ข้าพเจ้าขอนอบน้อมบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พระผู้เป็นศาสดาเอกของโลก ทรงเสด็จไปดีแล้ว ทรงมอบพระธรรมวินัยและพระสงฆ์สาวกเพื่อประโยชน์และความสุขของชนหมู่มากในโลก
วันนี้เป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันเข้าพรรษา และล่วงพ้นวันอาสาฬหบูชามาแล้ว 1 วัน ดังนั้นจึงยังคงประกาศพระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นต่อไปอีกวันหนึ่งตามที่ได้ตั้งใจไว้เดิม
และวันนี้จะได้แสดงในหัวข้อเรื่อง “คำประกาศที่ท้าทายมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย”
การแสดงปฐมเทศนาของพระตถาคตเจ้าคือการประกาศสถาปนาพระพุทธศาสนาขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก ทำให้พระรัตนตรัยบังเกิดขึ้นครบถ้วนเป็นครั้งแรกในโลก
เมื่อทรงประณามและโค่นความติดยึดผิดๆ ในสังคมเก่า คือความติดยึดและหมกมุ่นอยู่ในทางสุดโต่งทั้งสองทาง คือทางสายตึงกับทางสายหย่อนแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ประกาศการเมืองใหม่ คือทางสายกลาง หรือที่มีชื่อเรียกเป็นภาษาบาลีว่ามัชฌิมาปฏิปทา
ทรงประกาศว่าทางสุดโต่งทั้งสองทางเป็นสิ่งที่ไม่ควรติดยึดข้องแวะเป็นอันขาด เพราะไม่ใช่ทางแห่งความหลุดพ้น ไม่ใช่ทางแห่งความรู้อันประเสริฐของมวลมนุษย์ ไม่ใช่ทางแห่งความดับทุกข์ และไม่ใช่ทางอันเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเหล่าสัตว์
นั่นคือการทรมานตนด้วยวิธีการใดๆ ก็ดี การเสพสุขอย่างเสรีแบบฉวยโอกาสแบบพวกริบบิ้นขาวก็ดี เป็นหนทางอันต่ำช้า ไม่ใช่หนทางอันประเสริฐในพระธรรมวินัยแห่งพระอริยเจ้า
จากนั้นก็ทรงประกาศว่ามัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลางคือหนทางอันประเสริฐที่จะล่วงทุกข์หรือดับทุกข์สิ้นเชิงได้ เป็นทางรอดของมวลมนุษย์ทั้งหลาย
ทางสายกลางที่พระพุทธองค์ทรงประกาศนั้นมิใช่การอ้างความเป็นกลางแบบฉวยโอกาสหรือการถือลัทธิตาอยู่ที่เจ้าเล่ห์แสนกลและปลิ้นปล้อนเพื่อฉกฉวยโอกาสจากความวิบัติฉิบหายทั้งหลายมาเป็นประโยชน์ตน
มิใช่ความเป็นกึ่งกลางระหว่างตัวเลขทางคณิตศาสตร์ มิใช่ความเป็นกึ่งกลางระหว่างสีดำกับสีขาว หรือความผิดกับความถูก หรือความชั่วกับความดี และมิใช่ความเพิกเฉยไม่ไยดีกับความชั่วช้าเลวทรามใดๆ ที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้า และมิใช่ความยอมจำนนต่ออธรรม ต่อการข่มเหงรังแกและการกดขี่ขูดรีดทั้งปวง
นั่นไม่ใช่ทางสายกลาง นั่นเป็นลัทธิยอมจำนน ลัทธิฉวยโอกาส หรือลัทธิเจ้าเล่ห์กระเท่ห์ที่ปลิ้นปล้อนหลอกลวงเท่านั้น
ทรงประกาศอย่างองอาจว่าทางสายกลางประกอบด้วยองค์แปดคือสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ทั้งแปดประการนี้ประดุจดั่งเชือกแต่ละเส้นที่ร้อยเกลียวกันเป็นเชือกเส้นใหญ่อันประกอบขึ้นเป็นมัชฌิมาปฏิปทา
องค์ทั้งแปดแห่งมัชฌิมาปฏิปทานั้นคือความเห็นหรือความยึดถือชอบ ความดำริชอบ การกล่าววาจาชอบ การกระทำชอบ การประกอบอาชีพโดยชอบ ความพยายามโดยชอบ การรำลึกโดยชอบ และความมีจิตตั้งมั่นโดยชอบ
คือมีความชอบหรือความถูกต้องอยู่ทุกองค์แห่งอริยมรรค แต่การใช้คำว่า “ชอบ” หรือ “ความถูกต้อง” ในทุกองค์แห่งอริยมรรคนั้น ท่านผู้รู้บางท่านโดยเฉพาะพระภิกษุฝรั่งที่เป็นสานุศิษย์ของพระอาจารย์ชาเคยแปลว่าคำว่า “สัมมา” ว่าไกลจากกิเลส
และด้วยคำแปลนี้ก็จะมีความหมายอีกทางหนึ่งว่าอริยมรรคอันมีองค์แปดนั้นคือความเห็นที่ไกลจากกิเลสหนึ่ง ความดำริที่ไกลจากกิเลสหนึ่ง การกล่าววาจาที่ไกลจากกิเลสหนึ่ง การกระทำที่ไกลจากกิเลสหนึ่ง การประกอบอาชีพที่ไกลจากกิเลสหนึ่ง ความพยายามให้ไกลจากกิเลสหนึ่ง ความระลึกอันไกลจากกิเลสหนึ่ง และความมีจิตที่ไกลจากกิเลสอีกหนึ่ง ถ้าแปลอย่างนี้ก็อาจเข้าใจได้ง่ายขึ้น
จะเลือกแปลอย่างไหนก็สุดแท้แต่อัชฌาสัย ขอเพียงให้เข้าใจคำว่า “สัมมา” ให้ตรงกันว่ามีความหมายอย่างเดียวกันกับคำว่า “สัมมา” ในคำที่ประกอบกันเข้าเป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเถิด
ดังนั้นองค์ทั้งแปดแห่งอริยมรรคจึงมิใช่ความเป็นกลางทางคณิตศาสตร์ มิใช่ความเป็นกลางแบบฉวยโอกาส หรือความเพิกเฉยด้วยการยอมจำนน หรือการทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ต่อสรรพสิ่งที่เกิดขึ้น แต่ต้องเริ่มต้นด้วยความถูกต้อง ความชอบ หรือความไกลจากกิเลสคือ “สัมมา” ทั้งสิ้น
เมื่อทรงประกาศประณามซากเน่าผุพังของความติดยึดในความเห็นสุดโต่งทั้งสองทาง และทรงประกาศทางสายกลางคือมัชฌิมาปฏิปทาแล้ว ก็ทรงประกาศอริยสัจสี่ที่ทรงค้นพบ
ทรงประกาศว่าความจริงอันประเสริฐสุด 4 ประการ เป็นเรื่องที่เวไนยสัตว์ทั้งปวงพึงทำความรู้ พึงทำความเข้าใจ และพึงประพฤติปฏิบัติเพื่อความล่วงทุกข์ เพื่อความถึงที่สุดแห่งทุกข์ เพื่อความดับทุกข์ และเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง ดังนี้แล้วก็จะเป็นเวไนยสัตว์ที่ประเสริฐ ไม่เสียทีที่เกิดมาชาติหนึ่ง
ทรงประกาศว่าทุกข์อริยสัจคือความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ ความประสบกับสิ่งที่ไม่รักเป็นทุกข์ ความปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นเป็นทุกข์ โดยสรุปก็คือความติดยึดมั่นในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณเป็นทุกข์
ทรงประกาศว่าสมุทัยอริยสัจอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ คือความทะยานอยากทำให้มีภพ เป็นไปด้วยความกำหนัด ด้วยความเพลิดเพลินในอารมณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ใคร่หรือความทะยานอยากในความอยากมี อยากเป็น หรือความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น หรือทั้งความอยากและไม่อยากใดๆ นี่แหละเป็นเหตุแห่งทุกข์
ทรงประกาศว่านิโรธอริยสัจหรือความดับทุกข์สิ้นเชิงนั้นมีอยู่ คือความดับสิ้นไปแห่งความกำหนัดโดยไม่เหลือตัณหาใดๆ ความสละตัณหา ความวางตัณหา ความปล่อยตัณหาและความไม่พัวพันในตัณหา คือความดับสนิทแห่งทุกข์
ทรงประกาศว่าอริยมรรคก็คือหนทางแห่งความดับทุกข์สิ้นเชิงก็มีอยู่ นั่นคืออริยมรรคอันมีองค์แปดนั่นเอง
พระพุทธองค์ทรงประกาศว่าทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แล้ว ทรงมีปัญญาเกิดขึ้น ทรงมีวิชชาเกิดขึ้นแล้ว ทรงมีความสว่างเกิดขึ้นแล้ว ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยฟังมาก่อนว่าทุกข์อริยสัจเป็นอย่างนี้ ว่าทุกข์อริยสัจเป็นสิ่งที่พึงกำหนดรู้ และทรงกำหนดรู้ทุกข์อริยสัจนั้นแล้ว
ทรงประกาศว่าสมุทัยอริยสัจนั้นทรงกำหนดรู้แล้วว่าเป็นอย่างไร และเป็นเรื่องที่ควรละให้สิ้นเชิง และทรงละได้สิ้นเชิงแล้ว
ทรงประกาศว่านิโรธอริยสัจนั้นทรงรู้แล้ว และรู้ด้วยว่าเป็นเรื่องควรทำให้แจ้งและทรงทำให้แจ้งแล้ว
ทรงประกาศว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจหรือหนทางแห่งความดับทุกข์นั้นทรงรู้แล้วว่าเป็นอย่างไร ทรงรู้ด้วยว่าเป็นสิ่งที่ควรทำให้เจริญขึ้น บังเกิดขึ้นในตน และทรงเจริญอย่างเต็มเปี่ยมสมบูรณ์แล้ว
ทรงสรุปว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงแล้วอย่างไร ในอริยสัจสี่เหล่านี้ของเรา ซึ่งมีรอบสาม มีอาการสิบสองอย่างนี้ ยังไม่หมดจดเพียงใดแล้ว เราไม่ยืนยันว่าเราเป็นผู้ตรัสรู้โดยชอบ”
แล้วทรงประกาศว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแลปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงอย่างไรในอริยสัจเหล่านี้ของเราซึ่งมีรอบสาม มีอาการสิบสองอย่างนี้หมดจดดีแล้ว เมื่อนั้นเราจึงได้ยืนยันตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบ ไม่มีความตรัสรู้อื่นยิ่งกว่าในโลก ไม่ว่าในโลกแห่งเทพยดา มาร พรหม หมู่สัตว์ ทั้งสมณะ พราหมณ์ เทพยดา และมนุษย์”
ทรงยืนยันต่อไปว่า “ก็แลปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่าความพ้นพิเศษของเราไม่กลับกำเริบอีก ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีภพอีก”
ความหมายก็คือทุกข์และสมุทัยหรือเหตุแห่งทุกข์นั้นเป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้ด้วยปัญญาก่อนว่าเป็นอย่างไร เมื่อรู้แล้วก็รู้ต่อไปว่าเป็นสิ่งที่ต้องละเสีย และได้ละทุกข์และเหตุแห่งทุกข์ได้ นี่เรียกว่ามีปัญญารู้ด้วยรอบสาม คือรู้ว่าเป็นอย่างไร รู้ว่าควรละ และละได้แล้ว
ความหมายก็คือนิโรธคือความดับทุกข์ และมัชฌิมาปฏิปทาอันเป็นหนทางแห่งความดับทุกข์นั้นเป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้ด้วยปัญญาก่อนว่าเป็นอย่างไร เมื่อรู้แล้วก็รู้ต่อไปว่าเป็นสิ่งที่จะต้องทำให้เจริญขึ้นในตน และได้ประพฤติปฏิบัติจนเป็นมรรคผลบริบูรณ์
อาการสามรอบในจตุอริยสัจเป็นดังนี้ จึงทรงกล่าวว่า “ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงในอริยสัจสี่ของเราซึ่งมีรอบสาม มีอาการสิบสองอย่างนี้”
เป็นอันหมดจด เป็นระบบ ครบถ้วนว่าเวไนยสัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาแล้วย่อมมีหน้าที่ในการศึกษาและปฏิบัติเพื่อความรู้แจ้งด้วยปัญญาว่าทุกข์และสมุทัยเป็นประการใด รู้แล้วก็ต้องรู้ต่อไปว่าเป็นเรื่องที่ต้องละเสียให้สิ้นเชิง และประพฤติปฏิบัติให้ละหรือระงับดับได้อย่างสิ้นเชิงด้วย นี่เป็นการดับที่ต้นธารหรือดับสาเหตุของความทุกข์
การดับทุกข์และหนทางดับทุกข์เป็นเรื่องที่ต้องศึกษาและปฏิบัติเพื่อความรู้แจ้งด้วยปัญญาว่าเป็นอย่างไร แล้วรู้ด้วยว่าเป็นเรื่องที่ต้องเจริญให้บังเกิดมีขึ้นในตนและต้องประพฤติปฏิบัติเพื่อใช้หนทางแห่งความดับทุกข์นั้นดับทุกข์ได้สนิทสิ้นเชิง
อริยสัจสี่จึงประกอบด้วยรอบสามและอาการสิบสองดังนี้
คำประกาศเหล่านี้ทรงประกาศยืนยันว่า นี่คือจักรแห่งธรรม หรือธรรมจักรที่ไม่มีจักรอื่นสู้ได้ พระพุทธองค์ทรงประกาศพระธรรมจักรนี้แล้วที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี
ธรรมจักรนี้จักไม่มีสมณะ พราหมณ์ เทพยดา มาร พรหม และใครใดในโลกจะหมุนกลับให้เป็นอื่นไปได้ไม่ว่าในกาลบัดนั้น หรือในกาลบัดนี้ หรือในกาลไหนๆ
คำประกาศดังกล่าวนี้จึงได้ชื่อว่าธัมมจักกัปปวัตนสูตร เป็นปฐมเทศนาแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
สิ้นคำประกาศ พระอัญญาโกณฑัญญะพี่ใหญ่แห่งปัญจวัคคีย์ได้ดวงตาเห็นธรรม คือเห็นด้วยปัญญาอันยิ่งว่าสิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา
ในพลันนั้นเทพยดาทั้งหลายในชั้นจาตุมหาราช ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามะ ชั้นดุสิต ชั้นนิมานนรดี ชั้นปรนิมมิตวสวัดดี เทพดาที่เกิดในชั้นพรหม ต่างพร้อมเพรียงกันเปล่งสาธุการบันลือลั่นสะท้านขึ้นไปทั่วทั้งหมื่นแสนโลกธาตุ บังเกิดแสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ
ขอสาธุชนทั้งปวงที่ได้ทราบประกาศแห่งพระผู้พระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล้วจงถึงซึ่งความสวัสดีและมีจิตอันเกษม ถึงซึ่งความไม่หวั่นไหวในโลกธรรมทั้งปวงเทอญ.
วันนี้เป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันเข้าพรรษา และล่วงพ้นวันอาสาฬหบูชามาแล้ว 1 วัน ดังนั้นจึงยังคงประกาศพระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นต่อไปอีกวันหนึ่งตามที่ได้ตั้งใจไว้เดิม
และวันนี้จะได้แสดงในหัวข้อเรื่อง “คำประกาศที่ท้าทายมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย”
การแสดงปฐมเทศนาของพระตถาคตเจ้าคือการประกาศสถาปนาพระพุทธศาสนาขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก ทำให้พระรัตนตรัยบังเกิดขึ้นครบถ้วนเป็นครั้งแรกในโลก
เมื่อทรงประณามและโค่นความติดยึดผิดๆ ในสังคมเก่า คือความติดยึดและหมกมุ่นอยู่ในทางสุดโต่งทั้งสองทาง คือทางสายตึงกับทางสายหย่อนแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ประกาศการเมืองใหม่ คือทางสายกลาง หรือที่มีชื่อเรียกเป็นภาษาบาลีว่ามัชฌิมาปฏิปทา
ทรงประกาศว่าทางสุดโต่งทั้งสองทางเป็นสิ่งที่ไม่ควรติดยึดข้องแวะเป็นอันขาด เพราะไม่ใช่ทางแห่งความหลุดพ้น ไม่ใช่ทางแห่งความรู้อันประเสริฐของมวลมนุษย์ ไม่ใช่ทางแห่งความดับทุกข์ และไม่ใช่ทางอันเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเหล่าสัตว์
นั่นคือการทรมานตนด้วยวิธีการใดๆ ก็ดี การเสพสุขอย่างเสรีแบบฉวยโอกาสแบบพวกริบบิ้นขาวก็ดี เป็นหนทางอันต่ำช้า ไม่ใช่หนทางอันประเสริฐในพระธรรมวินัยแห่งพระอริยเจ้า
จากนั้นก็ทรงประกาศว่ามัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลางคือหนทางอันประเสริฐที่จะล่วงทุกข์หรือดับทุกข์สิ้นเชิงได้ เป็นทางรอดของมวลมนุษย์ทั้งหลาย
ทางสายกลางที่พระพุทธองค์ทรงประกาศนั้นมิใช่การอ้างความเป็นกลางแบบฉวยโอกาสหรือการถือลัทธิตาอยู่ที่เจ้าเล่ห์แสนกลและปลิ้นปล้อนเพื่อฉกฉวยโอกาสจากความวิบัติฉิบหายทั้งหลายมาเป็นประโยชน์ตน
มิใช่ความเป็นกึ่งกลางระหว่างตัวเลขทางคณิตศาสตร์ มิใช่ความเป็นกึ่งกลางระหว่างสีดำกับสีขาว หรือความผิดกับความถูก หรือความชั่วกับความดี และมิใช่ความเพิกเฉยไม่ไยดีกับความชั่วช้าเลวทรามใดๆ ที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้า และมิใช่ความยอมจำนนต่ออธรรม ต่อการข่มเหงรังแกและการกดขี่ขูดรีดทั้งปวง
นั่นไม่ใช่ทางสายกลาง นั่นเป็นลัทธิยอมจำนน ลัทธิฉวยโอกาส หรือลัทธิเจ้าเล่ห์กระเท่ห์ที่ปลิ้นปล้อนหลอกลวงเท่านั้น
ทรงประกาศอย่างองอาจว่าทางสายกลางประกอบด้วยองค์แปดคือสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ทั้งแปดประการนี้ประดุจดั่งเชือกแต่ละเส้นที่ร้อยเกลียวกันเป็นเชือกเส้นใหญ่อันประกอบขึ้นเป็นมัชฌิมาปฏิปทา
องค์ทั้งแปดแห่งมัชฌิมาปฏิปทานั้นคือความเห็นหรือความยึดถือชอบ ความดำริชอบ การกล่าววาจาชอบ การกระทำชอบ การประกอบอาชีพโดยชอบ ความพยายามโดยชอบ การรำลึกโดยชอบ และความมีจิตตั้งมั่นโดยชอบ
คือมีความชอบหรือความถูกต้องอยู่ทุกองค์แห่งอริยมรรค แต่การใช้คำว่า “ชอบ” หรือ “ความถูกต้อง” ในทุกองค์แห่งอริยมรรคนั้น ท่านผู้รู้บางท่านโดยเฉพาะพระภิกษุฝรั่งที่เป็นสานุศิษย์ของพระอาจารย์ชาเคยแปลว่าคำว่า “สัมมา” ว่าไกลจากกิเลส
และด้วยคำแปลนี้ก็จะมีความหมายอีกทางหนึ่งว่าอริยมรรคอันมีองค์แปดนั้นคือความเห็นที่ไกลจากกิเลสหนึ่ง ความดำริที่ไกลจากกิเลสหนึ่ง การกล่าววาจาที่ไกลจากกิเลสหนึ่ง การกระทำที่ไกลจากกิเลสหนึ่ง การประกอบอาชีพที่ไกลจากกิเลสหนึ่ง ความพยายามให้ไกลจากกิเลสหนึ่ง ความระลึกอันไกลจากกิเลสหนึ่ง และความมีจิตที่ไกลจากกิเลสอีกหนึ่ง ถ้าแปลอย่างนี้ก็อาจเข้าใจได้ง่ายขึ้น
จะเลือกแปลอย่างไหนก็สุดแท้แต่อัชฌาสัย ขอเพียงให้เข้าใจคำว่า “สัมมา” ให้ตรงกันว่ามีความหมายอย่างเดียวกันกับคำว่า “สัมมา” ในคำที่ประกอบกันเข้าเป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเถิด
ดังนั้นองค์ทั้งแปดแห่งอริยมรรคจึงมิใช่ความเป็นกลางทางคณิตศาสตร์ มิใช่ความเป็นกลางแบบฉวยโอกาส หรือความเพิกเฉยด้วยการยอมจำนน หรือการทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ต่อสรรพสิ่งที่เกิดขึ้น แต่ต้องเริ่มต้นด้วยความถูกต้อง ความชอบ หรือความไกลจากกิเลสคือ “สัมมา” ทั้งสิ้น
เมื่อทรงประกาศประณามซากเน่าผุพังของความติดยึดในความเห็นสุดโต่งทั้งสองทาง และทรงประกาศทางสายกลางคือมัชฌิมาปฏิปทาแล้ว ก็ทรงประกาศอริยสัจสี่ที่ทรงค้นพบ
ทรงประกาศว่าความจริงอันประเสริฐสุด 4 ประการ เป็นเรื่องที่เวไนยสัตว์ทั้งปวงพึงทำความรู้ พึงทำความเข้าใจ และพึงประพฤติปฏิบัติเพื่อความล่วงทุกข์ เพื่อความถึงที่สุดแห่งทุกข์ เพื่อความดับทุกข์ และเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง ดังนี้แล้วก็จะเป็นเวไนยสัตว์ที่ประเสริฐ ไม่เสียทีที่เกิดมาชาติหนึ่ง
ทรงประกาศว่าทุกข์อริยสัจคือความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ ความประสบกับสิ่งที่ไม่รักเป็นทุกข์ ความปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นเป็นทุกข์ โดยสรุปก็คือความติดยึดมั่นในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณเป็นทุกข์
ทรงประกาศว่าสมุทัยอริยสัจอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ คือความทะยานอยากทำให้มีภพ เป็นไปด้วยความกำหนัด ด้วยความเพลิดเพลินในอารมณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ใคร่หรือความทะยานอยากในความอยากมี อยากเป็น หรือความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น หรือทั้งความอยากและไม่อยากใดๆ นี่แหละเป็นเหตุแห่งทุกข์
ทรงประกาศว่านิโรธอริยสัจหรือความดับทุกข์สิ้นเชิงนั้นมีอยู่ คือความดับสิ้นไปแห่งความกำหนัดโดยไม่เหลือตัณหาใดๆ ความสละตัณหา ความวางตัณหา ความปล่อยตัณหาและความไม่พัวพันในตัณหา คือความดับสนิทแห่งทุกข์
ทรงประกาศว่าอริยมรรคก็คือหนทางแห่งความดับทุกข์สิ้นเชิงก็มีอยู่ นั่นคืออริยมรรคอันมีองค์แปดนั่นเอง
พระพุทธองค์ทรงประกาศว่าทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แล้ว ทรงมีปัญญาเกิดขึ้น ทรงมีวิชชาเกิดขึ้นแล้ว ทรงมีความสว่างเกิดขึ้นแล้ว ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยฟังมาก่อนว่าทุกข์อริยสัจเป็นอย่างนี้ ว่าทุกข์อริยสัจเป็นสิ่งที่พึงกำหนดรู้ และทรงกำหนดรู้ทุกข์อริยสัจนั้นแล้ว
ทรงประกาศว่าสมุทัยอริยสัจนั้นทรงกำหนดรู้แล้วว่าเป็นอย่างไร และเป็นเรื่องที่ควรละให้สิ้นเชิง และทรงละได้สิ้นเชิงแล้ว
ทรงประกาศว่านิโรธอริยสัจนั้นทรงรู้แล้ว และรู้ด้วยว่าเป็นเรื่องควรทำให้แจ้งและทรงทำให้แจ้งแล้ว
ทรงประกาศว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจหรือหนทางแห่งความดับทุกข์นั้นทรงรู้แล้วว่าเป็นอย่างไร ทรงรู้ด้วยว่าเป็นสิ่งที่ควรทำให้เจริญขึ้น บังเกิดขึ้นในตน และทรงเจริญอย่างเต็มเปี่ยมสมบูรณ์แล้ว
ทรงสรุปว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงแล้วอย่างไร ในอริยสัจสี่เหล่านี้ของเรา ซึ่งมีรอบสาม มีอาการสิบสองอย่างนี้ ยังไม่หมดจดเพียงใดแล้ว เราไม่ยืนยันว่าเราเป็นผู้ตรัสรู้โดยชอบ”
แล้วทรงประกาศว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแลปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงอย่างไรในอริยสัจเหล่านี้ของเราซึ่งมีรอบสาม มีอาการสิบสองอย่างนี้หมดจดดีแล้ว เมื่อนั้นเราจึงได้ยืนยันตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบ ไม่มีความตรัสรู้อื่นยิ่งกว่าในโลก ไม่ว่าในโลกแห่งเทพยดา มาร พรหม หมู่สัตว์ ทั้งสมณะ พราหมณ์ เทพยดา และมนุษย์”
ทรงยืนยันต่อไปว่า “ก็แลปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่าความพ้นพิเศษของเราไม่กลับกำเริบอีก ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีภพอีก”
ความหมายก็คือทุกข์และสมุทัยหรือเหตุแห่งทุกข์นั้นเป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้ด้วยปัญญาก่อนว่าเป็นอย่างไร เมื่อรู้แล้วก็รู้ต่อไปว่าเป็นสิ่งที่ต้องละเสีย และได้ละทุกข์และเหตุแห่งทุกข์ได้ นี่เรียกว่ามีปัญญารู้ด้วยรอบสาม คือรู้ว่าเป็นอย่างไร รู้ว่าควรละ และละได้แล้ว
ความหมายก็คือนิโรธคือความดับทุกข์ และมัชฌิมาปฏิปทาอันเป็นหนทางแห่งความดับทุกข์นั้นเป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้ด้วยปัญญาก่อนว่าเป็นอย่างไร เมื่อรู้แล้วก็รู้ต่อไปว่าเป็นสิ่งที่จะต้องทำให้เจริญขึ้นในตน และได้ประพฤติปฏิบัติจนเป็นมรรคผลบริบูรณ์
อาการสามรอบในจตุอริยสัจเป็นดังนี้ จึงทรงกล่าวว่า “ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงในอริยสัจสี่ของเราซึ่งมีรอบสาม มีอาการสิบสองอย่างนี้”
เป็นอันหมดจด เป็นระบบ ครบถ้วนว่าเวไนยสัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาแล้วย่อมมีหน้าที่ในการศึกษาและปฏิบัติเพื่อความรู้แจ้งด้วยปัญญาว่าทุกข์และสมุทัยเป็นประการใด รู้แล้วก็ต้องรู้ต่อไปว่าเป็นเรื่องที่ต้องละเสียให้สิ้นเชิง และประพฤติปฏิบัติให้ละหรือระงับดับได้อย่างสิ้นเชิงด้วย นี่เป็นการดับที่ต้นธารหรือดับสาเหตุของความทุกข์
การดับทุกข์และหนทางดับทุกข์เป็นเรื่องที่ต้องศึกษาและปฏิบัติเพื่อความรู้แจ้งด้วยปัญญาว่าเป็นอย่างไร แล้วรู้ด้วยว่าเป็นเรื่องที่ต้องเจริญให้บังเกิดมีขึ้นในตนและต้องประพฤติปฏิบัติเพื่อใช้หนทางแห่งความดับทุกข์นั้นดับทุกข์ได้สนิทสิ้นเชิง
อริยสัจสี่จึงประกอบด้วยรอบสามและอาการสิบสองดังนี้
คำประกาศเหล่านี้ทรงประกาศยืนยันว่า นี่คือจักรแห่งธรรม หรือธรรมจักรที่ไม่มีจักรอื่นสู้ได้ พระพุทธองค์ทรงประกาศพระธรรมจักรนี้แล้วที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี
ธรรมจักรนี้จักไม่มีสมณะ พราหมณ์ เทพยดา มาร พรหม และใครใดในโลกจะหมุนกลับให้เป็นอื่นไปได้ไม่ว่าในกาลบัดนั้น หรือในกาลบัดนี้ หรือในกาลไหนๆ
คำประกาศดังกล่าวนี้จึงได้ชื่อว่าธัมมจักกัปปวัตนสูตร เป็นปฐมเทศนาแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
สิ้นคำประกาศ พระอัญญาโกณฑัญญะพี่ใหญ่แห่งปัญจวัคคีย์ได้ดวงตาเห็นธรรม คือเห็นด้วยปัญญาอันยิ่งว่าสิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา
ในพลันนั้นเทพยดาทั้งหลายในชั้นจาตุมหาราช ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามะ ชั้นดุสิต ชั้นนิมานนรดี ชั้นปรนิมมิตวสวัดดี เทพดาที่เกิดในชั้นพรหม ต่างพร้อมเพรียงกันเปล่งสาธุการบันลือลั่นสะท้านขึ้นไปทั่วทั้งหมื่นแสนโลกธาตุ บังเกิดแสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ
ขอสาธุชนทั้งปวงที่ได้ทราบประกาศแห่งพระผู้พระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล้วจงถึงซึ่งความสวัสดีและมีจิตอันเกษม ถึงซึ่งความไม่หวั่นไหวในโลกธรรมทั้งปวงเทอญ.