เราขอบอกความจริง ประเทศไทยเรา ผู้ปกครองมีแต่ประสบการณ์การปกครองแบบเผด็จการ เพราะถืออำนาจอธิปไตยของคนส่วนน้อย โดยมีอยู่ 2 รูปแบบ 2 ลักษณะ คือ ระบอบเผด็จการรัฐประหาร และระบอบเผด็จการระบบรัฐสภา เวลาล่วงเลยไป 76 กว่าปี ยังไม่มีผู้มีคุณธรรมท่านใด สามารถทำให้อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนเป็นรูปธรรมได้สำเร็จ
เราขอย้ำว่า...อำนาจอธิปไตยของปวงชน เป็นสำคัญยิ่งใหญ่ อันเป็นปัจจัยหนึ่งอันเป็นเหตุแห่งวิกฤตชาติไทยเรา อำนาจอธิปไตยของปวงชนที่เป็นรูปธรรมสำหรับประเทศไทยแล้วเป็นเรื่องยากแสนเข็ญ เป็นเรื่องที่นักคิดในฝ่ายต่างๆ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ผู้ปกครอง นักการเมือง นักเคลื่อนไหว ในระบอบการเมืองเผด็จการปัจจุบัน ไม่เข้าใจเอาเสียเลย หรือไม่ให้ความสนใจและไม่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ พวกเขาเหล่านั้นไม่เข้าใจเอาเสียเลย ที่พูดอย่างนี้ เราต่างเห็นความผิดพลาดมาแล้วอย่างซ้ำซาก นับร่วม 76 ปี นับแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 โดยคณะราษฎร ที่ถือลัทธิรัฐธรรมนูญเป็นสรณะ เป็นต้นมา
เหตุที่มาแห่งอำนาจอธิปไตยของปวงชน เกิดจากการตั้งหรือสถาปนารัฐชาติ (Nation State) และการสถาปนาการปกครองแบบประชาธิปไตย ในรูปแบบการปกครองต่างๆ เช่น ระบบรัฐสภา (อังกฤษ, ญี่ปุ่น) ระบบประธานาธิบดี (สหรัฐอเมริกา) และแบบระบบกึ่งประธานาธิบดี (ฝรั่งเศส) เป็นต้น ส่วนไทยเรา ผู้ปกครองยังคงรักษาระบอบเผด็จการระบบรัฐสภา ไว้เช่นเดิม
การตั้งรัฐชาติ (Nation State) คือภารกิจในการเปลี่ยนอำนาจอธิปไตยที่มีอยู่เดิมหรือที่เคยเป็นของพระมหากษัตริย์แต่เพียงผู้เดียวมาเป็นอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน จุดประสงค์ก็เพื่อให้ประเทศชาติเข้มแข็ง โดยให้ประชาชนทุกคนมีจิตสำนึกในความเป็นเจ้าของประเทศ โดยมีเหตุผลรองรับโดยธรรม คือ “อำนาจบ้าน เป็นของเจ้าของบ้าน อำนาจประเทศ จะต้องเป็นของเจ้าของประเทศ” อำนาจประเทศ ซึ่งก็คืออำนาจอธิปไตยของปวงชน นั่นเอง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเปลี่ยนแปลงการปกครองจากเดิมเป็น 12 กระทรวง ก็เป็นพระราชภารกิจในการขยายอำนาจอธิปไตยจากพระองค์ไปสู่ปวงชนอย่างเป็นขั้นเป็นตอน อันเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ประเทศรอดพ้นจากการตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศล่าอาณานิคมในยุคนั้นมาได้
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้ทรงมอบอำนาจสิทธิขาดในการปกครองประเทศเป็นของปวงชน เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้มีความสำนึกในความเป็นชนชาติไทยที่ถูกต้อง สมดัง พระราชหัตถเลขา ความตอนหนึ่งว่า…ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่เดิมให้แก่ราษฎรทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้า ให้แก่ผู้ใดคณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันเท็จจริงของประชาราษฎร... นับแต่พระราชปณิธาน เป็นต้นมารูปธรรมของอำนาจอธิปไตยของปวงชน หาได้เป็นไปตามที่พระองค์ทรงตั้งปณิธานไว้ไม่
สภาพการณ์ที่แท้จริง อำนาจอธิปไตยของปวงชน ได้ถูกบิดเบือน กลายเป็นว่า อำนาจอธิปไตยที่แท้จริงกลายเป็นของคนบางกลุ่ม หรือของคนกลุ่มน้อย มิได้เป็นของปวงชน ย่อมเกิดผลกระทบต่อเหตุปัจจัยภายในทั่วทั้งแผ่นดิน และต่อเหตุภายนอกระหว่างประเทศมาตลอด
ประเทศที่อำนาจอธิปไตยเป็นของชนส่วนน้อย ประชาชนไม่มีสิทธิเสรีภาพในทางการเมือง ไม่มีความเสมอภาคทางโอกาส ไม่ได้ถือหลักนิติธรรม ฯลฯ มีเพียงรูปการปกครอง คือระบบรัฐสภาและวิธีการปกครอง คือ รัฐธรรมนูญ (หมวดและมาตราต่างๆ) มีการเลือกตั้งเท่านั้นนำมาตั้งบังหน้าเพื่อหลอกประชาชน และเป็นการเลือกตั้งจากระบอบการเมืองที่อำนาจอธิปไตยเป็นของชนบางกลุ่ม จึงได้ชื่อว่าระบอบเผด็จการระบบรัฐสภา มันจึงตอบสนองความต้องการของประชาชนได้
ยืนยันข้อเท็จจริงในอดีตที่ผ่านมา เราเสียทีให้แก่ประเทศกัมพูชา กรณีเขาพระวิหาร เราเสียทีให้กับฝรั่งเศส กรณีจังหวัดพิบูลสงคราม และจังหวัดพระตะบองไปให้กัมพูชา, และจังหวัดลายช้าง จังหวัดนครจำปาศักดิ์ไปให้ลาว เราเสียเปรียบประเทศมาเลเซียในข้อตกลงเรื่องเขตแดน และเราเสียเปรียบประเทศพม่าจากการกระทบกระทั่งกันเสมอมา โดยเฉพาะกลุ่มชนในพม่าผลิตยาบ้ามาถล่มเมืองไทย เพราะเขารู้ว่าเมืองไทยอำนาจอธิปไตยเป็นของคนส่วนน้อย และเป็นเผด็จการ
ต้องรื้อฟื้นอนุสัญญาโตเกียว ปี 2484
ย้อนรอยมาดูความถูกต้อง แต่ผู้ครองไทยหลายรุ่นแล้วไม่ใส่ใจ เดิมเป็นความขัดแย้งระหว่างไทยกับฝรั่งเศส เมื่อฝรั่งเศสทิ้งระเบิดที่จังหวัดนครพนมเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) ไทยจำต้องป้องกันอธิปไตยด้วยการสนับสนุนของปวงชนไทย ไทยได้ดินแดนคืนมา รัฐบาลญี่ปุ่นยื่นมือเข้ามาเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทไทยและฝรั่งเศส และตกลงได้ทำสัญญาสันติภาพและปรับปรุงเขตแดน ณ กรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2484
ฝรั่งเศสยอมคืนดินแดนที่ไทยเสียไปให้แก่ไทยแล้ว และได้ลงนามในอนุสัญญาโตเกียว เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2484 ซึ่งรัฐบาลไทยนำมาขอสัตยาบันจากรัฐสภา เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2484 และรัฐสภาลงมติให้สัตยาบันอนุสัญญาโตเกียว เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2484
วันที่ 30 มิถุนายน 2484 รัฐสภาอนุมัติพระราชบัญญัติจัดการปกครองในดินแดนที่ได้คืนจากฝรั่งเศส คือ มณฑลบูรพา ตั้งเป็น 2 จังหวัด คือ จังหวัดพิบูลสงคราม และจังหวัดพระตะบอง และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งอำเภอในจังหวัดทั้ง 2 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2484
จากนั้นรัฐบาลได้สร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ อันตระหง่านสง่างามยิ่งใหญ่ เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้ระลึกนึกถึงเหล่าทหารกล้าผู้พลีชีพเพื่อชาติในสงครามเพื่อเอาดินแดนกลับคืนมา
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2489 นักล่าอาณานิคมจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ได้บีบบังคับให้รัฐสภาไทยเซ็นข้อตกลงไทยฝรั่งเศส โดยรัฐบาลในขณะนั้นได้แถลงต่อสภาผู้แทนว่า รัฐบาลไทยกับรัฐบาลฝรั่งเศสได้ประกาศตกลงว่า อนุสัญญาโตเกียว ปี 2484 (ค.ศ.1941) เป็นอันยกเลิก แต่ข้อตกลงนี้ รัฐบาลมิได้ขอสัตยาบันจากรัฐสภา จึงเป็นโมฆะ
ดังนั้น อนุสัญญา พ.ศ.2484 (ค.ศ. 1941) ยังคงเป็นกติกาสัญญาไทย-ฝรั่งเศส ที่สมบูรณ์เพียงฉบับเดียว และมีผลบังคับมาจนถึงปัจจุบัน จังหวัดพระตะบอง จังหวัดพิบูลสงคราม รวมทั้งจังหวัดลานช้าง และจังหวัดนครจำปาศักดิ์ ในเขตประเทศลาวปัจจุบัน ยังเป็นของไทย เช่นเดียวกับจังหวัดอื่นๆ ทั่วราชอาณาจักร ดังนี้ รัฐบาลและปวงชนชาวไทยจะเอาอย่างไร
การก่อตั้งชาติสยาม (Siamese Nation) ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีข้อสังเกตว่า ลาวและเขมร (กัมพูชา) เป็นประเทศราชของไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีถึงกรุงรัตนโกสินทร์ เช่นเดียวกับมอญเป็นประเทศราชของพม่า ซึ่งตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศและจารีตประเพณีของการก่อตั้งชาติ ลาว และเขมร (กัมพูชา) อยู่ในชาติสยาม เช่นเดียวกับชนชาติมอญอยู่ในประเทศพม่า
เมื่อฝรั่งเศลถอยไป แผ่นดินไทยเดิมที่ฝรั่งเศสยึดไป ดังที่กล่าวแล้ว จะต้องกลับมาเป็นของไทยดังเดิม เพราะทั้งลาวและเขมร ในขณะยังไม่ได้ตั้งรัฐชาติ (Nation State) ทั้งลาวและเขมร จึงยังไม่มีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน เพราะอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนดังกล่าวเป็นของไทย แต่ฝรั่งเศสได้ใช้อำนาจบาตรใหญ่ยึดไป และทำผิดกฎหมายระหว่างประเทศ เราจะแก้ปัญหานี้อย่างไรต่อไป
อำนาจอธิปไตยของชนส่วนน้อย กระทบต่อปัญหาสังคม
ประเทศไทยนับ 2475 เป็นต้นมา สังคมไทยมีผลไปในทางเลวร้าย เสื่อมถอยลงๆ เพราะคนไทยโดยเฉพาะคนในเมือง คนในสังคมอุตสาหกรรม ไม่ได้เข้าวัดพัฒนาความคิดทางจิตและวิญญาณ และน่าเห็นใจเยาวชนไทยที่ไม่มีศาสนา นับถือศาสนาพุทธตามทะเบียนบ้านเท่านั้นเอง เมื่อขาดที่พึ่งที่ถูกต้อง ก็หันไปพึ่งยาบ้า ปราบกันเท่าไรก็ไม่หมด ยิ่งปราบยิ่งเพิ่มมากขึ้น เราเสียดายที่ต้องสูญเสียงบประมาณปีหนึ่งๆ ไปดำเนินการแก้ปัญหาปลายเหตุเป็นแสนๆ ล้าน ถ้าเพียงนำเอางบประมาณเพียงครึ่งหนึ่งมาพัฒนาอบรมสั่งสอนทางจิตและวิญญาณ อบรมศีลธรรมตามแนวศาสนาของตนๆ ก็จะเป็นหนทางที่แก้ปัญหาที่ต้นเหตุด้านบุคคลได้ ที่เป็นไปดังนี้เพราะระบอบการเมืองบ้านเรายังเป็นมิจฉาทิฐิ นั่นเอง
เหตุที่อำนาจอธิปไตยของคนส่วนน้อย ยังส่งผลกระทบในทุกด้านทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การครอบงำทางการเมือง จนแก้ไขไม่ตก ผู้ปกครองมิจฉาทิฐิครอบงำมายาวนานจนฝังรากลึกมาร่วม 76 ปี จนยากที่จะแก้ไขได้
เมื่อสามารถครอบงำทางการเมืองได้แล้ว ก็สามารถครอบงำทางการปกครอง ครอบงำทางเศรษฐกิจ จนนายทุนชาติพังพินาศจนแก้ไม่ตกจนถึงทุกวันนี้ การครอบงำการดำเนินชีวิตของประชาชน และรวมทั้งการครอบงำทางศาสนาและขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม และความเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ทั้งอย่างจงใจทำกันเป็นกระบวนการ (ประดุจทำสงครามเย็น) เพราะต่างชาติเขาให้งบประมาณผ่านกลุ่ม NGO บางกลุ่ม อย่างเป็นล่ำเป็นสัน
และการครอบงำอย่างเป็นไปเอง โดยการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ ที่เป็นดังนี้ ล้วนแล้วมาจากเหตุ คือ อำนาจอธิปไตยเป็นของชนส่วนน้อยทั้งสิ้น คำสอนของพระพุทธเจ้า คือ กฎอิทัปปัจจยตา อันเป็นกฎความสัมพันธภาพระหว่างเหตุและผล “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงมี” เมื่อระบอบการเมืองมิจฉาทิฐิ (สิ่งนี้เป็นปัจจัย) อำนาจอธิปไตยเป็นของคนส่วนน้อย เมื่ออำนาจอธิปไตยเป็นของคนส่วนน้อย (สิ่งนี้เป็นปัจจัย) จึงทำให้ตกเป็นเบี้ยล่างในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การครอบงำทางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ การดำเนินชีวิตของประชาชน และรวมทั้งยาบ้า ฯลฯ เป็นวิถีแห่งความเลวร้าย แตกหน่อขยายออกไปทุกทิศทาง อันเป็นปัญหาย่อยในลักษณะจำเฉพาะ ที่มีความแตกต่างหลากหลาย อันเป็นปรากฏการณ์ และเป็นผลที่แตกออกมาจากเหตุคือระบอบการเมืองมิจฉาทิฐิ อันเลวร้ายอันเป็นปัญหาทั่วไป ได้แก่อำนาจอธิปไตยเป็นของชนส่วนน้อย นั่นเอง ผู้รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อย่างมีปัญญาจะร่วมคิดแก้ปัญหาเรื่องอำนาจอธิปไตยเดิมเป็นของพระมหากษัตริย์ ที่ได้ทรงมอบให้กับปวงชนไทย แต่กลับกลายเป็นของกลุ่ม คณะการเมืองมิจฉาทิฐิเพียงหยิบมือเดียว จะทำให้ประเทศต้องถดถอยลงๆ สูญสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง
เราขอย้ำว่า...อำนาจอธิปไตยของปวงชน เป็นสำคัญยิ่งใหญ่ อันเป็นปัจจัยหนึ่งอันเป็นเหตุแห่งวิกฤตชาติไทยเรา อำนาจอธิปไตยของปวงชนที่เป็นรูปธรรมสำหรับประเทศไทยแล้วเป็นเรื่องยากแสนเข็ญ เป็นเรื่องที่นักคิดในฝ่ายต่างๆ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ผู้ปกครอง นักการเมือง นักเคลื่อนไหว ในระบอบการเมืองเผด็จการปัจจุบัน ไม่เข้าใจเอาเสียเลย หรือไม่ให้ความสนใจและไม่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ พวกเขาเหล่านั้นไม่เข้าใจเอาเสียเลย ที่พูดอย่างนี้ เราต่างเห็นความผิดพลาดมาแล้วอย่างซ้ำซาก นับร่วม 76 ปี นับแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 โดยคณะราษฎร ที่ถือลัทธิรัฐธรรมนูญเป็นสรณะ เป็นต้นมา
เหตุที่มาแห่งอำนาจอธิปไตยของปวงชน เกิดจากการตั้งหรือสถาปนารัฐชาติ (Nation State) และการสถาปนาการปกครองแบบประชาธิปไตย ในรูปแบบการปกครองต่างๆ เช่น ระบบรัฐสภา (อังกฤษ, ญี่ปุ่น) ระบบประธานาธิบดี (สหรัฐอเมริกา) และแบบระบบกึ่งประธานาธิบดี (ฝรั่งเศส) เป็นต้น ส่วนไทยเรา ผู้ปกครองยังคงรักษาระบอบเผด็จการระบบรัฐสภา ไว้เช่นเดิม
การตั้งรัฐชาติ (Nation State) คือภารกิจในการเปลี่ยนอำนาจอธิปไตยที่มีอยู่เดิมหรือที่เคยเป็นของพระมหากษัตริย์แต่เพียงผู้เดียวมาเป็นอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน จุดประสงค์ก็เพื่อให้ประเทศชาติเข้มแข็ง โดยให้ประชาชนทุกคนมีจิตสำนึกในความเป็นเจ้าของประเทศ โดยมีเหตุผลรองรับโดยธรรม คือ “อำนาจบ้าน เป็นของเจ้าของบ้าน อำนาจประเทศ จะต้องเป็นของเจ้าของประเทศ” อำนาจประเทศ ซึ่งก็คืออำนาจอธิปไตยของปวงชน นั่นเอง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเปลี่ยนแปลงการปกครองจากเดิมเป็น 12 กระทรวง ก็เป็นพระราชภารกิจในการขยายอำนาจอธิปไตยจากพระองค์ไปสู่ปวงชนอย่างเป็นขั้นเป็นตอน อันเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ประเทศรอดพ้นจากการตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศล่าอาณานิคมในยุคนั้นมาได้
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้ทรงมอบอำนาจสิทธิขาดในการปกครองประเทศเป็นของปวงชน เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้มีความสำนึกในความเป็นชนชาติไทยที่ถูกต้อง สมดัง พระราชหัตถเลขา ความตอนหนึ่งว่า…ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่เดิมให้แก่ราษฎรทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้า ให้แก่ผู้ใดคณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันเท็จจริงของประชาราษฎร... นับแต่พระราชปณิธาน เป็นต้นมารูปธรรมของอำนาจอธิปไตยของปวงชน หาได้เป็นไปตามที่พระองค์ทรงตั้งปณิธานไว้ไม่
สภาพการณ์ที่แท้จริง อำนาจอธิปไตยของปวงชน ได้ถูกบิดเบือน กลายเป็นว่า อำนาจอธิปไตยที่แท้จริงกลายเป็นของคนบางกลุ่ม หรือของคนกลุ่มน้อย มิได้เป็นของปวงชน ย่อมเกิดผลกระทบต่อเหตุปัจจัยภายในทั่วทั้งแผ่นดิน และต่อเหตุภายนอกระหว่างประเทศมาตลอด
ประเทศที่อำนาจอธิปไตยเป็นของชนส่วนน้อย ประชาชนไม่มีสิทธิเสรีภาพในทางการเมือง ไม่มีความเสมอภาคทางโอกาส ไม่ได้ถือหลักนิติธรรม ฯลฯ มีเพียงรูปการปกครอง คือระบบรัฐสภาและวิธีการปกครอง คือ รัฐธรรมนูญ (หมวดและมาตราต่างๆ) มีการเลือกตั้งเท่านั้นนำมาตั้งบังหน้าเพื่อหลอกประชาชน และเป็นการเลือกตั้งจากระบอบการเมืองที่อำนาจอธิปไตยเป็นของชนบางกลุ่ม จึงได้ชื่อว่าระบอบเผด็จการระบบรัฐสภา มันจึงตอบสนองความต้องการของประชาชนได้
ยืนยันข้อเท็จจริงในอดีตที่ผ่านมา เราเสียทีให้แก่ประเทศกัมพูชา กรณีเขาพระวิหาร เราเสียทีให้กับฝรั่งเศส กรณีจังหวัดพิบูลสงคราม และจังหวัดพระตะบองไปให้กัมพูชา, และจังหวัดลายช้าง จังหวัดนครจำปาศักดิ์ไปให้ลาว เราเสียเปรียบประเทศมาเลเซียในข้อตกลงเรื่องเขตแดน และเราเสียเปรียบประเทศพม่าจากการกระทบกระทั่งกันเสมอมา โดยเฉพาะกลุ่มชนในพม่าผลิตยาบ้ามาถล่มเมืองไทย เพราะเขารู้ว่าเมืองไทยอำนาจอธิปไตยเป็นของคนส่วนน้อย และเป็นเผด็จการ
ต้องรื้อฟื้นอนุสัญญาโตเกียว ปี 2484
ย้อนรอยมาดูความถูกต้อง แต่ผู้ครองไทยหลายรุ่นแล้วไม่ใส่ใจ เดิมเป็นความขัดแย้งระหว่างไทยกับฝรั่งเศส เมื่อฝรั่งเศสทิ้งระเบิดที่จังหวัดนครพนมเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) ไทยจำต้องป้องกันอธิปไตยด้วยการสนับสนุนของปวงชนไทย ไทยได้ดินแดนคืนมา รัฐบาลญี่ปุ่นยื่นมือเข้ามาเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทไทยและฝรั่งเศส และตกลงได้ทำสัญญาสันติภาพและปรับปรุงเขตแดน ณ กรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2484
ฝรั่งเศสยอมคืนดินแดนที่ไทยเสียไปให้แก่ไทยแล้ว และได้ลงนามในอนุสัญญาโตเกียว เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2484 ซึ่งรัฐบาลไทยนำมาขอสัตยาบันจากรัฐสภา เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2484 และรัฐสภาลงมติให้สัตยาบันอนุสัญญาโตเกียว เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2484
วันที่ 30 มิถุนายน 2484 รัฐสภาอนุมัติพระราชบัญญัติจัดการปกครองในดินแดนที่ได้คืนจากฝรั่งเศส คือ มณฑลบูรพา ตั้งเป็น 2 จังหวัด คือ จังหวัดพิบูลสงคราม และจังหวัดพระตะบอง และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งอำเภอในจังหวัดทั้ง 2 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2484
จากนั้นรัฐบาลได้สร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ อันตระหง่านสง่างามยิ่งใหญ่ เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้ระลึกนึกถึงเหล่าทหารกล้าผู้พลีชีพเพื่อชาติในสงครามเพื่อเอาดินแดนกลับคืนมา
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2489 นักล่าอาณานิคมจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ได้บีบบังคับให้รัฐสภาไทยเซ็นข้อตกลงไทยฝรั่งเศส โดยรัฐบาลในขณะนั้นได้แถลงต่อสภาผู้แทนว่า รัฐบาลไทยกับรัฐบาลฝรั่งเศสได้ประกาศตกลงว่า อนุสัญญาโตเกียว ปี 2484 (ค.ศ.1941) เป็นอันยกเลิก แต่ข้อตกลงนี้ รัฐบาลมิได้ขอสัตยาบันจากรัฐสภา จึงเป็นโมฆะ
ดังนั้น อนุสัญญา พ.ศ.2484 (ค.ศ. 1941) ยังคงเป็นกติกาสัญญาไทย-ฝรั่งเศส ที่สมบูรณ์เพียงฉบับเดียว และมีผลบังคับมาจนถึงปัจจุบัน จังหวัดพระตะบอง จังหวัดพิบูลสงคราม รวมทั้งจังหวัดลานช้าง และจังหวัดนครจำปาศักดิ์ ในเขตประเทศลาวปัจจุบัน ยังเป็นของไทย เช่นเดียวกับจังหวัดอื่นๆ ทั่วราชอาณาจักร ดังนี้ รัฐบาลและปวงชนชาวไทยจะเอาอย่างไร
การก่อตั้งชาติสยาม (Siamese Nation) ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีข้อสังเกตว่า ลาวและเขมร (กัมพูชา) เป็นประเทศราชของไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีถึงกรุงรัตนโกสินทร์ เช่นเดียวกับมอญเป็นประเทศราชของพม่า ซึ่งตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศและจารีตประเพณีของการก่อตั้งชาติ ลาว และเขมร (กัมพูชา) อยู่ในชาติสยาม เช่นเดียวกับชนชาติมอญอยู่ในประเทศพม่า
เมื่อฝรั่งเศลถอยไป แผ่นดินไทยเดิมที่ฝรั่งเศสยึดไป ดังที่กล่าวแล้ว จะต้องกลับมาเป็นของไทยดังเดิม เพราะทั้งลาวและเขมร ในขณะยังไม่ได้ตั้งรัฐชาติ (Nation State) ทั้งลาวและเขมร จึงยังไม่มีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน เพราะอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนดังกล่าวเป็นของไทย แต่ฝรั่งเศสได้ใช้อำนาจบาตรใหญ่ยึดไป และทำผิดกฎหมายระหว่างประเทศ เราจะแก้ปัญหานี้อย่างไรต่อไป
อำนาจอธิปไตยของชนส่วนน้อย กระทบต่อปัญหาสังคม
ประเทศไทยนับ 2475 เป็นต้นมา สังคมไทยมีผลไปในทางเลวร้าย เสื่อมถอยลงๆ เพราะคนไทยโดยเฉพาะคนในเมือง คนในสังคมอุตสาหกรรม ไม่ได้เข้าวัดพัฒนาความคิดทางจิตและวิญญาณ และน่าเห็นใจเยาวชนไทยที่ไม่มีศาสนา นับถือศาสนาพุทธตามทะเบียนบ้านเท่านั้นเอง เมื่อขาดที่พึ่งที่ถูกต้อง ก็หันไปพึ่งยาบ้า ปราบกันเท่าไรก็ไม่หมด ยิ่งปราบยิ่งเพิ่มมากขึ้น เราเสียดายที่ต้องสูญเสียงบประมาณปีหนึ่งๆ ไปดำเนินการแก้ปัญหาปลายเหตุเป็นแสนๆ ล้าน ถ้าเพียงนำเอางบประมาณเพียงครึ่งหนึ่งมาพัฒนาอบรมสั่งสอนทางจิตและวิญญาณ อบรมศีลธรรมตามแนวศาสนาของตนๆ ก็จะเป็นหนทางที่แก้ปัญหาที่ต้นเหตุด้านบุคคลได้ ที่เป็นไปดังนี้เพราะระบอบการเมืองบ้านเรายังเป็นมิจฉาทิฐิ นั่นเอง
เหตุที่อำนาจอธิปไตยของคนส่วนน้อย ยังส่งผลกระทบในทุกด้านทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การครอบงำทางการเมือง จนแก้ไขไม่ตก ผู้ปกครองมิจฉาทิฐิครอบงำมายาวนานจนฝังรากลึกมาร่วม 76 ปี จนยากที่จะแก้ไขได้
เมื่อสามารถครอบงำทางการเมืองได้แล้ว ก็สามารถครอบงำทางการปกครอง ครอบงำทางเศรษฐกิจ จนนายทุนชาติพังพินาศจนแก้ไม่ตกจนถึงทุกวันนี้ การครอบงำการดำเนินชีวิตของประชาชน และรวมทั้งการครอบงำทางศาสนาและขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม และความเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ทั้งอย่างจงใจทำกันเป็นกระบวนการ (ประดุจทำสงครามเย็น) เพราะต่างชาติเขาให้งบประมาณผ่านกลุ่ม NGO บางกลุ่ม อย่างเป็นล่ำเป็นสัน
และการครอบงำอย่างเป็นไปเอง โดยการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ ที่เป็นดังนี้ ล้วนแล้วมาจากเหตุ คือ อำนาจอธิปไตยเป็นของชนส่วนน้อยทั้งสิ้น คำสอนของพระพุทธเจ้า คือ กฎอิทัปปัจจยตา อันเป็นกฎความสัมพันธภาพระหว่างเหตุและผล “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงมี” เมื่อระบอบการเมืองมิจฉาทิฐิ (สิ่งนี้เป็นปัจจัย) อำนาจอธิปไตยเป็นของคนส่วนน้อย เมื่ออำนาจอธิปไตยเป็นของคนส่วนน้อย (สิ่งนี้เป็นปัจจัย) จึงทำให้ตกเป็นเบี้ยล่างในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การครอบงำทางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ การดำเนินชีวิตของประชาชน และรวมทั้งยาบ้า ฯลฯ เป็นวิถีแห่งความเลวร้าย แตกหน่อขยายออกไปทุกทิศทาง อันเป็นปัญหาย่อยในลักษณะจำเฉพาะ ที่มีความแตกต่างหลากหลาย อันเป็นปรากฏการณ์ และเป็นผลที่แตกออกมาจากเหตุคือระบอบการเมืองมิจฉาทิฐิ อันเลวร้ายอันเป็นปัญหาทั่วไป ได้แก่อำนาจอธิปไตยเป็นของชนส่วนน้อย นั่นเอง ผู้รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อย่างมีปัญญาจะร่วมคิดแก้ปัญหาเรื่องอำนาจอธิปไตยเดิมเป็นของพระมหากษัตริย์ ที่ได้ทรงมอบให้กับปวงชนไทย แต่กลับกลายเป็นของกลุ่ม คณะการเมืองมิจฉาทิฐิเพียงหยิบมือเดียว จะทำให้ประเทศต้องถดถอยลงๆ สูญสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง