ข้าพเจ้าขอนอบน้อมบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พระผู้เป็นศาสดาเอกของโลก ทรงเสด็จไปดีแล้ว ทรงมอบพระธรรมวินัยและพระสงฆ์สาวกเพื่อประโยชน์และความสุขของชนหมู่มากในโลก
อีก 3 วันก็จะถึงวันอาสาฬหบูชาแล้ว วันอาสาฬหบูชาเป็น 1 ใน 3 วันสำคัญในพระพุทธศาสนา คือวันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา และวันมาฆบูชา
วันวิสาขบูชาตรงกับวันเพ็ญเดือนวิสาขะ หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ถือว่าเป็นวันพระพุทธเจ้า เพราะเป็นวันประสูติ วันตรัสรู้ และวันปรินิพพานของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
วันอาสาฬหบูชาตรงกับวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ถือว่าเป็นวันพระธรรม เพราะเป็นวันที่พระตถาคตเจ้าทรงประกาศพระธรรมด้วยการแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตรเป็นปฐมเทศนา ประดิษฐานพระพุทธศาสนาไว้ในโลกเป็นครั้งแรก
วันมาฆบูชาตรงกับวันเพ็ญเดือนมาฆะ หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ถือว่าเป็นวันพระสงฆ์ เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประชุมพระสงฆ์ครั้งใหญ่ที่สุดเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในโพธิกาลตามประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพื่อวางหลักเกณฑ์การสั่งสอนหรือการประกาศพระธรรมคำสอนให้เป็นระบบเป็นระเบียบเป็นขั้นเป็นตอนเป็นครั้งแรก
ท่านเจ้าคุณพุทธทาสเคยกล่าวไว้ว่า ความจริงวันอาสาฬหบูชามีความสำคัญมากกว่าที่จะเป็นวันพระธรรม คืออาจเป็นได้ถึงวันพระรัตนตรัย เพราะเป็นวันที่พระรัตนตรัยครบองค์สามในวันนั้น
เนื่องจากเมื่อพระตถาคตเจ้าทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตรเป็นปฐมเทศนาแล้ว พระอัญญาโกณฑัญญะพี่ใหญ่แห่งปัญจวัคคีย์ได้ดวงตาเห็นธรรมว่า สิ่งทั้งปวงมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา และปัญจวัคคีย์ทั้งห้าได้ขอรับอุปสมบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุปสมบทให้แก่ปัญจวัคคีย์ด้วยกรรมวิธีที่เรียกว่าเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือทรงมีพุทธานุญาตด้วยการเปล่งพระพุทธวาจาว่าเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ด้วยพระพุทธวาจาเท่านี้พระปัญจวัคคีย์ทั้งห้าก็สำเร็จความเป็นพระสงฆ์สาวก ทำให้พระสงฆ์คณะแรกจำนวน 5 รูปบังเกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา
ทำให้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เกิดขึ้นครบองค์สามเป็นพระรัตนตรัยเป็นครั้งแรกในโพธิกาลนี้
เวลานี้ยังมีการสอนกันผิดๆ อธิบายว่าวันมาฆบูชาคือวันของพระธรรม และวันอาสาฬหบูชาเป็นวันของพระสงฆ์ โดยอ้างว่าวันมาฆบูชาเป็นวันที่ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ และวันอาสาฬหบูชามีพระสงฆ์เกิดขึ้น แต่ขอเพื่อนพุทธบริษัทได้พิจารณาโดยแยบคายเถิดว่าเป็นประการใด
วันมาฆบูชาที่ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์นั้นเป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่จะประชุมพระสงฆ์ครั้งใหญ่เพื่อวางหลักหรืออาจเรียกว่าวางหลักสูตรในประกาศพระธรรมคำสอน พระพุทธเจ้าในอดีตทุกพระองค์ล้วนมีประเพณีการประชุมสงฆ์แบบนี้ทั้งนั้น บางพระองค์ก็มีการประชุม 2 ครั้ง แต่ในโพธิกาลของพระตถาคตเจ้ามีการประชุมพระสงฆ์ครั้งใหญ่เพียงครั้งเดียว
การแสดงธรรมครั้งแรกของพระตถาคตเจ้าคือปฐมเทศนานั้นทรงแสดงในวันเพ็ญเดือน 8 จึงควรถือว่าเป็นวันของพระธรรม ในขณะที่วันมาฆบูชาควรถือว่าเป็นวันของพระสงฆ์ดังนี้
การปฏิวัติของพระพุทธเจ้าคือการต่อสู้โค่นล้มสิ่งผุพังและสร้างความผิดชั่วหรือผิดบาปขึ้นในสังคมมนุษย์ ได้แก่ทางที่สุดโต่งสองทางคือทางสายตึงและทางสายหย่อน แล้วสร้างสิ่งใหม่ที่ประเสริฐขึ้นมาแทนที่
เมื่อพระพุทธองค์เสด็จถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสีในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 แล้ว พวกปัญจวัคคีย์เห็นพระองค์เสด็จมาแต่ไกล จึงตกลงกันว่าจะไม่ถวายการต้อนรับ จะไม่เชิญให้นั่ง จะไม่ถวายน้ำล้างพระบาท และจะไม่สนทนาด้วย เพราะเห็นว่าการที่พระพุทธองค์ทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา กลับไปเสวยอาหารดังเดิมนั้นเป็นการเลิกล้มอุดมการณ์ไปเสียแล้ว
แต่ครั้นพระพุทธองค์เสด็จมาถึงเข้าจริงๆ ปัญจวัคคีย์ก็รักษาข้อตกลงนั้นไว้ไม่ได้ พากันเชิญชวนให้พระพุทธองค์ประทับนั่ง ถวายน้ำล้างพระบาท แต่ยังคงเมินหน้าไม่ยอมสนทนาด้วย
พระบรมครูทรงตรัสกับปัญจวัคคีย์ว่าบัดนี้เราได้บรรลุธรรมอันประเสริฐ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เราจักสอนพระธรรมนั้นแก่พวกเธอทั้งหลาย
พวกปัญจวัคคีย์ยังคงนิ่งเฉย ไม่กล่าวตอบแต่ประการใด พระบรมศาสดาตรัสอีก 2 ครั้งก็ยังคงเฉย
ดังนั้นพระตถาคตเจ้าจึงตรัสว่าดูกรปัญจวัคคีย์ พวกเธอทั้งหลายได้อยู่ปรนนิบัติเรามาเป็นเวลานาน เคยได้ยินเรากล่าวว่าเราบรรลุธรรมอันประเสริฐ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าบ้างหรือไม่ ให้ไตร่ตรองทวนความรำลึกดู
ปัญจวัคคีย์เป็นนักบวช เป็นบัณฑิต ไม่ดื้อรั้นหน้าด้าน ไม่หัวชนฝา พอได้ฟังคำตรัสดังนี้ก็ได้สติ หวนระลึกย้อนไปแต่หนหลังก็รำลึกได้ว่าตลอดเวลาที่ถวายการรับใช้ในระหว่างทรงบำเพ็ญทุกขกิริยานั้นไม่เคยได้ยินคำตรัสเช่นนี้แม้แต่ครั้งเดียวว่าทรงบรรลุธรรมอันประเสริฐ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว จึงพากันปฏิสันถารและกราบสักการะ
พระพุทธองค์ยังมิได้แสดงหลักฐานและมิได้แสดงธรรมใดๆ ในขณะนั้น แต่สามารถโน้มนำจิตใจปัญจวัคคีย์ให้กลับมาเชื่อถือพระองค์ได้ด้วยอะไรเล่า?
ก็ด้วยอำนาจแห่งสัจจะที่พระตถาคตเจ้ามีปกติและมีวิสัยไม่กล่าวคำเท็จ ไม่กล่าวคำโกหกหลอกลวง ไม่กล่าวคำเพ้อเจ้อส่อเสียด ไม่กล่าวสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่กล่าวสิ่งที่ไม่ต้องใจ ดังนั้นด้วยคำตรัสเพียงคำเดียวก็โน้มนำใจปัญจวัคคีย์ให้กลับมานับถือศรัทธาได้ดังเดิม
คนที่ไม่มีสัจจะ กล่าวคำเท็จคำโกหกหลอกลวงเป็นอาจิณ กล่าวคำเพ้อเจ้อส่อเสียด กล่าวสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ต้องใจคน เป็นพวกทรชน เป็นคนทุศีล คนจำพวกนี้เป็นคนบาป สามารถทำผิดคิดชั่วได้ทุกสิ่งทุกอย่าง ทำลายได้ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นพวกเห็นแก่ตัว เป็นคนสกปรก ดังพระบาลีที่ว่าอัตตัตถะ อะสุจี มนุสสา ซึ่งแปลว่าผู้เห็นแก่ตัวเป็นคนสกปรก
พระพุทธองค์ทรงปฏิสันถารกับปัญจวัคคีย์ตลอดเย็นค่ำของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 โดยที่ยังไม่แสดงปฐมเทศนา นี่เพราะเหตุใดเล่า?
วิสัชนาว่าแม้พระตถาคตเจ้าทรงโน้มนำใจปัญจวัคคีย์ให้โอนอ่อนนับถือศรัทธาได้ดังเดิมแล้ว แต่เวลายังสั้นนัก ยังไม่สมควรที่จะแสดงปฐมเทศนาซึ่งเป็นพระธรรมอันลึกซึ้งในขณะนั้น สมควรที่จะทอดเวลาไปชั่วราตรีหนึ่ง เพื่อให้เกิดการวิสาสะคุ้นเคยใกล้ชิดกันเหมือนดังเดิมเสียก่อน
นั่นก็คือพุทธวัตรที่ไม่ทรงถือปฏิบัติแบบน้ำขึ้นรีบตักเหมือนกับนักการเมืองที่รู้ว่าชะตากรรมสั้นนัก แล้วเร่งรีบกอบโกยโกงกินจนมูมมามเปรอะเปื้อนปากให้เห็นและจับได้กันคาหนังคาเขา
ครั้นวันรุ่งขึ้นเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 พระพุทธองค์จึงทรงแสดงปฐมเทศนา ทั้งนี้แม้ไม่ปรากฏเวลาชัดเจนว่าทรงแสดงปฐมเทศนาในเวลาเช้า เวลาเที่ยง หรือเวลาเย็น หรือเวลากลางคืน แต่ก็พออนุมานได้ว่าทรงทอดเวลาไปจนถึงเวลาค่ำคืน
เหตุผลก็อยู่ที่กลางวันในอินเดียตอนเหนือในห้วงเวลานั้นร้อนนัก พระพุทธองค์นอกจากทรงคำนึงถึงภูมิประเทศ ภูมิประชากร ภูมิธรรมแล้ว ก็ยังทรงคำนึงถึงภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมอันจะเอื้อต่อการประกาศพระธรรมคำสอนด้วยเสมอ
ดังนั้นการแสดงปฐมเทศนาจึงน่าจะเป็นเวลากลางคืน ในขณะพระจันทร์เพ็ญโคจรผ่านกลุ่มดาวอาสาฬหะ พระจันทร์เด่นกระจ้างฟ้า ทอแสงนวลตา สายลมพลิ้วพาพอเป็นที่เย็นสบายทั้งกายใจ จึงเป็นกาลเทศะและวาระอันเหมาะแก่การแสดงปฐมเทศนา
และแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ประกาศการปฏิวัติสังคมมนุษย์ครั้งใหญ่ที่สุด โดยการแสดงพระธัมมจักรกัปวัตนสูตรเป็นพระปฐมเทศนาแห่งโพธิกาล
ทรงเริ่มต้นด้วยการประณามและเพิกถอนความเห็นผิดที่สุดโต่งทั้งสองทางว่าทางสุดโต่งทั้งสองทางที่ไม่ควรเสพไม่ควรข้องแวะเกี่ยวข้องเด็ดขาดคืออัตตะกิลละมัตถานุโยค ได้แก่การทรมานตนอย่างหนึ่ง และกามสุขัลลิกานุโยคได้แก่การเสพสุขอย่างเสรี เริงร่าอยู่ในโลกีย์วิสัยอีกอย่างหนึ่ง
อินเดียในยุคนั้นมีความคิดสุดโต่งสายตึงที่เห็นว่าการทรมานตนหรือความโน้มเอียงสุดโต่งไปทางซ้ายสุดๆ จะทำให้สามารถละวางความเห็นแก่ตัวและหลุดพ้นออกจากพันธนาการแห่งกิเลสได้
ทางสายนี้พระพุทธองค์ทรงเดินมาก่อนแล้ว และทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาขั้นอุกฤษฏ์ที่ไม่เคยมีมนุษย์ใดเคยปฏิบัติมาก่อนเลย ทรงตรัสว่าแม้อดีตก็ดี แม้ปัจจุบันก็ดี แม้อนาคตก็ดี ไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดที่บำเพ็ญทุกรกิริยาทรมานตนเสมอด้วยพระองค์เลย
แม้บำเพ็ญทุกรกิริยาถึงปานนั้นเป็นที่สุดแล้วก็ตามก็ไม่สามารถบรรลุพระธรรมอันประเสริฐได้ สำมะหาอะไรกับผู้เดินหนทางสายตึงสุดโต่งที่มิได้บำเพ็ญเพียรถึงขนาดพระพุทธองค์จะบรรลุธรรมได้ ทางสายตึงจึงเป็นความว่างเปล่า ไร้ประโยชน์ และไม่ใช่หนทางอันประเสริฐ
จากนั้นก็ทรงประณามทางสายหย่อนหรือกามสุขขัลลิกานุโยคที่ปล่อยปละชีวิตหรือใช้ชีวิตคลุกเคล้าอยู่ด้วยกาม ใช้ชีวิตเสรี ฉวยโอกาสเสพกาม ยึดมั่นในกาม หวังเอาว่าเมื่ออิ่มแปล้ในกามแล้วก็จะเบื่อหน่าย และถึงซึ่งความหลุดพ้นเอง
บรรดาพวกลัทธิเสรีหรือพวกที่อ้างความเป็นกลางแบบฉวยโอกาส รวมทั้งพวกริบบิ้นขาว ก็คือพวกเดินหนทางสายหย่อน คือหนทางกามสุขัลลิกานุโยค ซึ่งไม่เป็นประโยชน์ เป็นการหลอกลวงตนเองและผู้อื่นให้หลงผิด ทำชีวิตให้ละม้ายคล้ายกับชีวิตสัตว์เดรัจฉานที่มุ่งแต่กินและกามเป็นสำคัญ
พระพุทธองค์ทรงเดินทางสายนี้มาก่อน เพราะทรงเป็นมกุฎราชกุมาร เป็นขัตติยะตระกูล อุบัติขึ้นใต้ร่มเศวตฉัตรที่ไม่มีมนุษย์ใดได้เสพสุขเสมอด้วยพระองค์เลย แต่กระนั้นก็ไม่ใช่หนทางประเสริฐที่จะทำให้หลุดพ้นจากความทุกข์ได้
ดังนั้นพวกฉวยโอกาส พวกริบบิ้นขาว พวกเสรีในกามทั้งหลายจึงอย่าได้หมายว่าหลอกลวงตนเองแล้วจะหลอกลวงคนอื่นได้ มีแต่จะพาตนเองและผู้อื่นไปสู่ห้วงเหวแห่งหายนะด้วยกัน
เมื่อทรงประณาม ทรงโค่นล้มทำลายซากปรักหักพังทางความคิดของสังคมเก่าที่เน่าเฟะทลายลงแล้ว จึงทรงประกาศทางเลือกสายใหม่หรือการเมืองใหม่ที่เป็นหนทางอันประเสริฐที่ทรงค้นพบด้วยการตรัสรู้
นั่นคือมัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง คืออริยมรรคอันมีองค์แปด.
อีก 3 วันก็จะถึงวันอาสาฬหบูชาแล้ว วันอาสาฬหบูชาเป็น 1 ใน 3 วันสำคัญในพระพุทธศาสนา คือวันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา และวันมาฆบูชา
วันวิสาขบูชาตรงกับวันเพ็ญเดือนวิสาขะ หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ถือว่าเป็นวันพระพุทธเจ้า เพราะเป็นวันประสูติ วันตรัสรู้ และวันปรินิพพานของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
วันอาสาฬหบูชาตรงกับวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ถือว่าเป็นวันพระธรรม เพราะเป็นวันที่พระตถาคตเจ้าทรงประกาศพระธรรมด้วยการแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตรเป็นปฐมเทศนา ประดิษฐานพระพุทธศาสนาไว้ในโลกเป็นครั้งแรก
วันมาฆบูชาตรงกับวันเพ็ญเดือนมาฆะ หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ถือว่าเป็นวันพระสงฆ์ เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประชุมพระสงฆ์ครั้งใหญ่ที่สุดเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในโพธิกาลตามประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพื่อวางหลักเกณฑ์การสั่งสอนหรือการประกาศพระธรรมคำสอนให้เป็นระบบเป็นระเบียบเป็นขั้นเป็นตอนเป็นครั้งแรก
ท่านเจ้าคุณพุทธทาสเคยกล่าวไว้ว่า ความจริงวันอาสาฬหบูชามีความสำคัญมากกว่าที่จะเป็นวันพระธรรม คืออาจเป็นได้ถึงวันพระรัตนตรัย เพราะเป็นวันที่พระรัตนตรัยครบองค์สามในวันนั้น
เนื่องจากเมื่อพระตถาคตเจ้าทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตรเป็นปฐมเทศนาแล้ว พระอัญญาโกณฑัญญะพี่ใหญ่แห่งปัญจวัคคีย์ได้ดวงตาเห็นธรรมว่า สิ่งทั้งปวงมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา และปัญจวัคคีย์ทั้งห้าได้ขอรับอุปสมบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุปสมบทให้แก่ปัญจวัคคีย์ด้วยกรรมวิธีที่เรียกว่าเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือทรงมีพุทธานุญาตด้วยการเปล่งพระพุทธวาจาว่าเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ด้วยพระพุทธวาจาเท่านี้พระปัญจวัคคีย์ทั้งห้าก็สำเร็จความเป็นพระสงฆ์สาวก ทำให้พระสงฆ์คณะแรกจำนวน 5 รูปบังเกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา
ทำให้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เกิดขึ้นครบองค์สามเป็นพระรัตนตรัยเป็นครั้งแรกในโพธิกาลนี้
เวลานี้ยังมีการสอนกันผิดๆ อธิบายว่าวันมาฆบูชาคือวันของพระธรรม และวันอาสาฬหบูชาเป็นวันของพระสงฆ์ โดยอ้างว่าวันมาฆบูชาเป็นวันที่ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ และวันอาสาฬหบูชามีพระสงฆ์เกิดขึ้น แต่ขอเพื่อนพุทธบริษัทได้พิจารณาโดยแยบคายเถิดว่าเป็นประการใด
วันมาฆบูชาที่ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์นั้นเป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่จะประชุมพระสงฆ์ครั้งใหญ่เพื่อวางหลักหรืออาจเรียกว่าวางหลักสูตรในประกาศพระธรรมคำสอน พระพุทธเจ้าในอดีตทุกพระองค์ล้วนมีประเพณีการประชุมสงฆ์แบบนี้ทั้งนั้น บางพระองค์ก็มีการประชุม 2 ครั้ง แต่ในโพธิกาลของพระตถาคตเจ้ามีการประชุมพระสงฆ์ครั้งใหญ่เพียงครั้งเดียว
การแสดงธรรมครั้งแรกของพระตถาคตเจ้าคือปฐมเทศนานั้นทรงแสดงในวันเพ็ญเดือน 8 จึงควรถือว่าเป็นวันของพระธรรม ในขณะที่วันมาฆบูชาควรถือว่าเป็นวันของพระสงฆ์ดังนี้
การปฏิวัติของพระพุทธเจ้าคือการต่อสู้โค่นล้มสิ่งผุพังและสร้างความผิดชั่วหรือผิดบาปขึ้นในสังคมมนุษย์ ได้แก่ทางที่สุดโต่งสองทางคือทางสายตึงและทางสายหย่อน แล้วสร้างสิ่งใหม่ที่ประเสริฐขึ้นมาแทนที่
เมื่อพระพุทธองค์เสด็จถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสีในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 แล้ว พวกปัญจวัคคีย์เห็นพระองค์เสด็จมาแต่ไกล จึงตกลงกันว่าจะไม่ถวายการต้อนรับ จะไม่เชิญให้นั่ง จะไม่ถวายน้ำล้างพระบาท และจะไม่สนทนาด้วย เพราะเห็นว่าการที่พระพุทธองค์ทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา กลับไปเสวยอาหารดังเดิมนั้นเป็นการเลิกล้มอุดมการณ์ไปเสียแล้ว
แต่ครั้นพระพุทธองค์เสด็จมาถึงเข้าจริงๆ ปัญจวัคคีย์ก็รักษาข้อตกลงนั้นไว้ไม่ได้ พากันเชิญชวนให้พระพุทธองค์ประทับนั่ง ถวายน้ำล้างพระบาท แต่ยังคงเมินหน้าไม่ยอมสนทนาด้วย
พระบรมครูทรงตรัสกับปัญจวัคคีย์ว่าบัดนี้เราได้บรรลุธรรมอันประเสริฐ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เราจักสอนพระธรรมนั้นแก่พวกเธอทั้งหลาย
พวกปัญจวัคคีย์ยังคงนิ่งเฉย ไม่กล่าวตอบแต่ประการใด พระบรมศาสดาตรัสอีก 2 ครั้งก็ยังคงเฉย
ดังนั้นพระตถาคตเจ้าจึงตรัสว่าดูกรปัญจวัคคีย์ พวกเธอทั้งหลายได้อยู่ปรนนิบัติเรามาเป็นเวลานาน เคยได้ยินเรากล่าวว่าเราบรรลุธรรมอันประเสริฐ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าบ้างหรือไม่ ให้ไตร่ตรองทวนความรำลึกดู
ปัญจวัคคีย์เป็นนักบวช เป็นบัณฑิต ไม่ดื้อรั้นหน้าด้าน ไม่หัวชนฝา พอได้ฟังคำตรัสดังนี้ก็ได้สติ หวนระลึกย้อนไปแต่หนหลังก็รำลึกได้ว่าตลอดเวลาที่ถวายการรับใช้ในระหว่างทรงบำเพ็ญทุกขกิริยานั้นไม่เคยได้ยินคำตรัสเช่นนี้แม้แต่ครั้งเดียวว่าทรงบรรลุธรรมอันประเสริฐ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว จึงพากันปฏิสันถารและกราบสักการะ
พระพุทธองค์ยังมิได้แสดงหลักฐานและมิได้แสดงธรรมใดๆ ในขณะนั้น แต่สามารถโน้มนำจิตใจปัญจวัคคีย์ให้กลับมาเชื่อถือพระองค์ได้ด้วยอะไรเล่า?
ก็ด้วยอำนาจแห่งสัจจะที่พระตถาคตเจ้ามีปกติและมีวิสัยไม่กล่าวคำเท็จ ไม่กล่าวคำโกหกหลอกลวง ไม่กล่าวคำเพ้อเจ้อส่อเสียด ไม่กล่าวสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่กล่าวสิ่งที่ไม่ต้องใจ ดังนั้นด้วยคำตรัสเพียงคำเดียวก็โน้มนำใจปัญจวัคคีย์ให้กลับมานับถือศรัทธาได้ดังเดิม
คนที่ไม่มีสัจจะ กล่าวคำเท็จคำโกหกหลอกลวงเป็นอาจิณ กล่าวคำเพ้อเจ้อส่อเสียด กล่าวสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ต้องใจคน เป็นพวกทรชน เป็นคนทุศีล คนจำพวกนี้เป็นคนบาป สามารถทำผิดคิดชั่วได้ทุกสิ่งทุกอย่าง ทำลายได้ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นพวกเห็นแก่ตัว เป็นคนสกปรก ดังพระบาลีที่ว่าอัตตัตถะ อะสุจี มนุสสา ซึ่งแปลว่าผู้เห็นแก่ตัวเป็นคนสกปรก
พระพุทธองค์ทรงปฏิสันถารกับปัญจวัคคีย์ตลอดเย็นค่ำของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 โดยที่ยังไม่แสดงปฐมเทศนา นี่เพราะเหตุใดเล่า?
วิสัชนาว่าแม้พระตถาคตเจ้าทรงโน้มนำใจปัญจวัคคีย์ให้โอนอ่อนนับถือศรัทธาได้ดังเดิมแล้ว แต่เวลายังสั้นนัก ยังไม่สมควรที่จะแสดงปฐมเทศนาซึ่งเป็นพระธรรมอันลึกซึ้งในขณะนั้น สมควรที่จะทอดเวลาไปชั่วราตรีหนึ่ง เพื่อให้เกิดการวิสาสะคุ้นเคยใกล้ชิดกันเหมือนดังเดิมเสียก่อน
นั่นก็คือพุทธวัตรที่ไม่ทรงถือปฏิบัติแบบน้ำขึ้นรีบตักเหมือนกับนักการเมืองที่รู้ว่าชะตากรรมสั้นนัก แล้วเร่งรีบกอบโกยโกงกินจนมูมมามเปรอะเปื้อนปากให้เห็นและจับได้กันคาหนังคาเขา
ครั้นวันรุ่งขึ้นเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 พระพุทธองค์จึงทรงแสดงปฐมเทศนา ทั้งนี้แม้ไม่ปรากฏเวลาชัดเจนว่าทรงแสดงปฐมเทศนาในเวลาเช้า เวลาเที่ยง หรือเวลาเย็น หรือเวลากลางคืน แต่ก็พออนุมานได้ว่าทรงทอดเวลาไปจนถึงเวลาค่ำคืน
เหตุผลก็อยู่ที่กลางวันในอินเดียตอนเหนือในห้วงเวลานั้นร้อนนัก พระพุทธองค์นอกจากทรงคำนึงถึงภูมิประเทศ ภูมิประชากร ภูมิธรรมแล้ว ก็ยังทรงคำนึงถึงภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมอันจะเอื้อต่อการประกาศพระธรรมคำสอนด้วยเสมอ
ดังนั้นการแสดงปฐมเทศนาจึงน่าจะเป็นเวลากลางคืน ในขณะพระจันทร์เพ็ญโคจรผ่านกลุ่มดาวอาสาฬหะ พระจันทร์เด่นกระจ้างฟ้า ทอแสงนวลตา สายลมพลิ้วพาพอเป็นที่เย็นสบายทั้งกายใจ จึงเป็นกาลเทศะและวาระอันเหมาะแก่การแสดงปฐมเทศนา
และแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ประกาศการปฏิวัติสังคมมนุษย์ครั้งใหญ่ที่สุด โดยการแสดงพระธัมมจักรกัปวัตนสูตรเป็นพระปฐมเทศนาแห่งโพธิกาล
ทรงเริ่มต้นด้วยการประณามและเพิกถอนความเห็นผิดที่สุดโต่งทั้งสองทางว่าทางสุดโต่งทั้งสองทางที่ไม่ควรเสพไม่ควรข้องแวะเกี่ยวข้องเด็ดขาดคืออัตตะกิลละมัตถานุโยค ได้แก่การทรมานตนอย่างหนึ่ง และกามสุขัลลิกานุโยคได้แก่การเสพสุขอย่างเสรี เริงร่าอยู่ในโลกีย์วิสัยอีกอย่างหนึ่ง
อินเดียในยุคนั้นมีความคิดสุดโต่งสายตึงที่เห็นว่าการทรมานตนหรือความโน้มเอียงสุดโต่งไปทางซ้ายสุดๆ จะทำให้สามารถละวางความเห็นแก่ตัวและหลุดพ้นออกจากพันธนาการแห่งกิเลสได้
ทางสายนี้พระพุทธองค์ทรงเดินมาก่อนแล้ว และทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาขั้นอุกฤษฏ์ที่ไม่เคยมีมนุษย์ใดเคยปฏิบัติมาก่อนเลย ทรงตรัสว่าแม้อดีตก็ดี แม้ปัจจุบันก็ดี แม้อนาคตก็ดี ไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดที่บำเพ็ญทุกรกิริยาทรมานตนเสมอด้วยพระองค์เลย
แม้บำเพ็ญทุกรกิริยาถึงปานนั้นเป็นที่สุดแล้วก็ตามก็ไม่สามารถบรรลุพระธรรมอันประเสริฐได้ สำมะหาอะไรกับผู้เดินหนทางสายตึงสุดโต่งที่มิได้บำเพ็ญเพียรถึงขนาดพระพุทธองค์จะบรรลุธรรมได้ ทางสายตึงจึงเป็นความว่างเปล่า ไร้ประโยชน์ และไม่ใช่หนทางอันประเสริฐ
จากนั้นก็ทรงประณามทางสายหย่อนหรือกามสุขขัลลิกานุโยคที่ปล่อยปละชีวิตหรือใช้ชีวิตคลุกเคล้าอยู่ด้วยกาม ใช้ชีวิตเสรี ฉวยโอกาสเสพกาม ยึดมั่นในกาม หวังเอาว่าเมื่ออิ่มแปล้ในกามแล้วก็จะเบื่อหน่าย และถึงซึ่งความหลุดพ้นเอง
บรรดาพวกลัทธิเสรีหรือพวกที่อ้างความเป็นกลางแบบฉวยโอกาส รวมทั้งพวกริบบิ้นขาว ก็คือพวกเดินหนทางสายหย่อน คือหนทางกามสุขัลลิกานุโยค ซึ่งไม่เป็นประโยชน์ เป็นการหลอกลวงตนเองและผู้อื่นให้หลงผิด ทำชีวิตให้ละม้ายคล้ายกับชีวิตสัตว์เดรัจฉานที่มุ่งแต่กินและกามเป็นสำคัญ
พระพุทธองค์ทรงเดินทางสายนี้มาก่อน เพราะทรงเป็นมกุฎราชกุมาร เป็นขัตติยะตระกูล อุบัติขึ้นใต้ร่มเศวตฉัตรที่ไม่มีมนุษย์ใดได้เสพสุขเสมอด้วยพระองค์เลย แต่กระนั้นก็ไม่ใช่หนทางประเสริฐที่จะทำให้หลุดพ้นจากความทุกข์ได้
ดังนั้นพวกฉวยโอกาส พวกริบบิ้นขาว พวกเสรีในกามทั้งหลายจึงอย่าได้หมายว่าหลอกลวงตนเองแล้วจะหลอกลวงคนอื่นได้ มีแต่จะพาตนเองและผู้อื่นไปสู่ห้วงเหวแห่งหายนะด้วยกัน
เมื่อทรงประณาม ทรงโค่นล้มทำลายซากปรักหักพังทางความคิดของสังคมเก่าที่เน่าเฟะทลายลงแล้ว จึงทรงประกาศทางเลือกสายใหม่หรือการเมืองใหม่ที่เป็นหนทางอันประเสริฐที่ทรงค้นพบด้วยการตรัสรู้
นั่นคือมัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง คืออริยมรรคอันมีองค์แปด.