หากเป็นคนช่างสังเกตสักนิด จะพบว่าเหนือกระเป๋าเสื้อเครื่องแบบสีเขียวขี้ม้าด้านขวาของนายทหารคนที่จะผมจะเขียนถึงต่อไปนี้มีเครื่องหมายโลหะที่น่าภาคภูมิใจยิ่งอยู่ชิ้นหนึ่ง น่าเสียดายว่าในวันที่ท่านขึ้นเวทีปราศรัย ณ สะพานมัฆวานรังสรรค์ครั้งแรก เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2551 แม้จะยังอยู่ในช่วงเย็น มีแสงแดดอ่อนฉายลงมาจากท้องฟ้า แต่จุดที่ตั้งเวทีเป็นตำแหน่งที่หันหลังให้พระอาทิตย์ แสงจากท้องฟ้าเลยไม่ได้ฉายกระทบเครื่องหมายให้เป็นประกายระยิบระยับไปทั่วอาณาบริเวณ
คงไม่ต้องอรรถาธิบายให้มากความว่าพล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ในวัย 60 มีความสง่างามทั้งในบริบทของ “สุภาพบุรุษ” และ “ทหาร” อย่างไร
ในสายตาของผม ความสง่างามเพิ่มเป็นทบเท่าทวีคูณเมื่อมีเครื่องหมายชิ้นนี้ประดับอยู่
“เครื่องหมายเชิดชูเกียรติทหารเสือ”
เป็นเครื่องหมายทำด้วยโลหะประดับหน้าอกเสื้อชุดปกติ และเมื่อเป็นชุดฝึกหรือชุดพรางจะปักด้วยไหมสีดำ ประดับ ณ ตำแหน่งเดียวกัน
นี่คือเครื่องหมายที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ องค์ผู้บังคับการพิเศษ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ฯ ที่ทรงพระราชทานพระราชดำริให้มีการฝึกในหลักสูตร “ทหารเสือ” ขึ้น
เสือประคองหัวใจสีม่วงประดับพระนามาภิไธยย่อ สก.!
“หัวใจสีม่วง” หมายถึงผู้บริสุทธิ์ ผู้มีความซื่อสัตย์ สุจริต และจริงใจเป็นที่ตั้ง ทั้งนี้เพราะ ผู้ที่ใกล้เสียชีวิตหัวใจจะกลายจากสีแดงเป็นสีม่วง และในห้วงเวลานั้น บุคคลผู้นั้นจะไม่มีการโกหกหรือปิดบังสิ่งใดๆ ทรงมุ่งหวังให้ผู้ผ่านการฝึกหลักสูตรนี้ เป็นผู้มีความซื่อสัตย์ สุจริต และจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
“เสือประคองหัวใจสีม่วง” จึงหมายถึง กำลังพลทหารเสือทุกนาย ที่เทิดทูนความซื่อสัตย์ สุจริต และจงรักภักดี แทบเบื้องยุคลบาท องค์พระมหากษัตริย์ และพระราชวงศ์ ด้วยความจริงใจ
“สก.” หมายถึง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ องค์ผู้พระราชทานกำเนิดทหารเสือ
“ภูเขา, เกลียวคลื่น และก้อนเมฆ” หมายถึง ทุกหนทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นบนฟ้า พื้นดิน ภูเขา หรือในทะเล ทหารเสือทุกนายพร้อมที่จะดั้นด้นไปเพื่อรักษาไว้ซึ่งความปลอดภัยของชาติ และองค์พระมหากษัตริย์
“แพรสะบัดชายสีฟ้า” สีฟ้าหมายถึงสีประจำพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
(กรณีทหารเสือกิตติมศักดิ์พระราชทานให้ผู้ที่กระทำคุณงามความดี ให้แก่ชาติ และพระราชบัลลังก์ โดยสม่ำเสมอ จะเป็นแพรสะบัดชายสีแดง)
ระยะเวลาการฝึกทั้งสิ้น 16 สัปดาห์ โดย 4 สัปดาห์แรก เป็นการปรับสภาพร่างกายและจิตใจ เตรียมร่างกายให้พร้อมในการฝึกภาคต่อๆ ไป และมีการปูพื้นฐานด้านการยิงปืนฉับพลัน การดำน้ำ โดดร่ม การต่อสู้ป้องกันตัว การต่อต้านการก่อการร้ายสากล รวมถึงการสอนภาษาของประเทศใกล้เคียง และภาษามือด้วย
นอกจากการฝึกแล้ว ยังต้องทดสอบมาตรฐานในด้านสภาพร่างกาย โดยต้องวิ่งระยะ 1 ไมล์ 3 ไมล์ 5 ไมล์ วิ่งประกอบอาวุธและเครื่องสนาม 12 ไมล์ การเดินเร่งรีบพร้อมรบ 65 กิโลเมตร และว่ายน้ำระยะไกล ตลอดจนการทดสอบการใช้อาวุธปืนเล็กยาวเอ็ม 16 และปืนพก 86 ในลักษณะการยิงฉับพลัน ซึ่งผู้ที่ผ่านเกณฑ์เท่านั้นถึงจะสามารถเข้ารับการฝึกในภาคต่อไป
ขั้นต่อไปเป็น ภาคป่า-ภูเขา ระยะ เวลาอีก 4 สัปดาห์ โดยใช้พื้นที่ จ.เชียงใหม่ และ จ.แม่ฮ่องสอน เป็นการฝึกการแทรกซึมทางอากาศด้วยอากาศยาน หลังจากนั้นจะฝึกแทรกซึมทางพื้นดิน เข้าปฏิบัติการต่อที่หมายในลักษณะหน่วยทหารขนาดเล็ก หรือชุดปฏิบัติการ ซึ่งเป็นการนำความรู้ในภาคที่ตั้งมาปฏิบัติจริงในภูมิประเทศทุรกันดาร และภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูง
เรื่องที่ทำการฝึกหลักคือการจัดตั้งและใช้กำลังกองโจร การพิสูจน์ทราบพื้นที่ป่า การฝึกขี่บังคับม้าและการบรรทุกต่างๆ ฝึกปฏิบัติในการถวายความปลอดภัยองค์พระประมุข การศึกษางานโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมพระบรมวงศานุวงศ์ ได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ และเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน เป็นประจำทุกปี
จากนั้นเป็นภาคทะเล ระยะเวลา 3 สัปดาห์ ใช้พื้นที่ชายฝั่ง จ.ชลบุรี และ จ.ระยอง มุ่งเน้นการแทรกซึมทางน้ำ การดำน้ำทางยุทธวิธี การใช้เรือยาง การลาดตระเวนชายฝั่ง การยุทธสะเทินน้ำสะเทินบก การโดดร่มลงทะเล การดำรงชีพในทะเล และประเพณีชาวเรือ
ภาคปฏิบัติการในเมือง ระยะเวลา 3 สัปดาห์ ใช้พื้นที่ จ.ชลบุรี และกรุงเทพฯ มุ่งเน้นการปฏิบัติในพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง การต่อต้านการก่อการร้ายสากล การชิงตัวประกัน การขับขี่จักรยานยนต์ทางยุทธวิธี รวมถึงการฝึกยิงปืนพกระบบ PPC
สุดท้ายคือภาคอากาศ ระยะเวลา 2 สัปดาห์ ใช้พื้นที่ภายในค่ายนวมินทราชินี เป็นการฝึกเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในพื้นฐานของการกระโดดร่มแบบ กระตุกเองการบังคับร่ม การพับร่ม และการแก้ไขเหตุติดขัด
เมื่อจบการฝึก กำลังพลที่สำเร็จการฝึกหลักสูตรทหารเสือทุกนาย จะได้พระราชทานเครื่องหมายแสดงขีดความสามารถทหารเสือ จากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ องค์ผู้บังคับการพิเศษ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ฯ
ผู้ใดประดับเครื่องหมายนี้ จะมีความภาคภูมิใจยิ่ง เพราะสังคมจะรับรู้กันในนาม...
“ทหารเสือราชินี”
ความเป็นพล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ในมุมมองของผมนั้น คนคนนี้มีความเป็นทหารทั้งกายและใจ ความเป็นลูกชายทหาร และพี่ชายเป็นทหารอากาศนักบินเครื่อง F - 5 เสียชีวิตในสมรภูมิเขาค้อเมื่อปี 2519 จะไม่กล่าวถึงให้เยิ่นเย้อ เพราะผลงานล่าสุดของท่านมีค่าควรบันทึกมากกว่า ไม่ใช่สำคัญกว่า แต่เพราะคนยังรู้น้อย
ในฐานะสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ท่านทำงานให้ทหารชั้นผู้น้อยมากเหลือเกิน
เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2549 ท่านได้ยื่นญัตติขอตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาและปรับปรุงสิทธิกำลังพลของกองทัพไทย สนช. มีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการตามเสนอขึ้นมา 31 คน โดยท่านเป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้
คณะกรรมาธิการทำงานอย่างแข็งขันอยู่นานทีเดียว
ที่สุดก็ประสบผลสำเร็จ ส่งผลให้เกิดการแก้ไขกฎหมายหลายฉบับที่ทำให้ทหารชั้นผู้น้อยและทหารผ่านศึกทั้งหลายมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
แม้ต่อเดือนจะเป็นเงินไม่มากนัก แต่ก็มีความหมายยิ่ง โดยเฉพาะในด้านขวัญและกำลังใจ!
คงไม่ต้องอรรถาธิบายให้มากความว่าพล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ในวัย 60 มีความสง่างามทั้งในบริบทของ “สุภาพบุรุษ” และ “ทหาร” อย่างไร
ในสายตาของผม ความสง่างามเพิ่มเป็นทบเท่าทวีคูณเมื่อมีเครื่องหมายชิ้นนี้ประดับอยู่
“เครื่องหมายเชิดชูเกียรติทหารเสือ”
เป็นเครื่องหมายทำด้วยโลหะประดับหน้าอกเสื้อชุดปกติ และเมื่อเป็นชุดฝึกหรือชุดพรางจะปักด้วยไหมสีดำ ประดับ ณ ตำแหน่งเดียวกัน
นี่คือเครื่องหมายที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ องค์ผู้บังคับการพิเศษ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ฯ ที่ทรงพระราชทานพระราชดำริให้มีการฝึกในหลักสูตร “ทหารเสือ” ขึ้น
เสือประคองหัวใจสีม่วงประดับพระนามาภิไธยย่อ สก.!
“หัวใจสีม่วง” หมายถึงผู้บริสุทธิ์ ผู้มีความซื่อสัตย์ สุจริต และจริงใจเป็นที่ตั้ง ทั้งนี้เพราะ ผู้ที่ใกล้เสียชีวิตหัวใจจะกลายจากสีแดงเป็นสีม่วง และในห้วงเวลานั้น บุคคลผู้นั้นจะไม่มีการโกหกหรือปิดบังสิ่งใดๆ ทรงมุ่งหวังให้ผู้ผ่านการฝึกหลักสูตรนี้ เป็นผู้มีความซื่อสัตย์ สุจริต และจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
“เสือประคองหัวใจสีม่วง” จึงหมายถึง กำลังพลทหารเสือทุกนาย ที่เทิดทูนความซื่อสัตย์ สุจริต และจงรักภักดี แทบเบื้องยุคลบาท องค์พระมหากษัตริย์ และพระราชวงศ์ ด้วยความจริงใจ
“สก.” หมายถึง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ องค์ผู้พระราชทานกำเนิดทหารเสือ
“ภูเขา, เกลียวคลื่น และก้อนเมฆ” หมายถึง ทุกหนทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นบนฟ้า พื้นดิน ภูเขา หรือในทะเล ทหารเสือทุกนายพร้อมที่จะดั้นด้นไปเพื่อรักษาไว้ซึ่งความปลอดภัยของชาติ และองค์พระมหากษัตริย์
“แพรสะบัดชายสีฟ้า” สีฟ้าหมายถึงสีประจำพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
(กรณีทหารเสือกิตติมศักดิ์พระราชทานให้ผู้ที่กระทำคุณงามความดี ให้แก่ชาติ และพระราชบัลลังก์ โดยสม่ำเสมอ จะเป็นแพรสะบัดชายสีแดง)
ระยะเวลาการฝึกทั้งสิ้น 16 สัปดาห์ โดย 4 สัปดาห์แรก เป็นการปรับสภาพร่างกายและจิตใจ เตรียมร่างกายให้พร้อมในการฝึกภาคต่อๆ ไป และมีการปูพื้นฐานด้านการยิงปืนฉับพลัน การดำน้ำ โดดร่ม การต่อสู้ป้องกันตัว การต่อต้านการก่อการร้ายสากล รวมถึงการสอนภาษาของประเทศใกล้เคียง และภาษามือด้วย
นอกจากการฝึกแล้ว ยังต้องทดสอบมาตรฐานในด้านสภาพร่างกาย โดยต้องวิ่งระยะ 1 ไมล์ 3 ไมล์ 5 ไมล์ วิ่งประกอบอาวุธและเครื่องสนาม 12 ไมล์ การเดินเร่งรีบพร้อมรบ 65 กิโลเมตร และว่ายน้ำระยะไกล ตลอดจนการทดสอบการใช้อาวุธปืนเล็กยาวเอ็ม 16 และปืนพก 86 ในลักษณะการยิงฉับพลัน ซึ่งผู้ที่ผ่านเกณฑ์เท่านั้นถึงจะสามารถเข้ารับการฝึกในภาคต่อไป
ขั้นต่อไปเป็น ภาคป่า-ภูเขา ระยะ เวลาอีก 4 สัปดาห์ โดยใช้พื้นที่ จ.เชียงใหม่ และ จ.แม่ฮ่องสอน เป็นการฝึกการแทรกซึมทางอากาศด้วยอากาศยาน หลังจากนั้นจะฝึกแทรกซึมทางพื้นดิน เข้าปฏิบัติการต่อที่หมายในลักษณะหน่วยทหารขนาดเล็ก หรือชุดปฏิบัติการ ซึ่งเป็นการนำความรู้ในภาคที่ตั้งมาปฏิบัติจริงในภูมิประเทศทุรกันดาร และภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูง
เรื่องที่ทำการฝึกหลักคือการจัดตั้งและใช้กำลังกองโจร การพิสูจน์ทราบพื้นที่ป่า การฝึกขี่บังคับม้าและการบรรทุกต่างๆ ฝึกปฏิบัติในการถวายความปลอดภัยองค์พระประมุข การศึกษางานโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมพระบรมวงศานุวงศ์ ได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ และเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน เป็นประจำทุกปี
จากนั้นเป็นภาคทะเล ระยะเวลา 3 สัปดาห์ ใช้พื้นที่ชายฝั่ง จ.ชลบุรี และ จ.ระยอง มุ่งเน้นการแทรกซึมทางน้ำ การดำน้ำทางยุทธวิธี การใช้เรือยาง การลาดตระเวนชายฝั่ง การยุทธสะเทินน้ำสะเทินบก การโดดร่มลงทะเล การดำรงชีพในทะเล และประเพณีชาวเรือ
ภาคปฏิบัติการในเมือง ระยะเวลา 3 สัปดาห์ ใช้พื้นที่ จ.ชลบุรี และกรุงเทพฯ มุ่งเน้นการปฏิบัติในพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง การต่อต้านการก่อการร้ายสากล การชิงตัวประกัน การขับขี่จักรยานยนต์ทางยุทธวิธี รวมถึงการฝึกยิงปืนพกระบบ PPC
สุดท้ายคือภาคอากาศ ระยะเวลา 2 สัปดาห์ ใช้พื้นที่ภายในค่ายนวมินทราชินี เป็นการฝึกเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในพื้นฐานของการกระโดดร่มแบบ กระตุกเองการบังคับร่ม การพับร่ม และการแก้ไขเหตุติดขัด
เมื่อจบการฝึก กำลังพลที่สำเร็จการฝึกหลักสูตรทหารเสือทุกนาย จะได้พระราชทานเครื่องหมายแสดงขีดความสามารถทหารเสือ จากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ องค์ผู้บังคับการพิเศษ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ฯ
ผู้ใดประดับเครื่องหมายนี้ จะมีความภาคภูมิใจยิ่ง เพราะสังคมจะรับรู้กันในนาม...
“ทหารเสือราชินี”
ความเป็นพล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ในมุมมองของผมนั้น คนคนนี้มีความเป็นทหารทั้งกายและใจ ความเป็นลูกชายทหาร และพี่ชายเป็นทหารอากาศนักบินเครื่อง F - 5 เสียชีวิตในสมรภูมิเขาค้อเมื่อปี 2519 จะไม่กล่าวถึงให้เยิ่นเย้อ เพราะผลงานล่าสุดของท่านมีค่าควรบันทึกมากกว่า ไม่ใช่สำคัญกว่า แต่เพราะคนยังรู้น้อย
ในฐานะสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ท่านทำงานให้ทหารชั้นผู้น้อยมากเหลือเกิน
เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2549 ท่านได้ยื่นญัตติขอตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาและปรับปรุงสิทธิกำลังพลของกองทัพไทย สนช. มีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการตามเสนอขึ้นมา 31 คน โดยท่านเป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้
คณะกรรมาธิการทำงานอย่างแข็งขันอยู่นานทีเดียว
ที่สุดก็ประสบผลสำเร็จ ส่งผลให้เกิดการแก้ไขกฎหมายหลายฉบับที่ทำให้ทหารชั้นผู้น้อยและทหารผ่านศึกทั้งหลายมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
แม้ต่อเดือนจะเป็นเงินไม่มากนัก แต่ก็มีความหมายยิ่ง โดยเฉพาะในด้านขวัญและกำลังใจ!