หนึ่งในวิกฤตการณ์ใหญ่ยิ่งวันนี้คือการปล่อยให้นักการเมืองแอบอ้างอวดอ้างอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยไปสนองตอบประโยชน์ปัจเจกมากกว่าสาธารณะ ขณะเดียวกันกับประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังมองอำนาจควบคุมการบริหารจัดการคณะผู้นำรัฐว่าควรอยู่ในมือพรรคการเมืองฝ่ายค้านของสภาผู้แทนราษฎรและผู้พิพากษาแห่งศาลสถิตยุติธรรมเท่านั้น หาควรมอบอำนาจการตรวจสอบและถ่วงดุลตามระบอบประชาธิปไตย (Democratic check & balances) สู่มือพลเมืองผู้รับรู้ข้อมูลข่าวสารคอร์รัปชันจากการรายงานของสื่อสารมวลชนไม่
การถ่ายเทอำนาจความรู้เรื่องราวทุจริตที่สลับซับซ้อนสู่สาธารณชนบนท้องถนนราชดำเนินและถนนอื่นๆ ทั่วประเทศผ่านการรายงานข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน (Investigative journalism) จึงค่อนข้างเป็นปรากฏการณ์แปลกปลอมของสังคมไทยโดยรวม หรือแม้แต่ในแวดวงสื่อสารมวลชนไทยประเภทโทรทัศน์ที่ไม่ใส่ใจขุดคุ้ยข้อมูลเจาะลึกเหตุผลรอบด้านของนโยบายสาธารณะอื้อฉาวต่างๆ มากเท่ากับการล้วงลึกความผิดพลาดเล็กน้อยระดับบุคคล
การรายงานข่าวสารตามหลัก ‘5W1H’ ใคร (Who) ทำอะไร (What) เมื่อไร (When) ที่ไหน (Where) ทำไม (Why) และอย่างไร (How) จึงตกหล่นคำถาม ‘ทำไม’ เสมอๆ เมื่อเผชิญอำนาจรัฐ
ลำพังปัจเจกบุคคลตั้งคำถามฉาบฉวยก็ย่อมได้คำตอบผิดพลาดเป็นธรรมดา กระทั่งอาจขับเคลื่อนชีวิตขัดครรลองคลองธรรมได้ไม่น้อย แล้วเช่นนี้จะนับประสาอะไรกับสื่อมวลชนหากตั้งคำถามดาษๆ ‘ไมค์จ่อปาก’ คำตอบที่ได้จากผู้กุมอำนาจรัฐก็คงฉ้อฉลประชาชน จนนโยบายสาธารณะเลวร้ายที่ผุดราวดอกเห็ดหน้าฝนกระจาย ‘สปอร์’ ระบาดไปทั่วประเทศ
ทั้งที่คุณูปการข่าวเจาะนำความเปลี่ยนแปลงกว้างขวางมาสู่ทุกประเทศได้ ดังฉากล่มสลายของรัฐบาลประธานาธิบดีเปรู อัลแบร์โต ฟูจิมูริ (Alberto Fujimori) ที่มีวลาดิมิโร มองเตสซิโน โทเรส (Vladimiro Montesinos Torres) หัวหน้าตำรวจลับเพียรจ่ายเงินสินบนแก่สื่อมวลชน โดยเฉพาะเจ้าของโทรทัศน์ที่จะได้เงินมหาศาลกว่าผู้พิพากษาหรือนักการเมืองราว 100 เท่า และทีวีเพียงช่องเดียวก็ยังได้สินบนมากกว่านักการเมืองฝ่ายค้านทั้งหมดรวมกันประมาณ 5 เท่า เพื่อควบคุมการเมืองให้มีเสถียรภาพ
ถึงจะจ่ายสินบนโทรทัศน์แพงสุดถึง 3 ล้านเหรียญสหรัฐ ต่อเดือน เมื่อเทียบกับที่ผู้พิพากษาและนักการเมืองได้เดือนละ 2.5 และ 3 แสนเหรียญสหรัฐ แต่ก็นับว่าได้ผลคุ้มค่ามากสุดเช่นกันจากการไม่ต้องถูกทีวีที่มีพลานุภาพการตรวจสอบรัฐบาลสูงสุดเปิดโปงทุจริต หรือขนาดเปลี่ยนทัศนะชาวเปรูที่นิยมเสพสื่อชนิดนี้มากสุดไปในทางเป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาล ดังที่คนสนิทของมองเตสกิโนกร้าวไว้ว่า ‘ถ้าเราไม่สามารถควบคุมโทรทัศน์ได้ เราก็ควบคุมอะไรไม่ได้เลย’
ระหว่างมีอำนาจ ทีวีรัฐ Channel 7 จึงถูกมองเตสกิโนควบคุมเนื้อหา ขณะที่ทีวีเอกชน 5 ช่องและเคเบิล CCN ก็ถูกสินบนก้อนโตซื้อทั้งหมด โดย Channel 4 ที่มีผู้ชมสูงสุดจะได้เดือนละ 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับ Channel 2 เจ้าของสถานีจะได้รับเงินครึ่งล้านเหรียญสหรัฐ แลกกับการถูกควบคุมเนื้อหาข่าวก่อนออกอากาศทุกวัน และห้ามเผยแพร่ข่าวผู้สมัครแข่งขันเป็นประธานาธิบดีหรือ ส.ส. หากไม่อนุมัติ ส่วนทีวีที่มีผู้ชมน้อยกว่าก็จะได้รับการช่วยเหลือด้านธุรกิจและการตัดสินคดีความต่างๆ
อย่างไรก็ดี มองเตสกิโนคำนวณพลาดจากการไม่ติดสินบนเคเบิลทีวี ‘Channel N’ ที่แม้มีสมาชิกแค่หลักหมื่น แต่ก็กลายมาเป็นหัวหอกล้มล้างรัฐบาลฟูจิมูริเมื่อออกอากาศวิดีโอเทปการติดสินบนของมองเตสกิโน ก่อนตามมาด้วยหนังสือพิมพ์อย่าง El Comercio ที่มีเจ้าของผู้ไม่ยอมศิโรราบเป็นคนเดียวกันกับ Channel N จะกล้าหาญวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ถึงจะต้องถูกฟ้องหมิ่นประมาทยันคุกคามข่มขู่ชีวิต รวมทั้งยังถูกดิสเครดิตจากสื่อ ‘เชลียร์’ รัฐ
‘ห่วงโซ่หาญกล้าของสื่อสารมวลชน’ จึงจำต้องรัดร้อยถ้อยถักแต่ละห่วงโซ่อย่างพิถีพิถันในแต่ละองค์กรสถาบันสื่อเพื่อกระชับเหนียวแน่นแข็งแกร่ง ยากจะบั่นทอน ไม่เช่นนั้นจักไม่อาจคว้าชัยชนะเหนืออำนาจอยุติธรรมรัฐได้ เพราะหลังออกอากาศ Channel N ก็ถูกทำให้เงียบเสียงลงไป
ทว่า ว่าก็ว่าเถอะการพยายามปิดสื่อเสรีนั้นละม้ายปรากฏการณ์ ‘ตายสิบเกิดแสน’ ด้วย Channel 2 ที่ใหญ่อันดับ 2 ของเปรูได้เริ่มเผยแพร่ข่าวสืบสวนเกี่ยวกับมองเตสกิโนทั้งมิติความเหี้ยมโหดของหน่วยงานลับในกำกับ ความไม่ชอบมาพากลเรื่องภาษี และรายได้สูงกว่าเงินเดือนรัฐบาลมโหฬาร หลังจากซื่อสัตย์กับเงินทองของรัฐบาลฟูจิมูริมาช้านาน
การรับไม้ต่อของสื่อสารมวลชนในการเจาะกลโกงทุจริตด้วยกระบวนการทำข่าวเชิงลึกจึงไม่จำเป็นต้องเน้นประเด็นเดียวกันทั้งหมด เพราะท้ายสุดแล้วความแตกต่างหลากหลายจะหลอมรวมเป็นลูกศรหนึ่งเดียวพวยพุ่งกระแทกผู้กุมอำนาจรัฐคดโกงกระเด็นตกเวทีอำนาจ ดั่งฉากชีวิตมองเตสกิโนที่ฉ้อฉลจนร่ำรวย 200 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ก็ถูกคุมขัง กับฟูจิมูริที่กอบโกยไปถึง 600 ล้านเหรียญสหรัฐ และได้รับเลือกตั้งครั้งแรกท่วมท้นจากนโยบายเศรษฐกิจกู้วิกฤตชาติ รวมถึงกำชัยติดต่อกัน 3 ครั้ง ก็กลับพบจุดจบต้องลี้ภัยไปญี่ปุ่นและลาออกผ่านแฟกซ์
ถึงแม้นไม่อาจเทียบเคียงการแทรกแซงสื่อของรัฐบาลฟูจิมูริกับรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลงมาถึงรัฐบาลสมัคร สุนทรเวชได้ ด้วยเปรูและไทยต่างกันมากทางวัฒนธรรม การเมือง และโครงสร้างเจ้าของสื่อ แต่กระนั้นก็ได้บทเรียนร่วมสำคัญหนึ่งซึ่ง ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร สรุปไว้อย่างลุ่มลึกในกรณีมองเตสกิโนนี้ว่า ‘ประชาธิปไตยถูกซื้อได้’ และศัตรูของอำนาจนิยมคือ ส.ส.อิสระ ผู้พิพากษาซื่อตรง และสื่อเสรี โดยเฉพาะทีวีเสรีที่มีพลังวิพากษ์วิจารณ์จนเกิดแรงกระเพื่อมทางการเมืองมากสุดด้วยสามารถเข้าถึงผู้คนมากและรวดเร็วที่สุด
แต่ในความต่างย่อมมีความเหมือน อย่างน้อยๆ คนไทยและเปรูก็ชอบดูทีวีมากกว่าอ่านหนังสือพิมพ์ อิทธิพลข่าวสารโทรทัศน์จึงมีส่วนกำหนดทัศนคติและพฤติกรรมของสาธารณชนให้คืนครรลองคลองธรรมได้มากหากถ่ายทอดข่าวสารคอร์รัปชันผ่านภาพที่มีพลังกว่าถ้อยคำ
นัยนี้ สายธารการตรวจสอบถ่วงดุลทุจริตคอร์รัปชันโดยอำนาจรัฐของ ASTV สื่อเสรีที่หนุนนำไปสู่การโค่นล้มรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ จึงคล้ายกับการลุกขึ้นสู้ฟูจิมูริของ Channel N
เพียงแต่ปัจจุบันการพรั่งพรูเรื่องราวฉาวโฉ่ผิดพลาดนานัปการในการดำเนินนโยบายสาธารณะเอื้ออาทรต่างๆ อย่างกองทุนหมู่บ้าน บ้านเอื้ออาทร 30 บาทรักษาทุกโรค จนถึงเมกะโปรเจกต์มหากาพย์สนามบินสุวรรณภูมิของ ASTV ยังคงถูกเตะตัดขาสลับกับดิสเครดิตจากสื่อเทียมทั้งเปิดเผยตัวตนและแอบใส่เสื้อคลุมมืออาชีพ รวมถึงหลงบทบาทสื่อรัฐมาเป็นสื่อรัฐบาล
วิกฤตปัญญาในสังคมไทยวันนี้จึงยังหนักหน่วง เนื่องด้วยพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ตุลาการอิสระ และสื่อเสรี ที่ทำงานร่วมกันในลักษณะของแพกเกจตรวจสอบถ่วงดุลยังคงอ่อนแอ โดยเฉพาะฟรีทีวีที่มัก ‘เซ็นเซอร์ตัวเอง’ เมื่อต้องรายงานข่าวคอร์รัปชันของรัฐบาล
การไม่รายงานข่าวคอร์รัปชันสู่พื้นที่สาธารณะตามศักยภาพที่มีล้นเหลือของสื่อโทรทัศน์จึงทอนอานุภาพองคาพยพการตรวจสอบถ่วงดุลอื่นๆ ให้อ่อนแอตามไปโดยปริยาย ยิ่งกว่านั้นความล้มเหลวและขลาดเขลาของสื่อในการเจาะข่าวทุจริตคือจุดเริ่มต้นอย่างยั่งยืนของวิกฤตทางปัญญามากเท่าๆ กับการพยายามปิดหูปิดตาปิดปากประชาชนของรัฐบวกทุน นั่นเอง
ด้วยท่ามกลางการทุจริตคอร์รัปชันนับแต่ระดับปัจเจกจนถึงประเทศชาติในห้วงนี้ สังคมไทยกลับไม่อาจพลิกวิกฤตเป็นโอกาสเพิ่มพูนภูมิคุ้มกันกลโกงต่างๆ ได้ ด้วยสื่อมวลชนที่เป็นกลไกสำคัญยิ่งในการสร้าง ‘ปัญญา’ แก่สังคม ไม่เคยตระหนักหลักพระพุทธศาสนาที่สอนว่าบรรดาการสูญเสียทั้งหลาย การสูญเสียปัญญานับว่าเลวร้ายสุด ในทางตรงข้าม บรรดาการได้เพิ่มขึ้นมา การได้เพิ่มซึ่งปัญญาเป็นการได้ที่เลิศสุด (เอตทคฺคํ ภิกฺขเว วุฑฺฒีนํ ยทิทํ ปญฺญาวุฑฺฒิ)
หากปรารถนาจุดประกายปัญญาประชาชน สื่อสารมวลชน โดยเฉพาะโทรทัศน์ก็ควรหาญกล้าตรวจสอบทุจริตคอร์รัปชันระดับนโยบายสาธารณะมากขึ้น ไม่คลุมเครืออยู่ในความเป็นกลางที่อับจนปัญญารู้ผิดรู้ถูกรู้ชอบรู้ดี
ขณะเดียวกัน ASTV ที่ก้าวมั่นทางสายนี้ก็ต้องเน้นหนักประเด็นนี้มากกว่าอื่นๆ ที่ถึงจะแหลมคมทว่าก็เสี่ยงถูกโจมตีง่ายกว่า เพราะนอกจากคอร์รัปชันทางการเมืองจะมีความเป็นสากล (Political corruption is universal) ที่ระบาดไปทั่วโลกและทุกชนชั้นสัมผัสรวดร้าวรานได้เหมือนกันแล้ว ยังสามารถระดมมวลชนที่ไม่ใช่การ ‘ปลุกระดม’ ให้เข้าร่วมเพื่อผลักดันนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาวะที่ดีหรือกระทั่งยกระดับการเมืองดังวาดหวังไว้ได้ด้วยการรายงานข่าวแบบวารสารศาสตร์เชิงเป้าหมาย (Advocacy Journalism) ผสานวารสารศาสตร์เชิงพลเมือง (Civic Journalism) ที่มีฐานรากจากหลักฐานข้อเท็จจริงของวารสารศาสตร์สืบสวนสอบสวน. (มีต่อตอน 2)
คอลัมน์เวทีนโยบายสาธารณะ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org
การถ่ายเทอำนาจความรู้เรื่องราวทุจริตที่สลับซับซ้อนสู่สาธารณชนบนท้องถนนราชดำเนินและถนนอื่นๆ ทั่วประเทศผ่านการรายงานข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน (Investigative journalism) จึงค่อนข้างเป็นปรากฏการณ์แปลกปลอมของสังคมไทยโดยรวม หรือแม้แต่ในแวดวงสื่อสารมวลชนไทยประเภทโทรทัศน์ที่ไม่ใส่ใจขุดคุ้ยข้อมูลเจาะลึกเหตุผลรอบด้านของนโยบายสาธารณะอื้อฉาวต่างๆ มากเท่ากับการล้วงลึกความผิดพลาดเล็กน้อยระดับบุคคล
การรายงานข่าวสารตามหลัก ‘5W1H’ ใคร (Who) ทำอะไร (What) เมื่อไร (When) ที่ไหน (Where) ทำไม (Why) และอย่างไร (How) จึงตกหล่นคำถาม ‘ทำไม’ เสมอๆ เมื่อเผชิญอำนาจรัฐ
ลำพังปัจเจกบุคคลตั้งคำถามฉาบฉวยก็ย่อมได้คำตอบผิดพลาดเป็นธรรมดา กระทั่งอาจขับเคลื่อนชีวิตขัดครรลองคลองธรรมได้ไม่น้อย แล้วเช่นนี้จะนับประสาอะไรกับสื่อมวลชนหากตั้งคำถามดาษๆ ‘ไมค์จ่อปาก’ คำตอบที่ได้จากผู้กุมอำนาจรัฐก็คงฉ้อฉลประชาชน จนนโยบายสาธารณะเลวร้ายที่ผุดราวดอกเห็ดหน้าฝนกระจาย ‘สปอร์’ ระบาดไปทั่วประเทศ
ทั้งที่คุณูปการข่าวเจาะนำความเปลี่ยนแปลงกว้างขวางมาสู่ทุกประเทศได้ ดังฉากล่มสลายของรัฐบาลประธานาธิบดีเปรู อัลแบร์โต ฟูจิมูริ (Alberto Fujimori) ที่มีวลาดิมิโร มองเตสซิโน โทเรส (Vladimiro Montesinos Torres) หัวหน้าตำรวจลับเพียรจ่ายเงินสินบนแก่สื่อมวลชน โดยเฉพาะเจ้าของโทรทัศน์ที่จะได้เงินมหาศาลกว่าผู้พิพากษาหรือนักการเมืองราว 100 เท่า และทีวีเพียงช่องเดียวก็ยังได้สินบนมากกว่านักการเมืองฝ่ายค้านทั้งหมดรวมกันประมาณ 5 เท่า เพื่อควบคุมการเมืองให้มีเสถียรภาพ
ถึงจะจ่ายสินบนโทรทัศน์แพงสุดถึง 3 ล้านเหรียญสหรัฐ ต่อเดือน เมื่อเทียบกับที่ผู้พิพากษาและนักการเมืองได้เดือนละ 2.5 และ 3 แสนเหรียญสหรัฐ แต่ก็นับว่าได้ผลคุ้มค่ามากสุดเช่นกันจากการไม่ต้องถูกทีวีที่มีพลานุภาพการตรวจสอบรัฐบาลสูงสุดเปิดโปงทุจริต หรือขนาดเปลี่ยนทัศนะชาวเปรูที่นิยมเสพสื่อชนิดนี้มากสุดไปในทางเป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาล ดังที่คนสนิทของมองเตสกิโนกร้าวไว้ว่า ‘ถ้าเราไม่สามารถควบคุมโทรทัศน์ได้ เราก็ควบคุมอะไรไม่ได้เลย’
ระหว่างมีอำนาจ ทีวีรัฐ Channel 7 จึงถูกมองเตสกิโนควบคุมเนื้อหา ขณะที่ทีวีเอกชน 5 ช่องและเคเบิล CCN ก็ถูกสินบนก้อนโตซื้อทั้งหมด โดย Channel 4 ที่มีผู้ชมสูงสุดจะได้เดือนละ 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับ Channel 2 เจ้าของสถานีจะได้รับเงินครึ่งล้านเหรียญสหรัฐ แลกกับการถูกควบคุมเนื้อหาข่าวก่อนออกอากาศทุกวัน และห้ามเผยแพร่ข่าวผู้สมัครแข่งขันเป็นประธานาธิบดีหรือ ส.ส. หากไม่อนุมัติ ส่วนทีวีที่มีผู้ชมน้อยกว่าก็จะได้รับการช่วยเหลือด้านธุรกิจและการตัดสินคดีความต่างๆ
อย่างไรก็ดี มองเตสกิโนคำนวณพลาดจากการไม่ติดสินบนเคเบิลทีวี ‘Channel N’ ที่แม้มีสมาชิกแค่หลักหมื่น แต่ก็กลายมาเป็นหัวหอกล้มล้างรัฐบาลฟูจิมูริเมื่อออกอากาศวิดีโอเทปการติดสินบนของมองเตสกิโน ก่อนตามมาด้วยหนังสือพิมพ์อย่าง El Comercio ที่มีเจ้าของผู้ไม่ยอมศิโรราบเป็นคนเดียวกันกับ Channel N จะกล้าหาญวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ถึงจะต้องถูกฟ้องหมิ่นประมาทยันคุกคามข่มขู่ชีวิต รวมทั้งยังถูกดิสเครดิตจากสื่อ ‘เชลียร์’ รัฐ
‘ห่วงโซ่หาญกล้าของสื่อสารมวลชน’ จึงจำต้องรัดร้อยถ้อยถักแต่ละห่วงโซ่อย่างพิถีพิถันในแต่ละองค์กรสถาบันสื่อเพื่อกระชับเหนียวแน่นแข็งแกร่ง ยากจะบั่นทอน ไม่เช่นนั้นจักไม่อาจคว้าชัยชนะเหนืออำนาจอยุติธรรมรัฐได้ เพราะหลังออกอากาศ Channel N ก็ถูกทำให้เงียบเสียงลงไป
ทว่า ว่าก็ว่าเถอะการพยายามปิดสื่อเสรีนั้นละม้ายปรากฏการณ์ ‘ตายสิบเกิดแสน’ ด้วย Channel 2 ที่ใหญ่อันดับ 2 ของเปรูได้เริ่มเผยแพร่ข่าวสืบสวนเกี่ยวกับมองเตสกิโนทั้งมิติความเหี้ยมโหดของหน่วยงานลับในกำกับ ความไม่ชอบมาพากลเรื่องภาษี และรายได้สูงกว่าเงินเดือนรัฐบาลมโหฬาร หลังจากซื่อสัตย์กับเงินทองของรัฐบาลฟูจิมูริมาช้านาน
การรับไม้ต่อของสื่อสารมวลชนในการเจาะกลโกงทุจริตด้วยกระบวนการทำข่าวเชิงลึกจึงไม่จำเป็นต้องเน้นประเด็นเดียวกันทั้งหมด เพราะท้ายสุดแล้วความแตกต่างหลากหลายจะหลอมรวมเป็นลูกศรหนึ่งเดียวพวยพุ่งกระแทกผู้กุมอำนาจรัฐคดโกงกระเด็นตกเวทีอำนาจ ดั่งฉากชีวิตมองเตสกิโนที่ฉ้อฉลจนร่ำรวย 200 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ก็ถูกคุมขัง กับฟูจิมูริที่กอบโกยไปถึง 600 ล้านเหรียญสหรัฐ และได้รับเลือกตั้งครั้งแรกท่วมท้นจากนโยบายเศรษฐกิจกู้วิกฤตชาติ รวมถึงกำชัยติดต่อกัน 3 ครั้ง ก็กลับพบจุดจบต้องลี้ภัยไปญี่ปุ่นและลาออกผ่านแฟกซ์
ถึงแม้นไม่อาจเทียบเคียงการแทรกแซงสื่อของรัฐบาลฟูจิมูริกับรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลงมาถึงรัฐบาลสมัคร สุนทรเวชได้ ด้วยเปรูและไทยต่างกันมากทางวัฒนธรรม การเมือง และโครงสร้างเจ้าของสื่อ แต่กระนั้นก็ได้บทเรียนร่วมสำคัญหนึ่งซึ่ง ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร สรุปไว้อย่างลุ่มลึกในกรณีมองเตสกิโนนี้ว่า ‘ประชาธิปไตยถูกซื้อได้’ และศัตรูของอำนาจนิยมคือ ส.ส.อิสระ ผู้พิพากษาซื่อตรง และสื่อเสรี โดยเฉพาะทีวีเสรีที่มีพลังวิพากษ์วิจารณ์จนเกิดแรงกระเพื่อมทางการเมืองมากสุดด้วยสามารถเข้าถึงผู้คนมากและรวดเร็วที่สุด
แต่ในความต่างย่อมมีความเหมือน อย่างน้อยๆ คนไทยและเปรูก็ชอบดูทีวีมากกว่าอ่านหนังสือพิมพ์ อิทธิพลข่าวสารโทรทัศน์จึงมีส่วนกำหนดทัศนคติและพฤติกรรมของสาธารณชนให้คืนครรลองคลองธรรมได้มากหากถ่ายทอดข่าวสารคอร์รัปชันผ่านภาพที่มีพลังกว่าถ้อยคำ
นัยนี้ สายธารการตรวจสอบถ่วงดุลทุจริตคอร์รัปชันโดยอำนาจรัฐของ ASTV สื่อเสรีที่หนุนนำไปสู่การโค่นล้มรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ จึงคล้ายกับการลุกขึ้นสู้ฟูจิมูริของ Channel N
เพียงแต่ปัจจุบันการพรั่งพรูเรื่องราวฉาวโฉ่ผิดพลาดนานัปการในการดำเนินนโยบายสาธารณะเอื้ออาทรต่างๆ อย่างกองทุนหมู่บ้าน บ้านเอื้ออาทร 30 บาทรักษาทุกโรค จนถึงเมกะโปรเจกต์มหากาพย์สนามบินสุวรรณภูมิของ ASTV ยังคงถูกเตะตัดขาสลับกับดิสเครดิตจากสื่อเทียมทั้งเปิดเผยตัวตนและแอบใส่เสื้อคลุมมืออาชีพ รวมถึงหลงบทบาทสื่อรัฐมาเป็นสื่อรัฐบาล
วิกฤตปัญญาในสังคมไทยวันนี้จึงยังหนักหน่วง เนื่องด้วยพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ตุลาการอิสระ และสื่อเสรี ที่ทำงานร่วมกันในลักษณะของแพกเกจตรวจสอบถ่วงดุลยังคงอ่อนแอ โดยเฉพาะฟรีทีวีที่มัก ‘เซ็นเซอร์ตัวเอง’ เมื่อต้องรายงานข่าวคอร์รัปชันของรัฐบาล
การไม่รายงานข่าวคอร์รัปชันสู่พื้นที่สาธารณะตามศักยภาพที่มีล้นเหลือของสื่อโทรทัศน์จึงทอนอานุภาพองคาพยพการตรวจสอบถ่วงดุลอื่นๆ ให้อ่อนแอตามไปโดยปริยาย ยิ่งกว่านั้นความล้มเหลวและขลาดเขลาของสื่อในการเจาะข่าวทุจริตคือจุดเริ่มต้นอย่างยั่งยืนของวิกฤตทางปัญญามากเท่าๆ กับการพยายามปิดหูปิดตาปิดปากประชาชนของรัฐบวกทุน นั่นเอง
ด้วยท่ามกลางการทุจริตคอร์รัปชันนับแต่ระดับปัจเจกจนถึงประเทศชาติในห้วงนี้ สังคมไทยกลับไม่อาจพลิกวิกฤตเป็นโอกาสเพิ่มพูนภูมิคุ้มกันกลโกงต่างๆ ได้ ด้วยสื่อมวลชนที่เป็นกลไกสำคัญยิ่งในการสร้าง ‘ปัญญา’ แก่สังคม ไม่เคยตระหนักหลักพระพุทธศาสนาที่สอนว่าบรรดาการสูญเสียทั้งหลาย การสูญเสียปัญญานับว่าเลวร้ายสุด ในทางตรงข้าม บรรดาการได้เพิ่มขึ้นมา การได้เพิ่มซึ่งปัญญาเป็นการได้ที่เลิศสุด (เอตทคฺคํ ภิกฺขเว วุฑฺฒีนํ ยทิทํ ปญฺญาวุฑฺฒิ)
หากปรารถนาจุดประกายปัญญาประชาชน สื่อสารมวลชน โดยเฉพาะโทรทัศน์ก็ควรหาญกล้าตรวจสอบทุจริตคอร์รัปชันระดับนโยบายสาธารณะมากขึ้น ไม่คลุมเครืออยู่ในความเป็นกลางที่อับจนปัญญารู้ผิดรู้ถูกรู้ชอบรู้ดี
ขณะเดียวกัน ASTV ที่ก้าวมั่นทางสายนี้ก็ต้องเน้นหนักประเด็นนี้มากกว่าอื่นๆ ที่ถึงจะแหลมคมทว่าก็เสี่ยงถูกโจมตีง่ายกว่า เพราะนอกจากคอร์รัปชันทางการเมืองจะมีความเป็นสากล (Political corruption is universal) ที่ระบาดไปทั่วโลกและทุกชนชั้นสัมผัสรวดร้าวรานได้เหมือนกันแล้ว ยังสามารถระดมมวลชนที่ไม่ใช่การ ‘ปลุกระดม’ ให้เข้าร่วมเพื่อผลักดันนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาวะที่ดีหรือกระทั่งยกระดับการเมืองดังวาดหวังไว้ได้ด้วยการรายงานข่าวแบบวารสารศาสตร์เชิงเป้าหมาย (Advocacy Journalism) ผสานวารสารศาสตร์เชิงพลเมือง (Civic Journalism) ที่มีฐานรากจากหลักฐานข้อเท็จจริงของวารสารศาสตร์สืบสวนสอบสวน. (มีต่อตอน 2)
คอลัมน์เวทีนโยบายสาธารณะ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org