มนุษย์ที่อยู่ในป่าโดยลำพังด้วยจำนวนไม่มาก เป็นมนุษย์ที่อยู่นอกสังคมการเมือง แต่เมื่ออยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่มีรัฐและมีการใช้อำนาจรัฐโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีกฎหมาย มีกฎเกณฑ์ กฎระเบียบต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถูกเกณฑ์แรงงานและเสียภาษีด้วยผลผลิตหรือด้วยเงินตรา คือจุดเริ่มต้นของการเข้ามาสู่สังคมการเมือง ชีวิตมนุษย์เหล่านั้นจะเปลี่ยนไป แต่ขณะเดียวกันผลในทางบวกซึ่งได้แก่การได้รับการคุ้มครองช่วยเหลือจากรัฐ เช่น ในกรณีมีภัยพิบัติเกิดขึ้นก็อาจมีหน่วยงานของรัฐเข้ามาช่วยเหลือเยียวยา การอยู่ในสังคมการเมืองจึงมีทั้งผลดีผลเสียขึ้นอยู่กับระบบการเมืองการปกครองและผู้นำ และขึ้นอยู่กับอำนาจต่อรองของประชาชน
แต่ในความเป็นจริงเป็นความยากเย็นอย่างยิ่งที่มนุษย์สามารถจะหลีกหนีจากสังคมการเมือง เนื่องจากการคมนาคมและการสื่อสารที่เกิดขึ้นโดยสะดวกและรวดเร็ว จนแทบจะกล่าวได้ว่าไม่มีแผ่นดินใดที่สามารถจะปลอดจากอำนาจรัฐได้ นอกจากอยู่ในป่าสูงหรือเขตที่มีอันตรายจากการยึดอำนาจโดยกลุ่มการเมืองพิเศษ เช่น เขตปลดปล่อย หรือในบางส่วนของโลกเป็นเขตที่ไม่มีใครมีอำนาจควบคุม ที่เรียกว่า No man’s land
ในกรณีของผู้ซึ่งอยู่ในสังคมการเมืองนั้นก็มีความพยายามตั้งแต่สมัยโบราณที่จะมองหาระบบการเมืองการปกครองที่ดีที่สุด ที่พึงประสงค์ที่สุด นักปราชญ์ต่างถกเถียงกันถึงระบบที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ และสรุปได้ว่าระบบที่เลวน้อยที่สุดคือระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย แต่ก็มีการเถียงว่าในหลายๆ ด้าน ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้นไม่เอื้ออำนวยประโยชน์ที่แท้จริง เนื่องจากคนกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่งใช้อำนาจเงินในการเข้าสู่อำนาจรัฐ ฉ้อราษฎร์บังหลวง รังแกประชาชน ใช้ความรู้ข่าวสารและความฉลาดทำให้ระบบที่มาจากประชาชนกลายเป็นระบบที่อำนวยประโยชน์ส่วนตัวและพรรคพวก ที่สำคัญคือ ทำให้ระบบการเมืองกลายเป็นระบบธุรกิจการเมือง ทำมาหากินเพื่อประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม ขณะเดียวกันระบบเผด็จการที่ประชาชนไม่มีสิทธิเสรีภาพและการใช้อำนาจที่ไม่มีระบบควบคุม ยิ่งจะก่อปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน แม้กระทั่งกรณีที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ และจำเป็นต้องมีการช่วยเหลือจากต่างชาติก็ยังมีการกีดกันซึ่งก็เป็นที่ทราบกันอยู่
ระบบการเมืองการปกครองที่พึงประสงค์จะต้องมีคุณลักษณะ 5 ประการดังต่อไปนี้ คือ
ประการแรก ระบบนั้นจะต้องเป็นระบบที่ใช้หลักกฎหมายในการปกครองบริหาร เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและเป็นธรรม ที่เรียกว่า หลักนิติธรรม (the rule of law) สังคมใดก็ตามที่ไม่ใช้หลักนิติธรรมในการปกครองบริหารก็จะกลายเป็นหลักที่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ ที่เรียกว่า หลักนิติกลวิธี (the rule by law) และบางครั้งเมื่อไม่มีกฎหมายก็ใช้การวินิจฉัยตามอำเภอใจ ก็จะเป็นการปกครองโดยใช้คนเป็นหลัก (the rule by men) ซึ่งไม่สามารถมีความคงเส้นคงวา มีความเที่ยงตรงได้ นิติรัฐหรือหลักนิติธรรมจึงเป็นคุณสมบัติข้อที่หนึ่งของสังคมการเมืองที่พึงประสงค์
ประการที่สอง ระบบการเมืองรวมทั้งผู้ดำรงตำแหน่งการเมือง อันได้แก่ผู้ใช้อำนาจรัฐจะต้องเป็นผู้ที่มีความชอบธรรมทางการเมือง (political legitimacy) ซึ่งได้แก่การเข้าสู่ตำแหน่งอำนาจตามกติกาของระบบการเมือง และระบบการเมืองนั้นก็เป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ในสังคม แต่ที่สำคัญผู้ใช้อำนาจรัฐจะต้องมีผลงานในการแก้ปัญหา ในการใช้ทรัพยากรอย่างมีเหตุมีผล เพื่อการพัฒนาสังคมให้เกิดประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งมีประสิทธิภาพประสิทธิผลในการใช้ทรัพยากร เมื่อเป็นเช่นนี้การรับคนเข้ามาทำงานในองค์กรที่เป็นภาครัฐก็ดี ในภาคการเมืองก็ดี จะต้องมุ่งเน้นที่คุณสมบัติคือความรู้ความสามารถ หรือที่เรียกว่าระบบคุณธรรม คือการปกครองบ้านเมืองโดยใช้ระบบคุณธรรม หรือคนที่มีความรู้เป็นหลัก (meritocracy)
ประการที่สาม ภายใต้สังคมการเมืองดังกล่าวนั้นจะต้องมีความยุติธรรมเกิดขึ้นในสังคม ที่สำคัญที่สุดเมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้นจะต้องมีกระบวนการยุติธรรมที่ดำเนินตามหลักสากล ทำให้ผู้เสียหายได้รับการชดเชยอย่างเป็นธรรม นอกจากนั้นความยุติธรรมในสังคมยังหมายถึงการมีระบบการแจกแจงรายได้ที่เป็นธรรมและสมเหตุสมผล ไม่ปล่อยให้เกิดความเหลื่อมล้ำโดยมีช่องว่างระหว่างคนรวยคนจนมากเกินไป นอกเหนือจากนี้การใช้งบประมาณจะต้องเป็นไปตามหลักวิชาการและยุติธรรม ไม่กระจุกอยู่เพียงส่วนใดส่วนหนึ่งของประเทศจนทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาระหว่างภูมิภาคต่างๆ และนี่คือสังคมการเมืองที่พึงประสงค์
ประการที่สี่ สังคมการเมืองที่พึงประสงค์นั้นผู้นำจะต้องมีจริยธรรม แต่ถ้าจะให้ดีกว่านั้นจะต้องมีอุดมการณ์ที่เสียสละเพื่อชาติและสังคม ไม่มุ่งเน้นผลประโยชน์ส่วนตัว ละอายต่อการกระทำผิดกฎหมาย ไม่ลุแก่อำนาจ ไม่ฉ้อราษฎร์บังหลวง ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาประเทศเพื่อประโยชน์ของส่วนต่างๆ ในประเทศชาติ ไม่ใช่มุ่งเน้นเฉพาะพื้นที่ที่ตนต้องการคะแนนเสียงจากการเลือกตั้ง ผู้นำต้องมีจริยธรรม ศีลธรรม และเป็นแบบอย่างของผู้ปกครองบริหารที่ดี
ประการที่ห้า ประชาชนในสังคมการเมืองนั้นต้องมีโอกาสในการมีส่วนร่วมทางการเมือง อาจจะเรียกอย่างหลวมๆ โดยศัพท์ที่แต่งขึ้นมาใหม่ว่าจะต้องมีประชาธรรม กล่าวคือ ส่วนที่ประชาชนจะมีบทบาทในการเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางการเมืองและการตัดสินนโยบาย คำว่าประชาธรรมนี้อาจจะมีความหมายที่แตกต่างจากการใช้โดยทั่วๆ ไป เฉพาะในที่นี้ประชาธรรมหมายถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการทางการเมืองและการพัฒนาสังคม
สังคมการเมืองที่กล่าวมานี้ไม่ใช่ของใหม่ แต่ขณะเดียวกันก็อาจจะเป็นการสรุปให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น โดยจะต้องมีคุณลักษณะ 5 ประการ คือ 1) นิติธรรม 2) ความชอบธรรมและคุณธรรม 3) ความยุติธรรม 4) จริยธรรม 5) ประชาธรรม อย่างไรก็ตาม ความพยายามจะพัฒนาสังคมการเมืองที่พึงประสงค์ดังกล่าวนี้ มนุษย์ได้มีความพยายามมาแล้วเป็นพันๆ ปี บางสังคมก็ประสบความสำเร็จ บางสังคมก็ล้มเหลว แต่ตราบเท่าที่มนุษย์ยังต้องการชีวิตที่ดีกว่า ความพยายามที่จะสถาปนาสังคมการเมืองที่พึงประสงค์คงจะดำเนินต่อไป แต่ที่น่าเสียดายคือ บางครั้งการพยายามสถาปนาสังคมการเมืองที่พึงประสงค์อาจจะต้องแลกเปลี่ยนด้วยชีวิตและเลือดเนื้อ เช่น การปฏิวัติที่เกิดขึ้นในหลายสังคมในประวัติศาสตร์มนุษยชาติซึ่งเกิดขึ้นหลายครั้ง ประเทศที่ประสบความสำเร็จก็คือประเทศที่มีสังคมการเมืองที่มีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้ใช้อำนาจรัฐมีการกำหนดแน่นอน กล่าวคือ มีกระบวนการสืบทอดอำนาจที่มีการจัดตั้งเป็นสถาบัน เช่น โดยกระทำทุกๆ สี่ปี เป็นต้น
และขณะเดียวกันสังคมนั้นก็มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ 5 ประการที่กล่าวมาเบื้องต้น แต่ข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้คือในโลกนี้ยังมีอยู่หลายประเทศที่กระบวนการพัฒนาสังคมการเมืองที่ดีที่สุดยังไม่เกิดขึ้น และอาจจะต้องใช้เวลาอีกนานจนกว่าจะมีสังคมการเมืองที่สมบูรณ์กว่าที่เป็นอยู่ โดยตัวแปรที่สำคัญ 3 ตัวแปรที่จะมีบทบาทอย่างมากในส่วนนี้ นั่นคือ
1. ความเจริญและการพัฒนาในด้านต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และความเจริญดังกล่าวแผ่ไปทั่วทั้งหน่วยการเมืองนั้น
2. ระบบการศึกษา ซึ่งจะต้องเป็นระบบการศึกษาที่ทำให้คนคิดวิเคราะห์เป็น และเป็นตัวของตัวเองในการใช้เหตุใช้ผล สามารถเรียนรู้และสามารถสร้างความรู้จากข้อมูล การวิจัย และการวิเคราะห์ได้ด้วยตนเอง
3. วัฒนธรรมของสังคมนั้นจะต้องเป็นวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับยุคสมัย มีเหตุมีผล มีตรรกที่เป็นวิทยาศาสตร์ ไม่หลงงมงาย และมีความศรัทธาต่อสังคมการเมืองที่ดีโดยมีคุณลักษณะ 5 ประการดังกล่าวมาแล้ว
แต่ในความเป็นจริงเป็นความยากเย็นอย่างยิ่งที่มนุษย์สามารถจะหลีกหนีจากสังคมการเมือง เนื่องจากการคมนาคมและการสื่อสารที่เกิดขึ้นโดยสะดวกและรวดเร็ว จนแทบจะกล่าวได้ว่าไม่มีแผ่นดินใดที่สามารถจะปลอดจากอำนาจรัฐได้ นอกจากอยู่ในป่าสูงหรือเขตที่มีอันตรายจากการยึดอำนาจโดยกลุ่มการเมืองพิเศษ เช่น เขตปลดปล่อย หรือในบางส่วนของโลกเป็นเขตที่ไม่มีใครมีอำนาจควบคุม ที่เรียกว่า No man’s land
ในกรณีของผู้ซึ่งอยู่ในสังคมการเมืองนั้นก็มีความพยายามตั้งแต่สมัยโบราณที่จะมองหาระบบการเมืองการปกครองที่ดีที่สุด ที่พึงประสงค์ที่สุด นักปราชญ์ต่างถกเถียงกันถึงระบบที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ และสรุปได้ว่าระบบที่เลวน้อยที่สุดคือระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย แต่ก็มีการเถียงว่าในหลายๆ ด้าน ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้นไม่เอื้ออำนวยประโยชน์ที่แท้จริง เนื่องจากคนกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่งใช้อำนาจเงินในการเข้าสู่อำนาจรัฐ ฉ้อราษฎร์บังหลวง รังแกประชาชน ใช้ความรู้ข่าวสารและความฉลาดทำให้ระบบที่มาจากประชาชนกลายเป็นระบบที่อำนวยประโยชน์ส่วนตัวและพรรคพวก ที่สำคัญคือ ทำให้ระบบการเมืองกลายเป็นระบบธุรกิจการเมือง ทำมาหากินเพื่อประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม ขณะเดียวกันระบบเผด็จการที่ประชาชนไม่มีสิทธิเสรีภาพและการใช้อำนาจที่ไม่มีระบบควบคุม ยิ่งจะก่อปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน แม้กระทั่งกรณีที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ และจำเป็นต้องมีการช่วยเหลือจากต่างชาติก็ยังมีการกีดกันซึ่งก็เป็นที่ทราบกันอยู่
ระบบการเมืองการปกครองที่พึงประสงค์จะต้องมีคุณลักษณะ 5 ประการดังต่อไปนี้ คือ
ประการแรก ระบบนั้นจะต้องเป็นระบบที่ใช้หลักกฎหมายในการปกครองบริหาร เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและเป็นธรรม ที่เรียกว่า หลักนิติธรรม (the rule of law) สังคมใดก็ตามที่ไม่ใช้หลักนิติธรรมในการปกครองบริหารก็จะกลายเป็นหลักที่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ ที่เรียกว่า หลักนิติกลวิธี (the rule by law) และบางครั้งเมื่อไม่มีกฎหมายก็ใช้การวินิจฉัยตามอำเภอใจ ก็จะเป็นการปกครองโดยใช้คนเป็นหลัก (the rule by men) ซึ่งไม่สามารถมีความคงเส้นคงวา มีความเที่ยงตรงได้ นิติรัฐหรือหลักนิติธรรมจึงเป็นคุณสมบัติข้อที่หนึ่งของสังคมการเมืองที่พึงประสงค์
ประการที่สอง ระบบการเมืองรวมทั้งผู้ดำรงตำแหน่งการเมือง อันได้แก่ผู้ใช้อำนาจรัฐจะต้องเป็นผู้ที่มีความชอบธรรมทางการเมือง (political legitimacy) ซึ่งได้แก่การเข้าสู่ตำแหน่งอำนาจตามกติกาของระบบการเมือง และระบบการเมืองนั้นก็เป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ในสังคม แต่ที่สำคัญผู้ใช้อำนาจรัฐจะต้องมีผลงานในการแก้ปัญหา ในการใช้ทรัพยากรอย่างมีเหตุมีผล เพื่อการพัฒนาสังคมให้เกิดประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งมีประสิทธิภาพประสิทธิผลในการใช้ทรัพยากร เมื่อเป็นเช่นนี้การรับคนเข้ามาทำงานในองค์กรที่เป็นภาครัฐก็ดี ในภาคการเมืองก็ดี จะต้องมุ่งเน้นที่คุณสมบัติคือความรู้ความสามารถ หรือที่เรียกว่าระบบคุณธรรม คือการปกครองบ้านเมืองโดยใช้ระบบคุณธรรม หรือคนที่มีความรู้เป็นหลัก (meritocracy)
ประการที่สาม ภายใต้สังคมการเมืองดังกล่าวนั้นจะต้องมีความยุติธรรมเกิดขึ้นในสังคม ที่สำคัญที่สุดเมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้นจะต้องมีกระบวนการยุติธรรมที่ดำเนินตามหลักสากล ทำให้ผู้เสียหายได้รับการชดเชยอย่างเป็นธรรม นอกจากนั้นความยุติธรรมในสังคมยังหมายถึงการมีระบบการแจกแจงรายได้ที่เป็นธรรมและสมเหตุสมผล ไม่ปล่อยให้เกิดความเหลื่อมล้ำโดยมีช่องว่างระหว่างคนรวยคนจนมากเกินไป นอกเหนือจากนี้การใช้งบประมาณจะต้องเป็นไปตามหลักวิชาการและยุติธรรม ไม่กระจุกอยู่เพียงส่วนใดส่วนหนึ่งของประเทศจนทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาระหว่างภูมิภาคต่างๆ และนี่คือสังคมการเมืองที่พึงประสงค์
ประการที่สี่ สังคมการเมืองที่พึงประสงค์นั้นผู้นำจะต้องมีจริยธรรม แต่ถ้าจะให้ดีกว่านั้นจะต้องมีอุดมการณ์ที่เสียสละเพื่อชาติและสังคม ไม่มุ่งเน้นผลประโยชน์ส่วนตัว ละอายต่อการกระทำผิดกฎหมาย ไม่ลุแก่อำนาจ ไม่ฉ้อราษฎร์บังหลวง ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาประเทศเพื่อประโยชน์ของส่วนต่างๆ ในประเทศชาติ ไม่ใช่มุ่งเน้นเฉพาะพื้นที่ที่ตนต้องการคะแนนเสียงจากการเลือกตั้ง ผู้นำต้องมีจริยธรรม ศีลธรรม และเป็นแบบอย่างของผู้ปกครองบริหารที่ดี
ประการที่ห้า ประชาชนในสังคมการเมืองนั้นต้องมีโอกาสในการมีส่วนร่วมทางการเมือง อาจจะเรียกอย่างหลวมๆ โดยศัพท์ที่แต่งขึ้นมาใหม่ว่าจะต้องมีประชาธรรม กล่าวคือ ส่วนที่ประชาชนจะมีบทบาทในการเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางการเมืองและการตัดสินนโยบาย คำว่าประชาธรรมนี้อาจจะมีความหมายที่แตกต่างจากการใช้โดยทั่วๆ ไป เฉพาะในที่นี้ประชาธรรมหมายถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการทางการเมืองและการพัฒนาสังคม
สังคมการเมืองที่กล่าวมานี้ไม่ใช่ของใหม่ แต่ขณะเดียวกันก็อาจจะเป็นการสรุปให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น โดยจะต้องมีคุณลักษณะ 5 ประการ คือ 1) นิติธรรม 2) ความชอบธรรมและคุณธรรม 3) ความยุติธรรม 4) จริยธรรม 5) ประชาธรรม อย่างไรก็ตาม ความพยายามจะพัฒนาสังคมการเมืองที่พึงประสงค์ดังกล่าวนี้ มนุษย์ได้มีความพยายามมาแล้วเป็นพันๆ ปี บางสังคมก็ประสบความสำเร็จ บางสังคมก็ล้มเหลว แต่ตราบเท่าที่มนุษย์ยังต้องการชีวิตที่ดีกว่า ความพยายามที่จะสถาปนาสังคมการเมืองที่พึงประสงค์คงจะดำเนินต่อไป แต่ที่น่าเสียดายคือ บางครั้งการพยายามสถาปนาสังคมการเมืองที่พึงประสงค์อาจจะต้องแลกเปลี่ยนด้วยชีวิตและเลือดเนื้อ เช่น การปฏิวัติที่เกิดขึ้นในหลายสังคมในประวัติศาสตร์มนุษยชาติซึ่งเกิดขึ้นหลายครั้ง ประเทศที่ประสบความสำเร็จก็คือประเทศที่มีสังคมการเมืองที่มีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้ใช้อำนาจรัฐมีการกำหนดแน่นอน กล่าวคือ มีกระบวนการสืบทอดอำนาจที่มีการจัดตั้งเป็นสถาบัน เช่น โดยกระทำทุกๆ สี่ปี เป็นต้น
และขณะเดียวกันสังคมนั้นก็มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ 5 ประการที่กล่าวมาเบื้องต้น แต่ข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้คือในโลกนี้ยังมีอยู่หลายประเทศที่กระบวนการพัฒนาสังคมการเมืองที่ดีที่สุดยังไม่เกิดขึ้น และอาจจะต้องใช้เวลาอีกนานจนกว่าจะมีสังคมการเมืองที่สมบูรณ์กว่าที่เป็นอยู่ โดยตัวแปรที่สำคัญ 3 ตัวแปรที่จะมีบทบาทอย่างมากในส่วนนี้ นั่นคือ
1. ความเจริญและการพัฒนาในด้านต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และความเจริญดังกล่าวแผ่ไปทั่วทั้งหน่วยการเมืองนั้น
2. ระบบการศึกษา ซึ่งจะต้องเป็นระบบการศึกษาที่ทำให้คนคิดวิเคราะห์เป็น และเป็นตัวของตัวเองในการใช้เหตุใช้ผล สามารถเรียนรู้และสามารถสร้างความรู้จากข้อมูล การวิจัย และการวิเคราะห์ได้ด้วยตนเอง
3. วัฒนธรรมของสังคมนั้นจะต้องเป็นวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับยุคสมัย มีเหตุมีผล มีตรรกที่เป็นวิทยาศาสตร์ ไม่หลงงมงาย และมีความศรัทธาต่อสังคมการเมืองที่ดีโดยมีคุณลักษณะ 5 ประการดังกล่าวมาแล้ว