13. จอมคนของหวงอี้ (ต่อ)
จิตวิญญาณของขบวนการยามเฝ้าแผ่นดินก็คือ การขออาสาผดุงธรรมแทนฟ้า เพื่อการนี้ การมุ่งบ่มเพาะ พลังปราณ เพื่อแปรเป็น พลังจิตวิญญาณ จักเป็นบ่อเกิดแห่งพลังที่สำคัญอันหนึ่งของขบวนการยามเฝ้าแผ่นดินของพวกเรา พลังทางจิตวิญญาณนี้ในแง่หนึ่ง มันเป็นเรื่องของ พลังแห่งการเลือก อย่างหนึ่ง
ชีวิตของคนเรานั้นคือ กระบวนการของการเลือกที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เกิดจนตาย คนเราจะมีชีวิตอยู่ได้ก็ต้องเลือก หรือตัดสินใจที่จะเลือกว่าจะเลือกอะไร เมื่อไหร่ ที่ไหน และอย่างไร อยู่ตลอดเวลา
อันที่จริง สิ่งที่ก่อให้เกิดความแตกต่างระหว่างความสุขกับความทุกข์ ความสำเร็จกับความล้มเหลวของคนเรานั้น จะว่าไปแล้วมันก็ขึ้นอยู่กับว่า คนผู้นั้นได้ตัดสินใจเลือกเดินหนทางอย่างไร เมื่อถึงจุดที่เป็นทางแยกหรือหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต
เพราะฉะนั้น คนที่มี ความสามารถในการเลือก คือคนที่สามารถจะเปลี่ยนแปลงโชคชะตาของตัวเองได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว โดยปกติผู้ที่มีความสามารถในการเลือกนั้น เราจะสามารถสังเกตได้โดยพิจารณาจากคุณสมบัติต่างๆ ของคนผู้นั้นซึ่งได้แก่ ความเป็นผู้มีวิริยะอุตสาหะพยายาม ความเป็นผู้ที่มีจิตใจเข้มแข็ง ความเป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ความเป็นผู้มีสติสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้เหล่านี้ เป็นต้น
ใน การเลือก นั้น ต้องไม่ลืมว่า ในอีกด้านหนึ่งมันก็หมายความว่าคนผู้นั้นก็เป็น ฝ่ายถูกเลือก ด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ถ้า คนผู้นั้น เลือกที่จะดำเนินชีวิตเป็นคนเลว เป็นคนขายชาติ เป็นคนโกงแผ่นดิน ทั้งๆ ที่ประชาชนจำนวนมากให้ความไว้วางใจเลือก คนผู้นั้น มาเป็น ผู้นำประเทศ นั่นก็หมายความว่า มาร ซึ่งเป็นตัวแทนสัญลักษณ์ของความชั่วช้า ก็เป็นฝ่ายเลือก คนผู้นั้น หรือ คนผู้นั้น ก็เป็น ฝ่ายที่ถูกเลือก จาก มาร ด้วยเช่นกัน
ในทางกลับกัน ถ้า พวกเรา เลือกที่จะดำเนินชีวิตที่เป็น คนของฟ้า เป็น คนของฝ่ายธรรมะ นั่นก็หมายความว่า “ฟ้า” ซึ่งเป็นตัวแทนสัญลักษณ์ของความดี ความจริง ความงาม ความสะอาด ความสว่าง ความสงบก็เป็นฝ่ายเลือก พวกเรา หรือพวกเราก็เป็น ฝ่ายถูกเลือก จากฟ้าหรือธรรมะด้วยเช่นกัน
และเมื่อใดก็ตามที่ ทั้ง ฝ่ายคนผู้นั้น กับ ฝ่ายพวกเรา ต่างก็ได้ เลือก และ ถูกเลือก แล้ว จากนั้น กฎแห่งกรรม ก็จะทำหน้าที่ของมันอย่างซื่อสัตย์ตั้งแต่เดี๋ยวนั้น จนกว่าจะเกิดผลเป็น วิบากกรรม ให้เห็นในเวลาต่อมาอย่างที่ได้เริ่มปรากฏให้เห็นบ้างแล้วในปัจจุบัน
ใครกันหนอที่หลงผิด จนหลงไปเชื่อว่า กฎแห่งกรรมไม่มีจริง ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้ว กฎแห่งกรรม ก็ทำงานของมันอย่างซื่อสัตย์ตลอดเวลาโดยไม่เคยหยุดยั้ง
กรรม หรือ การกระทำ ของคนเราต่างหากที่จะทำให้คนผู้นั้น กลายเป็นคนสูงส่ง หรือต่ำช้า จง เลือก เอาเองเถิดว่าจะเป็นคนชนิดไหนในทุกขณะจิต
กรรม หรือ การกระทำ ของคนเราต่างหากที่จะทำให้คนผู้นั้นกลายเป็นคนฉลาดหรือคนโง่ จงเลือกเอาเองเถิดว่าจะเปิดใจเรียนรู้ความจริงต่างๆ อย่างรอบด้าน และอย่างเป็นองค์รวมหรือไม่
เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีปัญญาอย่างแท้จริง คือผู้ที่เข้าใจถึงเรื่องกรรมและวิบากหรือผลของกรรมนั้นว่า โลกนี้ดำรงอยู่ได้ด้วยกรรม และชีวิตมนุษย์ทุกคนก็ดำรงอยู่เพราะกรรมโดยที่กรรมจะติดตามตัวมนุษย์ทุกคนไปเหมือนกับล้อที่หมุนตามรถไปฉะนั้น
จงรับรู้ไว้ด้วยเถิดว่า ในโลกนี้ไม่มีกรรมหรือการกระทำไหนที่เป็นการกระทำที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของมนุษย์เท่ากับการบำเพ็ญตบะ และเจริญสมาธิภาวนาอีกแล้ว เพราะฉะนั้น เหล่าผู้กล้าแห่งขบวนการยามเฝ้าแผ่นดินทุกท่านพึง บำเพ็ญตบะ ด้วยการฝึกจิตในเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้
(1) ศรัทธา คือการฝึกใจให้เลื่อมใสต่อการทำความดี เลื่อมใสในธรรมะและเชื่อมั่นในกฎแห่งกรรมว่า ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว
(2) วิริยะ คือการฝึกใจให้มีความพากเพียรพยายามในการทำความดี โดยเอาธรรมนำหน้าและรับอาสาแบกรับ การผดุงคุณธรรมแทนฟ้า
(3) อุเบกขา คือการฝึกใจให้ละทิ้งอัตตาตนเอง สงบนิ่งไม่เอนเอียงปราศจากอคติในการพิจารณาเรื่องราววัตถุในโลกทั้งปวง
(4) หิริโอตตัปปะ คือการฝึกใจให้มีความละอายต่อบาป ต่อการทำชั่วอยู่เป็นนิตย์
(5) ไม่โลภ คือการฝึกใจไม่ให้มีความโลภ ไม่ให้ยึดติดในลาภ ยศ สรรเสริญใดๆ
(6) ไม่โกรธ คือการฝึกใจให้มีความอดกลั้นสูง และเมตตาต่อผู้อื่นโดยถ้วนหน้า
(7) ไม่พยาบาท คือการฝึกใจให้เป็นอหิงสา ไม่ใช้ความรุนแรงทั้งทางกาย ทางวาจา และทางความคิด
(8)ปัสสัททิ คือการฝึกใจให้สงบรำงับ นิ่ง กระจ่าง
ส่วน การเจริญสมาธิภาวนา ก็ควรกระทำอย่างบูรณาการ ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางจิตใจไปพร้อมๆ กัน สิ่งนี้ทางพุทธเรียกว่า ตรีณิแห่งพุทธะ หรือ สามเร้นลับแห่งพุทธะ อันประกอบด้วย กายเร้นลับ วาจาเร้นลับ และ จิตเร้นลับ ซึ่งใน วรรณกรรมกำลังภายใน เรื่อง “มังกรคู่สู้สิบทิศ” ของ หวงอี้ ก็มีกล่าวถึงในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน
คำสอน สามเร้นลับแห่งพุทธะ นี้ ต้องการจะชี้ให้เห็นว่า กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมของคนเรานั้น ล้วนมีความสำคัญอย่างเท่าเทียมกัน กายเท่ากับเป็นวาจา วาจาเท่ากับเป็นจิต จิตเท่ากับเป็นกาย มาตรว่าแบ่งเป็นสามส่วนแท้ที่จริงเป็นหนึ่งเดียว คนเราจึงต้องอาศัยกาย-วาจา-จิตใจ เชื่อมโยงเข้ากับจักรวาฬมุ่งสู่ขอบเขตชั้นฟ้ามนุษย์หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวให้จงได้
การฝึก กายเร้นลับ นั้น สามารถฝึกได้โดยผ่านการฝึก ปางมือ หรือ มุทรา
การฝึก วาจาเร้นลับ นั้น สามารถฝึกได้โดยผ่านการฝึกมนตรา หรือถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ
การฝึก จิตเร้นลับ นั้น สามารถฝึกได้โดยการเพ่งจิตไปที่จุดหรือจักรต่างๆ ที่สำคัญในร่างกาย เพื่อให้เกิดเป็นสภาวะที่คนผู้นั้นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพุทธะหรือพระโพธิสัตว์ที่เรียกกันว่า “การกลายเป็นพุทธะในร่างกายสังขารนี้”
อะไรคือ ปางมือ หรือ มุทรา ที่เป็นการฝึกปฏิบัติ กายเร้นลับ ของ ตรีณิแห่งพุทธะ?
ปางมือ ของพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ต่างๆ นั้น ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาอันล้ำเลิศของเหล่าจอมคนในยุคก่อนๆ โดยที่
“ปางมือที่หันออกเชื่อมโยงกับจักรวาฬ ส่วนปางมือที่หันหาด้านในเชื่อมร้อยเข้ากับอวัยวะภายใน และเส้นชีพจรพิสดารทั้งแปดในร่างกาย”
ปางมือ นั้น เริ่มตั้งแต่นิ้วก้อยถึงนิ้วหัวแม่มือ แต่ละนิ้วแสดงออกถึงธาตุทั้งห้า อันได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ และอากาศ มือขวาของปางมือนั้นหมายถึง ปัญญา ส่วนมือซ้ายของปางมือนั้นหมายถึง สมาธิ
ผู้บำเพ็ญตบะและเจริญสมาธิภาวนาจักอาศัยนิ้วทั้งสิบของมือนี้ เป็นจุดเชื่อมภายในกับภายนอก และใช้ในการฝึกลมปราณกับการฝึกเพ่งจิตที่จุด และจักรที่สำคัญต่างๆ ในร่างกาย
การฝึกปางมือในขั้นสูงนั้น มิได้เป็นการฝึกโดยการเลียนแบบท่าปางมือต่างๆ แต่จะต้องเป็น การฝึกที่อาศัยจิตใจดลบันดาลให้เกิดปางมือต่างๆ ขึ้นมาเองอย่างเป็นไปเอง
ในขณะที่ฝึกปางมือแบบอาศัยจิตใจดลบันดาลนั้น มีเคล็ดดังนี้
“ยามเคลื่อนปางมือไปข้างหน้าให้ผ่อนลมหายใจออก
ยามดึงปางมือกลับมาให้สูดลมหายใจเข้า
ยามยกปางมือขึ้นบนให้ผ่อนลมหายใจออก
ยามดึงปางมือลงให้สูดลมหายใจเข้า...”
“...ขณะฝึกปางมือ ผู้บำเพ็ญจะต้องเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ไม่ให้ขาดตอนดุจสายน้ำ โดยที่ตอนฝึกปางมือให้รวมศูนย์ประสาทและจิตสำนึกไปที่ปลายนิ้วตลอด และตอนยกปางมือไปข้างหน้าหรือเหนือหัวจะต้องใส่แรงเข้าไปในปางมือชั่วพริบตานั้นด้วย”
อนึ่งปางมือสามารถฝึกได้ทุกเวลาและไม่จำกัดสถานที่ จากที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ผู้ที่เข้าใจได้ถือว่าเป็นผู้มีวาสนาในทางธรรม เพราะฉะนั้น ผู้ที่เข้าใจได้ก็ย่อมเข้าใจได้เอง หากแม้นไม่เข้าใจ ไม่ว่าอธิบายต่อไปอีกอย่างไรก็ไร้ประโยชน์
ในการฝึก วาจาเร้นลับ ของ ตรีณิแห่งพุทธะ นั้น คำว่า “โอม” คือคำศักดิ์สิทธิ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด และเป็นสากลที่สุดเหนือมนตราใดๆ ทั้งปวง
“โอม” คำคำนี้ คือคำศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นสัญลักษณ์แห่งกายและจิตของพุทธะทั้งปวง
“โอม” คำคำนี้มีพลังศักดิ์สิทธิ์ที่จะช่วยชำระล้างความสกปรกในจิตใจของผู้บำเพ็ญ จนสะอาดบริสุทธิ์ได้
“โอม” คือเสียงอันศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถขจัด “ตัวตน” ของผู้นั้นให้หมดสิ้นไปเพื่อก้าวล่วงไปสู่ความหลุดพ้นที่แท้จริงได้
“โอม” คือเสียงแรกสุดของสัจธรรมที่ไร้ซึ่งกาลเวลา คือเสียงแห่งการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้น อยู่กับตัวเรามาตั้งแต่อดีตกาลที่ไร้การเริ่มต้นก้องกังวานอยู่ภายในตัวเราทั่วตัวเสมอ
อนึ่ง ก่อนที่จะฝึกปฏิบัติคำศักดิ์สิทธิ์คำนี้ ผู้บำเพ็ญพึงตั้งจิตดังนี้ว่า
“การที่ตัวเราคร่ำเคร่งกับการฝึกฝนตนเองอยู่ในขณะนี้ ตัวเรามิได้ทำไปเพื่อตัวเราเองเท่านั้น แต่ตัวเราทำไปเพื่อให้อานิสงส์ที่ตัวเราได้จากการบำเพ็ญนี้สามารถก่อประโยชน์ให้แก่ผู้ที่กำลังหลงทางอยู่ในวัฏสงสารจะได้สามารถพ้นทุกข์ และหลุดพ้นได้ในที่สุด”
เหตุที่ต้องย้ำการปลูกฝัง จิตใจแบบโพธิสัตว์ ที่มุ่งช่วยเหลือผู้อื่นนี้ให้มาก ก็เพราะว่าหากผู้บำเพ็ญไม่มี จิตใจแบบโพธิสัตว์ เช่นนี้ดำรงอยู่ในตัวอยู่ก่อนแล้ว การฝึกปฏิบัติใดๆ จะเป็นเพียงแค่ “การเลียนแบบ” ผู้บำเพ็ญตบะเท่านั้น ยังหาเป็น การบำเพ็ญตบะที่แท้จริงไม่ เพราะการบำเพ็ญตบะทั้งหลายนั้น มันไม่เคยแยกออกจาก จิตใจแบบโพธิสัตว์ ได้เลย (ยังมีต่อ)
จิตวิญญาณของขบวนการยามเฝ้าแผ่นดินก็คือ การขออาสาผดุงธรรมแทนฟ้า เพื่อการนี้ การมุ่งบ่มเพาะ พลังปราณ เพื่อแปรเป็น พลังจิตวิญญาณ จักเป็นบ่อเกิดแห่งพลังที่สำคัญอันหนึ่งของขบวนการยามเฝ้าแผ่นดินของพวกเรา พลังทางจิตวิญญาณนี้ในแง่หนึ่ง มันเป็นเรื่องของ พลังแห่งการเลือก อย่างหนึ่ง
ชีวิตของคนเรานั้นคือ กระบวนการของการเลือกที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เกิดจนตาย คนเราจะมีชีวิตอยู่ได้ก็ต้องเลือก หรือตัดสินใจที่จะเลือกว่าจะเลือกอะไร เมื่อไหร่ ที่ไหน และอย่างไร อยู่ตลอดเวลา
อันที่จริง สิ่งที่ก่อให้เกิดความแตกต่างระหว่างความสุขกับความทุกข์ ความสำเร็จกับความล้มเหลวของคนเรานั้น จะว่าไปแล้วมันก็ขึ้นอยู่กับว่า คนผู้นั้นได้ตัดสินใจเลือกเดินหนทางอย่างไร เมื่อถึงจุดที่เป็นทางแยกหรือหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต
เพราะฉะนั้น คนที่มี ความสามารถในการเลือก คือคนที่สามารถจะเปลี่ยนแปลงโชคชะตาของตัวเองได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว โดยปกติผู้ที่มีความสามารถในการเลือกนั้น เราจะสามารถสังเกตได้โดยพิจารณาจากคุณสมบัติต่างๆ ของคนผู้นั้นซึ่งได้แก่ ความเป็นผู้มีวิริยะอุตสาหะพยายาม ความเป็นผู้ที่มีจิตใจเข้มแข็ง ความเป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ความเป็นผู้มีสติสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้เหล่านี้ เป็นต้น
ใน การเลือก นั้น ต้องไม่ลืมว่า ในอีกด้านหนึ่งมันก็หมายความว่าคนผู้นั้นก็เป็น ฝ่ายถูกเลือก ด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ถ้า คนผู้นั้น เลือกที่จะดำเนินชีวิตเป็นคนเลว เป็นคนขายชาติ เป็นคนโกงแผ่นดิน ทั้งๆ ที่ประชาชนจำนวนมากให้ความไว้วางใจเลือก คนผู้นั้น มาเป็น ผู้นำประเทศ นั่นก็หมายความว่า มาร ซึ่งเป็นตัวแทนสัญลักษณ์ของความชั่วช้า ก็เป็นฝ่ายเลือก คนผู้นั้น หรือ คนผู้นั้น ก็เป็น ฝ่ายที่ถูกเลือก จาก มาร ด้วยเช่นกัน
ในทางกลับกัน ถ้า พวกเรา เลือกที่จะดำเนินชีวิตที่เป็น คนของฟ้า เป็น คนของฝ่ายธรรมะ นั่นก็หมายความว่า “ฟ้า” ซึ่งเป็นตัวแทนสัญลักษณ์ของความดี ความจริง ความงาม ความสะอาด ความสว่าง ความสงบก็เป็นฝ่ายเลือก พวกเรา หรือพวกเราก็เป็น ฝ่ายถูกเลือก จากฟ้าหรือธรรมะด้วยเช่นกัน
และเมื่อใดก็ตามที่ ทั้ง ฝ่ายคนผู้นั้น กับ ฝ่ายพวกเรา ต่างก็ได้ เลือก และ ถูกเลือก แล้ว จากนั้น กฎแห่งกรรม ก็จะทำหน้าที่ของมันอย่างซื่อสัตย์ตั้งแต่เดี๋ยวนั้น จนกว่าจะเกิดผลเป็น วิบากกรรม ให้เห็นในเวลาต่อมาอย่างที่ได้เริ่มปรากฏให้เห็นบ้างแล้วในปัจจุบัน
ใครกันหนอที่หลงผิด จนหลงไปเชื่อว่า กฎแห่งกรรมไม่มีจริง ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้ว กฎแห่งกรรม ก็ทำงานของมันอย่างซื่อสัตย์ตลอดเวลาโดยไม่เคยหยุดยั้ง
กรรม หรือ การกระทำ ของคนเราต่างหากที่จะทำให้คนผู้นั้น กลายเป็นคนสูงส่ง หรือต่ำช้า จง เลือก เอาเองเถิดว่าจะเป็นคนชนิดไหนในทุกขณะจิต
กรรม หรือ การกระทำ ของคนเราต่างหากที่จะทำให้คนผู้นั้นกลายเป็นคนฉลาดหรือคนโง่ จงเลือกเอาเองเถิดว่าจะเปิดใจเรียนรู้ความจริงต่างๆ อย่างรอบด้าน และอย่างเป็นองค์รวมหรือไม่
เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีปัญญาอย่างแท้จริง คือผู้ที่เข้าใจถึงเรื่องกรรมและวิบากหรือผลของกรรมนั้นว่า โลกนี้ดำรงอยู่ได้ด้วยกรรม และชีวิตมนุษย์ทุกคนก็ดำรงอยู่เพราะกรรมโดยที่กรรมจะติดตามตัวมนุษย์ทุกคนไปเหมือนกับล้อที่หมุนตามรถไปฉะนั้น
จงรับรู้ไว้ด้วยเถิดว่า ในโลกนี้ไม่มีกรรมหรือการกระทำไหนที่เป็นการกระทำที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของมนุษย์เท่ากับการบำเพ็ญตบะ และเจริญสมาธิภาวนาอีกแล้ว เพราะฉะนั้น เหล่าผู้กล้าแห่งขบวนการยามเฝ้าแผ่นดินทุกท่านพึง บำเพ็ญตบะ ด้วยการฝึกจิตในเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้
(1) ศรัทธา คือการฝึกใจให้เลื่อมใสต่อการทำความดี เลื่อมใสในธรรมะและเชื่อมั่นในกฎแห่งกรรมว่า ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว
(2) วิริยะ คือการฝึกใจให้มีความพากเพียรพยายามในการทำความดี โดยเอาธรรมนำหน้าและรับอาสาแบกรับ การผดุงคุณธรรมแทนฟ้า
(3) อุเบกขา คือการฝึกใจให้ละทิ้งอัตตาตนเอง สงบนิ่งไม่เอนเอียงปราศจากอคติในการพิจารณาเรื่องราววัตถุในโลกทั้งปวง
(4) หิริโอตตัปปะ คือการฝึกใจให้มีความละอายต่อบาป ต่อการทำชั่วอยู่เป็นนิตย์
(5) ไม่โลภ คือการฝึกใจไม่ให้มีความโลภ ไม่ให้ยึดติดในลาภ ยศ สรรเสริญใดๆ
(6) ไม่โกรธ คือการฝึกใจให้มีความอดกลั้นสูง และเมตตาต่อผู้อื่นโดยถ้วนหน้า
(7) ไม่พยาบาท คือการฝึกใจให้เป็นอหิงสา ไม่ใช้ความรุนแรงทั้งทางกาย ทางวาจา และทางความคิด
(8)ปัสสัททิ คือการฝึกใจให้สงบรำงับ นิ่ง กระจ่าง
ส่วน การเจริญสมาธิภาวนา ก็ควรกระทำอย่างบูรณาการ ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางจิตใจไปพร้อมๆ กัน สิ่งนี้ทางพุทธเรียกว่า ตรีณิแห่งพุทธะ หรือ สามเร้นลับแห่งพุทธะ อันประกอบด้วย กายเร้นลับ วาจาเร้นลับ และ จิตเร้นลับ ซึ่งใน วรรณกรรมกำลังภายใน เรื่อง “มังกรคู่สู้สิบทิศ” ของ หวงอี้ ก็มีกล่าวถึงในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน
คำสอน สามเร้นลับแห่งพุทธะ นี้ ต้องการจะชี้ให้เห็นว่า กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมของคนเรานั้น ล้วนมีความสำคัญอย่างเท่าเทียมกัน กายเท่ากับเป็นวาจา วาจาเท่ากับเป็นจิต จิตเท่ากับเป็นกาย มาตรว่าแบ่งเป็นสามส่วนแท้ที่จริงเป็นหนึ่งเดียว คนเราจึงต้องอาศัยกาย-วาจา-จิตใจ เชื่อมโยงเข้ากับจักรวาฬมุ่งสู่ขอบเขตชั้นฟ้ามนุษย์หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวให้จงได้
การฝึก กายเร้นลับ นั้น สามารถฝึกได้โดยผ่านการฝึก ปางมือ หรือ มุทรา
การฝึก วาจาเร้นลับ นั้น สามารถฝึกได้โดยผ่านการฝึกมนตรา หรือถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ
การฝึก จิตเร้นลับ นั้น สามารถฝึกได้โดยการเพ่งจิตไปที่จุดหรือจักรต่างๆ ที่สำคัญในร่างกาย เพื่อให้เกิดเป็นสภาวะที่คนผู้นั้นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพุทธะหรือพระโพธิสัตว์ที่เรียกกันว่า “การกลายเป็นพุทธะในร่างกายสังขารนี้”
อะไรคือ ปางมือ หรือ มุทรา ที่เป็นการฝึกปฏิบัติ กายเร้นลับ ของ ตรีณิแห่งพุทธะ?
ปางมือ ของพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ต่างๆ นั้น ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาอันล้ำเลิศของเหล่าจอมคนในยุคก่อนๆ โดยที่
“ปางมือที่หันออกเชื่อมโยงกับจักรวาฬ ส่วนปางมือที่หันหาด้านในเชื่อมร้อยเข้ากับอวัยวะภายใน และเส้นชีพจรพิสดารทั้งแปดในร่างกาย”
ปางมือ นั้น เริ่มตั้งแต่นิ้วก้อยถึงนิ้วหัวแม่มือ แต่ละนิ้วแสดงออกถึงธาตุทั้งห้า อันได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ และอากาศ มือขวาของปางมือนั้นหมายถึง ปัญญา ส่วนมือซ้ายของปางมือนั้นหมายถึง สมาธิ
ผู้บำเพ็ญตบะและเจริญสมาธิภาวนาจักอาศัยนิ้วทั้งสิบของมือนี้ เป็นจุดเชื่อมภายในกับภายนอก และใช้ในการฝึกลมปราณกับการฝึกเพ่งจิตที่จุด และจักรที่สำคัญต่างๆ ในร่างกาย
การฝึกปางมือในขั้นสูงนั้น มิได้เป็นการฝึกโดยการเลียนแบบท่าปางมือต่างๆ แต่จะต้องเป็น การฝึกที่อาศัยจิตใจดลบันดาลให้เกิดปางมือต่างๆ ขึ้นมาเองอย่างเป็นไปเอง
ในขณะที่ฝึกปางมือแบบอาศัยจิตใจดลบันดาลนั้น มีเคล็ดดังนี้
“ยามเคลื่อนปางมือไปข้างหน้าให้ผ่อนลมหายใจออก
ยามดึงปางมือกลับมาให้สูดลมหายใจเข้า
ยามยกปางมือขึ้นบนให้ผ่อนลมหายใจออก
ยามดึงปางมือลงให้สูดลมหายใจเข้า...”
“...ขณะฝึกปางมือ ผู้บำเพ็ญจะต้องเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ไม่ให้ขาดตอนดุจสายน้ำ โดยที่ตอนฝึกปางมือให้รวมศูนย์ประสาทและจิตสำนึกไปที่ปลายนิ้วตลอด และตอนยกปางมือไปข้างหน้าหรือเหนือหัวจะต้องใส่แรงเข้าไปในปางมือชั่วพริบตานั้นด้วย”
อนึ่งปางมือสามารถฝึกได้ทุกเวลาและไม่จำกัดสถานที่ จากที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ผู้ที่เข้าใจได้ถือว่าเป็นผู้มีวาสนาในทางธรรม เพราะฉะนั้น ผู้ที่เข้าใจได้ก็ย่อมเข้าใจได้เอง หากแม้นไม่เข้าใจ ไม่ว่าอธิบายต่อไปอีกอย่างไรก็ไร้ประโยชน์
ในการฝึก วาจาเร้นลับ ของ ตรีณิแห่งพุทธะ นั้น คำว่า “โอม” คือคำศักดิ์สิทธิ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด และเป็นสากลที่สุดเหนือมนตราใดๆ ทั้งปวง
“โอม” คำคำนี้ คือคำศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นสัญลักษณ์แห่งกายและจิตของพุทธะทั้งปวง
“โอม” คำคำนี้มีพลังศักดิ์สิทธิ์ที่จะช่วยชำระล้างความสกปรกในจิตใจของผู้บำเพ็ญ จนสะอาดบริสุทธิ์ได้
“โอม” คือเสียงอันศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถขจัด “ตัวตน” ของผู้นั้นให้หมดสิ้นไปเพื่อก้าวล่วงไปสู่ความหลุดพ้นที่แท้จริงได้
“โอม” คือเสียงแรกสุดของสัจธรรมที่ไร้ซึ่งกาลเวลา คือเสียงแห่งการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้น อยู่กับตัวเรามาตั้งแต่อดีตกาลที่ไร้การเริ่มต้นก้องกังวานอยู่ภายในตัวเราทั่วตัวเสมอ
อนึ่ง ก่อนที่จะฝึกปฏิบัติคำศักดิ์สิทธิ์คำนี้ ผู้บำเพ็ญพึงตั้งจิตดังนี้ว่า
“การที่ตัวเราคร่ำเคร่งกับการฝึกฝนตนเองอยู่ในขณะนี้ ตัวเรามิได้ทำไปเพื่อตัวเราเองเท่านั้น แต่ตัวเราทำไปเพื่อให้อานิสงส์ที่ตัวเราได้จากการบำเพ็ญนี้สามารถก่อประโยชน์ให้แก่ผู้ที่กำลังหลงทางอยู่ในวัฏสงสารจะได้สามารถพ้นทุกข์ และหลุดพ้นได้ในที่สุด”
เหตุที่ต้องย้ำการปลูกฝัง จิตใจแบบโพธิสัตว์ ที่มุ่งช่วยเหลือผู้อื่นนี้ให้มาก ก็เพราะว่าหากผู้บำเพ็ญไม่มี จิตใจแบบโพธิสัตว์ เช่นนี้ดำรงอยู่ในตัวอยู่ก่อนแล้ว การฝึกปฏิบัติใดๆ จะเป็นเพียงแค่ “การเลียนแบบ” ผู้บำเพ็ญตบะเท่านั้น ยังหาเป็น การบำเพ็ญตบะที่แท้จริงไม่ เพราะการบำเพ็ญตบะทั้งหลายนั้น มันไม่เคยแยกออกจาก จิตใจแบบโพธิสัตว์ ได้เลย (ยังมีต่อ)