ผู้จัดการรายวัน- แผนพัฒนาพื้นที่เหมืองถ่านหินแม่เมาะพื้นที่ใหม่ 3,000ไร่ล่าช้ากว่าแผนแล้ว 7 เดือนหลังยังไม่ผ่านการอนุมัติใช้พื้นที่จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหวั่นขุดถ่านไม่ทันเหตุแหล่งในปัจจุบันส่วนหนึ่งจะหมดลงกลางปี 2552 แต่การพัฒนาต้องใช้เวลาเกือบ 2 ปี"กฟผ."เล็งลดการผลิตรับมือหันเดินเครื่องน้ำมันเตา ดีเซลทำใจค่าไฟพุ่งแน่
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการบริหารการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(บอร์ดกฟผ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้บอร์ดได้รับรายงานเกี่ยวกับความล่าช้าของการเปิดพื้นที่ทำเหมืองถ่านหินแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ส่วนใหม่ขนาด 3,000 ไร่เนื่องจากยังไม่ผ่านการอนุมัติการใช้พื้นที่จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งตามแผนจะต้องเริ่มดำเนินการได้ในเดือนม.ค. 2551 ทำให้เกิดความล่าช้ามาแล้ว 7 เดือนทำให้กฟผ.เริ่มวิตกเกี่ยวกับแผนการบริหารเชื้อเพลิงในระยะยาวที่อาจจะต้องหันไปเดินเครื่องผลิตน้ำมันเตาและดีเซลที่มีราคาแพงซึ่งจะกระทบต่อภาระค่าไฟฟ้าประชาชนที่ต้องแบกเพิ่มขึ้นอย่างมาก
" โรงไฟฟ้าแม่เมาะจะใช้ถ่านหินที่อยู่ในบริเวณเหมืองแม่เมาะ 16 ล้านตันต่อปีซึ่งได้ทำการขุดขึ้นมา 2 ส่วนเพื่อนำมาผสมกันเพราะค่าความร้อนต่างกัน และตามแผนม.ค. 2551 จะต้องเริ่มเปิดหน้าเหมืองเคลียร์ที่ดินและมีการนำเครื่องจักรเข้ามาดำเนินการในพื้นที่ใหม่บริเวณเดียวกัน 3,000 ไร่เพื่อนำมาผสมเพราะที่เดิมส่วนหนึ่งจะทยอยหมดลงช่วงกลางปี 2552 และต้องมีถ่านหินใหม่มารองรับให้ทันต้นปี 2553 ซึ่งแหล่งใหม่นั้นต้องใช้เวลาในการผลิตถ่านหินซึ่งตามแผนจะผลิตได้เต็มที่นั้นต้องใช้เวลาประมาณ 21 เดือน"แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ความล่าช้าดังกล่าวคาดว่าจะกระทบต่อแผนการผลิตไฟที่แม่เมาะที่อาจต้องลดการผลิตลงระดับหนึ่งซึ่งจะต้องมีการดูรายละเอียดว่าเวลาที่เหลือจะเร่งดำเนินการได้มากน้อยเพียงใดและหากกรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังมีขั้นตอนการอนุมัติที่ช้าต่อไปอีกอาจยิ่งกระทบหนักถึงขั้นไม่มีถ่านหินส่งมอบได้ทันนั่นหมายถึงการผลิตไฟฟ้าที่แม่เมาะขนาดกำลังการผลิต 2,400 เมกะวัตต์จะหายไป 50% ทันทีซึ่งหมายถึงกฟผ.ต้องหันไปเดินเครื่องผลิตไฟจากน้ำมันเตาหรือดีเซลที่มีค่าไฟสูงถึง 6 บาทต่อหน่วยขณะที่การผลิตจากแม่เมาะค่าไฟอยู่เพียงระดับ 1.2 บาทต่อหน่วยเท่านั้น
แหล่งข่าวกล่าวว่า กฟผ.ไม่ได้คาดคิดว่าขั้นตอนอนุมัติจะล่าช้าเนื่องจากเห็นว่าเป็นโครงการในพื้นที่เดิมที่ตามหลักการทำเหมืองได้ผ่านขั้นตอนมาเกือบหมดแล้วกฟผ.จึงได้มีการเปิดประมูลผู้รับเหมาทำเหมืองและได้คัดเลือกเสร็จเรียบร้อยแล้วแต่ยังไม่สามารถเซ็นสัญญาได้เพราะกฟผ.ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับเหมาไปพัฒนาเหมืองได้เพราะติดปัญหาดังกล่าว โดยช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาทางคณะทำงานที่พิจารณาเรื่องการใช้พื้นที่เหมืองให้เหตุผลว่าเป็นพื้นที่จำนวนมากต้องอาศัยเวลาพิจารณา
ปัจจุบันถ่านหินที่แม่เมาะมีส่วนสำคัญในการเฉลี่ยค่าใช้จ่ายต้นทุนเชื้อเพลิงได้เนื่องจากมีต้นทุนที่ต่ำสุดและอยู่ภายในประเทศอย่างไรก็ตามกฟผ.ได้พยายามที่จะเกลี่ยค่าไฟด้วยการใช้เชื้อเพลิงราคาต่ำให้มากซึ่งขณะนี้ยอมรับว่ากว่า 70 % ไทยพึ่งพิงระบบก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าค่อนข้างสูงและมีความเสี่ยงด้วยเหตุนี้ตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าใหม่ได้กำหนดให้กฟผ.สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน 4 แห่งที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการคัดเลือกพื้นที่ซึ่งกฟผ.ได้ชี้แจงกับชุมชนที่เหมาะสมในการตั้งโรงไฟฟ้าให้เข้าใจถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติและปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กฟผ.สามารถบริหารจัดการได้เป็นอย่างดี
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการบริหารการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(บอร์ดกฟผ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้บอร์ดได้รับรายงานเกี่ยวกับความล่าช้าของการเปิดพื้นที่ทำเหมืองถ่านหินแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ส่วนใหม่ขนาด 3,000 ไร่เนื่องจากยังไม่ผ่านการอนุมัติการใช้พื้นที่จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งตามแผนจะต้องเริ่มดำเนินการได้ในเดือนม.ค. 2551 ทำให้เกิดความล่าช้ามาแล้ว 7 เดือนทำให้กฟผ.เริ่มวิตกเกี่ยวกับแผนการบริหารเชื้อเพลิงในระยะยาวที่อาจจะต้องหันไปเดินเครื่องผลิตน้ำมันเตาและดีเซลที่มีราคาแพงซึ่งจะกระทบต่อภาระค่าไฟฟ้าประชาชนที่ต้องแบกเพิ่มขึ้นอย่างมาก
" โรงไฟฟ้าแม่เมาะจะใช้ถ่านหินที่อยู่ในบริเวณเหมืองแม่เมาะ 16 ล้านตันต่อปีซึ่งได้ทำการขุดขึ้นมา 2 ส่วนเพื่อนำมาผสมกันเพราะค่าความร้อนต่างกัน และตามแผนม.ค. 2551 จะต้องเริ่มเปิดหน้าเหมืองเคลียร์ที่ดินและมีการนำเครื่องจักรเข้ามาดำเนินการในพื้นที่ใหม่บริเวณเดียวกัน 3,000 ไร่เพื่อนำมาผสมเพราะที่เดิมส่วนหนึ่งจะทยอยหมดลงช่วงกลางปี 2552 และต้องมีถ่านหินใหม่มารองรับให้ทันต้นปี 2553 ซึ่งแหล่งใหม่นั้นต้องใช้เวลาในการผลิตถ่านหินซึ่งตามแผนจะผลิตได้เต็มที่นั้นต้องใช้เวลาประมาณ 21 เดือน"แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ความล่าช้าดังกล่าวคาดว่าจะกระทบต่อแผนการผลิตไฟที่แม่เมาะที่อาจต้องลดการผลิตลงระดับหนึ่งซึ่งจะต้องมีการดูรายละเอียดว่าเวลาที่เหลือจะเร่งดำเนินการได้มากน้อยเพียงใดและหากกรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังมีขั้นตอนการอนุมัติที่ช้าต่อไปอีกอาจยิ่งกระทบหนักถึงขั้นไม่มีถ่านหินส่งมอบได้ทันนั่นหมายถึงการผลิตไฟฟ้าที่แม่เมาะขนาดกำลังการผลิต 2,400 เมกะวัตต์จะหายไป 50% ทันทีซึ่งหมายถึงกฟผ.ต้องหันไปเดินเครื่องผลิตไฟจากน้ำมันเตาหรือดีเซลที่มีค่าไฟสูงถึง 6 บาทต่อหน่วยขณะที่การผลิตจากแม่เมาะค่าไฟอยู่เพียงระดับ 1.2 บาทต่อหน่วยเท่านั้น
แหล่งข่าวกล่าวว่า กฟผ.ไม่ได้คาดคิดว่าขั้นตอนอนุมัติจะล่าช้าเนื่องจากเห็นว่าเป็นโครงการในพื้นที่เดิมที่ตามหลักการทำเหมืองได้ผ่านขั้นตอนมาเกือบหมดแล้วกฟผ.จึงได้มีการเปิดประมูลผู้รับเหมาทำเหมืองและได้คัดเลือกเสร็จเรียบร้อยแล้วแต่ยังไม่สามารถเซ็นสัญญาได้เพราะกฟผ.ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับเหมาไปพัฒนาเหมืองได้เพราะติดปัญหาดังกล่าว โดยช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาทางคณะทำงานที่พิจารณาเรื่องการใช้พื้นที่เหมืองให้เหตุผลว่าเป็นพื้นที่จำนวนมากต้องอาศัยเวลาพิจารณา
ปัจจุบันถ่านหินที่แม่เมาะมีส่วนสำคัญในการเฉลี่ยค่าใช้จ่ายต้นทุนเชื้อเพลิงได้เนื่องจากมีต้นทุนที่ต่ำสุดและอยู่ภายในประเทศอย่างไรก็ตามกฟผ.ได้พยายามที่จะเกลี่ยค่าไฟด้วยการใช้เชื้อเพลิงราคาต่ำให้มากซึ่งขณะนี้ยอมรับว่ากว่า 70 % ไทยพึ่งพิงระบบก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าค่อนข้างสูงและมีความเสี่ยงด้วยเหตุนี้ตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าใหม่ได้กำหนดให้กฟผ.สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน 4 แห่งที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการคัดเลือกพื้นที่ซึ่งกฟผ.ได้ชี้แจงกับชุมชนที่เหมาะสมในการตั้งโรงไฟฟ้าให้เข้าใจถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติและปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กฟผ.สามารถบริหารจัดการได้เป็นอย่างดี