พระราชอาญาไม่พ้นเกล้า ขออัญเชิญพระราชดำรัสของพระเจ้าอยู่หัว แก่ศาลปกครองสูงสุด ณ วันที่ 11 มิถุนายน 2551
“ทำในนามของพระมหากษัตริย์ ก็หมายความว่า ท่านได้ให้ความรับผิดชอบพระมหากษัตริย์ ถ้าท่านทำไม่ดี พระมหากษัตริย์ก็ทำไม่ดี ตอนนี้วุ่นวาย อย่าให้วุ่นวายต่อไป เพราะว่าการทำอะไร ถ้าไม่ทำตรงตามคำปฏิญาณ ก็จะยุ่ง และยุ่งมาแล้ว ขอให้ท่านทั้งหมดเข้มงวดเข้มแข็งยิ่งขึ้น ในการปฏิบัติคำนี้ แปลว่า พระเจ้าอยู่หัวทำอะไร ท่านทำอย่างนั้น ถ้าท่านไม่ทำ ก็ไม่รู้จะเกิดเรื่องอะไร เป็นอย่างไร ความจริงท่านก็ได้เห็นแล้ว จะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นถ้าท่านไม่ทำ ไม่ช่วย ไม่ช่วยกันทำ ก็ขอให้ท่านช่วยทำตามความสามารถที่ท่านมี ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะให้ท่านทำ แต่ขอให้ท่านทำ เพราะว่าถ้าท่านไม่ทำ ไม่ใช่ท่าน 4-5 คนจะเดือดร้อน แต่จะเป็นทุกคนที่เดือดร้อน ถ้าเดือดร้อนแล้ว เราก็มีเหตุที่ไม่ดีเกิดขึ้นมา เหตุไม่ดี เป็นเพราะบ้านเมืองหรือเปล่า ซึ่งบ้านพังมาแล้ว จะพังอีก
ถ้าท่านก็คือผู้ที่ทำหน้าที่ศาลปกครองไปปกครอง ไปช่วยกันปกครอง ไม่ทราบว่าท่านมีความลำบากอะไร ขอให้ท่านได้ทำ ได้ทำสำเร็จผ่านพ้นความลำบากของการปกครองที่ล่มจม ก็ขอให้การปกครองไม่ล่มจม ศาลปกครองไปโดยดีต่อไป ท่านได้มีความรู้ และมีความรู้ โดยได้ศึกษามาแล้วว่า ควรจะทำอะไร อย่างไร ขอให้ท่านทำสำเร็จ เพราะว่า 4-5 คนแสดงตัวออกมา จะทำให้จำนวนล้านคน เป็นล้านคนที่จะเดือดร้อน หากทำไม่สำเร็จ ก็ขอให้ท่านทำสำเร็จ หากท่านทำได้ดี ก็จะมีความสำเร็จ
ถ้าท่านสำเร็จแล้ว ทุกคนก็จะดีใจ และท่านเองก็จะดีใจ ถ้าท่านเป็นงานที่สำคัญ มีความสำเร็จ ท่านได้มีการศึกษามาดีแล้ว ก็เชื่อว่า มีเครื่องมือที่จะปฏิบัติ แต่อาจต้องใช้ผู้อื่นที่มีความรู้ใช้ในทางที่ดี ดำเนินไปโดยดี ถ้าท่านปฏิบัติงานได้สำเร็จ ก็จะเป็นความภูมิใจในหน้าตา ไม่ใช่แค่นั้น พระมหากษัตริย์ก็ภูมิใจกับท่าน ถ้าท่านไม่สำเร็จ ก็ไม่รู้จะพูดว่าไง งานของพระมหากษัตริย์ต้องล่มจม และก็ขอให้ท่านทำงานให้สำเร็จเรียบร้อย ซึ่งก็หลายครั้ง ขอให้ท่านมีความโชคดี ที่ได้ปฏิบัติสำเร็จได้ด้วยดี และขอให้ทุกคน ทั้ง 5 คนจงมีความภูมิใจที่มีเจ้าหน้าที่ชั้นสูงสุด และทำงานสำเร็จ และก็ขอขอบใจท่านที่ตั้งใจที่จะปฏิบัติงานอย่างดี และขอให้งานปฏิบัติได้ดีที่สุด ขอให้ท่านไม่เจ็บไม่ไข้ ได้ทำอะไรเพื่อคนที่ดี ทุกครั้งที่
ขอขอบใจท่านที่จะทำงานอย่างเต็มที่ ด้วยความสามารถ และด้วยหลักวิชาที่ถูกต้อง เพื่อผ่านพ้นอุปสรรคที่มี และก็ขอให้ท่านได้ใช้ที่จำเป็น ที่จะทำ ที่มีกำลังใจที่จะทำงาน ที่สำคัญถ้าท่านทำได้ ก็เป็นผลดีสำหรับชาวโลก แต่ท่านอาจจะมีเวลาต้องท้อใจ และท่านจะต้องทำ ก็ขอให้ท่านมีความสำเร็จในการงาน ด้วยความสามารถของตัวเอง งานมันหนักมันยากจริง ก็เห็นแล้วว่างานมันยากแค่ไหน งานของศาลพิเศษต่างๆ ทั้งหลายนี้ มีทุกอย่างจะต้องใช้กำลังใจ แต่ว่าทุกอย่างคือความสามารถที่ต้องใช้ ถ้าทำได้ บ้านเมืองจะไปได้ดี ตอนนี้บ้านเมืองถอยไปเรื่อยๆ ก็ขอขอบใจท่านให้มีความสำเร็จ”
ผมขีดเส้นใต้ใส่ตัวเอนตัวทึบเป็นพิเศษ ผมไม่จำเป็นจะต้องเน้นเลยว่า “วิกฤตที่สุดในโลก” ของเรากลับยิ่งจะหนักขึ้น แต่วิกฤตที่สุดในโลก ก็คือ โอกาสที่ดีที่สุดในโลก เช่นเดียวกัน
ไม่ว่างานมันจะยากแค่ไหน ศาลพิเศษต่างๆ พันธมิตรฯ และพี่น้องข้าราชการ ทหาร แรงงาน ฯลฯ และประชาชนทุกหมู่เหล่า หากใช้ปัญญาสมาธิด้วยความสามัคคีอย่างสุดความสามารถแล้ว ประเทศไทยจะสามารถพังทลาย “การเมืองเก่า” ที่สุดสามานย์ และสามารถ “สำเร็จโทษ” ผู้นำและการเมืองระบอบทักษิณได้อย่างงดงาม
เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2550 ผมเขียนบทความในผู้จัดการเรื่อง “ผันวิกฤตเป็นโอกาสใต้พระราชบารมี” เพราะว่าในตอนนั้นประเทศไทยได้เกิด “สุญญากาศทางการเมือง”ในทางทฤษฎีอย่างแท้จริง เพราะพล.อ.สนธิ ได้สละอำนาจ “รัฏฐาธิปัตย์” ด้วยการลาออกจากตำแหน่งประธาน คมช.เสียดื้อๆ เสียดายที่ผู้นำการเมืองไทยทุกสถาบัน นักวิชาการ และสื่อ ต่างก็ตกเป็นทาสของความมักได้และมักง่าย ไม่มีใครขยับเขยื้อน ปล่อยให้รัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์เดินหน้าเลือกตั้งแบบน้ำเน่า ซึ่งผมทำนายแล้วว่าจะเกิดอะไรขึ้น
ผมบอกแล้วว่า “ความไม่สมประกอบ” ของ กกต. ของรัฐบาล ของกฎหมายพรรคการเมืองและกฎหมายเลือกตั้ง จะทำให้บ้านเมืองและสถาบันตกอยู่ใต้อันตรายยิ่งกว่าเดิม
ถ้าหากไม่มี 44 + วันของ “มหกรรมการเมืองบันลือโลก” ของพันธมิตรฯ ที่ปอกเปลือกเปลือยกายความทรามของ “การเมืองเก่า” ของระบอบทักษิณจนล่อนจ้อน สร้างความเข้มแข็ง องค์ความรู้ ความมุ่งมั่น และพลังรุดหน้าของการเมืองภาคประชาชน ผมก็คงจะมองโลกในแง่ร้ายยิ่งกว่าเดิม
แต่วันนี้ ผมเริ่มมองเห็นแสงสว่างในอุโมงค์ และเชื่อว่าวันเวลาของ “การเมืองใหม่” ที่ดีกว่าใกล้จะมาถึงเต็มทีแล้ว
บังเอิญพันธมิตรฯ เป็นผู้นำ “การเมืองใหม่” มาชูประเด็นในสัปดาห์ที่ผ่านมา จึงมีผู้แสดงปฏิกิริยาต่างๆ นานา บ้างก็โกรธเกรี้ยวโจมตีและใส่ร้ายเลย บ้างก็เป็นห่วงกลัวจะเสียรังวัด บ้างก็น้อยใจว่าทำไมไม่ปรึกษากันก่อน บ้างก็ว่าจะออกนอกทางไหนว่าจะไม่เล่นการเมือง ไหนว่าจะพิทักษ์รัฐธรรมนูญ 2550 บ้างก็ว่าเห็นไหมแววเผด็จการผูกขาดโผล่แล้ว ถึงผมจะเห็นว่าเข้าใจผิดทั้งเพ ก็อยากจะเตือนพันธมิตรฯ ไว้ก่อนว่า การเมืองหรือพลังการเมืองนั้น ความเชื่อสำคัญกว่าความจริง มิใช่สิ่งง่ายๆ ที่จะผนึกความเชื่อกับความจริงเข้าให้เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ผมก็เข้าใจพันธมิตรฯ และเต็มใจที่จะแก้ตัวให้ โดยชี้ให้ท่านผู้อ่านเห็นว่า พันธมิตรฯ ต่อสู้มาเป็นปีและชุมนุมครั้งนี้ 40 กว่าวัน ก็ขุดคุ้ย “การเมืองเก่า” อันเป็นลักษณะเด่นของระบอบทักษิณยังไม่หมดเลย ไม่รู้อะไรต่ออะไรที่บ่อนทำลายชาติ ศาสน์ กษัตริย์โผล่ออกมาเป็นประจำวัน ภายใต้ข้อจำกัดสารพัดรวมทั้งการป้องกันภยันตรายให้ผู้ร่วมชุมนุมเป็นนาทีๆ ตลอด 24 ชั่วโมงทั้ง 44 วัน ที่ไหนเลยจะสามารถเสนอ “การเมืองใหม่” เป็นประติมากรรมสำเร็จรูปอันเป็นที่ยุติได้
แต่ผมคิดว่าการหยิบยกประเด็น “การเมืองใหม่” มาเปรียบเทียบและชนกับ “การเมืองเก่า” ในตอนนี้ชอบแล้ว เพราะตอนนี้คือตอนที่ประชาชนจะได้เห็นพิษสงที่แสนชั่วร้ายทำลายชาติของ “การเมืองเก่า” อย่างเต็มตา เช่น ในกรณีเขาพระวิหาร และบริเวณทับซ้อนแหล่งก๊าซในอ่าวไทย เป็นต้น
นอกจากจะชนกับการเมืองเก่าอย่างจะแจ้งแล้ว จุดยืนสำคัญของพันธมิตรฯ สอดคล้องกับการเมืองใหม่อยู่หลายอย่าง ที่เป็นหลักๆ ก็ได้ประกาศและยืนหยัดมานานแล้ว ก็คือ 1. เทิดทูนพระราชอำนาจและมิยอมให้มีการเบียดบังจำกัดอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามจารีตประชาธิปไตยต่อไป 2. ยืนยันการเมืองแบบมีส่วนร่วมที่แท้จริงทุกภาคส่วน และเน้นความเข้มแข็งของการเมืองภาคประชาชน 3. ยืนยันการเมืองที่โปร่งใส ซื่อสัตย์ ยึดมั่นในจริยธรรม 4. ยืนยันในเสรีภาพขั้นพื้นฐานตามหลักประชาธิปไตยทุกอย่าง โดยเน้นสิทธิเสรีภาพของสื่อ ซึ่งก็คือหลักประกันสิทธิในการรับรู้-ข้อมูลและความรู้-ของประชาชนนั่นเอง เสรีภาพนี้ถูกครอบงำบั่นทอนตลอดมาโดยทุนสามานย์ที่ผูกขาดอำนาจการเมือง 5. ยืนยันในเสรีภาพ สาธารณประโยชน์และความเป็นธรรมในสังคม ถอดรหัสให้ง่ายก็คือ การเมืองที่ต้องรับใช้ประชาชนทุกหมู่เหล่าให้เท่าเทียมทั่วถึง ไม่ว่าจะยากดีมีจน บ้านนอก ในเมือง หรือในเมืองหลวง ก็ตาม
สิ่งที่ยังคลุมเครืออยู่ ก็คือ การเมืองที่ไม่มีฝ่ายค้านของพันธมิตรฯ ซึ่งผมเข้าใจว่ามาจากโจทก์เดิม คือการมีพรรคการเมืองที่เป็นแก๊งเลือกตั้งอั้งยี่ มีฝ่ายค้านอภิปรายอย่างไรก็ไร้ประโยชน์ สู้ไม่มีเสียจะดีกว่า เพราะการเมืองใหม่อยากให้มีผู้แทนอาชีพและท้องถิ่นอย่างทั่วถึง เช่นนั้นก็อาจจะมีระบบการตัดสินใจที่เป็นฉันทานุมัติ ไม่ต้องมีการค้านกันอย่างตะบี้ตะบันก็เป็นได้ แต่ผมแน่ใจว่าพันธมิตรฯ ไม่ต้องการสถาปนาเผด็จการทางความคิดหรือการเมืองแน่ๆ ผมเองคนหนึ่งล่ะ จะไม่มีวันยอม
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ถึงแม้จะมิได้กล่าวถึง ก็ล้วนแต่สอดคล้องกับ “ระบบราชประชาสมาสัย” ที่จะเป็นเสาหลักของ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” นั่นเอง
กล่าวย้ำอีกครั้ง “ราชประชาสมาสัย” เป็นศัพท์ที่ในหลวงทรงบัญญัติ แปลว่า “ประชาชนกับพระมหากษัตริย์พึ่งพาซึ่งกันและกัน” นี่ก็คือรากเหง้าของการมีส่วนร่วมทุกระดับตามจารีตประเพณีของไทย ซึ่งจะต้องเลือกคัดเนื้อหาที่เป็นประชาธิปไตยมาจากจารีตทั้งที่เป็นสากลและเป็นของไทยที่มีอยู่แล้วอย่างมากมาย
ในบทความ “ผันวิกฤตเป็นโอกาสฯ” 8 พ.ย. 2550 ของผม ผมได้กล่าวถึง “การติดตามรับรู้ การนำไปปฏิบัติ และการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยยึดมั่นบุคคลที่ชาวไทยเคารพรักบูชาและเชื่อมั่น เป็นผู้แทนถาวรของปวงชนชาวไทย ให้แผ่พระราชบารมีปกป้องคุ้มครองและชี้นำ ให้พวกเขาพากันออกจากวิกฤตอันหนักหน่วงในปัจจุบันได้สำเร็จ”
เขียนมาถึงตอนนี้ได้ยินเสียงไชโย ศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน 9 ต่อ 0 ให้แถลงการณ์ร่วมของรัฐบาล โดยกระทรวงต่างประเทศ มีค่าเท่ากับสนธิสัญญา เป็นอันว่ารัฐบาลกระทำผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ ม. 190 อย่างชัดแจ้งแดงแจ๋
มติรัฐบาลเถื่อนที่ต้องการอยู่เพื่อผลประโยชน์ของตนเองและหัวหน้าใหญ่เท่านั้นที่จะหน้าด้านทนอยู่ได้ และในที่สุดเรื่องอื่นๆ ก็จะทยอยกันออกมาเป็นลูกระนาดหรือดอมิโน
เป็นที่ชัดเจนว่าบัดนี้เกิด “สุญญากาศ” ทั้งโดยนิตินัยและพฤตินัยครั้งใหญ่ในการเมืองไทยแล้ว
แปลว่า ขณะนี้อำนาจรัฎฐาธิปัตย์ได้กลับคืนไปอยู่ในมือของปวงชนชาวไทยโดยมีพระมหากษัตริย์ที่เรารักเคารพบูชาเป็นประมุขและตัวแทน เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพิสูจน์แล้วว่าเข้าพระทัยและมีพระปรีชาญาณในเรื่องความเป็นประชาธิปไตย ไม่โปรดปฏิวัติรัฐประหารและการยึดอำนาจ
สุญญากาศนี้จะนำไปสู่มาตรการและปฏิบัติการตามจารีตประชาธิปไตย โดยไม่จำเป็นจะต้องปฏิวัติรัฐประหาร ถึงแม้ว่าอาจจะต้องมีการงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา แต่ก็มิใช่การทำลายรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการทำลายการเมืองเก่าที่อ้างรัฐธรรมนูญมาทำลายประชาธิปไตยเท่านั้นเอง
นี่คือ โอกาสดีที่สุดในโลก ที่จะผันวิกฤตเป็นโอกาส ใต้พระราชบารมี
“ทำในนามของพระมหากษัตริย์ ก็หมายความว่า ท่านได้ให้ความรับผิดชอบพระมหากษัตริย์ ถ้าท่านทำไม่ดี พระมหากษัตริย์ก็ทำไม่ดี ตอนนี้วุ่นวาย อย่าให้วุ่นวายต่อไป เพราะว่าการทำอะไร ถ้าไม่ทำตรงตามคำปฏิญาณ ก็จะยุ่ง และยุ่งมาแล้ว ขอให้ท่านทั้งหมดเข้มงวดเข้มแข็งยิ่งขึ้น ในการปฏิบัติคำนี้ แปลว่า พระเจ้าอยู่หัวทำอะไร ท่านทำอย่างนั้น ถ้าท่านไม่ทำ ก็ไม่รู้จะเกิดเรื่องอะไร เป็นอย่างไร ความจริงท่านก็ได้เห็นแล้ว จะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นถ้าท่านไม่ทำ ไม่ช่วย ไม่ช่วยกันทำ ก็ขอให้ท่านช่วยทำตามความสามารถที่ท่านมี ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะให้ท่านทำ แต่ขอให้ท่านทำ เพราะว่าถ้าท่านไม่ทำ ไม่ใช่ท่าน 4-5 คนจะเดือดร้อน แต่จะเป็นทุกคนที่เดือดร้อน ถ้าเดือดร้อนแล้ว เราก็มีเหตุที่ไม่ดีเกิดขึ้นมา เหตุไม่ดี เป็นเพราะบ้านเมืองหรือเปล่า ซึ่งบ้านพังมาแล้ว จะพังอีก
ถ้าท่านก็คือผู้ที่ทำหน้าที่ศาลปกครองไปปกครอง ไปช่วยกันปกครอง ไม่ทราบว่าท่านมีความลำบากอะไร ขอให้ท่านได้ทำ ได้ทำสำเร็จผ่านพ้นความลำบากของการปกครองที่ล่มจม ก็ขอให้การปกครองไม่ล่มจม ศาลปกครองไปโดยดีต่อไป ท่านได้มีความรู้ และมีความรู้ โดยได้ศึกษามาแล้วว่า ควรจะทำอะไร อย่างไร ขอให้ท่านทำสำเร็จ เพราะว่า 4-5 คนแสดงตัวออกมา จะทำให้จำนวนล้านคน เป็นล้านคนที่จะเดือดร้อน หากทำไม่สำเร็จ ก็ขอให้ท่านทำสำเร็จ หากท่านทำได้ดี ก็จะมีความสำเร็จ
ถ้าท่านสำเร็จแล้ว ทุกคนก็จะดีใจ และท่านเองก็จะดีใจ ถ้าท่านเป็นงานที่สำคัญ มีความสำเร็จ ท่านได้มีการศึกษามาดีแล้ว ก็เชื่อว่า มีเครื่องมือที่จะปฏิบัติ แต่อาจต้องใช้ผู้อื่นที่มีความรู้ใช้ในทางที่ดี ดำเนินไปโดยดี ถ้าท่านปฏิบัติงานได้สำเร็จ ก็จะเป็นความภูมิใจในหน้าตา ไม่ใช่แค่นั้น พระมหากษัตริย์ก็ภูมิใจกับท่าน ถ้าท่านไม่สำเร็จ ก็ไม่รู้จะพูดว่าไง งานของพระมหากษัตริย์ต้องล่มจม และก็ขอให้ท่านทำงานให้สำเร็จเรียบร้อย ซึ่งก็หลายครั้ง ขอให้ท่านมีความโชคดี ที่ได้ปฏิบัติสำเร็จได้ด้วยดี และขอให้ทุกคน ทั้ง 5 คนจงมีความภูมิใจที่มีเจ้าหน้าที่ชั้นสูงสุด และทำงานสำเร็จ และก็ขอขอบใจท่านที่ตั้งใจที่จะปฏิบัติงานอย่างดี และขอให้งานปฏิบัติได้ดีที่สุด ขอให้ท่านไม่เจ็บไม่ไข้ ได้ทำอะไรเพื่อคนที่ดี ทุกครั้งที่
ขอขอบใจท่านที่จะทำงานอย่างเต็มที่ ด้วยความสามารถ และด้วยหลักวิชาที่ถูกต้อง เพื่อผ่านพ้นอุปสรรคที่มี และก็ขอให้ท่านได้ใช้ที่จำเป็น ที่จะทำ ที่มีกำลังใจที่จะทำงาน ที่สำคัญถ้าท่านทำได้ ก็เป็นผลดีสำหรับชาวโลก แต่ท่านอาจจะมีเวลาต้องท้อใจ และท่านจะต้องทำ ก็ขอให้ท่านมีความสำเร็จในการงาน ด้วยความสามารถของตัวเอง งานมันหนักมันยากจริง ก็เห็นแล้วว่างานมันยากแค่ไหน งานของศาลพิเศษต่างๆ ทั้งหลายนี้ มีทุกอย่างจะต้องใช้กำลังใจ แต่ว่าทุกอย่างคือความสามารถที่ต้องใช้ ถ้าทำได้ บ้านเมืองจะไปได้ดี ตอนนี้บ้านเมืองถอยไปเรื่อยๆ ก็ขอขอบใจท่านให้มีความสำเร็จ”
ผมขีดเส้นใต้ใส่ตัวเอนตัวทึบเป็นพิเศษ ผมไม่จำเป็นจะต้องเน้นเลยว่า “วิกฤตที่สุดในโลก” ของเรากลับยิ่งจะหนักขึ้น แต่วิกฤตที่สุดในโลก ก็คือ โอกาสที่ดีที่สุดในโลก เช่นเดียวกัน
ไม่ว่างานมันจะยากแค่ไหน ศาลพิเศษต่างๆ พันธมิตรฯ และพี่น้องข้าราชการ ทหาร แรงงาน ฯลฯ และประชาชนทุกหมู่เหล่า หากใช้ปัญญาสมาธิด้วยความสามัคคีอย่างสุดความสามารถแล้ว ประเทศไทยจะสามารถพังทลาย “การเมืองเก่า” ที่สุดสามานย์ และสามารถ “สำเร็จโทษ” ผู้นำและการเมืองระบอบทักษิณได้อย่างงดงาม
เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2550 ผมเขียนบทความในผู้จัดการเรื่อง “ผันวิกฤตเป็นโอกาสใต้พระราชบารมี” เพราะว่าในตอนนั้นประเทศไทยได้เกิด “สุญญากาศทางการเมือง”ในทางทฤษฎีอย่างแท้จริง เพราะพล.อ.สนธิ ได้สละอำนาจ “รัฏฐาธิปัตย์” ด้วยการลาออกจากตำแหน่งประธาน คมช.เสียดื้อๆ เสียดายที่ผู้นำการเมืองไทยทุกสถาบัน นักวิชาการ และสื่อ ต่างก็ตกเป็นทาสของความมักได้และมักง่าย ไม่มีใครขยับเขยื้อน ปล่อยให้รัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์เดินหน้าเลือกตั้งแบบน้ำเน่า ซึ่งผมทำนายแล้วว่าจะเกิดอะไรขึ้น
ผมบอกแล้วว่า “ความไม่สมประกอบ” ของ กกต. ของรัฐบาล ของกฎหมายพรรคการเมืองและกฎหมายเลือกตั้ง จะทำให้บ้านเมืองและสถาบันตกอยู่ใต้อันตรายยิ่งกว่าเดิม
ถ้าหากไม่มี 44 + วันของ “มหกรรมการเมืองบันลือโลก” ของพันธมิตรฯ ที่ปอกเปลือกเปลือยกายความทรามของ “การเมืองเก่า” ของระบอบทักษิณจนล่อนจ้อน สร้างความเข้มแข็ง องค์ความรู้ ความมุ่งมั่น และพลังรุดหน้าของการเมืองภาคประชาชน ผมก็คงจะมองโลกในแง่ร้ายยิ่งกว่าเดิม
แต่วันนี้ ผมเริ่มมองเห็นแสงสว่างในอุโมงค์ และเชื่อว่าวันเวลาของ “การเมืองใหม่” ที่ดีกว่าใกล้จะมาถึงเต็มทีแล้ว
บังเอิญพันธมิตรฯ เป็นผู้นำ “การเมืองใหม่” มาชูประเด็นในสัปดาห์ที่ผ่านมา จึงมีผู้แสดงปฏิกิริยาต่างๆ นานา บ้างก็โกรธเกรี้ยวโจมตีและใส่ร้ายเลย บ้างก็เป็นห่วงกลัวจะเสียรังวัด บ้างก็น้อยใจว่าทำไมไม่ปรึกษากันก่อน บ้างก็ว่าจะออกนอกทางไหนว่าจะไม่เล่นการเมือง ไหนว่าจะพิทักษ์รัฐธรรมนูญ 2550 บ้างก็ว่าเห็นไหมแววเผด็จการผูกขาดโผล่แล้ว ถึงผมจะเห็นว่าเข้าใจผิดทั้งเพ ก็อยากจะเตือนพันธมิตรฯ ไว้ก่อนว่า การเมืองหรือพลังการเมืองนั้น ความเชื่อสำคัญกว่าความจริง มิใช่สิ่งง่ายๆ ที่จะผนึกความเชื่อกับความจริงเข้าให้เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ผมก็เข้าใจพันธมิตรฯ และเต็มใจที่จะแก้ตัวให้ โดยชี้ให้ท่านผู้อ่านเห็นว่า พันธมิตรฯ ต่อสู้มาเป็นปีและชุมนุมครั้งนี้ 40 กว่าวัน ก็ขุดคุ้ย “การเมืองเก่า” อันเป็นลักษณะเด่นของระบอบทักษิณยังไม่หมดเลย ไม่รู้อะไรต่ออะไรที่บ่อนทำลายชาติ ศาสน์ กษัตริย์โผล่ออกมาเป็นประจำวัน ภายใต้ข้อจำกัดสารพัดรวมทั้งการป้องกันภยันตรายให้ผู้ร่วมชุมนุมเป็นนาทีๆ ตลอด 24 ชั่วโมงทั้ง 44 วัน ที่ไหนเลยจะสามารถเสนอ “การเมืองใหม่” เป็นประติมากรรมสำเร็จรูปอันเป็นที่ยุติได้
แต่ผมคิดว่าการหยิบยกประเด็น “การเมืองใหม่” มาเปรียบเทียบและชนกับ “การเมืองเก่า” ในตอนนี้ชอบแล้ว เพราะตอนนี้คือตอนที่ประชาชนจะได้เห็นพิษสงที่แสนชั่วร้ายทำลายชาติของ “การเมืองเก่า” อย่างเต็มตา เช่น ในกรณีเขาพระวิหาร และบริเวณทับซ้อนแหล่งก๊าซในอ่าวไทย เป็นต้น
นอกจากจะชนกับการเมืองเก่าอย่างจะแจ้งแล้ว จุดยืนสำคัญของพันธมิตรฯ สอดคล้องกับการเมืองใหม่อยู่หลายอย่าง ที่เป็นหลักๆ ก็ได้ประกาศและยืนหยัดมานานแล้ว ก็คือ 1. เทิดทูนพระราชอำนาจและมิยอมให้มีการเบียดบังจำกัดอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามจารีตประชาธิปไตยต่อไป 2. ยืนยันการเมืองแบบมีส่วนร่วมที่แท้จริงทุกภาคส่วน และเน้นความเข้มแข็งของการเมืองภาคประชาชน 3. ยืนยันการเมืองที่โปร่งใส ซื่อสัตย์ ยึดมั่นในจริยธรรม 4. ยืนยันในเสรีภาพขั้นพื้นฐานตามหลักประชาธิปไตยทุกอย่าง โดยเน้นสิทธิเสรีภาพของสื่อ ซึ่งก็คือหลักประกันสิทธิในการรับรู้-ข้อมูลและความรู้-ของประชาชนนั่นเอง เสรีภาพนี้ถูกครอบงำบั่นทอนตลอดมาโดยทุนสามานย์ที่ผูกขาดอำนาจการเมือง 5. ยืนยันในเสรีภาพ สาธารณประโยชน์และความเป็นธรรมในสังคม ถอดรหัสให้ง่ายก็คือ การเมืองที่ต้องรับใช้ประชาชนทุกหมู่เหล่าให้เท่าเทียมทั่วถึง ไม่ว่าจะยากดีมีจน บ้านนอก ในเมือง หรือในเมืองหลวง ก็ตาม
สิ่งที่ยังคลุมเครืออยู่ ก็คือ การเมืองที่ไม่มีฝ่ายค้านของพันธมิตรฯ ซึ่งผมเข้าใจว่ามาจากโจทก์เดิม คือการมีพรรคการเมืองที่เป็นแก๊งเลือกตั้งอั้งยี่ มีฝ่ายค้านอภิปรายอย่างไรก็ไร้ประโยชน์ สู้ไม่มีเสียจะดีกว่า เพราะการเมืองใหม่อยากให้มีผู้แทนอาชีพและท้องถิ่นอย่างทั่วถึง เช่นนั้นก็อาจจะมีระบบการตัดสินใจที่เป็นฉันทานุมัติ ไม่ต้องมีการค้านกันอย่างตะบี้ตะบันก็เป็นได้ แต่ผมแน่ใจว่าพันธมิตรฯ ไม่ต้องการสถาปนาเผด็จการทางความคิดหรือการเมืองแน่ๆ ผมเองคนหนึ่งล่ะ จะไม่มีวันยอม
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ถึงแม้จะมิได้กล่าวถึง ก็ล้วนแต่สอดคล้องกับ “ระบบราชประชาสมาสัย” ที่จะเป็นเสาหลักของ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” นั่นเอง
กล่าวย้ำอีกครั้ง “ราชประชาสมาสัย” เป็นศัพท์ที่ในหลวงทรงบัญญัติ แปลว่า “ประชาชนกับพระมหากษัตริย์พึ่งพาซึ่งกันและกัน” นี่ก็คือรากเหง้าของการมีส่วนร่วมทุกระดับตามจารีตประเพณีของไทย ซึ่งจะต้องเลือกคัดเนื้อหาที่เป็นประชาธิปไตยมาจากจารีตทั้งที่เป็นสากลและเป็นของไทยที่มีอยู่แล้วอย่างมากมาย
ในบทความ “ผันวิกฤตเป็นโอกาสฯ” 8 พ.ย. 2550 ของผม ผมได้กล่าวถึง “การติดตามรับรู้ การนำไปปฏิบัติ และการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยยึดมั่นบุคคลที่ชาวไทยเคารพรักบูชาและเชื่อมั่น เป็นผู้แทนถาวรของปวงชนชาวไทย ให้แผ่พระราชบารมีปกป้องคุ้มครองและชี้นำ ให้พวกเขาพากันออกจากวิกฤตอันหนักหน่วงในปัจจุบันได้สำเร็จ”
เขียนมาถึงตอนนี้ได้ยินเสียงไชโย ศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน 9 ต่อ 0 ให้แถลงการณ์ร่วมของรัฐบาล โดยกระทรวงต่างประเทศ มีค่าเท่ากับสนธิสัญญา เป็นอันว่ารัฐบาลกระทำผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ ม. 190 อย่างชัดแจ้งแดงแจ๋
มติรัฐบาลเถื่อนที่ต้องการอยู่เพื่อผลประโยชน์ของตนเองและหัวหน้าใหญ่เท่านั้นที่จะหน้าด้านทนอยู่ได้ และในที่สุดเรื่องอื่นๆ ก็จะทยอยกันออกมาเป็นลูกระนาดหรือดอมิโน
เป็นที่ชัดเจนว่าบัดนี้เกิด “สุญญากาศ” ทั้งโดยนิตินัยและพฤตินัยครั้งใหญ่ในการเมืองไทยแล้ว
แปลว่า ขณะนี้อำนาจรัฎฐาธิปัตย์ได้กลับคืนไปอยู่ในมือของปวงชนชาวไทยโดยมีพระมหากษัตริย์ที่เรารักเคารพบูชาเป็นประมุขและตัวแทน เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพิสูจน์แล้วว่าเข้าพระทัยและมีพระปรีชาญาณในเรื่องความเป็นประชาธิปไตย ไม่โปรดปฏิวัติรัฐประหารและการยึดอำนาจ
สุญญากาศนี้จะนำไปสู่มาตรการและปฏิบัติการตามจารีตประชาธิปไตย โดยไม่จำเป็นจะต้องปฏิวัติรัฐประหาร ถึงแม้ว่าอาจจะต้องมีการงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา แต่ก็มิใช่การทำลายรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการทำลายการเมืองเก่าที่อ้างรัฐธรรมนูญมาทำลายประชาธิปไตยเท่านั้นเอง
นี่คือ โอกาสดีที่สุดในโลก ที่จะผันวิกฤตเป็นโอกาส ใต้พระราชบารมี