"น้องเขยแม้ว"แจง"เขาพระวิหาร"โยนเผือกร้อน"กฤษฎีกา"หาช่อง กม.ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาล ปกครอง สั่ง"บัวแก้ว"ทำหนังสือแจ้ง"เขมร-ยูเนสโก-กก.มรดกโลก" ขอระงับข้อตกลงชั่วคราว คาดสัปดาห์หน้าได้ข้อสรุป "นพดล" หน้าชื่นตาบานยันปัญหาปราสาทเขาพระวิหารเรียบร้อยดี ปฏิเสธที่ประชุม ครม.หยิบยกประเด็นอุทธรณ์ขึ้นมาหารือ ยอมรับ"สมัคร" ต่อสายคุย "ฮุนเซ็น"แล้ว ด้าน "อดุลย์"จับพิรุธ "นพเหล่" แถลง 3 ฝ่ายฝรั่งเศสวิปริต เซ็นวันที่ 22 พ.ค.อนุมัติยกดินแดนให้เขมรล่วงหน้า 18 มิ.ย.ขณะที่อดีตทูตฯแฉ"ฮุนเซน" จับมือ"ทักษิณ"บูรณาโกงข้ามชาติ ลั่นเสียดินแดนแลกให้ ปตท.ผลิตน้ำมัน ขณะที่ รมต.เขมรและคณะไปแคนาดา ลุ้นเขาวิหารเป็นมรดกโลกแล้ว
วานนี้ (1 ก.ค.) เมื่อเวลา 14.00 น.นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ศึกษาธิการ รักษาการนายกรัฐมนตรี ในฐานะเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) แถลงผลการประชุมว่า กระทรวงการต่างประเทศได้รายงานต่อที่ประชุมให้รับทราบว่า ได้มีคำสั่งศาลปกครองกลางห้ามมิให้ใช้มติ ครม.17 มิ.ย.51 ไปดำเนินการใดๆ จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด และระหว่างการพิจารณาคดียังไม่สิ้นสุดนั้น จึงมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวไม่ให้นำมติ ครม. ดังกล่าวที่กระทรวงการต่างประเทศ ไปดำเนินการแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาในการจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
ฉะนั้น ครม.ก็รับทราบคำสั่งศาลปกครองกลางและมีมติให้ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ส่วนวิธีการจะดำเนินการตามกฎหมายต่อไปอย่างไรนั้น ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาและดำเนินการเพื่อให้คำแนะนำในการปฏิบัติที่ถูกต้อง นอกจากนี้ ยังให้กระทรวงการต่างประเทศส่งหนังสือชี้แจงไปยังกัมพูชา ยูเนสโก และตัวแทนคณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศให้ทราบถึงคำสั่งดังกล่าว หมายความว่า ให้ระงับข้อตกลงตามแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาไว้ก่อน จนกว่าศาลจะมีคำสั่งถึงที่สุด
ส่วนกฤษฎีกาให้ความเห็นมาอย่างไรบ้างนายสมชาย กล่าวว่า ไม่ได้ให้ความเห็นใดๆ เพราะ ครม.ส่งเรื่องให้กฤษฎีกาไปพิจารณาก่อนหากจะแถลงข่าววันนี้ก็คงจะเร็วไป และกฤษฎีกาก็ขอเวลาเพื่อไปพิจารณาเอกสารต่างๆ ที่มีจำนวนมาก และไม่จำเป็นต้องเร่งรัดในวันนี้ เพราะเรื่องเร่งด่วนได้แจ้งไปแล้ว
"สำหรับการยื่นอุทธรณ์ต้องรอฟังกฤษฎีกาก่อนว่าจะเอาอย่างไร เพราะเป็นเรื่องกฎหมาย ซึ่ง ครม.ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องกฎหมาย ส่วนกฤษฎีกาจะใช้เวลาในการพิจารณานานแค่ไหนนั้นคิดว่าการประชุม ครม.ครั้งหน้าน่าจะมีผลออกมา แต่ผมไม่ยืนยันว่าจะใช้เวลากี่วัน เพราะต้องให้เวลากฤษฎีกาพิจารณาในฐานะผู้เชี่ยวชาญและไม่ได้ตั้งประเด็นใดๆ ให้กฤษฎีกาไปพิจารณา เพียงแต่บอกว่าการที่มีคำสั่งศาลออกมาเช่นนี้ก็ควรนำไปพิจารณาว่าจะให้คำแนะนำกับรัฐบาลในการดำเนินการขั้นต่อไปอย่างไรบ้าง"
"นพเหล่"ให้น้องเขยแม้วแถลงแทน
ส่วนถ้อยคำในมติ ครม.17 มิ.ย.51 มีอะไรบ้างนั้น นายสมชาย กล่าวเลี่ยงว่า ขอให้โฆษกประจำสำนักนายกฯนำมาให้ดู เพราะตนคงจำไม่ได้หมด แต่มติ ครม.นั้นเปิดเผยอยู่แล้ว เมื่อถามว่า วันนี้ได้นำมติ ครม.ครั้งดังกล่าวมาหารืออีกหรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า "ครม.ทุกคนคงทราบว่า มติ ครม.ครั้งนั้นเป็นเช่นใด กระทรวงต่างประเทศได้เสนอเรื่องนี้ตามคำสั่งศาลที่ออกมาให้ทราบว่าไม่ให้ใช้มติ ครม.ดังกล่าวแต่คร่าวๆ นั้นคือว่ากระทรวงต่างประเทศ นำเรื่องแถลงการณ์ร่วมฯเข้ามาเพื่อขออนุมัติจาก ครม.มันก็ประมาณนี้แหละ"
ส่วนจะส่งตัวแทนไปประชุมในวันที่ 2 ก.ค.ที่เมืองควิเบก แคนาดาหรือไม่นั้น นายสมชาย กล่าวว่า ไม่ได้ส่งใครไปแต่เข้าใจว่าเอกอัครราชทูตไทยประจำแคนาดา จะเข้าร่วมประชุมอยู่แล้วและคงถือว่าเป็นตัวแทนของไทย แต่กระทรวงต่างประเทศจะดำเนินการอย่างไรต่อไปนั้นต้องไปสอบถามนายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ ส่วนตนเองนั้นไม่อยากพูดอะไรมากเพราะเกรงจะเสียหายส่วน ที่วันนี้นายนพดล ไม่ได้แถลงข่าวเอง เพราะติดภารกิจนำ รมว.ต่างประเทศมาเลเซียเข้าเฝ้าฯ
ด้าน นายนพดล กล่าวภายหลัง ครม.ว่า นายสมชาย ในฐานะประธานการประชุม ครม.จะเป็นผู้แถลงความชัดเจน ตนไม่ได้หนี แต่ต้องรีบไปหัวหินเพื่อนำ รมว.ต่างประเทศมาเลเชีย เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ แต่ในเรื่องดังกล่าวมีทิศทางในทางที่ดี ยืนยันว่า ทุกอย่างจะเรียบร้อยโดยเร็วๆ นี้ กระทรวงการต่างประเทศจะมีหนังสือแจ้งไปยังกัมพูชา และนายกฯได้คุยกับนายกฯกัมพูชาแล้ว แต่ตนไม่ทราบรายละเอียดในการพูดคุย ส่วนในเรื่องอุทธรณ์ยังไม่ได้คุยกัน
ปชป.จี้ครม.ยับยั้งการขึ้นทะเบียน
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารว่า ในส่วนของพรรคฯได้ดำเนินการไปในหลายๆ ช่องทางเพื่อทำให้การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร ส่งผลกระทบหมิ่นเหม่ต่ออธิปไตยของประเทศไทยไม่ให้เกิดขึ้นได้ ซึ่งพรรคฯมีข้อเสนอเพิ่มเติมไปยังรัฐบาล คือ 1.อยากเรียกร้องนายกฯใช้อำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน สั่งการให้ รมว.ต่างประเทศ แจ้งประสานไปยังรัฐบาลกัมพูชาให้ทราบอย่างเป็นทางการถึงความเคลื่อนไหวในประเทศไทย โดยเฉพาะเรื่องคำสั่งศาลปกครองกลาง วินิจฉัยคุ้มครองชั่วคราว
2.รัฐบาลควรติดต่อและแจ้งอย่างเป็นการเร่งด่วนไปยังคณะกรรมการมรดกโลกทั้ง 21 คน ถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของศาลปกครองกลาง 3.อยากให้รัฐบาลเร่งประสานให้คณะกรรมการมรดกโลกชะลอ หรือเลื่อนการพิจารณาออกไป 4.รัฐบาลไทยควรหาทางเจรจายกเลิกข้อตกลงในแถลงการณ์ร่วม
"ถ้ารัฐบาลเร่งดำเนินการในส่วนนี้จะเป็นผลดีในการยับยั้งการดำเนินการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารที่อาจมีส่วนหมิ่นเหม่ต่ออธิปไตย ซึ่งประชาชนทุกภาคส่วนของไทยไม่สบายใจต่อเรื่องนี้ โดยอยากให้รัฐบาลหาทางคลี่คลายเรื่องนี้ เพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจว่า เรื่องนี้จะไม่ทำให้เกิดปัญหา"
"ศ.ดร.อดุลย์"จับพิรุธ"นพดล"
ที่รัฐสภาวันเดียวกันวุฒิสภาได้จัดงาน "อธิปไตยและดินแดนปราสาทพระวิหาร...มรดกโลกหรือผลประโยชน์ใคร" โดยมีผู้ร่วมสัมมนา ประกอบด้วย ส.ว.และตัวแทนภาควิชาการ ทั้งนี้ ก่อนการสัมมนา ผู้จัดได้นำบันทึกภาพวีดีทัศน์ ของ ศ.ดร.อดุลย์ วิเชียรเจริญ อดีตคณะกรรมการมรดกโลกที่อัดสัมภาษณ์ไว้ช่วงค่ำวันที่ 30 มิ.ย.เปิดให้ผู้ร่วมสัมมนารับฟัง
ทั้งนี้ ศ.ดร.อดุลย์ กล่าวว่า คำสั่งศาลปกครองที่ออกมาคุ้มครองชั่วคราว เป็นสิ่งมี่ดีและแสดงให้เห็นว่าคนในประเทศ มีความเห็นแย้งและสะท้อนการประทำของรัฐบาลเป็นสิ่งเสียหาย แต่ไม่สามารถคุ้มครองไปที่การขึ้นมรดกโลกได้เพราะเป็นเรื่องภายในประเทศ และไม่ได้ยับยั้งไปถึงต่างประเทศ
อีกทั้งเอกสารที่ไทยและกัมพูชาลงนามไปแล้วสมบูรณ์แล้วและกัมพูชาได้ส่งไปที่ เลขานุการมรดกโลกที่ปารีส ฝรั่งเศส และจากนั้นเขาจะแจกเอกสารให้ผู้แทนมรดกโลก ที่จะประชุม แคนนาดานวันที่ 2-10 ก.ค.พร้อมกับมีคำข้อการขึ้นมรดกโลกของกัมพูชาด้วย ดังนั้น การประชุมครั้งนี้จะมีการขึ้นทะเบียนมรดกโลกให้กัมพูชาแน่นอน เพราะเขาได้ทำตามเงื่อน ที่ค้างในการประชุมครั้งที่แล้ว ที่ประเทศ นิวซีแลนด์ ที่ให้ไทยและกัมพูชาไปตกลงเรื่องแผนการจัดการและได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายไทย
ศ.ดร.อดุลย์ กล่าวต่อว่า ตนเคยแสดงจุดยืนเรื่องนี้ไว้ตั้งแต่ 2548 ว่า 2 ประเทศต้องขึ้นทะเบียนร่วมกัน และหากไม่เปลี่ยนจุดยืนเมื่อ พ.ค.ที่ผ่านมา ดังนั้น สิ่งที่ทำไทยจะทำได้ขณะนี้คือเสนอเลื่อนการพิจารณาเรื่องนี้ออกไปโดยอ้างว่าขณะนี้ยังไม่เกิดแผนจัดการในไทย ส่วนจะเสนอขึ้นทะเบียนร่วมกันในครั้งนี้ก็ทำไม่ได้เพราะไทยไม่มีเอกสารเพราะไม่ได้เตรียมพร้อม
"แถลงการณ์ร่วมไทยกัมพูชาเป็นสิ่งเสียหายและน่าเศร้า ขอย้ำให้เห็นความไม่ปกติของแถลงการณ์ร่วมที่นายนพดล ลงนามในวันที่ 22 พ.ค.ที่ปารีส ผมได้อ่านแถลงการณ์ภาษาอังกฤษโดยมีแผนที่แนบท้าย ซึ่งมีการตกลงระหว่าง นายนพดล นายสก อาน รองนายกฯกัมพูชา และผู้ช่วยฝ่ายวัฒนธรรมยูเนสโก แต่แถลงการณ์กลับทำกันล่วงหน้าในวันที่ 18 มิ.ย.เป็นวันเดียวที่ลงนามที่ทำเนียบ และสิ่งที่แปลก แผนที่แนบท้ายเป็นภาษาฝรั่งเศส แต่ประทับตรากัมพูชาฝ่ายเดียว ก็ลงนามในวันที่ 18 มิ.ย. แต่กลับอ้างเป็นการประชุม วันที่22 พ.ค.เรื่องทั้งหมดประหลาด แสะวิปริตในการลงนามทวิภาคีฉบับนี้" ศ.ดร.อดุลย์ ตั้งข้อสังเกต
ศ.ดร.อดุลย์ กล่าวว่า ปัญหาของการลงนามไทยกับกัมพูชาหลายคนมองไม่มีปัญหาเพราะขึ้นแค่ตัวปราสาท แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น เพราะหลังจากนั้นจะต้องมีเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินบริเวณตัวปราสาท ที่บอบบางและแตกสลายง่าย มีเขตบัฟเฟอร์โซน หรือเขตกันชน และห้ามมีสิ่งก่อสร้างมิให้บทบังตัวปราสาท
โดยยอมรับว่าเรื่องนี้กระทบต่อเขตแดนไทย เพราะไม่สามารถเข้าไปบริหารพื้นที่ได้ นอกจากนี้ ส่วนหลายเรื่องการลงนามนี้ ซึ่งผูกพันแก่ดินแดนไทย เข้าข่ายรัฐธรรมนูญ 190 แม้จะอ้างเป็นว่เป็นการลงนามไม่ใช้สนธิสัญญา แต่ข้อเท็จจริง การตกลงกัน 2 ประเทศเพราะเข้าข่ายข้อการตกลง อนุสัญญามรดกโลกปี ค.ศ.1902 ที่ไทยเป็นสมาชิก
ศ.ดร.อดุลย์ กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องผลประโยชน์ไปเกี่ยวข้องกับใครหรือไม่ ตนเพียงแต่ได้ยินมาว่า ใครไปเกี่ยวข้องและแลกกับพื้นที่เกาะกง โดย รมว.ต่างประเทศ รองนายกฯท่านหนึ่งไปที่นั้นและมีการเร่งรีบอย่างประหลาดเพราะมีการตรวจสอบแผนที่ 3 วัน จากนั้นนำเข้าที่ประชุมสภาความมั่นคง วันรุ่งขึ้นนำเข้า ครม. และอีกวันลงนามกับกัมพูชา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเร่งรีบอย่างผิดสังเกต
"คำนูณ"ชี้ขรก.บัวแก้วเปลี่ยนไป
ด้านนายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า วันที่ตนไปยื่นฟ้องคดีเขาพระวิหารนั้นไปในฐานะเป็น ส.ว.และนายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการ ครป.ก็ไปในฐานะประชาชนชาวศรีสะเกษ ซึ่งตอนแรกที่ไปยื่นเหมือนมวยยังไม่ชกแต่แพ้ เพราะน้ำหนักเกิน แต่อยากให้รู้ว่าการตรวจคำฟ้องคดีไม่มีแค่ทนายของตนเท่านั้น แต่ยังมีทนายความ และผู้ใหญ่ที่เป็นนักกฎหมายมหาชนของบ้านเมืองได้ให้การสนับสนุนในเรื่องนี้
"ผมอยากตั้งข้อสังเกตอธิบดีกรมสนธิสัญญาว่าเป็นคนที่กลัวความผิด และกลัวแรงกดดันจากรัฐบาล ถ้าอธิบดีคนนี้ไปดำเนินการเกี่ยวกับสนธิสัญญาระหว่างประเทศให้ประเทศไทยคงแพ้ทั้งหมด ซึ่งวันนี้ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศไทยเปลี่ยนไป ซึ่งไม่แน่ใจว่าในอนาคตเราจะกอบกู้ได้มากน้อยแค่ไหน"
นายกษิต ภิรมย์ อดีตเอกอัครราทูต ประจำกรุงวอชิงตัน ดีซี กล่าวว่า เราต้องยืนยันในมาตรา 190 และมาตราอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อให้ทุกอย่างกลับมาที่รัฐสภาและประเด็นนี้จะโยงกับสนธิสัญญา 1904 เรื่องการใช้สันปันน้ำในการแบ่งดินแดนยังมีชีวิตอยู่และสิ่งอื่นๆที่เขียนขึ้นมาใหม่อาจจะเป็นโมฆะ นอกจากนี้ ยังเป็นหน้าที่ของรัฐสภาที่ต้องเข้าไปดูมติ ครม.พ.ศ.2505 รวมทั้งแผนผังแผนที่และต้องไปตรวจสอบเอกสารของต่างประเทศ เพราะอาจจะมีการบันทึกคำพูดที่ปฏิเสธว่าเราได้สละเขาพระวิหารแล้ว ซึ่ง มติ ครม.ในอดีตที่ไม่สมบูรณ์นั้นควรทำให้เป็นกฎหมายในสมัยปัจจุบันเพื่อไม่ให้รัฐบาลในสมัยนี้ใช้ในทิศทางที่ผิด และอาจทำให้ฝ่ายเขมรมาย้อนหลังเป็นสำคัญ เพราะฉะนั้นเรื่องเหล่านี้ควรกลับมาที่สภ
แฉ"ฮุนเซน"จับมือ"แม้ว"โกงข้ามชาติ
นายกษิต กล่าวต่อว่า ในส่วนของเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้น ต้องเอาผลประโยชน์เป็นตัวตั้งและเอาความสัมพันธ์เป็นตัวรองอย่ากลับหัวกลับหางเป็นอันขาด ส่วนตัวอยากพูดถึงเรื่องหลักธรรมาภิบาล เพราะดูเหมือนว่าการลงนามแถลงการณ์ครั้งนี้มันไม่โปร่งใส รัฐบาลชี้แจงไม่ได้ มันมีผลประโยชน์ทับซ้อนกันอยู่แน่นอน เพราะที่คู่ขนานกับการเสนอปราสาทเขาพระวิหาร อยู่ในขณะนี้คือการพัฒนาพื้นที่ร่วม
"อย่าลืมว่า บริษัทอัปศรา เป็นของนายฮุนเซน ซึ่งเป็นรัฐบาลที่เลวร้ายและยอดโกงที่หนึ่งของโลกและมาร่วมกับขบวนการทักษิณอย่างสนุกสนานให้ประเทศกัมพูชาและไทยเป็นพื้นที่เศรษฐกิจของผู้นำทั้ง 2 ฝ่าย และมันก็โยงกับเกาะกง และพื้นที่ซับซ้อนที่มีข่าวออกมาว่า ปตท.ได้ขอให้นายสมัคร ขอไปทำสัมปทานในพื้นที่ทับซ้อนที่เป็นเขตของกัมพูชา เท่ากับว่าเราไปสละทิ้งอธิปไตยเพื่อผลประโยชน์ขององค์กรมหาชนที่ข้างหลังมีผู้ถือหุ้นอยู่ในแวดวงทางการเมือง"
นายกษิต กล่าวต่ออีกว่า นอกจากนี้ ยังมีสิ่งที่ไม่เป็นธรรมาภิบาลคือนอกเหนือจากคณะที่เป็นทางการโดยรัฐมนตรีต่างประเทศและอธิบดีต่างๆแล้ว ยังมีอีกคณะที่แฝงอยู่ข้างใน โดยเป็นข้าราชการอีกคนหนึ่งที่อาจจะเป็นไปทูตที่กัมพูชาและมีน้องชายของนักการเมืองอีกคนหนึ่งที่เจรจาในทางลับหรือปกปิดกับเขมรในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งเป็นที่ทราบกันแวดวงข้าราชการประจำ รวมสถานทูตที่พนมเปญก็รู้ว่าใครเป็นใคร เพราะฉะนั้นมันไม่โปร่งใสและมีประโยชน์ทับซ้อนและคู่ต่อสู้คือ ฮุนเซน ที่โกงกินชาติอย่างที่เราทราบดีอยู่
"ที่มากกว่าไปกว่านั้นรัฐบาลชุดปัจจุบันก็เป็นเพียงรัฐบาลนอมินี เมื่อทำอะไรขึ้นมาคนก็สงสัยไม่โปร่งใจและไม่สามารถชี้แจงได้ ขณะที่การทำแถลงการณ์นี้จะผ่านแค่กรมแผนที่ทหารและสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) คงไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องเชิงเทคนิค แต่มันมีผู้ที่มีส่วนได้เสียตามรัฐธรรมนูญไทยอีกมากมาย ดังนั้น ต้องนำเรื่องนี้มาที่รัฐสภาและต้องบีบให้รัฐบาลเอาเรื่องนี้มาในสภาให้ได้ ถ้าไม่ได้ประชาชนต้องกดดันและต้องมีมาตรการภายในรัฐสภา ถ้าไม่เล่นกันตามกติกาแล้วเอาเรื่องผิดๆ มายกมือ 300 กว่าเสียง คงไม่ได้ มันผิดทั้งศีลธรรมและหลักประชาธิปไตย ถ้ายังไม่เคารพกติกาตรงนี้ ประเทศไทยก็คงจบแค่นี้"
ยันข้อมูลไทยเสียดินแดนให้กัมพูชา
มล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิจัย 9 สถาบันไทยคดีศึกษา กล่าวว่า จากการดูแถลงการณ์ร่วมไทยเสียดินแดนให้แก่กัมพูชาไปแล้ว โดยเฉพาะตั้งแต่บริเวณบันไดนาคลงมา 20 เมตร ซึ่งรับรองว่าเป็นของไทยโดยมติ ครม.พ.ศ.2505 ดังนั้น เราไม่ต้องดูไปถึงพื้นที่ทับซ้อน
"แต่เรื่องนี้อาจจะเป็นบรรทัดฐานในการตกลงข้อพิพาทเรื่องดินแดนกับประเทศเพื่อนบ้านปฏิบัติกับเราต่อไป นอกจากนี้ผู้ที่มีส่วนสำคัญทำให้ไทยเสียดินแดนคือ นักวิชาการขายตัว อยากให้นักวิชาการคิดให้ดีว่าการรักชาติและขายชาติเป็นอย่างไร"
เผยเขมรยึดดินแดนไทยต่อเนื่อง
นายถนอม ส่งเสริม ส.ว.อุบลราชธานี เผยว่า ตนดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าฯสะเกษช่วง ก.ย.46-30 ก.ย.48 โดยช่วง ม.ค.48 ทางกัมพูชาได้ขอให้ทางการไทยเปิดช่องเขาเฒ่า ซึ่งเป็นช่องเขาระหว่างเขาพระวิหารกับเขาสัตตะโสม ที่เป็นพื้นที่ยังไม่มีการปักปันเขตแดนว่าเป็นของฝ่ายใด ระหว่างนั้นตนได้รับคำสั่งจากรัฐบาลไทยว่าได้รับคำร้องขอจากกัมพูชาให้เปิดช่องเขาตาเฒ่า แต่ยังไม่ทันเปิดตามคำสั่งของรัฐบาล นายสุรเกียรติ เสถียรไทย รมว.ประเทศขณะนั้นก็โทรศัพท์แจ้งว่า ขอให้ระงับไว้ก่อนอย่างเพิ่งเปิด ถือเป็นโชคดีของตนที่ยังไม่ได้สั่งเปิด
"ในช่วงที่ผมเป็นผู้ว่าฯศรีสะเกษอยู่นั้น ผมได้เดินทางไปพนมเปญ และได้เห็นแผนพัฒนาการก่อสร้างเอนเตอร์เทนต์คอมเพล็กซ์ในพื้นที่กัมพูชาถัดจากช่องเขาตาเฒ่าอย่างชัดเจน ซึ่งผมเชื่อว่าถ้ากัมพูชาได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกตัวปราสาทเขาพระวิหารแล้ว ต่อไปเขาก็จะรุกในพื้นที่อื่นๆ ของไทยที่ยังไม่มีการปักปันเขตแดนต่อทันที"
ยันไทยเคลื่อนไหวคัดค้านตลอด
ศ.สมปอง สุจริตกุล รักษาการคณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.รังสิต 1 ในทนายของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ผู้ว่าความในคดีประสาทเขาพระวิหาร เมื่อปี 2505 เผยว่า ช่วงที่ศาลโลกตัดสินศาลตัดสินว่ากัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือตัวปราสาทเขาพระวิหารนั้นได้มีผู้พิพากษา 3 คนได้เห็นแย้งและหลังจากนั้นทางไทยก็ได้ตั้งข้อสงวนไว้ และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ประกาศทั้งน้ำตาว่าชาตินี้และชาติหน้าจะไม่มีวันท้อถอย เพราะมีความหวังว่า เราจะได้ปราสาทพระวิหารกลับคืนมา และหลังจากนั้น 1 ปี นายถนัด คอร์มันต์ รมว.ต่างประเทศขณะนั้นได้มอบหมายให้ตนไปชี้แจงยังที่ประชุมสมัชชาองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ซึ่งตนได้นำเอกสารจำนวน 40 หน้าไปชี้แจงคัดค้านว่า ศาลโลกตัดสินผิดตรงไหน พร้อมกับได้ยกความเห็นแย้งของผู้พิพากษาทั้ง 3 และยืนยันข้อสงวนของประเทศไทย
"หลังจากที่ศาลโลกตัดสินไปเมื่อปี 2505 แล้ว ไม่ใช่ว่าเราไม่ทำอะไรเลย แต่เราได้ชี้แจงต่อสมัชชายูเอ็น และได้เสนอข้อสงวนอำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทด้วย ซึ่งครั้งนั้นก็ไม่มีตัวแทนกัมพูชาร่วมประชุมเลย ซึ่งเราก็ยืนยันว่าพื้นที่ทับซ้อนมีเฉพาะตัวปราสาทเท่านั้น แต่พื้นที่อื่นนั้นได้ยึดเส้นสันปันน้ำที่รู้กันในระดับสากล ศาลไม่ได้ขี้ขาดในเรื่องเขตแดน ปัจจุบันนี้ก็ยังเป็นเขตแดนเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ก็มีข้อความบางประการที่ยังไม่ชัดเจน ซึ่งต้องพิจารณาต่อไปในศาลปกครอง" ศ.สมปอง กล่าวและว่า ทั้งนี้ ยังเห็นว่าแถลงการณ์ร่วมที่นายนพดล ลงนามนี้ถือเป็นสนธิสัญญา ไม่ว่าจะเรียกเป็นภาษาไทยว่าเป็นแถลงการณ์ร่วม แต่ในความหมายของกฎหมายนั้นผูกพันประเทศไทยอย่างแน่นอน
"สุรพงษ์"จวกรัฐบาลชุดนี้ไม่โปร่งใส
นายสุรพงษ์ ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูตฯกล่าวว่า เราต้องเข้าใจว่าเขาพระวิหารที่จะเป็นประเด็นขัดแย้งอยู่นี้ไม่ได้อยู่ที่การขอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหาร แต่อยู่ที่ว่าเราต้องการให้ขึ้นทะเบียนร่วมกันทั้งตัวปราสาทและพื้นที่เขาพระวิหาร รวมถึงเรื่องผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนเพียงฝ่ายเดียว
"คนไทยนั้นไม่ได้มีปัญหากับคนกัมพูชา แต่ปัญหา คือ ภาคประชาชนและฝ่ายค้านที่มีปัญหากับการดำเนินการของรัฐบาล เพราะที่ผ่านเราจะเห็นได้ว่ารัฐบาลได้พยายามเลี่ยงที่จะตอบปัญหาข้อเท็จจริงต่างๆ แต่พยายามเน้นว่าหากมีการจดทะเบียนตามที่ได้จดทะเบียนแล้วจะเป็นประโยชน์ในด้านการท่องเที่ยวทั้งที่รายได้จากการท่องเที่ยวตรงนี้มีตัวเลขน้อยมาก และรัฐบาลยังอ้างเรื่องการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ โดยรัฐบาลพยายามจะบอกว่าการแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นคุ้มค่ากับการที่เราจะเสียดินแดนและอธิปไตยในอนาคตและบอกว่าเป็นการแลกเปลี่ยนที่คุ้มที่เราจะเสียดินแดนและอธิปไตยในอนาคต"
นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ รัฐบาลยังไม่มีความโปร่งใส เพราะมาถึงวันนี้คนไทยยังไม่ได้เห็นรายละเอียดของแถลงการณ์ด้วยซ้ำว่ารัฐบาลไปตกลงอะไรกันมา โดยบอกว่าเราต้องเห็นด้วยเพราะหากไม่เห็นด้วยกัมพูชาก็ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกได้อยู่แล้วซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะข้อบัญญัติของยูเนสโกระบุชัดเจนว่า หากยังมีปัญหาระหว่าง 2 ประเทศต้องมีการเจรจาร่วมกันก่อน เพราะฉะนั้นสิ่งที่รัฐมนตรีพูดจึงเป็นการเอาสีข้างเข้าถู โดยไม่รู้ว่าเราจะเสียหายอย่างไร
"รัฐบาลไม่เคยชี้แจงให้ประชาชนได้รู้ว่าข้อดี ข้อเสีย มันคืออะไร หากมีการจดทะเบียนโดยให้เขาขึ้นฝ่ายเดียว ไม่มีคำตอบ เพียงแต่บอกว่าไม่ต้องห่วง ไม่เสียดินแดน แต่ไม่เคยหักล้างแต่ละข้อของความสงสัย รัฐบาลพยายามพูดโน้มน้าวว่าไม่มีปัญหาและหากมีการขัดขวางมากจะกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคือการเคารพอธิปไตยระหว่างประเทศและตัวชี้ขาดคือผลประโยชน์ว่าจะสอดคล้องกันหรือไม่ นี่คือความสัมพันธ์"
หวั่นการเมืองปลุกชาตินิยมพังสัมพันธ์
นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า สำหรับเรื่องมิติการเมืองที่จะมีผลตามมาจากเรื่องนี้ต้องยอมรับว่า การรักชาติเป็นสิ่งที่ดี แต่ความรู้สึกชาตินิยมที่ขาดสติจะอันตราย เพราะมีหลายฝ่ายทั้งนักการเมือง นักธุรกิจ ที่ต้องการใช้ประโยชน์ตรงนี้ไปในทางที่ล้างผลาญ โดยเห็นได้จากการเผาสถานทูตไทยในกัมพูชา เพราะมันง่ายที่จะให้คนเกลียดกัน แต่การที่จะปลุกให้คนรักกันเป็นเรื่องยากมาก
"ผมเชื่อว่ากลุ่มคนที่ที่เห็นว่าการทำแถลงการณ์ครั้งนี้ไทยไม่เสียหายอะไรต้องเป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากตรงนี้แน่นอนและคนพวกนี้จะทำการปลุกประชาชนให้ต่อต้านคนที่คัดค้านการทำแถลงณ์การร่วม คนที่ไม่เห็นด้วยกับแถลงการณ์นี้ โดยอ้างว่าคนที่ต่อต้านทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาพังทลาย ทั้งนี้ ทุกคนย่อมมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะที่ไหน อย่างไร แต่การเสี่ยงตรงนี้ต้องถามว่า การเสี่ยงครั้งนี้คุ้มกับที่ไทยต้องเสียดินแดนหรือไม่ หรือคุ้มกับผลประโยชน์ของคนบางพรรคพวกเท่านั้น"
แนะ "ปองพล" ให้ทำหน้า"คนไทย"
ขณะที่นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักประวัติศาสตร์ กล่าวเสนอให้นายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการมรดกโลก ที่กำลังประชุมเรื่องนี้ที่ประเทศแคนนาดาว่า หากคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารแต่ฝ่ายเดียวของกัมพูชาไม่สำเร็จก็ขอให้นายปองพล ถอนตัวออกมาจากการประชุม แต่ไม่ทราบว่านายปองพล จะกระทำหรือไม่ เพราะเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยที่อยู่ในบ้านเลขที่ 111
"กรรมการมรดกโลก 21 ประเทศเข้าข้างกัมพูชากว่าครึ่งหนึ่งแล้ว เช่น จีน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส กัมพูชา อินเดีย และที่สำคัญมีไทยด้วย ขณะที่กรรมการโลกเข้าข้างฝ่ายไทยให้จดทะเบียนร่วม เช่น อียิป คิวบา บราซิล ออสเตรีเลีย ดังนั้น จึงเชื่อว่าหากคณะกรรมการมรดกโลกกัมพูชา เสนอขึ้นจดทะเบียน โดยนายนพดล ไม่คัดค้านจะไม่ยับยั่งอะไรได้ จึงอยากฝากไปถึงนายปองพล ให้ทำหน้าที่ของคนไทย ไม่ใช่หน้าที่คณะกรรมการมรดกโลก"
นายเทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ อ.มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวเรียกร้องให้มีการระดมล่ารายชื่อให้ได้มากที่สุดเพื่อแสดงให้เห็นว่าคนไทยไม่เห็นด้วยกับการเสนอปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งจะเป็นหลักของประชาธิปไตยอย่างแท้จริง โดยเฉพาะชาวศรีสะเกษ ควรออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านเรื่องนี้ให้เป็นรูปธรรม ยื่นข้อเสนอไปยังยูเนสโก เพื่อให้ทันการพิจารณาที่เป็นประชุมแคนนาดา เพราะขณะนี้ทั่วโลกฟังเสียงชุมชน
"ผบ.ทร."โยนเป็นเรื่องของบัวแก้ว
พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ เกยานนท์ ผบ.ทร.ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีประสาทเขาพระวิหารว่า เรื่องนี้ไม่อยากพูดถึงเพราะเป็นเรื่องของกระทรวงต่างประเทศที่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งเราเป็นหน่วยงานที่ไม่ได้รับผิดชอบหากไปพูดจะเกิดความสับสน ให้กระทรวงต่างประเทศพูดดีกว่า
"ผมยืนยันได้อยู่อย่างเดียวว่า ทหารต้องการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนจะใช้การเจรจาทางทหารเพื่อช่วยรัฐบาลหรือไม่นั้น ผมเห็นว่ายังไม่จำเป็น เรื่องนี้ทหารทั้งสองฝ่ายไม่เกี่ยวเป็นเรื่องของกระทรวงต่างประเทศทั้งสองฝ่ายไม่เกี่ยวกับทหาร"
ศรีสะเกษยื่น5พันชื่อค้านขึ้นทะเบียน
ด้าน นายอรุณศักดิ์ โอชารส ประธานสมัชชาประชาชนศรีสะเกษ เผยว่า กลุ่มสมัชชาประชาชนจังหวัดศรีสะเกษ และเครือข่ายพันธมิตรฯศรีสะเกษ รวมทั้งคณะกรรมการทวงคืนเขาพระวิหาร ในฐานะตัวแทนชาวศรีสะเกษ ได้รวบรวมรายเชื่อชาวบ้านที่เข้าชื่อคัดค้านการขึ้นทะเบียนประสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกทั้งหมดประมาณ 5,000 รายชื่อ นำไปมอบให้กับสำนักงานยูเนสโกที่กรุงเทพฯแล้ว เพื่อยืนยันเจตนารมณ์ของชาวไทยในการคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียวของกัมพูชา
ขณะที่นายเทอดสิทธิ์ อุตส่าห์ ประธานคณะกรรมการดำเนินงานทวงคืนเขาพระวิหาร เผยว่า จากการประชุมแกนนำฯ เรามีมติเป็นจุดยืนเดียวกันในการคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา เพื่อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทยและองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องคือ 1.ให้ชะลอการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกไว้ก่อนจนกว่าจะมีการพิสูจน์เส้นแบ่งเขตแดนอย่างแน่ชัดตามหลักสากลของการปักปันเขตแดนระหว่างประเทศ 2.ให้ผลักดันชาวกัมพูชาออกไปนอกเขตดินแดนไทยที่เชิงเขาพระวิหารโดยด่วนที่สุด และ 3.ขอให้ทบทวนการแบ่งเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชาที่บริเวณเขาพระวิหารโดยขอให้นำเอาหลักสากลที่ใช้สันปันน้ำมาใช้ในการปักปันเขตแดนที่บริเวณเขาพระวิหาร
"หากใช้การปักปันเขตแดนตามหลักสากลนี้แล้วพวกเราและประชาชนชาวศรีสะเกษทุกคนก็พร้อมที่จะยอมรับการปักปันเขตแดนนั้น และพวกเราเครือข่ายกลุ่มพันธมิตรฯศรีสะเกษ จะยืนยันต่อสู้เรียกร้องในจุดยืนดังกล่าวอย่างถึงที่สุด"
เขมรไปแคนาดาลุ้นเขาวิหารแล้ว
ทางด้านกัมพูชานายโสกอาน (Sok An) รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการแห่งชาติในองค์การยูเนสโก ได้นำคณะใหญ่ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ 19 นายออกเดินทางไปยังแคนาดาปลายสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อดำเนินการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
ตามรายงานของกระทรวงวัฒนธรรมและศิลปากร นายโสกอาน จะทำงานอยู่ในนครควีเบคตั้งแต่วันที่ 2-10 ก.ค.ศกนี้ เพื่อติดตามความคืบหน้าในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร ซึ่งเชื่อว่าจะไม่มีอุปสรรคใดๆ "หลังจากกรณีพิพาทพรมแดนกับไทยได้รับการแก้ไข"
ส่วนนายเมืองซอนน์ (Moeung Sonn) ประธานมูลนิธิส่งเสริมอารยะธรรมเขมร (Khmer Civilization Support Foundation) กล่าวกับนิตยสารข่าวรายปักษ์ "พนมเปญโพสต์" เมื่อวันที่ 16 มิ.ย. ว่าหวังอย่างยิ่งว่าปราสาทพระวิหารจะได้รับการขึ้นทะเบียน
วานนี้ (1 ก.ค.) เมื่อเวลา 14.00 น.นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ศึกษาธิการ รักษาการนายกรัฐมนตรี ในฐานะเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) แถลงผลการประชุมว่า กระทรวงการต่างประเทศได้รายงานต่อที่ประชุมให้รับทราบว่า ได้มีคำสั่งศาลปกครองกลางห้ามมิให้ใช้มติ ครม.17 มิ.ย.51 ไปดำเนินการใดๆ จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด และระหว่างการพิจารณาคดียังไม่สิ้นสุดนั้น จึงมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวไม่ให้นำมติ ครม. ดังกล่าวที่กระทรวงการต่างประเทศ ไปดำเนินการแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาในการจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
ฉะนั้น ครม.ก็รับทราบคำสั่งศาลปกครองกลางและมีมติให้ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ส่วนวิธีการจะดำเนินการตามกฎหมายต่อไปอย่างไรนั้น ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาและดำเนินการเพื่อให้คำแนะนำในการปฏิบัติที่ถูกต้อง นอกจากนี้ ยังให้กระทรวงการต่างประเทศส่งหนังสือชี้แจงไปยังกัมพูชา ยูเนสโก และตัวแทนคณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศให้ทราบถึงคำสั่งดังกล่าว หมายความว่า ให้ระงับข้อตกลงตามแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาไว้ก่อน จนกว่าศาลจะมีคำสั่งถึงที่สุด
ส่วนกฤษฎีกาให้ความเห็นมาอย่างไรบ้างนายสมชาย กล่าวว่า ไม่ได้ให้ความเห็นใดๆ เพราะ ครม.ส่งเรื่องให้กฤษฎีกาไปพิจารณาก่อนหากจะแถลงข่าววันนี้ก็คงจะเร็วไป และกฤษฎีกาก็ขอเวลาเพื่อไปพิจารณาเอกสารต่างๆ ที่มีจำนวนมาก และไม่จำเป็นต้องเร่งรัดในวันนี้ เพราะเรื่องเร่งด่วนได้แจ้งไปแล้ว
"สำหรับการยื่นอุทธรณ์ต้องรอฟังกฤษฎีกาก่อนว่าจะเอาอย่างไร เพราะเป็นเรื่องกฎหมาย ซึ่ง ครม.ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องกฎหมาย ส่วนกฤษฎีกาจะใช้เวลาในการพิจารณานานแค่ไหนนั้นคิดว่าการประชุม ครม.ครั้งหน้าน่าจะมีผลออกมา แต่ผมไม่ยืนยันว่าจะใช้เวลากี่วัน เพราะต้องให้เวลากฤษฎีกาพิจารณาในฐานะผู้เชี่ยวชาญและไม่ได้ตั้งประเด็นใดๆ ให้กฤษฎีกาไปพิจารณา เพียงแต่บอกว่าการที่มีคำสั่งศาลออกมาเช่นนี้ก็ควรนำไปพิจารณาว่าจะให้คำแนะนำกับรัฐบาลในการดำเนินการขั้นต่อไปอย่างไรบ้าง"
"นพเหล่"ให้น้องเขยแม้วแถลงแทน
ส่วนถ้อยคำในมติ ครม.17 มิ.ย.51 มีอะไรบ้างนั้น นายสมชาย กล่าวเลี่ยงว่า ขอให้โฆษกประจำสำนักนายกฯนำมาให้ดู เพราะตนคงจำไม่ได้หมด แต่มติ ครม.นั้นเปิดเผยอยู่แล้ว เมื่อถามว่า วันนี้ได้นำมติ ครม.ครั้งดังกล่าวมาหารืออีกหรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า "ครม.ทุกคนคงทราบว่า มติ ครม.ครั้งนั้นเป็นเช่นใด กระทรวงต่างประเทศได้เสนอเรื่องนี้ตามคำสั่งศาลที่ออกมาให้ทราบว่าไม่ให้ใช้มติ ครม.ดังกล่าวแต่คร่าวๆ นั้นคือว่ากระทรวงต่างประเทศ นำเรื่องแถลงการณ์ร่วมฯเข้ามาเพื่อขออนุมัติจาก ครม.มันก็ประมาณนี้แหละ"
ส่วนจะส่งตัวแทนไปประชุมในวันที่ 2 ก.ค.ที่เมืองควิเบก แคนาดาหรือไม่นั้น นายสมชาย กล่าวว่า ไม่ได้ส่งใครไปแต่เข้าใจว่าเอกอัครราชทูตไทยประจำแคนาดา จะเข้าร่วมประชุมอยู่แล้วและคงถือว่าเป็นตัวแทนของไทย แต่กระทรวงต่างประเทศจะดำเนินการอย่างไรต่อไปนั้นต้องไปสอบถามนายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ ส่วนตนเองนั้นไม่อยากพูดอะไรมากเพราะเกรงจะเสียหายส่วน ที่วันนี้นายนพดล ไม่ได้แถลงข่าวเอง เพราะติดภารกิจนำ รมว.ต่างประเทศมาเลเซียเข้าเฝ้าฯ
ด้าน นายนพดล กล่าวภายหลัง ครม.ว่า นายสมชาย ในฐานะประธานการประชุม ครม.จะเป็นผู้แถลงความชัดเจน ตนไม่ได้หนี แต่ต้องรีบไปหัวหินเพื่อนำ รมว.ต่างประเทศมาเลเชีย เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ แต่ในเรื่องดังกล่าวมีทิศทางในทางที่ดี ยืนยันว่า ทุกอย่างจะเรียบร้อยโดยเร็วๆ นี้ กระทรวงการต่างประเทศจะมีหนังสือแจ้งไปยังกัมพูชา และนายกฯได้คุยกับนายกฯกัมพูชาแล้ว แต่ตนไม่ทราบรายละเอียดในการพูดคุย ส่วนในเรื่องอุทธรณ์ยังไม่ได้คุยกัน
ปชป.จี้ครม.ยับยั้งการขึ้นทะเบียน
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารว่า ในส่วนของพรรคฯได้ดำเนินการไปในหลายๆ ช่องทางเพื่อทำให้การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร ส่งผลกระทบหมิ่นเหม่ต่ออธิปไตยของประเทศไทยไม่ให้เกิดขึ้นได้ ซึ่งพรรคฯมีข้อเสนอเพิ่มเติมไปยังรัฐบาล คือ 1.อยากเรียกร้องนายกฯใช้อำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน สั่งการให้ รมว.ต่างประเทศ แจ้งประสานไปยังรัฐบาลกัมพูชาให้ทราบอย่างเป็นทางการถึงความเคลื่อนไหวในประเทศไทย โดยเฉพาะเรื่องคำสั่งศาลปกครองกลาง วินิจฉัยคุ้มครองชั่วคราว
2.รัฐบาลควรติดต่อและแจ้งอย่างเป็นการเร่งด่วนไปยังคณะกรรมการมรดกโลกทั้ง 21 คน ถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของศาลปกครองกลาง 3.อยากให้รัฐบาลเร่งประสานให้คณะกรรมการมรดกโลกชะลอ หรือเลื่อนการพิจารณาออกไป 4.รัฐบาลไทยควรหาทางเจรจายกเลิกข้อตกลงในแถลงการณ์ร่วม
"ถ้ารัฐบาลเร่งดำเนินการในส่วนนี้จะเป็นผลดีในการยับยั้งการดำเนินการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารที่อาจมีส่วนหมิ่นเหม่ต่ออธิปไตย ซึ่งประชาชนทุกภาคส่วนของไทยไม่สบายใจต่อเรื่องนี้ โดยอยากให้รัฐบาลหาทางคลี่คลายเรื่องนี้ เพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจว่า เรื่องนี้จะไม่ทำให้เกิดปัญหา"
"ศ.ดร.อดุลย์"จับพิรุธ"นพดล"
ที่รัฐสภาวันเดียวกันวุฒิสภาได้จัดงาน "อธิปไตยและดินแดนปราสาทพระวิหาร...มรดกโลกหรือผลประโยชน์ใคร" โดยมีผู้ร่วมสัมมนา ประกอบด้วย ส.ว.และตัวแทนภาควิชาการ ทั้งนี้ ก่อนการสัมมนา ผู้จัดได้นำบันทึกภาพวีดีทัศน์ ของ ศ.ดร.อดุลย์ วิเชียรเจริญ อดีตคณะกรรมการมรดกโลกที่อัดสัมภาษณ์ไว้ช่วงค่ำวันที่ 30 มิ.ย.เปิดให้ผู้ร่วมสัมมนารับฟัง
ทั้งนี้ ศ.ดร.อดุลย์ กล่าวว่า คำสั่งศาลปกครองที่ออกมาคุ้มครองชั่วคราว เป็นสิ่งมี่ดีและแสดงให้เห็นว่าคนในประเทศ มีความเห็นแย้งและสะท้อนการประทำของรัฐบาลเป็นสิ่งเสียหาย แต่ไม่สามารถคุ้มครองไปที่การขึ้นมรดกโลกได้เพราะเป็นเรื่องภายในประเทศ และไม่ได้ยับยั้งไปถึงต่างประเทศ
อีกทั้งเอกสารที่ไทยและกัมพูชาลงนามไปแล้วสมบูรณ์แล้วและกัมพูชาได้ส่งไปที่ เลขานุการมรดกโลกที่ปารีส ฝรั่งเศส และจากนั้นเขาจะแจกเอกสารให้ผู้แทนมรดกโลก ที่จะประชุม แคนนาดานวันที่ 2-10 ก.ค.พร้อมกับมีคำข้อการขึ้นมรดกโลกของกัมพูชาด้วย ดังนั้น การประชุมครั้งนี้จะมีการขึ้นทะเบียนมรดกโลกให้กัมพูชาแน่นอน เพราะเขาได้ทำตามเงื่อน ที่ค้างในการประชุมครั้งที่แล้ว ที่ประเทศ นิวซีแลนด์ ที่ให้ไทยและกัมพูชาไปตกลงเรื่องแผนการจัดการและได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายไทย
ศ.ดร.อดุลย์ กล่าวต่อว่า ตนเคยแสดงจุดยืนเรื่องนี้ไว้ตั้งแต่ 2548 ว่า 2 ประเทศต้องขึ้นทะเบียนร่วมกัน และหากไม่เปลี่ยนจุดยืนเมื่อ พ.ค.ที่ผ่านมา ดังนั้น สิ่งที่ทำไทยจะทำได้ขณะนี้คือเสนอเลื่อนการพิจารณาเรื่องนี้ออกไปโดยอ้างว่าขณะนี้ยังไม่เกิดแผนจัดการในไทย ส่วนจะเสนอขึ้นทะเบียนร่วมกันในครั้งนี้ก็ทำไม่ได้เพราะไทยไม่มีเอกสารเพราะไม่ได้เตรียมพร้อม
"แถลงการณ์ร่วมไทยกัมพูชาเป็นสิ่งเสียหายและน่าเศร้า ขอย้ำให้เห็นความไม่ปกติของแถลงการณ์ร่วมที่นายนพดล ลงนามในวันที่ 22 พ.ค.ที่ปารีส ผมได้อ่านแถลงการณ์ภาษาอังกฤษโดยมีแผนที่แนบท้าย ซึ่งมีการตกลงระหว่าง นายนพดล นายสก อาน รองนายกฯกัมพูชา และผู้ช่วยฝ่ายวัฒนธรรมยูเนสโก แต่แถลงการณ์กลับทำกันล่วงหน้าในวันที่ 18 มิ.ย.เป็นวันเดียวที่ลงนามที่ทำเนียบ และสิ่งที่แปลก แผนที่แนบท้ายเป็นภาษาฝรั่งเศส แต่ประทับตรากัมพูชาฝ่ายเดียว ก็ลงนามในวันที่ 18 มิ.ย. แต่กลับอ้างเป็นการประชุม วันที่22 พ.ค.เรื่องทั้งหมดประหลาด แสะวิปริตในการลงนามทวิภาคีฉบับนี้" ศ.ดร.อดุลย์ ตั้งข้อสังเกต
ศ.ดร.อดุลย์ กล่าวว่า ปัญหาของการลงนามไทยกับกัมพูชาหลายคนมองไม่มีปัญหาเพราะขึ้นแค่ตัวปราสาท แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น เพราะหลังจากนั้นจะต้องมีเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินบริเวณตัวปราสาท ที่บอบบางและแตกสลายง่าย มีเขตบัฟเฟอร์โซน หรือเขตกันชน และห้ามมีสิ่งก่อสร้างมิให้บทบังตัวปราสาท
โดยยอมรับว่าเรื่องนี้กระทบต่อเขตแดนไทย เพราะไม่สามารถเข้าไปบริหารพื้นที่ได้ นอกจากนี้ ส่วนหลายเรื่องการลงนามนี้ ซึ่งผูกพันแก่ดินแดนไทย เข้าข่ายรัฐธรรมนูญ 190 แม้จะอ้างเป็นว่เป็นการลงนามไม่ใช้สนธิสัญญา แต่ข้อเท็จจริง การตกลงกัน 2 ประเทศเพราะเข้าข่ายข้อการตกลง อนุสัญญามรดกโลกปี ค.ศ.1902 ที่ไทยเป็นสมาชิก
ศ.ดร.อดุลย์ กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องผลประโยชน์ไปเกี่ยวข้องกับใครหรือไม่ ตนเพียงแต่ได้ยินมาว่า ใครไปเกี่ยวข้องและแลกกับพื้นที่เกาะกง โดย รมว.ต่างประเทศ รองนายกฯท่านหนึ่งไปที่นั้นและมีการเร่งรีบอย่างประหลาดเพราะมีการตรวจสอบแผนที่ 3 วัน จากนั้นนำเข้าที่ประชุมสภาความมั่นคง วันรุ่งขึ้นนำเข้า ครม. และอีกวันลงนามกับกัมพูชา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเร่งรีบอย่างผิดสังเกต
"คำนูณ"ชี้ขรก.บัวแก้วเปลี่ยนไป
ด้านนายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า วันที่ตนไปยื่นฟ้องคดีเขาพระวิหารนั้นไปในฐานะเป็น ส.ว.และนายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการ ครป.ก็ไปในฐานะประชาชนชาวศรีสะเกษ ซึ่งตอนแรกที่ไปยื่นเหมือนมวยยังไม่ชกแต่แพ้ เพราะน้ำหนักเกิน แต่อยากให้รู้ว่าการตรวจคำฟ้องคดีไม่มีแค่ทนายของตนเท่านั้น แต่ยังมีทนายความ และผู้ใหญ่ที่เป็นนักกฎหมายมหาชนของบ้านเมืองได้ให้การสนับสนุนในเรื่องนี้
"ผมอยากตั้งข้อสังเกตอธิบดีกรมสนธิสัญญาว่าเป็นคนที่กลัวความผิด และกลัวแรงกดดันจากรัฐบาล ถ้าอธิบดีคนนี้ไปดำเนินการเกี่ยวกับสนธิสัญญาระหว่างประเทศให้ประเทศไทยคงแพ้ทั้งหมด ซึ่งวันนี้ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศไทยเปลี่ยนไป ซึ่งไม่แน่ใจว่าในอนาคตเราจะกอบกู้ได้มากน้อยแค่ไหน"
นายกษิต ภิรมย์ อดีตเอกอัครราทูต ประจำกรุงวอชิงตัน ดีซี กล่าวว่า เราต้องยืนยันในมาตรา 190 และมาตราอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อให้ทุกอย่างกลับมาที่รัฐสภาและประเด็นนี้จะโยงกับสนธิสัญญา 1904 เรื่องการใช้สันปันน้ำในการแบ่งดินแดนยังมีชีวิตอยู่และสิ่งอื่นๆที่เขียนขึ้นมาใหม่อาจจะเป็นโมฆะ นอกจากนี้ ยังเป็นหน้าที่ของรัฐสภาที่ต้องเข้าไปดูมติ ครม.พ.ศ.2505 รวมทั้งแผนผังแผนที่และต้องไปตรวจสอบเอกสารของต่างประเทศ เพราะอาจจะมีการบันทึกคำพูดที่ปฏิเสธว่าเราได้สละเขาพระวิหารแล้ว ซึ่ง มติ ครม.ในอดีตที่ไม่สมบูรณ์นั้นควรทำให้เป็นกฎหมายในสมัยปัจจุบันเพื่อไม่ให้รัฐบาลในสมัยนี้ใช้ในทิศทางที่ผิด และอาจทำให้ฝ่ายเขมรมาย้อนหลังเป็นสำคัญ เพราะฉะนั้นเรื่องเหล่านี้ควรกลับมาที่สภ
แฉ"ฮุนเซน"จับมือ"แม้ว"โกงข้ามชาติ
นายกษิต กล่าวต่อว่า ในส่วนของเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้น ต้องเอาผลประโยชน์เป็นตัวตั้งและเอาความสัมพันธ์เป็นตัวรองอย่ากลับหัวกลับหางเป็นอันขาด ส่วนตัวอยากพูดถึงเรื่องหลักธรรมาภิบาล เพราะดูเหมือนว่าการลงนามแถลงการณ์ครั้งนี้มันไม่โปร่งใส รัฐบาลชี้แจงไม่ได้ มันมีผลประโยชน์ทับซ้อนกันอยู่แน่นอน เพราะที่คู่ขนานกับการเสนอปราสาทเขาพระวิหาร อยู่ในขณะนี้คือการพัฒนาพื้นที่ร่วม
"อย่าลืมว่า บริษัทอัปศรา เป็นของนายฮุนเซน ซึ่งเป็นรัฐบาลที่เลวร้ายและยอดโกงที่หนึ่งของโลกและมาร่วมกับขบวนการทักษิณอย่างสนุกสนานให้ประเทศกัมพูชาและไทยเป็นพื้นที่เศรษฐกิจของผู้นำทั้ง 2 ฝ่าย และมันก็โยงกับเกาะกง และพื้นที่ซับซ้อนที่มีข่าวออกมาว่า ปตท.ได้ขอให้นายสมัคร ขอไปทำสัมปทานในพื้นที่ทับซ้อนที่เป็นเขตของกัมพูชา เท่ากับว่าเราไปสละทิ้งอธิปไตยเพื่อผลประโยชน์ขององค์กรมหาชนที่ข้างหลังมีผู้ถือหุ้นอยู่ในแวดวงทางการเมือง"
นายกษิต กล่าวต่ออีกว่า นอกจากนี้ ยังมีสิ่งที่ไม่เป็นธรรมาภิบาลคือนอกเหนือจากคณะที่เป็นทางการโดยรัฐมนตรีต่างประเทศและอธิบดีต่างๆแล้ว ยังมีอีกคณะที่แฝงอยู่ข้างใน โดยเป็นข้าราชการอีกคนหนึ่งที่อาจจะเป็นไปทูตที่กัมพูชาและมีน้องชายของนักการเมืองอีกคนหนึ่งที่เจรจาในทางลับหรือปกปิดกับเขมรในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งเป็นที่ทราบกันแวดวงข้าราชการประจำ รวมสถานทูตที่พนมเปญก็รู้ว่าใครเป็นใคร เพราะฉะนั้นมันไม่โปร่งใสและมีประโยชน์ทับซ้อนและคู่ต่อสู้คือ ฮุนเซน ที่โกงกินชาติอย่างที่เราทราบดีอยู่
"ที่มากกว่าไปกว่านั้นรัฐบาลชุดปัจจุบันก็เป็นเพียงรัฐบาลนอมินี เมื่อทำอะไรขึ้นมาคนก็สงสัยไม่โปร่งใจและไม่สามารถชี้แจงได้ ขณะที่การทำแถลงการณ์นี้จะผ่านแค่กรมแผนที่ทหารและสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) คงไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องเชิงเทคนิค แต่มันมีผู้ที่มีส่วนได้เสียตามรัฐธรรมนูญไทยอีกมากมาย ดังนั้น ต้องนำเรื่องนี้มาที่รัฐสภาและต้องบีบให้รัฐบาลเอาเรื่องนี้มาในสภาให้ได้ ถ้าไม่ได้ประชาชนต้องกดดันและต้องมีมาตรการภายในรัฐสภา ถ้าไม่เล่นกันตามกติกาแล้วเอาเรื่องผิดๆ มายกมือ 300 กว่าเสียง คงไม่ได้ มันผิดทั้งศีลธรรมและหลักประชาธิปไตย ถ้ายังไม่เคารพกติกาตรงนี้ ประเทศไทยก็คงจบแค่นี้"
ยันข้อมูลไทยเสียดินแดนให้กัมพูชา
มล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิจัย 9 สถาบันไทยคดีศึกษา กล่าวว่า จากการดูแถลงการณ์ร่วมไทยเสียดินแดนให้แก่กัมพูชาไปแล้ว โดยเฉพาะตั้งแต่บริเวณบันไดนาคลงมา 20 เมตร ซึ่งรับรองว่าเป็นของไทยโดยมติ ครม.พ.ศ.2505 ดังนั้น เราไม่ต้องดูไปถึงพื้นที่ทับซ้อน
"แต่เรื่องนี้อาจจะเป็นบรรทัดฐานในการตกลงข้อพิพาทเรื่องดินแดนกับประเทศเพื่อนบ้านปฏิบัติกับเราต่อไป นอกจากนี้ผู้ที่มีส่วนสำคัญทำให้ไทยเสียดินแดนคือ นักวิชาการขายตัว อยากให้นักวิชาการคิดให้ดีว่าการรักชาติและขายชาติเป็นอย่างไร"
เผยเขมรยึดดินแดนไทยต่อเนื่อง
นายถนอม ส่งเสริม ส.ว.อุบลราชธานี เผยว่า ตนดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าฯสะเกษช่วง ก.ย.46-30 ก.ย.48 โดยช่วง ม.ค.48 ทางกัมพูชาได้ขอให้ทางการไทยเปิดช่องเขาเฒ่า ซึ่งเป็นช่องเขาระหว่างเขาพระวิหารกับเขาสัตตะโสม ที่เป็นพื้นที่ยังไม่มีการปักปันเขตแดนว่าเป็นของฝ่ายใด ระหว่างนั้นตนได้รับคำสั่งจากรัฐบาลไทยว่าได้รับคำร้องขอจากกัมพูชาให้เปิดช่องเขาตาเฒ่า แต่ยังไม่ทันเปิดตามคำสั่งของรัฐบาล นายสุรเกียรติ เสถียรไทย รมว.ประเทศขณะนั้นก็โทรศัพท์แจ้งว่า ขอให้ระงับไว้ก่อนอย่างเพิ่งเปิด ถือเป็นโชคดีของตนที่ยังไม่ได้สั่งเปิด
"ในช่วงที่ผมเป็นผู้ว่าฯศรีสะเกษอยู่นั้น ผมได้เดินทางไปพนมเปญ และได้เห็นแผนพัฒนาการก่อสร้างเอนเตอร์เทนต์คอมเพล็กซ์ในพื้นที่กัมพูชาถัดจากช่องเขาตาเฒ่าอย่างชัดเจน ซึ่งผมเชื่อว่าถ้ากัมพูชาได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกตัวปราสาทเขาพระวิหารแล้ว ต่อไปเขาก็จะรุกในพื้นที่อื่นๆ ของไทยที่ยังไม่มีการปักปันเขตแดนต่อทันที"
ยันไทยเคลื่อนไหวคัดค้านตลอด
ศ.สมปอง สุจริตกุล รักษาการคณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.รังสิต 1 ในทนายของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ผู้ว่าความในคดีประสาทเขาพระวิหาร เมื่อปี 2505 เผยว่า ช่วงที่ศาลโลกตัดสินศาลตัดสินว่ากัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือตัวปราสาทเขาพระวิหารนั้นได้มีผู้พิพากษา 3 คนได้เห็นแย้งและหลังจากนั้นทางไทยก็ได้ตั้งข้อสงวนไว้ และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ประกาศทั้งน้ำตาว่าชาตินี้และชาติหน้าจะไม่มีวันท้อถอย เพราะมีความหวังว่า เราจะได้ปราสาทพระวิหารกลับคืนมา และหลังจากนั้น 1 ปี นายถนัด คอร์มันต์ รมว.ต่างประเทศขณะนั้นได้มอบหมายให้ตนไปชี้แจงยังที่ประชุมสมัชชาองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ซึ่งตนได้นำเอกสารจำนวน 40 หน้าไปชี้แจงคัดค้านว่า ศาลโลกตัดสินผิดตรงไหน พร้อมกับได้ยกความเห็นแย้งของผู้พิพากษาทั้ง 3 และยืนยันข้อสงวนของประเทศไทย
"หลังจากที่ศาลโลกตัดสินไปเมื่อปี 2505 แล้ว ไม่ใช่ว่าเราไม่ทำอะไรเลย แต่เราได้ชี้แจงต่อสมัชชายูเอ็น และได้เสนอข้อสงวนอำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทด้วย ซึ่งครั้งนั้นก็ไม่มีตัวแทนกัมพูชาร่วมประชุมเลย ซึ่งเราก็ยืนยันว่าพื้นที่ทับซ้อนมีเฉพาะตัวปราสาทเท่านั้น แต่พื้นที่อื่นนั้นได้ยึดเส้นสันปันน้ำที่รู้กันในระดับสากล ศาลไม่ได้ขี้ขาดในเรื่องเขตแดน ปัจจุบันนี้ก็ยังเป็นเขตแดนเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ก็มีข้อความบางประการที่ยังไม่ชัดเจน ซึ่งต้องพิจารณาต่อไปในศาลปกครอง" ศ.สมปอง กล่าวและว่า ทั้งนี้ ยังเห็นว่าแถลงการณ์ร่วมที่นายนพดล ลงนามนี้ถือเป็นสนธิสัญญา ไม่ว่าจะเรียกเป็นภาษาไทยว่าเป็นแถลงการณ์ร่วม แต่ในความหมายของกฎหมายนั้นผูกพันประเทศไทยอย่างแน่นอน
"สุรพงษ์"จวกรัฐบาลชุดนี้ไม่โปร่งใส
นายสุรพงษ์ ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูตฯกล่าวว่า เราต้องเข้าใจว่าเขาพระวิหารที่จะเป็นประเด็นขัดแย้งอยู่นี้ไม่ได้อยู่ที่การขอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหาร แต่อยู่ที่ว่าเราต้องการให้ขึ้นทะเบียนร่วมกันทั้งตัวปราสาทและพื้นที่เขาพระวิหาร รวมถึงเรื่องผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนเพียงฝ่ายเดียว
"คนไทยนั้นไม่ได้มีปัญหากับคนกัมพูชา แต่ปัญหา คือ ภาคประชาชนและฝ่ายค้านที่มีปัญหากับการดำเนินการของรัฐบาล เพราะที่ผ่านเราจะเห็นได้ว่ารัฐบาลได้พยายามเลี่ยงที่จะตอบปัญหาข้อเท็จจริงต่างๆ แต่พยายามเน้นว่าหากมีการจดทะเบียนตามที่ได้จดทะเบียนแล้วจะเป็นประโยชน์ในด้านการท่องเที่ยวทั้งที่รายได้จากการท่องเที่ยวตรงนี้มีตัวเลขน้อยมาก และรัฐบาลยังอ้างเรื่องการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ โดยรัฐบาลพยายามจะบอกว่าการแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นคุ้มค่ากับการที่เราจะเสียดินแดนและอธิปไตยในอนาคตและบอกว่าเป็นการแลกเปลี่ยนที่คุ้มที่เราจะเสียดินแดนและอธิปไตยในอนาคต"
นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ รัฐบาลยังไม่มีความโปร่งใส เพราะมาถึงวันนี้คนไทยยังไม่ได้เห็นรายละเอียดของแถลงการณ์ด้วยซ้ำว่ารัฐบาลไปตกลงอะไรกันมา โดยบอกว่าเราต้องเห็นด้วยเพราะหากไม่เห็นด้วยกัมพูชาก็ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกได้อยู่แล้วซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะข้อบัญญัติของยูเนสโกระบุชัดเจนว่า หากยังมีปัญหาระหว่าง 2 ประเทศต้องมีการเจรจาร่วมกันก่อน เพราะฉะนั้นสิ่งที่รัฐมนตรีพูดจึงเป็นการเอาสีข้างเข้าถู โดยไม่รู้ว่าเราจะเสียหายอย่างไร
"รัฐบาลไม่เคยชี้แจงให้ประชาชนได้รู้ว่าข้อดี ข้อเสีย มันคืออะไร หากมีการจดทะเบียนโดยให้เขาขึ้นฝ่ายเดียว ไม่มีคำตอบ เพียงแต่บอกว่าไม่ต้องห่วง ไม่เสียดินแดน แต่ไม่เคยหักล้างแต่ละข้อของความสงสัย รัฐบาลพยายามพูดโน้มน้าวว่าไม่มีปัญหาและหากมีการขัดขวางมากจะกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคือการเคารพอธิปไตยระหว่างประเทศและตัวชี้ขาดคือผลประโยชน์ว่าจะสอดคล้องกันหรือไม่ นี่คือความสัมพันธ์"
หวั่นการเมืองปลุกชาตินิยมพังสัมพันธ์
นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า สำหรับเรื่องมิติการเมืองที่จะมีผลตามมาจากเรื่องนี้ต้องยอมรับว่า การรักชาติเป็นสิ่งที่ดี แต่ความรู้สึกชาตินิยมที่ขาดสติจะอันตราย เพราะมีหลายฝ่ายทั้งนักการเมือง นักธุรกิจ ที่ต้องการใช้ประโยชน์ตรงนี้ไปในทางที่ล้างผลาญ โดยเห็นได้จากการเผาสถานทูตไทยในกัมพูชา เพราะมันง่ายที่จะให้คนเกลียดกัน แต่การที่จะปลุกให้คนรักกันเป็นเรื่องยากมาก
"ผมเชื่อว่ากลุ่มคนที่ที่เห็นว่าการทำแถลงการณ์ครั้งนี้ไทยไม่เสียหายอะไรต้องเป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากตรงนี้แน่นอนและคนพวกนี้จะทำการปลุกประชาชนให้ต่อต้านคนที่คัดค้านการทำแถลงณ์การร่วม คนที่ไม่เห็นด้วยกับแถลงการณ์นี้ โดยอ้างว่าคนที่ต่อต้านทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาพังทลาย ทั้งนี้ ทุกคนย่อมมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะที่ไหน อย่างไร แต่การเสี่ยงตรงนี้ต้องถามว่า การเสี่ยงครั้งนี้คุ้มกับที่ไทยต้องเสียดินแดนหรือไม่ หรือคุ้มกับผลประโยชน์ของคนบางพรรคพวกเท่านั้น"
แนะ "ปองพล" ให้ทำหน้า"คนไทย"
ขณะที่นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักประวัติศาสตร์ กล่าวเสนอให้นายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการมรดกโลก ที่กำลังประชุมเรื่องนี้ที่ประเทศแคนนาดาว่า หากคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารแต่ฝ่ายเดียวของกัมพูชาไม่สำเร็จก็ขอให้นายปองพล ถอนตัวออกมาจากการประชุม แต่ไม่ทราบว่านายปองพล จะกระทำหรือไม่ เพราะเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยที่อยู่ในบ้านเลขที่ 111
"กรรมการมรดกโลก 21 ประเทศเข้าข้างกัมพูชากว่าครึ่งหนึ่งแล้ว เช่น จีน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส กัมพูชา อินเดีย และที่สำคัญมีไทยด้วย ขณะที่กรรมการโลกเข้าข้างฝ่ายไทยให้จดทะเบียนร่วม เช่น อียิป คิวบา บราซิล ออสเตรีเลีย ดังนั้น จึงเชื่อว่าหากคณะกรรมการมรดกโลกกัมพูชา เสนอขึ้นจดทะเบียน โดยนายนพดล ไม่คัดค้านจะไม่ยับยั่งอะไรได้ จึงอยากฝากไปถึงนายปองพล ให้ทำหน้าที่ของคนไทย ไม่ใช่หน้าที่คณะกรรมการมรดกโลก"
นายเทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ อ.มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวเรียกร้องให้มีการระดมล่ารายชื่อให้ได้มากที่สุดเพื่อแสดงให้เห็นว่าคนไทยไม่เห็นด้วยกับการเสนอปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งจะเป็นหลักของประชาธิปไตยอย่างแท้จริง โดยเฉพาะชาวศรีสะเกษ ควรออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านเรื่องนี้ให้เป็นรูปธรรม ยื่นข้อเสนอไปยังยูเนสโก เพื่อให้ทันการพิจารณาที่เป็นประชุมแคนนาดา เพราะขณะนี้ทั่วโลกฟังเสียงชุมชน
"ผบ.ทร."โยนเป็นเรื่องของบัวแก้ว
พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ เกยานนท์ ผบ.ทร.ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีประสาทเขาพระวิหารว่า เรื่องนี้ไม่อยากพูดถึงเพราะเป็นเรื่องของกระทรวงต่างประเทศที่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งเราเป็นหน่วยงานที่ไม่ได้รับผิดชอบหากไปพูดจะเกิดความสับสน ให้กระทรวงต่างประเทศพูดดีกว่า
"ผมยืนยันได้อยู่อย่างเดียวว่า ทหารต้องการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนจะใช้การเจรจาทางทหารเพื่อช่วยรัฐบาลหรือไม่นั้น ผมเห็นว่ายังไม่จำเป็น เรื่องนี้ทหารทั้งสองฝ่ายไม่เกี่ยวเป็นเรื่องของกระทรวงต่างประเทศทั้งสองฝ่ายไม่เกี่ยวกับทหาร"
ศรีสะเกษยื่น5พันชื่อค้านขึ้นทะเบียน
ด้าน นายอรุณศักดิ์ โอชารส ประธานสมัชชาประชาชนศรีสะเกษ เผยว่า กลุ่มสมัชชาประชาชนจังหวัดศรีสะเกษ และเครือข่ายพันธมิตรฯศรีสะเกษ รวมทั้งคณะกรรมการทวงคืนเขาพระวิหาร ในฐานะตัวแทนชาวศรีสะเกษ ได้รวบรวมรายเชื่อชาวบ้านที่เข้าชื่อคัดค้านการขึ้นทะเบียนประสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกทั้งหมดประมาณ 5,000 รายชื่อ นำไปมอบให้กับสำนักงานยูเนสโกที่กรุงเทพฯแล้ว เพื่อยืนยันเจตนารมณ์ของชาวไทยในการคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียวของกัมพูชา
ขณะที่นายเทอดสิทธิ์ อุตส่าห์ ประธานคณะกรรมการดำเนินงานทวงคืนเขาพระวิหาร เผยว่า จากการประชุมแกนนำฯ เรามีมติเป็นจุดยืนเดียวกันในการคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา เพื่อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทยและองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องคือ 1.ให้ชะลอการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกไว้ก่อนจนกว่าจะมีการพิสูจน์เส้นแบ่งเขตแดนอย่างแน่ชัดตามหลักสากลของการปักปันเขตแดนระหว่างประเทศ 2.ให้ผลักดันชาวกัมพูชาออกไปนอกเขตดินแดนไทยที่เชิงเขาพระวิหารโดยด่วนที่สุด และ 3.ขอให้ทบทวนการแบ่งเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชาที่บริเวณเขาพระวิหารโดยขอให้นำเอาหลักสากลที่ใช้สันปันน้ำมาใช้ในการปักปันเขตแดนที่บริเวณเขาพระวิหาร
"หากใช้การปักปันเขตแดนตามหลักสากลนี้แล้วพวกเราและประชาชนชาวศรีสะเกษทุกคนก็พร้อมที่จะยอมรับการปักปันเขตแดนนั้น และพวกเราเครือข่ายกลุ่มพันธมิตรฯศรีสะเกษ จะยืนยันต่อสู้เรียกร้องในจุดยืนดังกล่าวอย่างถึงที่สุด"
เขมรไปแคนาดาลุ้นเขาวิหารแล้ว
ทางด้านกัมพูชานายโสกอาน (Sok An) รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการแห่งชาติในองค์การยูเนสโก ได้นำคณะใหญ่ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ 19 นายออกเดินทางไปยังแคนาดาปลายสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อดำเนินการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
ตามรายงานของกระทรวงวัฒนธรรมและศิลปากร นายโสกอาน จะทำงานอยู่ในนครควีเบคตั้งแต่วันที่ 2-10 ก.ค.ศกนี้ เพื่อติดตามความคืบหน้าในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร ซึ่งเชื่อว่าจะไม่มีอุปสรรคใดๆ "หลังจากกรณีพิพาทพรมแดนกับไทยได้รับการแก้ไข"
ส่วนนายเมืองซอนน์ (Moeung Sonn) ประธานมูลนิธิส่งเสริมอารยะธรรมเขมร (Khmer Civilization Support Foundation) กล่าวกับนิตยสารข่าวรายปักษ์ "พนมเปญโพสต์" เมื่อวันที่ 16 มิ.ย. ว่าหวังอย่างยิ่งว่าปราสาทพระวิหารจะได้รับการขึ้นทะเบียน