รอยเตอร์ – คำประกาศขึงขังของกระทรวงการคลังและธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จะใช้มาตรการ “อุ้ม” แฟนนี เม และ เฟรดดี แมค ยังคงประสบความล้มเหลวเมื่อวันจันทร์(14)ที่ผ่านมา ในการขจัดปัดเป่าเมฆหมอกที่ปกคลุมยักษ์ใหญ่สถาบันการเงินด้านสินเชื่อเคหะของอเมริกาทั้งสอง โดยแม้นักลงทุนให้ความสนใจเข้าประมูลซื้อตราสารหนี้ใหม่มูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์ ของเฟรดดี แมคอย่างไม่ลังเล แต่ตลาดวอลสตรีทยังไม่คลายความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ในตลาดเงินและภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ
ตลาดหุ้นทั่วโลกเมื่อวันจันทร์ฟื้นตัวขึ้นในช่วงแรกๆ หลังกระทรวงการคลังและธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ประกาศมาตรการเมื่อคืนวันอาทิตย์ ซึ่งมีทั้งการขยายเพดานเงินกู้ที่จะขอจากกระทรวงได้ รวมทั้งกระทรวงอาจจะเข้าไปเข้าซื้อหุ้นของแฟนนี เมและเฟรดดี แมค ด้วย ขณะเดียวกัน เฟดก็อนุญาตให้บริษัททั้งสองขอสินเชื่อฉุกเฉินได้ ในกรณีเกิดการขาดสภาพคล่องรุนแรง
อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นกลับค่อย ๆ อ่อนตัวลงเป็นลำดับเมื่อเวลาผ่านไป เนื่องจากนักลงทุนมองว่า มาตรการช่วยเหลือของรัฐบาลและธนาคารกลางสหรัฐฯ ไม่สามารถหยุดยั้งภาวะวิกฤตที่กำลังแผ่ขยายไปทั่วภาคการเงินอันเนื่องมาจากการหดตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์และการชะงักงันทางเศรษฐกินในขณะนี้ได้
การล้มละลายของธนาคารสินเชื่อเพื่อการเคหะ อินดีแมค แบงคอร์ป อิงค์ เมื่อวันศุกร์(11)ที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นการล่มสลายของธนาคารที่มีขนาดความเสียหายใหญ่อันดับ 3 ในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ เป็นปรากฏการณ์ที่ตอกย้ำถึงภาวะตึงตัวรุนแรงในตลาดเงิน และในวันจันทร์(14)ราคาหุ้นในกลุ่มสถาบันการเงิน อาทิ เนชั่นแนล ซิตี้ และวอชิงตัน มิวชวล ต่างดิ่งวูบลงอย่างรุนแรง
“เหตุการณ์คราวนี้ (กรณีของแฟนนีและเฟรดดี) ไม่ใช่ปรากฏการณ์ครั้งสุดท้ายแน่นอน”จอร์จ โซรอส นักการเงินชื่อก้องโลกกล่าวระหว่างการให้สัมภาษณ์รอยเตอร์ทางโทรศัพท์ พร้อมทั้งเสริมว่า ความปั่นป่วนโกลาหลในตลาดโลกในช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมา นับเป็น “วิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งรุนแรงที่สุดในชีวิตที่พวกเราเคยประสบ”
แฟนนีและเฟรดดี เป็นสถาบันการเงินที่มียอดการให้สินเชื่อเพื่อการเคหะ เป็นมูลค่ารวมกันประมาณครึ่งหนึ่งของสินเชื่อเพื่อการเคหะทั้งระบบในสหรัฐฯ จึงถือเป็นสถาบันการเงินที่มีความสำคัญยิ่งในการสร้างเสถียรภาพให้แก่ตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัย
อย่างไรก็ตาม ในสภาพปัจจุบันที่อุตสาหกรรมที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯยังคงทรุดตัวตกต่ำ จำนวนผู้ถูกฟ้องยึดบ้านก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้กระทั่งในกลุ่มลูกค้าที่ดูเหมือนจะมีฐานะมั่นคง ทำให้หลายฝ่ายวิตกกังวลว่า สถาบันการเงินทั้งสองอาจต้องการเงินทุนมาชดเชยความสูญเสียมากกว่าที่คาดกันไว้ และราคาหุ้นของแฟนนี เมและเฟรดดี แมค ตอนปิดตลาดเมื่อวันจันทร์ ยังลดต่ำลง ภายใต้ภาวะการซื้อขายที่ผันผวนตลอดทั้งวัน แม้ตราสารหนี้ใหม่ของเฟรดดีจะมีนักลงทุนสนใจประมูลซื้อกันอย่างคึกคักก็ตาม
ทั้งนี้หุ้นเฟรดดี มีราคาปิดลดต่ำลงมา 8.3% ขณะที่แฟนนีราคาหุ้นหดหายไป 5.1% โดยที่ระหว่างการซื้อขายในวันจันทร์ ราคาของหุ้น 2 ตัวนี้ บางช่วงก็ทะยานขึ้นไปบวกเป็นตัวเลขสองหลัก แต่บางช่วงก็ไหลรูดลงติดลบเป็นตัวเลขสองหลัก
สำหรับการประมูลขายตราสารหนี้ใหม่ของเฟรดดีในวันจันทร์ ความจริงแล้วเป็นการจัดประมูลตามกำหนดเวลาปกติ ทว่าเนื่องจากความปั่นป่วนผันผวนที่เกิดขึ้นในปลายสัปดาห์ที่แล้ว จึงทำให้จึงจับตามองมากเป็นพิเศษ ในฐานะเป็นมาตรวัดความเชื่อมั่นของตลาด ทางด้านแฟนนีแจ้งว่า จะจัดการประมูลตราสารหนี้ใหม่ตามปกติของตนในวันพุธ(16)นี้เช่นกัน
แจน แฮทซิอุส นักเศรษฐศาสตร์ของโกลด์แมนแซคส์ เขียนในบันทึกถึงลูกค้า ประเมินความพยายามของทางการสหรัฐฯในคราวนี้ว่า “มาตรการของรัฐบาลอาจแลดูเหมือนกับเป็นยาแรง แต่พวกเราไม่คิดว่ามันจะเป็นจุดเปลี่ยนสำหรับสถานการณ์ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐในขณะนี้ได้ แต่ขณะเดียวกันมันก็ไม่ได้เป็นสัญญาณว่าสถานการณ์มันจะเลวร้ายไปกว่าที่คาดการณ์กันไว้”
“มาตรการเหล่านี้เพียงแต่เป็นเครื่องยืนยันอีกครั้งหนึ่ง ให้แก่ทัศนะที่เรายึดถือมานาน และก็ดูจะเป็นที่เห็นพ้องด้วยอย่างกว้างขวาง ว่ารัฐบาลจะทำทุกสิ่งทุกอย่างที่สามารถกระทำได้เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการล่มสลายของตลาดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในกฎในเกณฑ์เรื่อยมา และจะยังคงยืนอยู่เบื้องหลังวิสาหกิจที่รัฐบาลอุปถัมภ์ (ทั้งสองแห่ง)เหล่านี้” แฮทซิอุสกล่าวในอีกตอนหนึ่ง
ตลาดหุ้นทั่วโลกเมื่อวันจันทร์ฟื้นตัวขึ้นในช่วงแรกๆ หลังกระทรวงการคลังและธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ประกาศมาตรการเมื่อคืนวันอาทิตย์ ซึ่งมีทั้งการขยายเพดานเงินกู้ที่จะขอจากกระทรวงได้ รวมทั้งกระทรวงอาจจะเข้าไปเข้าซื้อหุ้นของแฟนนี เมและเฟรดดี แมค ด้วย ขณะเดียวกัน เฟดก็อนุญาตให้บริษัททั้งสองขอสินเชื่อฉุกเฉินได้ ในกรณีเกิดการขาดสภาพคล่องรุนแรง
อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นกลับค่อย ๆ อ่อนตัวลงเป็นลำดับเมื่อเวลาผ่านไป เนื่องจากนักลงทุนมองว่า มาตรการช่วยเหลือของรัฐบาลและธนาคารกลางสหรัฐฯ ไม่สามารถหยุดยั้งภาวะวิกฤตที่กำลังแผ่ขยายไปทั่วภาคการเงินอันเนื่องมาจากการหดตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์และการชะงักงันทางเศรษฐกินในขณะนี้ได้
การล้มละลายของธนาคารสินเชื่อเพื่อการเคหะ อินดีแมค แบงคอร์ป อิงค์ เมื่อวันศุกร์(11)ที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นการล่มสลายของธนาคารที่มีขนาดความเสียหายใหญ่อันดับ 3 ในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ เป็นปรากฏการณ์ที่ตอกย้ำถึงภาวะตึงตัวรุนแรงในตลาดเงิน และในวันจันทร์(14)ราคาหุ้นในกลุ่มสถาบันการเงิน อาทิ เนชั่นแนล ซิตี้ และวอชิงตัน มิวชวล ต่างดิ่งวูบลงอย่างรุนแรง
“เหตุการณ์คราวนี้ (กรณีของแฟนนีและเฟรดดี) ไม่ใช่ปรากฏการณ์ครั้งสุดท้ายแน่นอน”จอร์จ โซรอส นักการเงินชื่อก้องโลกกล่าวระหว่างการให้สัมภาษณ์รอยเตอร์ทางโทรศัพท์ พร้อมทั้งเสริมว่า ความปั่นป่วนโกลาหลในตลาดโลกในช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมา นับเป็น “วิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งรุนแรงที่สุดในชีวิตที่พวกเราเคยประสบ”
แฟนนีและเฟรดดี เป็นสถาบันการเงินที่มียอดการให้สินเชื่อเพื่อการเคหะ เป็นมูลค่ารวมกันประมาณครึ่งหนึ่งของสินเชื่อเพื่อการเคหะทั้งระบบในสหรัฐฯ จึงถือเป็นสถาบันการเงินที่มีความสำคัญยิ่งในการสร้างเสถียรภาพให้แก่ตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัย
อย่างไรก็ตาม ในสภาพปัจจุบันที่อุตสาหกรรมที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯยังคงทรุดตัวตกต่ำ จำนวนผู้ถูกฟ้องยึดบ้านก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้กระทั่งในกลุ่มลูกค้าที่ดูเหมือนจะมีฐานะมั่นคง ทำให้หลายฝ่ายวิตกกังวลว่า สถาบันการเงินทั้งสองอาจต้องการเงินทุนมาชดเชยความสูญเสียมากกว่าที่คาดกันไว้ และราคาหุ้นของแฟนนี เมและเฟรดดี แมค ตอนปิดตลาดเมื่อวันจันทร์ ยังลดต่ำลง ภายใต้ภาวะการซื้อขายที่ผันผวนตลอดทั้งวัน แม้ตราสารหนี้ใหม่ของเฟรดดีจะมีนักลงทุนสนใจประมูลซื้อกันอย่างคึกคักก็ตาม
ทั้งนี้หุ้นเฟรดดี มีราคาปิดลดต่ำลงมา 8.3% ขณะที่แฟนนีราคาหุ้นหดหายไป 5.1% โดยที่ระหว่างการซื้อขายในวันจันทร์ ราคาของหุ้น 2 ตัวนี้ บางช่วงก็ทะยานขึ้นไปบวกเป็นตัวเลขสองหลัก แต่บางช่วงก็ไหลรูดลงติดลบเป็นตัวเลขสองหลัก
สำหรับการประมูลขายตราสารหนี้ใหม่ของเฟรดดีในวันจันทร์ ความจริงแล้วเป็นการจัดประมูลตามกำหนดเวลาปกติ ทว่าเนื่องจากความปั่นป่วนผันผวนที่เกิดขึ้นในปลายสัปดาห์ที่แล้ว จึงทำให้จึงจับตามองมากเป็นพิเศษ ในฐานะเป็นมาตรวัดความเชื่อมั่นของตลาด ทางด้านแฟนนีแจ้งว่า จะจัดการประมูลตราสารหนี้ใหม่ตามปกติของตนในวันพุธ(16)นี้เช่นกัน
แจน แฮทซิอุส นักเศรษฐศาสตร์ของโกลด์แมนแซคส์ เขียนในบันทึกถึงลูกค้า ประเมินความพยายามของทางการสหรัฐฯในคราวนี้ว่า “มาตรการของรัฐบาลอาจแลดูเหมือนกับเป็นยาแรง แต่พวกเราไม่คิดว่ามันจะเป็นจุดเปลี่ยนสำหรับสถานการณ์ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐในขณะนี้ได้ แต่ขณะเดียวกันมันก็ไม่ได้เป็นสัญญาณว่าสถานการณ์มันจะเลวร้ายไปกว่าที่คาดการณ์กันไว้”
“มาตรการเหล่านี้เพียงแต่เป็นเครื่องยืนยันอีกครั้งหนึ่ง ให้แก่ทัศนะที่เรายึดถือมานาน และก็ดูจะเป็นที่เห็นพ้องด้วยอย่างกว้างขวาง ว่ารัฐบาลจะทำทุกสิ่งทุกอย่างที่สามารถกระทำได้เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการล่มสลายของตลาดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในกฎในเกณฑ์เรื่อยมา และจะยังคงยืนอยู่เบื้องหลังวิสาหกิจที่รัฐบาลอุปถัมภ์ (ทั้งสองแห่ง)เหล่านี้” แฮทซิอุสกล่าวในอีกตอนหนึ่ง