ASTVผู้จัดการรายวัน - สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ไม่ห่วงรัฐขยายเพดานเงินกู้ ชี้จำเป็นในภาวะที่ต้องการเม็ดเงิน เพื่อใช้จ่ายและลงทุนกระตุ้นเศรษฐกิจ พร้อมเสนอให้ใช้จังหวะที่มีการออกพันธบัตร รวมถึหุ้นกู้ของเอกชนจำนวนมาก จัดระบบพัฒนาตลาดตราสารหนี้ หวังช่วยพลักดันตลาดตราสารหนี้ไทย พัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้องและยั่งยืนในระยะยาว
นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่า การการขยายเพดานเงินกู้จากเดิม 1.2 ล้านล้านบาท เป็น 1.4 ล้านล้านบาทของรัฐบาล เป็นผลต่อเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจที่มีปัญหาในขณะนี้มีแนวโน้มว่าจะรุนแรงมากกว่าที่คาดไว้เดิม ทำให้ภาคเอกชนไม่สามารถเป็นปัจจัยนำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ รัฐบาลจึงมีความจำเป็นต้องเป็นปัจจัยนำแทนด้วยการใช้มาตรการการคลังเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นหนทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวที่จำเป็นต้องทำเพราะนโยบายการเงินผ่านอัตราดอกเบี้ยของธปท.ที่ผ่านมา มีผลค่อนข้างน้อย และเมื่อมีการต้องใช้เงินเพื่อนำไปกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่รัฐบาลมีเงินไม่เพียงพอ จึงจำเป็นที่จะต้องหาทางเพิ่มเม็ดเงินเพื่อมาใช้จ่ายและลงทุน ซึ่งการขยายเพดานเงินกู้ถือเป็นช่องทางหนึ่ง
“ในเมื่อตอนนี้ต้องการเงินมาใช้จ่ายและลงทุน แต่ไม่มีเงินอยู่ในมือ แล้วจะเอาเงินที่ไหนมาใช้ หากเป็นรัฐบาลที่ผ่านมาอาจจะหาทางเอาเงินประเภทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจใต้ดินมาใช้ บีบให้กลายมาเป็นเงินบนดินหรือใช้เงินนอกงบประมาณผ่านหน่วยงานของรัฐ แต่ก็มีอาจปัญหาในทางกฎหมายซึ่งคาดว่ารัฐบาลนี้คงไม่ใช้แนวทางนั้น เพราะฉะนั้นทางเดียวที่เหลืออยู่ก็คือการกู้เงิน ทำให้จำเป็นต้องขยายเพดานเงินกู้ ซึ่งก็ถือว่าปกติไม่ได้แปลกอะไร เพราะประเทศอื่นอย่างญี่ปุ่น สหรัฐ เกาหลีใต้ก็ใช้วิธีการเดียวกัน กรณีของประเทศไทยถือว่ายังกู้น้อยกว่าประเทศที่กล่าวมาด้วยซ้ำไป ”นายณัฐพลกล่าว
สำหรับเรื่องที่มีการเสนอแผนพัฒนาตลาดทุน หรือ Big Bang ต่อนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนนั้น มองว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต่อเนื่อง เพราะอายุของคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนนั้น จะสอดคล้องกับวาระในการดำรงตำแหน่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ดังนั้น เมื่อตอนนี้นายกรณ์เข้ามาเป็นรัฐมนตรีรับผิดชอบ จึงได้มีการเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนอีกครั้งและเสนอแผนที่เคยมีการจัดทำให้รับทราบ ซึ่งโดยหลักการแล้วก็จะเป็นแนวทางตามแผนงานหลักเดิมๆ อาจจะแตกต่างบ้างก็คือ ที่ผ่านมาจะมีคณะอนุกรรมการ 2 ชุด คือ อนุกรรมการร่างแผนพัฒนาตลาดทุน กับ อนุกรรมการกำกับการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ แต่ในกรอบตามแผนใหม่อาจจะรวมกันเหลือเป็นคณะอนุกรรมการชุดเดียวเท่านั้น
นายณัฐพล กล่าวต่อว่า สำหรับแนวทางในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ที่สมาคมอยากเห็นก็คือ ในปีนี้จะต้องมีการออกพันธบัตรเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว น่าจะใช้เป็นโอกาสในการจัดระเบียบและวางโครงสร้างในเรื่องจำนวนรุ่น ไม่ให้มีมากเกินไป ส่งเสริมรุ่นที่เป็น Benchmark ให้มีมากขึ้นและพอเพียง ในขณะเดียวกันควรจะต้องเร่งสร้างระบบ Primary Dealer ให้มีความเข้มแข็งมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน กำหนดสิทธิพิเศษและหน้าที่ให้ชัดเจน เพื่อให้เข้ามาทำหน้าที่ในการเป็น Market Maker เพื่อให้ตลาดรองตราสารหนี้ของไทยให้มีความคึกคักมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาการประมูลพันธบัตรในตลาดแรกกระทรวงการคลังไปเปิดทางให้นักลงทุนรายใหญ่ๆ อย่าง กบข. หรืออย่างบริษัทประกันสามารถเข้ามาร่วมประมูลได้โดยตรง นักลงทุนกลุ่มนี้จึงไม่ได้ซื้อขายผ่านทาง Dealer ดังนั้น Primary Dealer เองเห็นว่าสิทธิประโยชน์ที่ได้ไม่คุ้มกับที่จะต้องรับหน้าที่เป็น Market Maker สุดท้ายตลาดรองตราสารหนี้จึงไม่มีใครสนใจที่จะเป็นตัวกลาง ดังนั้นเรื่องนี้จึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ควรจัดระบบให้ชัดเจนกระทรวงการคลังไม่ควรที่จะต้องพึ่งตลาดที่เป็น Captive Market อย่างนักลงทุนที่เป็นของตายเท่านั้นแต่ควรจะส่งเสริมให้เป็นไปตามกลไกตลาด ปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยสะท้อนสภาวะที่เป็นจริงของดีมานด์และซัพพลายในตลาด ไม่ต้องกลัวว่าออกมาแล้วจะขายไม่ได้
นายณัฐพล กล่าวว่า ในปีนี้จะมีการออกหุ้นกู้เอกชน หรือ Corporate Bond กันมากขึ้น ดังนั้น จึงควรที่จะกระตุ้นให้มีนักลงทุนรายย่อยเข้ามาในตลาดตราสารหนี้เพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันกับที่ภาวะตลาดหุ้นมีแนวโน้มที่ไม่แจ่มใสนัก สมาคมฯ ก็จะพยายามสนับสนุนในสมาชิกที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์ให้หันมาสนใจทำธุรกรรมด้านตราสารหนี้มากขึ้น ทั้งการเป็นอันเดอร์ไรท์เตอร์ การเป็นดีลเลอร์ ซึ่งจะเป็นการช่วยเพิ่มฐานหรือปริมาณการซื้อขายให้เพิ่มขึ้นได้อีกทางหนึ่ง
นอกจากนี้ ยังเสนอด้วยว่า หากมีการผลักดันในเรื่องของ Central Counter Party ให้เกิดขึ้นได้ เชื่อว่าจะช่วยให้ตลาดเกิดความเชื่อมั่นได้และลดความเสี่ยงจากคู่ค้าลง ปัจจุบันเมื่อมีการทำซื้อขายตราสารหนี้อาจมีกังวลว่าคู่ค้าจะมีเงินมีสภาพคล่องเพียงพอหรือไม่ เมื่อไม่แน่ใจก็จะมีการกำหนดวงเงินในการทำธุรกรรมเอาไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยง จึงทำให้การซื้อขายถูกจำกัดไปด้วย แต่หากมีการพัฒนาคนกลางมาช่วยรับความเสี่ยงนี้ อย่างเช่น TSD เชื่อว่าจะทำให้คู่ค้ากล้าที่จะขยายวงเงินในการทำธุรกรรมมากขึ้น ซึ่งก็จะเป็นผลดีกับภาพรวมของตลาดตราสารหนี้ในที่สุด
นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่า การการขยายเพดานเงินกู้จากเดิม 1.2 ล้านล้านบาท เป็น 1.4 ล้านล้านบาทของรัฐบาล เป็นผลต่อเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจที่มีปัญหาในขณะนี้มีแนวโน้มว่าจะรุนแรงมากกว่าที่คาดไว้เดิม ทำให้ภาคเอกชนไม่สามารถเป็นปัจจัยนำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ รัฐบาลจึงมีความจำเป็นต้องเป็นปัจจัยนำแทนด้วยการใช้มาตรการการคลังเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นหนทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวที่จำเป็นต้องทำเพราะนโยบายการเงินผ่านอัตราดอกเบี้ยของธปท.ที่ผ่านมา มีผลค่อนข้างน้อย และเมื่อมีการต้องใช้เงินเพื่อนำไปกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่รัฐบาลมีเงินไม่เพียงพอ จึงจำเป็นที่จะต้องหาทางเพิ่มเม็ดเงินเพื่อมาใช้จ่ายและลงทุน ซึ่งการขยายเพดานเงินกู้ถือเป็นช่องทางหนึ่ง
“ในเมื่อตอนนี้ต้องการเงินมาใช้จ่ายและลงทุน แต่ไม่มีเงินอยู่ในมือ แล้วจะเอาเงินที่ไหนมาใช้ หากเป็นรัฐบาลที่ผ่านมาอาจจะหาทางเอาเงินประเภทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจใต้ดินมาใช้ บีบให้กลายมาเป็นเงินบนดินหรือใช้เงินนอกงบประมาณผ่านหน่วยงานของรัฐ แต่ก็มีอาจปัญหาในทางกฎหมายซึ่งคาดว่ารัฐบาลนี้คงไม่ใช้แนวทางนั้น เพราะฉะนั้นทางเดียวที่เหลืออยู่ก็คือการกู้เงิน ทำให้จำเป็นต้องขยายเพดานเงินกู้ ซึ่งก็ถือว่าปกติไม่ได้แปลกอะไร เพราะประเทศอื่นอย่างญี่ปุ่น สหรัฐ เกาหลีใต้ก็ใช้วิธีการเดียวกัน กรณีของประเทศไทยถือว่ายังกู้น้อยกว่าประเทศที่กล่าวมาด้วยซ้ำไป ”นายณัฐพลกล่าว
สำหรับเรื่องที่มีการเสนอแผนพัฒนาตลาดทุน หรือ Big Bang ต่อนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนนั้น มองว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต่อเนื่อง เพราะอายุของคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนนั้น จะสอดคล้องกับวาระในการดำรงตำแหน่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ดังนั้น เมื่อตอนนี้นายกรณ์เข้ามาเป็นรัฐมนตรีรับผิดชอบ จึงได้มีการเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนอีกครั้งและเสนอแผนที่เคยมีการจัดทำให้รับทราบ ซึ่งโดยหลักการแล้วก็จะเป็นแนวทางตามแผนงานหลักเดิมๆ อาจจะแตกต่างบ้างก็คือ ที่ผ่านมาจะมีคณะอนุกรรมการ 2 ชุด คือ อนุกรรมการร่างแผนพัฒนาตลาดทุน กับ อนุกรรมการกำกับการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ แต่ในกรอบตามแผนใหม่อาจจะรวมกันเหลือเป็นคณะอนุกรรมการชุดเดียวเท่านั้น
นายณัฐพล กล่าวต่อว่า สำหรับแนวทางในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ที่สมาคมอยากเห็นก็คือ ในปีนี้จะต้องมีการออกพันธบัตรเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว น่าจะใช้เป็นโอกาสในการจัดระเบียบและวางโครงสร้างในเรื่องจำนวนรุ่น ไม่ให้มีมากเกินไป ส่งเสริมรุ่นที่เป็น Benchmark ให้มีมากขึ้นและพอเพียง ในขณะเดียวกันควรจะต้องเร่งสร้างระบบ Primary Dealer ให้มีความเข้มแข็งมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน กำหนดสิทธิพิเศษและหน้าที่ให้ชัดเจน เพื่อให้เข้ามาทำหน้าที่ในการเป็น Market Maker เพื่อให้ตลาดรองตราสารหนี้ของไทยให้มีความคึกคักมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาการประมูลพันธบัตรในตลาดแรกกระทรวงการคลังไปเปิดทางให้นักลงทุนรายใหญ่ๆ อย่าง กบข. หรืออย่างบริษัทประกันสามารถเข้ามาร่วมประมูลได้โดยตรง นักลงทุนกลุ่มนี้จึงไม่ได้ซื้อขายผ่านทาง Dealer ดังนั้น Primary Dealer เองเห็นว่าสิทธิประโยชน์ที่ได้ไม่คุ้มกับที่จะต้องรับหน้าที่เป็น Market Maker สุดท้ายตลาดรองตราสารหนี้จึงไม่มีใครสนใจที่จะเป็นตัวกลาง ดังนั้นเรื่องนี้จึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ควรจัดระบบให้ชัดเจนกระทรวงการคลังไม่ควรที่จะต้องพึ่งตลาดที่เป็น Captive Market อย่างนักลงทุนที่เป็นของตายเท่านั้นแต่ควรจะส่งเสริมให้เป็นไปตามกลไกตลาด ปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยสะท้อนสภาวะที่เป็นจริงของดีมานด์และซัพพลายในตลาด ไม่ต้องกลัวว่าออกมาแล้วจะขายไม่ได้
นายณัฐพล กล่าวว่า ในปีนี้จะมีการออกหุ้นกู้เอกชน หรือ Corporate Bond กันมากขึ้น ดังนั้น จึงควรที่จะกระตุ้นให้มีนักลงทุนรายย่อยเข้ามาในตลาดตราสารหนี้เพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันกับที่ภาวะตลาดหุ้นมีแนวโน้มที่ไม่แจ่มใสนัก สมาคมฯ ก็จะพยายามสนับสนุนในสมาชิกที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์ให้หันมาสนใจทำธุรกรรมด้านตราสารหนี้มากขึ้น ทั้งการเป็นอันเดอร์ไรท์เตอร์ การเป็นดีลเลอร์ ซึ่งจะเป็นการช่วยเพิ่มฐานหรือปริมาณการซื้อขายให้เพิ่มขึ้นได้อีกทางหนึ่ง
นอกจากนี้ ยังเสนอด้วยว่า หากมีการผลักดันในเรื่องของ Central Counter Party ให้เกิดขึ้นได้ เชื่อว่าจะช่วยให้ตลาดเกิดความเชื่อมั่นได้และลดความเสี่ยงจากคู่ค้าลง ปัจจุบันเมื่อมีการทำซื้อขายตราสารหนี้อาจมีกังวลว่าคู่ค้าจะมีเงินมีสภาพคล่องเพียงพอหรือไม่ เมื่อไม่แน่ใจก็จะมีการกำหนดวงเงินในการทำธุรกรรมเอาไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยง จึงทำให้การซื้อขายถูกจำกัดไปด้วย แต่หากมีการพัฒนาคนกลางมาช่วยรับความเสี่ยงนี้ อย่างเช่น TSD เชื่อว่าจะทำให้คู่ค้ากล้าที่จะขยายวงเงินในการทำธุรกรรมมากขึ้น ซึ่งก็จะเป็นผลดีกับภาพรวมของตลาดตราสารหนี้ในที่สุด