นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เร่งปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.)โดยเร็ว ซึ่งครั้งนี้เป็นโอกาสที่จะได้ปรับใหญ่ และทบทวนนโยบายความผิดพลาดที่เกิดขึ้นแล้วเพื่อหาทางแก้ไข
ทั้งนี้ เห็นว่าภารกิจแรกของ รมว.ต่างประเทศ คนใหม่ คือ จะต้องทำให้เกิดความชัดเจนว่าไทยไม่ยอมรับแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา และสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับแถลงการณ์ร่วมฯ ทั้งแผนที่ แผนผัง ก็ไม่ยอมรับทั้งหมด ขณะเดียวกันขอให้ทุกประเทศและกรรมการมรดกโลกได้เข้าใจว่า พื้นที่อนุรักษ์บริเวณดังกล่าวนั้นเป็นดินแดนของไทย ดังนั้นการที่จะให้ใครมาจัดการ ไทยจะต้องมีส่วนร่วมในการเห็นชอบและเห็นพ้องอย่างชัดเจน ไม่ใช่ไปกำหนดภายใต้กรอบขององค์การยูเนสโก หรือคณะกรรมการมรดกโลกฝ่ายเดียว ซึ่งเรื่องนี้ควรทำโดยเร็วที่สุด
สำหรับกรณีที่นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ ยืนยันว่า ไม่ได้ทำผิดนั้น เป็นความเห็นของนายนพดลคนเดียว แต่จะผิดหรือไม่ หลายๆ เรื่องได้พิสูจน์โดยคำตัดสินของศาลแล้วว่าข้อมูลที่ปฏิเสธมาตลอด ก็ต้องยอมรับ และหากใครเห็นคำอธิบายของนายนพดล ก่อนที่จะประกาศลาออกแล้วเทียบกับที่ชี้แจงในสมุดปกขาว ก็ขัดแย้งกันเอง รวมถึงคำปราศรัยที่แคนาดา ก็ตรงกันข้ามกับที่ชี้แจงในสภา อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่รัฐบาลต้องทำในขณะนี้ควรต้องมาช่วยกันคิดว่า การเดินหน้าแก้ไขปัญหาเรื่องนี้จะทำอย่างไร ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังมองไม่เห็นความชัดเจนของรัฐบาลว่าจะเดินหน้าอย่างไร เพื่อให้ไทยไม่ต้องสูญเสียไปมากกว่านี้ และขณะเดียวกันต้องทำโดยที่ไม่ให้กระทบกับความสัมพันธ์สองประเทศ
ทั้งนี้ สิ่งที่ฝ่ายค้านพูด หรือตรวจสอบทั้งหมดไม่ใช่ไม่อยากให้พื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่ต้องการให้เป็นมรดกโลกแบบสมบูรณ์ ซึ่งหมายถึงครอบคลุมพื้นที่ทั้งไทยและกัมพูชา และทำงานร่วมกันจริงๆ ขึ้นทะเบียนภายใต้ชื่อสองประเทศจริงๆ จะสมประโยชน์กับทุกฝ่าย และจะส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีด้วย
เมื่อถามว่านายนพดล ยืนยันว่าการขึ้นทะเบียนมรดกโลก ขึ้นเฉพาะปราสาทพระวิหารเท่านั้นไม่เกี่ยวกับพื้นที่โดยรอบนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไม่เข้าใจว่านายนพดลไปเซ็นโดยที่ไม่อ่านได้อย่างไร เพราะในแถลงการณ์ร่วมพูดถึงพื้นที่โดยรอบชัดเจนว่ามีผลกระทบที่ตามมาอย่างไร และรัฐมนตรีไม่เอะใจหรืออย่างไร ว่าทำไมกัมพูชาพยายามขอให้เซ็นแถลงการณ์ร่วมในวันที่ 22 พ.ค. ซึ่งเซ็นกัน 23.35 น. เหตุใดจึงไม่เอะใจว่า ถ้าไม่มีความหมายเลยเหตุใดจึงเร่งดำเนินการถึงขั้นนั้น ก็เพราะเป็นเอกสารที่ต้องใช้ยืนยันความสนับสนุนของไทย
**"ปองพล"โร่ขอชี้แจงไม่ได้ขายชาติ
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานวิปฝ่ายค้าน เปิดเผยว่า นายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการมรดกโลกไทย ได้ประสานผ่านนายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ส.ส. สัดส่วนพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อขอนัดพบ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และคณะทำงานของพรรค เวลา 10.00น.วันนี้ (12 ก.ค.) เพื่อชี้แจงกรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร หลังจากมีข้อสงสัยมากมาย เกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินการในส่วนการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกว่า ทำไปมากน้อยแค่ไหน รวมทั้งจุดยืนของประเทศไทยในประเด็นดังกล่าว และการดูแลพื้นที่ร่วมกัน 7 ประเทศ ที่วิตกกันว่า จะมีปัญหาตามมา
**กาหัว"หมัก"ไม่พ้นถูกถอดถอน
นายสาทิตย์ กล่าวด้วยว่า หลังจากได้ยื่นถอดถอนนายนพดล ไปแล้ว ก็กำลังดูเรื่องรายละเอียดที่จะเกี่ยวข้องกับการที่จะยื่นถอดถอนเพิ่มหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีคนอื่นๆ เนื่องจากมีปัญหาเอกสารพอสมควร ซึ่งเมื่อวานก่อน ได้รับเพียงสรุปมติ ครม. แต่ไม่ได้ตัวรายละเอียดในการประชุม วันที่ 17 มิ.ย. และ 24 มิ.ย. แต่สิ่งที่ต้องการคือ เอกสารที่ส่งจากกระทรวงการต่างประเทศ และมติครม. วันที่ 27 พ.ค.ที่ย้อนไปรับรองการดำเนินการที่กรุงปารีส ซึ่งทางเลขาธิการครม. อ้างว่าเอกสารดังกล่าวเป็นชั้นความลับมาก ดังนั้นขั้นตอนปฏิบัติต้องไปติดต่อกระทรวงการต่างประเทศเอง แต่ทางสำนักเลขา ครม. จะดำเนินการให้ โดยตนจะรอดูอีก 1 วัน หากยังไม่ได้ ในวันที่ 14 ก.ค. ก็จะไปขอเอง ที่กระทรวงการต่างประเทศ
"ผมอยากเรียกร้องไปที่ข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ช่วยเปิดเผยเอกสารดังกล่าวออกมา เพราะเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ และไม่ถือเป็นความลับแล้ว เนื่องจากเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 สุดท้ายเรื่องก็ต้องเข้าสู่การพิจารณาของสภาอยู่ดี" ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าว และว่า ยังไม่มีการตัดนายกฯ ออกจากการพิจารณาว่าจะถอดถอนออกจากตำแหน่ง เพราะอยู่ในฐานะที่ต้องรับผิดชอบต่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้น แต่การยื่นถอดถอนต้องมีเอกสารที่ชัดเจนว่านายกฯ เข้าไปเกี่ยวข้องในฐานะใด ซึ่งสัปดาห์หน้าจะมีความชัดเจนว่าจะถอดถอนใครเพิ่มบ้าง
**รัฐบาลปิดเงียบมติครม.อัปยศ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่ฝ่ายค้านพยายามสืบค้น หาหลักฐานเพื่อยื่นเรื่องถอดถอน นาย สมัคร นั้น ปรากฏว่า การค้นหาข้อมูลมติครม. ที่เกี่ยวกับการลงนามแถลงการณ์ร่วมฯ โดยเฉพาะจากเว็บไซต์ของทำเนียบรัฐบาลนั้น ไม่พบข้อมูลมติครม.ดังกล่าวในรายงาน แต่กลับมีมติครม.เรื่องอื่นๆ ปรากฏเป็นปกติ
ทั้งนี้ หากจะใช้พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร เพื่อเรียกหาหลักฐาน ก็ไม่สามารถกระทำได้ เพราะการจะใช้ พ.ร.บ.นี้ จะต้องเรียกหาสิ่งที่มีอยู่ แต่มติครม. ในเรื่องนี้กลับไม่มีการบันทึกไว้ จึงไม่สามารถดำเนินการตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารได้
ผู้สื่อข่าวได้สอบถาม นายสุรชัย ภู่ประเสริฐ เลขาธิการครม. ถึงบันทึกการประชุม หรือมติครม.ในเรื่องนี้ ว่ามีหรือไม่ บันทึกไว้หรือไม่ แต่ก็ได้รับการปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น โดยอ้างว่าศาลสั่งห้ามพูด เพราะเป็นอันตราย
**เชื่อมีบันทึกมติครม.แต่ไม่ยอมให้
ผู้สื่อข่าวได้ย้อนลำดับเหตุการณ์ในเรื่องนี้ว่า ที่ประชุมครม.ได้มีการหารือถึงกรณีแถลงการณ์ร่วมฯ และมีมติ ครม. เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 51 เรื่องการลงนามยินยอมให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยไม่มีพื้นที่ทับซ้อนกับไทย และในวันที่ 18 มิ.ย. นายนพดล ก็ได้ลงนาม ร่วมกับกัมพูชาในเรื่องดังกล่าว ที่ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล โดยไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าทำการบันทึกภาพ โดยอ้างว่า ไม่สะดวก ซึ่งท่าทีเช่นนี้ สร้างความสงสัยให้กับสื่ออย่างมาก
กระทั่งการลงนามเสร็จสิ้น นายนพดล ได้เปิดตึกนารีสโมสร ในทำเนียบฯ แถลงข่าวร่วมกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมายระหว่างประเทศ เจ้ากรมแผนที่ทหาร ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ว่าได้ลงนามยินยอมให้กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนประสาทพระวิหารเป็นมรกดโลกเรียบร้อย โดยให้การรับรองว่า ตัวปราสาทพระวิหารทั้งหมดเป็นของกัมพูชา ตามที่ไทยแพ้คดี ซึ่งศาลโลกตัดสินให้ตัวปราสาท เป็นของกัมพูชาทั้งหมด ตั้งแต่ปี 2505
ต่อมาวันอังคารที่ 24 มิ.ย. 51 หลังการประชุม ครม. ทั้งนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รมว.เกษตรฯ และนายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.อุสาหกรรม ก็ออกมาให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า มีการหารือถึงประเด็นปราสาทพระวิหาร ซึ่ง นายกรัฐมนตรี ได้ทักท้วงให้มีการปรับเปลี่ยนมติครม.เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. จากคำว่า "แผนที่" มาเป็น "แผนผัง" เพื่อไม่ให้คาบเกี่ยวกับเรื่องของดินแดน และได้มอบหมายให้เลขาธิการ ครม. ร่างมติ ครม.ให้เรียบร้อย และนำกลับเข้ามาในที่ประชุมครม.อีกครั้ง ในการประชุมครั้งต่อไป ก่อนที่จะทำหนังสือเวียนให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องรับทราบ
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ทุกครั้งที่ทีมโฆษกรัฐบาล แถลงเกี่ยวกับประเด็นปราสาทพระวิหาร สื่อมวลชนจะพยายามซักถามถึง มติ ครม.เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เนื่องจากไม่เคยมีการเปิดเผยใดๆเลย แม้จะมีการประชุมมาแล้วหลายครั้ง จนกระทั่งมีการลงนามร่วมกับกัมพูชาไปแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน
**ส.ว.ยื่นกล่าวโทษต่อป.ป.ช.จันทร์นี้
น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กรุงเทพฯ และนายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ร่วมกันแถลงข่าวที่รัฐสภา เตรียมยื่นเรื่องให้ ป.ป.ช. ตามาตรา 275 เพื่อดำเนินคดีกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการลงนามในแถลงการณ์ร่วมฯ โดยน.ส.รสนา กล่าวว่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่า แถลงการณ์ร่วมฯนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 เพราะฉะนั้นรัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรีที่ได้ร่วมลงมติในแถลงการณ์ร่วมนั้น ถือว่าได้เข้าข่ายกระทำความผิดต่อรัฐธรรมนูญด้วย ดังนั้นจากการหารือของ ส.ว.ทั้ง 77 คนเห็นว่าจะดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 275 โดยจะยื่นเรื่องให้ป.ป.ช. ดำเนินคดีกับรัฐมนตรีที่ได้กระทำและละเว้นการกระทำในเรื่องนี้
อย่างไรก็ตามวุฒิสภา ถือเป็นองคาพยพสุดท้าย ในการดำเนินการถอดถอน คือเป็นองค์กรที่จะต้องลงมติในการถอดถอน แม้ว่าองค์กรไหนจะยื่นถอดถอนก็ตาม เพราะฉะนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการทำงานทับซ้อน จึงมอบหมายให้ตัวแทน คือ ตนและนายสมชาย เพียง 2 คนไปดำเนินการยื่นเรื่องต่อ ป.ป.ช. ในช่วงบ่ายของวันจันทร์ที่ 14 ก.ค.นี้ เพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษ ตามมาตรา 157
เมื่อถามถึงการดำเนินการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 119 ซึ่งมีโทษสูงสูงคือ ประหารชีวิต น.ส.รสนา กล่าวว่า เราดำเนินการในภาพกว้างๆ ก็น่าจะเพียงพอแล้ว เพราะการดำเนินการในเรื่องนี้ มีบุคคลหลายกลุ่ม หลายองค์กรได้ดำเนินไปแล้ว ทั้งนี้ ตนและนายสมชายคงต้องทำงานอย่างต่อเนื่องโดยใช้กระบวนการตามรัฐธรรมนูญ โดยทั้ง 2 คน ถือว่าเป็นตัวแทนของ ส.ว.จากการสรรหา และเลือกตั้ง
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า การยื่น ต่อป.ป.ช. ตามมาตรา 275 ไม่จำเป็นจะต้องใช้ ส.ว.ลงชื่อจำนวนมากใช้เพียงคนเดียวหรือประชาชน ก็สามารถทำได้ เราได้มีการหารือ และตัดสินใจร่วมกันให้ทั้ง 2 คนถือเป็นเชิงสัญลักษณ์ไปร้องทุกข์กล่าวโทษแทน เพราะถือเป็นการทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้หาก ส.ว.ลงชื่อจำนวนมากเกรงว่า อาจะเกิดปัญหาในการลงมติถอดถอน โดยเฉพาะการกล่าวหาว่า ทำหน้าที่ทับซ้อน
**คาด ‘นพดล’ยังต้องเจอเว้นวรรค5 ปี
นายกล้านรงค์ จันทิก โฆษกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวว่า แม้ว่านายนพดล จะลาออกจากตำแหน่งรมว.ต่างประเทศแล้ว ก็ไม่มีผลต่อคำร้องที่พรรคประชาธิปัตย์ ได้ยื่นถอดถอนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 ไปแล้ว เนื่องจากเป็นการยื่นถอดถอนก่อนที่นายนพดล จะประกาศลาออก จึงเท่ากับว่าคำร้องที่ยื่นมานั้นได้มีผลแล้ว ดังนั้นกระบวนรการต่อจากนี้จะเป็นหน้าที่ของประธานวุฒิสภา ที่ไปตรวจสอบรายชื่อ และส่งเรื่องมาให้ป.ป.ช. พิจารณารับเรื่องต่อไป
กรณีนี้ก็เหมือนกับของนายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ได้ลาออก หลังจากที่พรรคประชาธิปัตย์ยื่นถอดถอนเข้ามา เนื่องจากตามรัฐธรรมนูญแล้ว แม้จะมีการลาออกจากตำแหน่ง แต่ก็ถือว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของป.ป.ช. ที่จะต้องดำเนินการไต่สวน เพราะกรณีของการถอดถอนออกจากตำแหน่งนั้น ถ้าเห็นว่ามีมูลจะต้องส่งต่อไปยังประธานวุฒิสภา เพื่อดำเนินการถอดถอน แต่เมื่อพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว กรณีที่การถอดถอนสิ้นสุดลง แต่ผลของการถอดถอนนั้น ถ้าประธานวุฒิสภาส่งเรื่องให้วุฒิสภาพิจารณาแล้วเห็นว่า มีมติให้ถอดถอน จะมีผลทำให้ผู้นั้นห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 274
**"เหลิม"ยุ"หมัก"ลาออกค่อยกลับมาใหม่
เมื่อเวลา 09.00 น. วานนี้ (11ก.ค.) ที่ รร.เจริญศรีแกรนด์รอยัล จ.อุดรธานี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ และ กลุ่ม 77 ส.ว.เตรียมยื่นถอดถอน คณะรัฐมนตรีทั้งคณะว่าสามารถกระทำได้ แต่ขอยืนยันว่ารัฐบาลไม่ตั้งใจให้การลงนามในแถลงการณ์ร่วมฯขัดต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้หากรัฐบาลนำแถลงการณ์ดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอความเห็นชอบ ก็ต้องได้เสียงข้างมากอยู่ดี
"ในการประชุมครม. ครั้งนั้น อธิบดีกรมสนธิสัญญา และกระทรวงการต่างประเทศ ยืนยันด้วยเอกสาร และวาจาว่า แถลงการณ์ร่วมฯไม่ได้เป็นสนธิสัญญา และไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งนายกฯ ได้ถามย้ำหลายครั้ง แต่อธิบดีก็ยืนยันชัดเจน อีกทั้งรัฐบาลก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ แต่เป็นกรมสนธิสัญญาและกระทรวงต่างประเทศเท่านั้นที่มีความเชี่ยวชาญ" รมว.มหาดไทยกล่าว
เมื่อถามว่าอธิบดีกรมสนธิสัญญาต้องรับผิดชอบเรื่องนี้ด้วยหรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ตนไม่กล้าพูดเรื่องนี้ ว่าขัดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่ยืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้ตั้งใจทำผิด
ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวด้วยว่า การลาออกของนายนพดล ถือเป็นการแสดงสปิริต เพราะเมื่อถูกสังคมป้ายผิด จึงตัดสินใจลาออก ทั้งที่ไม่ได้ทำอะไรผิด การเมืองวันนี้อยู่ที่กระแส ไม่ได้อยู่ที่ความจริง วันนี้นายนพดล อายุยังน้อย เชื่อว่าวันข้างหน้าอาจมีโอกาสเป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้
ร.ต.อ.เฉลิม ยังกล่าวถึง กรณีที่ฝ่ายค้าน และ ส.ว. ยื่นถอดถอนรัฐบาลว่าตนเองมีทางออก โดยจะกลับไปบอกนายกฯว่า ถ้าเล่นการเมืองกันมาก เราก็เล่นการเมืองกลับไปบ้าง โดยนายกฯต้องชิงลาออกก่อนยื่น แล้วให้มีการโหวตเลือกนายกฯกันใหม่ แล้วจะให้นายสมัคร กลับมาเป็นนายกฯ รอบ 2
** "สมชาย" ยังไม่คิดเสียบนายกฯ
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ศึกษาธิการ ปฏิเสธไม่ขอออกความคิดเห็นกรณีการปรับครม. โดยบอว่า เป็นเรื่องของนายกฯ และที่ประชุมพรรคจะเป็นผู้พิจารณาร่วมกัน ส่วนกรณีที่มีข่าวว่า ตนมีชื่อถูกเสนอให้เป็นนายกฯ คนต่อไป หากนายสมัครประกาศลาออกนั้น ยืนยันว่า ยังไม่คิด เพราะ นายกฯยังยืนยันจะไม่ลาออก
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มีกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประมาณ 20 คน มาประท้วงให้ นายสมชาย และครม.ประกาศลาออก เนื่องจากหมดความชอบธรรมในการบริหารประเทศ ระหว่าง นายสมชาย เป็นประธานปิดการสัมมนา โครงการโรงเรียนในฝัน รุ่นที่ 1 และ 2 ที่ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ พัทยา
**'เลี้ยบ' ดิ้นตีความหากศาลรับฟ้องคดีหวย
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง กล่าวถึงคดีการออกสลากพิเศษ 2 ตัว และ3 ตัว หรือหวยบนดิน ที่ คตส.ยื่นฟ้องตนนั้น ต้องรอว่าศาลฎีกาจะรับฟ้องหรือไม่ หากศาลฎีการับฟ้อง ตนจะยื่นหนังสือให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า ตนจะยังสามารถดำรงตำแหน่งในปัจจุบันได้หรือไม่ เพราะต้องตีความอำนาจของ คตส. ว่ามีอำนาจเทียบเท่า ป.ป.ช.หรือไม่ หากเทียบเท่า ผู้ถูกฟ้องคดีจะต้องยุติการทำงานในตำแหน่งปัจจุบันโดยทันที อย่างไรก็ตาม จะรู้ผลว่าศาลฎีกาจะรับฟ้องหรือไม่ ต้องรอการตัดสินในวันที่ 28 ก.ค.ที่จะถึงนี้
**"หมัก"ลั่นผ่าNBTเป็นช่องทำกับข้าว
เมื่อเวลา 17.00น.วานนี้ (11ก.ค.) นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานงาน "2 ทศวรรษโทรทัศน์แห่งประเทศไทย" ที่สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ถนนวิภาวดีรังสิต โดยนายกฯ กล่าวตอนหนึ่งในการปาฐกถาหัวข้อ "สื่อของรัฐในมุมมองนายกรัฐมนตรี" ถึงสถานทีโทรทัศน์ช่อง 11 ที่มีการปรับปรุงให้ทันสมัย มาเป็นสถานีโทรทัศน์ NBT โดย เอาข่าวใส่ให้มากให้เหมือนกับไอทีวี ไม่เน้นบันเทิงมาก และรายการที่ให้ความรู้แก่คน "ผมบอกเลย ไม่ต้องเชียร์รัฐบาล รายการไหนเป็นของรัฐบาลก็เก็บไปในรายการกรองสถานการณ์ และเชิญรัฐมนตรีมาอธิบายงานของตัวเองก็แล้วกัน นายกรัฐมนตรีขออาทิตย์ละชั่วโมงเท่านั้น ก็พูดจาประสาสมัคร คือไม่เป็นทางราชการ ไม่ใช่มารายงานนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีชื่อสมัคร ก็ พูดจาภาษาสมัคร พูดข้างเดียวนี่แหละครับ จะได้ใช้เวลาหมด ไม่มีใครแย่งพูด และก็อธิบายความหมดว่าอะไรเป็นอะไรยังไง" นายสมัคร กล่าว
นอกจากนี้นาย นายสมัคร ยังกล่าวถึงแนวคิดการผ่า NBT เป็นหลายๆ ช่องเนื่องจากมีรายการเบียดกันแน่น โดยจะต้องมี ต้องมีช่องทำกับข้าวเรียกว่า Food Channel ฟู๊ดชาแนล มี Sport Channel กีฬาล้วนๆ มีEducation Channel สอนหนังสืออย่างเดียว มี Travel Channel ท่องเที่ยว มี News Channel เป็นต้น นอกจากนี้ นายสมัคร ยังกล่าว ถึงรายการสนทนาประสาสมัคร ในวันอาทิตย์นี้ว่า มีเรื่องราวหลาย หลากหลายรส ไอ้ที่ชี้หน้าว่า 5 เดือนไม่ทำอะไร ไม่เปลี่ยนแปลงอะไร น้ำมันตกลงเอายังไงกันแน่ ก็จะมาเล่าให้ฟัง ซึ่งยืนยันว่าทำได้อย่างแน่นอน หรือแม้กระทั่งเรื่องของดีเซล จะเล่าให้ฟังว่าตนจะทำดีกว่าคนอื่น แต่จะอธิบายให้ฟังก่อน แล้วต่อไปจะคุยการเมืองที่มีปัญหา
ทั้งนี้ เห็นว่าภารกิจแรกของ รมว.ต่างประเทศ คนใหม่ คือ จะต้องทำให้เกิดความชัดเจนว่าไทยไม่ยอมรับแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา และสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับแถลงการณ์ร่วมฯ ทั้งแผนที่ แผนผัง ก็ไม่ยอมรับทั้งหมด ขณะเดียวกันขอให้ทุกประเทศและกรรมการมรดกโลกได้เข้าใจว่า พื้นที่อนุรักษ์บริเวณดังกล่าวนั้นเป็นดินแดนของไทย ดังนั้นการที่จะให้ใครมาจัดการ ไทยจะต้องมีส่วนร่วมในการเห็นชอบและเห็นพ้องอย่างชัดเจน ไม่ใช่ไปกำหนดภายใต้กรอบขององค์การยูเนสโก หรือคณะกรรมการมรดกโลกฝ่ายเดียว ซึ่งเรื่องนี้ควรทำโดยเร็วที่สุด
สำหรับกรณีที่นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ ยืนยันว่า ไม่ได้ทำผิดนั้น เป็นความเห็นของนายนพดลคนเดียว แต่จะผิดหรือไม่ หลายๆ เรื่องได้พิสูจน์โดยคำตัดสินของศาลแล้วว่าข้อมูลที่ปฏิเสธมาตลอด ก็ต้องยอมรับ และหากใครเห็นคำอธิบายของนายนพดล ก่อนที่จะประกาศลาออกแล้วเทียบกับที่ชี้แจงในสมุดปกขาว ก็ขัดแย้งกันเอง รวมถึงคำปราศรัยที่แคนาดา ก็ตรงกันข้ามกับที่ชี้แจงในสภา อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่รัฐบาลต้องทำในขณะนี้ควรต้องมาช่วยกันคิดว่า การเดินหน้าแก้ไขปัญหาเรื่องนี้จะทำอย่างไร ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังมองไม่เห็นความชัดเจนของรัฐบาลว่าจะเดินหน้าอย่างไร เพื่อให้ไทยไม่ต้องสูญเสียไปมากกว่านี้ และขณะเดียวกันต้องทำโดยที่ไม่ให้กระทบกับความสัมพันธ์สองประเทศ
ทั้งนี้ สิ่งที่ฝ่ายค้านพูด หรือตรวจสอบทั้งหมดไม่ใช่ไม่อยากให้พื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่ต้องการให้เป็นมรดกโลกแบบสมบูรณ์ ซึ่งหมายถึงครอบคลุมพื้นที่ทั้งไทยและกัมพูชา และทำงานร่วมกันจริงๆ ขึ้นทะเบียนภายใต้ชื่อสองประเทศจริงๆ จะสมประโยชน์กับทุกฝ่าย และจะส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีด้วย
เมื่อถามว่านายนพดล ยืนยันว่าการขึ้นทะเบียนมรดกโลก ขึ้นเฉพาะปราสาทพระวิหารเท่านั้นไม่เกี่ยวกับพื้นที่โดยรอบนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไม่เข้าใจว่านายนพดลไปเซ็นโดยที่ไม่อ่านได้อย่างไร เพราะในแถลงการณ์ร่วมพูดถึงพื้นที่โดยรอบชัดเจนว่ามีผลกระทบที่ตามมาอย่างไร และรัฐมนตรีไม่เอะใจหรืออย่างไร ว่าทำไมกัมพูชาพยายามขอให้เซ็นแถลงการณ์ร่วมในวันที่ 22 พ.ค. ซึ่งเซ็นกัน 23.35 น. เหตุใดจึงไม่เอะใจว่า ถ้าไม่มีความหมายเลยเหตุใดจึงเร่งดำเนินการถึงขั้นนั้น ก็เพราะเป็นเอกสารที่ต้องใช้ยืนยันความสนับสนุนของไทย
**"ปองพล"โร่ขอชี้แจงไม่ได้ขายชาติ
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานวิปฝ่ายค้าน เปิดเผยว่า นายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการมรดกโลกไทย ได้ประสานผ่านนายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ส.ส. สัดส่วนพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อขอนัดพบ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และคณะทำงานของพรรค เวลา 10.00น.วันนี้ (12 ก.ค.) เพื่อชี้แจงกรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร หลังจากมีข้อสงสัยมากมาย เกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินการในส่วนการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกว่า ทำไปมากน้อยแค่ไหน รวมทั้งจุดยืนของประเทศไทยในประเด็นดังกล่าว และการดูแลพื้นที่ร่วมกัน 7 ประเทศ ที่วิตกกันว่า จะมีปัญหาตามมา
**กาหัว"หมัก"ไม่พ้นถูกถอดถอน
นายสาทิตย์ กล่าวด้วยว่า หลังจากได้ยื่นถอดถอนนายนพดล ไปแล้ว ก็กำลังดูเรื่องรายละเอียดที่จะเกี่ยวข้องกับการที่จะยื่นถอดถอนเพิ่มหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีคนอื่นๆ เนื่องจากมีปัญหาเอกสารพอสมควร ซึ่งเมื่อวานก่อน ได้รับเพียงสรุปมติ ครม. แต่ไม่ได้ตัวรายละเอียดในการประชุม วันที่ 17 มิ.ย. และ 24 มิ.ย. แต่สิ่งที่ต้องการคือ เอกสารที่ส่งจากกระทรวงการต่างประเทศ และมติครม. วันที่ 27 พ.ค.ที่ย้อนไปรับรองการดำเนินการที่กรุงปารีส ซึ่งทางเลขาธิการครม. อ้างว่าเอกสารดังกล่าวเป็นชั้นความลับมาก ดังนั้นขั้นตอนปฏิบัติต้องไปติดต่อกระทรวงการต่างประเทศเอง แต่ทางสำนักเลขา ครม. จะดำเนินการให้ โดยตนจะรอดูอีก 1 วัน หากยังไม่ได้ ในวันที่ 14 ก.ค. ก็จะไปขอเอง ที่กระทรวงการต่างประเทศ
"ผมอยากเรียกร้องไปที่ข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ช่วยเปิดเผยเอกสารดังกล่าวออกมา เพราะเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ และไม่ถือเป็นความลับแล้ว เนื่องจากเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 สุดท้ายเรื่องก็ต้องเข้าสู่การพิจารณาของสภาอยู่ดี" ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าว และว่า ยังไม่มีการตัดนายกฯ ออกจากการพิจารณาว่าจะถอดถอนออกจากตำแหน่ง เพราะอยู่ในฐานะที่ต้องรับผิดชอบต่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้น แต่การยื่นถอดถอนต้องมีเอกสารที่ชัดเจนว่านายกฯ เข้าไปเกี่ยวข้องในฐานะใด ซึ่งสัปดาห์หน้าจะมีความชัดเจนว่าจะถอดถอนใครเพิ่มบ้าง
**รัฐบาลปิดเงียบมติครม.อัปยศ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่ฝ่ายค้านพยายามสืบค้น หาหลักฐานเพื่อยื่นเรื่องถอดถอน นาย สมัคร นั้น ปรากฏว่า การค้นหาข้อมูลมติครม. ที่เกี่ยวกับการลงนามแถลงการณ์ร่วมฯ โดยเฉพาะจากเว็บไซต์ของทำเนียบรัฐบาลนั้น ไม่พบข้อมูลมติครม.ดังกล่าวในรายงาน แต่กลับมีมติครม.เรื่องอื่นๆ ปรากฏเป็นปกติ
ทั้งนี้ หากจะใช้พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร เพื่อเรียกหาหลักฐาน ก็ไม่สามารถกระทำได้ เพราะการจะใช้ พ.ร.บ.นี้ จะต้องเรียกหาสิ่งที่มีอยู่ แต่มติครม. ในเรื่องนี้กลับไม่มีการบันทึกไว้ จึงไม่สามารถดำเนินการตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารได้
ผู้สื่อข่าวได้สอบถาม นายสุรชัย ภู่ประเสริฐ เลขาธิการครม. ถึงบันทึกการประชุม หรือมติครม.ในเรื่องนี้ ว่ามีหรือไม่ บันทึกไว้หรือไม่ แต่ก็ได้รับการปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น โดยอ้างว่าศาลสั่งห้ามพูด เพราะเป็นอันตราย
**เชื่อมีบันทึกมติครม.แต่ไม่ยอมให้
ผู้สื่อข่าวได้ย้อนลำดับเหตุการณ์ในเรื่องนี้ว่า ที่ประชุมครม.ได้มีการหารือถึงกรณีแถลงการณ์ร่วมฯ และมีมติ ครม. เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 51 เรื่องการลงนามยินยอมให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยไม่มีพื้นที่ทับซ้อนกับไทย และในวันที่ 18 มิ.ย. นายนพดล ก็ได้ลงนาม ร่วมกับกัมพูชาในเรื่องดังกล่าว ที่ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล โดยไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าทำการบันทึกภาพ โดยอ้างว่า ไม่สะดวก ซึ่งท่าทีเช่นนี้ สร้างความสงสัยให้กับสื่ออย่างมาก
กระทั่งการลงนามเสร็จสิ้น นายนพดล ได้เปิดตึกนารีสโมสร ในทำเนียบฯ แถลงข่าวร่วมกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมายระหว่างประเทศ เจ้ากรมแผนที่ทหาร ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ว่าได้ลงนามยินยอมให้กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนประสาทพระวิหารเป็นมรกดโลกเรียบร้อย โดยให้การรับรองว่า ตัวปราสาทพระวิหารทั้งหมดเป็นของกัมพูชา ตามที่ไทยแพ้คดี ซึ่งศาลโลกตัดสินให้ตัวปราสาท เป็นของกัมพูชาทั้งหมด ตั้งแต่ปี 2505
ต่อมาวันอังคารที่ 24 มิ.ย. 51 หลังการประชุม ครม. ทั้งนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รมว.เกษตรฯ และนายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.อุสาหกรรม ก็ออกมาให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า มีการหารือถึงประเด็นปราสาทพระวิหาร ซึ่ง นายกรัฐมนตรี ได้ทักท้วงให้มีการปรับเปลี่ยนมติครม.เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. จากคำว่า "แผนที่" มาเป็น "แผนผัง" เพื่อไม่ให้คาบเกี่ยวกับเรื่องของดินแดน และได้มอบหมายให้เลขาธิการ ครม. ร่างมติ ครม.ให้เรียบร้อย และนำกลับเข้ามาในที่ประชุมครม.อีกครั้ง ในการประชุมครั้งต่อไป ก่อนที่จะทำหนังสือเวียนให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องรับทราบ
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ทุกครั้งที่ทีมโฆษกรัฐบาล แถลงเกี่ยวกับประเด็นปราสาทพระวิหาร สื่อมวลชนจะพยายามซักถามถึง มติ ครม.เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เนื่องจากไม่เคยมีการเปิดเผยใดๆเลย แม้จะมีการประชุมมาแล้วหลายครั้ง จนกระทั่งมีการลงนามร่วมกับกัมพูชาไปแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน
**ส.ว.ยื่นกล่าวโทษต่อป.ป.ช.จันทร์นี้
น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กรุงเทพฯ และนายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ร่วมกันแถลงข่าวที่รัฐสภา เตรียมยื่นเรื่องให้ ป.ป.ช. ตามาตรา 275 เพื่อดำเนินคดีกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการลงนามในแถลงการณ์ร่วมฯ โดยน.ส.รสนา กล่าวว่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่า แถลงการณ์ร่วมฯนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 เพราะฉะนั้นรัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรีที่ได้ร่วมลงมติในแถลงการณ์ร่วมนั้น ถือว่าได้เข้าข่ายกระทำความผิดต่อรัฐธรรมนูญด้วย ดังนั้นจากการหารือของ ส.ว.ทั้ง 77 คนเห็นว่าจะดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 275 โดยจะยื่นเรื่องให้ป.ป.ช. ดำเนินคดีกับรัฐมนตรีที่ได้กระทำและละเว้นการกระทำในเรื่องนี้
อย่างไรก็ตามวุฒิสภา ถือเป็นองคาพยพสุดท้าย ในการดำเนินการถอดถอน คือเป็นองค์กรที่จะต้องลงมติในการถอดถอน แม้ว่าองค์กรไหนจะยื่นถอดถอนก็ตาม เพราะฉะนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการทำงานทับซ้อน จึงมอบหมายให้ตัวแทน คือ ตนและนายสมชาย เพียง 2 คนไปดำเนินการยื่นเรื่องต่อ ป.ป.ช. ในช่วงบ่ายของวันจันทร์ที่ 14 ก.ค.นี้ เพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษ ตามมาตรา 157
เมื่อถามถึงการดำเนินการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 119 ซึ่งมีโทษสูงสูงคือ ประหารชีวิต น.ส.รสนา กล่าวว่า เราดำเนินการในภาพกว้างๆ ก็น่าจะเพียงพอแล้ว เพราะการดำเนินการในเรื่องนี้ มีบุคคลหลายกลุ่ม หลายองค์กรได้ดำเนินไปแล้ว ทั้งนี้ ตนและนายสมชายคงต้องทำงานอย่างต่อเนื่องโดยใช้กระบวนการตามรัฐธรรมนูญ โดยทั้ง 2 คน ถือว่าเป็นตัวแทนของ ส.ว.จากการสรรหา และเลือกตั้ง
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า การยื่น ต่อป.ป.ช. ตามมาตรา 275 ไม่จำเป็นจะต้องใช้ ส.ว.ลงชื่อจำนวนมากใช้เพียงคนเดียวหรือประชาชน ก็สามารถทำได้ เราได้มีการหารือ และตัดสินใจร่วมกันให้ทั้ง 2 คนถือเป็นเชิงสัญลักษณ์ไปร้องทุกข์กล่าวโทษแทน เพราะถือเป็นการทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้หาก ส.ว.ลงชื่อจำนวนมากเกรงว่า อาจะเกิดปัญหาในการลงมติถอดถอน โดยเฉพาะการกล่าวหาว่า ทำหน้าที่ทับซ้อน
**คาด ‘นพดล’ยังต้องเจอเว้นวรรค5 ปี
นายกล้านรงค์ จันทิก โฆษกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวว่า แม้ว่านายนพดล จะลาออกจากตำแหน่งรมว.ต่างประเทศแล้ว ก็ไม่มีผลต่อคำร้องที่พรรคประชาธิปัตย์ ได้ยื่นถอดถอนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 ไปแล้ว เนื่องจากเป็นการยื่นถอดถอนก่อนที่นายนพดล จะประกาศลาออก จึงเท่ากับว่าคำร้องที่ยื่นมานั้นได้มีผลแล้ว ดังนั้นกระบวนรการต่อจากนี้จะเป็นหน้าที่ของประธานวุฒิสภา ที่ไปตรวจสอบรายชื่อ และส่งเรื่องมาให้ป.ป.ช. พิจารณารับเรื่องต่อไป
กรณีนี้ก็เหมือนกับของนายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ได้ลาออก หลังจากที่พรรคประชาธิปัตย์ยื่นถอดถอนเข้ามา เนื่องจากตามรัฐธรรมนูญแล้ว แม้จะมีการลาออกจากตำแหน่ง แต่ก็ถือว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของป.ป.ช. ที่จะต้องดำเนินการไต่สวน เพราะกรณีของการถอดถอนออกจากตำแหน่งนั้น ถ้าเห็นว่ามีมูลจะต้องส่งต่อไปยังประธานวุฒิสภา เพื่อดำเนินการถอดถอน แต่เมื่อพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว กรณีที่การถอดถอนสิ้นสุดลง แต่ผลของการถอดถอนนั้น ถ้าประธานวุฒิสภาส่งเรื่องให้วุฒิสภาพิจารณาแล้วเห็นว่า มีมติให้ถอดถอน จะมีผลทำให้ผู้นั้นห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 274
**"เหลิม"ยุ"หมัก"ลาออกค่อยกลับมาใหม่
เมื่อเวลา 09.00 น. วานนี้ (11ก.ค.) ที่ รร.เจริญศรีแกรนด์รอยัล จ.อุดรธานี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ และ กลุ่ม 77 ส.ว.เตรียมยื่นถอดถอน คณะรัฐมนตรีทั้งคณะว่าสามารถกระทำได้ แต่ขอยืนยันว่ารัฐบาลไม่ตั้งใจให้การลงนามในแถลงการณ์ร่วมฯขัดต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้หากรัฐบาลนำแถลงการณ์ดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอความเห็นชอบ ก็ต้องได้เสียงข้างมากอยู่ดี
"ในการประชุมครม. ครั้งนั้น อธิบดีกรมสนธิสัญญา และกระทรวงการต่างประเทศ ยืนยันด้วยเอกสาร และวาจาว่า แถลงการณ์ร่วมฯไม่ได้เป็นสนธิสัญญา และไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งนายกฯ ได้ถามย้ำหลายครั้ง แต่อธิบดีก็ยืนยันชัดเจน อีกทั้งรัฐบาลก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ แต่เป็นกรมสนธิสัญญาและกระทรวงต่างประเทศเท่านั้นที่มีความเชี่ยวชาญ" รมว.มหาดไทยกล่าว
เมื่อถามว่าอธิบดีกรมสนธิสัญญาต้องรับผิดชอบเรื่องนี้ด้วยหรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ตนไม่กล้าพูดเรื่องนี้ ว่าขัดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่ยืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้ตั้งใจทำผิด
ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวด้วยว่า การลาออกของนายนพดล ถือเป็นการแสดงสปิริต เพราะเมื่อถูกสังคมป้ายผิด จึงตัดสินใจลาออก ทั้งที่ไม่ได้ทำอะไรผิด การเมืองวันนี้อยู่ที่กระแส ไม่ได้อยู่ที่ความจริง วันนี้นายนพดล อายุยังน้อย เชื่อว่าวันข้างหน้าอาจมีโอกาสเป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้
ร.ต.อ.เฉลิม ยังกล่าวถึง กรณีที่ฝ่ายค้าน และ ส.ว. ยื่นถอดถอนรัฐบาลว่าตนเองมีทางออก โดยจะกลับไปบอกนายกฯว่า ถ้าเล่นการเมืองกันมาก เราก็เล่นการเมืองกลับไปบ้าง โดยนายกฯต้องชิงลาออกก่อนยื่น แล้วให้มีการโหวตเลือกนายกฯกันใหม่ แล้วจะให้นายสมัคร กลับมาเป็นนายกฯ รอบ 2
** "สมชาย" ยังไม่คิดเสียบนายกฯ
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ศึกษาธิการ ปฏิเสธไม่ขอออกความคิดเห็นกรณีการปรับครม. โดยบอว่า เป็นเรื่องของนายกฯ และที่ประชุมพรรคจะเป็นผู้พิจารณาร่วมกัน ส่วนกรณีที่มีข่าวว่า ตนมีชื่อถูกเสนอให้เป็นนายกฯ คนต่อไป หากนายสมัครประกาศลาออกนั้น ยืนยันว่า ยังไม่คิด เพราะ นายกฯยังยืนยันจะไม่ลาออก
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มีกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประมาณ 20 คน มาประท้วงให้ นายสมชาย และครม.ประกาศลาออก เนื่องจากหมดความชอบธรรมในการบริหารประเทศ ระหว่าง นายสมชาย เป็นประธานปิดการสัมมนา โครงการโรงเรียนในฝัน รุ่นที่ 1 และ 2 ที่ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ พัทยา
**'เลี้ยบ' ดิ้นตีความหากศาลรับฟ้องคดีหวย
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง กล่าวถึงคดีการออกสลากพิเศษ 2 ตัว และ3 ตัว หรือหวยบนดิน ที่ คตส.ยื่นฟ้องตนนั้น ต้องรอว่าศาลฎีกาจะรับฟ้องหรือไม่ หากศาลฎีการับฟ้อง ตนจะยื่นหนังสือให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า ตนจะยังสามารถดำรงตำแหน่งในปัจจุบันได้หรือไม่ เพราะต้องตีความอำนาจของ คตส. ว่ามีอำนาจเทียบเท่า ป.ป.ช.หรือไม่ หากเทียบเท่า ผู้ถูกฟ้องคดีจะต้องยุติการทำงานในตำแหน่งปัจจุบันโดยทันที อย่างไรก็ตาม จะรู้ผลว่าศาลฎีกาจะรับฟ้องหรือไม่ ต้องรอการตัดสินในวันที่ 28 ก.ค.ที่จะถึงนี้
**"หมัก"ลั่นผ่าNBTเป็นช่องทำกับข้าว
เมื่อเวลา 17.00น.วานนี้ (11ก.ค.) นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานงาน "2 ทศวรรษโทรทัศน์แห่งประเทศไทย" ที่สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ถนนวิภาวดีรังสิต โดยนายกฯ กล่าวตอนหนึ่งในการปาฐกถาหัวข้อ "สื่อของรัฐในมุมมองนายกรัฐมนตรี" ถึงสถานทีโทรทัศน์ช่อง 11 ที่มีการปรับปรุงให้ทันสมัย มาเป็นสถานีโทรทัศน์ NBT โดย เอาข่าวใส่ให้มากให้เหมือนกับไอทีวี ไม่เน้นบันเทิงมาก และรายการที่ให้ความรู้แก่คน "ผมบอกเลย ไม่ต้องเชียร์รัฐบาล รายการไหนเป็นของรัฐบาลก็เก็บไปในรายการกรองสถานการณ์ และเชิญรัฐมนตรีมาอธิบายงานของตัวเองก็แล้วกัน นายกรัฐมนตรีขออาทิตย์ละชั่วโมงเท่านั้น ก็พูดจาประสาสมัคร คือไม่เป็นทางราชการ ไม่ใช่มารายงานนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีชื่อสมัคร ก็ พูดจาภาษาสมัคร พูดข้างเดียวนี่แหละครับ จะได้ใช้เวลาหมด ไม่มีใครแย่งพูด และก็อธิบายความหมดว่าอะไรเป็นอะไรยังไง" นายสมัคร กล่าว
นอกจากนี้นาย นายสมัคร ยังกล่าวถึงแนวคิดการผ่า NBT เป็นหลายๆ ช่องเนื่องจากมีรายการเบียดกันแน่น โดยจะต้องมี ต้องมีช่องทำกับข้าวเรียกว่า Food Channel ฟู๊ดชาแนล มี Sport Channel กีฬาล้วนๆ มีEducation Channel สอนหนังสืออย่างเดียว มี Travel Channel ท่องเที่ยว มี News Channel เป็นต้น นอกจากนี้ นายสมัคร ยังกล่าว ถึงรายการสนทนาประสาสมัคร ในวันอาทิตย์นี้ว่า มีเรื่องราวหลาย หลากหลายรส ไอ้ที่ชี้หน้าว่า 5 เดือนไม่ทำอะไร ไม่เปลี่ยนแปลงอะไร น้ำมันตกลงเอายังไงกันแน่ ก็จะมาเล่าให้ฟัง ซึ่งยืนยันว่าทำได้อย่างแน่นอน หรือแม้กระทั่งเรื่องของดีเซล จะเล่าให้ฟังว่าตนจะทำดีกว่าคนอื่น แต่จะอธิบายให้ฟังก่อน แล้วต่อไปจะคุยการเมืองที่มีปัญหา