดือนขึ้นกว่าเกือบ 100% ดังนั้นในแง่ตัวเลขเงินเฟ้อไม่ใช่ 6 - 7% แน่ แต่ในความจริงอยู่ที่ตัวเลข 2 หลักมากกว่า”
นายธีระ กล่าวว่าหากย้อนกลับดูข้อมูลเมื่อ 5 ปีก่อนจะพบว่าราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศ อยู่ที่ 22.51 บาท แต่ตอนนี้อยู่ที่ 41 บาท/ลิตร อย่างไรก็ตาม บริษัทมีกองทุนที่ลงทุนในคอมมอดิตี้ ฟันด์ซึ่งสามารถชนะเงินเฟ้อได้ นั่นคือ กองทุนเปิดหน่วยลงทุนฟินันซ่า โกลบอลคอมมอดีตี้ หรือ Finansa Global Commodities Fund (FAM GCF) ที่ลงทุนในดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ทั้ง น้ำมัน แก๊ส ทอง เหล็ก เงิน สังกะสี ฯลฯ รวม 36 ดัชนี
ส่วนสาเหตุที่กองทุนเลือกลงทุนในดัชนี แทนการลงทุนผ่านสินค้าโดยตรง เพราะสินค้าโภคภัณฑ์นั้นแกว่งตัวขึ้นรุนแรงกว่า ดังนั้นการลงทุนในดัชนีจะเพิ่มความปลอดภัยในการลงทุน อีกทั้งกองทุนยังใช้สกุลเงินสวิสฟรังค์ ที่ปลอดภัยกว่าสกุลยูเอสดอลลาร์ ซึ่งตั้งแต่จัดมาได้ผลตอบแทนที่ 56%
“นี่คือกองทุนหนึ่งที่จะช่วยชนะเงินเฟ้อได้ เพราตั้งแต่จัดตั้งกองทุนมาก็พบกับปัจจัยลบหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจในอเมริกา ยุโรป สถานการณ์ทางการเมือง แต่กองทุนก็ยังให้ผลตอบแทนที่ดี”นายธีระกล่าว
ทั้งนี้ วิธีในการวิเคราะห์และวิจัยการลงทุนสินค้าประเภทนี้ไม่เหมือนการวิเคราะห์หุ้น นายธีระ กล่าวว่าสินค้าโภคภัณฑ์ไม่มีถูกหรือแพง มีแต่ว่าซื้อหรือไม่ซื้อ น้ำมัน 41 บาทต่อลิตรเมืองไทยดูว่าแพง แต่ไม่แพงเท่าที่อังกฤษ ราคาข้าว 1,000 เหรียญต่อตัน ถูกหรือแพง ถ้าถามฟิลิปินส์เท่าไรก็ยินดีจ่าย แทนที่จะปล่อยให้ประชาชนมาประท้วง นี่คือสินทรัพย์พิเศษ แผ่นดินไหวที่จีน ดีมานต์ เหล็ก ปูนซีเมนต์ น้ำมัน จะมีความต้องการเป็นจำนวนมากที่อยู่อาศัยของคนกว่า 10 ล้านคน อีกทั้งการจัดกีฬาโอลิมปิก รวมถึงการเพิ่มขึ้นประชากรทั้งโลกที่เพิ่มขึ้นทุกปี
นอกจากนี้ กองทุนเปิดหน่วยลงทุน ฟินันซ่า โกบอล อโลเคชั่น ( FAM GAF) ซึ่งลงทุนในหุ้นและตลาดสารหนี้ทั่วโลกนับว่าเป็นอีกกองทุนที่น่าสนใจ แม้ตอนนี้ตลาดหุ้นทั่วโลกมีความเสี่ยงสูง แต่กองนี้สามารถโยกปรับเปลี่ยนการลงทุนมาสู่ตราสารหนี้ได้ทำให้มีความเสี่ยงน้อย
“ตอนนี้หลายคนที่ลงทุนในอินเดีย จีน น่าเป็นห่วง เนื่องจากตลาดหุ้นปรับตัวลดลงไปร่วม 30% ทำให้ได้รับผลกระทบ จากการลงทุนเฉพาะประเทศ ส่วนการลงทุนในอเมริกาเป็นเรื่องโอกาสเพราะอาจขาดทุนเยอะ อย่างไรก็ตาม FAM GAF นับเป็นกองทุนหลักของบริษัทในการลงทุนต่างประเทศ”
ส่วนการลงทุนทองคำล่วงหน้า ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.ฟินันซ่า กล่าวว่า เป็นการลงทุนที่ลำบากเพราะมีสภาพคล่องมันน้อย โดยโกลด์ ฟิวเจอร์สเป็นแอสเซทคลาสชิ้นหนึ่งที่ขึ้นลงตามเงินดอลลาร์ และทองคำมีความพิเศษในตัว จากข้อมูลปี 1980 ราคาทองอยู่ที่ 800 กว่าเหรียญ หลังจากนั้นร่วม 20 ปี ราคาทรงตัวไม่ขยับไปไหน แต่หลังๆนี้ หรือตั้งแต่ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาราคาเพิ่มขึ้นกว่า 900 เหรียญ เพราะดอล์ลาร์สหรัฐอ่อนตัวลง
“ช่วง 8 ปีที่ผ่านมาดอลลาร์สหรัฐ และเงินบาทไทยอ่อนตัวลงไป 30% และการลงทุนในโกลด์ ฟิวเจอร์ เรามีอยู่แล้วในGCF ประมาณ 7% โดยทองคำถือเป็นสกุลเงินอีกสกุล คนหนีเข้าไปลงทุนเยอะ ถามว่ามีคนสนใจไหม ก็มีเพราะซื้อทองคำแบบนี้ทำให้ซื้อขายง่ายขึ้น เนื่องจากเป็นทองกระดาษ หากแต่ว่าทองคำซื้อขายเป็นดอลลาร์ และแปลงเป็นไทยบาทแล้วไม่ค่อยได้อะไร นอกจากนี้ทองคำเป็นสินค้าที่บริโภคไม่ได้ ปริมาณทองที่ขุดขึ้นมาส่วนใหญ่อยู่ใต้ธนาคาร ไม่หมดเหมือนน้ำมัน หรือสินค้าเกษตรอื่นๆ”
จับตาอสังหาฯแดนมะกันน่าสน
สำหรับจังหวะการลงทุนในหุ้น และอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกานั้น บริษัทยอมรับว่ากำลังจับตาดู ซึ่งอาจจะเริ่มในปีหน้า อย่างไรก็ตามกอง FAM GAF มีสัดส่วนลงทุนในหุ้นในอเมริกาประมาณ 40% แต่ให้ผลตอบแทนดีพอสมควร ความเสี่ยงไม่สูงกว่าพันธบัตร ขณะที่เรื่องน่าห่วงในอเมริกาตอนนี้คือการถดถอยทางเศรษฐกิจ แต่กองทุนเป็นกองทุนที่ลงทุนผ่านกองทุน UBS (Lux) Key Selection Sicav-Global Allocation (USD)B เพียงกองทุนเดียว ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ซึ่งกองทุนนี้ผ่านการลงทุนมานานกว่า 20 ปี ดังนั้นผู้จัดการกองทุนได้ทำการโยกการลงทุนเพื่อป้องกันความเสี่ยงไว้เรียบร้อยแล้ว โดยขณะนี้มีการลงทุนในหุ้นอยู่ประมาณ60-70% กระจายไปในประเทศต่างๆ
นายธีระ กล่าวเพิ่มเติมถึงการลงทุนในสหรัฐอเมริกาว่า ที่ผ่านมาอเมริกาใช้เงินจำนวนมากในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งเหมือนกับประเทศไทยเมื่อ 10ปีที่แล้ว ที่คนแห่เก็งกำไรอย่างเดียว แบงก์ไม่ดูแลเข็มงวดยินดีปล่อยสินเชื่อให้ โดยไม่ดูตาม้าตาเรือเพราะราคาอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวขึ้น แต่ตอนนี้กำลังปรับปรุง แบงก์หลายแห่งเพิ่มทุนขึ้นอีก แต่หากขาดทุนรอบ 2 -3 ก็อาจจะเพิ่มทุนต่อไม่ได้ ดังนั้นก็จะมีการขายโลนหรือหนี้เสีย ถ้าดูอย่างไทย 10 ปีที่แล้ว เชื่อว่าจะใช้เวลาอย่างเร็วมากก็ประมาณ 2-3 ปีถึงจะฟื้นตัว ดังนั้นตอนนี้อสังหาริมทรัพย์จึงมีราคาถูก แต่บางที่แอเรียราคาไม่ลดลงเพราะเป็นที่ได้รับความนิยมสูง นอกจากนี้นักลงทุนจากยุโรป ตะวันออกกลาง ก็ให้ความสนใจ แต่ที่กลังศก.จะหดตัวลงไปมากเลยที่เดียว เพราะหนี้ที่ปล่อยไปสมมุติปล่อย100 บาท ตอนนี้ราคาบ้าน 70 บาท
สำหรับหุ้นที่กองทุน FAM GAF เข้าลงทุนในสหรัฐได้แก่ จีอี แคปปิตอล ไมโครซอฟท์ อินเทล จอนห์สัน แอนด์ จอนห์สัน เพราะพวกที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือกลุ่มสถาบันการเงิน จึงต้องหลีกเลี่ยง
ขณะที่ตลาดต่างประเทศอื่นๆ นั้น แต่เดิมมีอัตราการเติบโตใกล้เคียงกับตลาดไทย โดยเฉพาะตลาดเกิดใหม่ อย่าง บราซิล จีน อินเดีย รัสเซีย แต่พอวิกฤตเศรษฐกิจไทยปี 1997 ตลาดเกิดใหม่พวกนี้ผลตอบแทนขยับตัวขึ้นไปถึง 23% ขณะที่ไทยอยู่ประมาณที่ 4% ส่วนประเทศเพื่อนบ้านอย่าง เกาหลี ไต้หวัน สิงคโปร์อยู่ที่ 8% กว่า และตลาดทั่วโลก7% ดังนั้นยังไม่รู้ว่าอีก 20 ปีไทยจะทันตลาดเกิดใหม่หรือเปล่า
“นี่คือเหตุผลที่เราต้องกระจายลงทุนไปต่างประเทศ เพราะที่อื่นเขาดีกว่า เอาแค่จีน อินเดีย เราคงมีสินค้าของถูกไม่เท่าจีน ที่มีค่าแรงถูกกว่า อินเดีย อุตสาหกรรมไอทีใหญ่มาก นักลงทุนจะไปลงทุนที่นั่น บราซิล รัสเซีย เราก็ไม่มีบ่อน้ำมัน เหมืองแร่ใหญ่ เหมือนเขา รวมทั้งบ้านเรายังมีความไม่แน่นอนทางการเมือง”
นายธีระ ภู่ตระกูล ประธานกรรมการเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ฟินันซ่า จำกัด กล่าวว่า การลงทุนในต่างประเทศนั้น คือหนึ่งในเป้าหมายของบริษัท เพราะได้เน้นย้ำให้ลูกค้าอย่างสม่ำเสมอว่า ควรที่จะลงทุนให้ชนะเงินเฟ้อ เนื่องจากปีนี้อัตราการเติบโตของเงินเฟ้อในประเทศจะสูงขึ้น ตามยุคข้าวยากหมากแพง แต่มีออปชั่นไม่มากเท่าไรที่สามารถเลือกลงทุนได้ลงทุนได้ โดยตัวเลขเดือนเมษายนอยู่ 6.2% และพ.ค.ปรับเพิ่มมาอยู่ที่ 7.6% ซึ่งถือว่าสูงมาก
“ตอนนี้ทั่วโลกได้รับความเดือดร้อนจากน้ำมันแพง ไม่เฉพาะสินค้าเกษตรเท่านั้นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น สิ่งอุปโภค เช่น ไข่ไก่ เนื้อหมู น้ำมันพืช หรือแม้แต่อาหารที่รับประทานอย่างก๋วยเตี๋ยวก็ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยภายใน 5 เดือนขึ้นกว่าเกือบ 100% ดังนั้นในแง่ตัวเลขเงินเฟ้อไม่ใช่ 6 - 7% แน่ แต่ในความจริงอยู่ที่ตัวเลข 2 หลักมากกว่า”
นายธีระ กล่าวว่าหากย้อนกลับดูข้อมูลเมื่อ 5 ปีก่อนจะพบว่าราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศ อยู่ที่ 22.51 บาท แต่ตอนนี้อยู่ที่ 41 บาท/ลิตร อย่างไรก็ตาม บริษัทมีกองทุนที่ลงทุนในคอมมอดิตี้ ฟันด์ซึ่งสามารถชนะเงินเฟ้อได้ นั่นคือ กองทุนเปิดหน่วยลงทุนฟินันซ่า โกลบอลคอมมอดีตี้ หรือ Finansa Global Commodities Fund (FAM GCF) ที่ลงทุนในดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ทั้ง น้ำมัน แก๊ส ทอง เหล็ก เงิน สังกะสี ฯลฯ รวม 36 ดัชนี
ส่วนสาเหตุที่กองทุนเลือกลงทุนในดัชนี แทนการลงทุนผ่านสินค้าโดยตรง เพราะสินค้าโภคภัณฑ์นั้นแกว่งตัวขึ้นรุนแรงกว่า ดังนั้นการลงทุนในดัชนีจะเพิ่มความปลอดภัยในการลงทุน อีกทั้งกองทุนยังใช้สกุลเงินสวิสฟรังค์ ที่ปลอดภัยกว่าสกุลยูเอสดอลลาร์ ซึ่งตั้งแต่จัดมาได้ผลตอบแทนที่ 56%
“นี่คือกองทุนหนึ่งที่จะช่วยชนะเงินเฟ้อได้ เพราตั้งแต่จัดตั้งกองทุนมาก็พบกับปัจจัยลบหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจในอเมริกา ยุโรป สถานการณ์ทางการเมือง แต่กองทุนก็ยังให้ผลตอบแทนที่ดี”นายธีระกล่าว
ทั้งนี้ วิธีในการวิเคราะห์และวิจัยการลงทุนสินค้าประเภทนี้ไม่เหมือนการวิเคราะห์หุ้น นายธีระ กล่าวว่าสินค้าโภคภัณฑ์ไม่มีถูกหรือแพง มีแต่ว่าซื้อหรือไม่ซื้อ น้ำมัน 41 บาทต่อลิตรเมืองไทยดูว่าแพง แต่ไม่แพงเท่าที่อังกฤษ ราคาข้าว 1,000 เหรียญต่อตัน ถูกหรือแพง ถ้าถามฟิลิปินส์เท่าไรก็ยินดีจ่าย แทนที่จะปล่อยให้ประชาชนมาประท้วง นี่คือสินทรัพย์พิเศษ แผ่นดินไหวที่จีน ดีมานต์ เหล็ก ปูนซีเมนต์ น้ำมัน จะมีความต้องการเป็นจำนวนมากที่อยู่อาศัยของคนกว่า 10 ล้านคน อีกทั้งการจัดกีฬาโอลิมปิก รวมถึงการเพิ่มขึ้นประชากรทั้งโลกที่เพิ่มขึ้นทุกปี
นอกจากนี้ กองทุนเปิดหน่วยลงทุน ฟินันซ่า โกบอล อโลเคชั่น ( FAM GAF) ซึ่งลงทุนในหุ้นและตลาดสารหนี้ทั่วโลกนับว่าเป็นอีกกองทุนที่น่าสนใจ แม้ตอนนี้ตลาดหุ้นทั่วโลกมีความเสี่ยงสูง แต่กองนี้สามารถโยกปรับเปลี่ยนการลงทุนมาสู่ตราสารหนี้ได้ทำให้มีความเสี่ยงน้อย
“ตอนนี้หลายคนที่ลงทุนในอินเดีย จีน น่าเป็นห่วง เนื่องจากตลาดหุ้นปรับตัวลดลงไปร่วม 30% ทำให้ได้รับผลกระทบ จากการลงทุนเฉพาะประเทศ ส่วนการลงทุนในอเมริกาเป็นเรื่องโอกาสเพราะอาจขาดทุนเยอะ อย่างไรก็ตาม FAM GAF นับเป็นกองทุนหลักของบริษัทในการลงทุนต่างประเทศ”
ส่วนการลงทุนทองคำล่วงหน้า ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.ฟินันซ่า กล่าวว่า เป็นการลงทุนที่ลำบากเพราะมีสภาพคล่องมันน้อย โดยโกลด์ ฟิวเจอร์สเป็นแอสเซทคลาสชิ้นหนึ่งที่ขึ้นลงตามเงินดอลลาร์ และทองคำมีความพิเศษในตัว จากข้อมูลปี 1980 ราคาทองอยู่ที่ 800 กว่าเหรียญ หลังจากนั้นร่วม 20 ปี ราคาทรงตัวไม่ขยับไปไหน แต่หลังๆนี้ หรือตั้งแต่ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาราคาเพิ่มขึ้นกว่า 900 เหรียญ เพราะดอล์ลาร์สหรัฐอ่อนตัวลง
“ช่วง 8 ปีที่ผ่านมาดอลลาร์สหรัฐ และเงินบาทไทยอ่อนตัวลงไป 30% และการลงทุนในโกลด์ ฟิวเจอร์ เรามีอยู่แล้วในGCF ประมาณ 7% โดยทองคำถือเป็นสกุลเงินอีกสกุล คนหนีเข้าไปลงทุนเยอะ ถามว่ามีคนสนใจไหม ก็มีเพราะซื้อทองคำแบบนี้ทำให้ซื้อขายง่ายขึ้น เนื่องจากเป็นทองกระดาษ หากแต่ว่าทองคำซื้อขายเป็นดอลลาร์ และแปลงเป็นไทยบาทแล้วไม่ค่อยได้อะไร นอกจากนี้ทองคำเป็นสินค้าที่บริโภคไม่ได้ ปริมาณทองที่ขุดขึ้นมาส่วนใหญ่อยู่ใต้ธนาคาร ไม่หมดเหมือนน้ำมัน หรือสินค้าเกษตรอื่นๆ”
จับตาอสังหาฯแดนมะกันน่าสน
สำหรับจังหวะการลงทุนในหุ้น และอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกานั้น บริษัทยอมรับว่ากำลังจับตาดู ซึ่งอาจจะเริ่มในปีหน้า อย่างไรก็ตามกอง FAM GAF มีสัดส่วนลงทุนในหุ้นในอเมริกาประมาณ 40% แต่ให้ผลตอบแทนดีพอสมควร ความเสี่ยงไม่สูงกว่าพันธบัตร ขณะที่เรื่องน่าห่วงในอเมริกาตอนนี้คือการถดถอยทางเศรษฐกิจ แต่กองทุนเป็นกองทุนที่ลงทุนผ่านกองทุน UBS (Lux) Key Selection Sicav-Global Allocation (USD)B เพียงกองทุนเดียว ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ซึ่งกองทุนนี้ผ่านการลงทุนมานานกว่า 20 ปี ดังนั้นผู้จัดการกองทุนได้ทำการโยกการลงทุนเพื่อป้องกันความเสี่ยงไว้เรียบร้อยแล้ว โดยขณะนี้มีการลงทุนในหุ้นอยู่ประมาณ60-70% กระจายไปในประเทศต่างๆ
นายธีระ กล่าวเพิ่มเติมถึงการลงทุนในสหรัฐอเมริกาว่า ที่ผ่านมาอเมริกาใช้เงินจำนวนมากในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งเหมือนกับประเทศไทยเมื่อ 10ปีที่แล้ว ที่คนแห่เก็งกำไรอย่างเดียว แบงก์ไม่ดูแลเข็มงวดยินดีปล่อยสินเชื่อให้ โดยไม่ดูตาม้าตาเรือเพราะราคาอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวขึ้น แต่ตอนนี้กำลังปรับปรุง แบงก์หลายแห่งเพิ่มทุนขึ้นอีก แต่หากขาดทุนรอบ 2 -3 ก็อาจจะเพิ่มทุนต่อไม่ได้ ดังนั้นก็จะมีการขายโลนหรือหนี้เสีย ถ้าดูอย่างไทย 10 ปีที่แล้ว เชื่อว่าจะใช้เวลาอย่างเร็วมากก็ประมาณ 2-3 ปีถึงจะฟื้นตัว ดังนั้นตอนนี้อสังหาริมทรัพย์จึงมีราคาถูก แต่บางที่แอเรียราคาไม่ลดลงเพราะเป็นที่ได้รับความนิยมสูง นอกจากนี้นักลงทุนจากยุโรป ตะวันออกกลาง ก็ให้ความสนใจ แต่ที่กลังศก.จะหดตัวลงไปมากเลยที่เดียว เพราะหนี้ที่ปล่อยไปสมมุติปล่อย100 บาท ตอนนี้ราคาบ้าน 70 บาท
สำหรับหุ้นที่กองทุน FAM GAF เข้าลงทุนในสหรัฐได้แก่ จีอี แคปปิตอล ไมโครซอฟท์ อินเทล จอนห์สัน แอนด์ จอนห์สัน เพราะพวกที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือกลุ่มสถาบันการเงิน จึงต้องหลีกเลี่ยง
ขณะที่ตลาดต่างประเทศอื่นๆ นั้น แต่เดิมมีอัตราการเติบโตใกล้เคียงกับตลาดไทย โดยเฉพาะตลาดเกิดใหม่ อย่าง บราซิล จีน อินเดีย รัสเซีย แต่พอวิกฤตเศรษฐกิจไทยปี 1997 ตลาดเกิดใหม่พวกนี้ผลตอบแทนขยับตัวขึ้นไปถึง 23% ขณะที่ไทยอยู่ประมาณที่ 4% ส่วนประเทศเพื่อนบ้านอย่าง เกาหลี ไต้หวัน สิงคโปร์อยู่ที่ 8% กว่า และตลาดทั่วโลก7% ดังนั้นยังไม่รู้ว่าอีก 20 ปีไทยจะทันตลาดเกิดใหม่หรือเปล่า
“นี่คือเหตุผลที่เราต้องกระจายลงทุนไปต่างประเทศ เพราะที่อื่นเขาดีกว่า เอาแค่จีน อินเดีย เราคงมีสินค้าของถูกไม่เท่าจีน ที่มีค่าแรงถูกกว่า อินเดีย อุตสาหกรรมไอทีใหญ่มาก นักลงทุนจะไปลงทุนที่นั่น บราซิล รัสเซีย เราก็ไม่มีบ่อน้ำมัน เหมืองแร่ใหญ่ เหมือนเขา รวมทั้งบ้านเรายังมีความไม่แน่นอนทางการเมือง”