เอเอฟพี/รอยเตอร์ - โอเปกและผู้บริหารบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ชี้เมื่อวันพฤหัสบดี(22)ว่าราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นในขณะนี้มาจากปัจจัยทางจิตวิทยาไม่ใช่เพราะปริมาณไม่พอเพียงต่อความต้องการบริโภค
อับดาลา เอ บาดรี เลขาธิการโอเปกยังได้กล่าวด้วยว่า กลุ่มประเทศโอเปกซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันมากกว่าหนึ่งในสามของโลกมีความกังวลใจกับราคาที่ทะยานขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์แทบทุกวันอย่างที่เป็นอยู่
“พวกเราไม่สบายใจกับการทะยานขึ้นนี้เลย” เอล บาดรีกล่าวในขณะที่เดินทางเยือนเอกวาดอร์ “ความผันผวนในตลาดไม่มีอันใดเกี่ยวข้องกับปัจจัยพื้นฐานแม้แต่น้อย ไม่เกี่ยวกับความต้องการใช้น้ำมันในตลาดโลกอีกด้วย”
เอล บาดรีชี้ว่าปัจจัยประการหนึ่งก็คือค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่ร่วงลงต่อเนื่อง มีส่วนทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นด้วย “ราคาเมื่อวันก่อนอยู่ในระดับ 130 ดอลลาร์แต่วันนี้โดดขึ้นไปถึง 135 ตลาดคลั่งไปแล้วจริง ๆ” เขากล่าว
เอล บาดรีเสริมด้วยว่าในอดีตเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับปริมาณน้ำมัน ทางกลุ่มก็เรียกประชุมอย่างไม่ลังเลและพยายามแก้ไขปัญหา แต่ตอนนี้เราเชื่อว่าราคาน้ำมันไม่เกี่ยวกับปริมาณในตลาด เพราะมีน้ำมันในตลาดอย่างพอเพียง รวมทั้งในคลังสำรองก็ไม่ได้ขาดแคลนแต่อย่างใด เขาเน้นว่าปัญหาใหญ่ตอนนี้ก็คือการเก็งกำไร
เอล บาดรีกล่าวอีกว่าโอเปกต้องการเห็นราคาน้ำมันไม่แพงและถูกเกินไป “ราคาที่อยากเห็นก็คือราคาที่ผู้ผลิตและผู้บริโภคสามารถพบกันได้” และแม้ว่าเงินยูโรจะมีเสถียรภาพมากกว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่การซื้อขายน้ำมันยังคงอิงกับดอลลาร์ โดยที่การเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้คงจะต้องใช้เวลานานทีเดียว
ทางด้าน เจโรน แวน เดอเวียร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ รอยัล ดัตช์ เชลล์ บริษัทน้ำมันใหญ่อันดับสองของโลกเมื่อนับตามมูลค่าในตลาดหลักทรัพย์ก็ให้ความเห็นในทำนองเดียวกับเอล บาดรี
แวนเดอเวียร์กล่าวว่าตอนนี้ไม่มีเรือบรรทุกสินค้าเข้าแถวรอในตะวันออกกลาง และไม่มีรถยนต์เข้าแถวต่อกันในปั๊มน้ำมันเพื่อรอเติมน้ำมัน แสดงว่าไม่มีปัญหาเรื่องน้ำมันขาดแคลน แต่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นมาจากปัจจัยทางจิตวิทยา และเราก็ไม่สามารถที่จะทำนายสถานการณ์เช่นนี้ได้
เขากล่าวอีกว่าทั้งกลุ่มประเทศโอเปกและสหรัฐฯซึ่งเป็นผู้บริโคน้ำมันมากที่สุดของโลก ก็ไม่ได้บอกว่าปริมาณน้ำมันไม่เพียงพอเลย
แม้ว่าราคาที่เพิ่มขึ้นจะทำให้กำไรของอุตสาหกรรมน้ำมันสูงตามไปด้วย แต่ซีอีโอของเชลล์ก็บอกว่า ราคาน้ำมันที่แพงกว่าเดิม ได้ทำให้เกิดสภาพสองประการขึ้น นั่นคือ สำหรับประเทศผู้บริโภค ก็เริ่มรู้สึกถึงปัญหาแล้ว และประชาชนก็เริ่มออกมาโวยวาย แต่ในขณะเดียวกันบริษัทน้ำมันก็ต้องเอากำไรมาลงทุนเพื่อผลิตน้ำมันเพิ่ม
ทั้งนี้เชลล์ลงทุนไปแล้ว 7,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในช่วงสามเดือนแรกของปีนี้ และนับเป็นบริษัทน้ำมันแห่งเดียวที่เพิ่มกำลังการผลิต และยังเป็นบริษัทที่มีโครงการใช้เงินทุนสูงสุดในบรรดาบริษัทน้ำมันด้วยกันอีกด้วย
ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นไม่ได้ส่งผลต่อผู้บริโภคเท่านั้น แต่ก็ทำให้ต้นทุนสำหรับการขุดเจาะบ่อน้ำมันและอื่นๆเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และบริษัทหลายแห่งก็ปรับเพิ่มสมมุติฐานราคาในระยะยาวที่ใช้สำหรับการวางแผนทางธุรกิจ
เมื่อถูกถามว่าเชลล์ต้องการเห็นราคาราว 80 ดอลลาร์ สำหรับการทำรายได้ให้คุ้มทุนใช่หรือไม่ แวนเดอเวียร์เลี่ยงที่จะให้ตัวเลขละเอียด และกล่าวเพียงแต่ว่าต้นทุนในการขยายการผลิต กำลังเพิ่มขึ้นจากเดิมมาก
“เมื่อราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น คุณก็จะเห็นว่าต้นทุนสำหรับโครงการใหม่ ๆในอุตสาหกรรมนี้เพิ่มขึ้นด้วย ไม่ใช่เฉพาะแต่เชลล์เท่านั้น บริษัทอื่นๆก็เช่นกัน” เขากล่าว
“ในอุตสาหกรรมน้ำมันทุกวันนี้ เราเห็นราคาที่เฟ้อขึ้นอย่างมาก แต่เราก็ยังไม่รู้ว่าราคาจะทรงๆ หรือว่าจะพุ่งขึ้นต่อไปในอนาคต”
อับดาลา เอ บาดรี เลขาธิการโอเปกยังได้กล่าวด้วยว่า กลุ่มประเทศโอเปกซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันมากกว่าหนึ่งในสามของโลกมีความกังวลใจกับราคาที่ทะยานขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์แทบทุกวันอย่างที่เป็นอยู่
“พวกเราไม่สบายใจกับการทะยานขึ้นนี้เลย” เอล บาดรีกล่าวในขณะที่เดินทางเยือนเอกวาดอร์ “ความผันผวนในตลาดไม่มีอันใดเกี่ยวข้องกับปัจจัยพื้นฐานแม้แต่น้อย ไม่เกี่ยวกับความต้องการใช้น้ำมันในตลาดโลกอีกด้วย”
เอล บาดรีชี้ว่าปัจจัยประการหนึ่งก็คือค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่ร่วงลงต่อเนื่อง มีส่วนทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นด้วย “ราคาเมื่อวันก่อนอยู่ในระดับ 130 ดอลลาร์แต่วันนี้โดดขึ้นไปถึง 135 ตลาดคลั่งไปแล้วจริง ๆ” เขากล่าว
เอล บาดรีเสริมด้วยว่าในอดีตเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับปริมาณน้ำมัน ทางกลุ่มก็เรียกประชุมอย่างไม่ลังเลและพยายามแก้ไขปัญหา แต่ตอนนี้เราเชื่อว่าราคาน้ำมันไม่เกี่ยวกับปริมาณในตลาด เพราะมีน้ำมันในตลาดอย่างพอเพียง รวมทั้งในคลังสำรองก็ไม่ได้ขาดแคลนแต่อย่างใด เขาเน้นว่าปัญหาใหญ่ตอนนี้ก็คือการเก็งกำไร
เอล บาดรีกล่าวอีกว่าโอเปกต้องการเห็นราคาน้ำมันไม่แพงและถูกเกินไป “ราคาที่อยากเห็นก็คือราคาที่ผู้ผลิตและผู้บริโภคสามารถพบกันได้” และแม้ว่าเงินยูโรจะมีเสถียรภาพมากกว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่การซื้อขายน้ำมันยังคงอิงกับดอลลาร์ โดยที่การเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้คงจะต้องใช้เวลานานทีเดียว
ทางด้าน เจโรน แวน เดอเวียร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ รอยัล ดัตช์ เชลล์ บริษัทน้ำมันใหญ่อันดับสองของโลกเมื่อนับตามมูลค่าในตลาดหลักทรัพย์ก็ให้ความเห็นในทำนองเดียวกับเอล บาดรี
แวนเดอเวียร์กล่าวว่าตอนนี้ไม่มีเรือบรรทุกสินค้าเข้าแถวรอในตะวันออกกลาง และไม่มีรถยนต์เข้าแถวต่อกันในปั๊มน้ำมันเพื่อรอเติมน้ำมัน แสดงว่าไม่มีปัญหาเรื่องน้ำมันขาดแคลน แต่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นมาจากปัจจัยทางจิตวิทยา และเราก็ไม่สามารถที่จะทำนายสถานการณ์เช่นนี้ได้
เขากล่าวอีกว่าทั้งกลุ่มประเทศโอเปกและสหรัฐฯซึ่งเป็นผู้บริโคน้ำมันมากที่สุดของโลก ก็ไม่ได้บอกว่าปริมาณน้ำมันไม่เพียงพอเลย
แม้ว่าราคาที่เพิ่มขึ้นจะทำให้กำไรของอุตสาหกรรมน้ำมันสูงตามไปด้วย แต่ซีอีโอของเชลล์ก็บอกว่า ราคาน้ำมันที่แพงกว่าเดิม ได้ทำให้เกิดสภาพสองประการขึ้น นั่นคือ สำหรับประเทศผู้บริโภค ก็เริ่มรู้สึกถึงปัญหาแล้ว และประชาชนก็เริ่มออกมาโวยวาย แต่ในขณะเดียวกันบริษัทน้ำมันก็ต้องเอากำไรมาลงทุนเพื่อผลิตน้ำมันเพิ่ม
ทั้งนี้เชลล์ลงทุนไปแล้ว 7,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในช่วงสามเดือนแรกของปีนี้ และนับเป็นบริษัทน้ำมันแห่งเดียวที่เพิ่มกำลังการผลิต และยังเป็นบริษัทที่มีโครงการใช้เงินทุนสูงสุดในบรรดาบริษัทน้ำมันด้วยกันอีกด้วย
ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นไม่ได้ส่งผลต่อผู้บริโภคเท่านั้น แต่ก็ทำให้ต้นทุนสำหรับการขุดเจาะบ่อน้ำมันและอื่นๆเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และบริษัทหลายแห่งก็ปรับเพิ่มสมมุติฐานราคาในระยะยาวที่ใช้สำหรับการวางแผนทางธุรกิจ
เมื่อถูกถามว่าเชลล์ต้องการเห็นราคาราว 80 ดอลลาร์ สำหรับการทำรายได้ให้คุ้มทุนใช่หรือไม่ แวนเดอเวียร์เลี่ยงที่จะให้ตัวเลขละเอียด และกล่าวเพียงแต่ว่าต้นทุนในการขยายการผลิต กำลังเพิ่มขึ้นจากเดิมมาก
“เมื่อราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น คุณก็จะเห็นว่าต้นทุนสำหรับโครงการใหม่ ๆในอุตสาหกรรมนี้เพิ่มขึ้นด้วย ไม่ใช่เฉพาะแต่เชลล์เท่านั้น บริษัทอื่นๆก็เช่นกัน” เขากล่าว
“ในอุตสาหกรรมน้ำมันทุกวันนี้ เราเห็นราคาที่เฟ้อขึ้นอย่างมาก แต่เราก็ยังไม่รู้ว่าราคาจะทรงๆ หรือว่าจะพุ่งขึ้นต่อไปในอนาคต”