หนึ่งในมรดกธรรมอันล้ำค่าที่ท่านพุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ฝากเอาไว้ให้ชาวพุทธทุกคนเรียนรู้ ทำความเข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิต คือผลงานหนังสือจำนวนมากที่ท่านเขียนขึ้น และได้ทำหน้าที่ ‘ผู้รับใช้พระพุทธองค์’ ตราบจนวาระสุดท้ายของชีวิต
เพื่อสืบสานปณิธานการประยุกต์หลักพุทธธรรมมาพัฒนาชีวิต ตามแบบอย่างที่ท่านพุทธทาสได้ศึกษา คิดค้น ทดลองปฏิบัติ พิสูจน์ผล และอุทิศชีวิตเผยแผ่แก่สาธารณชน จึงเกิดการรวมตัวของบุคคลและองค์กรต่างๆ ในนาม ‘เครือข่ายธรรมโฆษณ์ พุทธทาส 100 ปีิ’ หลังวาระการเฉลิมฉลอง 100 ปี ชาตกาลพุทธทาสภิกขุ เมื่อปี 2549
และในเวลาต่อมาเครือข่ายฯดังกล่าวได้ร่วมกับ ‘เครือข่ายพุทธิกา’ เครือข่ายเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม จัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆอย่างต่อเนื่อง รวมถึงกิจกรรมพุทธทาสบุ๊คคลับ(Buddhadasa Book Club) หรือชมรมของผู้อ่านงานเขียนของท่านพุทธทาส ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2550
ผศ.ดร.อรศรี งามวิทยาพงศ์ อาจารย์ประจำสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในผู้ร่วมผลักดันให้เกิดกิจกรรมพุทธทาสบุ๊คคลับกล่าวว่า กิจกรรมที่ทำมีวาระจัดขึ้นประมาณเดือนละครั้ง เป็นการเชิญผู้มีชื่อเสียงจากแวดวงต่างๆหยิบหนังสือของท่านพุทธทาสเล่ม ที่ตนเองเคยอ่านและมีผลต่อการใช้ชีวิต มาแลกเปลี่ยนกับผู้ร่วมกิจกรรม โดยมีสำนักพิมพ์ที่ตีพิมพ์ผลงานของท่านพุทธทาส อาทิ สำนักพิมพ์โกมลคีมทอง สำนักพิมพ์สุขภาพใจ สำนักพิมพ์ธรรมสภา สำนักพิมพ์อมรินทร์ ฯลฯ เป็นเจ้าภาพร่วมจัด
“แรกเริ่มเดิมที ผู้ริเริ่มให้เกิดกิจกรรมนี้คือ พระอาจารย์ ไพศาล วิสาโล ท่านบอกให้เราลองคิดกิจกรรมเกี่ยวกับการอ่านงานเขียนของท่านพุทธทาสขึ้นมา เพื่อให้มันตอบโจทย์กับคนรุ่นใหม่และฟังดูร่วมสมัย ที่ประชุมก็เลยสรุปกันว่าน่าจะตั้งชื่อว่า พุทธทาสบุ๊คคลับ”
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี, ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย, เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์, ดร.ปริญญา เทวานฤมิตร, แทนคุณ จิตต์อิสระ, ดร.ปาริชาติ สถาปิตานนท์, เทวัญกานต์ มุ่งปั่นกลาง, โชนรังสี เฉลิมชัยกิจ, ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์ เหล่านี้คือตัวอย่างบุคคลที่เคยถูกเชื้อเชิญมาร่วมสนทนาเมื่อปี พ.ศ.2550
โดยกิจกรรมปฐมฤกษ์เริ่มขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2550 ณ ห้องสมุดประชาชนแสงอรุณ ซึ่งพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ได้พูดคุยเกี่ยวกับหนังสือ ‘สันทัสเสตัพพธรรม’ (หนังสือชุดธรรมโฆษณ์) ก่อนที่กิจกรรมครั้งต่อมาจะย้ายมา ปักหลักที่อาคารเอนกประสงค์ ชั้น 4 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ท่าพระจันทร์) และต่อมาที่อาคารไทยแลนด์บุ๊คทาวเวอร์(TBT) สาทร 12 ในปัจจุบัน เพื่อให้ผู้ร่วมกิจกรรม สะดวกต่อการซื้อหนังสือเล่มที่หยิบยกมาพูดคุย
ส่วนในปี พ.ศ.2551 มีผู้มาร่วมสนทนาอาทิ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี, ศาสตราจารย์พิเศษ จรัญ ภักดีธนากุล อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม, พิสุทธิ์ เกรียงบูรพา ผู้ก่อตั้งวงดนตรี ‘เรียนเชิญผู้มีจิตศรัทธา’ และเจ้าของหนังสือธรรมะชิวชิว ฯลฯ
“มีหลายท่านตอบรับเป็นผู้นำสนทนาให้กับเรา แต่ท่านยังหาคิวไม่ได้ เช่น อดีตนายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย คุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์ ในปีที่สองเราคิดกันว่าผู้ที่มานำสนทนาอาจไม่จำเป็นต้องเป็นคนดังก็ได้ และเราอยากให้เกิดการตั้งกลุ่มช่วยกันอ่าน บางเล่มอาจจะอ่านยาก อ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจ บุ๊คคลับก็จะเป็นตัวช่วยในการอ่าน”
ผลจากการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา ผศ.ดร.อรศรี บอกว่าเป็นที่น่าพอใจ เพราะผู้ที่สนใจมาร่วมกิจกรรมมีความหลากหลาย อันเป็นสิ่งการันตีได้ว่าผลงานเขียนของท่านพุทธทาสยังคงร่วมสมัย และเอาไปปรับใช้กับชีวิตได้จริง
“ท่านพุทธทาสเน้นเสมอว่า ท่านไม่อยากให้คนที่อ่านหนังสือท่าน มองไปที่มิติทางปรัชญา แต่จะทำอย่างไรให้คนอ่านแนวคิดท่าน แล้วนำเอาไปใช้ให้ได้มากที่สุด เราจึงอยากให้คนได้ประโยชน์จากคลังหนังสือมหาศาลที่ท่านฝากไว้ ดังนั้นหน้าที่ของพุทธทาสบุ๊คคลับคือส่งเสริมการอ่านเพื่อเอาสิ่งที่ได้จากการอ่านไปประยุกต์ใช้”
จากกิจกรรมที่จัดขึ้น ทำให้พบว่าหนังสือของท่านพุทธทาสเล่มที่มีอิทธิพลต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมากก็คือ ‘ตุลาการิกธรรม’ ซึ่งเป็นบันทึกการแสดงธรรมของท่านพุทธทาสแก่ผู้พิพากษา เมื่อคราวท่านขึ้นมาเทศน์ที่กรุงเทพมหานคร
“ดิฉันไม่กล้าที่จะยืนยันว่าการที่เรามีสถาบันตุลาการที่เข้มแข็งนั้น มันเป็นผลจากหนังสือเล่มนี้หรือเปล่า แต่ดิฉันคิดว่ามันน่าจะมีส่วน เพราะอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ท่านมีบทบาทสำคัญในการดึงเอาธรรมะเข้าสู่แวดวงตุลาการ แล้วท่านก็เคยเชิญท่านอาจารย์พุทธทาสมาเทศน์ให้ผู้พิพากษาฟังอย่างต่อเนื่อง”
รวมถึงเล่มอื่นๆ อย่าง ‘คู่มือมนุษย์’ หนังสือที่แม้แต่ฝรั่งเองก็ยังชื่นชอบ ทั้งยังได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษและเยอรมัน ต่อด้วย ‘แก่นพุทธศาสตร์’ และ ‘ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม’
“ท่านพุทธทาสบอกว่าพุทธศาสนา มีทั้งส่วนที่เป็นปรัชญา ก็คือตัวความเชื่อพื้นฐานที่มีต่อโลกต่อสรรพสิ่งว่าดำรงอยู่แบบไหน อย่างไร ขณะเดียวกันพุทธศาสนาก็มีส่วนที่เป็นเรื่องของภาคปฏิบัติ และการเห็นผลจากการปฏิบัติ เมื่อเห็นผลก็จะเกิดแรงบันดาลใจที่อยากจะปฏิบัติอย่างสืบเนื่อง ทั้งยังมีผลต่อการปรับเปลี่ยนวิธีคิดและพฤติกรรมของเราด้วย”
แม้ท่านพุทธทาสจะชอบให้คนที่ได้มีโอกาสสนทนากับท่านถามปัญหาธรรมะต่อท่าน มากกว่าที่ท่านจะพูดถึงเรื่องของตัวเองหรือผลงานที่ท่านได้ทำ ด้วยเหตุว่าท่านไม่ต้องการยกตัวเองหรือทำให้นามของพุทธทาส เป็นเสมือนภูเขาบังวิถีธรรม แต่จากหนังสือ ‘เล่าไว้ในวัยสนธยา’ หนังสืออัตชีวประวัติของท่านพุทธทาส ซึ่งสัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย พระประชา ปสนฺนธมฺโม ทำให้หลายคนที่ได้อ่าน ทราบว่างานเขียนที่ท่านพุทธทาสพอใจมากที่สุดคือ หนังสือชื่อ ‘อริยสัจจ์จากพระโอษฐ์’(หนังสือชุดธรรมโฆษณ์) ซึ่งผศ.ดร.อรศรี ได้ยกคำสัมภาษณ์ของท่านพุทธทาสในหนังสือมาอ้างถึงว่า
“พอใจถึงที่สุดก็คือ อริยสัจจ์จากพระโอษฐ์ รู้สึกว่าทำได้สมบูรณ์ที่สุด พอใจกว่าทุกเรื่อง ฝากไว้เป็นอนุสาวรีย์แก่โลกได้”
หอจดหมายเหตุพุทธทาส บริเวณสวนรถไฟ กทม. กล่าวกันว่าเป็นการยกสวนโมกข์มาไว้ที่กรุงเทพฯ มีกำหนดจะสร้างเสร็จในปี พ.ศ.2552 ถึงเวลานั้นผู้สนใจอ่านงานเขียนของท่านพุทธทาส น่าจะได้ใช้สถานที่แห่งนี้เป็นแหล่งทางเลือกในการศึกษางานเขียนของท่าน เพราะจะเป็นที่ที่รวบรวมงานเขียนของท่านไว้อย่างสมบูรณ์
“ผลงานของท่านจะถูกนำมาไว้ที่นั่นทั้งหมด เพราะที่ภาคใต้ มีปัญหาเรื่องอากาศชื้น ทำให้ผลงานหลายเล่มชำรุดไป ซึ่งต่อไปเราก็ตั้งใจว่าจะไปจัดกิจกรรมพุทธทาสบุ๊คคลับขึ้นที่นั่นด้วย”
ทั้งนี้ การเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น และยังจะได้รับหนังสือของท่านพุทธทาสจากมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญด้วย ผู้สนใจสอบถาม รายละเอียดได้ที่ โทร.08-9766-2719 หรือ omechinn @hotmail.com
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 92 ก.ค. 51 โดย พรพิมล)
เพื่อสืบสานปณิธานการประยุกต์หลักพุทธธรรมมาพัฒนาชีวิต ตามแบบอย่างที่ท่านพุทธทาสได้ศึกษา คิดค้น ทดลองปฏิบัติ พิสูจน์ผล และอุทิศชีวิตเผยแผ่แก่สาธารณชน จึงเกิดการรวมตัวของบุคคลและองค์กรต่างๆ ในนาม ‘เครือข่ายธรรมโฆษณ์ พุทธทาส 100 ปีิ’ หลังวาระการเฉลิมฉลอง 100 ปี ชาตกาลพุทธทาสภิกขุ เมื่อปี 2549
และในเวลาต่อมาเครือข่ายฯดังกล่าวได้ร่วมกับ ‘เครือข่ายพุทธิกา’ เครือข่ายเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม จัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆอย่างต่อเนื่อง รวมถึงกิจกรรมพุทธทาสบุ๊คคลับ(Buddhadasa Book Club) หรือชมรมของผู้อ่านงานเขียนของท่านพุทธทาส ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2550
ผศ.ดร.อรศรี งามวิทยาพงศ์ อาจารย์ประจำสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในผู้ร่วมผลักดันให้เกิดกิจกรรมพุทธทาสบุ๊คคลับกล่าวว่า กิจกรรมที่ทำมีวาระจัดขึ้นประมาณเดือนละครั้ง เป็นการเชิญผู้มีชื่อเสียงจากแวดวงต่างๆหยิบหนังสือของท่านพุทธทาสเล่ม ที่ตนเองเคยอ่านและมีผลต่อการใช้ชีวิต มาแลกเปลี่ยนกับผู้ร่วมกิจกรรม โดยมีสำนักพิมพ์ที่ตีพิมพ์ผลงานของท่านพุทธทาส อาทิ สำนักพิมพ์โกมลคีมทอง สำนักพิมพ์สุขภาพใจ สำนักพิมพ์ธรรมสภา สำนักพิมพ์อมรินทร์ ฯลฯ เป็นเจ้าภาพร่วมจัด
“แรกเริ่มเดิมที ผู้ริเริ่มให้เกิดกิจกรรมนี้คือ พระอาจารย์ ไพศาล วิสาโล ท่านบอกให้เราลองคิดกิจกรรมเกี่ยวกับการอ่านงานเขียนของท่านพุทธทาสขึ้นมา เพื่อให้มันตอบโจทย์กับคนรุ่นใหม่และฟังดูร่วมสมัย ที่ประชุมก็เลยสรุปกันว่าน่าจะตั้งชื่อว่า พุทธทาสบุ๊คคลับ”
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี, ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย, เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์, ดร.ปริญญา เทวานฤมิตร, แทนคุณ จิตต์อิสระ, ดร.ปาริชาติ สถาปิตานนท์, เทวัญกานต์ มุ่งปั่นกลาง, โชนรังสี เฉลิมชัยกิจ, ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์ เหล่านี้คือตัวอย่างบุคคลที่เคยถูกเชื้อเชิญมาร่วมสนทนาเมื่อปี พ.ศ.2550
โดยกิจกรรมปฐมฤกษ์เริ่มขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2550 ณ ห้องสมุดประชาชนแสงอรุณ ซึ่งพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ได้พูดคุยเกี่ยวกับหนังสือ ‘สันทัสเสตัพพธรรม’ (หนังสือชุดธรรมโฆษณ์) ก่อนที่กิจกรรมครั้งต่อมาจะย้ายมา ปักหลักที่อาคารเอนกประสงค์ ชั้น 4 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ท่าพระจันทร์) และต่อมาที่อาคารไทยแลนด์บุ๊คทาวเวอร์(TBT) สาทร 12 ในปัจจุบัน เพื่อให้ผู้ร่วมกิจกรรม สะดวกต่อการซื้อหนังสือเล่มที่หยิบยกมาพูดคุย
ส่วนในปี พ.ศ.2551 มีผู้มาร่วมสนทนาอาทิ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี, ศาสตราจารย์พิเศษ จรัญ ภักดีธนากุล อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม, พิสุทธิ์ เกรียงบูรพา ผู้ก่อตั้งวงดนตรี ‘เรียนเชิญผู้มีจิตศรัทธา’ และเจ้าของหนังสือธรรมะชิวชิว ฯลฯ
“มีหลายท่านตอบรับเป็นผู้นำสนทนาให้กับเรา แต่ท่านยังหาคิวไม่ได้ เช่น อดีตนายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย คุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์ ในปีที่สองเราคิดกันว่าผู้ที่มานำสนทนาอาจไม่จำเป็นต้องเป็นคนดังก็ได้ และเราอยากให้เกิดการตั้งกลุ่มช่วยกันอ่าน บางเล่มอาจจะอ่านยาก อ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจ บุ๊คคลับก็จะเป็นตัวช่วยในการอ่าน”
ผลจากการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา ผศ.ดร.อรศรี บอกว่าเป็นที่น่าพอใจ เพราะผู้ที่สนใจมาร่วมกิจกรรมมีความหลากหลาย อันเป็นสิ่งการันตีได้ว่าผลงานเขียนของท่านพุทธทาสยังคงร่วมสมัย และเอาไปปรับใช้กับชีวิตได้จริง
“ท่านพุทธทาสเน้นเสมอว่า ท่านไม่อยากให้คนที่อ่านหนังสือท่าน มองไปที่มิติทางปรัชญา แต่จะทำอย่างไรให้คนอ่านแนวคิดท่าน แล้วนำเอาไปใช้ให้ได้มากที่สุด เราจึงอยากให้คนได้ประโยชน์จากคลังหนังสือมหาศาลที่ท่านฝากไว้ ดังนั้นหน้าที่ของพุทธทาสบุ๊คคลับคือส่งเสริมการอ่านเพื่อเอาสิ่งที่ได้จากการอ่านไปประยุกต์ใช้”
จากกิจกรรมที่จัดขึ้น ทำให้พบว่าหนังสือของท่านพุทธทาสเล่มที่มีอิทธิพลต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมากก็คือ ‘ตุลาการิกธรรม’ ซึ่งเป็นบันทึกการแสดงธรรมของท่านพุทธทาสแก่ผู้พิพากษา เมื่อคราวท่านขึ้นมาเทศน์ที่กรุงเทพมหานคร
“ดิฉันไม่กล้าที่จะยืนยันว่าการที่เรามีสถาบันตุลาการที่เข้มแข็งนั้น มันเป็นผลจากหนังสือเล่มนี้หรือเปล่า แต่ดิฉันคิดว่ามันน่าจะมีส่วน เพราะอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ท่านมีบทบาทสำคัญในการดึงเอาธรรมะเข้าสู่แวดวงตุลาการ แล้วท่านก็เคยเชิญท่านอาจารย์พุทธทาสมาเทศน์ให้ผู้พิพากษาฟังอย่างต่อเนื่อง”
รวมถึงเล่มอื่นๆ อย่าง ‘คู่มือมนุษย์’ หนังสือที่แม้แต่ฝรั่งเองก็ยังชื่นชอบ ทั้งยังได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษและเยอรมัน ต่อด้วย ‘แก่นพุทธศาสตร์’ และ ‘ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม’
“ท่านพุทธทาสบอกว่าพุทธศาสนา มีทั้งส่วนที่เป็นปรัชญา ก็คือตัวความเชื่อพื้นฐานที่มีต่อโลกต่อสรรพสิ่งว่าดำรงอยู่แบบไหน อย่างไร ขณะเดียวกันพุทธศาสนาก็มีส่วนที่เป็นเรื่องของภาคปฏิบัติ และการเห็นผลจากการปฏิบัติ เมื่อเห็นผลก็จะเกิดแรงบันดาลใจที่อยากจะปฏิบัติอย่างสืบเนื่อง ทั้งยังมีผลต่อการปรับเปลี่ยนวิธีคิดและพฤติกรรมของเราด้วย”
แม้ท่านพุทธทาสจะชอบให้คนที่ได้มีโอกาสสนทนากับท่านถามปัญหาธรรมะต่อท่าน มากกว่าที่ท่านจะพูดถึงเรื่องของตัวเองหรือผลงานที่ท่านได้ทำ ด้วยเหตุว่าท่านไม่ต้องการยกตัวเองหรือทำให้นามของพุทธทาส เป็นเสมือนภูเขาบังวิถีธรรม แต่จากหนังสือ ‘เล่าไว้ในวัยสนธยา’ หนังสืออัตชีวประวัติของท่านพุทธทาส ซึ่งสัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย พระประชา ปสนฺนธมฺโม ทำให้หลายคนที่ได้อ่าน ทราบว่างานเขียนที่ท่านพุทธทาสพอใจมากที่สุดคือ หนังสือชื่อ ‘อริยสัจจ์จากพระโอษฐ์’(หนังสือชุดธรรมโฆษณ์) ซึ่งผศ.ดร.อรศรี ได้ยกคำสัมภาษณ์ของท่านพุทธทาสในหนังสือมาอ้างถึงว่า
“พอใจถึงที่สุดก็คือ อริยสัจจ์จากพระโอษฐ์ รู้สึกว่าทำได้สมบูรณ์ที่สุด พอใจกว่าทุกเรื่อง ฝากไว้เป็นอนุสาวรีย์แก่โลกได้”
หอจดหมายเหตุพุทธทาส บริเวณสวนรถไฟ กทม. กล่าวกันว่าเป็นการยกสวนโมกข์มาไว้ที่กรุงเทพฯ มีกำหนดจะสร้างเสร็จในปี พ.ศ.2552 ถึงเวลานั้นผู้สนใจอ่านงานเขียนของท่านพุทธทาส น่าจะได้ใช้สถานที่แห่งนี้เป็นแหล่งทางเลือกในการศึกษางานเขียนของท่าน เพราะจะเป็นที่ที่รวบรวมงานเขียนของท่านไว้อย่างสมบูรณ์
“ผลงานของท่านจะถูกนำมาไว้ที่นั่นทั้งหมด เพราะที่ภาคใต้ มีปัญหาเรื่องอากาศชื้น ทำให้ผลงานหลายเล่มชำรุดไป ซึ่งต่อไปเราก็ตั้งใจว่าจะไปจัดกิจกรรมพุทธทาสบุ๊คคลับขึ้นที่นั่นด้วย”
ทั้งนี้ การเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น และยังจะได้รับหนังสือของท่านพุทธทาสจากมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญด้วย ผู้สนใจสอบถาม รายละเอียดได้ที่ โทร.08-9766-2719 หรือ omechinn @hotmail.com
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 92 ก.ค. 51 โดย พรพิมล)