วานนี้(8 ก.ค.)เวลา 09.30 น.ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง สนามหลวง นายทองหล่อ โฉมงาม ผู้พิพากษาอาวุโสเจ้าของสำนวน พร้อมองค์คณะผู้พิพากษา 9 คนออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนพยานโจทก์ครั้งแรก ในคดีหมายเลขดำที่ อม.1//2550 ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานทุจริตซื้อขายที่ดินย่านรัชดาภิเษกมูลค่า 772 ล้านบาท ตามประมวลกฎหมายอาญา และ พ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พ.ศ.2542
เติ้ง-ชวนเบิกความเป็นพยาน
โดย นายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ หัวหน้าคณะทำงานรับผิดชอบว่าความ นำนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย และนายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ เป็นพยานขึ้นเบิกความ โดยศาล ได้สอบถามนายบรรหาร ว่าขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้เคยเข้าไปดูแลกำกับ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินและหน่วยงานที่เป็นรัฐวิสาหกิจทั้งโดยตรงและโดยอ้อมหรือไม่ นายบรรหาร ตอบว่า ระหว่างที่เป็นนายกรัฐมนตรีในปี 2538-39 ไม่มี ซึ่งการดูแลกิจการรัฐวิสาหกิจจะมีรัฐมนตรีซึ่งได้รับมอบหมาย เป็นผู้ดูแล เมื่อโจทก์ถามว่าระหว่างที่เป็นนายกรัฐมนตรีได้เคยเข้าไปกำกับดูแล ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือไม่ นายบรรหาร ตอบว่าไม่เคย
เมื่อถามต่อว่าในระหว่างที่เป็นนายกฯ เคยไปดูแลการแต่งตั้งโยกย้ายผู้ว่า ธปท.หรือไม่ ซึ่งช่วงปลายปี 2538 ได้มีการย้ายนายวิจิตร สุพินิจ ผู้ว่าธปท.ขณะนั้น นายบรรหาร ตอบว่า ในการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายเป็นไปตามที่นายสุรเกียรติ เสถียรไทย รมว.คลังขณะนั้นได้มีการเสนอต่อ ครม. เมื่อถามย้ำว่าสมัยที่เป็นนายกฯเคยเกี่ยวข้องอนุมัติสนับสนุนเงินกองทุนฯหรือไม่ นายบรรหารตอบว่า ไม่เคย
ขณะที่นายอเนก คำชุ่ม ทนายความ จำเลยซักถามว่า ระหว่างที่เป็นนายกฯ ได้มีการรายงานเกี่ยวกับการบริหารงานของกองทุนฯเกี่ยวกับการได้มาซึ่งที่ดินว่า ได้มาอย่างไรและมีมูลค่าเท่าใดหรือไม่ นายบรรหาร ตอบว่า ไม่มี เมื่อถามต่อว่า ที่เคยให้การกับคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)ว่าเป็นไปตาม พ.ร.บ.บริหารระเบียบราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ม.11 ที่ระบุว่านายกฯมีอำนาจควบคุมดูแลกระทรวงทบวงกรมโดยทั่วไป ความหมายดังกล่าวหมายความถึงการบริหารกองทุนฟื้นฟูหรือไม่ นายบรรหาร ตอบว่า กองทุนถูกตั้งขึ้นมาเพื่อบริหารและแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งไม่ชัดเจนว่าจะถือเป็นอำนาจหน้าที่ทั่วไปตามกฎหมายนั้นหรือไม่ แต่ส่วนตัวเห็นว่า น่าจะเป็นอำนาจโดยเฉพาะ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของ ธปท.ซึ่งมี รมว.คลัง ดูแลอยู่ด้วย
ต่อมาอัยการนำ นายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นเบิกความเป็นปากที่สอง โดยได้ตอบคำถามเดียวกับที่ศาลถามนายบรรหาร สรุปว่า นายกฯจะใช้อำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจผ่าน รมว.คลังที่ได้รับมอบหมายดูแล ซึ่งในส่วนของกองทุนฯจะมีผู้ว่า ธปท.ดูแลและมี รมว.คลังกำกับดูแลอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งรัฐบาลจะเป็นผู้ให้เงินสนับสนุนกองทุนฯ โดยในช่วงปี 2541 เคยลงนามให้นำเงินไปสนับสนุนกองทุนฯ แต่จำรายละเอียดไม่ได้ เมื่อทนายจำเลยถามว่าในการบริหารกองทุนฯมีคณะกรรมการดูแลอิสระ นายกฯไม่มีอำนาจสั่งการใช่หรือไม่ นายชวน ตอบว่า กองทุนฯอยู่ภายใต้กำกับของ ธปท.มีผู้ว่า ธปท.เป็นผู้ดูแล และมี รมว.คลัง กำกับดูแล ธปท.อีกชั้น เมื่อถามว่าขณะที่เป็นนายกฯ เคยสั่งการในการบริหารงานกองทุนฯหรือไม่ นายชวนตอบว่า ไม่มี ซึ่งนายกฯจะไม่ได้เป็นผู้สั่งการ ถ้าเรื่องนั้นไม่ได้ถูกเสนอเข้าสู่ที่ประชุม ครม.
วีระเบิกความยันความผิด
ต่อมาอัยการนำนายวีระ สมความคิด ประธานเครือข่ายประชาชนต่อต้านคอร์รัปชั่นและนักสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นผู้ร้องเรียนในคดีนี้ต่อ คตส. โดยศาลได้นำเอกสาร ที่เคยให้การต่อ คตส.เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2549 นายวีระ ยืนยันตามเอกสารให้การดังกล่าวว่า เหตุที่มีการร้องเรียนพบว่าจำเลยทั้งสอง น่าจะมีความผิดในการที่จำเลยที่สอง เข้าประมูลซื้อที่ดินกองทุนฯ ซึ่งพยานเคยยื่นเรื่องต่อกองปราบปรามและ ป.ป.ช. แต่ ทั้งสองหน่วยงานมีหนังสือตอบกลับว่าคดีไม่ได้อยู่ในอำนาจทั้งที่ในการประมูลขายที่ดินพบว่าจำเลยมีการได้ประโยชน์แต่กองทุนฯได้รับความเสียหายเพราะ ที่ดินที่ถูกประมูลซื้อไปในราคาถูกกว่าที่กองทุนซื้อที่ดินจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอราวัณทรัสต์ ที่มีราคา 1,908 ล้านบาท แต่ขายให้จำเลยที่สองในราคา 772 ล้านบาท เท่ากับกองทุนฯขาดทุนไปกว่า 1,100 ล้านบาท ซึ่งการทำสัญญาซื้อขายดังกล่าวแตกต่างกับการทำสัญญาใช้ประปาและไฟฟ้า เพราะกรณีการทำสัญญาใช้น้ำและไฟ หากไม่ได้มีการทำสัญญาร่วมกัน ฝ่ายที่ไม่ได้ทำสัญญาก็จะไม่ได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์ใดๆ ซึ่งแตกต่างจากกรณีนี้
เชื่อพันสินบน2ล้านขอถอนประกัน
นอกจากนี้ระหว่างเบิกความ นายวีระ ได้ยื่นส่งเอกสารเพิ่มเติมต่อศาลรวม 5 ฉบับ เป็นเอกสารแสดงการเปรียบเทียบการประเมินราคาที่ดิน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ.2542 พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ปช. ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม และแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4881/2541 คดีที่นายประวิทย์ ขัมภรัตน์ ยื่นฟ้องนายอานันท์ ปัญญารชุน กับพวก ทั้งนี้เพื่อยืนยัน เรื่องอำนาจ หน้าที่ นายกรัฐมนตรี และการยืนยันสถานะนายกรัฐมนตรีว่าเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ ทั้งนี้ศาลรับไว้เป็นเอกสารของฝ่ายโจทก์ ขณะเดียวกันนายวีระ ได้แถลงด้วยวาจาต่อศาลขอให้เพิกถอนประกัน พ.ต.ท.ทักษิณ และ คุณหญิงพจมาน จากกรณีที่อดีตทนายความ 3 คน ในคดีนี้ถูกศาลฎีกาพิพากษาจำคุก 6 เดือนฐานละเมิดอำนาจศาล กรณีที่นำถุงขนมใส่เงินสด 2 ล้านมาให้เจ้าหน้าที่ธุรการศาลฎีกา เนื่องจากเห็นว่าทั้งสองมีส่วนเกี่ยวข้องในการที่จะยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานในคดี
อย่างไรก็ดีเมื่อทนายความจำเลย ถามย้ำนายวีระ ว่า ในการยื่นร้องเรียนนั้นไม่ได้มีการขอตรวจสอบข้อมูล และเอกสารการประมูลซื้อขายที่ดินจากกองทุนฟื้นฟู หรือไม่ นายวีระ ตอบว่า ไม่เคยขอ แต่ข้อมูลที่ตนร้องเรียนได้มาจากที่ตนตรวจสอบ และบุคคลอื่นๆ รวมทั้งสื่อมวลชน เมื่อถามต่อว่า ที่เคยร้องเรียนต่อกองปราบปรามนั้น กองปราบปรามเคยมีหนังสือตอบกลับว่าจำเลยที่ 1ไม่มีความผิดเรื่องนี้ใช่หรือไม่ นายวีระ ตอบว่า ไม่ใช่กองปราบตอบแต่เพียงว่าคดีไม่ได้อยู่ในอำนาจเท่านั้น เมื่อทนายถามอีกว่า นายวีระ รู้หรือไม่ว่า ธปท.และกองทุนเคยมีหนังสือตอบว่า ในการประมูลซื้อขายที่ดินขายได้ในราคาที่ได้กำไรและไม่ได้รับความเสียหาย นายวีระ ตอบว่า ไม่เคยทราบ
กองทุนฟื้นฟูชี้ขายที่ดินขาดทุน
ต่อเมื่อนายวีระ เบิกความเสร็จสิ้นแล้ว อัยการ ได้นำนางสาวกัลยาณี รุทระกาญน์ เลขาธิการศูนย์ประสานงานลูกหนี้แห่งชาติ เป็นพยานปากสุดท้ายในวันนี้ เบิกความต่อศาลว่า พยานเคยให้การกับคตส.ในคดีนี้ โดยสถานะของศูนย์ประสานงานลูกหนี้เป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์ ซึ่งมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลหนี้สิน ของภาคเอกชน โดยศูนย์ประสานงานลูกหนี้ได้จดทะเบียนขึ้นกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
โดยพยานเคยมีที่ดินย่านพระราม9 อยู่ในแนวเดียวกับที่ดินรัชดา แต่ปัจจุบันที่ดินดังกล่าวถูกโอนให้เป็นหนี้ของกองทุน ซึ่งภายหลังมีการประเมินราคาให้ต่ำลงจากราคาเดิมเหลือเพียง 5 ล้านบาท ซึ่งตนมีเงินต้นที่เป็นหนี้กับกองทุนอยู่ 16 ล้านบาท และเคยขอเข้าประนอมหนี้ แต่กองทุนไม่รับประนอมหนี้ โดยยืนยันหลักการบริหารหนี้ของกองทุนว่า ไม่สามารถที่จะประนอมหนี้ต่ำกว่าราคาต้นทุนและดอกเบี้ยที่กำหนดได้ เพราะกองทุนได้รับเงินอุดหนุนนำเงินจากภาษีอากรของประชาชนมาบริหาร และต้องถูกตรวจสอบโดย สตง. ซึ่งไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ไม่สามารถประนอมหนี้ด้วยราคาที่ต่ำกว่าต้นทุน ของกองทุน ซึ่งถ้าหากขาดแม้แต่บาทเดียวอาจติดคุกได้
โดยที่ดินในคดีนี้ขณะที่ซื้อมาจากเงินทุนหลักทรัพย์เอราวัณ พลัส เมื่อ 31 ส.ค.38 ในราคา1,908,450,000 บาท โดยที่ดินมีการประเมินราคาใหม่ตามหลักเกณฑ์ที่จะต้องมีการประเมินราคาใหม่ทุก 4 ปี จนถึงปี 2546 ที่กองทุนยังถือครองที่ดินอยู่จะมีมูลค่าสูงถึง 2,800 ล้านบาทเศษ และหากกองทุนยึดถือนโยบายขายสินทรัพย์โดยไม่ขาดทุนก็ไม่น่าจะขายจำเลยที่ 2 ไปในราคาเพียง 772 ล้านบาท นอกจากนี้ในการประมูลซื้อขายที่ดิน กองทุนได้มีการรวบรวมโฉนดที่ดินแปลงย่อย 14 โฉนด เป็น 2 โฉนด ทั้งนี้เพื่อให้ได้ประโยชน์ในการยื่นขอก่อสร้าง ซึ่งจะได้พื้นที่จำนวนมากและจำนวนชั้นที่สูงขึ้น เนื่องจากกลายเป็นที่ดินติดถนนเทียนร่วมมิตร
นางสาวกัลยานี เบิกความต่อว่า หลังจากที่ได้มีการสำรวจการประเมินราคาที่ดิน 147 แปลงย่านพระราม 9 รัชดา ในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา พบว่าการประเมินที่ดินขึ้นลงไม่ได้มาตรฐาน และได้มีการเปลี่ยนแปลงการประเมินราคาจากเดิมที่กรมที่ดินเป็นผู้ประเมินเพื่อกำหนดซื้อขายที่ดินและการกู้จำนอง เป็นกรมธนารักษ์เป็นผู้ประเมินวัตถุประสงค์เพื่อคำนวณภาษี รวมทั้งมีการเปลี่ยนระบบจากการคำนวณเป็นบล็อก ซึ่งจะวัดระยะจากถนนหรือแม่น้ำ ซึ่งที่ดินที่ห่างจากถนน 40 เมตรจะมีราคาแพงกว่าที่ดินที่ห่างจากถนนจำนวน 80 เมตร มาเป็นการใช้ระบบยูทีเอ็ม ซึ่งจะมีการถ่ายภาพทางอากาศและแบ่งพื้นที่ โดยเจ้าของที่ดินจะไม่สามารถทราบได้ว่าที่ดินของตนอยู่ในพื้นที่ของการประเมินราคาที่ดินมูลค่าเท่าใด รวมทั้งมีการยกเลิกคณะกรรมการประเมินราคากลางทำให้การซื้อขายทรัพย์สินใดๆ เป็นการตกลงระหว่างกรมบังคับคดีกับโจทก์ว่าจะซื้อขายในจำนวนเงินสูงต่ำเท่าใด
ภายหลังไต่สวนพยาน 4 ปากเรียบร้อยแล้ว ศาลนัดไต่สวนพยานโจทก์ครั้งต่อไปในวันที่ 15 ก.ค.นี้เวลา 09.30 น. โดยอัยการได้เตรียมนำเจ้าหน้าที่ ธปท.และเจ้าหน้าที่กองทุนฯ เข้าเบิกความรวม 3 ปาก
เติ้ง-ชวนเบิกความเป็นพยาน
โดย นายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ หัวหน้าคณะทำงานรับผิดชอบว่าความ นำนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย และนายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ เป็นพยานขึ้นเบิกความ โดยศาล ได้สอบถามนายบรรหาร ว่าขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้เคยเข้าไปดูแลกำกับ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินและหน่วยงานที่เป็นรัฐวิสาหกิจทั้งโดยตรงและโดยอ้อมหรือไม่ นายบรรหาร ตอบว่า ระหว่างที่เป็นนายกรัฐมนตรีในปี 2538-39 ไม่มี ซึ่งการดูแลกิจการรัฐวิสาหกิจจะมีรัฐมนตรีซึ่งได้รับมอบหมาย เป็นผู้ดูแล เมื่อโจทก์ถามว่าระหว่างที่เป็นนายกรัฐมนตรีได้เคยเข้าไปกำกับดูแล ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือไม่ นายบรรหาร ตอบว่าไม่เคย
เมื่อถามต่อว่าในระหว่างที่เป็นนายกฯ เคยไปดูแลการแต่งตั้งโยกย้ายผู้ว่า ธปท.หรือไม่ ซึ่งช่วงปลายปี 2538 ได้มีการย้ายนายวิจิตร สุพินิจ ผู้ว่าธปท.ขณะนั้น นายบรรหาร ตอบว่า ในการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายเป็นไปตามที่นายสุรเกียรติ เสถียรไทย รมว.คลังขณะนั้นได้มีการเสนอต่อ ครม. เมื่อถามย้ำว่าสมัยที่เป็นนายกฯเคยเกี่ยวข้องอนุมัติสนับสนุนเงินกองทุนฯหรือไม่ นายบรรหารตอบว่า ไม่เคย
ขณะที่นายอเนก คำชุ่ม ทนายความ จำเลยซักถามว่า ระหว่างที่เป็นนายกฯ ได้มีการรายงานเกี่ยวกับการบริหารงานของกองทุนฯเกี่ยวกับการได้มาซึ่งที่ดินว่า ได้มาอย่างไรและมีมูลค่าเท่าใดหรือไม่ นายบรรหาร ตอบว่า ไม่มี เมื่อถามต่อว่า ที่เคยให้การกับคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)ว่าเป็นไปตาม พ.ร.บ.บริหารระเบียบราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ม.11 ที่ระบุว่านายกฯมีอำนาจควบคุมดูแลกระทรวงทบวงกรมโดยทั่วไป ความหมายดังกล่าวหมายความถึงการบริหารกองทุนฟื้นฟูหรือไม่ นายบรรหาร ตอบว่า กองทุนถูกตั้งขึ้นมาเพื่อบริหารและแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งไม่ชัดเจนว่าจะถือเป็นอำนาจหน้าที่ทั่วไปตามกฎหมายนั้นหรือไม่ แต่ส่วนตัวเห็นว่า น่าจะเป็นอำนาจโดยเฉพาะ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของ ธปท.ซึ่งมี รมว.คลัง ดูแลอยู่ด้วย
ต่อมาอัยการนำ นายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นเบิกความเป็นปากที่สอง โดยได้ตอบคำถามเดียวกับที่ศาลถามนายบรรหาร สรุปว่า นายกฯจะใช้อำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจผ่าน รมว.คลังที่ได้รับมอบหมายดูแล ซึ่งในส่วนของกองทุนฯจะมีผู้ว่า ธปท.ดูแลและมี รมว.คลังกำกับดูแลอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งรัฐบาลจะเป็นผู้ให้เงินสนับสนุนกองทุนฯ โดยในช่วงปี 2541 เคยลงนามให้นำเงินไปสนับสนุนกองทุนฯ แต่จำรายละเอียดไม่ได้ เมื่อทนายจำเลยถามว่าในการบริหารกองทุนฯมีคณะกรรมการดูแลอิสระ นายกฯไม่มีอำนาจสั่งการใช่หรือไม่ นายชวน ตอบว่า กองทุนฯอยู่ภายใต้กำกับของ ธปท.มีผู้ว่า ธปท.เป็นผู้ดูแล และมี รมว.คลัง กำกับดูแล ธปท.อีกชั้น เมื่อถามว่าขณะที่เป็นนายกฯ เคยสั่งการในการบริหารงานกองทุนฯหรือไม่ นายชวนตอบว่า ไม่มี ซึ่งนายกฯจะไม่ได้เป็นผู้สั่งการ ถ้าเรื่องนั้นไม่ได้ถูกเสนอเข้าสู่ที่ประชุม ครม.
วีระเบิกความยันความผิด
ต่อมาอัยการนำนายวีระ สมความคิด ประธานเครือข่ายประชาชนต่อต้านคอร์รัปชั่นและนักสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นผู้ร้องเรียนในคดีนี้ต่อ คตส. โดยศาลได้นำเอกสาร ที่เคยให้การต่อ คตส.เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2549 นายวีระ ยืนยันตามเอกสารให้การดังกล่าวว่า เหตุที่มีการร้องเรียนพบว่าจำเลยทั้งสอง น่าจะมีความผิดในการที่จำเลยที่สอง เข้าประมูลซื้อที่ดินกองทุนฯ ซึ่งพยานเคยยื่นเรื่องต่อกองปราบปรามและ ป.ป.ช. แต่ ทั้งสองหน่วยงานมีหนังสือตอบกลับว่าคดีไม่ได้อยู่ในอำนาจทั้งที่ในการประมูลขายที่ดินพบว่าจำเลยมีการได้ประโยชน์แต่กองทุนฯได้รับความเสียหายเพราะ ที่ดินที่ถูกประมูลซื้อไปในราคาถูกกว่าที่กองทุนซื้อที่ดินจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอราวัณทรัสต์ ที่มีราคา 1,908 ล้านบาท แต่ขายให้จำเลยที่สองในราคา 772 ล้านบาท เท่ากับกองทุนฯขาดทุนไปกว่า 1,100 ล้านบาท ซึ่งการทำสัญญาซื้อขายดังกล่าวแตกต่างกับการทำสัญญาใช้ประปาและไฟฟ้า เพราะกรณีการทำสัญญาใช้น้ำและไฟ หากไม่ได้มีการทำสัญญาร่วมกัน ฝ่ายที่ไม่ได้ทำสัญญาก็จะไม่ได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์ใดๆ ซึ่งแตกต่างจากกรณีนี้
เชื่อพันสินบน2ล้านขอถอนประกัน
นอกจากนี้ระหว่างเบิกความ นายวีระ ได้ยื่นส่งเอกสารเพิ่มเติมต่อศาลรวม 5 ฉบับ เป็นเอกสารแสดงการเปรียบเทียบการประเมินราคาที่ดิน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ.2542 พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ปช. ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม และแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4881/2541 คดีที่นายประวิทย์ ขัมภรัตน์ ยื่นฟ้องนายอานันท์ ปัญญารชุน กับพวก ทั้งนี้เพื่อยืนยัน เรื่องอำนาจ หน้าที่ นายกรัฐมนตรี และการยืนยันสถานะนายกรัฐมนตรีว่าเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ ทั้งนี้ศาลรับไว้เป็นเอกสารของฝ่ายโจทก์ ขณะเดียวกันนายวีระ ได้แถลงด้วยวาจาต่อศาลขอให้เพิกถอนประกัน พ.ต.ท.ทักษิณ และ คุณหญิงพจมาน จากกรณีที่อดีตทนายความ 3 คน ในคดีนี้ถูกศาลฎีกาพิพากษาจำคุก 6 เดือนฐานละเมิดอำนาจศาล กรณีที่นำถุงขนมใส่เงินสด 2 ล้านมาให้เจ้าหน้าที่ธุรการศาลฎีกา เนื่องจากเห็นว่าทั้งสองมีส่วนเกี่ยวข้องในการที่จะยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานในคดี
อย่างไรก็ดีเมื่อทนายความจำเลย ถามย้ำนายวีระ ว่า ในการยื่นร้องเรียนนั้นไม่ได้มีการขอตรวจสอบข้อมูล และเอกสารการประมูลซื้อขายที่ดินจากกองทุนฟื้นฟู หรือไม่ นายวีระ ตอบว่า ไม่เคยขอ แต่ข้อมูลที่ตนร้องเรียนได้มาจากที่ตนตรวจสอบ และบุคคลอื่นๆ รวมทั้งสื่อมวลชน เมื่อถามต่อว่า ที่เคยร้องเรียนต่อกองปราบปรามนั้น กองปราบปรามเคยมีหนังสือตอบกลับว่าจำเลยที่ 1ไม่มีความผิดเรื่องนี้ใช่หรือไม่ นายวีระ ตอบว่า ไม่ใช่กองปราบตอบแต่เพียงว่าคดีไม่ได้อยู่ในอำนาจเท่านั้น เมื่อทนายถามอีกว่า นายวีระ รู้หรือไม่ว่า ธปท.และกองทุนเคยมีหนังสือตอบว่า ในการประมูลซื้อขายที่ดินขายได้ในราคาที่ได้กำไรและไม่ได้รับความเสียหาย นายวีระ ตอบว่า ไม่เคยทราบ
กองทุนฟื้นฟูชี้ขายที่ดินขาดทุน
ต่อเมื่อนายวีระ เบิกความเสร็จสิ้นแล้ว อัยการ ได้นำนางสาวกัลยาณี รุทระกาญน์ เลขาธิการศูนย์ประสานงานลูกหนี้แห่งชาติ เป็นพยานปากสุดท้ายในวันนี้ เบิกความต่อศาลว่า พยานเคยให้การกับคตส.ในคดีนี้ โดยสถานะของศูนย์ประสานงานลูกหนี้เป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์ ซึ่งมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลหนี้สิน ของภาคเอกชน โดยศูนย์ประสานงานลูกหนี้ได้จดทะเบียนขึ้นกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
โดยพยานเคยมีที่ดินย่านพระราม9 อยู่ในแนวเดียวกับที่ดินรัชดา แต่ปัจจุบันที่ดินดังกล่าวถูกโอนให้เป็นหนี้ของกองทุน ซึ่งภายหลังมีการประเมินราคาให้ต่ำลงจากราคาเดิมเหลือเพียง 5 ล้านบาท ซึ่งตนมีเงินต้นที่เป็นหนี้กับกองทุนอยู่ 16 ล้านบาท และเคยขอเข้าประนอมหนี้ แต่กองทุนไม่รับประนอมหนี้ โดยยืนยันหลักการบริหารหนี้ของกองทุนว่า ไม่สามารถที่จะประนอมหนี้ต่ำกว่าราคาต้นทุนและดอกเบี้ยที่กำหนดได้ เพราะกองทุนได้รับเงินอุดหนุนนำเงินจากภาษีอากรของประชาชนมาบริหาร และต้องถูกตรวจสอบโดย สตง. ซึ่งไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ไม่สามารถประนอมหนี้ด้วยราคาที่ต่ำกว่าต้นทุน ของกองทุน ซึ่งถ้าหากขาดแม้แต่บาทเดียวอาจติดคุกได้
โดยที่ดินในคดีนี้ขณะที่ซื้อมาจากเงินทุนหลักทรัพย์เอราวัณ พลัส เมื่อ 31 ส.ค.38 ในราคา1,908,450,000 บาท โดยที่ดินมีการประเมินราคาใหม่ตามหลักเกณฑ์ที่จะต้องมีการประเมินราคาใหม่ทุก 4 ปี จนถึงปี 2546 ที่กองทุนยังถือครองที่ดินอยู่จะมีมูลค่าสูงถึง 2,800 ล้านบาทเศษ และหากกองทุนยึดถือนโยบายขายสินทรัพย์โดยไม่ขาดทุนก็ไม่น่าจะขายจำเลยที่ 2 ไปในราคาเพียง 772 ล้านบาท นอกจากนี้ในการประมูลซื้อขายที่ดิน กองทุนได้มีการรวบรวมโฉนดที่ดินแปลงย่อย 14 โฉนด เป็น 2 โฉนด ทั้งนี้เพื่อให้ได้ประโยชน์ในการยื่นขอก่อสร้าง ซึ่งจะได้พื้นที่จำนวนมากและจำนวนชั้นที่สูงขึ้น เนื่องจากกลายเป็นที่ดินติดถนนเทียนร่วมมิตร
นางสาวกัลยานี เบิกความต่อว่า หลังจากที่ได้มีการสำรวจการประเมินราคาที่ดิน 147 แปลงย่านพระราม 9 รัชดา ในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา พบว่าการประเมินที่ดินขึ้นลงไม่ได้มาตรฐาน และได้มีการเปลี่ยนแปลงการประเมินราคาจากเดิมที่กรมที่ดินเป็นผู้ประเมินเพื่อกำหนดซื้อขายที่ดินและการกู้จำนอง เป็นกรมธนารักษ์เป็นผู้ประเมินวัตถุประสงค์เพื่อคำนวณภาษี รวมทั้งมีการเปลี่ยนระบบจากการคำนวณเป็นบล็อก ซึ่งจะวัดระยะจากถนนหรือแม่น้ำ ซึ่งที่ดินที่ห่างจากถนน 40 เมตรจะมีราคาแพงกว่าที่ดินที่ห่างจากถนนจำนวน 80 เมตร มาเป็นการใช้ระบบยูทีเอ็ม ซึ่งจะมีการถ่ายภาพทางอากาศและแบ่งพื้นที่ โดยเจ้าของที่ดินจะไม่สามารถทราบได้ว่าที่ดินของตนอยู่ในพื้นที่ของการประเมินราคาที่ดินมูลค่าเท่าใด รวมทั้งมีการยกเลิกคณะกรรมการประเมินราคากลางทำให้การซื้อขายทรัพย์สินใดๆ เป็นการตกลงระหว่างกรมบังคับคดีกับโจทก์ว่าจะซื้อขายในจำนวนเงินสูงต่ำเท่าใด
ภายหลังไต่สวนพยาน 4 ปากเรียบร้อยแล้ว ศาลนัดไต่สวนพยานโจทก์ครั้งต่อไปในวันที่ 15 ก.ค.นี้เวลา 09.30 น. โดยอัยการได้เตรียมนำเจ้าหน้าที่ ธปท.และเจ้าหน้าที่กองทุนฯ เข้าเบิกความรวม 3 ปาก