รอยเตอร์ - ชาวอเมริกันจำนวนมากเชื่อว่า วิกฤตเศรษฐกิจขณะนี้เลวร้ายที่สุดเท่าที่เคยประสบมาในชีวิต และนักลงทุนระดับแนวหน้าหลายคนก็กำลังเริ่มรู้สึกเช่นเดียวกัน
ภาวะฟองสบู่แตกในธุรกิจ ด็อทคอม ในปี 2000 และ 2001 หรือแม้กระทั่งวิกฤตการณ์ สถาบันออมทรัพย์ "เซฟวิ่ง แอนด์ โลน" ในช่วงปลายทศวรรษ1980 ต่อเนื่องถึงต้นทศวรรษ1990 ดูเหมือนจะเป็นแมวเชื่อง ๆ ไปเลยเมื่อเทียบกับสถานการณ์ในขณะนี้
ในแง่ของผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจโลก วิกฤตการณ์ "ต้มยำกุ้ง" หรือวิกฤตการณ์ทางการเงินในภูมิภาคเอเชียปี 1997 และ 1998 ก็ยังเรียกได้ว่าเป็นน้องเมื่อเทียบกับภาวะวิกฤตครั้งนี้
การเปรียบเทียบที่ดูสมน้ำสมเนื้อกันหน่อย เมื่อพิจารณากันถึงเรื่องอัตราเติบโตตกต่ำ อัตราเงินเฟ้อสูง เงินดอลลาร์อ่อนค่า และราคาพลังงานทะยานสูง ก็คือกับช่วงทศวรรษ1970 แต่ครั้งนี้มีวิกฤตการณ์ตลาดบ้านพักอาศัยและราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูงกระหน่ำซ้ำเข้ามาด้วย ซึ่งล้วนเป็นภัยคุกคามว่าจะนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยยาวนาน
"เป็นวิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งร้ายแรงที่สุดในช่วงชีวิตของพวกเรา" นักการเงินชื่อดัง จอร์จ โซรอส กล่าว พร้อมทั้งตั้งข้อสังเกตว่ามันกำลังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯทั้งระบบ ไม่ใช่เพียงแค่ตลาดเงินเท่านั้น
"มันเป็นความฝันลม ๆ แล้ง ๆ ชัด ๆ ถ้าคุณคิดว่าวิกฤตการณ์แบบนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่แท้จริง เรากำลังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่คืบคลานเข้ามาอย่างช้า ๆ และยิ่งช้าเท่าไรความรุนแรงของมันก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น"
ความเชื่อมั่นในเฟรดี แมคและแฟนนี เม ที่กำลังถูกกัดกร่อนไปอย่างรวดเร็ว เน้นย้ำถึงสภาพความเลวร้ายของปัญหาที่ระบบการเงินของสหรัฐฯกำลังเผชิญอยู่ สถาบันการเงินภายใต้การอุปถัมภ์ของรัฐบาลสหรัฐฯ (Government-Sponsored Enterprise - GSE) ทั้งสองแห่ง มีภาระหนี้หรือการค้ำประกันหนี้รวมกันเป็นมูลค่า 5 ล้านล้านดอลลาร์ หรือเกือบครึ่งหนึ่งของสินเชื่อเพื่อการเคหะในสหรัฐฯทั้งระบบ
ปัจจุบันบ้านพักอาศัยของชาวอเมริกันถูกยึดหรืออายัดตามกฎหมายวันละ 8,000 - 9,000 ราย สัปดาห์ที่แล้วมูลค่าหุ้นของแฟนนีและเฟรดดีหดหายไปเกือบครึ่ง ทำให้กระทรวงการคลังต้องประกาศมาตรการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เพื่อคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานะทางการเงินของวิสาหกิจทั้งสอง
ปรากฏการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นในขณะที่ดัชนีราคาหุ้นในตลาดสหรัฐฯตกต่ำลงไปแล้วกว่า 20 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับจุดสูงสุดเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ดัชนีตลาดหุ้นยุโรป FTSEurofirst 300 ลดลง 30 เปอร์เซ็นต์ ดัชนีเซี่ยงไฮ้ คอมโพสิต ลดลงไปแล้ว 45 เปอร์เซ็นต์นับตั้งแต่ต้นปี และดัชนีนิกเกอิ 225 ของญี่ปุ่นก็ลดต่ำลงไม่น้อยเช่นกัน
ผู้เชี่ยวชาญที่เคยผ่านวิกฤตการณ์รุนแรงในช่วงทศวรรษ1970 ซึ่งเป็นภาวการณ์เติบโตชะงักงัน เงินเฟ้อสูง ให้ความเห็นว่าสถานการณ์คราวนี้น่าจะรุนแรงกว่า เพราะทั่วโลกได้รับผลกระทบทั่วหน้ากันหมด
ธนาคารกลางของต่างประเทศ ส่วนใหญ่จากภูมิภาคเอเชีย ถือครองพันธบัตรและตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อเคหะหนุนหลังของแฟนนี เมและเฟรดดี แมค เป็นมูลค่ารวมกันเกือบ 1 ล้านล้านดอลลาร์
วิกฤตการณ์ครั้งนี้กำลังถูกนำไปเทียบเคียงกับความหายนะทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ หรือ Great Depression ที่เริ่มต้นขึ้นในช่วงทศวรรษ1930 และสิ้นสุดลงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
จอร์จ ชวาร์ทซ์ ที่ปรึกษาการลงทุนแห่ง ชวาร์ทซ์ อินเวสต์เมนท์ เคาน์เซล กล่าวว่า เขาประกอบอาชีพนี้มาเป็นเวลา 40 ปี ยังไม่เคยเจอกับสถานการณ์เลวร้ายขนาดนี้มาก่อน เขาได้ยินแต่ผู้คนปลอบใจตัวเองต่อเนื่องมาเป็นเดือนแล้วว่า สถานการณ์จะไม่เลวร้ายลงไปกว่านี้ แต่ในความเป็นจริงมันตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง.
ภาวะฟองสบู่แตกในธุรกิจ ด็อทคอม ในปี 2000 และ 2001 หรือแม้กระทั่งวิกฤตการณ์ สถาบันออมทรัพย์ "เซฟวิ่ง แอนด์ โลน" ในช่วงปลายทศวรรษ1980 ต่อเนื่องถึงต้นทศวรรษ1990 ดูเหมือนจะเป็นแมวเชื่อง ๆ ไปเลยเมื่อเทียบกับสถานการณ์ในขณะนี้
ในแง่ของผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจโลก วิกฤตการณ์ "ต้มยำกุ้ง" หรือวิกฤตการณ์ทางการเงินในภูมิภาคเอเชียปี 1997 และ 1998 ก็ยังเรียกได้ว่าเป็นน้องเมื่อเทียบกับภาวะวิกฤตครั้งนี้
การเปรียบเทียบที่ดูสมน้ำสมเนื้อกันหน่อย เมื่อพิจารณากันถึงเรื่องอัตราเติบโตตกต่ำ อัตราเงินเฟ้อสูง เงินดอลลาร์อ่อนค่า และราคาพลังงานทะยานสูง ก็คือกับช่วงทศวรรษ1970 แต่ครั้งนี้มีวิกฤตการณ์ตลาดบ้านพักอาศัยและราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูงกระหน่ำซ้ำเข้ามาด้วย ซึ่งล้วนเป็นภัยคุกคามว่าจะนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยยาวนาน
"เป็นวิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งร้ายแรงที่สุดในช่วงชีวิตของพวกเรา" นักการเงินชื่อดัง จอร์จ โซรอส กล่าว พร้อมทั้งตั้งข้อสังเกตว่ามันกำลังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯทั้งระบบ ไม่ใช่เพียงแค่ตลาดเงินเท่านั้น
"มันเป็นความฝันลม ๆ แล้ง ๆ ชัด ๆ ถ้าคุณคิดว่าวิกฤตการณ์แบบนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่แท้จริง เรากำลังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่คืบคลานเข้ามาอย่างช้า ๆ และยิ่งช้าเท่าไรความรุนแรงของมันก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น"
ความเชื่อมั่นในเฟรดี แมคและแฟนนี เม ที่กำลังถูกกัดกร่อนไปอย่างรวดเร็ว เน้นย้ำถึงสภาพความเลวร้ายของปัญหาที่ระบบการเงินของสหรัฐฯกำลังเผชิญอยู่ สถาบันการเงินภายใต้การอุปถัมภ์ของรัฐบาลสหรัฐฯ (Government-Sponsored Enterprise - GSE) ทั้งสองแห่ง มีภาระหนี้หรือการค้ำประกันหนี้รวมกันเป็นมูลค่า 5 ล้านล้านดอลลาร์ หรือเกือบครึ่งหนึ่งของสินเชื่อเพื่อการเคหะในสหรัฐฯทั้งระบบ
ปัจจุบันบ้านพักอาศัยของชาวอเมริกันถูกยึดหรืออายัดตามกฎหมายวันละ 8,000 - 9,000 ราย สัปดาห์ที่แล้วมูลค่าหุ้นของแฟนนีและเฟรดดีหดหายไปเกือบครึ่ง ทำให้กระทรวงการคลังต้องประกาศมาตรการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เพื่อคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานะทางการเงินของวิสาหกิจทั้งสอง
ปรากฏการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นในขณะที่ดัชนีราคาหุ้นในตลาดสหรัฐฯตกต่ำลงไปแล้วกว่า 20 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับจุดสูงสุดเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ดัชนีตลาดหุ้นยุโรป FTSEurofirst 300 ลดลง 30 เปอร์เซ็นต์ ดัชนีเซี่ยงไฮ้ คอมโพสิต ลดลงไปแล้ว 45 เปอร์เซ็นต์นับตั้งแต่ต้นปี และดัชนีนิกเกอิ 225 ของญี่ปุ่นก็ลดต่ำลงไม่น้อยเช่นกัน
ผู้เชี่ยวชาญที่เคยผ่านวิกฤตการณ์รุนแรงในช่วงทศวรรษ1970 ซึ่งเป็นภาวการณ์เติบโตชะงักงัน เงินเฟ้อสูง ให้ความเห็นว่าสถานการณ์คราวนี้น่าจะรุนแรงกว่า เพราะทั่วโลกได้รับผลกระทบทั่วหน้ากันหมด
ธนาคารกลางของต่างประเทศ ส่วนใหญ่จากภูมิภาคเอเชีย ถือครองพันธบัตรและตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อเคหะหนุนหลังของแฟนนี เมและเฟรดดี แมค เป็นมูลค่ารวมกันเกือบ 1 ล้านล้านดอลลาร์
วิกฤตการณ์ครั้งนี้กำลังถูกนำไปเทียบเคียงกับความหายนะทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ หรือ Great Depression ที่เริ่มต้นขึ้นในช่วงทศวรรษ1930 และสิ้นสุดลงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
จอร์จ ชวาร์ทซ์ ที่ปรึกษาการลงทุนแห่ง ชวาร์ทซ์ อินเวสต์เมนท์ เคาน์เซล กล่าวว่า เขาประกอบอาชีพนี้มาเป็นเวลา 40 ปี ยังไม่เคยเจอกับสถานการณ์เลวร้ายขนาดนี้มาก่อน เขาได้ยินแต่ผู้คนปลอบใจตัวเองต่อเนื่องมาเป็นเดือนแล้วว่า สถานการณ์จะไม่เลวร้ายลงไปกว่านี้ แต่ในความเป็นจริงมันตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง.