ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล วานนี้ (8 ก.ค.) นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ปฏิเสธที่ตอบคำถามผู้สื่อข่าวกรณีที่อดีตผู้บริหาร บริษัท นิชิมัตสึ คอนสตรัคชัน ซึ่งเป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างข้ามชาติ ออกมายอมรับว่าบริษัทดังกล่าว เคยให้สินบน แก่เจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร(กทม.) มูลค่ามากกว่า 400 ล้านเยน หรือราว 120 ล้านบาท สมัยที่นายสมัคร ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ได้การประมูลโครงการอุโมงค์ระบายน้ำท่วม แสนแสบ-ลาดพร้าว เมื่อปี 2546 โดยนายสมัครเดินขึ้นห้องประชุมครม.ทันทีหลังจากถูกผู้สื่อข่าวถาม
ขณะเดียวกันนายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกรัฐมนตรี และอดีตรองผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ในยุคที่นายสมัคร ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ก็มีความผิดปกติ โดยนายสหัสนำรถประจำตำแหน่ง ลงไปจอดที่ชั้นใต้ดินของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ซึ่งโดยปกติของวันประชุมครม.นายสหัสจะเดินมาจากตึกบัญชาการมายังห้องประชุม
ปชป.ไล่บี้สมัคร
ด้านนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ส.ส.นครนายก พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ (ป.ป.ช.)สภาผู้แทนราษฎร แถลงถึงกรณีที่สื่อมวลชน ญี่ปุ่นนำเสนอข่าว บริษัท นิชิมัตซึ คอนสตรัคชัน จ่ายสินบน 120 ล้านบาท เพื่อแลกกับการได้งานในโครงการอุโมงค์ระบายน้ำท่วม แสนแสบ-ลาดพร้าว เมื่อปี 2546 ซึ่งเป็นช่วงที่นายสมัคร เป็นผู้ว่าฯ กทม. ว่า ตนจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมาธิการฯในวันที่ 10 ก.ค.นี้ ซึ่งจะรีบสอบสวนให้เสร็จภายใน 2-3 เดือน
ทั้งนี้จะมี 3 แนวทางที่จะตรวจสอบคือ 1.ตรวจสอบไปทางเจบิกที่ปล่อยกู้ โดยทำเรื่องผ่านกระทรวงการคลังและกระทรวงการต่างประเทศ 2.เชิญตัวแทน เจบิก ในประเทศไทยมาชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการฯ3.จะทำเรื่องขอความร่วมมือกับทางรัฐสภาญี่ปุ่น เพื่อขอข้อมูลดังกล่าว
อย่างไรก็ตามหากเห็นว่าขั้นตอนต่างๆ ล่าช้า ตนก็จะเดินทางไปหาข้อมูลด้วยตัวเอง ทั้งนี้คณะกรรมาธิการฯจะเชิญนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็น ผู้ว่าฯกทม.ในขณะนั้น นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯกทม. และคุณหญิงณัษฐนนท ทวีสิน อดีต ปลัดกทม. เข้าชี้แจงในสัปดาห์หน้า อย่างไรก็ตามจะติดตามเงิน120 ล้านบาท ว่าใครเป็นคนสั่งและเงินไปตกอยู่กับใครบ้าง โดยจะนำข้อมูลออกมาแฉเป็น เป็นระยะๆ
ที่ออกมาครั้งนี้ไม่ได้ออกมาโจมตีนายกรัฐมนตรี แต่อย่ากให้สังคมหายสงสัย ส่วนใครอยากจะฟ้องนั้นผมไม่สน เพราะผมมีเอกสารอยู่ในมืออยู่แล้ว ยืนยันว่าเรื่องนี้มีมูล นายชาญชัย กล่าว
อภิรักษ์ส่งหนังสือขอข้อมูลญี่ปุ่น
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯกทม. เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหาร กทม. ถึงกรณีอดีตผู้บริหารบริษัทก่อสร้างญี่ปุ่นระบุว่าเคยให้สินบน 125 ล้านบาท โครงการประมูลอุโมงค์ระบายน้ำท่วมว่า โครงการดังกล่าวมีมูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท ได้มอบหมายให้นายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ปลัดกทม.ดำเนินการตรวจสอบ ข้อเท็จจริงให้แล้วเสร็จภายใน 7 วันซึ่งทางปลัดกทม.ได้มอบหมายให้นายสมศักดิ์ กลั่นพจน์ รองปลัดกทม.รวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริงต่างๆ โดยจะส่งหนังสือประสานไปทาง สถานทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย วานนี้(8 ก.ค.)เพื่อขอรับทราบข้อมูลข้อเท็จจริง เพราะขณะนี้ทราบเพียงแต่รายงานข่าว
บี้รัฐบาลตรวจสอบ
นายอภิรักษ์กล่าวว่า ประเทศไทยมีหลายงานงานที่สามารถขอข้อมูลกับทางการญี่ปุ่นได้ทั้ง ป.ป.ช. และสำนักงานอัยการสูงสุด(อสส.) และที่สำคัญรัฐบาลควรจะเข้ามาตรวจสอบในเรื่องนี้เพราะเป็นเรื่องระหว่างประเทศ ซึ่งกทม.ยังไม่มีข้อมูล ข้อเท็จจริงเพียงพอจึงยังไม่สามารถร้องไปยังป.ป.ช.ได้ แต่อย่างไรก็ตามกทม.จะดำเนินการให้เต็มที่ และไม่ได้เป็นการรับลูกของใคร
มันเป็นการเชื่อมโยงให้เกี่ยวข้องกับการเมืองอยู่แล้วซึ่งขณะนี้สถานการณ์ทางการเมืองมีความรุนแรง ทุกฝ่ายต้องใจเย็น ส่วนการตรวจสอบ อยากให้แยกแยะ ใครที่เกี่ยวข้องก็มีสิทธิ์ตอบคำถาม ส่วนกรณีการจ่ายเงินสินบน ถือเป็นเรื่องรุนแรงต้องทำให้ชัดเจน ทั้งนี้ผมอยากให้รัฐบาลเขามาตรวจสอบ ในเรื่องนี้จะปล่อยให้ถูกกล่าวไม่ได้ และอันที่จริงเราก็มีหน่วยงานที่สามารถที่จะดำเนินการตรวจสอบเรื่องนี้ได้ดีอยู่แล้วทั้ง ป.ป.ช. และสำนักงานอัยการสูงสุด แต่ทางการญี่ปุ่นก็มีกฎหมายของเขาไปบังคับเขาไม่ได้ ซึ่งเราก็ทำในส่วนของเราให้ดีที่สุด
นายอภิรักษ์ กล่าวว่าการคอรัปชั่นประมูลโครงการของราชการ มันเป็นปัญหาระบบโครงสร้าง ระบบการเมือง ระบบราชการมาช้านาน แต่กทม.มีมาตรการเพื่อป้องกันในเรื่องดังกล่าวโดยได้ตั้งคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการกทม. เข้ามาดูแลมานานแล้ว
กทม.ไม่ได้ปัดความรับผิดชอบผู้บริหารชุดปัจจุบันต้องตรวจสอบข้อเท็จจริง เท่าที่ทำได้ ซึ่ง 1 สัปดาห์ถ้ามีข้อมูลจากการตรวจสอบภายใสของ กทม.ก็จะต้องชี้แจง ให้ทราบแน่นอนแต่ทางญี่ปุ่นคงจะไม่สามารถไปกะเกณฑ์เวลาได้เพราะจะต้องมีระเบียบวิธีการ ไม่ใช่อยู่ดีๆ จะไปขอซึ่งเขาจะให้หรือเปล่าผมยังไม่รู้เลย
นายอภิรักษ์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ กทม.จะประสานไปยังบ.นิชิมัตซึ ประเทศไทย เพื่อขอข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดอีกด้วย ส่วนจะไปเช็คโครงการอื่นๆ ย้อนหลังหรือไม่นั้น คงไม่ต้องเพราะ กทม.เองก็มีระบบตรวจสอบ มีสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ประจำกทม. มีกองตรวจสอบภายใน อยู่แล้ว ซึ่งได้มีการตรวจสอบโครงการต่างๆ มาโดยตลอดแต่ไม่เป็นข่าว อย่างไรก็ตาม ตนไม่ได้หนักใจอะไรเพราะทุกเรื่องมีข้อมูล ข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่แล้ว ส่วนกรณี 2 ส. 1 ธ .ตนขอไม่ออกความเห็น
บี้สปิริตสมัครแจงข้อเท็จจริง
นายสมศักดิ์ กลั่นพจน์ รองปลัดกทม. กล่าวว่า ตนได้รับมอบหมายจากปลัด กทม.ให้ดำเนินการหาข้อเท็จจริง ซึ่งขณะนี้ตนได้ทำหนังสือเพื่อประสานขอข้อมูลกับสถานทูตญี่ปุ่นและบริษัทนิชิมัตสึ คอนสตัรคชั่น เพื่อขอข้อมูลที่เกี่ยวข้องแล้ว ส่วนของการหาข้อเท็จจริงของ กทม.นั้นมอบหมายให้นายชาญชัย วิทูรปัญญากิจ ผอ.สนน.รวบรวมรายละเอียดข้อมูลทั้งหมด ตามลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการ เพื่อทำการตรวจสอบอย่างละเอียดทุกขั้นตอนและหากพบความผิดปกติในจุดใดก็จะให้ข้าราชการที่เกี่ยวข้องในกระบวนการนั้น ๆ มาชี้แจงรายละเอียด ซึ่งขณะนี้เท่าที่เริ่มตรวจสอบก็ยังไม่พบความผิดปกติแต่อย่างใด ทั้งนี้จะเร่งตรวจสอบให้แล้วเสร็จตามที่ได้รับมอบหมายคือภายใน 7 วัน
การที่จะขอให้นายสมัคร สุนทรเวช นายกฯมาชี้แจงเพราะเป็นโครงการ ที่อยู่ในสมัยที่เป็นผู้ว่า ฯกทม.นั้น หากพบว่ามีความผิดหรือเกี่ยวข้องก็คงจะต้องขอข้อมูลจากท่าน แต่กทม.ในฐานะเป็นหน่วยงานกระจิดริด และอยู่ในกำกับของกระทรวงมหาดไทยก็คงไม่สามารถจะเรียกท่านมาสอบสวนได้ ก็คงต้องขึ้นอยู่กับท่านว่าจะมีสปิริตที่จะให้ข้อมูลหรือไม่
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับการตรวจสอบเพื่อหาผู้กระทำความผิดนั้น ตนยอมรับว่าการดำเนินการหาข้อเท็จจริงดังกล่าวนั้นทำได้ยากมาก เนื่องจากทางประเทศญี่ปุ่นไม่ได้เจาะจงมาว่าการให้สินบนกับเจ้าหน้าที่ไทยนั้นดำเนินการอย่างไร ใครเป็นคนรับเงิน และให้เงินผ่านกระบวนการอย่างไร
ดังนั้นตนจึงไม่สามารถตรวจสอบลงรายละเอียดอะไรได้ อีกทั้งขณะที่มีการตรวจสอบคุณสมบัติในระหว่างดำเนินโครงการก็มีการร้องเรียนจาก บริษัท สี่แสงการโยธา(1979)ก็เคยร้องเรียนศาลปกครอง เนื่องจากไม่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติ แต่ต่อมาศาลปกครองก็ตัดสินให้ กทม.ชนะ ดังนั้นก็เหมือนมีการตรวจสอบมาแล้วครั้งหนึ่งแต่ไม่พบความผิด ดังนั้นการตรวจสอบครั้งนี้หากต้องการให้ได้ผู้กระทำผิด จึงต้องมีหลักฐานที่ชัดเจนจากทางด้านประเทศญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม กทม.จะไม่มีการชะลอโครางการออกไปอย่างแน่นอน เพราะขณะนี้โครงการได้ ดำเนินการแล้วเสร็จประมาณ 75 % ซึ่งการในส่วนของอุโมงค์ระบายน้ำ และระบบท่อส่งน้ำนั้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว เหลืออีก 25% เป็นส่วนของการ สร้างสถานีสูบน้ำเท่านั้น คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงเดือน ก.ย.2551 นี้ ส่วนบริษัท นิชิมัตสึฯนั้นก็ยังมีสิทธิที่จะเข้าร่วมประกวดราคาในโครงการต่าง ๆ ของ กทม. เหมือนเดิมเพราะยังไม่ได้ตรวจสอบพบความผิดและไม่ได้อยู่ในบัญชีดำ (แบล็คลิสต์)ของ กทม.แต่อย่างใด
สภากทม.รับลูกสอบทันที
นายธวัชชัย ปิยนนทยา ส.ก.พรรคประชาธิปัตย์ เขตสาทร และประธานสภา กทม. กล่าวว่า ในส่วนของสภา กทม.ซึ่งเป็นฝ่ายตรวจสอบการทำงานของผู้บริหาร ก็ได้มอบหมายให้คณะกรรมการด้านการระบายน้ำและคณะกรรมการด้านปกครอง เข้าไปดำเนินการตรวจสอบโครงการ โดยด้านระบายน้ำจะให้มีการตรวจสอบรายละเอียดโครงการดังกล่าวตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน ส่วนด้านการปกครอง ก็ให้มีการตรวจสอบพฤติกรรมของข้าราชการว่าเข้าข่ายทำให้องค์กรเสื่อมเสียหรือไม่ โดยจะตรวจสอบให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด
ทั้งนี้ สภา กทม.มีการเคลือบแคลงการทำงานการทำงานของ สนน. มานานแล้ว โดยเฉพาะนายชาญชัย วิทูรปัญญากิจ ผอ.สนน.ซึ่งก่อนหน้านี้เคยเป็นผอ.สำนักสิ่งแวดล้อม แต่ในที่สุดก็โยกให้มาเป็นผอ.สำนักการระบายน้ำอีก ทั้งที่น่าจะสามารถเป็น ผอ.สิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งในเรื่องนี้นายชาญชัย จะปัดความรับผิดชอบเรื่องดังกล่าวไม่ได้ เพราะขณะนั้น เป็นคณะกรรมการพิจารณา ซึ่งน่าจะรู้เรื่องระแคะระคายมาบ้าง อย่างไรก็ตามตนอยากให้ กทม.ดำเนินโครงการดังกล่าวต่อไป ส่วนการตรวจสอบก็ดำเนินการไปตามปกติ
ด้านนายชาญชัย กล่าวว่า ขณะนี้เริ่มตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดแล้ว โดยรื้อโครงการตั้งแต่ปี 2546 เริ่มตั้งแต่ที่มาของโครงการ การกำหนด TOR หรือร่างขอบเขตของงาน รวมถึงการตรวจสอบไปยังคณะกรรมการชุดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้ง คณะกรรมการร่างขอบเขตงาน คณะกรรมการจัดซื้อ คณะกรรมการด้านเทคนิค และคณะกรรมการเปิดซอง ซึ่งจะรวบรวมให้แล้วเสร็จภายใน 1 อาทิตย์จากนั้นจะนำเสนอผู้บังคับบัญชาต่อไป
สมัครเชื่อติสเครดิตรัฐบาล
แหล่งข่าวจากผู้ใกล้ชิดนายสมัคร เปิดเผยว่า หลังจากเกิดเป็นข่าวการจ่าย สินบน นายสมัคร นายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกฯ และนายธีรพล นพรัมภา เลขานุการนายกฯ ได้มีการหารือเป็นการภายในเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ ซึ่งเชื่อว่า ข่าวที่ออกมาน่าจะมาจากพรรคฝ่ายค้านเพื่อเป็นการดิสเครดิตรัฐบาล เนื่องจากเรื่องนี้ มีการปรากฎเป็นข่าวในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่เดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยบริษัท นิชิมัตสึ ของญี่ปุ่นถูกตรวจสอบด้านการเงินจากบริษัทเอกชนด้วยกัน ซึ่งผลการตรวจสอบบริษัทนิชิมัตสึ มีปัญหาด้านภาษีกับกรมศุลกากรญี่ปุ่น และแจ้งให้อัยการโตเกียว เข้ามาตรวจสอบ มีการเชิญผู้บริหารของบริษัทนิชิมัตสึมาให้ปากคำ ซึ่งสุดท้ายมีการซัดทอดว่าบริษัทได้จ่ายสินบนให้กับข้าราชการ กทม.เพื่อให้ได้รับงานโครงการ
ทั้งนี้เรื่องดังกล่าวได้ปรากฎในเว็บไซด์ของสำนักข่าวญี่ปุ่นทำให้คนไทยในประเทศญี่ปุ่นเห็นและได้แจ้งมายังพรรคประชาธิปัตย์ จากนั้นก็มีการส่งข้อมูลไปให้ นายไทกร พลสุวรรณ แกนนำอีสานกู้ชาติเพื่อนำข้อมูลไปลงในเว็บไซด์ ซึ่งจริงแล้ว เรื่องนี้นายสมัครเองก็ทราบข่าวตั้งแต่เดือน มิ.ย.พร้อมๆ กับพรรคประชาธิปัตย์
นิชิมัตสีมึนใครสารภาพอัยการ
ส่วนความเคลื่อนไหวทางด้านบริษัทอิตาเลียนไทย ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นกลุ่มกิจการร่วมค้ากับบริษัทนิชิมัตสึที่ประมูลงานโครงการได้ ปรากฎว่าผู้สื่อข่าวได้พยายามติดต่อนายเปรมชัย กรรณสูตร ประธานบริหารบริษัทอิตาเลียนไทยฯ แต่ไม่สามารถติดต่อได้
แหล่งข่าวระดับสูงของบริษัทอิตาเลียนไทยรายหนึ่ง ได้เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทได้ตรวจสอบไปที่ผู้บริหารบริษัทนิชิมัตซึญี่ปุ่นแล้ว และได้รับคำตอบกลับมาว่า ไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้น และไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ไปให้ปากคำกับอัยการกรุงโตเกียว เห็นเพียงข่าวที่ปรากฎออกมาเท่านั้นแต่ไม่มีที่มาที่ไปใดๆ เลย อย่างไรก็ตาม ในส่วนของบริษัทอิตาเลียนไทยฯ เอง เคยเจอเหตุการณ์ลักษณะนี้มาแล้ว คือ คดีทุจริตการจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด(ซีทีเอ็กซ์) ที่มีการเปิดเผยข้อมูลจาก ต่างประเทศเช่นกัน
ขณะเดียวกันนายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกรัฐมนตรี และอดีตรองผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ในยุคที่นายสมัคร ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ก็มีความผิดปกติ โดยนายสหัสนำรถประจำตำแหน่ง ลงไปจอดที่ชั้นใต้ดินของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ซึ่งโดยปกติของวันประชุมครม.นายสหัสจะเดินมาจากตึกบัญชาการมายังห้องประชุม
ปชป.ไล่บี้สมัคร
ด้านนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ส.ส.นครนายก พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ (ป.ป.ช.)สภาผู้แทนราษฎร แถลงถึงกรณีที่สื่อมวลชน ญี่ปุ่นนำเสนอข่าว บริษัท นิชิมัตซึ คอนสตรัคชัน จ่ายสินบน 120 ล้านบาท เพื่อแลกกับการได้งานในโครงการอุโมงค์ระบายน้ำท่วม แสนแสบ-ลาดพร้าว เมื่อปี 2546 ซึ่งเป็นช่วงที่นายสมัคร เป็นผู้ว่าฯ กทม. ว่า ตนจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมาธิการฯในวันที่ 10 ก.ค.นี้ ซึ่งจะรีบสอบสวนให้เสร็จภายใน 2-3 เดือน
ทั้งนี้จะมี 3 แนวทางที่จะตรวจสอบคือ 1.ตรวจสอบไปทางเจบิกที่ปล่อยกู้ โดยทำเรื่องผ่านกระทรวงการคลังและกระทรวงการต่างประเทศ 2.เชิญตัวแทน เจบิก ในประเทศไทยมาชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการฯ3.จะทำเรื่องขอความร่วมมือกับทางรัฐสภาญี่ปุ่น เพื่อขอข้อมูลดังกล่าว
อย่างไรก็ตามหากเห็นว่าขั้นตอนต่างๆ ล่าช้า ตนก็จะเดินทางไปหาข้อมูลด้วยตัวเอง ทั้งนี้คณะกรรมาธิการฯจะเชิญนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็น ผู้ว่าฯกทม.ในขณะนั้น นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯกทม. และคุณหญิงณัษฐนนท ทวีสิน อดีต ปลัดกทม. เข้าชี้แจงในสัปดาห์หน้า อย่างไรก็ตามจะติดตามเงิน120 ล้านบาท ว่าใครเป็นคนสั่งและเงินไปตกอยู่กับใครบ้าง โดยจะนำข้อมูลออกมาแฉเป็น เป็นระยะๆ
ที่ออกมาครั้งนี้ไม่ได้ออกมาโจมตีนายกรัฐมนตรี แต่อย่ากให้สังคมหายสงสัย ส่วนใครอยากจะฟ้องนั้นผมไม่สน เพราะผมมีเอกสารอยู่ในมืออยู่แล้ว ยืนยันว่าเรื่องนี้มีมูล นายชาญชัย กล่าว
อภิรักษ์ส่งหนังสือขอข้อมูลญี่ปุ่น
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯกทม. เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหาร กทม. ถึงกรณีอดีตผู้บริหารบริษัทก่อสร้างญี่ปุ่นระบุว่าเคยให้สินบน 125 ล้านบาท โครงการประมูลอุโมงค์ระบายน้ำท่วมว่า โครงการดังกล่าวมีมูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท ได้มอบหมายให้นายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ปลัดกทม.ดำเนินการตรวจสอบ ข้อเท็จจริงให้แล้วเสร็จภายใน 7 วันซึ่งทางปลัดกทม.ได้มอบหมายให้นายสมศักดิ์ กลั่นพจน์ รองปลัดกทม.รวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริงต่างๆ โดยจะส่งหนังสือประสานไปทาง สถานทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย วานนี้(8 ก.ค.)เพื่อขอรับทราบข้อมูลข้อเท็จจริง เพราะขณะนี้ทราบเพียงแต่รายงานข่าว
บี้รัฐบาลตรวจสอบ
นายอภิรักษ์กล่าวว่า ประเทศไทยมีหลายงานงานที่สามารถขอข้อมูลกับทางการญี่ปุ่นได้ทั้ง ป.ป.ช. และสำนักงานอัยการสูงสุด(อสส.) และที่สำคัญรัฐบาลควรจะเข้ามาตรวจสอบในเรื่องนี้เพราะเป็นเรื่องระหว่างประเทศ ซึ่งกทม.ยังไม่มีข้อมูล ข้อเท็จจริงเพียงพอจึงยังไม่สามารถร้องไปยังป.ป.ช.ได้ แต่อย่างไรก็ตามกทม.จะดำเนินการให้เต็มที่ และไม่ได้เป็นการรับลูกของใคร
มันเป็นการเชื่อมโยงให้เกี่ยวข้องกับการเมืองอยู่แล้วซึ่งขณะนี้สถานการณ์ทางการเมืองมีความรุนแรง ทุกฝ่ายต้องใจเย็น ส่วนการตรวจสอบ อยากให้แยกแยะ ใครที่เกี่ยวข้องก็มีสิทธิ์ตอบคำถาม ส่วนกรณีการจ่ายเงินสินบน ถือเป็นเรื่องรุนแรงต้องทำให้ชัดเจน ทั้งนี้ผมอยากให้รัฐบาลเขามาตรวจสอบ ในเรื่องนี้จะปล่อยให้ถูกกล่าวไม่ได้ และอันที่จริงเราก็มีหน่วยงานที่สามารถที่จะดำเนินการตรวจสอบเรื่องนี้ได้ดีอยู่แล้วทั้ง ป.ป.ช. และสำนักงานอัยการสูงสุด แต่ทางการญี่ปุ่นก็มีกฎหมายของเขาไปบังคับเขาไม่ได้ ซึ่งเราก็ทำในส่วนของเราให้ดีที่สุด
นายอภิรักษ์ กล่าวว่าการคอรัปชั่นประมูลโครงการของราชการ มันเป็นปัญหาระบบโครงสร้าง ระบบการเมือง ระบบราชการมาช้านาน แต่กทม.มีมาตรการเพื่อป้องกันในเรื่องดังกล่าวโดยได้ตั้งคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการกทม. เข้ามาดูแลมานานแล้ว
กทม.ไม่ได้ปัดความรับผิดชอบผู้บริหารชุดปัจจุบันต้องตรวจสอบข้อเท็จจริง เท่าที่ทำได้ ซึ่ง 1 สัปดาห์ถ้ามีข้อมูลจากการตรวจสอบภายใสของ กทม.ก็จะต้องชี้แจง ให้ทราบแน่นอนแต่ทางญี่ปุ่นคงจะไม่สามารถไปกะเกณฑ์เวลาได้เพราะจะต้องมีระเบียบวิธีการ ไม่ใช่อยู่ดีๆ จะไปขอซึ่งเขาจะให้หรือเปล่าผมยังไม่รู้เลย
นายอภิรักษ์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ กทม.จะประสานไปยังบ.นิชิมัตซึ ประเทศไทย เพื่อขอข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดอีกด้วย ส่วนจะไปเช็คโครงการอื่นๆ ย้อนหลังหรือไม่นั้น คงไม่ต้องเพราะ กทม.เองก็มีระบบตรวจสอบ มีสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ประจำกทม. มีกองตรวจสอบภายใน อยู่แล้ว ซึ่งได้มีการตรวจสอบโครงการต่างๆ มาโดยตลอดแต่ไม่เป็นข่าว อย่างไรก็ตาม ตนไม่ได้หนักใจอะไรเพราะทุกเรื่องมีข้อมูล ข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่แล้ว ส่วนกรณี 2 ส. 1 ธ .ตนขอไม่ออกความเห็น
บี้สปิริตสมัครแจงข้อเท็จจริง
นายสมศักดิ์ กลั่นพจน์ รองปลัดกทม. กล่าวว่า ตนได้รับมอบหมายจากปลัด กทม.ให้ดำเนินการหาข้อเท็จจริง ซึ่งขณะนี้ตนได้ทำหนังสือเพื่อประสานขอข้อมูลกับสถานทูตญี่ปุ่นและบริษัทนิชิมัตสึ คอนสตัรคชั่น เพื่อขอข้อมูลที่เกี่ยวข้องแล้ว ส่วนของการหาข้อเท็จจริงของ กทม.นั้นมอบหมายให้นายชาญชัย วิทูรปัญญากิจ ผอ.สนน.รวบรวมรายละเอียดข้อมูลทั้งหมด ตามลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการ เพื่อทำการตรวจสอบอย่างละเอียดทุกขั้นตอนและหากพบความผิดปกติในจุดใดก็จะให้ข้าราชการที่เกี่ยวข้องในกระบวนการนั้น ๆ มาชี้แจงรายละเอียด ซึ่งขณะนี้เท่าที่เริ่มตรวจสอบก็ยังไม่พบความผิดปกติแต่อย่างใด ทั้งนี้จะเร่งตรวจสอบให้แล้วเสร็จตามที่ได้รับมอบหมายคือภายใน 7 วัน
การที่จะขอให้นายสมัคร สุนทรเวช นายกฯมาชี้แจงเพราะเป็นโครงการ ที่อยู่ในสมัยที่เป็นผู้ว่า ฯกทม.นั้น หากพบว่ามีความผิดหรือเกี่ยวข้องก็คงจะต้องขอข้อมูลจากท่าน แต่กทม.ในฐานะเป็นหน่วยงานกระจิดริด และอยู่ในกำกับของกระทรวงมหาดไทยก็คงไม่สามารถจะเรียกท่านมาสอบสวนได้ ก็คงต้องขึ้นอยู่กับท่านว่าจะมีสปิริตที่จะให้ข้อมูลหรือไม่
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับการตรวจสอบเพื่อหาผู้กระทำความผิดนั้น ตนยอมรับว่าการดำเนินการหาข้อเท็จจริงดังกล่าวนั้นทำได้ยากมาก เนื่องจากทางประเทศญี่ปุ่นไม่ได้เจาะจงมาว่าการให้สินบนกับเจ้าหน้าที่ไทยนั้นดำเนินการอย่างไร ใครเป็นคนรับเงิน และให้เงินผ่านกระบวนการอย่างไร
ดังนั้นตนจึงไม่สามารถตรวจสอบลงรายละเอียดอะไรได้ อีกทั้งขณะที่มีการตรวจสอบคุณสมบัติในระหว่างดำเนินโครงการก็มีการร้องเรียนจาก บริษัท สี่แสงการโยธา(1979)ก็เคยร้องเรียนศาลปกครอง เนื่องจากไม่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติ แต่ต่อมาศาลปกครองก็ตัดสินให้ กทม.ชนะ ดังนั้นก็เหมือนมีการตรวจสอบมาแล้วครั้งหนึ่งแต่ไม่พบความผิด ดังนั้นการตรวจสอบครั้งนี้หากต้องการให้ได้ผู้กระทำผิด จึงต้องมีหลักฐานที่ชัดเจนจากทางด้านประเทศญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม กทม.จะไม่มีการชะลอโครางการออกไปอย่างแน่นอน เพราะขณะนี้โครงการได้ ดำเนินการแล้วเสร็จประมาณ 75 % ซึ่งการในส่วนของอุโมงค์ระบายน้ำ และระบบท่อส่งน้ำนั้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว เหลืออีก 25% เป็นส่วนของการ สร้างสถานีสูบน้ำเท่านั้น คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงเดือน ก.ย.2551 นี้ ส่วนบริษัท นิชิมัตสึฯนั้นก็ยังมีสิทธิที่จะเข้าร่วมประกวดราคาในโครงการต่าง ๆ ของ กทม. เหมือนเดิมเพราะยังไม่ได้ตรวจสอบพบความผิดและไม่ได้อยู่ในบัญชีดำ (แบล็คลิสต์)ของ กทม.แต่อย่างใด
สภากทม.รับลูกสอบทันที
นายธวัชชัย ปิยนนทยา ส.ก.พรรคประชาธิปัตย์ เขตสาทร และประธานสภา กทม. กล่าวว่า ในส่วนของสภา กทม.ซึ่งเป็นฝ่ายตรวจสอบการทำงานของผู้บริหาร ก็ได้มอบหมายให้คณะกรรมการด้านการระบายน้ำและคณะกรรมการด้านปกครอง เข้าไปดำเนินการตรวจสอบโครงการ โดยด้านระบายน้ำจะให้มีการตรวจสอบรายละเอียดโครงการดังกล่าวตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน ส่วนด้านการปกครอง ก็ให้มีการตรวจสอบพฤติกรรมของข้าราชการว่าเข้าข่ายทำให้องค์กรเสื่อมเสียหรือไม่ โดยจะตรวจสอบให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด
ทั้งนี้ สภา กทม.มีการเคลือบแคลงการทำงานการทำงานของ สนน. มานานแล้ว โดยเฉพาะนายชาญชัย วิทูรปัญญากิจ ผอ.สนน.ซึ่งก่อนหน้านี้เคยเป็นผอ.สำนักสิ่งแวดล้อม แต่ในที่สุดก็โยกให้มาเป็นผอ.สำนักการระบายน้ำอีก ทั้งที่น่าจะสามารถเป็น ผอ.สิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งในเรื่องนี้นายชาญชัย จะปัดความรับผิดชอบเรื่องดังกล่าวไม่ได้ เพราะขณะนั้น เป็นคณะกรรมการพิจารณา ซึ่งน่าจะรู้เรื่องระแคะระคายมาบ้าง อย่างไรก็ตามตนอยากให้ กทม.ดำเนินโครงการดังกล่าวต่อไป ส่วนการตรวจสอบก็ดำเนินการไปตามปกติ
ด้านนายชาญชัย กล่าวว่า ขณะนี้เริ่มตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดแล้ว โดยรื้อโครงการตั้งแต่ปี 2546 เริ่มตั้งแต่ที่มาของโครงการ การกำหนด TOR หรือร่างขอบเขตของงาน รวมถึงการตรวจสอบไปยังคณะกรรมการชุดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้ง คณะกรรมการร่างขอบเขตงาน คณะกรรมการจัดซื้อ คณะกรรมการด้านเทคนิค และคณะกรรมการเปิดซอง ซึ่งจะรวบรวมให้แล้วเสร็จภายใน 1 อาทิตย์จากนั้นจะนำเสนอผู้บังคับบัญชาต่อไป
สมัครเชื่อติสเครดิตรัฐบาล
แหล่งข่าวจากผู้ใกล้ชิดนายสมัคร เปิดเผยว่า หลังจากเกิดเป็นข่าวการจ่าย สินบน นายสมัคร นายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกฯ และนายธีรพล นพรัมภา เลขานุการนายกฯ ได้มีการหารือเป็นการภายในเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ ซึ่งเชื่อว่า ข่าวที่ออกมาน่าจะมาจากพรรคฝ่ายค้านเพื่อเป็นการดิสเครดิตรัฐบาล เนื่องจากเรื่องนี้ มีการปรากฎเป็นข่าวในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่เดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยบริษัท นิชิมัตสึ ของญี่ปุ่นถูกตรวจสอบด้านการเงินจากบริษัทเอกชนด้วยกัน ซึ่งผลการตรวจสอบบริษัทนิชิมัตสึ มีปัญหาด้านภาษีกับกรมศุลกากรญี่ปุ่น และแจ้งให้อัยการโตเกียว เข้ามาตรวจสอบ มีการเชิญผู้บริหารของบริษัทนิชิมัตสึมาให้ปากคำ ซึ่งสุดท้ายมีการซัดทอดว่าบริษัทได้จ่ายสินบนให้กับข้าราชการ กทม.เพื่อให้ได้รับงานโครงการ
ทั้งนี้เรื่องดังกล่าวได้ปรากฎในเว็บไซด์ของสำนักข่าวญี่ปุ่นทำให้คนไทยในประเทศญี่ปุ่นเห็นและได้แจ้งมายังพรรคประชาธิปัตย์ จากนั้นก็มีการส่งข้อมูลไปให้ นายไทกร พลสุวรรณ แกนนำอีสานกู้ชาติเพื่อนำข้อมูลไปลงในเว็บไซด์ ซึ่งจริงแล้ว เรื่องนี้นายสมัครเองก็ทราบข่าวตั้งแต่เดือน มิ.ย.พร้อมๆ กับพรรคประชาธิปัตย์
นิชิมัตสีมึนใครสารภาพอัยการ
ส่วนความเคลื่อนไหวทางด้านบริษัทอิตาเลียนไทย ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นกลุ่มกิจการร่วมค้ากับบริษัทนิชิมัตสึที่ประมูลงานโครงการได้ ปรากฎว่าผู้สื่อข่าวได้พยายามติดต่อนายเปรมชัย กรรณสูตร ประธานบริหารบริษัทอิตาเลียนไทยฯ แต่ไม่สามารถติดต่อได้
แหล่งข่าวระดับสูงของบริษัทอิตาเลียนไทยรายหนึ่ง ได้เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทได้ตรวจสอบไปที่ผู้บริหารบริษัทนิชิมัตซึญี่ปุ่นแล้ว และได้รับคำตอบกลับมาว่า ไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้น และไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ไปให้ปากคำกับอัยการกรุงโตเกียว เห็นเพียงข่าวที่ปรากฎออกมาเท่านั้นแต่ไม่มีที่มาที่ไปใดๆ เลย อย่างไรก็ตาม ในส่วนของบริษัทอิตาเลียนไทยฯ เอง เคยเจอเหตุการณ์ลักษณะนี้มาแล้ว คือ คดีทุจริตการจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด(ซีทีเอ็กซ์) ที่มีการเปิดเผยข้อมูลจาก ต่างประเทศเช่นกัน