ผู้จัดการรายวัน - สพท.สานฝันวีระศักดิ์ เดินหน้าโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 14 เส้นทาง ประเดิมเส้นทางน้ำพุร้อน อินเทรนด์กระแสท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมาแรง ส่งนักท่องเที่ยวตามแหล่งน้ำพุร้อนบูม เติบโตปีละกว่า 20% ขณะที่สำนักงบประมาณ ไฟเขียวให้งบปี 52 แก่สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เพียง 1 ล้านบาท จากที่ขอไป 22 ล้านบาท ผอ.สำนักพัฒนาฯก้มหน้ารับ พร้อมลุยงานด้านประชาสัมพันธ์ และพัฒนาบุคคลากรในชุมชน
นายดำรงค์ แสงกวีเลิศ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งอยู่ในความดูแลของสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางสำนักพัฒนาฯ ได้เริ่มเข้าไปให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่และเจ้าของกิจการ ตามแหล่งท่องเที่ยวที่ต้องการพัฒนา ซึ่งเป็นไปตามโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใน 14 เส้นทาง ที่ นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รมว. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้มอบนโยบายไว้ โดยประเดิมแหล่งน้ำพุร้อน เป็นเส้นทางแรก เพราะเห็นว่า ศักยภาพการท่องเที่ยวน้ำพุร้อนมีโอกาสเติบโตสูง และอยู่ในกระแสความนิยมรักและดูแลสุขภาพของนักท่องเที่ยว ในแต่ละปีแหล่งน้ำพุร้อนมีนักท่องเที่ยวให้ความสนใจเดินทางเข้าไปเที่ยวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 20% ทุกปี
ดังนั้นในปีงบประมาณ 2552 ทางสำนักพัฒนา จึงได้เสนอของบประมาณเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพน้ำพุร้อนธรรมชาติไว้ที่ 22 ล้านบาท แต่คาดว่า จะถูกตัดลดเหลือ 1 ล้านบาท โดยสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลังให้เหตุผลว่า ในช่วงแรกของการดำเนินโครงการต้องการให้สำนักงานฯ เร่งทำประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้และความเข้าใจแก่ชาวบ้านในชุมชนซึ่งเป็นเจ้าของแหล่งท่องเที่ยว ให้รู้จักเรื่องการบริหารจัดการ ส่วนเรื่องการพัฒนาแหล่งให้ร่วมกับเจ้าของพื้นที่ เช่น องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ดำเนินงาน
“เราได้จัดทำคู่มือบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพน้ำพุร้อนธรรมชาติให้สอดคล้องกับมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพน้ำพุร้อนธรรมชาติ และจัดอบรมเชิงปฎิบัติการ เพื่อพัฒนาผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องในแหล่งท่องเที่ยวน้ำพุร้อน จะได้นำความรู้ แนวคิดและประสบการณ์ไปใช้ในการพัฒนาและบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ของตัวเองให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น”
นายดำรงค์ กล่าวว่า การให้ความรู้แก่ชุมชน จะเป็นจุดเริ่มของการยกระดับแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่นของตัวเอง จากระดับล่าง ที่เที่ยวกันเฉพาะคนในท้องถิ่น ขึ้นมาเป็นระดับกลาง และระดับบน ซึ่งจะสามารถเชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาท่องเที่ยวได้ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของชุมชน และศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเอง ตรงนี้จึงเป็นหน้าที่ของสำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ที่จะเข้าไปให้ความรู้และพัฒนา
อย่างไรก็ตาม การสำรวจของกรมทรัพยากรธรณี ล่าสุดพบว่า มีหล่งน้ำพุร้อนในประเทศไทยทั้งหมดประมาณ 112 แห่ง แต่ยังมีรูปแบบการจัดการและการพัฒนาได้ไม่เต็มศักยภาพ เพราะ บางแห่งสามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก ติดอันดับ เวิลด์คลาสเดสติเนชั่นได้ และบางแห่งก็พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับภูมิภาค
ทั้งนี้แนวทางการดำเนินการด้านบุคลากรผู้ให้บริการ รวมถึงด้านการตลาดและการส่งเสริมการลงทุนในโครงการสำคัญอาทิ หมู่บ้านน้ำแร่ (Spa Village) ศูนย์สุขภาพธารน้ำแร่(Home Spa) เมืองน้ำแร่ ( Spa Capital) สำหรับการแพทย์แผนไทย เช่นการใช้สมุนไพร อาหารชีวจิต การนวด การอบ การฝึกจิต โยคะด้วยการส่งเสริมควบคู่ไปกับการใช้ร่วมกับน้ำแร่รวมถึงในอนาคตอาจจะต้องจัดหลักสูตรสำหรับกลุ่มพิเศษเช่นผู้ป่วยอัมพาต อัมพฤกษ์ โรคหัวใจ เบาหวาน โรคอ้วนเป็นต้น
นายดำรงค์ แสงกวีเลิศ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งอยู่ในความดูแลของสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางสำนักพัฒนาฯ ได้เริ่มเข้าไปให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่และเจ้าของกิจการ ตามแหล่งท่องเที่ยวที่ต้องการพัฒนา ซึ่งเป็นไปตามโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใน 14 เส้นทาง ที่ นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รมว. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้มอบนโยบายไว้ โดยประเดิมแหล่งน้ำพุร้อน เป็นเส้นทางแรก เพราะเห็นว่า ศักยภาพการท่องเที่ยวน้ำพุร้อนมีโอกาสเติบโตสูง และอยู่ในกระแสความนิยมรักและดูแลสุขภาพของนักท่องเที่ยว ในแต่ละปีแหล่งน้ำพุร้อนมีนักท่องเที่ยวให้ความสนใจเดินทางเข้าไปเที่ยวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 20% ทุกปี
ดังนั้นในปีงบประมาณ 2552 ทางสำนักพัฒนา จึงได้เสนอของบประมาณเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพน้ำพุร้อนธรรมชาติไว้ที่ 22 ล้านบาท แต่คาดว่า จะถูกตัดลดเหลือ 1 ล้านบาท โดยสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลังให้เหตุผลว่า ในช่วงแรกของการดำเนินโครงการต้องการให้สำนักงานฯ เร่งทำประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้และความเข้าใจแก่ชาวบ้านในชุมชนซึ่งเป็นเจ้าของแหล่งท่องเที่ยว ให้รู้จักเรื่องการบริหารจัดการ ส่วนเรื่องการพัฒนาแหล่งให้ร่วมกับเจ้าของพื้นที่ เช่น องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ดำเนินงาน
“เราได้จัดทำคู่มือบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพน้ำพุร้อนธรรมชาติให้สอดคล้องกับมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพน้ำพุร้อนธรรมชาติ และจัดอบรมเชิงปฎิบัติการ เพื่อพัฒนาผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องในแหล่งท่องเที่ยวน้ำพุร้อน จะได้นำความรู้ แนวคิดและประสบการณ์ไปใช้ในการพัฒนาและบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ของตัวเองให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น”
นายดำรงค์ กล่าวว่า การให้ความรู้แก่ชุมชน จะเป็นจุดเริ่มของการยกระดับแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่นของตัวเอง จากระดับล่าง ที่เที่ยวกันเฉพาะคนในท้องถิ่น ขึ้นมาเป็นระดับกลาง และระดับบน ซึ่งจะสามารถเชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาท่องเที่ยวได้ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของชุมชน และศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเอง ตรงนี้จึงเป็นหน้าที่ของสำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ที่จะเข้าไปให้ความรู้และพัฒนา
อย่างไรก็ตาม การสำรวจของกรมทรัพยากรธรณี ล่าสุดพบว่า มีหล่งน้ำพุร้อนในประเทศไทยทั้งหมดประมาณ 112 แห่ง แต่ยังมีรูปแบบการจัดการและการพัฒนาได้ไม่เต็มศักยภาพ เพราะ บางแห่งสามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก ติดอันดับ เวิลด์คลาสเดสติเนชั่นได้ และบางแห่งก็พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับภูมิภาค
ทั้งนี้แนวทางการดำเนินการด้านบุคลากรผู้ให้บริการ รวมถึงด้านการตลาดและการส่งเสริมการลงทุนในโครงการสำคัญอาทิ หมู่บ้านน้ำแร่ (Spa Village) ศูนย์สุขภาพธารน้ำแร่(Home Spa) เมืองน้ำแร่ ( Spa Capital) สำหรับการแพทย์แผนไทย เช่นการใช้สมุนไพร อาหารชีวจิต การนวด การอบ การฝึกจิต โยคะด้วยการส่งเสริมควบคู่ไปกับการใช้ร่วมกับน้ำแร่รวมถึงในอนาคตอาจจะต้องจัดหลักสูตรสำหรับกลุ่มพิเศษเช่นผู้ป่วยอัมพาต อัมพฤกษ์ โรคหัวใจ เบาหวาน โรคอ้วนเป็นต้น