นโยบายการเมืองทำล่ม โครงการบ้าน ธอส.เพื่อที่อยู่อาศัยหลังแรกคว่ำไม่เป็นท่า ลูกค้าเมิน เหตุเงื่อนไขหลุดโลก ต้องปรับด่วน ขยายเพดานเงินกู้มากกว่า 6 แสนบาท เพิ่มฐานเงินเดือนขั้นต่ำลงอีก ส่วนวงเงินส่วนเกินคิดตามอัตราปกติของธนาคาร พร้อมปรับเป้าจาก 1 หมื่นล้าน เหลือ 5 พันล้าน
นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า การดำเนินโครงการ “บ้านธอส.เพื่อที่อยู่อาศัยหลังแรก” ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อต้องการให้ประชาชนที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางรายได้ไม่เกิน 1.5 หมื่นบาทต่อราย มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยจะให้ประชาชนกลุ่มนี้สามารถยื่นกู้เพื่อซื้อบ้านในราคาไม่เกิน 6 แสนบาท
โครงการดังกล่าวธนาคารจะคิดดอกเบี้ยกับลูกค้าในอัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะยาว 7 ปี 5.893% ต่อปี หรือแบบคงที่ 10 ปี คิดดอกเบี้ยในอัตรา 5.913% ต่อปี และหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาดอกเบี้ยคงที่แล้วคิดดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยทั่วไป(MRR) – 0.50 ซึ่งระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน – 31 ธันวาคมนี้ ซึ่งหลังจากที่มีการเปิดตัวโครงการนี้ไปมีผู้ยื่นของสินเชื่อเพียง 60 รายเท่านั้น คิดเป็นวงเงินกู้ประมาณ 40 ล้านบาท
“การปล่อยกู้ของโครงการนี้หลังจากที่เปิดโครงการมาเกือบ 1 เดือนนั้นมีประชาชนสนใจเข้าร่วมโครงการน้อยมาก ซึ่งธนาคารได้ตรวจสอบข้อมูลและปัญหาที่เกิดขึ้นกับโครงการนี้แล้วพบว่าการจำกัดเพดานเงินเดือนของผู้กู้ที่ 1.5 หมื่นบาทและวงเงินกู้ที่ 6 แสนบาทถือว่าไม่เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง เนื่องจากราคาที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปัจจุบันหากซื้อในราคา 6 แสนบาทก็จะได้เพียงห้องชุดเนื้อที่เล็กๆ เท่านั้นจึงทำให้ยอดปล่อยสินเชื่อในโครงการนี้น้อย” นายขรรค์กล่าว
โดยธอส.จะนำหลักเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อในโครงการนี้ใหม่อีกครั้งเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งธนาคารจะขยายวงเงินกู้ให้มากกว่า 6 แสนบาทและส่วนที่เกิน 6 แสนบาทนั้นธนาคารก็จะคิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ตามอัตราดอกเบี้ยปกติของธนาคาร หากกู้ซื้อบ้านเกิน 1 ล้านบาทผู้กู้จะต้องมีเงินเดือนไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นบาท และหากกู้เกิน 1 ล้านบาทจะให้มีการกู้ร่วมโดยมีรายได้ต่อเดือนรวมกันมากกว่า 2 หมื่นบาท ซึ่งทั้งหมดนี้จะยังคงเงื่อนไขในการซื้อบ้านหลังแรกเท่านั้น
นายขรรค์กล่าวว่า จากการพิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการหลังจากเปิดตัวมาเกือบ 1 เดือนแล้วทำให้ธนาคารต้องทบทวนเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อสำหรับโครงการนี้ลง จากเดิมที่ธนาคารตั้งเป้าสินเชื่อไว้ที่ 1 หมื่นล้านบาทจะลดเป้าหมายลงอยู่ที่ 5 พันล้านบาท ซึ่งโครงการนี้กระทรวงการคลังได้ออกพันธบัตรจำนวน 2 พันล้านบาทสำหรับใช้ในการปล่อยกู้ โดยแบ่งเป็นพันธบัตรจำนวน 2 ชุดคือ พันธบัตรอายุ 7 ปี จำนวน 1 พันล้านบาท และพันธบัตรอายุ 10 ปี จำนวน 1 พันล้านบาท
โดยในขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ในระหว่างพิจารณาการตอบรับโครงการนี้ของประชาชนว่ามีมากน้อยเพียงใด ซึ่งหากไม่มากกระทรวงการคลังก็ไม่มีความจำเป็นต้องออกพันธบัตรมาใช้ในโครงการนี้อีก นอกจากนี้แนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยในตลาดก็อยู่ในช่วงขาขึ้นอาจส่งผลให้การออกพันธบัตรในล็อตหลังจะมีต้นทุนทางการเงินสูงขึ้นกว่าพันธบัตร 2 ชุดที่ออกมาแล้วได้
ทั้งนี้พบว่ากลุ่มผู้ต้องการสินเชื่อบ้านในขณะนี้สนใจกู้ดอกเบี้ยคงที่ 3 ปีที่ 4.5% เป็นจำนวนมาก ซึ่งโครงการนี้ธอส.ได้จัดทำขึ้นเพื่อช่วยเหลือประชาชน โดยใช้เงินฝากจากกองทุนประกันสังคมจำนวน 3 พันล้านบาท โดยขณะนี้ปล่อยกู้ไปแล้ว 300 ล้านบาท
นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า การดำเนินโครงการ “บ้านธอส.เพื่อที่อยู่อาศัยหลังแรก” ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อต้องการให้ประชาชนที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางรายได้ไม่เกิน 1.5 หมื่นบาทต่อราย มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยจะให้ประชาชนกลุ่มนี้สามารถยื่นกู้เพื่อซื้อบ้านในราคาไม่เกิน 6 แสนบาท
โครงการดังกล่าวธนาคารจะคิดดอกเบี้ยกับลูกค้าในอัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะยาว 7 ปี 5.893% ต่อปี หรือแบบคงที่ 10 ปี คิดดอกเบี้ยในอัตรา 5.913% ต่อปี และหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาดอกเบี้ยคงที่แล้วคิดดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยทั่วไป(MRR) – 0.50 ซึ่งระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน – 31 ธันวาคมนี้ ซึ่งหลังจากที่มีการเปิดตัวโครงการนี้ไปมีผู้ยื่นของสินเชื่อเพียง 60 รายเท่านั้น คิดเป็นวงเงินกู้ประมาณ 40 ล้านบาท
“การปล่อยกู้ของโครงการนี้หลังจากที่เปิดโครงการมาเกือบ 1 เดือนนั้นมีประชาชนสนใจเข้าร่วมโครงการน้อยมาก ซึ่งธนาคารได้ตรวจสอบข้อมูลและปัญหาที่เกิดขึ้นกับโครงการนี้แล้วพบว่าการจำกัดเพดานเงินเดือนของผู้กู้ที่ 1.5 หมื่นบาทและวงเงินกู้ที่ 6 แสนบาทถือว่าไม่เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง เนื่องจากราคาที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปัจจุบันหากซื้อในราคา 6 แสนบาทก็จะได้เพียงห้องชุดเนื้อที่เล็กๆ เท่านั้นจึงทำให้ยอดปล่อยสินเชื่อในโครงการนี้น้อย” นายขรรค์กล่าว
โดยธอส.จะนำหลักเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อในโครงการนี้ใหม่อีกครั้งเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งธนาคารจะขยายวงเงินกู้ให้มากกว่า 6 แสนบาทและส่วนที่เกิน 6 แสนบาทนั้นธนาคารก็จะคิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ตามอัตราดอกเบี้ยปกติของธนาคาร หากกู้ซื้อบ้านเกิน 1 ล้านบาทผู้กู้จะต้องมีเงินเดือนไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นบาท และหากกู้เกิน 1 ล้านบาทจะให้มีการกู้ร่วมโดยมีรายได้ต่อเดือนรวมกันมากกว่า 2 หมื่นบาท ซึ่งทั้งหมดนี้จะยังคงเงื่อนไขในการซื้อบ้านหลังแรกเท่านั้น
นายขรรค์กล่าวว่า จากการพิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการหลังจากเปิดตัวมาเกือบ 1 เดือนแล้วทำให้ธนาคารต้องทบทวนเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อสำหรับโครงการนี้ลง จากเดิมที่ธนาคารตั้งเป้าสินเชื่อไว้ที่ 1 หมื่นล้านบาทจะลดเป้าหมายลงอยู่ที่ 5 พันล้านบาท ซึ่งโครงการนี้กระทรวงการคลังได้ออกพันธบัตรจำนวน 2 พันล้านบาทสำหรับใช้ในการปล่อยกู้ โดยแบ่งเป็นพันธบัตรจำนวน 2 ชุดคือ พันธบัตรอายุ 7 ปี จำนวน 1 พันล้านบาท และพันธบัตรอายุ 10 ปี จำนวน 1 พันล้านบาท
โดยในขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ในระหว่างพิจารณาการตอบรับโครงการนี้ของประชาชนว่ามีมากน้อยเพียงใด ซึ่งหากไม่มากกระทรวงการคลังก็ไม่มีความจำเป็นต้องออกพันธบัตรมาใช้ในโครงการนี้อีก นอกจากนี้แนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยในตลาดก็อยู่ในช่วงขาขึ้นอาจส่งผลให้การออกพันธบัตรในล็อตหลังจะมีต้นทุนทางการเงินสูงขึ้นกว่าพันธบัตร 2 ชุดที่ออกมาแล้วได้
ทั้งนี้พบว่ากลุ่มผู้ต้องการสินเชื่อบ้านในขณะนี้สนใจกู้ดอกเบี้ยคงที่ 3 ปีที่ 4.5% เป็นจำนวนมาก ซึ่งโครงการนี้ธอส.ได้จัดทำขึ้นเพื่อช่วยเหลือประชาชน โดยใช้เงินฝากจากกองทุนประกันสังคมจำนวน 3 พันล้านบาท โดยขณะนี้ปล่อยกู้ไปแล้ว 300 ล้านบาท