ผู้จัดการรายวัน - "นพดล"ก้มหน้ารับคำสั่งศาลปกครอง เรียกทูตเขมรแจงคำสั่งศาลห้ามนำแถลงการณ์ร่วมฯ ไปเป็นใบรับรองว่าไทยหนุนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก พร้อมเตรียมเดินทางเคลียร์ กก.มรดกโลก "ปองพล" เชื่อคำสั่งศาลปกครอง มีผลต่อการพิจารณาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหาร ยันไทยยื่นขอจดทะเบียนร่วมได้ ส่วน ส.ว.ปลื้ม หลังยูเนสโก กรุงเทพฯ รับลูก ส.ว.ส่งข้อมูลเข้าสู่ที่ประชุมมรดกโลก แถมแนะไทยเสนอตัวเป็นผู้สังเกตการณ์ให้ข้อมูล กก.ตัดสินโดยตรง ด้าน"ประสพสุข-ชัย" ส่งศาล รธน.วินิจฉัยแถลงการณ์ร่วมฯ เข้าข่ายขัด รธน.มาตรา 190 หรือไม่ ปชป.ลับมีดรอหากตีความว่าขัด รธน. "นพดล"เจอถอดถอนแน่
นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ แถลงว่า วันเดียวกันนี้ (2 ก.ค.) ได้เชิญ นายอึง เซียน เอกอัครราชทูตกัมพูชา ประจำประเทศไทย มารับหนังสือชี้แจงกรณี ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ยุติการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ในการสนับสนุนให้มีการจดทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก
นอกจากนี้ยังส่งหนังสือแจ้งไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งยูเนสโกและคณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศ รวมทั้งนายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงออตตาวา และหัวหน้าคณะของฝ่ายไทยที่จะเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ทั้งทางจดหมาย โทรสาร และโทรเลข ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงฯ ได้ปฏิบัติตามมติ ครม.มาตลอดและไม่มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงมติ ครม. ทั้งในอดีต และปัจจุบัน
นายนพดล กล่าวว่า ขณะนี้ได้ส่งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของสถานเอกอัครราชทูตกัมพูชา ในไทยตามคำร้องขอของ สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาแล้ว ซึ่งฝ่ายกัมพูชาก็ได้ให้การคุ้มครองดูแลสถานเอกอัครราชทูตไทย ในพนมเปญ เช่นเดียวกัน โดยหวังว่า เรื่องนี้จะไม่ส่งผลกระทบความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-กัมพูชา
***"นพดล"นำทีมร่วมประชุมกก.มรดกโลก
นายนพดล ยืนยันว่า ภายในสัปดาห์นี้ ตนจะเดินทางร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา พร้อมกับเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร เจ้ากรมแผนที่ทหาร นายมนัสพาสน์ ชูโต คณะทำงานพิเศษว่าด้วยการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก อธิบดีกรมสนธิสัญญา และอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ จะร่วมคณะไปประชุม ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก จะหยิบยกกรณีปราสาทพระวิหาร เป็นวาระที่ 8 B ในวันที่ 6 หรือ 7 กรกฏาคมนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในการเดินทางไปร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งนี้ ท่าทีของไทยเป็นอย่างไร นายนพดลกล่าวว่า ไทยไม่สามารถที่จะสนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกได้ตามแถลงการณ์ที่เคยมีร่วมกัน เนื่องจากไทยต้องเคารพคำสั่งศาลปกครองกลาง ส่วนตนเองและ ครม.จะนำคำสั่งศาลปกครองกลาง ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดหรือไม่นั้น ในขณะนี้ยังไม่ได้ตัดสินใจ เนื่องจากยังมีเวลาให้ยื่นอุทรณ์ภายใน 30 วัน โดยกระทรวงจะพยายาม คลี่คลายเรื่องเฉพาะหน้าก่อน โดยเฉพาะ การทำหน้าที่ไปร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลกอย่างเต็มที่เพื่อประเทศ
***เชื่อคำสั่งศาลมีผลต่อกก.มรดกโลก
นายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก กล่าวถึงในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 32 ที่เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา ซึ่งนายปองพล จะเป็นตัวแทนของประเทศไทยเข้าร่วมสังเกตุการประชุมด้วย กล่าวว่าหลังศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามนำมติ ครม.รับรองแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกไปใช้ เรื่องนี้กระทรวงการต่างประเทศน่าจะแจ้งไปยังคณะกรรมการมรดกโลกแล้ว ส่วนคณะเดินทางที่จะไปร่วมประชุมนั้น ยังไม่ชัดเจนว่านายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ จะเดินทางไปด้วยหรือไม่
ส่วนคำสั่งศาลปกครองมีผลอย่างไรกับการพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลกนั้น นายปองพล กล่าวว่า น่าจะมีผล เพราะทุกประเทศเชื่อในคำสั่งศาล ตอนนี้เป็นภาระของคณะกรรมการมรดกโลกต้องพิจารณา จะเห็นได้ว่าเรื่องที่ คณะกรรมการมรดกโลกต้องพิจารณาครั้งนี้มีทั้งหมด 47 เรื่อง มี 19 เรื่องเห็นชอบแล้ว และปราสาทพระวิหารเป็นเรื่องหนึ่งที่เห็นชอบ โดยมีเงื่อนไขต้องได้รับความยินยอมจากฝ่ายไทย
ผู้สื่อข่าวถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่คณะกรรมการมรดกโลกจะเลื่อนการพิจารณา ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารออกไปก่อน นายปองพล กล่าวว่า เป็นไปได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับคณะกรรมการมรดกโลก เพราะมีหลักเกณฑ์การพิจารณาอยู่ ซึ่งเรามีจุดยืนว่าน่าจะเสนอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกันกับกัมพูชา เพื่อความสมบูรณ์
ส่วนหากกัมพูชายืนยันที่จะขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจะทำอย่างไร นายปองพล กล่าวว่า เป็นเรื่องของคณะกรรมการมรดกโลกที่จะพิจารณา โดยดูจากความสมบูรณ์ของสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อถามว่า ไทยสามารถยื่นขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกได้หรือไม่ เพราะมีมติ ครม.พ.ศ. 2505 นายปองพล กล่าวว่า เรื่องมรดกโลกไม่ควรเกี่ยวกับดินแดน เป็นเรื่องความสมบูรณ์และความเป็นของแท้ มีมรดกโลกหลายแห่งที่มี 2 ประเทศเป็นเจ้าของร่วมกัน
***ส.ว.ปลื้มหนังสือค้านถึงกก.มรดกโลก
ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต ส.ว.สรรหา ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ การต่างประเทศ วุฒิสภา แถลงว่า จากการที่ 44 ส.ว.ได้ยื่นขอให้คณะกรรมการยูเนสโก ประจำประเทศไทยชะลอการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก นั้นขณะนี้ ทางยูเนสโกได้ตอบหนังสือกลับมายังคณะ ส.ว. ว่า ยูเนสโกไม่มีอำนาจในการตัดสินใจขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก เพราะเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการจดทะเบียนมรดกโลก แต่ก็ได้มีคำแนะนำว่า ถ้าประเทศไทยเห็นว่า เรื่องนี้ไม่สมบูรณ์และจะแก้ไขข้อมูลก็ทำได้ในฐานะของผู้สังเกตการณ์ จึงถือว่า เป็นเรื่องที่คณะกรรมการมรดกโลกของไทย ที่มีนายปองพล อดิเรกสาร เป็นประธานจะไปดำเนินการ ซึ่งคงจะดำเนินการได้ดี เพราะโดยส่วนตัวรู้สึกไว้วางใจ แม้นายปองพล จะเป็นหนึ่งในสมาชิกบ้านที่เลขที่ 111 แต่จากที่สัมผัสนายปองพลก็เป็นคนรักวัฒนธรรมไทยและเป็นแนวความคิดในแนวทางเดียวกันคือ ต้องขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกร่วมกัน
ม.ร.ว.ปรียนันทนา กล่าวว่า ทางยูเนสโกกรุงเทพฯจะนำหนังสือที่ทาง ส.ว. ได้ยื่นไปส่งให้ทางคณะกรรมการจดทะเบียนมรดกโลกที่กำลังประชุมที่เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา ประกอบการพิจาณาด้วย ขณะนี้ก็อุ่นใจได้ว่า การขอขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกได้มีการนำเสนอถึงคณะกรรมการจดทะเบียนมรดกโลกแล้ว
อย่างไรก็ตามรัฐบาลไม่ควรอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองอีกต่อไป และกระทรวงการต่างประเทศต้องทำตามมติ ครม.และต้องชี้แจงให้ประชาชนรับทราบ ถึงการดำเนินการทุกขึ้นตอนไม่ใช่ทำเงียบๆ อย่างที่ผ่านมา รวมทั้งรัฐบาลเอง ควรแสดงความจริงใจและเปิดเผยการดำเนินการทุกอย่างให้ประชาชนรับทราบด้วย
ส่วนข้อเสนอนักวิชาการอิสระที่ให้ประเทศไทยถอนจากการเป็นสมาชิกยูเนสโก และการเป็นคณะกรรมการมรดกโลกนั้น ส่วนตัวไม่เห็นด้วย เพราะไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ แต่จะทำให้ทางกัมพูชาดำเนินการได้ตามสบาย ดังนั้นประเทศไทย ควรเป็นสมาชิกต่อไปแต่ต้องดำเนินการตามคำแนะนำของสมาชิกหลายฝ่าย
***"ประสพสุข-ชัย"ยื่นศาลรธน.ตีความแล้ว
นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงความคืบหน้าในการส่งเรื่อง 77 ส.ว.เข้าชื่อขอให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความมติค.ร.ม. ให้ความเห็นชอบ นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ ลงนามในแถลงการณ์ร่วมกับกัมพูชาเพื่อขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 หรือไม ่ว่าว่า ตนได้ลงนามและส่งเรื่องดังกล่าวไปยังศาลรัฐธรรมนูญแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 1ก.ค. เบื้องต้นคาดว่าศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณา เรื่องดังกล่าวโดยเร็วเพื่อให้ได้ข้อยุติว่ามติ ครม.ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ และเพื่อไม่ให้เรื่องคาราคาซัง
"เชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญท่านน่าจะมีช่องทางด่วน fast track ในการพิจารณา เรื่องนี้ เมื่อผมเป็นศาลก็รู้เรื่องดีว่าเรื่องใดเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งพิจารณา แต่เราคงไม่ชี้นำศาลไมได้ว่าจะต้องพิจารณาให้เสร็จเมื่อไหร่"
ด้าน นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา กล่าวเช่นกันว่า ตนได้ลงนามเรื่องที่ พรรคประชาธิปัตย์ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ ตีความมติ ครม.ที่เห็นชอบใน แถลงการณ์ร่วมให้กัมพูชานำไปเป็นหลักฐานในการเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 หรือไม่แล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ก.ค.เวลา 16.00 น. คาดว่าขณะนี้หนังสืออยู่ระหว่างขั้นตอนการส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ
***ปชป.รอดูศาลรธน.ก่อนยื่นถอดถอน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าหลังจาก ครม.มีมติรับทราบคำสั่งศาลปกครองกลางที่มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวมติ ครม.เกี่ยวกับแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาที่รับรองให้กัมพูชา นำไปเป็นใบรับรองขอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารแล้ว ในส่วนของไทยต้องทำ เท่าที่จะทำได้ โดยรัฐบาลต้องแจ้งคำวินิจฉัยของศาลปกครองพร้อมมติ ครม.ไปให้กัมพูชาและคณะกรรมการมรดกโลกของยูเนสโกให้รับทราบ ขณะเดียวกันก็ต้องเดิน ไปตามกระบวนการ ซึ่งเราหวังว่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นทั้งในส่วนของศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ โดยในส่วนของฝ่ายค้านจะรอดูท่าทีของศาลปกครองสูงสุดที่รัฐบาลจะอุทธรณ์คำสั่ง และต้องดูศาลรัฐธรรมนูญก่อนว่าคำวินิจฉัยจะออกมาอย่างไร ซึ่งจะชัดเจนว่าสิ่งที่นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศไปดำเนินการนั้น เป็นพฤติกรรมที่เข้าข่ายการยื่นถอดถอน หรือไม่ หากเข้าข่ายก็จะต้องดำเนินการ
ส่วนที่รัฐบาลกัมพูชาไม่พอใจและมองว่าฝ่ายค้านของไทยนำเรื่องเขาพระวิหารมาเป็นประเด็นการเมืองนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะกัมพูชา ก็ถูกตรวจสอบจากการเมืองภายในของกัมพูชาเช่นกัน แต่ฝ่ายค้านได้แสดงท่าทีที่ชัดเจนแล้ว และสิ่งที่ดำเนินการทั้งหมดถือเป็นสิทธิและหน้าที่ ซึ่งไม่มีเจตนาอะไรที่จะไปกระทบกับความสัมพันธ์ของสองประเทศ เพราะฝ่ายค้านไม่ได้ตำหนิอะไรรัฐบาลกัมพูชา ขณะเดียวกันเราก็เห็นถึงคุณค่าของการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่มุมมองของเราคือ การขึ้นทะเบียนให้สมกับเจตนารมณ์ของ การเป็นมรดกโลก คือการได้รับความสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากประชาชนทั้งสองประเทศ และเชื่อว่าไม่มีปัญหา สามารถทำความเข้าใจได้
***บัวแก้วติดใจอำนาจหน้าที่ศาลปค.
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการอุทธรณ์ ต่อศาลปกครองสูงสุกกรณีแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาเกี่ยวกับปราสาทเขาพระวิหารว่า ได้ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาไปดูข้อกฎหมายหากอุทธรณ์จะอุทธรณ์ประเด็นอย่างไรหรือไม่ แต่ความตั้งใจเดิมของกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อสอบถามไปเขาติดใจเรื่องประเด็นอำนาจหน้าที่ของศาลปกครองกลาง
ผู้สื่อข่าวถามว่า สามารถยกคำสั่งศาลสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรีมาเป็นกรณีเทียบเคียงได้หรือไม่ในเรื่อง เจเทปปา นายชูศักดิ์ กล่าวว่า เขาดูประเด็นเหล่านั้นแบบที่นักวิชาการตั้งข้อสังเกต โดยดูว่าจริงๆแล้ว ศาลปกครองมีอำนาจหรือไม่ ซึ่งมติครม.ไม่ได้ปิดทางเรื่องการอุทธรณ์ เพียงแต่ มอบให้กฤษฎีกาไปพิจารณาและนำมาเสนอแนะว่าจะต้องทำอย่างไร ซึ่งกฤษฎีกา เคยมีแนวกรณีศาลปกครองยกเลิกการแปรรูปการไฟฟ้า และเข้าใจว่ามีเวลา 30 วัน ท้ายที่สุดกระทรวงการต่างประเทศก็จะตัดสินใจว่าจะอุทธรณ์หรือไม่อย่างไร
ผู้สื่อข่าวถามว่านอกจากรอความเห็นจากกฤษฎิกาแล้ว รัฐบาลจะส่งเรื่องให้ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือไม่ว่าแถลงการณ์ร่วมขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 หรือไม่ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ความจริงฝ่ายค้านก็ได้ส่งเรื่องไปแล้ว แต่ครม.ก็สามารถจะมีมติว่าควรจะส่งให้ตีความได้หรือไม่ หากเห็นว่ามีข้อขัดแย้งในปัญหาการกระทำตามอำนาจหน้าที่ก็ส่งไป ซึ่งคาดว่าสัปดาห์หน้า ครม.จะมีความชัดเจนทั้ง 2เรื่อง โดยต้องดูความเห็นจากกฤษฎิกา จากนั้นค่อยดูรายละเอียดว่าจะทำอย่างไร
***หนังสือระงับแถลงการณ์ส่งถึงเขมรแล้ว
ด้านนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกฯและรมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า เวลานี้หนังสือระงับการใช้แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาได้ไปถึงกัมพูชาแล้วรวมทั้งหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทางกระทรวงการต่างประเทศได้ส่งแฟกซ์ให้ดูว่าส่งไปหมดแล้ว โดยข้อความเป็นไปตามมติ ครม.ไม่สามารถชี้แจงรายละเอียดได้มากกว่านี้ เนื่องจากเป็นภาษาอังกฤษยาวอาจผิดพลาด ลำบาก เรายอมรับอะไรที่เราไม่รู้ก็บอกไม่รู้ ตนไม่เก่งเพราะไม่ได้เรียนต่างประเทศ ซึ่งก็เป็นอุปสรรคบ้างเวลาทักทายก็ทักทายเป็นภาษาอังกฤษ แต่พอเข้าเรื่องก็ใช้ล่าม เราไม่อวดดีในสิ่งที่เราไม่รู้
***กองทัพยันไม่มีผลกระทบชายแดน
พล.ท. ประยุทธ์ จันทร์โอชา แม่ทัพภาคที่ 1 กล่าวว่า ความรับผิดชอบในส่วน พื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชาของกองทัพภาคที่ 1 ตรวจสอบแล้วไม่มีปัญหาใด ซึ่งได้ประสานกับหน่วยงานและกองกำลังบูรพาอย่างต่อเนื่อง ยืนยันว่าไม่มีผลกระทบใดแต่ขอ ให้ประชาชนติดตามสถานการณ์ ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่าไม่ว่าทหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จะพยายามทำให้ดีที่สุด เพราะทุกคนรักชาติบ้านเมืองเหมือนกัน โดยเฉพาะทหาร มีหน้าที่ปกป้องไม่ให้เสียดินแดนเป็นของใคร ซึ่งต้องเชื่อฟังคณะกรรมการที่ดำเนินการปัจจุบัน ซึ่งน่าจะมีทางออก
ส่วนการปักปันเขตแดนพื้นที่อื่นจะมีปัญหาเช่นนี้หรือไม่นั้น พล.ท.ประยุทธ์ กล่าวว่า คงไม่มี แต่ปัญหาเขตแดนมีต่อเนื่อง ทหารมีหน้าที่รักษาเขตแดน ซึ่งมีการเจรจากันตลอด และใช้ข้อตกลงสัญญาตั้งแต่รัฐบาลที่ผ่านมา ซึ่งยึดถือว่า พื้นที่ใดเป็นพื้นที่ทับซ้อน ต่างคนต่างถือแผ่นที่คนละฉบับ ทั้งสองฝ่ายจะไม่ทำการ เปลี่ยนแปลงในพื้นที่ของใคร คือ เราต้องรักษากติกาที่มีอยู่
"กรณีเขาพระวิหารถือเป็นบทเรียนที่อยู่ในความสนใจของประชาชน ต้องหารือ เรื่องนี้ต่อไป อยากให้ทุกคนเคารพกติกาและกฎหมายของบ้านเมืองที่มีอยู่ แต่ยังไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นอย่างไรในขณะนี้ แต่ในฐานะทหารเราคงไม่ยอม ให้เสียดินแดนโดยเด็ดขาด ซึ่งเขาพระวิหารอยู่ในพื้นที่กองทัพภาคที่ 2 ทั้งนี้ เรื่อง เขาพระวิหารคงเกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนให้เป็นมรดกโลก การท่องเที่ยว และเรื่องการเมือง ทำให้เกิดความสับสนพอสมควร อยากให้ประชาชนแยกแยะ"
นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ แถลงว่า วันเดียวกันนี้ (2 ก.ค.) ได้เชิญ นายอึง เซียน เอกอัครราชทูตกัมพูชา ประจำประเทศไทย มารับหนังสือชี้แจงกรณี ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ยุติการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ในการสนับสนุนให้มีการจดทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก
นอกจากนี้ยังส่งหนังสือแจ้งไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งยูเนสโกและคณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศ รวมทั้งนายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงออตตาวา และหัวหน้าคณะของฝ่ายไทยที่จะเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ทั้งทางจดหมาย โทรสาร และโทรเลข ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงฯ ได้ปฏิบัติตามมติ ครม.มาตลอดและไม่มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงมติ ครม. ทั้งในอดีต และปัจจุบัน
นายนพดล กล่าวว่า ขณะนี้ได้ส่งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของสถานเอกอัครราชทูตกัมพูชา ในไทยตามคำร้องขอของ สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาแล้ว ซึ่งฝ่ายกัมพูชาก็ได้ให้การคุ้มครองดูแลสถานเอกอัครราชทูตไทย ในพนมเปญ เช่นเดียวกัน โดยหวังว่า เรื่องนี้จะไม่ส่งผลกระทบความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-กัมพูชา
***"นพดล"นำทีมร่วมประชุมกก.มรดกโลก
นายนพดล ยืนยันว่า ภายในสัปดาห์นี้ ตนจะเดินทางร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา พร้อมกับเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร เจ้ากรมแผนที่ทหาร นายมนัสพาสน์ ชูโต คณะทำงานพิเศษว่าด้วยการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก อธิบดีกรมสนธิสัญญา และอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ จะร่วมคณะไปประชุม ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก จะหยิบยกกรณีปราสาทพระวิหาร เป็นวาระที่ 8 B ในวันที่ 6 หรือ 7 กรกฏาคมนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในการเดินทางไปร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งนี้ ท่าทีของไทยเป็นอย่างไร นายนพดลกล่าวว่า ไทยไม่สามารถที่จะสนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกได้ตามแถลงการณ์ที่เคยมีร่วมกัน เนื่องจากไทยต้องเคารพคำสั่งศาลปกครองกลาง ส่วนตนเองและ ครม.จะนำคำสั่งศาลปกครองกลาง ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดหรือไม่นั้น ในขณะนี้ยังไม่ได้ตัดสินใจ เนื่องจากยังมีเวลาให้ยื่นอุทรณ์ภายใน 30 วัน โดยกระทรวงจะพยายาม คลี่คลายเรื่องเฉพาะหน้าก่อน โดยเฉพาะ การทำหน้าที่ไปร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลกอย่างเต็มที่เพื่อประเทศ
***เชื่อคำสั่งศาลมีผลต่อกก.มรดกโลก
นายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก กล่าวถึงในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 32 ที่เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา ซึ่งนายปองพล จะเป็นตัวแทนของประเทศไทยเข้าร่วมสังเกตุการประชุมด้วย กล่าวว่าหลังศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามนำมติ ครม.รับรองแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกไปใช้ เรื่องนี้กระทรวงการต่างประเทศน่าจะแจ้งไปยังคณะกรรมการมรดกโลกแล้ว ส่วนคณะเดินทางที่จะไปร่วมประชุมนั้น ยังไม่ชัดเจนว่านายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ จะเดินทางไปด้วยหรือไม่
ส่วนคำสั่งศาลปกครองมีผลอย่างไรกับการพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลกนั้น นายปองพล กล่าวว่า น่าจะมีผล เพราะทุกประเทศเชื่อในคำสั่งศาล ตอนนี้เป็นภาระของคณะกรรมการมรดกโลกต้องพิจารณา จะเห็นได้ว่าเรื่องที่ คณะกรรมการมรดกโลกต้องพิจารณาครั้งนี้มีทั้งหมด 47 เรื่อง มี 19 เรื่องเห็นชอบแล้ว และปราสาทพระวิหารเป็นเรื่องหนึ่งที่เห็นชอบ โดยมีเงื่อนไขต้องได้รับความยินยอมจากฝ่ายไทย
ผู้สื่อข่าวถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่คณะกรรมการมรดกโลกจะเลื่อนการพิจารณา ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารออกไปก่อน นายปองพล กล่าวว่า เป็นไปได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับคณะกรรมการมรดกโลก เพราะมีหลักเกณฑ์การพิจารณาอยู่ ซึ่งเรามีจุดยืนว่าน่าจะเสนอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกันกับกัมพูชา เพื่อความสมบูรณ์
ส่วนหากกัมพูชายืนยันที่จะขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจะทำอย่างไร นายปองพล กล่าวว่า เป็นเรื่องของคณะกรรมการมรดกโลกที่จะพิจารณา โดยดูจากความสมบูรณ์ของสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อถามว่า ไทยสามารถยื่นขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกได้หรือไม่ เพราะมีมติ ครม.พ.ศ. 2505 นายปองพล กล่าวว่า เรื่องมรดกโลกไม่ควรเกี่ยวกับดินแดน เป็นเรื่องความสมบูรณ์และความเป็นของแท้ มีมรดกโลกหลายแห่งที่มี 2 ประเทศเป็นเจ้าของร่วมกัน
***ส.ว.ปลื้มหนังสือค้านถึงกก.มรดกโลก
ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต ส.ว.สรรหา ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ การต่างประเทศ วุฒิสภา แถลงว่า จากการที่ 44 ส.ว.ได้ยื่นขอให้คณะกรรมการยูเนสโก ประจำประเทศไทยชะลอการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก นั้นขณะนี้ ทางยูเนสโกได้ตอบหนังสือกลับมายังคณะ ส.ว. ว่า ยูเนสโกไม่มีอำนาจในการตัดสินใจขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก เพราะเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการจดทะเบียนมรดกโลก แต่ก็ได้มีคำแนะนำว่า ถ้าประเทศไทยเห็นว่า เรื่องนี้ไม่สมบูรณ์และจะแก้ไขข้อมูลก็ทำได้ในฐานะของผู้สังเกตการณ์ จึงถือว่า เป็นเรื่องที่คณะกรรมการมรดกโลกของไทย ที่มีนายปองพล อดิเรกสาร เป็นประธานจะไปดำเนินการ ซึ่งคงจะดำเนินการได้ดี เพราะโดยส่วนตัวรู้สึกไว้วางใจ แม้นายปองพล จะเป็นหนึ่งในสมาชิกบ้านที่เลขที่ 111 แต่จากที่สัมผัสนายปองพลก็เป็นคนรักวัฒนธรรมไทยและเป็นแนวความคิดในแนวทางเดียวกันคือ ต้องขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกร่วมกัน
ม.ร.ว.ปรียนันทนา กล่าวว่า ทางยูเนสโกกรุงเทพฯจะนำหนังสือที่ทาง ส.ว. ได้ยื่นไปส่งให้ทางคณะกรรมการจดทะเบียนมรดกโลกที่กำลังประชุมที่เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา ประกอบการพิจาณาด้วย ขณะนี้ก็อุ่นใจได้ว่า การขอขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกได้มีการนำเสนอถึงคณะกรรมการจดทะเบียนมรดกโลกแล้ว
อย่างไรก็ตามรัฐบาลไม่ควรอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองอีกต่อไป และกระทรวงการต่างประเทศต้องทำตามมติ ครม.และต้องชี้แจงให้ประชาชนรับทราบ ถึงการดำเนินการทุกขึ้นตอนไม่ใช่ทำเงียบๆ อย่างที่ผ่านมา รวมทั้งรัฐบาลเอง ควรแสดงความจริงใจและเปิดเผยการดำเนินการทุกอย่างให้ประชาชนรับทราบด้วย
ส่วนข้อเสนอนักวิชาการอิสระที่ให้ประเทศไทยถอนจากการเป็นสมาชิกยูเนสโก และการเป็นคณะกรรมการมรดกโลกนั้น ส่วนตัวไม่เห็นด้วย เพราะไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ แต่จะทำให้ทางกัมพูชาดำเนินการได้ตามสบาย ดังนั้นประเทศไทย ควรเป็นสมาชิกต่อไปแต่ต้องดำเนินการตามคำแนะนำของสมาชิกหลายฝ่าย
***"ประสพสุข-ชัย"ยื่นศาลรธน.ตีความแล้ว
นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงความคืบหน้าในการส่งเรื่อง 77 ส.ว.เข้าชื่อขอให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความมติค.ร.ม. ให้ความเห็นชอบ นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ ลงนามในแถลงการณ์ร่วมกับกัมพูชาเพื่อขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 หรือไม ่ว่าว่า ตนได้ลงนามและส่งเรื่องดังกล่าวไปยังศาลรัฐธรรมนูญแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 1ก.ค. เบื้องต้นคาดว่าศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณา เรื่องดังกล่าวโดยเร็วเพื่อให้ได้ข้อยุติว่ามติ ครม.ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ และเพื่อไม่ให้เรื่องคาราคาซัง
"เชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญท่านน่าจะมีช่องทางด่วน fast track ในการพิจารณา เรื่องนี้ เมื่อผมเป็นศาลก็รู้เรื่องดีว่าเรื่องใดเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งพิจารณา แต่เราคงไม่ชี้นำศาลไมได้ว่าจะต้องพิจารณาให้เสร็จเมื่อไหร่"
ด้าน นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา กล่าวเช่นกันว่า ตนได้ลงนามเรื่องที่ พรรคประชาธิปัตย์ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ ตีความมติ ครม.ที่เห็นชอบใน แถลงการณ์ร่วมให้กัมพูชานำไปเป็นหลักฐานในการเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 หรือไม่แล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ก.ค.เวลา 16.00 น. คาดว่าขณะนี้หนังสืออยู่ระหว่างขั้นตอนการส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ
***ปชป.รอดูศาลรธน.ก่อนยื่นถอดถอน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าหลังจาก ครม.มีมติรับทราบคำสั่งศาลปกครองกลางที่มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวมติ ครม.เกี่ยวกับแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาที่รับรองให้กัมพูชา นำไปเป็นใบรับรองขอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารแล้ว ในส่วนของไทยต้องทำ เท่าที่จะทำได้ โดยรัฐบาลต้องแจ้งคำวินิจฉัยของศาลปกครองพร้อมมติ ครม.ไปให้กัมพูชาและคณะกรรมการมรดกโลกของยูเนสโกให้รับทราบ ขณะเดียวกันก็ต้องเดิน ไปตามกระบวนการ ซึ่งเราหวังว่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นทั้งในส่วนของศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ โดยในส่วนของฝ่ายค้านจะรอดูท่าทีของศาลปกครองสูงสุดที่รัฐบาลจะอุทธรณ์คำสั่ง และต้องดูศาลรัฐธรรมนูญก่อนว่าคำวินิจฉัยจะออกมาอย่างไร ซึ่งจะชัดเจนว่าสิ่งที่นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศไปดำเนินการนั้น เป็นพฤติกรรมที่เข้าข่ายการยื่นถอดถอน หรือไม่ หากเข้าข่ายก็จะต้องดำเนินการ
ส่วนที่รัฐบาลกัมพูชาไม่พอใจและมองว่าฝ่ายค้านของไทยนำเรื่องเขาพระวิหารมาเป็นประเด็นการเมืองนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะกัมพูชา ก็ถูกตรวจสอบจากการเมืองภายในของกัมพูชาเช่นกัน แต่ฝ่ายค้านได้แสดงท่าทีที่ชัดเจนแล้ว และสิ่งที่ดำเนินการทั้งหมดถือเป็นสิทธิและหน้าที่ ซึ่งไม่มีเจตนาอะไรที่จะไปกระทบกับความสัมพันธ์ของสองประเทศ เพราะฝ่ายค้านไม่ได้ตำหนิอะไรรัฐบาลกัมพูชา ขณะเดียวกันเราก็เห็นถึงคุณค่าของการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่มุมมองของเราคือ การขึ้นทะเบียนให้สมกับเจตนารมณ์ของ การเป็นมรดกโลก คือการได้รับความสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากประชาชนทั้งสองประเทศ และเชื่อว่าไม่มีปัญหา สามารถทำความเข้าใจได้
***บัวแก้วติดใจอำนาจหน้าที่ศาลปค.
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการอุทธรณ์ ต่อศาลปกครองสูงสุกกรณีแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาเกี่ยวกับปราสาทเขาพระวิหารว่า ได้ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาไปดูข้อกฎหมายหากอุทธรณ์จะอุทธรณ์ประเด็นอย่างไรหรือไม่ แต่ความตั้งใจเดิมของกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อสอบถามไปเขาติดใจเรื่องประเด็นอำนาจหน้าที่ของศาลปกครองกลาง
ผู้สื่อข่าวถามว่า สามารถยกคำสั่งศาลสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรีมาเป็นกรณีเทียบเคียงได้หรือไม่ในเรื่อง เจเทปปา นายชูศักดิ์ กล่าวว่า เขาดูประเด็นเหล่านั้นแบบที่นักวิชาการตั้งข้อสังเกต โดยดูว่าจริงๆแล้ว ศาลปกครองมีอำนาจหรือไม่ ซึ่งมติครม.ไม่ได้ปิดทางเรื่องการอุทธรณ์ เพียงแต่ มอบให้กฤษฎีกาไปพิจารณาและนำมาเสนอแนะว่าจะต้องทำอย่างไร ซึ่งกฤษฎีกา เคยมีแนวกรณีศาลปกครองยกเลิกการแปรรูปการไฟฟ้า และเข้าใจว่ามีเวลา 30 วัน ท้ายที่สุดกระทรวงการต่างประเทศก็จะตัดสินใจว่าจะอุทธรณ์หรือไม่อย่างไร
ผู้สื่อข่าวถามว่านอกจากรอความเห็นจากกฤษฎิกาแล้ว รัฐบาลจะส่งเรื่องให้ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือไม่ว่าแถลงการณ์ร่วมขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 หรือไม่ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ความจริงฝ่ายค้านก็ได้ส่งเรื่องไปแล้ว แต่ครม.ก็สามารถจะมีมติว่าควรจะส่งให้ตีความได้หรือไม่ หากเห็นว่ามีข้อขัดแย้งในปัญหาการกระทำตามอำนาจหน้าที่ก็ส่งไป ซึ่งคาดว่าสัปดาห์หน้า ครม.จะมีความชัดเจนทั้ง 2เรื่อง โดยต้องดูความเห็นจากกฤษฎิกา จากนั้นค่อยดูรายละเอียดว่าจะทำอย่างไร
***หนังสือระงับแถลงการณ์ส่งถึงเขมรแล้ว
ด้านนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกฯและรมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า เวลานี้หนังสือระงับการใช้แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาได้ไปถึงกัมพูชาแล้วรวมทั้งหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทางกระทรวงการต่างประเทศได้ส่งแฟกซ์ให้ดูว่าส่งไปหมดแล้ว โดยข้อความเป็นไปตามมติ ครม.ไม่สามารถชี้แจงรายละเอียดได้มากกว่านี้ เนื่องจากเป็นภาษาอังกฤษยาวอาจผิดพลาด ลำบาก เรายอมรับอะไรที่เราไม่รู้ก็บอกไม่รู้ ตนไม่เก่งเพราะไม่ได้เรียนต่างประเทศ ซึ่งก็เป็นอุปสรรคบ้างเวลาทักทายก็ทักทายเป็นภาษาอังกฤษ แต่พอเข้าเรื่องก็ใช้ล่าม เราไม่อวดดีในสิ่งที่เราไม่รู้
***กองทัพยันไม่มีผลกระทบชายแดน
พล.ท. ประยุทธ์ จันทร์โอชา แม่ทัพภาคที่ 1 กล่าวว่า ความรับผิดชอบในส่วน พื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชาของกองทัพภาคที่ 1 ตรวจสอบแล้วไม่มีปัญหาใด ซึ่งได้ประสานกับหน่วยงานและกองกำลังบูรพาอย่างต่อเนื่อง ยืนยันว่าไม่มีผลกระทบใดแต่ขอ ให้ประชาชนติดตามสถานการณ์ ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่าไม่ว่าทหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จะพยายามทำให้ดีที่สุด เพราะทุกคนรักชาติบ้านเมืองเหมือนกัน โดยเฉพาะทหาร มีหน้าที่ปกป้องไม่ให้เสียดินแดนเป็นของใคร ซึ่งต้องเชื่อฟังคณะกรรมการที่ดำเนินการปัจจุบัน ซึ่งน่าจะมีทางออก
ส่วนการปักปันเขตแดนพื้นที่อื่นจะมีปัญหาเช่นนี้หรือไม่นั้น พล.ท.ประยุทธ์ กล่าวว่า คงไม่มี แต่ปัญหาเขตแดนมีต่อเนื่อง ทหารมีหน้าที่รักษาเขตแดน ซึ่งมีการเจรจากันตลอด และใช้ข้อตกลงสัญญาตั้งแต่รัฐบาลที่ผ่านมา ซึ่งยึดถือว่า พื้นที่ใดเป็นพื้นที่ทับซ้อน ต่างคนต่างถือแผ่นที่คนละฉบับ ทั้งสองฝ่ายจะไม่ทำการ เปลี่ยนแปลงในพื้นที่ของใคร คือ เราต้องรักษากติกาที่มีอยู่
"กรณีเขาพระวิหารถือเป็นบทเรียนที่อยู่ในความสนใจของประชาชน ต้องหารือ เรื่องนี้ต่อไป อยากให้ทุกคนเคารพกติกาและกฎหมายของบ้านเมืองที่มีอยู่ แต่ยังไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นอย่างไรในขณะนี้ แต่ในฐานะทหารเราคงไม่ยอม ให้เสียดินแดนโดยเด็ดขาด ซึ่งเขาพระวิหารอยู่ในพื้นที่กองทัพภาคที่ 2 ทั้งนี้ เรื่อง เขาพระวิหารคงเกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนให้เป็นมรดกโลก การท่องเที่ยว และเรื่องการเมือง ทำให้เกิดความสับสนพอสมควร อยากให้ประชาชนแยกแยะ"